[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 พฤษภาคม 2567 18:08:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: 9 นาทีที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
สามเณรใบบุญ 6 ขวบ บวชแล้วไม่ยอมสึก ฟังเหตุผลแล้วอึ้ง ตายไปก็เหลือแต่บุญกรรม
         


สามเณรใบบุญ 6 ขวบ บวชแล้วไม่ยอมสึก ฟังเหตุผลแล้วอึ้ง ตายไปก็เหลือแต่บุญกรรม" width="100" height="100  สามเณรใบบุญ ไม่ยอมสึก โยมแม่ฟังเหตุผลแล้วอึ้ง ลูกอยากได้อมตะธรรม ตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้ เหลือแต่บุญกรรม
         

https://www.sanook.com/news/9387582/
         

 2 
 เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย Maintenence - กระทู้ล่าสุด โดย Maintenence


ขุททกนิกายภาค ๑  เอกนิบาต ๑. อปัณณกวรรค
๘. คามนิชาดก ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุละความเพียร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

เรื่องคามนิชาดกนี้ รายละเอียดเหมือนที่มีอยู่ใน สังวรชาดก เอกาทสนิบาต (ในอรรถกถาเรียกว่า สังวรมหาราชชาดก) ชาดกทั้งสองเรื่องนี้ เนื้อเรื่องเป็นเช่นเดียวกัน แต่คาถาต่างกัน มีความย่อว่า

คามนิกุมาร ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ แม้จะเป็นพระกนิษฐาของพระภาดาทั้งร้อยพระองค์ ก็เป็นผู้อันพระภาดาทั้งร้อยพระองค์นั้นยอมรับนับถือ ประทับนั่งบนบัลลังก์อันประเสริฐภายใต้เศวตฉัตร ทอดพระเนตรดูยศสมบัติของพระองค์แล้วก็ทรงดีพระทัยว่า ยศสมบัติของเรานี้ เป็นของอาจารย์เรา จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ว่า

“เออ ก็ความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้ เรามีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว ท่านจงเข้าใจ ดังนี้เถิด พ่อคามนิ”

เปล่งอุทานแล้ว ก็เมื่อคามนิกุมารนั้นได้ราชสมบัติแล้ว เมื่อเวลาล่วงไป ๒-๓ วัน พี่ชายทุกคนได้ไปยังสถานที่อยู่ของตน ๆ พระเจ้าคามนิครองราชสมบัติโดยธรรม แล้วเสด็จไปตามยถากรรม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทำบุญแล้ว ได้ไปตามกรรม

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศ อริยสัจทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรได้ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล

พระศาสดาทรงประชุมชาดก ว่า

พระเจ้าคามนิในครั้งนั้น ได้เป็น พระอานนท์

ส่วนอาจารย์ คือ เราเอง แล


ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง

 3 
 เมื่อ: 2 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
น้ำโขงเซาะตลิ่งทรุด ตะลึง พบเศียรพระใหญ่ฝังใต้ดิน คาดถูกทำลายเมื่อ 150 ปีก่อน
         


น้ำโขงเซาะตลิ่งทรุด ตะลึง พบเศียรพระใหญ่ฝังใต้ดิน คาดถูกทำลายเมื่อ 150 ปีก่อน" width="100" height="100  น้ำโขงเซาะตลิ่งทรุดที่เวียงจันทน์ ตะลึง พบเศียรพระขนาดใหญ่ฝังใต้ดิน คาดถูกกลุ่มฮ่อทำลายตอนบุกปล้นเมื่อกว่า 150 ปีก่อน
         

https://www.sanook.com/news/9387550/
         

 4 
 เมื่อ: 5 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
"ตะวัน" โพสต์เฟซบุ๊ก เสียใจ กับ "พี่บุ้ง" ไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะออกไปร่วมงานศพ
         


"ตะวัน" โพสต์เฟซบุ๊ก เสียใจ กับ "พี่บุ้ง" ไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะออกไปร่วมงานศพ" width="100" height="100  
         

https://www.sanook.com/news/9387466/
         

 5 
 เมื่อ: 5 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย ใบบุญ - กระทู้ล่าสุด โดย ใบบุญ


รูปหล่อเหมือน-ลอยองค์ หลวงพ่อโอด วัดจันเสน พระเกจิชื่อดังนครสวรรค์

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 25 - 31 สิงหาคม 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2566


“พระครูนิสัยจริยคุณ” หรือ “หลวงพ่อโอด ปัญญาธโร” อดีตเจ้าคณะอำเภอตาคลี และอดีตเจ้าอาวาสวัดจันเสน ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง

ปี พ.ศ.2531 มีความประสงค์จัดสร้างมณฑปใช้เป็นที่บรรจุพระธาตุ ส่วนชั้นล่างจะใช้เป็นที่ประชุมสงฆ์ และเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บวัตถุโบราณของเมืองจันเสน

จึงดำริจัดสร้างวัตถุมงคล “รุ่นสร้างมณฑป” เป็นรูปหล่อเหมือนปั๊มลอยองค์ เพื่อหาทุนทรัพย์ในการสร้าง ทั้งหมด 4 เนื้อ คือ เนื้อเงิน เนื้อทองเหลือง เนื้อทองแดง และเนื้อตะกั่ว มีโค้ดตอกทุกเนื้อ

