[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 12:40:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 142 143 [144] 145 146 ... 276
2861  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2560 16:39:01


จากวรรณคดีเรื่องอิเหนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงนิพนธ์ ทำให้เราสามารถศึกษาถึงลักษณะของการจัดริ้วกระบวนแห่พระบรมศพของพระมหากษัตริย์ ได้ดังความตอนงานพระบรมศพท้าวหมันยา รวมทั้งทำให้ทราบถึงการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ในริ้วกระบวน

บัดนั้น ฝ่ายเจ้าพนักงานน้อยใหญ่
ครั้นจวนกำหนดไม่นอนใจ ก็ตระเตรียมเทียมพิชัยราชรถ
รถใหญ่สำหรับใส่พระโกศทอง เรืองรองรจนาปรากฏ
รถโยงปรายข้าวตอกเป็นหลั่นลดรถอ่านหนังสือรถใส่ท่อนจันทน์
เกณฑ์ไพร่ไว้สำหรับชักฉุด ใส่เสื้อเสนากุฏขบขัน
ที่บ่าวไพร่ใครช้ามาไม่ทัน ก็พากันวิ่งวุ่นทุกมูลนาย
บรรดาหมู่คู่แห่เข้ากระบวน ก็มาถ้วนตามบัญชีที่มีหมาย
ล้วนใส่เสื้อครุยกรุยกราย สมปักลายลำพอกถือดอกบัว   
คนชักรูปสัตว์จัดหนุ่มหนุ่ม ใส่ศีรษะโมงครุ่มครอบหัว
ทับทรวงสังวาลลอดสอดพันพัว แต่งตัวนุ่งโถงโจงกระเบน
กิดาหยันจัดกันตามตำแหน่ง เชิญพระแสงหอกดาบดั้งเขน
ตั้งตาริ้วรายไปใกล้พระเมรุ พรั่งพร้อมตามเกณฑ์ทั้งไพร่นาย

การจัดริ้วกระบวนแห่งานพระเมรุมาศ สมัยรัตนโกสินทร์
กระบวนแห่พระบรมศพจากพระบรมมหาราชวัง ไปยังพระเมรุมาศมีการจัดกระบวนตามพระราชประเพณีโดยมีระเบียบการจัดริ้วกระบวนมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งอาจศึกษาได้จากงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ริ้วกระบวนนั้นจัดขึ้นเมื่อมีการเตรียมการสร้างพระเมรุมาศแล้ว กระบวนเริ่มด้วยกระบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุสู่พระเมรุมาศ ตามด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงช้าง ทรงม้า เป็นกระบวนตามลำดับพระยศ ยกเว้นกรมสมเด็จพระเดชาดิศร ทรงพระราชยานกงและมีกระบวนแห่เครื่องสูง กลองชนะ สังข์และแตร กระบวนแห่นั้นเริ่มต้นกระบวนที่หน้าวัดพระเชตุพน แห่มาตามถนนหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ตรงไปเลี้ยวศาลาคู่มาเปลื้องเครื่องที่หน้าวัดมหาธาตุ จบกระบวนแห่เจ้านายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเครื่องแล้วเสด็จโดยพยุหยาตรา ๔ แถว เสด็จประทับเปลื้องเครื่องที่พลับพลา กระบวนแห่อีกระบวนคือกระบวนพยุหยาตราของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

กระบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ ออกจากประตูวิเศษไชยศรีไปเลี้ยวป้อมเผด็จดัสกรเข้าสู่พระเมรุด้านตะวันออก แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานบนพระเบญจา พระสงฆ์ราชาคณะ ๘๐ รูป เจริญพระปริตรในพระเมรุ ที่สำสร้างรอบพระเมรุทั้งสี่ด้าน มีพระสงฆ์ในกรุงและหัวเมือง ๔๐๐ รูป เจริญพระปริตร ตอนเย็นเสด็จออกพลับพลาทรงโปรยทาน วันรุ่งขึ้นตั้งบายศรีเวียนเทียนแลทรงโปรยทาน เวลาค่ำจุดดอกไม้เพลิง และกระทำการสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

กระบวนแห่พระบรมศพประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ มีกระบวนแห่รูปสัตว์ มีรถพระประเทียบและนางสนมตามเบื้องหลัง พร้อมคนเดินกระบวนแห่ ๗,๐๐๐ คน

สำหรับกระบวนพยุหยาตราในการแห่พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากพระที่นั่งอัมพรสถานไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ถวายน้ำสรงพระบรมศพ ริ้วกระบวนได้ปรับเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง ทั้งนี้เพราะได้มีกองทหารเพิ่มขึ้นอีกหลายเหล่า ริ้วกระบวนมีดังนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายน้ำสรงพระบรมศพ เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์ กลองชนะ มโหระทึก  จากนั้น เจ้าพนักงานกรมพระภูษามาลา มีพระยาราชโกษา พระเทพาภรณ์ ถวายเครื่องทรงอย่างบรมขัตติยาธิราช แล้วอัญเชิญประดิษฐานในพระลองเงิน พระเจ้าอยู่หัวถวายพระมหากฐิน เจ้ากรมพระตำรวจเชิญพระลองลงจากพระที่นั่งอัมพรสถานขึ้นพระเสลี่ยงหิ้ว ประดิษฐานบนพระที่นั่งสามลำคาน มีพระมหานพปฎลเศวตฉัตรคันดาลกั้นพระลอง แถวทหารมหาดเล็กถวายวันทยาวุธ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เจ้าพนักงานประกอบพระโกศทองใหญ่แล้ว พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ และพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงค์ประยูรพันธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์ครุย ประคองพระโกศ มีขุนนางผู้ใหญ่ เข้าเป็นคู่เคียงซ้ายขวา ๘ คู่ คือ


๑.นายพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กับ นายพลโท พระยาสุรเสนา สมุหราชองครักษ์
๒.พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ
๓.นายพลโท พระยาสีหราชเดโชไชย กับ นายพลตรี พระยาประสิทธิ์ศัลการ
๔.พระยาอนุรักษราชมณเฑียร กับ พระยาบำเรอภักดิ์
พระยาอนุชิตชาญไชย กับ พระยาอภัยรณฤทธิ์
๖.พระยาราชสงคราม กับ พระยาสามภพพ่าย
๗.พระยานรฤทธิ์ราชหัช กับ พระยาศิริสัตย์สถิตย์
๘.พระยาเวียงไนยนฤบาล กับ พระยาศุภกรณ์บรรณสาร

กระบวนแห่ทหารบก
ตำรวจมหาดเล็ก เดินเป็นสี่สาย
กลองชนะทอง ๒๐
กลองชนะเงิน ๒๐
กลองชนะแดงลายทอง ๘๐
จ่าปี่
จ่ากลอง
แตรงอน ๑๖
แตรฝรั่ง ๑๒
เครื่องสูงชุมสายบังแทรก หักทองขวาง ด้านหน้า ด้านหลัง ๒ สำรับ
อินทร์เชิญ ต้นไม้เงิน พรหมเชิญ ต้นไม้ทอง
มหาดเล็กเชิญ พระกลด บังสุริย์ พัดโบก
มหาดเล็กเชิญ พระแสงหว่างเครื่องหน้า ๖ หลัง ๔
มหาดเล็กเชิญ เครื่องราชูปโภค เดินหลังพระที่นั่ง
นาลิวันสยายผม เดินหลังเครื่องสูง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องเต็มยศมหาดเล็ก
ทรงพันผ้าดำทุกข์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชดำเนินต่อท้ายเครื่องสูง
นายทหารเชิญธงบรมราชธวัช ตามเสด็จ


ตามด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ มีทั้งทรงเครื่องเต็มยศและทรงเครื่องผ้าทรงขาวทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ทหารมหาดเล็ก เดินแซงข้างละ ๒ แถว ต่อพระบรมวงศานุวงศ์ ในระหว่างกลาง
พนักงานกรมม้า จูงม้าพระที่นั่ง ๔ ม้า
ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหารและพลเรือนแต่งเต็มยศพันแขนดำ
ทหารเรือ อยู่ท้ายขบวน ผ่านถนนราชดำเนิน ข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์
สะพานผ่านภพลีลา และสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ผ่านเข้าถนนหน้าพระลาน
เข้าพระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี
เจ้าพนักงานเชิญพระโกศขึ้นประดิษฐานบนแว่นฟ้าทองคำ ภายใต้พระนพปฎลเศวตฉัตร
บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดับรอบด้วยเครื่องสูงและตั้งเครื่องราชูปโภคและเครื่องนมัสการ
นางร้องไห้ ร้องอยู่ในฉากมุขด้านทิศใต้

ต่อมาในเดือนมีนาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙ พ.ศ.๒๔๕๔ มีการถวายพระเพลิงพระบรมศพ มีการจัดริ้วกระบวนแห่พระบรมศพ คือ อัญเชิญพระบรมศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ออกประตูศรีสุนทรไปตามถนนมหาราช ถนนเชตุพน ถนนสนามไชย ไปทรงพระมหาพิชัยราชรถที่หน้าวัดพระเชตุพน โดยกระบวนพระยานมาศสามลำคาน ปักนพปฎลเศวตฉัตร มีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทรงประคองพระโกศ ประทับพระราชยานกงทรงโยง ทรงโปรย และมีพระสงฆ์นำพร้อมด้วยกระบวนพระราชอิสริยยศ เครื่องสูง แตร สังข์ กลองชนะ มโหระทึก และคู่แห่มีคู่เคียงและมหาดเล็กเชิญพุ่มต้นไม้ ทองเงิน เชิญจามรทองแผ่ลวดอยู่หน้าพระราชยานกงพระสงฆ์ มีเครื่องสูงหักทองขวาง ต่อจากเครื่องสูงทองแผ่ลวด และนำพระมหาพิชัยราชรถ ตามด้วยเครื่องสูงหักทองขวางหลัง

กระบวนแห่เป็น ๔ สาย ตำรวจอยู่สายนอก มหาดเล็กอยู่สายใน เครื่องสูงหักทองขวางอยู่ ๒ ข้าง หน้าพระยานมาศสามลำคาน มีหารบกสายนอกต่อกรมตำรวจ กรมทหารเรือสายใน ต่อกรมมหาดเล็ก รวมคู่แห่กรมทหารบก กรมทหารเรือ ๔๙ คู่ และกรมพระตำรวจกับกรมมหาดเล็ก ๗๖ คู่ ตรงสายกลาง เป็นริ้วเครื่องสูงทองแผ่ลวดจามรทองแผ่ลวด และเครื่องสูงหักทองขวาง สังข์แตร กลองชนะ มโหระทึก ตามด้วยริ้วของนาลิวันและมหาดเล็กเชิญเครื่องตามท้ายกระบวนด้วยริ้วพระยาม้าต้น และกระบวนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่นำด้วยธงกระบี่ธุช ธงครุฑพ่าห์ ส่วนธงมหาราช ราชองค์รักษ์และภูษามาลาอยู่งานพระกลดนั้นตามกระบวนเสด็จ
สำหรับกระบวนแห่พระบรมศพจากหน้าวัดพระเชตุพนนั้น มีราชรถสำหรับพระสงฆ์นำ พระบรมศพถูกอัญเชิญขึ้นจากพระยานมาศสามลำคานด้วยเกริน นำขึ้นประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ พระราชยานกง ทรงโปรย และทรงโยง ตามด้วยกระบวนของพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าพระยา เสนาบดี เจ้าผู้ปกครองประเทศราช ราชทูต และข้าราชการชั้นพานทอง

กระบวนแห่พระอิสริยยศพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะเช่นเดียวกับพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ แต่ตัดราชรถโยง ราชรถโปรยออก ส่วนตอนเวียนพระเมรุมาศนั้น ใช้รถปืนใหญ่รางเกวียน ตั้งพระโกศพระบรมศพแทนพระยานมาศสามลำคาน และพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ก็ปฏิบัติอนุโลมตามแบบอย่างนี้

อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการเข้าใจถึงการเข้าพระบวนแห่พระบรมศพด้วยพระมหาพิชัยราชรถ สามารถทราบได้จากการแห่พระบรมศพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ ๒๒-๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๙ จัดอนุโลมแบบสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถเป็นหลัก

ริ้วกระบวนอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙  ได้มีการตัดทอนจำนวนราชรถ และผู้เข้าร่วมกระบวนแห่ลงจากเดิมมาก คือ ราชรถน้อยที่เดิมเข้ากระบวน ๓ องค์ ก็เหลือเพียงองค์เดียว เฉพาะสมเด็จพระสังฆราช อ่านพระอภิธรรม โดยตัดราชรถสำหรับทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้ และราชรถสำหรับโยงพระภูษาออก รวมทั้งราชรถรอง คือเวชยันตราชรถก็ตัดออกเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมนั่นเอง และจากการปรับริ้วกระบวนพระอิสริยยศในครั้งนั้นก็ได้นำมาเป็นแบบอย่างอีกครั้ง ในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘ ด้วยเช่นกัน โดยมีริ้วกระบวนพระราชอิสริยยศพระบรมศพทั้งหมด ๖ ริ้วกระบวน คือ
ริ้วกระบวนที่ ๑ เชิญพระโกศพระบรมศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระมหาพิชัยราชรถ ที่หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ริ้วกระบวนที่ ๒ เชิญพระบรมศพจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามไปยังพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง
ริ้วกระบวนที่ ๓ กระบวนอัญเชิญจากพระบรมศพเวียนพระเมรุมาศ
ริ้วกระบวนที่ ๔ กระบวนอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศ เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง
ริ้วกระบวนที่ ๕ กระบวนอัญเชิญพระบรมอัฐิจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ริ้วกระบวนที่ ๖ กระบวนอัญเชิญพระราชสรีรางคารไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ซึ่งรายละเอียดในแต่ละริ้วกระบวน ได้มีการปรับเปลี่ยนในส่วนปลีกย่อย เพื่อความเหมาะสมอีกเช่นกัน











np.๑๖๗

2862  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2560 16:25:42



๖.เสด็จในกระบวนแห่พระบรมศพ

การพระบรมศพที่เป็นหลักฐานหรือเป็นแบบฉบับต่อการจัดการพระราชพิธีในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ การพระบรมศพในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งพระเจ้าอุทุมพรและเจ้าฟ้าเอกทัศได้แต่งการพระบรมศพ โดยทรงมีพระบรมราชโองการให้มีตราพระราชสีห์ไปยังประเทศราชทั้งปวงให้มาร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ ขั้นตอนการพระราชพิธีสามารถสรุปได้ดังนี้

เริ่มด้วยการเอาน้ำหอมและน้ำดอกไม้เทศและน้ำกุหลาบ น้ำหอมต่างๆ สรงพระบรมศพ และทรงสุคนธรสและกระแจะ จากนั้นก็แต่งพระบรมศพ ทรงสนับเพลงเชิงงอนทองชั้นใน แล้วทรงพระภูษาพื้นขาวปักทองชั้นนอก ทรงเครื่องต้นและเครื่องทรง ทรงฉลองพระองค์อย่างใหญ่ กรอบทองสังเวียนหยัก ชายไหวชายแครง ตาบทิศ ตาบหน้า และสังวาลประดับเพชร ทรงทองต้นพระกร และปลายพระกรประดับเพชร ทรงพระมหาชฎาเดินหนห้ายอด จากนั้นประดับเพชร ทรงทองต้นพระกร และปลายพระกรประดับเพชร ทรงพระมหาชฎาเดินหนห้ายอด จากนั้นประดับเพชรอยู่เพลิงทั้งสิบนิ้วพระหัตถ์ และสิบนิ้วพระบาท แล้วใช้ไม้กาจับหลักซึ่งเป็นไม้ง่ามหุ้มทองค้ำพระหนุ แล้วประนมพระหัตถ์พระบรมศพ นำซองหมากทองคำที่ปากเป็นกระจับใส่ในพระหัตถ์ จากนั้นเอาพระภูษาเนื้ออ่อนพันพระบรมศพเป็นจำนวนมาก เมื่อได้ที่แล้ว นำผ้าขาวเนื้อดีรูปสี่เหลี่ยมห่ออีกครั้งหนึ่ง ผ้านี้เรียกว่าผ้าห่มเบี่ยง เสร็จแล้วอัญเชิญพระบรมศพเข้าพระโกศลองในทองหนักสิบสองชั่ง แล้วใส่พระลองในเข้าในพระโกศทองใหญ่ทรงเฟืองกลีบจงกล ประดับพลอยยอดเก้ายอด เชิงพระโกศตกแต่งด้วยรูปครุฑและสิงห์หน้าอัดทอง หนักยี่สิบห้าชั่ง แล้วเชิญพระโกศขึ้นบนเตียงหุ้มทอง จากนั้นเอาเตียงที่รองพระโกศขึ้นบนพระแท่นแว่นฟ้า แล้วกั้นบริเวณด้วยราชวัติตาข่ายปะวะหล่ำแก้วสีแดง ประดับเครื่องสูงต่างๆ

อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกเป็นประธาน แล้วจัดตั้งเครื่องราชูปโภค ตั้งพานพระสุพรรณบัฏถมซ้อนบนพานทองสองชั้น ด้านข้างตั้งพานพระสำอาง พระสุพรรณศรี พระสุพรรณราช พระเต้า ครอบทอง พระคนทีทอง และพานทองประดับ และเครื่องอุปโภคบริโภค โดยตั้งตามชั้นลดหลั่นลงมาทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

จากนั้นเจ้าหน้าที่จัดตั้งมยุรฉัตรมียอดหุ้มทอง ระบายทอง และคันหุ้มทองโดยตั้งประดับรวม ๘ ทิศ ทิศตะคัน และจัดตั้งบังพระสูริย์ อภิรุม บังแทรก จามร ทานตะวัน และพัดโบก ปูลาดพระสุจหนี่ยี่ภู่ แล้วตั้งพระแท่นแว่นฟ้าในพระยี่ภู่ จากนั้นปูลาดที่บรรทม ตั้งพระเขนยกำมะหยี่ปักทอง และตั้งพระแท่นประดับสองพระองค์ ล้อมรอบด้วยพระสนม นางกำนัล ห้อมล้อมพระศพ และการขับรำเกณฑ์ทำมโหรี ประโคมฆ้อง กลอง แตร สังข์ มโหรี พิณพาทย์

จัดที่อาสนสงฆ์ ให้ธรรมโฆสิตพนักงานสังฆการี นิมนต์พระสังฆราชเป็นประธาน และพระสงฆ์ทั้งในเมืองและนอกเมือง และจากหัวเมืองต่างๆ ให้เข้ามาสดับปกรณ์ สวดพระอภิธรรมในเวลาค่ำและเวลาเช้า ถวายพรพระแล้วฉันภัตตาหารเพล มีเทศน์แล้วถวายเครื่องไทยทาน ไตรจีวร เครื่องเตียบและเครื่องสังเค็ด ในแต่ละวันนิมนต์พระ ๑๐๐ รูปมางานพระบรมศพทุกวันมิได้ขาด มีการตั้งต้นกัลปพฤกษ์ ตั้งโรงมหรสพต่างๆ อาทิ โขน หนัง ละคร หุ่น มอญรำ ระบำเทพทอง โมงครุ่ม กุลาตีไม้

พระเจ้าอุทุมพร และเจ้าฟ้าเอกทัศทรงแจกทานเสื้อผ้า เงินทอง สิ่งของต่างๆ แก่ราษฎรทั้งปวงเป็นอันมาก ต่อมาทรงมีรับสั่งให้ตั้งพระเมรุทองที่ท้องสนามหลวง แล้วตั้งพระเมรุใหญ่ปิดทองประดับกระจกยกลายต่างๆ ดาดเพดานสามชั้น พระเมรุใหญ่มีขนาดสูงถึงยอดพระเมรุ ๔๕ วา หรือ ๙๐ เมตร ฝาเป็นแผงหุ้มผ้าปิดกระดาษ พื้นแดง เขียนรูปเทวดาตามชั้นต่างๆ ดุจเขาพระสุเมรุ อาทิ ชั้นนาค ชั้นครุฑ ชั้นอสูร ชั้นเทวา ชั้นอินทร์ และชั้นพรหม ฝาด้านในเขียนเป็นลายดอกสุมณฑาทอง และมณฑาเงินแกมกัน เครื่องพระเมรุ มีบันแถลงและมุข ๑๑ ชั้น เครื่องบนจำหลักปิดทองประดับกระจก โดยมีขุนสุเมรุทิพราช เป็นนายช่างอำนวยการสร้าง

สำหรับพระเมรุใหญ่ มีส่วนประกอบคือ มีประตูทั้ง ๔ ทิศ แต่ละประตูตั้งรูปกินนรและอสูร ทั้ง ๔ ทิศ ประตูพระเมรุใหญ่ปิดทองทึบจนถึงเชิงเสา กลางพระเมรุเป็นแท่นรับเชิงตะกอนที่ตั้งพระบรมโกศ เสาเชิงตะกอนปิดทองประดับกระจก รอบๆ มีเมรุทิศ ๔ เมรุ และเมรุแทรก ๔ เมรุ รวมเป็น ๘ ทิศ ล้วนปิดทองประดับกระจกเป็นลวดลายต่างๆ รอบๆ เมรุตั้งรูปเทวดาและสัตว์หิมพานต์ อาทิ รูปเทวดา รูปวิทยาธร รูปคนธรรพ์ ครุฑ กินนร คชสีห์ ราชสีห์ เหมหงส์ นรสิงห์ สิงโต มังกร เหรา นาคา ทักกะทอ ช้าง ม้า และเลียงผา แล้วกั้นราชวัติ ๓ ชั้น ซึ่งปิดทอง นาก และเงิน รวมทั้งตีเรือกเป็นทางเดินสำหรับเชิญพระบรมศพ ตามริมทางตั้งต้นไม้กระถางที่มีดอกต่างๆ รวมทั้งประดับประดาฉัตรและธง

ริ้วกระบวนแห่พระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และสมเด็จพระพันวัสสา เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๑ ในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ นั้น ปรากฏรายละเอียดดังนี้

ในงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และสมเด็จพระพันวัสสานั้น พระญาติ พระสนม นางกำนัล พระยาประเทศราช ราชนิกูล เสนาบดีทั้งปวง เศรษฐีคหบดี แต่งกายด้วยเครื่องขาวทุกสิ่ง

คนเกณฑ์แห่ แต่งเครื่องขาว ใส่ลอมพอก ถือพัด ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
เครื่องไทยทาน มีคนแห่ไปหน้าเครื่องดนตรี หรือพวกพิณพาทย์
ดนตรี ดนตรีในกระบวน มี ฆ้อง กลอง แตร สังข์ แตรงอน และพิณพาทย์

ถึงกระบวน พระมหาพิชัยราชรถ ๒ องค์ เทียมด้วยม้า ๔ คู่ ม้าผูกประกอบรูปราชสีห์ มีนายสารถีขับรถ แต่งตัวอย่างเทวดาข้างละ ๔ คน
ราชรถที่เข้าร่วมกระบวนมีตามลำดับจากหน้าไปหลัง มี รถสมเด็จพระสังฆราชอ่านพระอภิธรรม ตามด้วยรถเหล่าพระญาติวงศ์ ถือจงกล ปรายข้าวตอกดอกไม้ ด้วยรถพระญาติถือผ้ากาสา มีปลอกทองประดับเป็นเปราะๆ ห่างกันประมาณ ๓ วา แล้วถือซองหมากทองโยงไปด้านหน้าถึงรถพระบรมศพ และตามด้วยรถใส่ท่อนจันทน์และกฤษณากระลำพักปิดทอง มีรูปเทวดาถือกฤษณากระลำพัก ท่อนจันทน์ถือชูไปบนรถ

ริ้วกระบวนรูปสัตว์ ๑๐ คู่ ได้แก่ ช้าง ม้า คชสีห์ ราชสีห์ สิงโต มังกร ทักกะทอ นรสิงห์ เหม หงส์ ซึ่งรูปสัตว์เหล่านี้มีขนาดสูง ๔ ศอก ซึ่งมีมณฑปตั้งบนหลัง สำหรับใส่ธูป น้ำมัน พิมเสน และเครื่องหอม
ริ้วกระบวนเครื่องสูง เป็นกระบวนพยุหยาตราอย่างใหญ่ ซึ่งมีผู้เชิญเครื่องราชูปโภคครบ
กระบวนแห่เสด็จ มีกระบวนเสนาบดีน้อยใหญ่ จากนั้นเป็นกระบวนปุโรหิตราชครู กระบวนราชนิกูล
เครื่องประโคม เป็นกระบวนคนตีกลองชนะ กลองโยน แตร สังข์ และแตรงอนเข้ากระบวนซ้ายขวา
กระบวนมหาดเล็ก ถือดาบทอง แห่ซ้ายขวา
กระบวนตำรวจในและตำรวจนอก เดินพนมมือ แห่ไปทั้งซ้ายขวา
กระบวนหัวหมื่นมหาดเล็ก เดินพนมมือแห่ไปทั้งซ้ายขวา
กระบวนมหาดเล็กเกณฑ์ ถือ พระสุพรรณศรี พระสุพรรณราช พระเต้าครอบทอง พานทอง เครื่องทอง
กระบวนเกณฑ์มหาดเล็ก ถือ พระแสงปืน พระแสงหอก พระแสงดาบฝักทอง และพระแสงต่างๆ
กระบวนมหาดเล็กและมหาดไทย ถือ กระสุนดิน แห่ไปซ้ายขวาเพื่อดูสูงต่ำไปตามทางเสด็จ ระหว่างเสด็จ
สองข้างทาง ประดับด้วยราชวัติและฉัตร ธงเบญจรงค์ ทอง นาก เงิน
พระมหาพิชัยราชรถและราชรถน้อย รวมทั้งรถรูปสัตว์ ชักด้วยเชือกหุ้มสักหลาดสีแดง ๔ แถว รถชักไปบนเรือก
สำหรับกระบวนเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวประทับบนพระเสลี่ยงทองประดับกระจก มีพระกลดขาวยอดทอง ระบายทอง คันหุ้มทองประดับ มีมหาดเล็กสี่คนเดินกั้นไปทั้งซ้ายและขวา