เป็นวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นก่อนมรณภาพเพียง 1 ปี

ด้านหน้ารูปหล่อเหมือน มีตัวหนังสือนูน เขียนว่า “พระครูนิสัยจริยคุณ” พร้อมปั๊มอักขระขอมตัวนะ จำนวน 3 ตัว ที่สังฆาฏิด้านหน้า

ด้านหลัง บริเวณใต้ฐานเขียนว่า “วัดจันเสน”

จัดเป็นวัตถุมงคลยอดนิยมที่ชาวปากน้ำโพเสาะแสวงหา





หลวงพ่อโอด ปัญญาธโร

มีนามเดิมว่า วิสุทธิ์ แป้นโต เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2460 ที่บ้านเลขที่ 103 หมู่ที่ 7 บ้านหัวเขา ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ บิดา-มารดาชื่อ นายชิตและนางต่วน แป้นโต มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 7 คน

ในช่วงวัยเยาว์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดหัวเขา ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2481 ที่อุโบสถวัดหัวเขา อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ มีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด) วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูนิปุณธรรมธร วัดตาคลี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูพิพัทธศีลคุณ วัดหัวเขา อ.ตาคลี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2484 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ

ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2489 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดหนองสีนวล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดจันเสน

พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลจันเสน

พ.ศ.2496 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2510 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอตาคลี

พ.ศ.2516 เป็นเจ้าคณะอำเภอตาคลี

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2500 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี

พ.ศ.2510 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท

พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก

พ.ศ.2527 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนาม พระครูนิสัยจริยคุณ

ด้านการศึกษา เป็นครูสอนนักธรรมของวัดดอน เขตยานนาวา กรุงเทพฯ (ในสมัยที่พระอาจารย์กึ๋น เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนฯ) เป็นครูสอนนักธรรม วัดหัวเขา และวัดหนองสีนวล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดจันเสน เป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง เป็นต้น

ศึกษาพุทธาคมจากพระเกจิชื่อดัง คือ หลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล อ.ตาคลี, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี, หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค อ.ตาคลี และหลวงพ่อเชน วัดสิงห์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล และหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ สองพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของอำเภอตาคลี ในฐานะที่เป็นหลานที่ใกล้ชิด โดยพ่อของหลวงพ่อโอด คือ นายชิต แป้นโต เป็นน้องชายแท้ๆ ของหลวงพ่อรุ่ง และแม่ของนายชิต เป็นพี่สาวแม่ของหลวงพ่อเดิม ดังนั้น หลวงพ่อโอด จึงเรียกหลวงพ่อรุ่ง และหลวงพ่อเดิมว่า “หลวงลุง” ทั้งสองรูป

ด้านการศึกษาพุทธาคม เมื่อท่านกลับจากการเป็นครูสอนนักธรรมที่วัดดอนยานนาวาแล้ว ท่านได้มาอยู่กับหลวงพ่อรุ่ง ที่วัดหนองสีนวล ซึ่งในระยะนี้เองที่ท่านได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อรุ่ง

ส่วนหลวงพ่อเดิม เดินทางมาที่วัดหนองสีนวลอยู่เป็นประจำ ซึ่งหลวงพ่อโอดได้ศึกษาวิชาต่างๆ ด้วย

ทั้งนี้ จากคำบอกของท่านเองว่ายังมีอาจารย์อยู่อีก 2 รูป คือ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ในช่วงปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา ท่านมักไปเยี่ยมหลวงพ่อพรหมเป็นประจำ

พระอาจารย์อีกรูป คือ หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ไปอยู่เรียนกับหลวงพ่อเชน เรียนวิชาทำตะกรุด

ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านการปฏิบัติมาก ศึกษามาจากหลวงพ่อรุ่ง ต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ

ระหว่าง พ.ศ.2500 เปิดสำนักสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดจันเสน โดยเป็นผู้สอนเอง

เป็นพระที่มีเมตตาสูงยิ่ง วันหนึ่งๆ ท่านจะนั่งคอยรับแขกอยู่ทั้งวัน ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนใจไปหา ก็จะให้คำแนะนำที่ดีโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2532 สิริอายุ 72 ปี พรรษา 50

ปัจจุบัน สังขารเก็บรักษาไว้ที่ตึกนิสิตสามัคคี วัดจันเสน เปิดให้เข้าไปกราบสักการะทุกวัน

เกียรติคุณความขลังยังเป็นที่กล่าวขวัญสืบมาจนถึงบัดนี้ รวมถึงด้านวัตถุมงคลแทบทุกชนิด ล้วนแต่หายาก •





เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก วัตถุมงคล ‘หลวงปู่สีดา’ พระเกจิดังมหาสารคาม

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 1 - 7 กันยายน 2566
คอลัมน์ - โฟกัสพระเครื่อง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ.2566


อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูปแห่งเมืองมหาสารคาม “พระมงคลสารคุณ” หรือ “หลวงปู่สีดา ปัญญาธโร” สืบปฏิปทาตามต้นแบบของหลวงปู่สร้อย จิตตทันโต แห่งวัดทรงศิลา (วัดบ้านปลาขาว) ต.สันป่าตอง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ผู้เป็นพระอาจารย์

เคยดำรงตำหน่งเจ้าอาวาสวัดโสมนัสประดิษฐ์ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอวาปีปทุม

จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาหลายรุ่น ที่เป็นสุดยอด คือ “เหรียญรูปเหมือนรุ่น 1 ปี พ.ศ.2513”