พระบุตรี ประทับบนพระเสลี่ยงสองหลังๆ ละ ๒ องค์ แห่แหนตามกระบวนพยุหยาตรา ไปตามหลังกระบวนพระบรมศพ รวมทั้งพระญาติวงศ์ พระสนม กำนัล มหาดเล็ก มหาเศรษฐี คหบดี และอำมาตย์ โดยออกทางประตูมงคลสุนทร แต่กระบวนใหญ่ จึงต้องทำลายกำแพงวัง ระหว่างประตูมงคลสุนทร และประตูพรหมสุคตทำเป็นทางออก

เมื่อกระบวนพยุหยาตราพระบรมศพถึงพระเมรุใหญ่ที่ท้องสนามหลวง พระมหาพิชัยราชรถทั้งสองเข้าไปในเมรุทิศเมรุแทรกทั้ง ๘ ทิศ แล้วทักษิณเวียนพระเมรุใหญ่ ๓ รอบ แล้วอัญเชิญพระโกศ เข้าตั้งในพระเมรุใหญ่ ๗ ราตรี มีพระสงฆ์มาสดับปกรณ์และถวายไตรจีวรและเครื่องไทยทาน เครื่องสังเค็ต เตียบ และต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งแขวนเงินใส่ในลูกมะนาวต้นหนึ่งใส่เงิน ๓ ชั่ง ตั้งที่พระเมรุทั้ง ๘ ทิศ โดยทิ้งทานวันละ ๘ ต้น ทั้ง ๗ วัน

นอกจากนี้มีระทา ดอกไม้เพลิง และดอกไม้ต่างๆ ตั้งรายรอบพระเมรุเป็นอันมาก

การถวายพระเพลิงนั้น เมื่อสวดครบ ๗ ราตรีแล้ว ได้มีพระบรมราชโองการตรัสสั่งให้ถวายพระเพลิงด้วยไฟฟ้า (แสงพระอาทิตย์โดยใช้แว่นแก้ว) แล้วเอาท่อนกฤษณากระลำพัก และท่อนจันทน์ที่ปิดทองและเครื่องหอมใส่ใต้พระโกศ แล้วจุดเพลิงไฟฟ้า และสาดด้วยน้ำหอม น้ำดอกไม้เทศ น้ำกุหลาบ และน้ำหอมทั้งหลายที่มีกลิ่นหอมตลบไปทั้งพระเมรุ บรรดาเจ้าประเทศราชห้อมล้อมโดยรอบก็ปรายข้าวตอกดอกไม้บูชาถวายบังคม เมื่อเพลิงมอด ก็ดับด้วยน้ำหอมและน้ำกุหลาบ

จากนั้นจึงแจงพระรูป พระสงฆ์ที่เข้ามาสดับปกรณ์ก่อนถวายพระเพลิงพระบรมศพ และเมื่อแจงพระรูปมีพระสังฆราช พระพิมลธรรม พระเทพมุนี พระพรหมมุนี พระเทพเมาลี พระธรรมอุดม พระอุบาลี พระพุทธโฆษา พระมงคลเทพมุนี พระธรรมกถึก พระวินัยธร พระวินัยธรรม พระนาค พระสังฆราชหัวเมือง เป็นต้น

พระรูปที่แจงนั้นนำเข้าในผอบทอง แล้วอัญเชิญขึ้นสู่พระเสลี่ยงทองแห่ออกไปทางประตูมโนภิรมย์ โดยมีกระบวนประโคม ฆ้อง กลอง แตรลำโพง แตรงอน กลองโยน กลองชนะ และพิณพาทย์ เป็นกระบวนพยุหยาตราไปตามทางที่กั้นราชวัติฉัตรธง มีประชาชนโปรยปรายข้าวตอกดอกไม้ แล้วแห่แหนไปลงเรือพระที่นั่งกิ่งแก้วจักรรัตน์สองลำๆ ละผอบ บนเรือประดับด้วยเครื่องสูงต่างๆ พระเจ้าเอกทัศทรงเรือพระที่นั่งเอกชัย มีมหาดเล็กกั้นพระกลดขาวข้างพระองค์ ซ้าย ๔ คัน ขวา ๔ คัน ส่วนพระเจ้าอุทุมพรทรงเรือพระที่นั่งทองขวานฟ้า ตามด้วยเรือพระที่นั่งครุฑด้านซ้าย และเรือพระที่นั่งหงส์ด้านขวา ตามด้วยเรือนาคเหรา เรือนาควาสุกรี เรือมังกรมหรรณพ เรือมังกรจบสายสินธุ์ เรือเหินหาว เรือหลาวทอง เรือสิงหรัตนาสน์ เรือสิงหาสน์นาวา เรือนรสิงห์วิสุทธิ์สายสินธุ์ เรือนรสิงห์ถวิลอากาศ เรือไกรสรมุขมณฑป เรือไกรสรมุขนาวา เรืออังมสระพิมาน เรือนพเศกฬ่อหา ตามด้วยเรือดั้งซ้ายขวา เป็นเรือนำและเรือรอง จากนั้นเป็นเรือคชสีห์ เรือม้า เรือเลียงผา เรือเสือ และเรือเกณฑ์รูปสัตว์ต่างๆ สิ้นสุดด้วยเรือดั้งเรือกันของเจ้าพระยา และอำมาตย์ตลอดจนมหาดเล็กขอเฝ้า

สำหรับพระราชบุตร พระราชธิดา ลงเรือศรีสักหลาดตามหลังเรือพระที่นั่ง พระสนม กำนัล นั่งเรือศรีผ้าแดง


การแต่งกายในการพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ กรมขุนพรพินิจและเจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) ฉลองพระองค์และเครื่องประดับล้วนเป็นเครื่องขาว

พระญาติวงศ์ พระสนมกำนัล พระยาประเทศราช แต่งด้วยเครื่องขาว
คนเกณฑ์แห่ แต่งเครื่องขาว ใส่ลอมพอก ถือพัด
เสนาบดี แต่งตัวนุ่งขาว ใส่ลอมพอกขาว ถือพัด
ปุโรหิต ราชครู ถือพัด


ต้นกำเนิดในการใช้ราชรถในกระบวนแห่พระบรมศพ
จากคติความเชื่อที่ว่า ชีวิตของคนที่เกิดมามีช่วงเวลาที่สำคัญในการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย จะมีการประกอบพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลเป็นระยะๆ และในอารยประเทศจะต้องประกอบพิธีสำหรับชีวิต เช่น พิธีสมโภชเดือน พิธีโกนจุก พิธีบวช พิธีแต่งงาน และในที่สุดคือ พิธีศพ ซึ่งจะมีการประกอบพิธีตามฐานะของแต่ละบุคคล สำหรับในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะจัดพิธีศพอย่างใหญ่โต เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของผู้ล่วงลับไปให้เป็นที่ปรากฏ กับทั้งเป็นการให้บุตรธิดาได้แสดงความกตัญญูสนองคุณบิดามารดาเป็นครั้งสุดท้าย และเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศกุศลให้ผู้ตาย ได้อานิสงส์ไปจุติในสรวงสวรรค์ ดังนั้นการประกอบพิธีศพจึงมีความสำคัญมากพิธีหนึ่ง ดังนั้นงานถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์จึงมีความยิ่งใหญ่เช่นกัน ทั้งการสร้างยานพาหนะที่จะอัญเชิญพระบรมศพ หรือการสร้างพระเมรุมาศที่จะเป็นที่ถวายพระเพลิง ก็ล้วนแต่มีความวิจิตรงดงามยิ่งใหญ่อลังการทีเดียว และราชรถที่ใช้ในพระบรมศพปรากฏชื่อในสมัยอยุธยา เรียกว่า มหาพิชัยราชรถ จึงทำให้คิดว่า พระมหาพิชัยราชรถนั้น เดิมทีอาจจะมิได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เฉพาะการพระบรมศพแต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจใช้ในพระราชพิธีอื่นๆ ด้วย อาทิ พระราชพิธีกรานกฐินในเดือน ๑๑ ดังที่กล่าวมาแล้ว สำหรับการใช้พระมหาพิชัยราชรถในงานพระบรมศพ หรืองานพระเมรุมาศในสมัยอยุธยานั้น ปรากฏในพระราชพงศาวดารตามลำดับเวลาดังนี้
พ.ศ.๒๒๒๕ พระเพทราชาแต่งการพระบรมศพสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในพระโกศทองคำสู่มหาพิชัยราชรถอลงกต เทียมด้วยม้าต้น ๒ คู่สู่พระเมรุ

พ.ศ.๒๒๔๔ สมเด็จพระเจ้าเสือ อัญเชิญพระบรมศพพระเพทราชาสู่มหาพิชัยราชรถปิลันทนา พร้อมด้วยม้าต้น

พ.ศ.๒๒๔๙ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ให้เชิญพระบรมโกศพระบรมศพพระเจ้าเสือขึ้นบนพระมหาพิชัยราชรถ เสนาพฤฒามาตย์ราชปุโรหิตแห่แหนพระบรมศพไปตามรัถยาราชวัติเข้าสู่พระเมรุมาศ

พ.ศ.๒๒๗๙ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงจัดการพระศพ เจ้ากรมหลวงโยธาเทพขึ้นบนพระมหาพิชัยราชรถ แห่แหนเป็นกระบวนเข้าไปในพระเมรุ

เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พระมหาพิชัยราชรถได้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว และจากการศึกกับพม่าใน พ.ศ.๒๓๑๐  ทำให้พระมหาพิชัยราชรถและราชยานอื่นๆ อันตรธานสูญหายไป จึงทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างพระมหาพิชัยราชรถขึ้นใหม่เพื่อใช้ในงานพระเมรุของพระปฐมบรมชนกนาถของพระองค์ โดยทรงสร้างตามแบบที่มีมาแต่โบราณทุกอย่าง รวมทั้งราชรถน้อยที่ใช้ในกระบวนแห่พระโกศด้วย และต่อมาได้สร้างเวชยันตราชรถเพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง และได้ใช้มาตลอดจนปัจจุบัน

ลักษณะการจัดงานพระบรมศพในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ใช้พระมหาพิชัยราชรถตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ สามารถศึกษาได้จากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงนิพนธ์ไว้ ตอนพระยาพิเภกอัญเชิญพระบรมศพทศกัณฐ์ขึ้นพระมหาพิชัยราชรถเข้าริ้วกระบวนแห่ไปยังพระเมรุมาศโดยมีรถโยง รถนำตาม ดังความว่า


เมื่อนั้น พระยาพิเภกยักษา
จึงให้เชิญพระศพเจ้าลงกา ขึ้นมหาพิชัยราชรถ
ประดับด้วยเครื่องสูงเศวตฉัตร กรรชิงรัตน์พัดโบกอลงกต
ขนัดพลเกณฑ์แห่เป็นหลั่นลด รถโยงรถนำเรียบเรียง
กลองชนะปี่ฆ้องก้องกึก พันลึกครึกครั่นสนั่นเสียง
แตรงอนแตรฝรั่งเป็นคู่เคียง สำเนียงเอิกเกริกเป็นโกลา
จึงให้เคลื่อนรถทรงบรมศพ พระจอมภพธิราชยักษา
โดยกระบวนไปตามรัถยา ยังมหาเมรุมาศรูจีฯ


นอกจากนี้ยังพบว่าราชรถที่ใช้ในการพระศพของเจ้านายที่มิใช่พระเจ้าแผ่นดินก็จะใช้ชื่อพิชัยรถ ดังปรากฏในเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ทศกัณฐ์จัดงานศพอินทรชิต ดังความว่า

เข้ามาแล้วเชิญพระศพ ลูกเจ้าจอมภพไอสวรรย์
ใส่ลงกับสุคนธ์จุณจันทน์ ตามบัญชาการอสุรี
แล้วเชิญขึ้นยังพิชัยรถ อลงกตจำรัสรัศมี
ประโคมด้วยดุริยางค์ดนตรี นำไปยังที่บรรตพฯ

อย่างไรก็ดีพบว่า ราชรถที่ใช้ในงานพระศพของเจ้านายที่มียศต่ำลงมามีอีกคันหนึ่ง คือ รถสุรกานต์ โดยพบว่าใช้ในงานพระศพของท้าวจักรวรรดิ แห่งเมืองมลิวัน ในเรื่องรามเกียรติ์
2863  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / Re: ฝึกวาดลายไทยไปพร้อมกัน เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2560 16:13:52






ลายก้านแย่งกาบใบเทศ
2864  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / เยือน วัดหลวงปู่แบน ธนากโร : วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2560 19:54:44


พระประธานประจำพระอุโบสถวัดดอยธรรมเจดีย์


อุโบสถวัดดอยธรรมเจดีย์

เยือน วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่แบน ธนากโร (พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร)
บ้านนาสีนวล ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

วัดดอยธรรมเจดีย์ เป็นวัดป่าปฏิบัติสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต โดยเป็น ๑ ใน ๔ วัดที่องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งภาคปฏิบัติ เพราะมีข้อวัตรปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดตามแบบฉบับพระกรรมฐานสายนี้  

ในอดีตวัดแห่งนี้เคยเป็นถ้ำเสือ บนเทือกเขาภูพาน มีความสงบวิเวก ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ได้มาปักกลดที่ปากถ้ำเสือ แล้วปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนเสือที่เคยอาศัยอยู่ ณ ถ้ำแห่งนี้ ต้องหลีกทางให้ท่านอยู่ปฏิบัติเพราะสู้เมตตาธรรมของท่านไม่ได้ ซึ่งต่อมาหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ก็ได้สร้างเป็นวัดขึ้นมาและเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

ปัจจุบันมี หลวงพ่อแบน ธนากโร เป็นเจ้าอาวาส ในคราวที่องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เดินทางมาที่วัดแห่งนี้พร้อมกับ พระอุปัชฌาย์ คือ พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) แห่งวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี และผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครในขณะนั้น ได้ตั้งชื่อวัดโดยเอานามพระอุปัชฌาย์ขององค์ท่านมาตั้งเป็นชื่อ  วัดแห่งนี้จึงมีนามว่า “วัดดอยธรรมเจดีย์” มาจนกระทั่งทุกวันนี้

วัดตั้งอยู่ในเขตอำเภอโคกศรีสุพรรณ ออกจากตัวเมืองสกลนคร ไปเส้นทางสายอำเภอนาแก ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร พอถึงอำเภอโคกศรีสุพรรณเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ ๕ กิโลเมตร  ขนาดเนื้อที่ ๙๐๐ ไร่ สภาพเป็นป่าโปร่งบนภูเขาหิน สงบร่มรื่น หน้าร้อนค่อนข้างร้อนมาก ช่วงหน้าฝนหรือช่วงปลายฝนต้นหนาวอาการเย็นสบาย เพราะมีลำธารน้ำไหล พอถึงฤดูหนาว อากาศก็จะหนาวมากแบบภาคอีสานตอนบน จึงเป็นสถานสัปปายะที่สงบร่มรื่น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เจริญจิตตภาวนาเป็นยิ่งนัก  





๏ อัตโนประวัติ พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่แบน ธนากโร)
“พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร” หรือ “หลวงพ่อแบน ธนากโร” แห่งวัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร มีนามเดิมว่า สุวรรณ กองจินดา เกิดเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะโรง ณ บ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายเล็ก และนางหลิม กองจินดา ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนทำไร่

๏ การศึกษาเบื้องต้น
ครั้นพอถึงเกณฑ์เข้าโรงเรียนแล้ว โยมบิดา-โยมมารดาได้ส่งให้ท่านเข้าศึกษาในโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนจบประถมศึกษาปีที่ ๔ ครั้นจบการศึกษาแล้ว ท่านก็ได้ช่วยบิดามารดาทำสวนทำไร่ เพราะในเขตจังหวัดจันทบุรีนั้น อาชีหลักคือทำสวนเงาะ สวนทุเรียน

๏ การอุปสมบท
เมื่ออายุ ๒๑ ปี หลวงพ่อแบน ธนากโร ท่านได้เข้าไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ณ วัดทรายงาม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านของท่าน พอทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติแล้ว หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ จึงได้นำท่านเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ วัดเกาะตะเคียน ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมีพระอมรโมลี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูพิพัฒน์พิหารการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเม้า เป็นพระอนุสาวนาจารย์

๏ อยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่กงมา
ภายหลังจากที่ท่านบวชแล้วก็มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ที่วัดทรายงาม จังหวัดจันทบุรี และได้ติดตามหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ มาอยู่ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งหลวงปู่กงมาได้มรณภาพลง ครั้นทำการถวายเพลิงศพของหลวงปู่กงมาแล้ว หลวงพ่อแบน ธนากโร ท่านก็ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดดอยธรรมเจดีย์ต่อจากหลวงปู่กงมาผู้เป็นอาจารย์ รักษาข้อวัตรปฏิบัติอย่างเด็ดเดี่ยว รวมทั้งทำหน้าที่อบรมพระภิกษุสามเณร ญาติโยมที่มาขออยู่ปฏิบัติธรรม ให้มีศีลธรรมประจำใจ

๏ เป็นพระที่องค์พระมหากษัตริย์ให้ความเคารพ
เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จแปรพระราชฐานมาพักอยู่ที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เพื่อออกเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคอีสาน ทั้งสองพระองค์และพระบรมวงศ์ จะเสด็จขึ้นไปกราบนมัสการหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ และเยี่ยมเยียนประชาชนในแถบนั้นทุกครั้ง

๏ เป็นเสาหลักพระกรรมฐาน
ท่านเป็นเสาหลักพระกรรมฐานในเขตภาคอีสาน และภาคอื่นๆ ซึ่งพอถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น คณะลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสนั้นจะมาจากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเขตจังหวัดสกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, อุดรธานี, เลย, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ ฯลฯ จะพากันมาลงอุโบสถสามัคคีกันที่วัดดอยธรรมเจดีย์ และรับฟังธรรมโอวาท คติเตือนใจ รวมทั้งข้อธรรมอื่นๆ ในด้านการปฏิบัติจิตตภาวนาจากหลวงพ่อแบน ธนากโร และท่านก็จะให้กำลังจิตกำลังใจ ไม่ให้ท้อถอย ให้ต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย คือกิเลส ให้ยึดมั่นในหลักพระธรรมวินัย รวมทั้งให้พากันตั้งอกตั้งใจรักษาข้อวัตรปฏิบัติ และปฏิปทาที่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านพาดำเนินมา

ซึ่งในช่วงเทศกาลต่างๆ นั้น พระภิกษุที่มารวมกันลงอุโบสถนั้น มีประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ รูป ส่วนฆราวาสก็ประมาณ ๙๐๐-๑,๕๐๐ คน ในวันปวารณาเข้าพรรษานั้น องค์หลวงพ่อแบนท่านก็จะแจกวัตถุสิ่งของต่างๆ หลายอย่างให้แก่วัดที่มาร่วมลงอุโบสถสามัคคี เช่น น้ำตาล โกโก้ กาแฟ ร่ม ฯลฯ เพื่อมอบให้แก่ทางวัดได้ใช้สอยร่วมกัน และก็จะแจกถุงยังชีพให้แก่พระภิกษุสามเณร มีสบู่ ยาสีฟัน ยารักษาโรค ยากันยุง น้ำยาซักผ้า เป็นต้น

เรื่องการสงเคราะห์หมู่คณะพระเณร ญาติโยมนี้ ท่านจะทำอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่แต่เฉพาะวันสำคัญเท่านั้น ท่านจะพาลูกศิษย์ไปแจกผ้าห่ม เสื้อผ้า ข้าวปลา อาหารแห้ง ยารักษาโรค เครื่องอุปโภค บริโภคต่างๆ ให้แก่ประชาชน ในเขตอำเภอภูพาน อำเภอเต่างอย อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร อำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และทั่วทั้งภาคอีสาน รวมไปถึงภาคเหนือ และภาคอื่นๆ เป็นต้น

ส่วนการสงเคราะห์ตามวัดนั้น ท่านจะออกไปตรวจตราและเยี่ยมเยียนตามวัดวาต่างๆ เพื่อให้กำลังจิตกำลังใจในการเจริญจิตตภาวนา พร้อมทั้งนำเครื่องอุปโภค บริโภค มีน้ำตาล น้ำปลา มาม่า ปลากระป๋อง ฯลฯ ไปถวายให้วัดนั้นๆ หากเป็นฤดูกาลหน้าผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ออกผลผลิต ท่านก็จะจะนำไปแจกจ่ายให้ตามวัดครูบาอาจารย์กรรมฐานต่างๆ รวมทั้งวัดอื่นๆ ด้วย

๏ สร้างโรงพยาบาล
หลวงพ่อแบน ธนากโร ท่านได้เมตตาสงเคราะห์คนหมู่มาก ทั้งพระและฆราวาส อย่างหาประมาณมิได้ องค์ท่านได้เมตตาสร้างตึกร่มฟ้า ให้แก่โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร พร้อมทั้งถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ และสร้างตึกร่มฉัตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตึกทั้งสองหลังนี้ เป็นตึกห้องพิเศษ วีไอพี มีอุปกรณ์ทันสมัยครบครันสมบูรณ์แบบ

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ องค์ท่านได้สร้าง ‘โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร’ ที่อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวาระที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา

๏ สร้างสำนักปฏิบัติธรรม
หลวงพ่อแบน ธนากโร นอกจากองค์ท่านจะเมตตาสงเคราะห์แก่ประชาชนทั่วไปแล้ว ท่านยังได้เมตตาสร้างวัดเพื่อเป็นสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานเจริญรอยตามพระบูรพาจารย์ มีหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นอาทิ ให้พระภิกษุสามเณรได้มีที่อยู่ศึกษาข้อวัตร ปฏิบัติธรรม เพื่อรักษาป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร รักษาสัตว์ป่า และรักษาธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งนับวันจะถูกบุคคลต่างๆ ทำลายลงไป

วัดที่องค์ท่านได้เมตตาสร้างนั้นมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน ดังนี้
๑.วัดป่าภูผาผึ้ง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
๒.วัดป่าค้อน้อย บ้านค้อน้อย ตำบลค้อใหญ่ อำเภอกุดบาก จังหวัดมุกดาหาร
๓.วัดป่าวังเพิ่ม-พระภาวนา ตำบลพญาเย็น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
๔.วัดที่ท่านสร้างขึ้นใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ปัจจุบันนี้ หลวงพ่อแบน ธนากโร ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร หรือในบางครั้งท่านก็จะไปพักสั่งสอนศีลธรรมอยู่ที่วัดป่าวังเพิ่ม-พระภาวนา อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และวัดที่ท่านสร้างขึ้นใหม่ในจังหวัดจันทบุรี

๏ ธรรมะสงเคราะห์โลก
นอกจากหลวงพ่อแบน ธนากโร ได้เมตตาสงเคราะห์บุคคลทั้งหลายด้วยวัตถุสิ่งของแล้ว ท่านจะให้ความสำคัญกับลูกศิษย์ทุกคนที่มากราบไหว้นมัสการท่านเสมอกัน สิ่งหนึ่งซึ่งหลวงพ่อท่านจะเมตตาสงเคราะห์กับบุคคลต่างๆ นั้นก็คือ “ธรรมะ” โดยท่านจะอบรมผู้ที่มากราบนมัสการท่าน และพระเณรที่อยู่ภายในวัดเป็นประจำ ส่วนวันพระนั้นท่านจะเมตตาอบรมเป็นพิเศษ ทางด้านจิตตภาวนา

ดังนั้น จึงขอนำหัวข้อธรรมของหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่ท่านเทศน์ในวาระโอกาสสำคัญต่างๆ มาลงไว้ให้เป็นคติเครื่องระลึก เครื่องเตือนใจ แก่เหล่าพระสงฆ์ ฆราวาส ได้อ่านศึกษา เพื่อจะได้นำไปฝึกฝนอบรมตนเอง ให้เป็นไปตามหลักธรรมะคำสอนที่องค์ท่านได้เมตตาแสดงไว้

๏ บุญคืออะไร
บุญ คือ การทำใจของเราให้สบาย ให้มีความสุข ให้สงบ ให้ใส ให้เย็น ให้สว่าง บุญ คือ การทำใจของเราให้สมบูรณ์ขึ้นมาด้วยศีลธรรม สิ่งใดเป็นประโยชน์แก่โลก แก่สังคมโลก อันนั้นเรียกว่าบุญได้ทั้งนั้น เพราะบุญ คือสิ่งที่สร้างสรรค์ การทำสิ่งที่สร้างสรรค์นั้นจึงเป็นการทำบุญ