จัดสร้างขึ้นในวาระฉลองอายุครบ 49 ปี และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูมานิตย์ปฏิภาณ

จัดเป็นเนื้อทองแดง จำนวนสร้างประมาณ 2,000 เหรียญ

ลักษณะคล้ายเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ ยกขอบเหรียญ ส่วนขอบด้านในเป็นจุดไข่ปลา ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านขวาโค้งขึ้นไปด้านบนวนไปด้านซ้าย เขียนคำว่า “วัดโสมนัสประดิษฐ์ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม” ใต้รูปเหมือนมีตัวอักษรเขียนคำว่า “หลวงพ่อพระครูมานิตย์ปฏิภาณ”

ด้านหลังเหรียญ เป็นอักขระยันต์นะโม พุทธายะ

จัดเป็นวัตถุมงคลที่หายากและมีราคา ผู้ใดครอบครองต่างหวงแหน





หลวงปู่สีดา ปัญญาธโร

เกิดในสกุล นนทะชัย เมื่อปี 2464 ณ บ้านนาดูน ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม บิดา-มารดา ชื่อ นายเกตุและนางบุญมา นนทะชัย ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

หลังจบการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ออกมาช่วยงานครอบครัวหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันขันแข็ง

เมื่ออายุ 18 ปี ด้วยความที่มีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาธรรม จึงตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เข้าพิธีบรรพชา ที่วัดทรงศิลา ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม

กระทั่งอายุครบ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พระอุโบสถวัดทรงศิลา มีหลวงปู่สร้อย จิตตทันโต เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการไหม วัดหนองเม็ก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการจันดี วัดหนองเม็ก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปัญญาธโร อันมีความหมายว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญา

เดินทางไปจำพรรษา เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักเรียนวัดสุภโสภณ จ.บุรีรัมย์ สำนักเรียนใหญ่โด่งดังของภาคอีสานตอนใต้

ในปี พ.ศ.2488 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

ท่านยังศึกษาเพิ่มเติมการอ่านเขียนอักษรลาวเก่าแก่ อักษรขอม พร้อมทั้งบาลี ทำให้มีความรู้ในการอ่านเขียนอักขระเก่าแก่ด้วย

กระทั่งกลับมาจำพรรษาที่วัดนาดูนพัฒนาราม ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ในช่วงเวลาดังกล่าว หลวงปู่สร้อย วัดทรงศิลา (วัดบ้านปลาขาว) พระอุปัชฌาย์ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วอีสานตอนกลางและอีสานใต้ ในฐานะพระเกจิและวิปัสสนาจารย์ พร้อมทั้งวิทยาคมรอดพ้น คงกระพัน ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์เรียนรู้เล่าเรียนวิทยาคม วิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยได้เมตตาถ่ายทอดความรู้ให้อย่างไม่ปิดบัง

ลําดับงานปกครอง พ.ศ.2494 เป็นเจ้าอาวาสวัดนาดูนพัฒนาราม

พ.ศ.2497 เป็นเจ้าคณะตำบลนาดูน

พ.ศ.2508 เป็นเจ้าคณะอำเภอวาปีปทุม และเจ้าอาวาสวัดโสมนัสประดิษฐ์

พ.ศ.2545 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอวาปีปทุม

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2513 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูมานิตปฏิภาณ

พ.ศ.2519 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2547 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระมงคลสารคุณ

เคยกล่าวปรารภกับศิษย์ว่า โภคทรัพย์เงินทองไม่ได้มีความจำเป็นต่อสมณเพศ เพราะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยศรัทธาญาติโยม

แม้จะยอมให้คณะศิษย์สร้างรูปบูชาหลายรุ่น แต่พยายามพร่ำสอนญาติโยมสม่ำเสมอว่า อย่ายึดติดพระเครื่องวัตถุมงคลมากเกินไป ให้ยึดเอาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักในการครองชีวิต

ส่วนข้อธรรมคำสอนที่เน้นสอน คือ เมื่อเกิดมาเป็นคนแล้วจะต้องมีจริยธรรม จึงจะได้ชื่อว่าอารยชน นอกจากนี้ ต้องมีศีล 5 ในหัวใจแล้วชีวิตจะพานพบแต่ความสำราญตลอดกาล

เป็นพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเอาเคร่งครัดในพระวินัยมาโดยตลอด เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีอายุพร้อมทั้งพรรษาสูงที่สุดในวงการสงฆ์จังหวัดมหาสารคามในห้วงเวลาดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นพระนักพัฒนาสม่ำเสมอที่ปกครองวัดโสมนัสฯ ทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองพร้อมทั้งพัฒนาปฏิรูปให้เหมาะสำหรับการบำเพ็ญภาวนา

แม้จะอยู่ในวัยไม้ใกล้ฝั่ง แต่สุขภาพพลานามัยยังแข็งแรงสมบูรณ์ ยังรับกิจนิมนต์เป็นปกติ ร่างกายและจิตใจไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติศาสนกิจแต่อย่างใด

จึงเป็นเนื้อนาบุญของชาวมหาสารคามอย่างแท้จริง

แต่ด้วยสังขารไม่เที่ยง ต่อมาจึงมรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2555

สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71 •


4-3

 6 
 เมื่อ: 7 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
สามีนางร้ายมีกิ๊กใหม่ โปรไฟล์ด้อยกว่าเมียหลวง "หนิง ปณิตา" รีบคอมเมนต์
         


สามีนางร้ายมีกิ๊กใหม่ โปรไฟล์ด้อยกว่าเมียหลวง "หนิง ปณิตา" รีบคอมเมนต์" width="100" height="100  ชาวเน็ตชี้เป้ารัวๆ ใครกัน สามีนางร้ายมีกิ๊กใหม่แต่โปรไฟล์ด้อยกว่าเมียหลวง ด้าน หนิง ปณิตา ก็รีบคอมเมนต์ทันที
         

https://www.sanook.com/news/9387398/
         

 7 
 เมื่อ: 10 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
อ.เฉลิมชัย ข้ามไปฝั่งลาว ชมพระพุทธรูปที่ขุดจากแม่น้ำโขง เห็นของจริงบอกโชคดีมากๆ
         


อ.เฉลิมชัย ข้ามไปฝั่งลาว ชมพระพุทธรูปที่ขุดจากแม่น้ำโขง เห็นของจริงบอกโชคดีมากๆ" width="100" height="100  อ.เฉลิมชัย ข้ามไปฝั่งลาว ชมพระพุทธรูปที่ขุดจากแม่น้ำโขง เห็นของจริงบอกโชคดีมากๆ ยืนดูคนงานขุดมีเซอร์ไพรส์อีก
         

https://www.sanook.com/news/9387230/
         

 8 
 เมื่อ: 12 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ไม่ฟินแถมสะพรึง สาวลงอ่างกับแฟน เห็นวิธีอาบน้ำแล้วจะอ้วก ถามควรเลิกกันไหม?
         


ไม่ฟินแถมสะพรึง สาวลงอ่างกับแฟน เห็นวิธีอาบน้ำแล้วจะอ้วก ถามควรเลิกกันไหม?" width="100" height="100  สาวแชร์ประสบการณ์อาบน้ำกับแฟน ช็อกเพิ่งรู้พฤติกรรมการอาบน้ำ จนอยากจะเลิก ชาวเน็ตแค่อ่านยังสะพรึงตาม
         

https://www.sanook.com/news/9386742/
         

 9 
 เมื่อ: 15 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ไรเดอร์หัวจะปวด โดนด่าหาว่าเป็นชู้กับเมีย บอกเห็นโทรมาบ่อย ตอนจบเสียงอ่อย
         


ไรเดอร์หัวจะปวด โดนด่าหาว่าเป็นชู้กับเมีย บอกเห็นโทรมาบ่อย ตอนจบเสียงอ่อย" width="100" height="100  คลิปไวรัล TikTok ไรเดอร์หัวจะปวด อยู่ดี ๆ เจอด่าหาว่าเป็นชู้กับเมีย เปิดเครื่องด่าไฟแลบ ก่อนเสียงอ่อยเมื่อรู้ความจริง
         

https://www.sanook.com/news/9386746/
         

 10 
 เมื่อ: 17 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ ความหวังของ “คนไร้ที่พึ่ง” (1) กลับไม่ได้เพราะไม่มีบ้านให้กลับ
 


<span>ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ ความหวังของ “คนไร้ที่พึ่ง” (1) กลับไม่ได้เพราะไม่มีบ้านให้กลับ</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-05-16T20:59:46+07:00" title="Thursday, May 16, 2024 - 20:59">Thu, 2024-05-16 - 20:59</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภัทรภร ผ่องอำไพ รายงาน/ถ่ายภาพ</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>“คนไร้บ้าน” แค่มีบ้านก็พอใจสุขสบายแล้วจริงหรือ?&nbsp;</p><p>โมเดลการสร้างสถานสงเคราะห์ชดเชยปัญหาที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนไร้บ้านมีบ้านอยู่เพียงพอหรือแท้จริงแล้วเป็นไปตามความต้องการของคนไร้บ้านหรือไม่?</p><p>มิติของการแก้ปัญหาให้กลุ่มคนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง ได้รับการแก้ไขอย่างถูกจุดแล้วหรือไม่?&nbsp;</p><p>สารคดีตอนแรกซึ่งเป็นหนึ่งในสองตอนนี้จะได้ทำความรู้จักกับ คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่งใน กรุงเทพมหานคร พื้นที่บริเวณตรอกสาเกและพื้นที่หัวลำโพง เรื่องเล่าที่ต้องการสะท้อนความรู้สึก ความทรงจำ เกี่ยวกับถิ่นที่อยู่ที่เรียกว่า “บ้าน” และภาวะที่กลับบ้านไม่ได้เพราะ “ไม่มีบ้าน” ให้กลับนั้นเป็นอย่างไร&nbsp;</p><h2>เรื่องเล่าจาก “คนไร้บ้าน/คนไร้ที่พึ่ง”</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53725528199_90f90526e6_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">หนึ่ง วัย 38 ปี อดีตคนไร้ที่พึ่งที่เคยอาศัยนอนบริเวณ หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><p>คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง คนแรกรู้จักในชื่อ หนึ่ง พื้นเพเดิมเป็นคนจังหวัด อุบลราชธานี ย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ กับพ่อแม่ พ่อประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ส่วนแม่ขายส้มตำ&nbsp;</p><p>หลังจากย่าของเขาเสียชีวิต ครอบครัวจึงย้ายถิ่นฐานกลับบ้านที่ อุบลฯ ตามเดิม แต่หนึ่งไม่ได้ตามไปด้วย แต่ไปได้งานเสิร์ฟอาหารในร้านอาหารแห่งหนึ่งในย่านสุขุมวิท&nbsp;</p><p>กระทั่งเจอโควิดระลอกแรก แม้เขาจะยังพอมีเงินจุนเจือให้สามารถประคองชีวิตอยู่รอดได้ แต่ชีวิตของหนึ่งต้องมาพบกับความอับจนเมื่อร้านอาหารนั้นสังกัดปิดตัวลงหลังจากเจอโควิดรอบสองด้วยว่าไม่สามารถแบกต้นทุนต่อไปได้ ถึงเดือนมิถุนายน ปี 2565 เมื่อไม่มีรายได้เพียงพอที่จะจ่ายค่าเช่าห้องอีกต่อไป หนึ่งจึงตัดสินใจออกมาอาศัยพื้นที่บริเวณหลังสถานีหัวลำโพงที่เป็นพักพิง</p><p>“ถ้าถามว่าทำไมถึงไม่กลับไปพร้อมกับพ่อแม่ที่อุบลฯ ถ้าเป็นคนต่างจังหวัดจะเข้าใจว่างานในต่างจังหวัดมันไม่ได้มีเยอะ กลับบ้านมันก็เหนื่อยนะ”</p><h2>จากห้องเช่า เป็น “บ้านถาวร”</h2>หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="picture-with-caption">หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><p>“วันแรกที่มานอน ก็กลัวนะ ไม่ใช่ไม่กลัว แต่มันเป็นภาวะต้องยอมจำนน คืนแรกหลับๆ ตื่นๆ ตลอด หลังจากนั้นก็มารวมกลุ่มนอนกับป้าๆ แถวๆ นี้เอา นอนไปนอนมามันก็ชินไปเองเรื่องอาหารก็ไม่ได้ลำบากอะไร เพราะมีคนมาแจกข้าวบ่อยจนกินไม่ทันต้องขอให้เขาให้อย่างอื่นแทน เช่น ยากันยุงบ้าง ยาลดปวดไข้บ้าง คนมาแจกเขาก็เข้าใจนะ บางคนก็ให้เป็นเงินสดแนบมาก็มี ลำบากบ้างเวลาจะอาบน้ำเข้าห้องน้ำหรือถ้าหนักสุดบางคนป่วยไม่มีบัตรประชาชนก็ตายตรงนี้เลย คนไร้บ้านแถวนี้ตายเป็นข่าวก็เยอะ แต่ก็ทำได้แค่มองดูเขาตายช่วยอะไรทำอะไรไม่ได้”</p><p>หนึ่ง เล่าว่า ในช่วงโควิดระลอกหลังที่เขาและเพื่อนที่อาศัยนอนสาธารณะแถวนั้นจำต้องคอยหลบเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หน่วยงานของ กทม. หน่วยงานเทศกิจ ฯลฯ ไม่ให้โดนจับ การรับมือกับสถานการณ์คนไร้บ้านช่วงนั้นถือว่าใช้มาตรการที่รุนแรงไม่ว่าจะเป็น ใช้รถทหารจับคนขึ้นรถ ใช้ปืนน้ำแรงสูงฉีดน้ำไล่ ทำให้เวลาที่ได้ยินเสียงรถหรือเห็นคนใส่ชุดสีชมพู คนแถวนี้เป็นที่รู้กันว่าต้องวิ่งหนี</p><p>“ตอนนี้มีงานทำอยู่แล้วเพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ที่อยู่อาศัย มันคงไม่สามารถเปลี่ยนจากห้องเช่ามาเป็นบ้านถาวรได้หรอก มันก็คงต้องเป็นบ้านเช่าแบบนี้ไปนั้นแหละ” หนึ่ง หัวเราะ</p><p>“มีบ้านต่างจังหวัดแก่ตัวอายุ 40 อย่างมากก็กลับบ้านได้ แต่คนที่ไม่มีบ้านอ่ะเขาจะยังไง” หนึ่ง กล่าว</p><h2>พิษเศรษฐกิจบีบบังคับให้กลายสถานะเป็น “คนไร้ที่พึ่ง”</h2>บังอร วัย 62 ปี อดีตคนไร้ที่พึ่งที่เคยอาศัยนอนบริเวณ หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="picture-with-caption">บังอร วัย 62 ปี อดีตคนไร้ที่พึ่งที่เคยอาศัยนอนบริเวณ หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><p>คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง คนที่สองชื่อ บังอร วัย 62 ปี เป็นคนจังหวัด สมุทรปราการ ประกอบอาชีพขายของและขายผลไม้เดินทางจากสมุทรปราการมาขายผลไม้ในเมืองใกล้กับตลาดมหานาคและหาห้องเช่าใกล้ๆ เพื่ออยู่อาศัย แต่หลังจากเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ระบาด เธอค้าขายได้ไม่ดีนัก เงินที่ได้ก็ไม่เพียงพอที่จะเช่าห้อง จนสุดท้ายเธอกลายสถานะมาเป็น “คนไร้ที่พึ่ง”</p><p>“ช่วงแรกที่มานอนใหม่ๆ ก็กลัวไม่กล้านอน แต่ว่าเห็นว่าแถวนี้ก็มีผู้หญิงด้วย และคนก็เยอะ ตอนช่วงโควิดก็มีคนมาแจกข้าว น้ำ และก็มีให้เงินด้วยบางคน ก็เลยอยู่ตรงนี้ นอนตรงนี้จนเป็นปีอ่ะ”</p><p>บังอร เล่าว่า ระลอกแรกของโควิด-19 เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่เทศกิจ กทม. ไม่ได้เข้ามาช่วย ตรงกันข้ามกลับมองว่าไม่ทำมาหากิน และว่ากล่าว ติเตียน กลุ่มคนที่มาแจกของแจกข้าวว่าพฤติกรรมนี้เป็นการส่งเสริมให้กลุ่มคนไร้บ้านมีนิสัยขี้เกียจ ไม่ยอมออกไปหางานทำ บ่อยครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เทศกิจ ไล่ไม่ให้คนมาแจกเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทให้เห็นบ่อยครั้ง&nbsp;</p><p>มาระลอกหลังที่มีเจ้าหน้าที่พยาบาลจากโรงพยาบาลเข้ามาตรวจฉีดวัคซีนโควิด-19 ดูแล รวมทั้งมีหน่วยงานภาคประชาสังคม (NGOs) เช่น เครือข่ายคนไร้บ้าน รวบรวมข้อมูลสอบถามความคิดเห็นพี่น้องคนไร้บ้าน และทำงานหน่วยงานภาครัฐมากขึ้นได้รับการช่วยเหลือ สนับสนุน รวมทั้งเช็คสิทธิ์สวัสดิการต่างๆ ท่าทีของหน่วยงานก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น</p><p>“สำหรับตนไม่ได้ขออะไรเยอะขอแค่โอกาส ช่วยหาห้องเช่าในช่วงไม่มีบ้าน ไม่มีที่นอน ช่วยหางานให้ทุนในการช่วยเหลือให้ตั้งหลักได้ แค่นี้ตนก็พอใจแล้ว”</p><h2>“บ้าน” ที่กลับไม่ได้</h2>เวท วัย 50 ปี คนไร้บ้านที่นอนประจำแถวเทเวศร์ ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="picture-with-caption">เวท วัย 50 ปี คนไร้บ้านที่นอนประจำแถวเทเวศร์ ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><p>คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง รายสุดท้ายที่ได้สัมภาษณ์ ชื่อ เวท วัย 50 ปี เป็นคนจังหวัด ราชบุรี อาชีพเดิมรับจ้างทำสวน แต่รายได้ไม่ดีมากนักจึงตัดสินใจเข้ามาทำงานที่ กรุงเทพฯ เป็นเด็กกระเป๋ารถเมล์ รับจ้างทั่วไป ปัจจุบันด้วยอายุที่มากขึ้นจึงไม่ได้ทำงาน อีกทั้งเขายังเคยประสบอุบัติเหตุถูกรถชนทำให้ขาพิการ</p><p>เวทเล่าว่าช่วงแรกไม่ได้นอนที่ไหนเป็นพิเศษย้ายถิ่นไปเรื่อยๆ รวมกลุ่มนอนกับเพื่อนบ้าง นอนคนเดียวบ้าง แต่ไม่ได้ไปนอนแถวซอยตรอกสาเก ราชดำเนินฯ เพราะเห็นเจ้าถิ่นใช้กำลังทำร้าย ขโมยของบ้าง ปัจจุบันนอนอยู่ที่เทเวศร์ เพราะสงบเงียบกว่ามาก นานๆ ทีถึงจะกลับราชบุรี</p><p>“บ้านที่ราชบุรีที่เคยอยู่ ตอนนี้ไม่มีแล้ว”</p><p>“มีแต่ทะเบียนบ้าน ถ้าจะกลับก็ไปอยู่กับญาตินานๆ ทีผมจะกลับ ญาติก็มีจำได้บ้าง ไม่ได้บ้างเหมือนกัน เขาก็ไม่อยากให้เราอยู่” เวท กล่าว</p>ตรอกสาเก" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="picture-with-caption">ตรอกสาเก ภาพ : ภัทรภร ผ่องอำไพ</p><h2>ป่วย ไข้ ไม่สบาย แก้ได้ถ้าเข้าถึงสิทธิ์</h2><p>เวท เล่าว่า เขามีบัตรประชาชน บัตรคนพิการเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีมูลนิธิอิสรชนที่พาไปทำเรื่องลงทะเบียนรักษา 30 บาทรักษาทุกโรค เวลาป่วยจึงไม่ได้กังวลเพราะใช้สิทธิ์รักษาตามบัตรได้ เจ้าหน้าที่พยาบาล โรงพยาบาลดูแลให้บริการดี แต่กรณีเพื่อนคนไร้บ้านที่รู้จักก็มีหลายคนที่ไม่มีบัตรประชาชน และยังไม่ได้ทำเรื่อง</p><p>“แต่ถ้าอย่างบางคนไม่มีบัตรอะไรเลย ป่วยที มันก็แล้วแต่เวรกรรมแต่ละคน”&nbsp;</p><h2>รัฐเสนอ “โครงการบ้านอิ่มใจ” และ “โครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง”</h2><p>จากเรื่องราวของคนทั้งสามคน ทำให้เกิดคำถามว่าคนที่ไร้บ้านไร้ที่พึ่งพาอาศัยเขามีชีวิตกันอย่างไร มีใครให้ความช่วยเหลือพวกเขาบ้างหรือเปล่า ทางการดูแลเขาแค่ไหน เท่าที่ได้สำรวจทำให้ทราบถึงโครงการบ้าน 2 ชื่อ คือ “โครงการบ้านอิ่มใจ” และ “โครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง” แล้วโครงการทั้งสองนี้เป็นอย่างไร อยู่ภายใต้การดูแลหน่วยงานไหน และใช้งบประมาณใด?