๏ สำเร็จเป็นการบุญ
เรื่องการบริจาคทาน บุญที่จะเกิดขึ้นมากน้อย ขึ้นอยู่กับจิตใจของบุคคลผู้ทำ ไม่ต้องสมมุติว่ากองกฐิน ไม่ต้องสมมุติว่ากองผ้าป่า ก็สำเร็จเป็นการบุญ

๏ บุญกุศลมหาศาล
การทานมุ่งในการเสียสละด้วยความบริสุทธิ์ใจ ๑ คือไม่มีอะไรแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง ไม่ใช่ทานเพื่อมุ่งของตอบแทน ไม่ใช่ทานเพื่อมุ่งให้หน้าตาใหญ่โตอะไร ทานเพื่อเป็นการบูชา สิ่งที่เรานำไปบริจาคนั้น เป็นของที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรง คือได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ๑ แล้วก็บุคคลที่รับไทยทานของเราก็เป็นบุคคลที่มีความบริสุทธิ์ ๑ ถ้าหากว่าความบริสุทธิ์สามส่วนนี้มารวมกัน ไม่ต้องเรียกว่าผ้าป่า ไม่ต้องเรียกว่ากฐิน เป็นบุญกุศลมหาศาลทั้งนั้น

๏ ธรรมโอสถ
คนที่จะเห็นคุณค่าของข้าวปลาอาหาร คนนั้นต้องรับประทาอาหารอิ่ม คนที่จะเห็นคุณค่าของยา โรคของเจ้าของต้องหายไป ตามปรกติเราๆ เป็นโรคด้วยกันทุกคน โรครัก โรคชัง โรคอะไรต่ออะไร เป็นโรคทั้งนั้น ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมแก้โรค

๏ ได้ประโยชน์ทั้งนั้น
ศีลธรรมของพระพุทธเจ้า เอาไปประพฤติปฏิบัติ ได้รับประโยชน์ทั้งนั้น เหมือนกับยา จะสีวรรณะใด ฝรั่งดำ ฝรั่งขาว เขมร ไทย จะสีใดๆ ก็ช่าง ยาเป็นประโยชน์เวลาป่วยไข้ได้ทั้งนั้นไม่เลือกสีสัน ไม่เลือกวรรณะ

๏ ความดีต้องรีบทำ
ความดี คือการบำเพ็ญทาน ความดี คือการรักษาศีล ความดี คือการบำเพ็ญจิตตภาวนา ให้รีบทำในขณะนี้ทีเดียว พระพุทธเจ้าทรงอุปมาไว้ เหมือนกับไฟไหม้ผมบนศีรษะให้รีบดับ ไม่ใช่ไหม้บ้านไหม้ช่องนะ ไหม้ผมบนศีรษะนี่ ต้องดับทันที การทำความดีก็ต้องรีบทำทันทีเหมือนกัน ทันทีทุกขณะ

๏ ดูใจ
ให้ดูใจ ถ้าหากว่าเราดูใจของเราแล้ว ทำดีได้ดีจริง ใจมีความสบาย ใจมีความสุขจริง ทำไม่ดี ได้ความไม่ดีจริง ใจไม่สบายจริง ใจเป็นทุกข์จริง ถ้าเราดูใจของเราแล้ว มันชัดเหลือเกิน พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ดูใจของเรามากๆ แล้วคำว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อันนี้เราจะยอมรับอย่างสนิทใจ อย่าใจร้อน ค่อยเป็นค่อยไป อย่าใจร้อน ใจร้อนจะร้อนใจ ร้อนใจเพราะไม่ได้ดั่งใจ ทำใจเย็นๆ แต่ว่าต้องมีความพยายามให้มาก พอใจในการทำให้มาก อันนี้เป็นข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง

ติเราเอง
ไปหาติคนอื่น บางทีมีปัญหา ติเรา ติเรา การติเรานั่นล่ะคือการแก้ปัญหา เป็นการแก้ปัญหาที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าถูกต้อง ต้นไม้ในโลก มีทั้งมีแก่นและไม่มีแก่น คนในโลกก็เช่นเดียวกัน มีทั้งแข็งแกร่งและอ่อนแอ มีทั้งมีคุณภาพและไม่มีคุณภาพ ธรรมดาธรรมชาติของเขาเป็นอย่างนั้น จึงไม่ต้องไปติ ไม่ต้องไปชมอะไรกัน ถ้าหากว่าจะติจะชม พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการติเราชมเรา

การที่ใจมุ่งตำหนิคนอื่นนั้น ใจไม่สบาย ใจเป็นอกุศล ใจมุ่งในการตำหนิเรา มุ่งในการแก้ไขเรา ใจมีลักษณะนี้ ใจเป็นข้อปฏิบัติ ใจมีอรรถ ใจมีธรรม มีธรรมจึงให้มุ่งที่จะแก้ไข ปรับปรุงเราเองอยู่เสมอ

๏ ศีลบริสุทธิ์
เป็นฆราวาสก็สามารถที่จะเข้าถึงอริยบุคคลได้ อย่างนางวิสาขาก็เป็นผู้หนึ่งที่ยังครองเรือน แต่จิตของนางวิสาขานั้นสมบูรณ์ด้วยศีลห้า สมบูรณ์บริสุทธิ์ทีเดียว แม้แต่จะคิดไปในทางที่ละเมิดก็ไม่มี จิตอย่างนี้เป็นจิตประเสริฐ ศีลห้าจึงเป็นศีลที่ยังจิตยังใจให้ประเสริฐ เป็นอริยบุคคลขึ้นมาได้

๏ ศีลสมบูรณ์
การรักษาศีล ก็คือการสำรวมในจิตในใจ สำรวมในจิตในใจสมบูรณ์ จิตนั้นพร้อมที่จะก้าวเป็นสมาธิธรรม การสำรวมในจิตในใจหย่อนยาน ศีลของเราก็หย่อนยาน การสำรวมในจิตในใจของเราเข้มงวดยิ่งขึ้นไป ศีลของเราจะสมบูรณ์ประณีตยิ่งขึ้นไป จิตพร้อมที่จะเป็นสมาธิ ในขณะที่จิตเป็นศีลสมบูรณ์นั้น จึงว่าศีลเป็นพื้นฐานที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

๏ ภาวนาดี
วันนี้มีโยมมาขอพร ขอพรอะไร ขอพรอะไรก็ได้ทั้งนั้นล่ะ ว่างั้น ถ้าอย่างนั้นก็จะให้พรที่ดีที่สุด คือให้ภาวนาดีๆ พระพุทธเจ้า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการภาวนา พระอรหันตสาวกเจ้า เป็นพระอรหันต์ด้วยการภาวนา พิจารณาดูแล้ว ไม่มีอะไรดีเท่าการบำเพ็ญภาวนา พ้นจากทุกข์ได้เพราะการภาวนา

๏ เรือนธรรมเรือนใจ
นกเขาก็ยังมีรัง หนูเขาก็ยังมีรู กระจ้อนกระแตเขาก็ยังมีบ้านมีช่อง ผู้ปฏิบัติธรรม ก็ต้องมีเรือนธรรมเป็นเครื่องอยู่ของใจเช่นเดียวกัน เรือนธรรมก็คือความสงบ คือสมาธิธรรม

๏ ถ่อมตน
ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นเครื่องประดับคนให้งาม การแข็งกระด้าง การยกแต่เจ้าของ พยายามกดคนอื่น อันนี้ไม่สวยงามเลย ไม่ว่าสังคมระดับไหน

หลวงพ่อแบน ธนากโร ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดีชอบ กอรปด้วยศีลและธรรม มีศีลาจาริยวัตรที่งดงาม และยังคงรักษาข้อวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยมีหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ผู้เป็นบูรพาจารย์ พาประพฤติปฏิบัติสืบทอดมา












ตัวอักษรสีขาวในแผ่นป้ายสีเขียวนั้น เขียนไว้ว่า "ฆราวาสห้ามผ่าน"
เป็นเขตปฏิธรรมของพระสงฆ์















ขอขอบคุณข้อมูล
จาก เว็บไซท์ ลานธรรมจักรดอทเน็ต
และ เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

2865  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ปูนิ่มผัดพริกไทยดำ สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2560 14:03:37





ปูนิ่มผัดพริกไทยดำ

ส่วนผสม
- ปูนิ่ม 2 ตัว
- พริกไทยดำโขลกหยาบ 1/2 ช้อนโต๊ะ
- พริกหวาน แดง เหลือง อย่างละ 1/2 ผล (หั่นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดประมาณ 1 นิ้ว)
- หอมหัวใหญ่ 1/2 หัว (หั่นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดประมาณ 1 นิ้ว)
- เห็ดหอมสด หรือแห้ง (แช่น้ำให้นิ่ม) 5-6 ดอก
- แครอท ฝานแฉลบบาง 1/4 ถ้วย
- ต้นหอมสด หั่นท่อนยาว 1 นิ้ว
- น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
- ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วขาว
- น้ำตาลทราย
- แป้งมัน 1/3 ถ้วย
- แป้งข้าวโพด 1 ช้อนชา


วิธีทำ
1.ล้างปูนิ่มให้สะอาด ใช้กรรไกรตัดกลางลำตัว แล้วตัดแบ่งข้างละ 3 ชิ้น
  โรยด้วยแป้งมัน คลุกเบาๆ ให้แป้งติดทั่วชิ้นปู นำไปทอดด้วยไฟกลางจนกรอบเหลือง ตักใส่ตะแกรงพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
2.ใส่น้ำมันมะกอกในกระทะ พอร้อนจัด ใส่หอมหัวใหญ่ พริกหวาน เห็ดหอม ลงไปผัดพร้อมกัน
   ใส่น้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว น้ำตาลทราย ต้นหอมหั่นท่อน ละลายแป้งข้าวโพดในน้ำซุปหรือน้ำสะอาด ใส่ลงไปผัดให้เข้ากัน
   ชิมรสชาติให้เข้มข้น
3. ยกลงจากเตา ใส่ปูนิ่มทอดกรอบและพริกไทยดำโขลกหยาบ ผัดให้เข้ากัน แล้วตักใส่จานเสิร์ฟ




















2866  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: 'ศพใส่โกศ' เรื่องที่คนทั้งหลายอยากรู้ เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2560 18:41:08

ภาพการสุกำ (๑) และการห่อศพด้วยผ้าขาวก่อนอุ้มลงโกศ (๒)


ท่านั่งของศพในโกศ

การพระบรมศพในสมัยกรุงศรีอยุธยา

จากคติความเชื่อที่ว่า ชีวิตของคนที่เกิดมามีช่วงเวลาที่สำคัญในการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย จะมีการประกอบพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลเป็นระยะๆ และในอารยประเทศจะต้องประกอบพิธีสำหรับชีวิต เช่น พิธีสมโภชเดือน พิธีโกนจุก พิธีบวช พิธีแต่งงาน และในที่สุดคือ พิธีศพ ซึ่งจะมีการประกอบพิธีตามฐานะของแต่ละบุคคล สำหรับในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะจัดพิธีศพอย่างใหญ่โต เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของผู้ล่วงลับไปให้เป็นที่ปรากฏ กับทั้งเป็นการให้บุตรธิดาได้แสดงความกตัญญูสนองคุณบิดามารดาเป็นครั้งสุดท้าย และเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศกุศลให้ผู้ตาย ได้อานิสงส์ไปจุติในสรวงสวรรค์ ดังนั้นการประกอบพิธีศพจึงมีความสำคัญมากพิธีหนึ่ง ดังนั้นงานถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์จึงมีความยิ่งใหญ่เช่นกัน

การพระบรมศพที่เป็นหลักฐานหรือเป็นแบบฉบับต่อการจัดการพระราชพิธีในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ การพระบรมศพในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งพระเจ้าอุทุมพรและเจ้าฟ้าเอกทัศได้แต่งการพระบรมศพ โดยทรงมีพระบรมราชโองการให้มีตราพระราชสีห์ไปยังประเทศราชทั้งปวงให้มาร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ ขั้นตอนการพระราชพิธีสามารถสรุปได้ดังนี้

เริ่มด้วยการเอาน้ำหอมและน้ำดอกไม้เทศและน้ำกุหลาบ น้ำหอมต่างๆ สรงพระบรมศพ และทรงสุคนธรสและกระแจะ จากนั้นก็แต่งพระบรมศพ ทรงสนับเพลงเชิงงอนทองชั้นใน แล้วทรงพระภูษาพื้นขาวปักทองชั้นนอก ทรงเครื่องต้นและเครื่องทรง ทรงฉลองพระองค์อย่างใหญ่ กรอบทองสังเวียนหยัก ชายไหวชายแครง ตาบทิศ ตาบหน้า และสังวาลประดับเพชร ทรงทองต้นพระกร และปลายพระกรประดับเพชร ทรงพระมหาชฎาเดินหนห้ายอด จากนั้นประดับเพชร ทรงทองต้นพระกร และปลายพระกรประดับเพชร ทรงพระมหาชฎาเดินหนห้ายอด จากนั้นประดับเพชรอยู่เพลิงทั้งสิบนิ้วพระหัตถ์ และสิบนิ้วพระบาท แล้วใช้ไม้กาจับหลักซึ่งเป็นไม้ง่ามหุ้มทองค้ำพระหนุ แล้วประนมพระหัตถ์พระบรมศพ นำซองหมากทองคำที่ปากเป็นกระจับใส่ในพระหัตถ์ จากนั้นเอาพระภูษาเนื้ออ่อนพันพระบรมศพเป็นจำนวนมาก เมื่อได้ที่แล้ว นำผ้าขาวเนื้อดีรูปสี่เหลี่ยมห่ออีกครั้งหนึ่ง ผ้านี้เรียกว่าผ้าห่มเบี่ยง เสร็จแล้วอัญเชิญพระบรมศพเข้าพระโกศลองในทองหนักสิบสองชั่ง แล้วใส่พระลองในเข้าในพระโกศทองใหญ่ทรงเฟืองกลีบจงกล ประดับพลอยยอดเก้ายอด เชิงพระโกศตกแต่งด้วยรูปครุฑและสิงห์หน้าอัดทอง หนักยี่สิบห้าชั่ง แล้วเชิญพระโกศขึ้นบนเตียงหุ้มทอง จากนั้นเอาเตียงที่รองพระโกศขึ้นบนพระแท่นแว่นฟ้า แล้วกั้นบริเวณด้วยราชวัติตาข่ายปะวะหล่ำแก้วสีแดง ประดับเครื่องสูงต่างๆ

อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกเป็นประธาน แล้วจัดตั้งเครื่องราชูปโภค ตั้งพานพระสุพรรณบัฏถมซ้อนบนพานทองสองชั้น ด้านข้างตั้งพานพระสำอาง พระสุพรรณศรี พระสุพรรณราช พระเต้า ครอบทอง พระคนทีทอง และพานทองประดับ และเครื่องอุปโภคบริโภค โดยตั้งตามชั้นลดหลั่นลงมาทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

จากนั้นเจ้าหน้าที่จัดตั้งมยุรฉัตรมียอดหุ้มทอง ระบายทอง และคันหุ้มทองโดยตั้งประดับรวม ๘ ทิศ ทิศตะคัน และจัดตั้งบังพระสูริย์ อภิรุม บังแทรก จามร ทานตะวัน และพัดโบก ปูลาดพระสุจหนี่ยี่ภู่ แล้วตั้งพระแท่นแว่นฟ้าในพระยี่ภู่ จากนั้นปูลาดที่บรรทม ตั้งพระเขนยกำมะหยี่ปักทอง และตั้งพระแท่นประดับสองพระองค์ ล้อมรอบด้วยพระสนม นางกำนัล ห้อมล้อมพระศพ และการขับรำเกณฑ์ทำมโหรี ประโคมฆ้อง กลอง แตร สังข์ มโหรี พิณพาทย์

จัดที่อาสนสงฆ์ ให้ธรรมโฆสิตพนักงานสังฆการี นิมนต์พระสังฆราชเป็นประธาน และพระสงฆ์ทั้งในเมืองและนอกเมือง และจากหัวเมืองต่างๆ ให้เข้ามาสดับปกรณ์ สวดพระอภิธรรมในเวลาค่ำและเวลาเช้า ถวายพรพระแล้วฉันภัตตาหารเพล มีเทศน์แล้วถวายเครื่องไทยทาน ไตรจีวร เครื่องเตียบและเครื่องสังเค็ด ในแต่ละวันนิมนต์พระ ๑๐๐ รูปมางานพระบรมศพทุกวันมิได้ขาด มีการตั้งต้นกัลปพฤกษ์ ตั้งโรงมหรสพต่างๆ อาทิ โขน หนัง ละคร หุ่น มอญรำ ระบำเทพทอง โมงครุ่ม กุลาตีไม้

พระเจ้าอุทุมพร และเจ้าฟ้าเอกทัศทรงแจกทานเสื้อผ้า เงินทอง สิ่งของต่างๆ แก่ราษฎรทั้งปวงเป็นอันมาก ต่อมาทรงมีรับสั่งให้ตั้งพระเมรุทองที่ท้องสนามหลวง แล้วตั้งพระเมรุใหญ่ปิดทองประดับกระจกยกลายต่างๆ ดาดเพดานสามชั้น พระเมรุใหญ่มีขนาดสูงถึงยอดพระเมรุ ๔๕ วา หรือ ๙๐ เมตร ฝาเป็นแผงหุ้มผ้าปิดกระดาษ พื้นแดง เขียนรูปเทวดาตามชั้นต่างๆ ดุจเขาพระสุเมรุ อาทิ ชั้นนาค ชั้นครุฑ ชั้นอสูร ชั้นเทวา ชั้นอินทร์ และชั้นพรหม ฝาด้านในเขียนเป็นลายดอกสุมณฑาทอง และมณฑาเงินแกมกัน เครื่องพระเมรุ มีบันแถลงและมุข ๑๑ ชั้น เครื่องบนจำหลักปิดทองประดับกระจก โดยมีขุนสุเมรุทิพราช เป็นนายช่างอำนวยการสร้าง

สำหรับพระเมรุใหญ่ มีส่วนประกอบคือ มีประตูทั้ง ๔ ทิศ แต่ละประตูตั้งรูปกินนรและอสูร ทั้ง ๔ ทิศ ประตูพระเมรุใหญ่ปิดทองทึบจนถึงเชิงเสา กลางพระเมรุเป็นแท่นรับเชิงตะกอนที่ตั้งพระบรมโกศ เสาเชิงตะกอนปิดทองประดับกระจก รอบๆ มีเมรุทิศ ๔ เมรุ และเมรุแทรก ๔ เมรุ รวมเป็น ๘ ทิศ ล้วนปิดทองประดับกระจกเป็นลวดลายต่างๆ รอบๆ เมรุตั้งรูปเทวดาและสัตว์หิมพานต์ อาทิ รูปเทวดา รูปวิทยาธร รูปคนธรรพ์ ครุฑ กินนร คชสีห์ ราชสีห์ เหมหงส์ นรสิงห์ สิงโต มังกร เหรา นาคา ทักกะทอ ช้าง ม้า และเลียงผา แล้วกั้นราชวัติ ๓ ชั้น ซึ่งปิดทอง นาก และเงิน รวมทั้งตีเรือกเป็นทางเดินสำหรับเชิญพระบรมศพ ตามริมทางตั้งต้นไม้กระถางที่มีดอกต่างๆ รวมทั้งประดับประดาฉัตรและธง

ริ้วกระบวนแห่พระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และสมเด็จพระพันวัสสา เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๑ ในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ นั้น ปรากฏรายละเอียดดังนี้

ในงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และสมเด็จพระพันวัสสานั้น พระญาติ พระสนม นางกำนัล พระยาประเทศราช ราชนิกูล เสนาบดีทั้งปวง เศรษฐีคหบดี แต่งกายด้วยเครื่องขาวทุกสิ่ง

คนเกณฑ์แห่ แต่งเครื่องขาว ใส่ลอมพอก ถือพัด ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
เครื่องไทยทาน มีคนแห่ไปหน้าเครื่องดนตรี หรือพวกพิณพาทย์
ดนตรี ดนตรีในกระบวน มี ฆ้อง กลอง แตร สังข์ แตรงอน และพิณพาทย์

ถึงกระบวน พระมหาพิชัยราชรถ ๒ องค์ เทียมด้วยม้า ๔ คู่ ม้าผูกประกอบรูปราชสีห์ มีนายสารถีขับรถ แต่งตัวอย่างเทวดาข้างละ ๔ คน
ราชรถที่เข้าร่วมกระบวนมีตามลำดับจากหน้าไปหลัง มี รถสมเด็จพระสังฆราชอ่านพระอภิธรรม ตามด้วยรถเหล่าพระญาติวงศ์ ถือจงกล ปรายข้าวตอกดอกไม้ ด้วยรถพระญาติถือผ้ากาสา มีปลอกทองประดับเป็นเปราะๆ ห่างกันประมาณ ๓ วา แล้วถือซองหมากทองโยงไปด้านหน้าถึงรถพระบรมศพ และตามด้วยรถใส่ท่อนจันทน์และกฤษณากระลำพักปิดทอง มีรูปเทวดาถือกฤษณากระลำพัก ท่อนจันทน์ถือชูไปบนรถ

ริ้วกระบวนรูปสัตว์ ๑๐ คู่ ได้แก่ ช้าง ม้า คชสีห์ ราชสีห์ สิงโต มังกร ทักกะทอ นรสิงห์ เหม หงส์ ซึ่งรูปสัตว์เหล่านี้มีขนาดสูง ๔ ศอก ซึ่งมีมณฑปตั้งบนหลัง สำหรับใส่ธูป น้ำมัน พิมเสน และเครื่องหอม
ริ้วกระบวนเครื่องสูง เป็นกระบวนพยุหยาตราอย่างใหญ่ ซึ่งมีผู้เชิญเครื่องราชูปโภคครบ
กระบวนแห่เสด็จ มีกระบวนเสนาบดีน้อยใหญ่ จากนั้นเป็นกระบวนปุโรหิตราชครู กระบวนราชนิกูล
เครื่องประโคม เป็นกระบวนคนตีกลองชนะ กลองโยน แตร สังข์ และแตรงอนเข้ากระบวนซ้ายขวา
กระบวนมหาดเล็ก ถือดาบทอง แห่ซ้ายขวา
กระบวนตำรวจในและตำรวจนอก เดินพนมมือ แห่ไปทั้งซ้ายขวา
กระบวนหัวหมื่นมหาดเล็ก เดินพนมมือแห่ไปทั้งซ้ายขวา
กระบวนมหาดเล็กเกณฑ์ ถือ พระสุพรรณศรี พระสุพรรณราช พระเต้าครอบทอง พานทอง เครื่องทอง
กระบวนเกณฑ์มหาดเล็ก ถือ พระแสงปืน พระแสงหอก พระแสงดาบฝักทอง และพระแสงต่างๆ
กระบวนมหาดเล็กและมหาดไทย ถือ กระสุนดิน แห่ไปซ้ายขวาเพื่อดูสูงต่ำไปตามทางเสด็จ ระหว่างเสด็จ
สองข้างทาง ประดับด้วยราชวัติและฉัตร ธงเบญจรงค์ ทอง นาก เงิน
พระมหาพิชัยราชรถและราชรถน้อย รวมทั้งรถรูปสัตว์ ชักด้วยเชือกหุ้มสักหลาดสีแดง ๔ แถว รถชักไปบนเรือก
สำหรับกระบวนเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวประทับบนพระเสลี่ยงทองประดับกระจก มีพระกลดขาวยอดทอง ระบายทอง คันหุ้มทองประดับ มีมหาดเล็กสี่คนเดินกั้นไปทั้งซ้ายและขวา

พระบุตรี ประทับบนพระเสลี่ยงสองหลังๆ ละ ๒ องค์ แห่แหนตามกระบวนพยุหยาตรา ไปตามหลังกระบวนพระบรมศพ รวมทั้งพระญาติวงศ์ พระสนม กำนัล มหาดเล็ก มหาเศรษฐี คหบดี และอำมาตย์ โดยออกทางประตูมงคลสุนทร แต่กระบวนใหญ่ จึงต้องทำลายกำแพงวัง ระหว่างประตูมงคลสุนทร และประตูพรหมสุคตทำเป็นทางออก

เมื่อกระบวนพยุหยาตราพระบรมศพถึงพระเมรุใหญ่ที่ท้องสนามหลวง พระมหาพิชัยราชรถทั้งสองเข้าไปในเมรุทิศเมรุแทรกทั้ง ๘ ทิศ แล้วทักษิณเวียนพระเมรุใหญ่ ๓ รอบ แล้วอัญเชิญพระโกศ เข้าตั้งในพระเมรุใหญ่ ๗ ราตรี มีพระสงฆ์มาสดับปกรณ์และถวายไตรจีวรและเครื่องไทยทาน เครื่องสังเค็ต เตียบ และต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งแขวนเงินใส่ในลูกมะนาวต้นหนึ่งใส่เงิน ๓ ชั่ง ตั้งที่พระเมรุทั้ง ๘ ทิศ โดยทิ้งทานวันละ ๘ ต้น ทั้ง ๗ วัน

นอกจากนี้มีระทา ดอกไม้เพลิง และดอกไม้ต่างๆ ตั้งรายรอบพระเมรุเป็นอันมาก

การถวายพระเพลิงนั้น เมื่อสวดครบ ๗ ราตรีแล้ว ได้มีพระบรมราชโองการตรัสสั่งให้ถวายพระเพลิงด้วยไฟฟ้า (แสงพระอาทิตย์โดยใช้แว่นแก้ว) แล้วเอาท่อนกฤษณากระลำพัก และท่อนจันทน์ที่ปิดทองและเครื่องหอมใส่ใต้พระโกศ แล้วจุดเพลิงไฟฟ้า และสาดด้วยน้ำหอม น้ำดอกไม้เทศ น้ำกุหลาบ และน้ำหอมทั้งหลายที่มีกลิ่นหอมตลบไปทั้งพระเมรุ บรรดาเจ้าประเทศราชห้อมล้อมโดยรอบก็ปรายข้าวตอกดอกไม้บูชาถวายบังคม เมื่อเพลิงมอด ก็ดับด้วยน้ำหอมและน้ำกุหลาบ

จากนั้นจึงแจงพระรูป พระสงฆ์ที่เข้ามาสดับปกรณ์ก่อนถวายพระเพลิงพระบรมศพ และเมื่อแจงพระรูปมีพระสังฆราช พระพิมลธรรม พระเทพมุนี พระพรหมมุนี พระเทพเมาลี พระธรรมอุดม พระอุบาลี พระพุทธโฆษา พระมงคลเทพมุนี พระธรรมกถึก พระวินัยธร พระวินัยธรรม พระนาค พระสังฆราชหัวเมือง เป็นต้น

พระรูปที่แจงนั้นนำเข้าในผอบทอง แล้วอัญเชิญขึ้นสู่พระเสลี่ยงทองแห่ออกไปทางประตูมโนภิรมย์ โดยมีกระบวนประโคม ฆ้อง กลอง แตรลำโพง แตรงอน กลองโยน กลองชนะ และพิณพาทย์ เป็นกระบวนพยุหยาตราไปตามทางที่กั้นราชวัติฉัตรธง มีประชาชนโปรยปรายข้าวตอกดอกไม้ แล้วแห่แหนไปลงเรือพระที่นั่งกิ่งแก้วจักรรัตน์สองลำๆ ละผอบ บนเรือประดับด้วยเครื่องสูงต่างๆ พระเจ้าเอกทัศทรงเรือพระที่นั่งเอกชัย มีมหาดเล็กกั้นพระกลดขาวข้างพระองค์ ซ้าย ๔ คัน ขวา ๔ คัน ส่วนพระเจ้าอุทุมพรทรงเรือพระที่นั่งทองขวานฟ้า ตามด้วยเรือพระที่นั่งครุฑด้านซ้าย และเรือพระที่นั่งหงส์ด้านขวา ตามด้วยเรือนาคเหรา เรือนาควาสุกรี เรือมังกรมหรรณพ เรือมังกรจบสายสินธุ์ เรือเหินหาว เรือหลาวทอง เรือสิงหรัตนาสน์ เรือสิงหาสน์นาวา เรือนรสิงห์วิสุทธิ์สายสินธุ์ เรือนรสิงห์ถวิลอากาศ เรือไกรสรมุขมณฑป เรือไกรสรมุขนาวา เรืออังมสระพิมาน เรือนพเศกฬ่อหา ตามด้วยเรือดั้งซ้ายขวา เป็นเรือนำและเรือรอง จากนั้นเป็นเรือคชสีห์ เรือม้า เรือเลียงผา เรือเสือ และเรือเกณฑ์รูปสัตว์ต่างๆ สิ้นสุดด้วยเรือดั้งเรือกันของเจ้าพระยา และอำมาตย์ตลอดจนมหาดเล็กขอเฝ้า

สำหรับพระราชบุตร พระราชธิดา ลงเรือศรีสักหลาดตามหลังเรือพระที่นั่ง พระสนม กำนัล นั่งเรือศรีผ้าแดง



ตั้งขาทรายสำหรับยกเสาองค์พระเมรุมาศ


โครงถักไม้ไผ่ผูกอย่างแน่นหนาตามรูปทรงขนาดภายในองค์พระเมรุมาศ
เพื่อใช้ผูกรอกชักเชือกยกซุงพระเมรุขึ้นทาบตามทรงมุมละ ๓ ต้น เพื่อทำ
เสาย่อไม้่สิบสองของเสาพระเมรุทรงบุษบก


การยกซุงเสาพระเมรุมาศขึ้นประกอบทุกมุมๆ ละ ๓ ต้น


พระเมรุมาศสมโภชพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี สร้างบนเขาพระสุเมรุ รูปแบบปราสาท
เครื่องยอดบุษบกปลียอดปรางค์


(บน) การประกอบยอดพระเมรุมาศและพื้นฐาน
ล่าง การตกแต่งพระเมรุมาศตามแบบที่กำหนด


ข้อมูลจาก หอสมุดแห่งชาติ. เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ราชยาน และพระเมรุมาศ พุทธศักราช ๒๕๓๙  (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,๒๕๓๙) หน้า ๑๔๖-๑๕๐, ๒๒๖- ๒๒๘ และ ๒๓๓-๒๓๔  
2867  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ย้อนอดีตเรือไททานิก ตำนานโศกนาฏกรรมในทะเลครั้งใหญ่ที่สุด เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2560 16:41:01



ย้อนอดีตเรือไททานิก (ต่อ)

เรือโดยสารของบริษัทเดินเรืออังกฤษที่ทันสมัยที่สุดในโลก ไปชนภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอตแลนติก จมมิดหายไปทั้งลำเมื่อ ๐๒.๒๐ น. ของวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๕๕ คนตายไปราว ๑,๕๐๐ คน ฝรั่งไม่เชื่อว่าเป็นเคราะห์กรรมแต่ปางก่อน

สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา รีบตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุความสูญเสียที่โลกตะลึง

วุฒิสมาชิกวิลเลียม เอ. สมิธ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการด้านการพาณิชย์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานการสอบสวน โดยเริ่มเมื่อ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๕ ณ มหานครนิวยอร์ก แต่ต่อมาย้ายไปดำเนินการที่กรุงวอชิงตัน และกลับไปนิวยอร์กอีกครั้งใน ๒๕ พฤษภาคม เพื่อสรุปผลและรายงานสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ ๗ คนใช้เวลา ๑๘ วันเพื่อสอบสวนทวนความเหตุการณ์จากผู้รอดชีวิตและบรรดาลูกเรือ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องที่เข้าไปช่วยผู้รอดชีวิตหลังไททานิกอับปาง ประเด็นร้อนฉ่าที่สังคมต้องการทราบความจริง คือ เรื่องการแจ้งเตือน เรื่องเรือชูชีพที่จัดไว้เพียงพอหรือไม่ การควบคุมเรือ-ความเร็ว การติดต่อสื่อสาร มาตรการการอพยพ/สละเรือ ฯลฯ

สื่อในอเมริกาวิพากษ์วิจารณ์การสูญเสียครั้งนี้แบบเดือดดาล

วุฒิสภาสหรัฐใช้อำนาจตามกฎหมายเรียกพยาน ๘๐ ปากมาให้การด้วยวาจา ซึ่งบางส่วนขอส่งข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้คือ ข้อเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยการเดินเรือไปสู่ฝ่ายบริหารเพื่อเร่งรีบกำหนด กฎระเบียบเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือทะเล ในเวลานั้นประธานาธิบดีสหรัฐชื่อ ทัฟท์ (William Howard Taft) ซึ่งมีเพื่อนสนิทเสียชีวิตในไททานิกด้วยเช่นกัน

ผู้เขียนขอแปลและเรียบเรียงจากรายงานบางส่วนดังนี้

วันแรกของการไต่สวน ณ โรงแรมวัลดอฟ-แอสทอเรีย ในนิวยอร์ก บรู๊ซ อิสเมย์ (หุ้นส่วนบริษัทเรือผู้ที่เอาผ้าคลุมศีรษะพรางตัวเป็นผู้หญิงแทรกตัวหนีลงเรือชูชีพหนีมาก่อน) ถูกสมาชิกวุฒิสภาประเดิมยิงคำถามเป็นคนแรก สหรัฐใช้หมายศาลเรียกตัวบรู๊ซไว้

ผู้โดยสารบนเรือชูชีพ (จากเรือไททานิก) ที่ลอยลำในทะเลคืนนั้น ได้รับการช่วยเหลือจากเรือเดินสมุทรคาร์พาเธีย (Carpathia) ที่ได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือ เรือคาร์พาเธียนำผู้รอดชีวิตทั้งหมดเดินทางไปถึงท่านิวยอร์ก

อนุกรรมาธิการตั้งคำถามกับหัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยบนเรือ สอบถามยามที่ยืนบนเสากระโดงเรือ พนักงานสื่อสาร กัปตันเรือคาร์พาเธีย และกัปตันเรืออีกหลายลำที่อยู่บริเวณเรือไททานิกล่มในคืนวันนั้น

อนุกรรมาธิการยังขอไปดูระบบการทำงานของประตูกั้นน้ำในเรือโอลิมปิกที่เป็นเรือคู่แฝด ที่ใช้ระบบแบบเดียวกัน

รายงานผลการสอบสวนของวุฒิสภาสหรัฐยาว ๑๙ หน้า มีภาพประกอบ ๔๔ หน้า มีเอกสารคำให้การและเอกสารประกอบอื่นๆ อีก ๑,๑๔๕ หน้า โดยมีประเด็นหลัก คือ
๑.ขาดการเตรียมการ จึงทำให้ผู้โดยสารและลูกเรืออยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม การอพยพทำด้วยความโกลาหล ไม่มีระบบการแจ้งเตือน ไม่มีการประชุมชี้แจงลูกเรือ ไม่มีความพยายามที่จะจัดระบบเรื่องความปลอดภัย
๒.ขาดการทดสอบและละเลยการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตบนเรือ
๓.กัปตันสมิธของเรือไททานิก ไม่ได้รับทราบถึงอันตรายที่เป็นสาเหตุหลักอันเป็นเหตุให้เรือประสบหายนะ ซึ่งเป็นความสูญเสียที่ไม่ควรเกิด
๔.เรือชูชีพที่ไม่พอเพียง เป็นความบกพร่องของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ของอังกฤษที่ยังมิได้กำหนดระเบียบขึ้นมา การตรวจสอบอย่างรีบเร่งทำให้เกิดความบกพร่อง
๕.บรู๊ซ อิสเมย์ หุ้นส่วนเจ้าของเรือมิได้สั่งให้กัปตันเพิ่มความเร็วเรือตามที่เป็นข่าว แต่การปรากฏตัวของเขาบนเรืออาจทำให้กัปตันคิดไปเองว่าต้องเพิ่มความเร็ว (ประเด็นนี้บรู๊ซ อิสเมย์ โดนกล่าวหามาตลอด)
๖.ผู้โดยสารชั้น ๓ มิได้ถูกกีดกันที่จะลงเรือชูชีพ แต่ส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีปฏิบัติในการอพยพเมื่อประสบอุบัติเหตุ
๗.เรือคาลิฟอร์เนียนที่แล่นอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับเรือไททานิกในเวลานั้น แต่กัปตันของไททานิกไม่ติดต่อขอความช่วยเหลือ

ยังมีรายละเอียดอีกมหาศาลที่ไม่ขอนำมากล่าว

ลองมาดูผลการสอบสวนของรัฐบาลอังกฤษครับ

รัฐสภาอังกฤษมอบให้คณะกรรมการอุบัติภัย (British Wreck Commissioner) เป็นผู้สอบสวนหายนะของไททานิก

คณะกรรมาธิการพาณิชย์ โดยมีผู้พิพากษาศาลสูง ลอร์ดเมอร์สีย์ (Lord Mersey) เป็นประธาน เริ่มต้นสอบสวนเมื่อ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ถึง ๓ กรกฎาคม ๒๔๕๕ ณ กรุงลอนดอน

คณะกรรมการใช้เวลาสอบสวน ๖๒ วัน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญกฎหมายทะเล พนักงานบริษัทเดินเรือ ผู้ออกแบบเรือ ผู้โดยสารและลูกเรือที่รอดชีวิต ข้าราชการ และผู้เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหลังโศกนาฏกรรมมาให้การ มีผู้มาให้การกว่า ๑๐๐ คน สำหรับ ๒๕,๐๐๐ คำถาม

เป็นคำถามเกี่ยวกับตัวเรือ บันทึกการเดินเรือ ลักษณะความเสียหายของเรือ จำนวนคน ก็เพราะเรือไททานิกเป็นเรือของบริษัทเดินเรืออังกฤษ ทางการจึงต้องใส่ใจเพื่อกอบกู้ชื่อเสียงของอังกฤษที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางทะเล ที่ถือว่าล้มละลายไปพร้อมกับไททานิกที่อับปาง รายงานผลการสอบสวนจัดพิมพ์แล้วเสร็จใน ๓๐ กรกฎาคม บทสรุปคือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่รัฐสภาสหรัฐก็ดำเนินการคู่ขนานกันไปกับอังกฤษ

มีสาระสำคัญบางส่วนที่นำมาบอกกล่าวดังนี้
๑.มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๑,๕๐๐ คน รอดชีวิต ๗๑๐ คน เรือคาร์พาเธียที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเข้ามาช่วยหลังจากเรือล่มแล้วราว ๒ ชั่วโมง ซึ่งช่วยได้เฉพาะคนที่อยู่ในเรือชูชีพและบางส่วนที่ลอยคอในทะเลที่ตรวจพบ
๒.ในช่วงแรกเกิดความสับสนทั้งอเมริกาและรัฐบาลอังกฤษเนื่องจากสื่อรายงานว่า เรือคาร์พาเธียช่วยชีวิตผู้โดยสารจากเรือไททานิกไว้ได้หมดและนำส่งขึ้นฝั่งที่นิวยอร์กไปแล้ว
๓.ดัฟฟ์ กอร์ดอน (Sir Cosmo Duff-Gordon) นักกีฬาชื่อดังผู้มีอันจะกิน ถูกประณามและถูกประจานเรื่องที่ลงเรือชูชีพที่มีความจุ ๔๐ คนหนีไปจากเรือไททานิก พร้อมภรรยาและเลขานุการ เป็นเรือชูชีพลำแรกที่ผละหนีไปในขณะที่ในเรือชูชีพมีผู้โดยสารเพียง ๑๒ คน เพราะจ่ายสินบนให้ลูกเรือ
๔.มีเหตุไฟลุกไหม้ในห้องเก็บถ่านหินบนเรือไททานิกอยู่นาน ๑๐ วันก่อนที่จะออกเรือไป และก็ยังลุกไหม้ไปตลอดทาง แต่ประเด็นนี้มีการบันทึกในรายงานไม่มากนัก (นักประวัติศาสตร์ในยุคต่อมานำไปเป็นประเด็นกล่าวหาว่าความร้อนจากการลุกไหม้ดังกล่าวทำให้ตัวเรือขาดความแข็งแรง และเป็นเหตุให้เรือต้องอับปาง) คณะกรรมการสอบสวนของอังกฤษยืนยันว่า เรือไททานิกล่มโดยมีสาเหตุจากการชนกับภูเขาน้ำแข็ง
๕.ข้อมูลแจ้งเตือนถึงอันตรายจากภูเขาน้ำแข็งไม่ถึงมือกัปตันสมิธ จึงทำให้กัปตันไม่มีข้อมูลพอเพียงสำหรับการนำร่อง
๖.ในเวลานั้น เรือแคลิฟอร์เนียนสมควรที่จะแล่นฝ่าทะเลน้ำแข็งเข้าไป ซึ่งไม่มีอันตรายใดๆ เลย ซึ่งจะช่วยชีวิตคนได้มากกว่านี้
๗.เรือชูชีพไม่พอเพียงสำหรับการอพยพผู้โดยสารเป็นข้อมูลที่เป็นทางการบางส่วนนะครับ เพราะในโซเชียลเน็ตเวิร์กของฝรั่งเองมีนิยายที่มโนกันเพื่อกล่าวหาแบบเลอะเทอะ ใส่ร้ายป้ายสี อ่านเป็นเดือนก็ไม่จบ

ท่านผู้อ่านสอบถามมา เรื่องบทบาทของกัปตันสมิธ ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ ผู้เขียนลืมนำมาเล่าสู่กันฟัง

หลังจากเรือสำราญไททานิกชนแฉลบกับภูเขาทะเลน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำสูงเพียง ๑๐๐ ฟุต (มวลน้ำแข็งมหึมาลักษณะแบบภูเขาอยู่ใต้น้ำซึ่งมองไม่เห็น) กัปตันสั่งให้เรือช่วยชีวิต (เรือชูชีพ) ทุกลำเตรียมพร้อมไว้ เขาได้ไปห้องวิทยุเพื่อที่จะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ไททานิกใช้ระบบ Morse Code เรือขนส่งคาร์พาเธีย (Carpathia) เป็นเรือที่อยู่ในระยะใกล้ที่สุด คือ ๕๘ ไมล์ ผู้บังคับการเรือ ชื่อกัปตันอาเธอร์ โรสตรอน คิดในใจว่าไม่เชื่อว่าไททานิกจะขอความช่วยเหลือ แต่ก็สั่งการให้เรือของเขาเบนหัวเรือไปช่วยเรือไททานิกทันที

ขณะที่น้ำทะเลเย็นเฉียบทะลักเข้าทางรอยแตกด้านขวาของเรือและกำลังจะอับปาง กัปตันสมิธที่มีค่าตัวแพงที่สุดได้ขึ้นไปที่ดาดฟ้าเรือ ควบคุมผู้โดยสารที่ก่อการจลาจล กัปตันออกคำสั่งให้สั่งเด็ดขาด “ผู้หญิงกับเด็กให้ลงเรือชูชีพก่อน”

กัปตันสมิธ ลูกผู้ชายตัวจริงแสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่และขอชดใช้ความผิดที่ตนเองชะล่าใจเรื่องคำเตือนภูเขาน้ำแข็งที่เรือลำอื่นๆ ส่งมาเตือนแล้วยังควบคุมเรือไม่ดีพอ กัปตันสมิธไม่ยอมทิ้งเรือไททานิกไปไหน ขอสละชีพจมลงไปในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
ผู้เขียนเรียนรู้มาว่า กัปตันเรือรบทุกลำที่เข้าสู่สนามรบ จะไม่ยอมสละเรือ การสละชีพพร้อมกับเรือที่ตนเองรับผิดชอบ ถือเป็นเกียรติยศสูงสุดสำหรับชีวิตของทหารเรือ


เรียบเรียงโดย
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
2868  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / ย้อนอดีตเรือไททานิก ตำนานโศกนาฏกรรมในทะเลครั้งใหญ่ที่สุด เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2560 16:39:18



ย้อนอดีตเรือไททานิก
ภาพเก่า..เล่าตำนาน ความโศกสลดของเรือไทนานิค

เรือสำราญสุดหรูของอังกฤษ เป็นสิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เคยสร้างบนโลกและลอยน้ำได้ ได้รับฉายาว่า “วัตถุที่ไม่มีวันจม” (Unsinkable) เป็นของเล่น เป็นพาหนะสำหรับเศรษฐี มีผู้โดยสารบนเรือที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มหาเศรษฐี นักธุรกิจระดับโลก นักวิชาการ สื่อมวลชน ชนชั้นสูงทั้งหลายที่ยอมจ่ายเงินก้อนโตเพื่อขอขึ้นไปเพื่อเสพสัมผัสกับสวรรค์ลอยน้ำ

หลังเดินทางออกจากท่าไปเพียง ๔ วัน โลกต้องตะลึงกับข่าวโศกนาฏกรรมในทะเลครั้งใหญ่ที่สุด

เรือไททานิก (Titanic) ที่งามสง่า วิ่งไปชนภูเขาน้ำแข็งในทะเลแอตแลนติกเหนือตอนกลางดึก เรือเหล็กหักงอเหมือนแผ่นสังกะสี มีคนกำลังนอน กำลังร้องเพลง ดื่มเหล้า เต้นรำ และมีคู่รักกอดกันจมน้ำตายในห้องนอน ผู้โดยสารจมน้ำตายเพราะถูกแช่แข็งในทะเลมากกว่า ๑,๕๐๐ คน และมีคนรอดตาย ๗๑๐ คน

๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ (ตรงกับรัชสมัยในหลวง ร.๕) ท้องฟ้าแจ่มใส สายลมแผ่วเบาโชยผ่านเมืองเซาแธมป์ตัน ในอังกฤษ วิมานลอยน้ำชื่อไททานิกลำนี้ พร้อมผู้โดยสารที่เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ เสียงตะโกนล่ำลา อวยชัยให้พร พร้อมแล้วที่จะออกเดินทางเป็นปฐมฤกษ์จากเมืองเซาแธมป์ตัน (Southampton) ของอังกฤษ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก มุ่งหน้าสู่มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
มีมหาเศรษฐีที่ถือว่ารวยที่สุดในตอนนั้น ชื่อ จอห์น จาคอบ แอสเตอร์ ที่ ๔ (John Jacob Aster IV) ที่จองตั๋วล่วงหน้ามา ๑ ปี ประการสำคัญคือจะเป็นการล่องเรือสำราญฮันนีมูนกับสาวน้อยวัย ๑๘

เรือไททานิก (RMS : Royal Mail Steamer Titanic) ของบริษัทเดินเรือ White Star Line ของอังกฤษ สร้างโดยบริษัท Harland and Wolff ได้รับการออกแบบให้มีความสะดวกสบายหรูหราที่สุด บนเรือมีห้องออกกำลัง สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ภัตตาคาร บาร์ห้องเต้นรำ และห้องพักผู้โดยสารจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีโทรเลขไร้สาย ในยุคสมัยนั้นกิจการเดินเรือระหว่างยุโรป-อเมริกา เป็นธุรกิจที่ทำเงินแบบโตวันโตคืน
ในเวลาเดียวกันนั้น บริษัทเดินเรือ Lunard มีเรือเดินสมุทรสุดหรูชื่อ ลูซิตาเนีย (Lusitania) ถือได้ว่าเป็นบริษัทเดินเรือที่เป็นคู่แข่งของ White Star Line มีการแข่งขันกันการบริการ จุดขายของการเดินเรือคือ “ความหรูหรา สะดวกสบายของผู้โดยสาร”

เรือไททานิก ถูกบรรจงสร้างให้เหนือชั้นกว่า เรือลูซิตาเนีย เป็น ๑ใน ๓ ของเรือโดยสารชั้นโอลิมปิก (Olympic-Class) สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.๒๔๕๒-๒๔๕๔ โดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนด์วูล์ฟ (Harland and Wolff) ในเบลฟาสต์ (Belfast) ออกแบบให้บรรทุกผู้โดยสารได้ ๒,๔๓๕ คน สร้างเสร็จปล่อยลงน้ำที่อู่ต่อเรือเมืองเบลฟาสต์ ประเทศอังกฤษ เมื่อ ๓๑ พฤษภาคม ๑๙๑๑ ใช้เวลาต่อเรือนาน ๒ ปี ตัวเรือยาว ๒๗๐ เมตร มีความสูง ๕๓ เมตร ใช้ความเร็วสูงสุดได้ ๔๔ กม/ชม.