</p><h3>‘บ้านอิ่มใจ’&nbsp;</h3><p>‘โครงการบ้านอิ่มใจ’ เปิดโครงการครั้งแรกวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้นมีแนวทางต้องการช่วยเหลือคนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง คนมีรายได้น้อย ในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่ผู้รับบริการ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย&nbsp;</p><p>บ้านอิ่มใจเป็นห้องพักรายวัน ตั้งอยู่ที่สี่แยกแม้นศรี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย บริเวณสำนักงานการประปา สาขาแม้นศรี (เดิม) เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 64.70 ตารางวา พื้นที่ใช้สอยรวม 10,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่เช่าของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อาคารตึกสูง 3 ชั้น แบ่งห้องพักเป็นห้องพักรวม ห้องพักชาย และห้องพักหญิง รองรับการเข้าพักได้วันละ 200 คน</p>บ้านอิ่มใจ" width="2048" height="1536" loading="lazy<p class="picture-with-caption">ที่มา : เฟสบุ๊ค บ้านอิ่มใจ กรุงเทพมหานคร</p><p>ต่อมา 14 มีนาคม 2562 ในสมัยที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีมติเห็นชอบให้คืนพื้นประปาแม้นศรี(เดิม) ให้กับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในเดือนกันยายน 2562 เนื่องจาก กทม. เช่าพื้นที่ดังกล่าวในอัตราปีละ 28 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2555 – 2562 รวมเป็นเงินราว 200 ล้านบาท แต่กลับใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่าประกอบกับคนไร้ที่พึ่งเข้าพักอาศัยอยู่ไม่มาก โดย กทม. กำหนดให้คนไร้ที่พึ่งออกภายในเดือนมิถุนายน 2562</p><p>ทั้งนี้ทาง กทม. ได้ย้ายมาเช่าพื้นที่บริเวณศูนย์ฝึกอาชีพบางพลัด อาคาร 4 ชั้น ที่วัดบางพลัดแทน เพื่อรองรับให้กับ คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง ในส่วนอัตราค่าเช่าเสียปีละ 100,000 บาท และสิ้นสุดสัญญาเช่าในปี 2565 จากนั้นข่าวคราวเกี่ยวกับโครงการก็เงียบหายไป</p><p>จนกระทั่ง 29 กุมภาพันธ์ 2567 ปรากฏข่าวเกี่ยวกับโครงการบ้านอิ่มใจอีกครั้ง โดยชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบัน มีแผนจะเปิดให้บริการโดยกลับไปเช่าพื้นที่สำนักการประปาสาขาแม้นศรี(เดิม) กับสำนักงานทรัพย์สินฯ อีกครั้งเป็นสัญญาเช่า 30 ปี ค่าเช่า 3 ปีแรก 2567-2569 เดือนละ 1,071,050 บาท หรือปีละ 12,852,600 บาท และหากเป็นไปตามแผนบ้านอิ่มใจจะได้เปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2567</p><h3>‘ค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง’</h3><p>โครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง คือ โครงการจัดที่อยู่อาศัยผ่านการมีส่วนร่วมของคนไร้บ้านในรูปแบบการ ‘แชร์’ ค่าเช่าที่อยู่อาศัย ร่วมกับกองทุนเครือข่ายคนไร้บ้าน มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีเครือข่ายภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม&nbsp;</p><p>จุดประสงค์ของโครงการเพื่อสนับสนุนที่อยู่อาศัยสำหรับคนไร้บ้าน ส่งเสริมการทำอาชีพต่างๆ และจัดการการเงินผ่านกองทุนเก็บออม เพื่อนำไปสู่การตั้งหลักชีวิตในระยะยาว ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความเสี่ยงทางสุขภาวะของคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ โดยให้คนไร้บ้านสมทบค่าเช่าร่วมกับโครงการฯ ในสัดส่วน 60:60 ของค่าเช่าห้อง ส่วนต่างที่เหลือร้อยละ 20 จะนำไปเป็นเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือสมาชิกคนไร้บ้านรายอื่นๆ หรือ สมทบในด้านอื่นๆ ต่อไป</p><p>วราวุธ ศิลปอาชา รมว. การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึง เงื่อนไขของผู้เข้าร่วมโครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง คือ ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีงานทำ ห้องเช่าราคาถูกไม่เกิน 2,000 - 3,000 บาท เพื่อที่จะทำให้คนที่ประสบปัญหาไม่มีที่พักอาศัยสามารถมีที่อยู่และมีงานทำ กรณีคนไม่มีงานทำ กรมพัฒนาสังคมฯ จะช่วยหางานช่วยฝึกอาชีพให้ &nbsp;ซึ่งทางกระทรวง พม. ตั้งเป้าเอาไว้ว่าภายในปี 2579 ประชาชนทุกคนต้องมีที่อยู่อาศัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p><p>จากการที่เราได้สัมภาษณ์คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง หนึ่งและบังอรเป็น 2 คน ที่เคยเข้าร่วมโครงการนี้และเห็นด้วยที่จะให้โครงการนี้มีต่อไป</p><p>“ตอนแรกจะเข้าโครงการบ้านอิ่มใจ แต่เพราะไม่มีใครไปด้วย คนที่เคยไปแล้วกลับมาเล่ามีทั้งดีบ้างไม่ดีบ้างก็เลยไม่ได้ไป หลักๆ ก็ไกลเกินคนเลยไม่อยากจะไปจนมาได้รู้จักกับ โด่ง และ พัฒน์ เพื่อนเครือข่ายคนไร้บ้าน ทั้งสองคนชวนให้มารู้จักกับ ‘โครงการเช่าบ้านคนละครึ่ง’ ตอนนั้นลงทะเบียนเข้าร่วมอยู่เฟส 3 ก็รู้สึกว่าไม่แน่ใจว่าโครงการดีไหม จนอยู่บ้านเช่ามีเจ้าหน้าที่ช่วยหางาน หน่วยงานสนับสนุนให้ทุนซื้อรถเข่งผลไม้ มีเงินผ่อนค่าห้อง ปัจจุบันก็ไม่ได้มานอนหัวลำโพงแล้ว ถ้ามีโครงการนี้อีกก็สนใจจะสมัครเข้าร่วมด้วย” บังอร กล่าว</p><p>“รู้จักโครงการค่าเช่าบ้านคนละครึ่งผ่านทาง โด่ง มูลนิธิที่อยู่เพื่อการพัฒนา เคยเข้าร่วมโครงการครั้งหนึ่ง รู้สึกว่าโครงการนี้ช่วยคนไร้บ้านได้เยอะมาก หน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยดูในเรื่องหางาน พาทำบัตรประชาชน เช็คสิทธิ์การรักษาต่างๆ ให้” หนึ่ง กล่าว</p><p>แต่ก็ยังมีเสียงที่สะท้อนความกังวล อย่างเช่น เวท ที่ถึงแม้ว่าจะรับรู้เรื่องโครงการทั้งสองแล้ว แต่ก็ไม่ได้เข้าร่วมเลือกใช้ชีวิตนอนสาธารณะดั่งเดิม</p><p>“เคยได้ยินมาเหมือนกัน โครงการบ้านต่างๆ ที่ให้คนไร้บ้านไปอยู่ แต่ไม่อยากไป ไม่อยากเข้าไปยุ่ง มันมีกติกา กฏระเบียบที่เราฝืนไม่ได้ สถานที่มันรวมกลุ่มคนที่ต่างคนก็ต่างมาจากหลายที่ ต่างคนก็ต่างจิตใจกัน คนเร่รอนในกรุงเทพฯ รั่วเยอะ” เวท กล่าว</p><p>อย่างไรก็ตาม โครงการทั้งสองที่ว่ามา ยังอยู่ห่างไกลจากสถานะที่จะเป็นที่พักพิงให้คนที่ไร้ที่พึ่งได้อย่างจริงจัง ทั้งปัญหาที่เกิดจากภายในระบบราชการเองอย่างกรณีของบ้านอิ่มใจ เมื่อมีเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เปลี่ยนผู้บริหารกรุงเทพมหานครแต่ละทีก็เปลี่ยนนโยบาย โครงการนี้จึงดูเหมือนจะกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น เอาตัวเองยังไม่รอด ดูไม่น่าจะเป็นที่พึ่งให้ใครได้ ส่วนโครงการบ้านคนละครึ่งนั้นก็ฟังดูดี แต่ทางปฏิบัติก็อาจจะยาก เพราะคนที่ไร้ที่พึ่ง ไร้อาชีพจริงๆ หรือ อาจจะมีอาชีพที่ไม่สามารถหารายได้เพียงพอที่จะจ่ายค่าเช่าได้แม้แต่ 2,000-3,000 บาทต่อเดือนก็จัดว่าเป็นเงินที่ไม่น้อย ยังไม่นับว่าจะมีที่อยู่อาศัยแบบนั้นให้อย่างเพียงพอหรือไม่</p><p>เห็นได้ว่าการช่วยเหลือกลุ่มคนไร้บ้านไร้ที่พึ่งนั้นมีหน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะแยะมากมายไม่ว่าจะเป็น รัฐ ภาคประชาสังคมและเครือข่ายรวมทั้งนักวิชาการ แต่ก็ยังดูเหมือนไม่มีแนวทางที่ยั่งยืนนักและการขาดรายได้ที่เพียงพอก็ยังอาจเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย</p><p>คนไร้บ้าน/ไร้ที่พึ่ง ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความต้องการ “บ้าน”เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสวัสดิการคุณภาพชีวิตที่ดีในฐานะประชาชนคนหนึ่งด้วย</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A" hreflang="th">ท้องถิ่นสร้างสื่อสอhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87" hreflang="th">คนไร้ที่พึ่http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">คนไร้บ้าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">ท้องถิ่http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3" hreflang="th">กรุงเทพมหานคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%A2" hreflang="th">ที่อยู่อาศัhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">สวัสดิกาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%A3-%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%9E" hreflang="th">ภัทรภร ผ่องอำไhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/05/109222
 

หน้า:  [1] 2 3 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.893 วินาที กับ 24 คำสั่ง

Google visited last this page 04 เมษายน 2567 20:52:25