บริษัทโหมโฆษณามาอย่างต่อเนื่องว่า สวยงามอร่ามหรู และปลอดภัยที่สุดในโลก และ ไททานิกจะเป็นวัตถุเคลื่อนได้ที่ใหญ่ที่สุดที่ทำด้วยฝีมือมนุษย์ มีคนมาร่วมชมพิธีปล่อยเรือลงน้ำครั้งประวัติศาสตร์วันนั้นราว ๑ แสนคน เรือลูซิตาเนียและไททานิกถูกปล่อยลงน้ำในเวลาใกล้เคียงกัน

หัวหน้าทีมวิศวกรที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือไว้วางใจได้มากที่สุดในเวลานั้น คือ โทมัส แอนดรูว์ส (Thomas Andrews) เขาคือผู้ออกแบบและควบคุมการต่อเรือไททานิก วิศวกรโทมัสมีความสุขที่สุดที่ได้ออกแบบและควบคุมการต่อเรือ เขาชื่นชมเรือไททานิก และกล่าวว่าเป็นเรือที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่สติปัญญาของมนุษย์จะทำได้

พ.ศ.๒๔๕๒ โทมัสเริ่มร่างภาพ ออกแบบ และต้องการใช้ระบบที่ทันสมัยที่สุดในเรือไททานิก จนหลังจากผ่านการทดสอบได้ไม่นานเขาก็ได้ทำงานหลายแผนกในบริษัท จนกลายเป็นผู้จัดการ และในปีเดียวกันนั้นเขาก็ได้เป็นสมาชิกในคณะสถาปนิกของกองทัพเรืออังกฤษ ซึ่งแววความอัจฉริยะทางด้านวิศวกรรมของเขาก็ทำให้อีก ๖ ปีต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ โทมัสโชกโชนด้วยประสบการณ์การต่อเรือทั้งที่อายุยังน้อย

ความเป็นอัจฉริยะของวิศวกรหนุ่มโทมัสและทีมงานทำให้มีงานออกแบบและสร้างเรือคู่ขนานกันไปอีก ๑ ลำ ที่เรียกกันว่า “เรือพี่-เรือน้อง” โดยให้ Titanic เป็นเรือน้อง และพี่สาวคือเรือ Olympic ทีมวิศวกรต่อเรือไททานิกทำงานได้อย่างราบรื่น และรุดหน้าไปได้ด้วยดี เรือโอลิมปิก (Olympic) เรือแฝดพี่สร้างเสร็จก่อน แล้วก็ตามด้วยแฝดน้อง นั่นก็คือไททานิก

กัปตันเอ็ดวาร์ด จอห์น สมิธ (Captain Edward John Smith) หรือมีชื่อย่อว่า E.J. Smith เป็นกัปตันเรือที่มีชื่อเสียงเกรียงไกรคนหนึ่งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ และเป็นกัปตันเรือที่ค่าตัวแพงที่สุดในยุคนั้น ด้วยความสามารถของกัปตันผู้มากด้วยประสบการณ์ เคยเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมานับครั้งไม่ถ้วน ประสบการณ์ที่โดดเด่นจึงถูกว่าจ้างให้ทำหน้าที่กัปตันเรือประวัติศาสตร์ ชื่อไททานิก

ผู้บริหารสูงสุดของสายการเดินเรือ ชื่อ เจ บรูซ อิสเมย์ (J. Bruce Ismay) และโทมัส แอนดรูว์ส (Thomas Andrews) ผู้ออกแบบเรือลำนี้ก็ไม่พลาดที่จะร่วมเดินทางในการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์นี้
ไททานิกออกจากท่าเซาแธมป์ตันแล้ว แวะจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่เมืองเชอร์บูร์ก (Cherbourg) ในฝรั่งเศส และควีนส์ทาวน์ (ปัจจุบันคือ Cobh) ในไอร์แลนด์ ก่อนมุ่งหน้าสู่นิวยอร์ก ผู้โดยสารในเรือลำนี้มี ๓ ระดับ คือ ชั้น ๑,๒ และ ๓ คล้ายกับการขึ้นเครื่องบินในปัจจุบัน

หลังจากออกเรือมา ๔ วัน กลางดึกของวันที่ ๑๔ เม.ย. พ.ศ.๒๔๕๕ เรือไททานิกพาผู้โดยสาร ๒,๒๔๐ คน บวกกับลูกเรือ ๘๙๒ คนที่กำลังกิน นอน ดื่ม เต้นรำ ในมหาสมุทรและท้องน้ำสีฟ้า สนุกสนานหรรษาชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง เมื่อ ๒๓.๔๐ น. และจมหมดลำในเวลา ๐๒.๒๐ น.

ไททานิก เรือสำราญที่กลายเป็นเศษโลหะลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก แตกและจมลง โดยยังมีผู้โดยสารอีกกว่าพันคนอยู่บนเรือ คนที่ตกไปในน้ำเสียชีวิตภายในเวลาไม่นาน จากภาวะร่างกายเย็นเกิน (hypothermia) เนื่องจากน้ำในมหาสมุทรที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง

ผู้รอดชีวิตที่ลงเรือชูชีพ (ที่บรรทุกในเรือไททานิก) จำนวน ๗๑๐ คนถูกส่งต่อขึ้นเรือ คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) ที่เขามาช่วยหลังจากนั้น ๓ ชม.

ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีการค้นพบชิ้นส่วนของเรือไททานิกที่จมนิ่งอยู่ท้องมหาสมุทรลึกลงไปราว ๔ กม. เรือที่ทำให้ท้องทะเลกลายเป็นสุสาน เลยกลับมาโด่งดังและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกอีกครั้ง และถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์

การชนแฉลบกับภูเขาน้ำแข็ง ทำให้ลำเรือไททานิกหักงอเข้าหากัน ตัวเรือหลายจุดด้านกราบขวาแตกเป็นแผลขนาดใหญ่ และเปิดห้องกันน้ำ ๕ จาก ๑๖ ห้องให้น้ำทะเลทะลักเข้ามา อีก ๒ ชั่วโมง ๓๐ นาที ต่อมาน้ำทะเลเย็นเฉียบก็ไหลเข้ามาในเรือและเรือค่อยๆ จมลง ผู้โดยสารและลูกเรือบางส่วนถูกอพยพลงในเรือชูชีพ โดยมีเรือชูชีพจำนวนมากถูกปล่อยลงน้ำไปทั้งที่ยังบรรทุกผู้โดยสารอื่นๆ ได้อีกจำนวนมาก ทุกคนต้องการเอาชีวิตรอด มีผู้ชายจำนวนมากถูกทิ้งอยู่บนเรือที่กำลังจมลง เพราะระเบียบกำหนดให้ “ผู้หญิงและเด็กลงเรือชูชีพไปก่อน”

แทบไม่มีใครเชื่อว่าเรือไททานิกจะประสบอุบัติเหตุในลักษณะนี้ นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในการเดินเรือโดยสารในท้องทะเล เป็นความประมาท และเกิดการละเลยที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบจนนำไปสู่หายนะ มีการสอบสวน สืบค้นหาสาเหตุที่เรือล่มทั้งในอังกฤษและสหรัฐเพื่อกำหนดหลักในความปลอดภัยในทะเล
ผลที่ได้หลังการสอบสวน คือ การจัดตั้งอนุสัญญาความปลอดภัยของชีวิตในทะเลระหว่างประเทศ (SOLAS : Safety of Life At Sea) ใน พ.ศ.๒๔๕๗ ซึ่งยังเป็นมาตรการที่ใช้ควบคุมความปลอดภัยการเดินเรือในทะเลมาจนถึงทุกวันนี้

ในมิติด้านสังคม ผู้รอดชีวิต สูญเสีย สิ้นเนื้อประดาตัวและถูกทิ้งให้อดอยากแร้นแค้น ครอบครัวแตกแยก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสมาชิกครอบครัวของลูกเรือจากเมืองเซาแธมป์ตัน

ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ผู้สร้างภาพยนตร์นำเอาตัวละครและสถานที่จริงบนเรือมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกที่ทำเงินมหาศาล รวมทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์ที่กระหึ่มไปทั่วโลก

ทำไมเรือชนภูเขาน้ำแข็ง และมีเบื้องลึก เบื้องหลังประการใด มีแจ๊ค และโรส ที่ต้องลาจากกันหรือไม่ ?




ตอนสายของวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๕ เรือสำราญหรู ทันสมัยที่สุด และราคาตั๋วแพงอันดับ ๑ ของโลก ชื่อ ไททานิก เป็นเรือของบริษัทเดินเรืออังกฤษ ออกเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์พร้อมผู้โดยสารระดับมหาเศรษฐีจากทวีปยุโรป จากสแกนดิเนเวีย แล่นจากท่าเรือเมืองเซาแธมป์ตัน (Southampton) ของอังกฤษแวะรับผู้โดยสารในฝรั่งเศสและไอร์แลนด์ เพื่อมุ่งหน้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสู่มหานครนิวยอร์ก

๑๔ เมษายน ๒๔๕๕ ราว ๒๓.๔๐ น. (ตามเวลาเรือ) เรือไททานิกแล่นไปชนภูเขาน้ำแข็งในทะเลแอตแลนติกเหนือ เรือยักษ์ขนาดความยาว ๒๗๐ เมตร ย่นยุบเข้ามา หักงอเหมือนเศษเหล็ก น้ำทะเลเย็นเฉียบทะลักเข้าตัวเรือด้านขวา ผู้โดยสารหนีตายแย่งชิงกันลงเรือชูชีพ ไอ้คนที่ชิงลงเรือได้มีแต่คนใจดำไม่ยอมคอยคนอื่น ชิงออกเรือชูชีพเผ่นหนีทั้งๆ ที่ยังมีที่ว่างพอที่จะให้เพื่อนผู้โดยสารคนอื่นๆ รอดตายได้อีกตั้งเยอะแยะ

เรือไททานิกชนแฉลบ “ภูเขาน้ำแข็ง” (Iceberg) อย่างแรงเมื่อเวลา ๒๓.๔๐ น. ผู้โดยสารราว ๗๐๐ คนรอดตายเพราะได้ลงเรือชูชีพ เรือค่อยๆ จมลงสู่ก้นมหาสมุทร เวลา ๐๒.๒๐ น. จึงจมลงก้นทะเลหมดทั้งลำ มีคนตายจากอุบัติเหตุครั้งนี้มากกว่า ๑,๕๐๐ ราย

สารคดี National Geographic นำเสนอบทวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เรือชนภูเขาน้ำแข็งว่า น่าจะเกิดจากภาพลวงตาอันเกิดจากมวลอากาศอุ่น มาปะทะกับอากาศเย็น เหมือนเราเห็นน้ำนองบนถนนตอนแดดจัด (Mirage) ภาพลวงตาที่ว่านี้จะทำให้เราเห็นเส้นขอบฟ้าสูงกว่าความเป็นจริง ภาพจริงของภูเขาน้ำแข็งจึงถูกซ่อนในเงามืดของทะเล หรือถ้าจะพูดให้ง่ายก็คือ มองไม่เห็นภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ตรงหน้า

ส่วนสาเหตุที่เรือจมลง เพราะด้านขวาของเรือไททานิกแฉลบชนกับภูเขาน้ำแข็ง ทำให้ห้องกันน้ำในตัวเรือฉีกแตกถึง ๖ ห้อง หาก ณ นาทีนั้นหัวเรือวิ่งไปชนภูเขาน้ำแข็ง โอกาสรอดจะยังมีมากกว่านี้ เพราะความเสียหายจะน้อยกว่า

ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยหลังจากหายนะครั้งประวัติศาสตร์อีกประเด็นหนึ่ง คือ เรือชูชีพที่เตรียมไว้จะอพยพผู้โดยสารได้เพียง ๗๐๐ คน เพราะมั่นใจว่ายังไงๆ ก็จะไม่มีวันได้ใช้เรือชูชีพแน่นอน

ทุกคนเชื่อว่า เรือไททานิกที่แข็งแรงที่สุดในปฐพี ใหญ่ที่สุด มั่นคงที่สุด และหรูหราที่สุดจะไม่มีวันจมแน่นอน

ในยุคสมัยนั้น การเดินทางระหว่างยุโรปกับอเมริกาทำได้ทางเดียวคือ เรือเดินสมุทรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก บริษัทเดินเรือ White Star Line ของอังกฤษเป็นเจ้าพ่อใหญ่ในกิจการนี้ บริษัทนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ.๒๓๙๓ โดยโทมัส อิสเมย์ (Thomas Ismay) และเซอร์ เอ็ดเวิร์ด ฮาร์แลนด์ (Sir Edward Harland) เข้ามาซื้อกิจการ และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เจ.พี. มอร์แกน (J.P. Morgan) บริษัทสัญชาติอเมริกันเข้ามาซื้อกิจการต่อไปอีกครั้ง แต่ยังคงใช้ลูกเรือที่เป็นชาวอังกฤษ

ย้อนอดีตกลับไปอีกนิด ตอนนั้น White Star Line คิดการใหญ่จะเป็นเจ้าสมุทร ตัดสินใจลงทุนต่อเรือทีเดียว ๓ ลำ คือ เรือ Olympic เรือ Titanic และเรือ Gigantic (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Britannic)

เรือ Olympic มีระวางขับน้ำ ๔๕,๐๐ ตัน สร้างเสร็จและให้บริการทันที วิ่งในทะเลได้เพียง ๒ เดือนก็เกิดอุบัติเหตุไปชนกับเรือลำอื่นและต้องเข้าอู่ซ่อม กัปตันเรือโอลิมปิกชื่อ E.J. Smith ต่อมาถูกทาบทามให้มาเป็นกัปตันของเรือไททานิกที่กำลังจะออกสู่มหาสมุทร

กัปตัน E.J. Smith คือกัปตันเรือที่มีค่าตัวแพงที่สุดในเวลานั้น

เรือไททานิก พระเอกของเรื่องนี้มีระวางขับน้ำ ๔๖,๓๐๐ ตัน ใหญ่กว่าเรือโอลิมปิก ถูกออกแบบให้จุผู้โดยสารได้ ๓,๕๔๗ คน ใช้เครื่องยนต์ ๔๖,๐๐๐ แรงม้า งบประมาณต่อเรือ ๗.๕ ล้านเหรียญ และตกแต่งภายในให้เป็นวิมานลอยน้ำอีก ๒.๕ ล้านเหรียญ รวมมูลค่าราว ๑๐ล้านเหรียญสหรัฐ (ถ้าคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันราว ๒ หมื่นล้านเหรียญ)

ไททานิก สวรรค์ลอยน้ำ มีห้อง VVIP ๒ ห้องที่มีดาดฟ้าส่วนตัวไว้ให้ผู้โดยสารคนสำคัญกินลมชมทะเลขณะแล่นเรือเป็นแรมเดือนชนิดที่ไม่ต้องปะปนกับใคร ห้องผู้โดยสารชั้น ๑ จำนวน ๖๗ ห้อง ตกแต่งห้องแบบหลากหลายตามแต่รสนิยมและตามกำลังเงิน มีห้องแบบหลุยส์ แบบดัตช์ มีเตาผิง มีห้องอบไอน้ำ และเป็นเรือลำแรกที่สร้างสระว่ายน้ำไว้บนเรือ

เมื่อบุคคลสำคัญ มหาเศรษฐี นักธุรกิจต้องมากินอยู่หลับนอนบนเรือนานเกือบเดือนระหว่างเดินทาง การติดต่อสื่อสารกับบริษัทและหน่วยงานของตนที่อยู่บนฝั่งเพื่อทราบความเคลื่อนไหว เรื่องกำไร-ขาดทุน เรื่องที่ต้องตัดสินใจ ผู้โดยสารแทบทุกคนกระวนกระวายที่จะใช้บริการวิทยุโทรเลขแบบรหัสมอร์ส (Morse) บนเรือไททานิก เพื่อรับ-ส่งข้อมูลและเรื่องส่วนตัวเท่านั้น การติดต่อระหว่างเรือที่วิ่งในทะเลด้วยกัน ข้อมูลด้านอื่นๆ จึงถูกละเลย

พนักงานวิทยุโทรเลขบนเรือที่มีจำกัด ต้องใช้เวลาเกือบทั้งหมดไปกับการบริการรับข่าว-ส่งข่าวทางโทรเลขที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้โดยสาร การติดต่อเพื่อแจ้งข่าวสาร/ข้อมูลเรื่องการเดินเรือ ลมฟ้าอากาศ การแจ้งเตือนภัยจากเรือลำอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เรื่องความปลอดภัยในการเดินเรือจึงเป็นเรื่องที่ขาดหายไป

เรือไททานิกในเวลานั้นจึงเปรียบได้กับคนหูหนวกตาบอด

ข้อมูลในรายละเอียดที่ถูกนำมาเปิดเผยภายหลังโศกนาฏกรรม ระบุว่า ในคืนวันเกิดเหตุคือวันที่ ๑๔เมษายน ๒๔๕๕ พนักงานวิทยุโทรเลขได้รับคำเตือนเรื่องภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่บริเวณใกล้เคียงถึง ๗ ฉบับ จากเรือชื่อ แคโรเนีย เรือบอลติก เรืออเมริกา เรือแคลิฟอร์เนีย เรือเมซาบา ซึ่งเป็นเรือเดินสมุทรที่กำลังแล่นอยู่ในแอตแลนติกเหนือด้วยความหวังดีต่อเพื่อนร่วมทาง แจ้งเตือนกัปตันเรือไททานิกเรื่องภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางข้างหน้า

อนิจจา พนักงานวิทยุมัวสาละวนกับรับ-ส่งโทรเลขบริการผู้โดยสาร จึงมิได้นำข้อมูลดังกล่าวไปแจ้งต่อกัปตัน

ตอนหัวค่ำของคืนวันที่ ๑๔ เมษายน คืนวันเกิดเหตุ เรือโดยสารแคลิฟอร์เนียเข้าไปติดอยู่ในวงล้อมของภูเขาน้ำแข็งในทะเล ต้องหยุดการเคลื่อนที่ และได้ส่งโทรเลขแจ้งมาที่กัปตันเรือไททานิกที่กำลังแล่นตามมาอีกครั้งด้วยความห่วงใยและปรารถนาดี โทรเลขฉบับนี้ ไม่มีใครว่างที่จะนำไปให้กัปตันทราบครับ

บนเรือไททานิกเองมีการจัดยาม ๒ นายขึ้นไปยืนบนเสากระโดงเรือเพื่อตรวจการณ์ไปข้างหน้า ยามคนหนึ่งชื่อ เฟรเดอริก ฟลีต (Frederick Fleet) เฝ้ามองภูเขาน้ำแข็งท่ามกลางความขมุกขมัวของอากาศที่หนาวเหน็บแบบขั้วโลกเหนือ ตามข้อมูลที่เปิดเผยภายหลัง ยามทั้ง ๒ นายเป็นเพียงลูกเรือที่มิได้ถูกฝึกอบรมมาก่อน และมิได้นำกล้องส่องสองตาติดตัวขึ้นไป



ยมบาลกำลังกวักมือเรียกเรือไททานิก

๒๓.๔๐ น. ท่ามกลางความหนาวเหน็บ ท้องฟ้ามีแสงสลัวรำไร ผู้โดยสารระดับมหาเศรษฐี นักธุรกิจชั้นนำของยุโรป ที่กำลังดื่มด่ำความสุขในเรือ วงดนตรีในห้องขับกล่อมให้คู่รักเต้นรำกันอย่างมีความสุข เรือไททานิกแล่นไปในทะเลน้ำแข็ง

ยาม ๒ นายบนเสากระโดงเรือ ตกใจสุดขีดตะโกนร้องสุดเสียง และรีบส่งสัญญาณไปยังห้องควบคุมการเดินเรือ “ภูเขาน้ำแข็งตรงหน้า” บุรุษผู้ที่ทำหน้าที่กัปตันชื่อ เมอร์ดอค (First Officer William M. Murdoch) สะดุ้งสุดตัว ตะโกนสั่งให้ไททานิกหยุดเดินเครื่องและให้เบนหัวเรือยักษ์เลี้ยวไปทางซ้าย

๔๐ วินาทีต่อมา กราบขวาของลำเรือกระแทกเข้ากับภูเขาน้ำแข็งเสียงดังสนั่นปานฟ้าผ่ากลางดึก ผู้โดยสารบนเรือคะมำลงไปกองกับพื้น สิ่งของทุกชนิดกลิ้งระเนระนาดบนพื้นเรือ ตัวเรือที่เป็นเหล็กระวางขับน้ำ ๔๖,๓๐๐ ตันหักงอ มีรอยฉีกขาดเป็นแผลขนาดใหญ่ น้ำทะเลแช่แข็งเริ่มแทรกตัวเข้ามาตามรอยแตก น้ำเย็นพุ่งไปทุกหนแห่งบนเรือ กวาดทุกอย่างที่ขวางหน้าด้วยแรงดันมหาศาลปานพายุร้าย เรือสำราญกลายเป็นขุมนรก

เรือแตกทางกราบขวาและกำลังจะจมลงสู่ท้องมหาสมุทร

ภูเขาน้ำแข็ง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Iceberg หมายถึง ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ ที่แตกออกจากธารน้ำแข็งแถบขั้วโลก ล่องลอยไปในทะเลแถบขั้วโลก  เวลา ๔๐ วินาที สำหรับเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่กำลังแล่นเต็มฝีจักรในทะเล ไม่พอเพียงที่หยุดยั้งเรือยักษ์ลำนี้ได้ ความหายนะทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดของโลกในคืนวันนั้นไม่มีใครบอกได้ว่า ภูเขาน้ำแข็งลูกนี้หน้าตาเป็นอย่างไร

วันต่อมา คือ ๑๕ เมษายน เรือ Prinz Adalbert แล่นไปถึงบริเวณที่เรือจมในวันรุ่งขึ้นได้ถ่ายภาพ “ภูเขาน้ำแข็งมรณะ” ลูกนี้ไว้ได้ซึ่งปรากฏความสูงประมาณ ๑๐๐ ฟุต เพราะส่วนใหญ่ของภูเขาจมอยู่ใต้น้ำ (ตามภาพที่ปรากฏข้างบน) เรือเบรเมน (Bremen) ของเยอรมัน และเรือมิเนีย (Minia) ที่ทยอยกันเข้าไปค้นหาผู้รอดชีวิตบริเวณที่ไททานิกจมลง ก็บันทึกภาพภูเขาน้ำแข็งลูกนี้ไว้ได้เช่นเดียวกัน (ขอบคุณภาพจาก nationalgeographic.com)




ความเดิมจากตอนที่แล้ว….เรือสำราญวิมานลอยน้ำไททานิก ชนแฉลบกับภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือตอนกลางดึกของวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๕๕ เมื่อเวลา ๒๓.๔๐ น. (ซึ่งตรงกับรัชสมัยในหลวง ร.๖) ผู้โดยสารแย่งชิงกันลงเรือชูชีพหนีตายไปได้ราว ๗๑๐ คน ผู้โดยสารชะตาขาดลงเรือชูชีพไม่ทัน ต้องกระโดดลงไปลอยคอในทะเลที่เย็นเกือบเป็นน้ำแข็งอุณหภูมิ ลบ ๒ องศา ในที่สุดร่างกายทนไม่ไหวเสียชีวิตเพราะภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) และเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่นๆ อีกมากกว่า ๑,๕๐๐ คน เรือที่ได้รับการออกแบบให้ “ไม่มีวันจม” (The Unsinkable) หลังจากกระแทกเข้ากับภูเขาน้ำแข็งที่มีอายุราว ๓พันปี ทำให้ตัวถังเรือด้านขวาแตกฉกรรจ์ น้ำทะเลเย็นเฉียบทะลักทะลุไปทุกแห่งในลำเรือ จ้าวสมุทรไททานิกค่อยๆ จมลงสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติก จมสนิทมิดลำเรือในเวลา ๐๒.๒๐ น. (ของวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๕๕)

มีเวลาทำการอพยพผู้โดยสารลงเรือชูชีพราว ๑ ชม. ๒๐ นาที

การสอบสวนความหายนะของไททานิกในภายหลังระบุว่า เย็นวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๕ ทะเลสงบผิดปกติ อากาศโดยรอบเย็นวาบ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในหมู่นักเดินเรือว่าจะต้องมีภูเขาน้ำแข็งอยู่ในบริเวณใกล้พื้นที่ใกล้เคียง กัปตันและลูกเรือบางส่วนบอกได้จากประสบการณ์ในทะเล

กัปตัน อี. เจ. สมิธ ผู้ช่ำชองแอตแลนติกกังวลใจไม่น้อยเรื่องภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg)

ในเวลา ๒๐.๕๕ น. ด้วยความไม่แน่ใจ กัปตันสมิธเดินมายังสะพานเดินเรือ กังวลว่าไททานิกกำลังแล่นเข้าสู่เขตของภูเขาน้ำแข็ง กัปตันปรึกษากับทีมงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรืออยู่พักใหญ่ด้วยความไม่สบายใจ ทุกคนยอมรับว่าทัศนวิสัยคืนนั้นแย่มาก

เรือโดยสารขนาดยักษ์ที่ทันสมัยที่สุดในโลกยังคงเดินทางต่อไป

ในเวลา ๒๑.๓๐ น. กัปตันสมิธออกไปจากสะพานเดินเรือ (ห้องควบคุมและสั่งการ) โดยย้ำเตือนแก่พนักงานบนเรือให้เฝ้าสังเกตสิ่งผิดปกติข้างหน้า ให้รักษาความเร็วของเรือไททานิกที่ ๒๒ นอต (ประมาณ ๔๐กิโลเมตร/ชม.) และมอบให้ผู้ช่วยกัปตันเมอร์ด็อค รับผิดชอบสั่งการแทน

เวลา ๒๓.๔๐ น. ยามที่ยืนบนเสากระโดงเรือเพื่อเฝ้ามองเส้นทางชื่อเฟรดเดอริก ฟลีท (Frederick Fleet) ตะโกนว่า “ภูเขาน้ำแข็งตรงหน้า” เรือไททานิกกำลังพุ่งเข้าไปปะทะตรงหน้า เฟรดเดอริกเป็นลูกเรือและเป็นยามเสากระโดงเรือมากว่า ๔ ปี และได้ถูกมอบหมายให้มาเป็นยามสังเกตการณ์บนเรือสำราญลำนี้ร่วมกับ เรจินัลด์ ลี (Reginald Lee) ที่ย้ายมาจากเรือโอลิมปิกเรือแฝดพี่ของไททานิก

เมื่อได้รับสัญญาณอันตราย ผู้ช่วยกัปตันสั่งหยุดเครื่องยนต์และให้เดินเครื่องถอยหลังเต็มตัว เรือใหญ่ที่สุดในโลกอันแสนจะอุ้ยอ้ายไม่สามารถหยุดได้ในเสี้ยวนาที หลังจากนั้นเพียง ๔๐ วินาที เสียงที่เรือสำราญไปแฉลบชนกับภูเขาน้ำแข็งในทะเลดังสนั่นปานฟ้าผ่าตอนดึก

กัปตันสมิธที่แต่งเครื่องแบบนอนอยู่ในห้องพักสะดุ้งสุดตัวตาม แรงกระแทกสะท้านของตัวเรือ กัปตันรีบไปที่สะพานเดินเรือ สั่งการให้ปิดประตูกั้นน้ำทั้งหมด ผู้ช่วยกัปตันเมอร์ด็อค บอกว่าปิดเรียบร้อยแล้ว และรายงานต่อว่า เรือได้เฉียดไปชนภูเขาน้ำแข็ง แต่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

ผู้โดยสารทุกคนบนเรือทราบดีว่าดึกดื่นป่านนี้ เรือออกอาการกระแทกขนาดนี้ ต้องไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน วินาทีนั้นคือการเริ่มต้นของวิกฤตหนีตาย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เรือออกทะเลมา ๔ วันไม่เคยมีการซักซ้อมแผนการสละเรือแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่มีระเบียบที่ต้องซักซ้อม

ทุกคนหวีดร้องหยิบฉวยสิ่งของ ตะโกนเรียกหาครอบครัวและคนรักแล้วพุ่งตรงไปดาดฟ้าเพื่อไปให้ถึงเรือชูชีพ

เจมส์ คาเมรอน (James Cameron) เป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับภาพยนตร์เรื่องไททานิก ผลิตโดย ทเวนตี้เซ็นจูรีฟ๊อกซ์ และ พาราเมาท์พิกเจอร์ เลือกนักแสดงชายหล่อลากดินชาวอเมริกัน ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ ให้เป็นพระเอกในภาพยนตร์ชื่อแจ๊ค รับบทเป็นเด็กหนุ่มอเมริกันเตร็ดเตร่เล่นโป๊กเกอร์ชนะได้รางวัลเป็นตั๋วเดินทางชั้น ๓ และ เคต วินสเล็ต นักแสดงชาวอังกฤษเป็นนางเอกในภาพยนตร์ที่ชื่อโรส รับบทสาวงามผู้ดีมีตระกูลออกฉายเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ ภาพยนตร์เรื่องนี้ครองแชมป์ทำรายได้สูงสุดของโลกนานอยู่ ๑๒ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๕๓ ภาพยนตร์เรื่องอวตาร ที่เจมส์ คาเมรอน (คนเดิม) กำกับการแสดงก็ขึ้นมาทำรายได้แซงหน้าไททานิก

งบประมาณในการสร้างหนังเรื่องไททานิกใช้ไปราว ๒๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่งบประมาณต่อเรือไททานิกทั้งลำใช้ไป ๑๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เวลาต่างกันกันราว ๘๐ ปี)

ผู้กำกับมือทองสั่งให้นักแสดง-ทีมงานในภาพยนตร์ใช้เวลาศึกษากิริยาและบุคลิกของผู้คนสมัยปี พ.ศ.2455 รวมทั้งข้อมูลจากซากเรือไททานิกที่จมอยู่ก้นมหาสมุทรนาน ๗๓ ปี ลึกเกือบ ๔ กม. นักสำรวจใต้น้ำได้บันทึกภาพของเรือไททานิก รวมทั้งอุปกรณ์บนเรือ สิ่งของในห้องใต้ท้องเรือ แม้กระทั่งสภาพของห้องอาหารที่เรียกอาหารมื้อนั้นว่า The Last Supper of Titanic เพื่อการสร้างฉากให้ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด

ลองมาย้อนอดีตถึงบุคคลที่มีอยู่จริงบนเรือไททานิกและถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์

นักแสดงคนสำคัญ คือ กัปตันสมิธ ซึ่งนักแสดงเกือบทุกคนมีอยู่จริงบนเรือไททานิก ที่ผู้กำกับคาเมรอน กำหนดให้นักแสดงกว่า ๑๕๐ ชีวิตแสดงเป็นตัวละครที่มีชื่อบนเรือ

มากาเร็ต โทบิน บราวน์ (Magaret Tobin Brown) หรือฉายามอลลี่ผู้ไม่มีวันจม เป็นเศรษฐีในยุคนั้นได้ร่วมเดินทางไปกับเรือไททานิกครั้งนั้นด้วย ในภาพยนตร์เธอช่วยหาชุดแต่งกายแบบชนชั้นสูงให้กับแจ๊ค
คู่รักชายหญิงชราภาพที่นอนเคียงกันตระกองกอดและจุมพิตกันบนเตียงในห้องที่น้ำกำลังท่วมเพื่อขอตายไปพร้อมกัน ในเรือที่กำลังจม

แจ๊ค ดอว์สัน ที่เป็นพระเอกในภาพยนตร์ มีตัวตนจริง เขาเป็นผู้โดยสารคนหนึ่งและเสียชีวิตไปพร้อมเรือ ญาติของแจ๊คไปสร้างหลุมฝังศพให้เขาที่สุสาน ในเมืองโนวาสโกเทีย (Nova Scotia) ทางตะวันออกสุดของประเทศแคนาดา หลุมฝังศพของเขาได้รับการเข้าเยี่ยมมากที่สุดในสุสาน

เรื่องเหลือเชื่อ แต่ต้องเชื่อครับ…ในภาพยนตร์มีฉากที่นักดนตรีในเรือยังคงบรรเลงเพลงต่อไปทั้งๆ ที่เรือประสบอุบัติเหตุ นักดนตรีที่ดีดสีตีเป่า ออกอาการลังเลอยู่บ้าง ซึ่งในเหตุการณ์จริงก็เป็นเช่นนั้น ผู้กำกับศึกษาข้อมูลจากผู้รอดชีวิตมาแล้ว ระบุว่า นายฮาร์ทลีย์ (Wallace H. Hartley) หัวหน้าวงสั่งให้นักดนตรีเล่นเพลง Nearer My God to Thee ซึ่งเป็นเพลงที่มีความหมายถึงการได้ใกล้ชิดพระเจ้า เป็นเพลงที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ร้องสวดให้มีกำลังใจที่จะได้พบพระเจ้า ในขณะที่เรือประสบอุบัติเหตุยังคงเล่นต่อไป (ภาพนักดนตรีทั้งวงตามที่ปรากฏข้างบน)

วิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมการต่อเรือไททานิกมาตั้งแต่เริ่มชื่อ โทมัส แอนดรูว์ส (Thomas Andrews) สะเทือนใจเป็นที่สุด ขณะที่เรือกำลังจะจม วิศวกรผู้นี้เดินเข้าไปในห้องสูบบุหรี่ของผู้โดยสารชั้น ๑ ขอสละชีพไปกับเรือที่ตนออกแบบ เพื่อจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับคำถามและความอับอายที่จะต้องแบกรับในอนาคต

หุ้นส่วนเจ้าของบริษัทเรือชื่อ บรู๊ซ อิสเมย์ (Bruce Ismay) ในขณะเรือประสบเหตุ มีพยานยืนยันว่าชายผู้นี้ใช้ผ้าคลุมศีรษะ พรางตัวเป็นสตรีเพื่อจะที่ได้รับสิทธิลงเรือชูชีพหนีไปก่อนพร้อมกับเด็ก และในที่สุดก็แย่งชิงกับเด็กและสตรีลงเรือชูชีพไปได้จึงรอดตาย แต่ต่อมาบุคคลผู้นี้ได้รับการประณามหยามเหยียดจากสังคมทุกหนแห่งตลอดชีวิตจนตาย

ในฉากสุดท้ายของหนัง เมื่อโรสพบกับแจ๊คที่บันได นาฬิกาบอกเวลา ๐๒.๒๐ น. เป็นเวลาจริงๆ ที่เรือไททานิกล่ม

ภาพยนตร์เรื่องไททานิก ได้รับรางวัลออสการ์ ถึง ๑๑ สาขา และรางวัลลูกโลกทองคำอีก ๔ สาขา กวาดทุกรางวัลบนโลกใบนี้ไปหมด มีแฟนพันธุ์แท้เวียนเข้าไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้หลายรอบแบบมิรู้เบื่อ

เรื่องของแจ๊ค ดอว์สัน กับโรส บูเคเตอร์ เป็นเรื่องของบทประพันธ์ที่สร้างขึ้นได้อย่างลงตัว ทำให้ผู้ชมถึงกับละเมอถึงความรักของหนุ่มสาวคู่นี้ที่จำต้องพลัดพราก รวมทั้งเพชรห้อยคอสีน้ำเงินที่ชื่อ “หัวใจมหาสมุทร” ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของบทประพันธ์

ฉากที่วิเศษสุดของไททานิก คือ ฉากรักที่พระเอกแจ๊คตระกองกอดนางเอกโรสที่ยืนกางแขนตรงส่วนหัวของเรือเดินสมุทร แจ๊คสอนให้เธอรู้จักบิน ทั้งคู่มองออกไปในทะเลที่ไร้คลื่น ฟ้าเป็นสีคราม ผมสีทองของเธอปลิวสลวยไปกับสายลม ร่างกายของหนุ่มสาวที่มีความรักได้รับลมทะเลที่มาม้วนโอบ หลอมรัดกายาของคู่รักให้แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกัน

ประโยคที่เศร้าที่สุดก่อนทั้งคู่ตัดสินใจกระโดดลงทะเล คือ You jump, I jump. โรสบอกแจ๊คว่า เธอโดดลงไปแล้วฉันจะโดดตาม

โปรดติดตามตอนต่อไป ที่จะเปิดเผยผลการสอบสวนหายนะครั้งนี้โดยสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐที่ใช้เวลาสอบสวนนานถึง ๑๘ วันครับ

2869  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / ภาพชีวิตความเป็นอยู่่ของชนกลุ่มน้อยบนพื้นที่ป่าเขาสูง ในภาคเหนือของประเทศไทย เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2560 13:08:59

ภาพชีวิตความเป็นอยู่่ของชนกลุ่มน้อยบนพื้นที่ป่าเขาสูง ในภาคเหนือของประเทศไทย
ได้รับทุกข์ภัยในการดำรงชีวิต ไม่มีระบบสาธารณูปโภคให้บริการสาธารณะ ขาดแคลน
สิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวัน ขาดแคลนเสื้อผ้าไว้ห่อหุ้มพันกายในยามอากาศหนาวเหน็บ
อาหารการกินหาตามมีตามได้ในพื้นถิ่น ยามเจ็บป่วยต้องห่างไกลแพทย์-พยาบาล คอยช่วยเยียวยารักษา
เด็กๆ ไม่ได้รับการศึกษาที่ดี ...ที่นี่ ประเทศไทย...

 





เจดีย์สีขาวที่อยู่ตรงข้ามแม่น้ำ คือดินแดนประเทศพม่า














ภาพนี้ก่อไฟในปีบ วางตะแกรงเทินบน ประยุกต์ใช้แทนเตาสำหรับปิ้งปลา




ภาพล่าสุด : ได้รับเมื่อค่ำวันวาน (๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐)
เป็นการสวดมนต์ตามประเพณีพื้นถิ่น อวยพรคู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันในวันวาเลนไทน์

ภาพทั้งหมดอัดโหลดจากมือถือ ซึ่งเพื่อนเป็นทหารได้ส่งมาให้ดูทาง LINE
ภาพจึงไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนัก

2870  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / หนึ่งในร้อย : ภูสมิง หน่อสวรรค์ เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2560 12:23:36

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=AeTd2Neq9LI" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=AeTd2Neq9LI</a>

หนึ่งในร้อย : ภูสมิง หน่อสวรรค์
2871  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ มันสำปะหลังเชื่อม ไม่ใช่เรื่องง่าย ลองผิดลองถูกถึง 4 ครั้ง จึงสำเร็จ เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2560 16:31:52




มันสำปะหลังเชื่อม
คิดว่าเป็นเรื่องง่าย แต่ลองผิดลองถูกมาถึง 4 ครั้ง จึงทำสำเร็จ

ส่วนผสม
- มันสำปะหลัง 1 กิโลกรัม
- น้ำตาลทราย 1 + 1/2 ถ้วย


วิธีทำ
1.ล้างมันสำปะหลังให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก)
2.ตั้งน้ำสะอาดพอท่วมมันสำปะหลัง พอเดือด ใส่มันลงไปต้มประมาณ 3 นาที
3.ใช้ปลายมีดแหลมกรีดผิวมันตามยาว แล้วลอกเอาเปลือกออก
4.ใส่มันสำปะหลังในกะทะทองเหลืองหรือหม้อเคลือบ เติมน้ำพอท่วม ต้มให้มันสุกทั้งหัว
5.ใส่น้ำตาลทราย เคี่ยวต่อไปจนน้ำตาลละลายซึมเข้าไปในเนื้อมันและน้ำตาลเหนียวใส
6.ตักใส่ถ้วยเสิร์ฟ ราดด้วยหัวกะทิ (หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง ผสมกับแป้งข้าวโพด 1 ช้อนชา และเกลือป่น 1/2 ช้อนชา ยกขึ้นตั้งไฟหมั่นคน พอกะทิร้อนไม่ถึงกับเดือด ยกลงจากเตา)



ผู้โพสต์ ได้มันสำปะหลัง หัวไม่สวย หาซื้อยากมาก
เมื่อได้มาแล้วไม่ต้องปอกเปลือก ใช้วิธีนำไปต้มจะทำให้ลอกเปลือกออกได้อย่างง่ายมาก)


นำไปใส่ในกระทะทองเหลือง หรือหม้อเคลือบ เติมน้ำสะอาด
ต้มให้สุกก่อนใส่น้ำตาล มิฉะนั้นน้ำตาลจะรัดตัว เชื่อมอย่างไรมันก็แข็งกระด้าง ไม่สุก
* การสังเกตง่ายๆ ว่ามันสำปะหลังสุกได้ที่หรือยัง?
   ถ้ามันสุกทั่วถึงแล้ว เนื้อมันสำปะหลังจะปริแตกออก



ใส่น้ำตาลทราย
   

เคี่ยวต่อไปจนน้ำตาลซึมเข้าเนื้อและเหนียวใส









2872  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: กราบอัฐธาตุหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2560 15:15:02




หลวงปู่ฝั้น  อาจาโร
ในช่วงชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ ท่านได้ธุดงค์ยังสถานที่ต่างๆ จนกระทั่งเป็นที่นับถือศรัทธา
ของญาติโยมจำนวนมาก และได้รับการได้รับการยกย่องเป็น "อริยสงฆ์" องค์หนึ่ง

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  เป็นกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น  ภฺริทตฺโต ที่ยึดมั่นในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ถือธุดงควัตร ฉันมื้อเดียวในบาตร เน้นที่การฝึกจิตใจในด้านสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา จนถึงระดับหนึ่งคือ จตุตถญาณ หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรุ่นแรกที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ออกธุดงค์ไปยังหมู่บ้านสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรมและฟื้นฟูพระพุทธศาสนา จนสร้างกระแสความตื่นตระหนกให้กับพระภิกษุเจ้าถิ่นที่มีความคุ้นเคยกับความเป็นอยู่ในรูปแบบเดิม ย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ติดงานรื่นเริง ไสยศาสตร์ การไหว้ทรงเจ้า นับถือผีแบบไม่มีเหตุผล

หลวงปู่ฝั้นเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ในตระกูล “สุวรรณรงค์” เป็นบุตรคนที่ ๕ ของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) เจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาของท่านชื่อ นางนุ้ย

ด้วยความที่ท่านเกิดในตระกูลนักปกครอง จึงได้รับการอบรมกิริยามารยาท จนเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย โอบอ้อมอารี ขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ท่านเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ และเข้าไปศึกษาต่อกับพี่เขยที่เป็นปลัดขวา ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

สมัยก่อน การรับราชการ เป็นอาชีพที่มีเกียรตินำชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล ทำให้หลวงปู่ฝั้นมีความใฝ่ฝันที่จะเข้ารับราชการตามบ้าง จึงได้ติดต่อไปอยู่กับพี่เขยที่เป็นปลัดอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  แต่ต่อมาได้พบเห็นชีวิตที่พลิกผันของพระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่น ที่ต้องติดคุกเพราะต้องโทษฆ่าคนตาย ในคุกก็มีนักโทษที่เคยเป็นข้าราชการมาก่อน ได้พิจารณาความเป็นอนิจจังอันหาความแน่นอนในชีวิตไม่ได้ นำความสลดสังเวชมาสู่ใจของหลวงปู่ฝั้นเป็นอย่างมาก จึงเลิกล้มความตั้งใจที่จะรับราชการ เดินทางกลับบ้าน

เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ในระหว่างที่เป็นสามเณร ได้ตั้งใจศึกษาและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอันมาก ผิดกับเณรที่อายุเท่าๆ กัน จนคุณย่าของท่านได้พยากรณ์เอาไว้ว่า “ในภายภาคหน้า ท่านจะเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าขมิ้นจนตลอดชีวิต ระหว่างนั้นจะสร้างแต่คุณงามความดีอันประเสริฐ จะเป็นผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ประชาชนทุกชั้นตั้งแต่สูงสุดจนถึงต่ำสุดทุกเชื้อชาติศาสนาที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของท่าน จะบังเกิดความเลื่อมใสในตัวท่านและรสพระธรรมที่ท่านเทศนาเป็นอันมาก”

ครั้นถึงอายุ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดสิทธิบังคม ที่บ้านไฮ่ ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยพระครูป้อง (นนทะเสน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สัง กับพระอาจารย์นวล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่วัดสิทธิบังคม ท่านได้ท่องบ่นเจ็ดตำนานจนจบบริบูรณ์ ขณะเดียวกันพระอุปัชฌาย์ของท่านก็ได้สอนให้รู้จักวิธีเจริญกัมมัฏฐานตลอดพรรษาด้วย ออกพรรษาในปีนั้น อาญาครูธรรม เป็นเจ้าอาวาสวัดโพนทอง ได้ชักชวนหลวงปู่พร้อมกับพระลูกวัดรูปอื่น ออกธุดงค์ฝึกหัดภาวนาเจริญกัมมัฏฐานตามป่าเขา ถ้ำ ป่าช้าต่างๆ อันเป็นที่วิเวก การภาวนาช่วงแรกๆ นั้น หลวงปู่ฝั้นเล่าให้ฟังว่า “การฝึกหัดภาวนาในสมัยนั้น มีวิธีฝึกใจให้สงบโดยอาศัยการนับลูกประคำ กล่าวคือ เอาลูกมะแทน ๑๐๘ ลูก ร้อยเป็นพวงคล้องคอ หรือพันข้อมือไว้ เวลาเจริญพุทธนานุสติกัมมัฏฐานจะด้วยการนั่ง การนอน หรือจะยืน จะเดินก็ดี เมื่อบริกรรมว่าพุทโธๆ จะต้องนับลูกมะแทนไปด้วยทีละลูก คือนับ พุทโธ ๑๐๘ เท่าลูกมะแทน เมื่อถึงบทธัมโมและสังโฆ ก็ต้องนับเช่นเดียวกัน หากนับพลั้งเผลอ แสดงว่าจิตใจไม่สงบ ต้องย้อนกลับไปตั้งต้นใหม่ที่พุทโธ ๑ อีก เป็นการฝึกทีดูเผินๆ น่าจะง่าย แต่เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจัง จะเห็นว่าไม่ง่ายดั่งใจนึก เพราะต้องบริกรรมอยู่ตลอดเวลาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เว้นไว้แต่เวลาที่นอนหลับ และเวลาที่ฉันจังหันเท่านั้น

หลังจากนั้นไม่นาน เป็นระยะเวลาที่พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรเดินทางผ่าน บรรดาญาติโยมที่ทราบข่าวจึงเข้าขอฟังธรรม ซึ่งหลวงปู่มั่นได้เมตตาแสดงธรรมให้ฟัง โดยมีหลวงปู่ฝั้นเข้าร่วมฟังด้วย หลวงปู่มั่น ได้แสดงพระธรรมเทศนาตามขั้นภูมิของผู้ฟัง เบื้องต้นดังนี้ “การให้ทานและการรักษาศีลภาวนานั้น ถ้าจะให้เกิดผลานิสงส์มากจะต้องละจากความคิดเห็นที่ผิดให้เป็นถูกเสียก่อน” ท่านยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวชาวบ้านมากที่สุดขึ้นอ้างว่า ชาวบ้านม่วงไข่นั้นส่วนใหญ่นับถือภูตผีปีศาจ ตลอดจนเทวดาและนางไม้เป็นสรณะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เหลวไหลไร้เหตุผล พระธรรมเทศนาอันลึกซึ้งทำให้ชาวบ้านเห็นจริง ละจากมิจฉาทิฏฐิ เลิกนับถือภูตผีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หลังจากฟังธรรมแล้ว หลวงปู่ฝั้นได้กราบปวารนาถวายตัวเป็นลูกศิย์พระอาจารย์มั่น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


หลังจากนั้น พระอาจารย์ฝั้นก็ได้มีโอกาสรับการอบรมธรรมจากพระอาจารย์มั่นเป็นประจำ ได้ฝึกกัมมัฏฐานจนพลังจิตแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ และมั่นคงแน่วแน่ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรค ในที่สุดท่านจึงได้ตัดสินใจทำการญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ณ วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจารย์พระอาจารย์มุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลักจากทำการญัตติกรรมแล้ว พระอาจารย์ฝั้นก็ได้เดินทางไปจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์มั่นที่วัดอรัญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ร่วมกับพระอาจารย์อื่นๆ อีกหลายท่าน

ในปี พ.ศ.๒๔๖๙ พระอาจารย์ฝั้นพร้อมกับพระภิกษุอื่นๆ ทำการญัตติกรรมในโบสถ์น้ำอีกครั้งหนึ่ง ตามพระธรรมวินัย โดย ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฝั้นได้ไปจำพรรษาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ตามหน้าที่ที่พระอาจารย์มั่นได้มอบหมายให้ หลังจากออกพรรษาแล้วก็ได้ร่วมกันออกเผยแพร่ธรรม โดยมุ่งหน้าไปทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับเอาโยมมารดาของพระอาจารย์มั่น (นางจันทร์) ไปอุบลราชธานีด้วย

หลวงปู่ฝั้นได้เพียรปฏิบัติศาสนกิจด้วยความมุ่งมั่นและจริงจัง อบรมศิษย์ด้วยความเอาใจใส่ เมตตาธรรมของท่านนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ได้ตรากตรำงานหนักมาตลอดชีวิตของท่าน จึงเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสแก่ผู้เคยพบเห็นท่านเสมอ

พระอาจารย์ฝั้น ได้สร้างสรรค์ถาวรวัตถุไว้มาก ไม่ใช่เพียงแต่ในด้านศาสนสถานอย่างเดียวเท่านั้น ในด้านสังคมก็ได้ช่วยสร้างไว้มาก อย่างเช่นตึกสงฆ์อาพาธของโรงพยาบาลสกลนครหรือ โรงพยาบาลพรรณานิคม ที่ได้ใช้ชื่อของท่านเป็นชื่อโรงพยาบาลด้วย ก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี ก็ด้วยบารมีของท่าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพร้อมทั้งทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าทุกพระองค์ ก็ได้เคยเสด็จฯ ไปนมัสการพระอาจารย์ฝั้นอยู่เสมอได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับพระอาจารย์ฝั้นอย่างใกล้ชิด ทรงสนทนาธรรมตรัสถามข้อสงสัยด้วยความสนพระทัยอย่างยิ่ง เมื่อโอกาสใดที่พระอาจารย์ฝั้นเดินทางมากรุงเทพฯ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพระอาจารย์ฟั่นถึงวัดที่พระอาจารย์ฟั่นมาพักทุกครั้ง

เดือนกันยายน ๒๕๑๙ พระอาจารย์ฝั้น ได้เกิดอาพาธ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร แต่อาการไม่ดีขึ้นจึงได้นิมนต์ท่านเข้าการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รักษาอยู่ระยะหนึ่งท่านก็ขอกลับวัดป่าอุดมสมพร สกลนครอาการบางอย่างก็หายเป็นปกติ แต่ก็ได้มีโรคอื่นแทรกซ้อนมา จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๑๙ อาการของโรคหัวใจของท่านก็กำเริบ วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๙ พระอาจารย์ฝั้นเกิดอาการช็อค ทางคณะแพทย์ได้นิมนต์ให้ท่านเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสกลนคร แต่ท่านไม่ยอมไป คณะแพทย์หลวงได้ทราบข่าวจึงได้ขอนิมนต์ท่านให้เข้ารับการรักษาที่กรุงเทพฯ ท่านก็ไม่ยอมเช่นกัน ยังคงพักรักษาอยู่แต่ที่วัดป่าอุดมสมพรตลอดมา โดยมีคณะแพทย์หมุนเวียนกันไปเผ้าอาการตลอดเวลา จนกระทั่งถึง วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ เวลา ๑๙.๕๐ น. พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ละขันธ์ธาตุไปด้วยอาการสงบ

ข่าวมรณภาพของพระอาจารย์ฝั้นได้แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว สาธุชนผู้มีความเคารพในตัวท่านได้หลั่งไหลไปคารวะศพท่านที่วัดอย่างเนืองแน่น ต่างอาลัยอาวรณ์ในพระอาจารย์ฝั้นเป็นอย่างมาก เพราะท่านเป็นที่รวมแห่งจิตใจของศิษย์ทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทราบข่าวก็ได้เสด็จฯ ไปยังวัดป่าอุดมสมพร เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๒๐ ทรงสรงน้ำศพและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน พระราชทานศพ พระราชทานหีบทองทึบประกอบศพด้วย


อัฐบริขาร และอัฐิหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
















อัฐิหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
มรณภาพ วันอังคารที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐
ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่








ขอขอบคุณภาพจาก : oknation.net


๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
เป็นกรณีพิเศษโดยส่วนพระองค์
ขอขอบคุณภาพจาก : luangpumun.org
2873  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลากดคัง - สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 20:16:24



แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลากดคัง
สูตรพริกสด

ส่วนผสม
- ปลากดคัง 1/2 กิโลกรัม
- หน่อไม้ดอง 4 ชีด
- หอมแดงไทย 3 หัว
- กระเทียมไทย 5 กลีบ
- ขมิ้นยาว 1 เซนติเมตร
- พริกขี้หนูสด 30-35 เม็ด
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- ข้าวสาร 1 ช้อนชา (ช่วยให้น้ำแกงข้น)
- กะปิใต้ 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลาดี


วิธีทำ
1.โขลกเครื่องแกง (หอม กระเทียม ขมิ้น พริกขี้หนูสด ข้าวสาร ให้ละเอียด ใส่กะปิโขลกให้เข้ากัน)
2.ล้างปลาและหน่อไม้ดองให้สะอาด พักไว้
3.นำน้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง ใส่หม้อยกขึ้นตั้งไฟ พอเดือดใส่พริกแกง หน่อไม้ดอง
   เคี่ยวสักครู่ เร่งไฟให้แรงสุด ใส่ปลา (อย่าคนจะเหม็นคาว) พอปลาสุกปรุงรสด้วยน้ำปลาดี น้ำตาลปีบ น้ำมะขามเปียก












2874  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / กราบอัฐธาตุหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 19:57:54


กราบอัฐธาตุหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

วัดป่าอุดมสมพร ตั้งอยู่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บนเส้นทางสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒ จากสกลนครถึงอำเภอพรรณานิคม ประมาณ ๓๗ กิโลเมตร จะมีทางแยกเลี้ยวขวาผ่านตัวอำเภอพรรณานิคมไปประมาณ ๒ กิโลเมตร

วัดป่าอุดมสมพรเป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เป็นสถานที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จำพรรษาและพัฒนาวัดให้ดีขึ้นตามลำดับจนมรณภาพ  ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น ซึ่งอาคารพิพิธภัณฑ์ทำเป็นรูปพระเจดีย์ฐานกลีบบัวสามชั้น ปลายยอดแหลมตั้งอยู่บนเนินดิน ที่ขุดจากบริเวณใกล้เคียง มายกให้สูงขึ้น รอบๆ บริเวณตกแต่งเป็นสวนหย่อมและสระน้ำขนาดใหญ่ บริเวณกึ่งกลางพิพิธภัณฑ์ประดิษฐานรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้น มีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า มือถือไม้เท้า ด้านหน้าตกแต่งด้วยเครื่องบูชา มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ ฝาผนังโดยรอบเป็นตู้กระจกแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมถึงประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร กำเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ที่ตำบลบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดโพนทอง จนอายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต











โปรดติดตามตอนต่อไป
ดูแล้วเหมือนลิเก...ออกแขกเสร็จ ยังไม่ทันได้แสดง ปิดฉากลาโรงซะแล้ว
(ง่วงนอนค่ะ)
2875  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า / Re: สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 14:20:39



สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๓๒)
วัดแห่งแรกในเมืองสาวัตถี

สมัยพุทธกาล การสร้างวัดมิได้สร้างง่ายๆ และสร้างบ่อย เหมือนในยุคหลัง
วัดแห่งแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา คือวัดพระเวฬุวัน พระเจ้าพิมพิสารสร้างถวาย เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองคฤห์

“วัด” ในความหมายนี้คือ สวนไผ่หรือป่าไผ่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าเวฬุวัน (ป่าไผ่) เวฬุวนาราม (สวนป่าไผ่) คงยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างอะไร

แต่เมื่อสร้างวัดที่เมืองสาวัตถีนั้นแหละเข้าใจว่าคงมีสิ่งปลูกสร้าง มีวิหาร ปราสาท (แปลว่าเรือน หรือตึก) ด้วย

คนสร้างเป็นเศรษฐี ชื่อเดิมว่า สุทัตตะ เศรษฐีที่ทำมาค้าขายโดยสุจริต ไม่ใช่เศรษฐีค้าขายผูกขาดปั่นหุ้น

ท่านผู้นี้ก่อนจะรู้จักพระพุทธเจ้า ก็เดินทางไปค้าขายยังเมืองต่างๆ ตามประสาพ่อค้า
 
คราวหนึ่งเดินทางไปเมืองราชคฤห์ พักอยู่ที่คฤหาสน์ของน้องเขย เห็นคนในบ้านตระเตรียมอย่างขะมักเขม้น ยังกับจะมีงานเลี้ยงมโหฬาร จึงซักถาม ได้ความว่า มิได้เตรียมสถานที่เพื่อจัดปาร์ตี้อะไร หากแต่เตรียมเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์

สุทัตตะได้ยินดังนั้นก็ขนหัวลุกด้วยความปลาบปลื้มดีใจ จึงถามว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน ตนอยากไปพบ

น้องเขยบอกว่าพรุ่งนี้ก็จะได้พบอยู่แล้ว

คืนนั้นสุทัตตะนอนไม่ค่อยจะหลับ กระสับกระส่าย เพราะอยากพบพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ทนรอจนถึงเช้าไม่ไหวจึงตัดสินใจออกจากคฤหาสน์ไปยังสถานที่ที่พระพุทธองค์ประทับก่อนรุ่งแจ้ง

ขณะเขาเดินเข้าไปใกล้ ก็ได้ยินพระพุทธองค์ดำรัสว่า “สุทัตตะมานี่สิ” เขาขนลุกเป็นครั้งที่สอง ประหลาดใจที่พระพุทธองค์ทรงทราบว่าเขากำลังมาเฝ้า และทรงรออยู่ จึงเข้าไปกราบแทบพระยุคลบาท

พระพุทธองค์ทรงแสดง “อนุปุพพีกถา” (เทศนาอันว่าด้วยทาน ศีล โทษแห่งกาม อานิสงส์แห่งสวรรค์ และการปลีกจากกามารมณ์) เป็นการปูพื้นฐานจิตใจแก่เขา

เขาได้สดับพระธรรมเทศนาแล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล ยกระดับจากความเป็นปุถุชนขึ้นเป็นพระอริยบุคคลระดับต้น เรียกว่าได้ “เข้าสู่กระแสพระนิพพาน”

สุทัตตะได้ประกาศตนเป็นอุบาสก ถึงไตรสรณคมน์ ตลอดชีวิต โดยอัญเชิญเสด็จพระพุทธองค์ไปยังคฤหาสน์ของน้องเขย เขาได้ขออนุญาตน้องเขยเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานที่คฤหาสน์เศรษฐีผู้เป็นน้องเขยตลอด ๗ วัน แล้วทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดประชาชนชาวเมืองสาวัตถีบ้าง

พระพุทธองค์ตรัสว่า “คหบดี สมณะทั้งหลายย่อมยินดีในสถานที่อันสงัด

เพียงแค่นี้เศรษฐีระดับด๊อกเตอร์ก็รู้แล้วว่า พระพุทธองค์จะทรงเสด็จไปประทับ ทูลลากลับเมืองสาวัตถีด้วยจิตใจเปี่ยมด้วยความสุขหาใดปาน

กลับถึงบ้านก็เที่ยวสำรวจสถานเหมาะจะสร้างวัดถวายพระพุทธองค์ ไปชอบใจสวนของเจ้านายในราชวงศ์พระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าชายเชต จึงไปเจรจาขอซื้อ

เจ้าเชตไม่อยากขาย จึงโก่งราคาแพงลิบลิ่ว

แพงขนาดไหนหรือครับ เจ้าเชตบอกว่า ให้เอาเหรียญกษาปณ์มาปูพื้นที่จนเต็มนั้นแหละคือราคาสวน

โอ้โฮ สวนตั้งหลายเอเคอร์ จะใช้เหรียญสักกี่คันรถจึงจะเต็ม ไม่รู้ล่ะ เศรษฐีคิด เท่าไรก็สู้ อะไรประมาณนั้น จึงสั่งให้ขนกษาปณ์จากคลังมาปูพื้นที่สวน ปูไปได้หมดเงิน ๑๘โกฏิ (มากแค่ไหน ผู้รู้คำนวณเอาก็แล้วกัน)

เจ้าเชตเห็นเศรษฐีเอาจริงเอาจังขนาดนั้น จึงถามว่า เอาเท่าที่ปูไปแล้วนี้แหละ ที่เหลือขอให้เขาได้มีส่วนในการสร้างวัดบ้าง แล้วก็บริจาคเพิ่มอีก ๑๘ โกฏิ ช่วยกันสร้างวัดจนสำเร็จ

ใช้เวลาสร้างนานเท่าไร ตำรามิได้บอกไว้ สร้างเสร็จได้ขนานนามว่า “วัดพระเชตวัน” เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าเชต ถวายให้เป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์

สุทัตตะที่ว่านี้มิใช่ใครที่ไหนเป็นคนเดียวกับอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวพุทธนั้นเอง นามเดิมท่าน สุทัตตะ ครับ

เพราะความที่ท่านเป็นคนใจบุญสุนทาน อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแข็งแรง สร้างโรงทานให้ทานแก่ยาจกและวณิพก ณ สี่มุมเมือง จึงได้รับขนานนามว่า “อนาถบิณฑิกเศรษฐี” แปลว่า ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถาเสมอ ฝรั่งแปลความเอาว่า “เศรษฐีใจบุญ” (benefactor, benevolent)

ใครที่ไปไหว้สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ที่ประเทศอินเดีย และเนปาล (ลุมพินี สถานที่ประสูติ อยู่ที่เนปาลครับ) ก็จะต้องไปเที่ยวชมและนมัสการ พระเชตวัน

จะเห็นว่าเป็นบริเวณกว้างขวางมาก มีซากปรักหักพัง มีฐานของตึกและกุฏิของพระสาวกต่างๆ ก่อด้วยอิฐอย่างแข็งแรง เข้าใจว่าตึกรามอะไรต่างๆ คงมีมาตั้งแต่แรกสร้างส่วนหนึ่ง สร้างเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง

นอกนั้นก็มีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ว่ากันว่าเป็นต้นโพธิ์ที่พระเจ้าแผ่นดินและอนาถบิณฑิกเศรษฐีปลูกไว้ โดยการอำนวยการของพระอานนท์พุทธอนุชา เพื่อเป็น “เจดีย” กราบไหว้ แทนพระพุทธองค์ยามเมื่อพระพุทธองค์มิได้ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

ต้นโพธิ์ต้นนี้เรียกว่า ”อานันทโพธิ” (ต้นโพธิ์พระอานนท์)

วัดพระเชตวันเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุด นานกว่าสถานที่อื่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา ก็ได้สร้างวัดไว้ด้านทิศตะวันออกของเมือง ชื่อ “วัดบุพพาราม” ด้วยการบริจาคทรัพย์จำนวนมากเช่นกัน แต่ก็มิปรากฏว่าพระพุทธองค์ประทับที่วัดนี้นานและบ่อยเท่าพระเชตวัน

คัมภีร์พระไตรปิฎกบันทึกไว้ว่ามีพระสูตรมากมายที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาขณะประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน เพราะฉะนั้น วัดพระเชตวันจึงมิเพียงเป็นแห่งแรกที่สร้างขึ้น ณ เมืองสาวัตถี หากเป็นสาถนที่ที่พระพุทธองค์ประทับยาวนานและทรงแสดงพระธรรมเทศนามากที่สุดด้วย

จึงนับเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๓๒) วัดแห่งแรกในเมืองสาวัตถี โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๙๐๒ ประจำวันที่ ๒๗ มกราคม - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๓๓)
มหาโจรชื่อดังคนแรกที่บรรลุพระอรหัต [/center]

ถ้าบอกว่าคนที่ว่านี้คือมหาโจรองคุลิมาล หลายคนคงถามว่า ก่อนหน้านี้มีคนอื่นบ้างไหม

ขอเรียนว่าอาจจะมี แต่หลักฐานมิได้บอกชัดแจ้งเหมือนมหาโจรองคุลิมาล

เข้าใจว่ามหาโจรที่ดังมากยุคนั้นก็คือท่านผู้นี้แหละและดังมาจนถึงปัจจุบัน

องคุลิมาลเป็นบุตรของปุโรหิตนามว่าคัดดะ แห่งราชสำนักพระเจ้าปเสนทิโกศล  เมืองสาวัตถี มารดานามว่ามันตานี

ขณะเกิดนั้นอาวุธในคลังแสงลุกโชติช่วงน่าประหลาดมาก

ปุโรหิตผู้บิดาขณะนั้นอยู่พระราชสำนักกำลังเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินอยู่ กราบทูลพระราชาว่า เด็กที่เกิดในฤกษ์นี้จะเป็นโจรที่มีชื่อเสียงเป็นที่หวาดกลัวของประชาชน

พระราชาตรัสถามว่า โจรธรรมดาหรือว่าโจรแย่งราชสมบัติ เมื่อทรงทราบว่าเป็นโจรธรรมดาก็ไม่สนพระทัย

ปุโรหิตกลับมาถึงบ้านถึงได้รู้ว่าเด็กน้อยที่ว่านี้คือบุตรชายของตัวเอง กลับไปกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินขอกำจัดทิ้งเสียเพื่อมิให้เป็นเสี้ยนหนาม ถูกพระราชาทรงทัดทานไว้

จึงตั้งชื่อ “แก้เคล็ด” ว่า อหิงสกะ (แปลว่า ผู้ไม่เบียดเบียน)

อหิงสกะเป็นผู้ไม่เบียดเบียนใครจริงๆ มีนิสัยใจคอสุภาพอ่อนโยน มีเมตตา กรุณา มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เคารพนับถือผู้ใหญ่ ไม่มีทีท่าว่าจะเป็นโจรตามคำทำนายของบิดา

บิดาส่งไปเรียนศิลปวิทยาในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักสิลา ก็ขยันศึกษา เคารพนับถืออาจารย์ แม้กระทั่งภริยาของอาจารย์อย่างดี เป็นที่โปรดปรานของอาจารย์อย่างยิ่ง

แถมยังมีสมองเป็นเลิศ เรียนเก่งน้ำหน้าเพื่อนร่วมรุ่นทั้งหลาย จนเพื่อนๆ อิจฉาริษยา

อาจารย์เองเวลาที่จะดุด่าศิษย์อื่นๆ ที่ไม่ใส่ใจในการศึกษา ก็จะยกอหิงสกะเป็นตัวอย่าง และให้เอาอย่างอหิงสกะ ยิ่งทำให้พวกเขาเกลียดอหิงสกะยิ่งขึ้น จึงหาทางกำจัด โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ เข้าไปพูดจาให้ร้ายป้ายสีอหิงสกะ

แรกๆ อาจารย์ก็ไม่สนใจ แต่พอบ่อยเข้า หลายคนเข้า ก็ชักจะเชื่อว่าคงเป็นไปได้ เพราะถ้าไม่มีมูลเลยพวกศิษย์อื่นๆ คงไม่พูดเป็นเสียงเดียวกัน

ในที่สุดก็ปักใจแน่วแน่ว่า อหิงสกะเป็นศิษย์ทรยศคิดล้างครู

(ในคัมภีร์พูดเป็นนัยๆ ว่า ถูกหาว่ามีอะไรกับภริยาของอาจารย์ด้วย “ถูกกล่าวหา” ก็รู้อยู่แล้ว จริงก็ได้ ไม่จริงก็ได้)

อาจารย์เรียกลูกศิษย์รัก ผู้จะจบการศึกษามาพูดทำนองขอ “ค่าบูชาครู” (ครุปจาร หรือ ครุทักษิณา) ด้วยให้ไปเอานิ้วคนมาพันนิ้ว (ผู้แต่งประวัติพระองคุลิมาล บางท่านว่าอาจารย์จะถ่ายทอด “วิษณุมนตร์” ให้ จึงให้ไปฆ่าคนเอานิ้วมาพันนิ้ว)

ค่าที่เป็นคนเชื่อฟังอาจารย์อยู่แล้วและอยากกลับบ้านเกิดเมืองนอน อหิงสกะจึงตกลงไปฆ่าคนเอานิ้วมือ ฆ่าแล้วก็ตัดเอานิ้วมาร้อยเป็นพวงแขวนคอ กว่าจะได้เป็นร้อยๆ ก็ต้องเสียเวลานานพอสมควร และนิ้วที่ร้อยแขวนคอไว้บางนิ้วก็เน่าหลุดไปต้องหามาเพิ่มใหม่อยู่อย่างนี้ไม่ครบพันสักที

มาถึงช่วงนี้เสียงลือเสียงเล่าก็กระฉ่อนไปทั่วว่ามีมหาโจรดุร้ายไล่ฆ่าคนตัดเอานิ้วมาทำพวงมาลัย น่าสยดสยองเหลือเกิน จนผู้คนไม่กล้าเดินทางไปไหน

บิดาของอหิงสกะทราบว่ามหาโจรนี้คือบุตรชายจะมีภัยถึงชีวิต ถึงแม้ลูกจะเป็นโจรก็เป็นลูกนางนี่แหละครับความรักของแม่ที่มีต่อลูกมันยิ่งใหญ่มหาศาลเพียงใด

นางแอบหนีออกจากเมืองมุ่งหน้าไปยังทิศทางที่คิดว่าบุตรขายตนเองอยู่เพื่อบอกให้ลูกรู้ตัวแล้วจะได้หลบหนีไปเสีย

พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลกเพื่อไปโปรดในปัจจูสมัย (จวนสว่าง) องคุลิมาลปรากฏในข่ายคือพระญาณ

ทรงทราบด้วยญาณว่าองคุลิมาลมีอุปนิสัยจะได้บรรลุ เพื่อมิให้เธอถลำลึกลงไปในห้วงแห่งอกุศลกรรมมากกว่านี้ อันจะตัดทางแห่งมรรคผลนิพพานเสีย จึงเสด็จไปดักหน้า

องคุลิมาลเห็นพระพุทธเจ้า คิดว่าสมณะก็สมณะเถอะวะ ข้าจะฆ่าเอานิ้วมาให้ได้ ขาดนิ้วเดียวจะครบพันอยู่แล้ว

ว่าแล้วก็ชูดาบวิ่งเข้าใส่ ปากก็พร่ำว่า “หยุด สมณะ หยุด”

พระพุทธองค์ตรัสว่า “เราตถาคตหยุดแล้ว เธอสิยังไม่หยุด”

มหาโจรแย้งว่า ท่านยังเดินไปอยู่ ทำไมพูดว่าหยุดแล้ว สมณโกหกด้วยหรือ พระองค์ตรัสว่า “เราหยุดทำบาปแล้ว เธอยังไม่หยุด” เท่านั้นแหละ มหาโจรองคุลิมาลก็ทิ้งดาบ เข้าไปกราบพระยุคลบาท ฟังธรรม

พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง จบพระธรรมเทศนา เขาได้ทูลขอบวช พระพุทธองค์ประทานอุปสมบทให้แล้วทรงนำกลับไปยังพระเชตวัน

วันนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงนำกองทัพย่อยๆ จะไปปราบองคุลิมาล ก่อนไปได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทำนองเอาฤกษ์เอาชัย

พระพุทธองค์ตรัสถามว่าจะยกทัพไปไหน

พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่าจะไปปราบโจรองคุลิมาล

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า ถ้าอย่างนั้นก็ได้รับอภัยโทษ แทนที่จะปราบ พระองค์กลับต้องนมัสการถวายความอุปถัมภ์ด้วยปัจจัยสี่ พระพุทธองค์ทรงชี้พระดรรชนีไปยังภิกษุหนุ่มตรัสว่านั่นคืออดีตโจรองคุลิมาล

แม้ทรงรู้ว่าบัดนี้พระภิกษุหนุ่มไม่เบียดเบียนใครอีกแล้ว พระราชายังอดสะดุ้งพระทัยไม่ได้ ทรงข่มความกลัวเข้าไปนมัสการภิกษุหนุ่ม ทรงปวารณาถวายจตุปัจจัย

แรกๆ พระองคุลิมาลบิณฑบาต นอกจากไม่ได้ข้าวแล้ว ยังได้ “เลือด” กลับวัดอีกด้วย เพราะผู้คนที่จำท่านได้ ก็เอาก้อนอิฐ ก้อนดิน ขว้างปาจนศีรษะแตกได้รับทุกขเวทนา คัมภีร์พระไตรปิฎกเล่าว่า ท่านถูกทำร้ายจนบาตรแตก จีวรฉีกขาดกะรุ่งกะริ่ง พระพุทธองค์ตรัสให้ท่านอดทนเพราะนั่นคือเศษกรรมของท่าน วันหนึ่งท่านพบหญิงมีครรภ์แก่เดินเหินลำบาก จึงมากราบทูลพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสบอกให้ท่านแผ่เมตตาจิตให้นาง รุ่งขึ้นท่านไปบิณฑบาตพบสตรีคนแก่เดิม ท่านยืนสงบใกล้ๆ เธอ เปล่งวาจาตั้งสัตยาธิษฐานว่า ยะโตหัง ภะคะนิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิ ชานา มิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ

ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาโดยชาติเป็นอริยะ (ตั้งแต่บวช) เราไม่เคยคิดทำลายชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านและบุตรในครรภ์ของท่าน

สิ้นคำอธิษฐาน สตรีคนนั้นก็คลอดลูกอย่างง่ายดาย คนจึงลือกันว่าท่านองคุลิมาล มี “มนต์” ทำให้คนคลอดลูกง่าย เพราะฉะนั้น “อังคุลิมาลปริตร” (สั้นๆ ข้างต้นนั้น) อาจารย์ยุคหลังได้รวบรวมไว้ในบทสวดเจ็ดตำนานเพื่อสวดเป็นสวัสดีมงคลหรือไม่ก็แยกสวดเฉพาะบททำน้ำมนต์ให้สตรีตั้งครรภ์ดื่มให้คลอดบุตรง่าย ท่านพระองคุลิมาลเมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว ได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นสาวกประเภทต้นคดปลายตรง ทำผิดในกาลก่อน ภายหลังกลับเนื้อกลับตัวได้เลิกละโดยสิ้นเชิง ดังพุทธวจนะตรัสสรรเสริญว่า “ผู้ใดทำบาปในกาลก่อน ภายหลังละได้ด้วยการกุศล ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างดุจพระจันทร์พ้นเมฆหมอกฉะนั้น”

ท่านองคุลิมาลนับเป็นมหาโจรชื่อดังคนแรกที่ได้บรรลุพระอรหัตด้วยประการฉะนี้


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๓๓) มหาโจรชื่อดังคนแรกที่ได้บรรลุพระอรหัต โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๙๐๓ ประจำวันที่ ๓-๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

หมายเหตุ : หัวข้อ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา ที่ลงในเว็บไซต์สุขใจดอทคอมนี้
              ผู้โพสต์คัดจากหนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ซึ่งรับต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว
              ในหัวข้อนี้ ยังขาดตอนที่ ๓๑ ซึ่งไม่ทราบว่านำหนังสือฉบับดังกล่าวไปวางไว้ที่ใด
              ถ้าค้นหาพบ จะได้คัดลอกมาแทรกไว้ให้ครบถ้วนต่อไป  
2876  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / รักทรมาน เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 13:51:42



รักทรมาน
อรวี สัจจานนท์
2877  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 12:51:46


◎ เมื่อนั้น พระทรงจตุศีลยักษา
ครั้นเห็นนวลนางสีดา เสน่หาปลาบปลื้มหฤทัย
อั้นอัดกำหนัดในนาง พลางกำเริบราคร้อนพิสมัย
พิศเพ่งเล็งแลทรามวัย มิได้ที่จะขาดวางตา
ชะชะว่าโอ้ว่าสีดาเอ๋ย มางามกระไรเลยเลิศเลขา
ถึงนางสิบหกห้องฟ้า จะเปรียบสีดาได้ก็ไม่มี
แต่กูผู้รู้ยศธรรม ยังหมายมั่นมุ่งมารศรี
สาอะไรกับอ้ายอสุรี จะมิพาโคติกาตายฯ

คนจะเป็นเช่นใด ย่อมฉายให้เห็นเป็นกระจกเงาอันแจ่มใสอยู่ในลักษณะนิสัย
การแสดงออก และอารมณ์ของบุคคลนั้นๆ ฉันใดก็ดี บทประพันธ์ของกวีใดก็ย่อมฉายให้เห็นอัธยาศัยและอารมณ์
ของกวีนั้น ฉันนั้น. รวมความว่าถ้อยคำสำนวนกลอนและโวหารการประพันธ์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแสดงถึง
พระราชอัธยาศัยและพระอารมณ์ขององค์ผู้ประพันธ์ว่า น่าจะทรงมีพระนิสัยเปิดเผย ตรงไปตรงมา เด็ดเดี่ยว ห้าวหาญ
เอาจริงเอาจัง เป็นอย่างที่ว่า "ทรงเป็นนักรบ" เท็จจริงอย่างไรก็ขอฝากไว้ในดุลยพินิจของท่านทั้งหลาย



เวรใดแกล้งซัดให้พลัดพรากแสนระกำลำบากหนักหนา
ชลเนตรนองเนตรโสภา ปิ้มว่าจะสิ้นสุดปราณ
แต่นี้สืบไปภายหน้า ตัวข้าขอตั้งอธิษฐาน
จะไม่นิราสวงศ์วาร ตลอดกาลจวบสิ้นชีวี
เนตรเอ๋ยเจ้าเคยหลั่งชล ยามดลวิโยคโศกศรี
ครั้้นประสบเกษมเปรมปรีดิ์ ไฉนยังมีแต่น้ำตา

จากเรื่อง : อาหรับราตรี
ของ
เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป




ยลโฉมวิมลพักตร์วรลักษณ์สง่าครัน
แฝงพักตร์ซ่อนกัน ดุจเดือนละหลบเงา
อกเรียมระทมทุก ขทเวทมิสร่างเซา
เหมือนมัจจุคร่าเอา ชิวเรียมพินาศลง
อ้าแม่ผะเชิญช่วย อนุกูลเถอะโฉม
ชีพเรียมจะคืนคง ก็เพราะนุชเยี่ยมกราย
กรคอยตระกองโอบ อรองคะโฉมฉาย
เผยหน้าเถอะอย่าอาย จะประคับประคองชม

เมื่อข้าพเจ้ากล่าวจบลง นางกล่าวตอบว่า:-

ยินถ้อยตระหนักโสต ดุจโลดละเหลิงลม
จิตน้องนิเตรียมตรม อุระรักสลักทรวง
พี่รักก็รักตอบ บ่มิมีอุบายลวง
ชายชาติทั้งปวง ฤดีเด็ดบ่ไยดี
จากเรื่อง : อาหรับราตรี
ตอนที่ ๓๐ เรื่องของคนต้นเครื่องของสุลต่าน
ของ เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป


http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30451295649011__3629_3623_3618_3614_3619_1.gif

ภาพวาดลายเส้นจากปากกาลูกลื่นสีดำ+ดินสอ 6B

ความหวังสวาทนุชปะทะแนบมิคลอนแคลน
จนดิ่งชะเลแดน ปฏิพัทเหลือหลาย
เหลือเรียมจะรักษา ทุมนาฤเคลื่อนคลาย
ชีพเรียมจะวอดวาย มละด้วยสิเน่ห์นาง
อ้าแม้ผิเรียมหาญ จะแขวะคว้านอุราพลาง
หยิบดวงหทัยวาง นยะเนตระน้องเห็น
จนจิตตะเรียมแล้ว วรนุชะจงเอ็น
ดูเถิดนะเนื้อเย็น ดุจชุบชีวาเรียม


2878  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / ชายเดียวในดวงใจ เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2560 16:39:52

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=2JjKSpOOR-w" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=2JjKSpOOR-w</a>


ชายเดียวในดวงใจ
2879  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / คุณอาจจะต้องจากพรากกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในวันใดวันหนึ่ง เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2560 07:17:26

คุณอาจจะต้องจากพรากกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในวันใดวันหนึ่ง

ข้อความทั้งหมดมีแค่นี้ พร้อมภาพถ่ายชะตากรรมของนกน้อยคู่นี้ ๖ ภาพเล่าเรื่องนกกระจอกคู่ผัวเมียต้องดูแลกันยามอีกตัวบาดเจ็บใกล้ตาย
เริ่มจากประโยคที่ว่า...

นี่คือเจ้านกกระจอกสาวที่ถูกรถชนบาดเจ็บสาหัสระหว่างเธอกำลังข้ามถนน...คู่ของเธอเอาใจใส่ดูแลทุกอย่างด้วยความรักและสงสาร




เขาออกไปหาอาหารมาป้อน ครั้งแล้วครั้งเล่าเฝ้าแต่หาอาหารมาป้อนอยู่นั่นเพื่อจะพบว่า  ในที่สุดเธอต้องจากไปตลอดกาล...



เขาพยายามที่จะปลุกเธอให้ตื่น ใช้จงอยปากพลิกร่างนั้นไปมาแต่เธอไม่ขยับไหว



ภาพนั้นคงแทบไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน เจ้านกกระจอกหนุ่ม พอรู้ว่าคนรักของเขานอนนิ่งไว้ไหวติงอยู่เช่นนั้น



ก็ส่งเสียงร้องคร่ำครวญ อาลัยรักเธอผู้จากไป



จากนั้นก็ยืนนิ่งอยู่ข้างๆเธอด้วยความโศกเศร้า จนในที่สุดก็ตระหนักชัดว่า...เธอจะไม่มีวันฟื้นตื่นคืนมาหาเขาอีก



ผู้คนเป็นล้านๆคนหลั่งน้ำตาเมื่อได้เห็นภาพนี้ที่เผยแพร่ไปทั่วอเมริกา ยุโรปและอินเดียช่างภาพผู้ถ่ายภาพชุดนี้ขายภาพของเขาให้กับหนังสือพิมพ์ชื่อดังเล่มหนึ่งในฝรั่งเศสเมื่อภาพนกกระจอกผัวเมียคู่นี้ตีพิมพ์ หนังสือพิมพ์เล่มนั้นขายเกลี้ยงแผงทุกเล่ม

คุณจะยังคิดเหมือนเดิมอยู่ไหมว่าสัตว์โลกชั้นต่ำนั้นไม่มีสมองปราศจากความรู้สึก?เพราะคุณคือหนึ่งในประจักษ์พยานแห่งความโศกเศร้าของสัตว์โลกคู่นี้

นี่เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ไร้สาระอีกเรื่องหนึ่งที่ฉันแค่อยากนำมาเล่าต่อ
เพื่อจุดประกายความคิดให้วาบขึ้น
ในวาระที่คุณอาจจะต้องจากพรากกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ในวันใดวันหนึ่ง
และต้องหลั่งน้ำตา
…..


ที่มา  http://www.matichon.co.th
ขอขอบคุณภาพและข้อมูล : www.thaichristians.net
2880  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: รวมภาพเก่าหาดูยาก : ภาพเก่าเล่าเรื่อง เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2560 07:03:15


เมืองสยาม…เมื่อแม่น้ำสกปรก
โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน รายวัน

คนไทยในอดีตมักจะเล่าความหลังเรื่อง การอาบน้ำในคลอง การใช้น้ำในแม่น้ำล้างหน้า ล้างตา ใช้หุงต้มทำอาหาร แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ใสสะอาดบางแห่ง ชาวสยามไม่ลังเลใจที่จะใช้ดื่มกินแบบมีความสุข ไม่ต้องหวาดระแวงต่อสิ่งเจือปนทั้งหลาย

ฟังแล้วอยากจะเชื่อ แต่นึกภาพไม่ออก

วันเพ็ญเดือน ๑๒ น้ำนองเต็มตลิ่ง ชาวสยามออกมาลอยกระทงเพื่อระลึกถึงพระคุณ ขออภัยต่อพระแม่คงคา กระทงพร้อมดอกไม้ธูปเทียนลอยกันเต็มท้องน้ำ วัตถุลอยน้ำสารพัดชนิดน้อยใหญ่บรรจุเอาคำอธิษฐานร้องขอสารพัดนึก พอหลุดมือไปแล้วจะลอยไปกระจุกตัวเป็นของเสียขนาดมหึมาเต็มแม่น้ำ มันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นขยะลอยน้ำได้ เป็นภาระที่แสนขมขื่น จะต้องมีคนล่องเรือเก็บกวาด นำไปทำลายทิ้งในวันรุ่งขึ้น แต่บอกกับตัวเองว่า “ได้บุญ”

มีการอวดอ้างสารพัดวัสดุที่เอามาทำกระทง ระบุว่าจะย่อยสลายได้ แต่ในความเป็นจริงเราก็ไม่ควรจะนำวัสดุทั้งปวงไปเจือปนในแม่น้ำลำคลอง เพราะมาถึงปัจจุบัน แหล่งน้ำ แม่น้ำลำคลองทั้งหลายในชุมชนเมืองของแผ่นดินนี้ ปู ปลา กุ้ง หอย ทั้งหลายก็แทบจะอาศัยอยู่ไม่ได้แล้ว




ชาวต่างชาติที่เคยได้อ่านหนังสือท่องเที่ยวว่า กรุงเทพฯคือ นครเวนิสแห่งตะวันออก ชอบหยุดถ่ายภาพบนสะพานข้ามคลองโดยเฉพาะย่านเกาะรัตนโกสินทร์ บางลำพู คลองมหานาค เพื่อจะนำภาพไปอวดเพื่อนๆ ว่า กรุงเทพฯมีแต่ “น้ำมันดิบ” ไหลไปมาทั้งเมือง

รูปแบบของมหานครที่น่าจะมีประชากรมากกว่า ๑๐ ล้านคนแห่งนี้อำนวยให้อาคาร ที่ทำงาน ตลาดสด ชุมชน หมู่บ้านจัดสรร ศูนย์การค้า และโรงงานสารพัด กระหน่ำระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลองได้ ซึ่งบางแห่งก็มีการบำบัดก่อนปล่อยทิ้ง ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือ คลองแสนแสบ ที่เคยมี “ขวัญกับเรียม” ที่ปัจจุบันสัญญากันว่าไม่ขอลงไปพลอดรักกันในคลองแสนแสบแถวบางกะปิอีกต่อไป

เมื่อเทียบกับในอดีต แม่น้ำลำคลองในปัจจุบันไม่สามารถรองรับสิ่งปฏิกูล ขยะ น้ำเสีย วัตถุมีพิษ ได้อีกต่อไปแล้วครับ นิสัยคนไทยที่ชอบจะนำสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ไปโยนทิ้งน้ำ คำกล่าวติดปากว่า “เอาไปโยนทิ้งน้ำ” หรือแช่งให้ใครให้ “ไปโดดน้ำตาย” เหมือนในอดีตต้องได้รับการแก้ไข โดยเริ่มจากตัวบุคคล

ภาพเก่า..เล่าตำนาน ตอนนี้ขอนำเสนอสุขนิสัยที่ไม่ค่อยดีของชาวสยามในอดีตเพื่อเป็นการปรับแก้พฤติกรรมด้านลบของคนไทยครับ




นายแพทย์มัลคอม สมิธ (Dr.Malcolm Smith) ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แพทย์ในราชสำนักในสมัยในหลวง ร.๔ พรรณนาภาพพจน์ของกรุงเทพฯในราว พ.ศ.๒๓๙๔ ไว้ในหนังสือ A Physician at the Court of Siam (แปลโดย พิมาน แจ่มจรัส) อย่างตรงไปตรงมาว่า

เมืองใหม่ (กรุงเทพฯ : ผู้เขียน) เจริญอย่างรวดเร็ว พลเมืองที่ปะปนกันหลายเชื้อชาติ มีจำนวนถึงหนึ่งในสี่ล้าน มีชาวจีนมากกว่าชาวสยาม เป็นปรากฏการณ์ประหลาด ชาวจีนเป็นเจ้าของร้านและนายวาณิช การค้าทั้งหมดของเมืองอยู่ในกำมือของคนเหล่านี้ ส่วนชาวสยามเป็นฝ่ายปกครอง มียศถาบรรดาศักดิ์ และตั้งบ้านเรือนอยู่รายล้อมราชสำนัก

ขอให้ท่านผู้อ่านจินตนาการนะครับ พระมหากษัตริย์ในเวลานั้นประทับในพระบรมมหาราชวัง (ในบริเวณวัดพระแก้ว) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เพิ่งก่อสร้างหลังจากย้ายเมืองหลวงมาจากกรุงธนบุรี ดังนั้นพระบรมมหาราชวัง พื้นที่สนามหลวง วัดมหาธาตุฯ จึงเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดิน ชาวจีนเกาะกลุ่มตั้งร้านทำมาค้าขายอยู่เยาวราช สำเพ็ง มีการขุดคลองในกรุงเทพฯ หลายสาย

แม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯทุกสาย เป็นเส้นทางการเจริญเติบโตของชุมชนที่เกาะแนวขยายตัวออกไปทุกทิศทาง

หมอสมิธพรรณนาต่อไปว่า ในกรุงเทพฯมีคนต่างด้าวจากประเทศใกล้เคียง มีญวน เขมร มอญ มาเลย์ พม่า ใช้ภาษาผสมผสานกันหลายภาษา แต่ละชุมชนแต่งกายตามวัฒนธรรมของตัวเอง ชุมชนยุโรปเกือบทั้งหมดประกอบด้วยมิชชันนารีจำนวนไม่ถึง ๒๐ คน

หมอสมิธ (อังกฤษ) เซอร์จอห์น เบาริ่ง (อังกฤษ) บาทหลวงปาเลอกัวซ์ (ฝรั่งเศส) บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ตรงกันว่าว่าประชากรของกรุงเทพฯเกินกว่าครึ่งใช้ชีวิตอยู่บนเรือแพ การสัญจรของคนกรุงเทพฯทั้งในและนอกเมืองใช้ทางน้ำ ใช้เรือเป็นหลัก

มีถนนก็เฉพาะในตัวเมืองแถวใกล้ๆ ตลาดเท่านั้น ถนนดังกล่าวปูด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ในเมืองหลวงไม่มีรถม้าแม้แต่คันเดียว ตอนปลายฤดูฝน เมื่อชนบทที่อยู่โดยรอบเกิดน้ำท่วม พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองหลวงก็จะจมอยู่ใต้น้ำเช่นเดียวกัน

นี่เป็นข้อมูลที่ชาวต่างชาติบันทึกไว้เมื่อราว ๑๗๐ ปีที่แล้วครับ ชาวสยาม โดยเฉพาะชาวบางกอก อาศัยริมน้ำและบนเรือแพเป็นส่วนใหญ่ น้ำท่วมน้ำน้อยก็อยู่ได้ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวที่สุดคือ แม่น้ำ

เราลองมาดูข้อมูลในด้านลบของหมอสมิธ ที่อ่านแล้วอึดอัดไม่อยากอ่านต่อ

“ไม่มีสุขาภิบาลและการจัดหาน้ำดื่มที่ถูกต้อง ไม่มีรูปแบบของการควบคุมทางการแพทย์สมัยใหม่ เชื้อโรคแพร่ระบาด แมลงวันชุกชุม โรคบิดและท้องร่วงทำให้เด็กๆ เสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตวัย ๓-๔ ขวบอยู่ระหว่าง ๗๐-๗๕% ไข้ทรพิษคือภัยพิบัติประจำ”

มิชชันนารีอเมริกันเป็นผู้นำการปลูกฝีมาใช้ครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.๒๓๘๖ ด้วยวัคซีนสะเก็ดส่งมาจากบอสตัน ใช้เวลาเดินทางราว ๕-๖ เดือน พระเจ้าแผ่นดินทรง (ในหลวง ร.๓ : ผู้เขียน) ไว้วางพระราชหฤทัย ส่งบรรดาหมอหลวงไปศึกษาวิธีการปลูกฝี

ผู้เขียนดีใจมากที่หมอสมิธบรรยายกายภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาไว้อย่างละเอียดครับ

แหล่งน้ำใช้ คือแม่น้ำ ในบางกอกมีน้ำขึ้น-ลงตลอดฤดูฝน จากเดือนตุลาคมถึงเมษายนจะไม่มีฝนตก น้ำในแม่น้ำจะค่อยๆ แห้ง น้ำจะขุ่นมากขึ้น พอถึงเดือนเมษายนน้ำจะกร่อย อหิวาตกโรคเป็นอาคันตุกะประจำปี และในปีที่โชคร้ายจะมีคนตายนับพัน ขบวนแห่ศพจากทุกหมู่บ้านไม่ขาดระยะ

บันทึกทางการแพทย์ของสยามระบุว่า อหิวาตกโรคพบครั้งแรกในสยามเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๒ โดยแพร่ระบาดมาจากอินเดีย

ในปี พ.ศ.๒๓๖๓ เป็นหายนะของชาวสยาม ผู้คนในเมืองล้มตายกันจนเผาไม่ทันเพราะฟืนไม่พอ วัดสระเกศ คือตำบลรวบรวมศพขนาดมหึมา ในที่สุดก็ต้องใช้การโยนศพลงในแม่น้ำให้น้ำพัดพาลับหูลับตาออกไป ศพลอยแพร่กระจายออกไปทุกที่ที่มีลำน้ำ

การระบาดของโรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำในยุคสมัยนั้น ประชาชนไม่สามารถทำอะไรได้ แม้แต่ในยุโรปโดยใช้ยาฝาดสมาน ฝิ่น และแอลกอฮอล์ ก็รักษาไม่ได้

ผู้เขียนพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดอันเกิดมาจากการบริโภคน้ำ มีคนตายนับหมื่นในห้วงเวลานั้น ทางราชการมีคำสั่ง มีการแก้ปัญหาอย่างไร

หนังสือ “แนวพระราชดำริเก้ารัชกาล” ซึ่งกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ ซึ่งพอจะตอบโจทย์ของปัญหาโรคระบาด และยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต สุขนิสัยด้านลบของชาวสยามในเรื่องความไม่สะอาดของส่วนรวม ชุ่ย เห็นแก่ตัว จึงต้องมีประกาศทางราชการดังนี้ :

ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ เล่ม ๑ ประกาศทรงเตือนไม่ให้ทิ้งศพสัตว์ลงน้ำ และให้ทอดเตาไฟอย่าให้เป็นเชื้อเพลิง พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๐๐, หน้า ๒๕๖-๒๕๘

เรื่องห้ามทิ้งซากสัตว์ลงน้ำ

…ทรงพระกรุณาโปรดฯ สั่งสอนเตือนสติมาว่า แต่นี้ไป ห้ามมิให้ใครผู้ใดผู้หนึ่งทิ้งสุนัขตาย แมวตาย และซากศพสัตว์ต่างๆ ลงในแม่น้ำและคลองใหญ่น้อยทั้งปวงเป็นอันขาด ขอให้คิดอ่านใช้สอยจ้างวานใครๆ เอาไปทิ้งเสียที่ป่าช้าดังซากศพคนนั้นเถิด ถ้าบ้านเรือนอยู่ที่ริมแม่น้ำจะเอาไปป่าช้ายาก ก็ให้ฝังเสียในดินในโคลนให้ลับลี้อย่าให้ลอยไปลอยมาในน้ำได้ และการทิ้งซากศพสัตว์ต่างๆ ลงในน้ำให้ลอยขึ้นลอยลงอยู่ดังนี้ คิดดูโดยละเอียดก็เห็นเป็นที่รังเกียจแก่คนที่ได้ใช้น้ำอยู่ทั้งสิ้นด้วยกัน

พระสงฆ์สามเณรเป็นพระสมณะชาวนอกกรุงเทพฯ คือเมืองลาวและหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง และชาวราษฎรชาวนอกกรุงเทพฯ เมืองมีเหตุติดลงมายังกรุงเทพฯนี้แล้ว ก็รังเกียจติเตียนว่า เพราะวัดใช้น้ำไม่สะอาดจึงเป็นโรคต่างๆ ไม่เป็นสุขเหมือนอยู่นอกกรุงฯ ถึงคนนอกประเทศ คือ ฝรั่ง อังกฤษ จีน แขก ทั้งปวงซึ่งเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯก็ติเตียนดังนั้นอยู่โดยมาก…

ข้อความข้างต้นคัดลอกมาจากประกาศในสมัยในหลวง ร.๔ ซึ่งเป็นการใช้สำนวนภาษาไทยที่ตรงไปตรงมา บ่งบอกสถานการณ์ในยุคนั้นชัดเจนว่า ประชากรมีนิสัยมักง่าย ชอบทิ้งซากสัตว์ทั้งหลายลงในแม่น้ำลำคลอง

แม้ในปัจจุบันผ่านมานานนับร้อยปี คนไทยจำนวนไม่น้อยยังมีนิสัยการทิ้งขยะ ทิ้งของเสียสิ่งปฏิกูลให้ลอยไปตามน้ำจนกระทั่งลอยออกไปในทะเล ความตั้งใจลักลอบปล่อยน้ำเสีย ปล่อยสารพิษจากโรงงานลงแม่น้ำ คู คลอง เป็นสิ่งที่เลวร้ายกว่าการทิ้งศพสัตว์ลงน้ำเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว





พระเอก-นางเอกยอดฮิต มิตร-เพชรา
โดย พลเอกนิพัทธ์  ทองเล็ก
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

ผู้เขียนต้องขออภัยท่านผู้อ่านในบางช่วงอายุ ที่จะเข้าใจบทความตอนนี้ได้ยากสักนิด เพราะเรื่องของ มิตร-เพชรา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ความปลื้ม ความปีติเฉพาะกลุ่มอายุคนไทย ที่มีความหมายลึกซึ้ง งดงาม มีคุณค่าเกินกว่าหน้ากระดาษนี้จะบรรยายได้หมด

มิตร-เพชรา เป็นดาราชาย-หญิง แสดงภาพยนตร์ร่วมกันแบบพระเอกนางเอกให้คนไทยได้ดูรวมแล้วเกือบ ๓๐๐ เรื่องครับ คนไทยในช่วงอายุหนึ่ง จดจำผลงานการแสดงของ ๒ ดาราคู่ขวัญไม่มีวันลืม มีปฏิทินของดาราคู่นี้แทบทุกบ้าน ทุกร้านค้า ร้านตัดผม ตลาดสด

การโฆษณาภาพยนตร์ วิทยุ และรถติดเครื่องขยายเสียงที่วิ่งไปรอบเมืองจะประกาศชื่อภาพยนตร์ และบอกสั้นๆ ว่า นำแสดงโดย มิตร-เพชรา จนกระทั่งคนรุ่นหลังที่มีชีวิตต่างห้วงเวลาจะเข้าใจว่า มิตร นามสกุล เพชรา

มิตร ชัยบัญชา เป็นพระเอกหนังชายรูปหล่อ สูงใหญ่เพชรา เชาวราษฎร์ เป็นนางเอกหนังแสนสวย ได้รับฉายาว่า “นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง”

มิตร ชัยบัญชา เป็นใคร มาจากไหน?

พลตำรวจ ชม ระวีแสง และ นางสงวน ระวีแสง คือบิดามารดาผู้ให้กำเนิดเด็กชายคนหนึ่งที่ตลาดท่ายาง จ.เพชรบุรี เกิดมาไม่นานพ่อ-แม่แยกทางกัน ชื่อที่เหมาะที่สุดในยุคสมัยนั้น คือ เด็กชายบุญทิ้ง แม่ต้องเอาไปฝากปู่ย่าให้เลี้ยงดู และต่อมาปู่ย่าก็เอาไปฝากอาที่บวชเป็นสามเณรเลี้ยงดูกันต่อไปอีก ชีวิตของ ด.ช.บุญทิ้งซึมซาบความเป็นเด็กวัดที่ต้องรับใช้พระ-เณร ที่วัดสนามพราหมณ์ เพชรบุรี เมื่อแม่ตั้งหลักได้จึงนำบุตรชายเข้ามากรุงเทพฯ อาศัยอยู่แถววัดแคนางเลิ้ง

ด.ช.บุญทิ้งคนนี้สู้ชีวิตทุกรูปแบบ รับจ้างทำงานสารพัด เรียนหนังสือดี เก่งงานศิลปะ เป็นนักกีฬา ชกมวยได้เหรียญทองในรุ่นไลต์เวตและเฟเธอร์เวต ชีวิตของเด็กหนุ่มต้องถูกโอนไปเป็นบุตรบุญธรรม ใช้นามสกุลญาติคนนั้นคนนี้แบบชุลมุนแสนจะวกวน

บุญทิ้งจบมัธยมจาก ร.ร.พระนครวิทยาลัย แล้วไปสอบเข้า ร.ร.จ่าอากาศรุ่น ๑๑ จบแล้วรับราชการในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ในกรมอากาศโยธิน กองทัพอากาศ ดอนเมือง จ่าบุญทิ้งเปลี่ยนชื่อเป็น จ่าโท พิเชษฐ์ พุ่มเหม

ในยุคสมัยนั้นมีโฆษณารับสมัครพระเอกหนังกันแบบเปิดเผย ใครอยากเป็นพระเอก ใครคิดว่าหล่อพอ ก็ให้ส่งภาพถ่ายทางไปรษณีย์มาดูกัน จ่าโทสมจ้อยมองเห็นจ่าเชษฐ์เพื่อนร่วมอาชีพมีรูปร่างสูงสง่า หน้าตาดี สุภาพเรียบร้อย หน่วยก้านดี ๑ ประเภท ๑ เลยส่งภาพเพื่อนรักไปเข้าประกวดกะเค้าด้วย

ประทีป โกมลภิส คือผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ ที่ต้องชะตาเข้าอย่างจังกับจ่าหนุ่มสูงใหญ่คนนี้ โดยเมื่อประทีปตั้งคำถามให้ตอบ ข้อ ๑ “ในชีวิตสิ่งใดสำคัญที่สุด” จ่าพิเชษฐ์ตอบว่า “เพื่อนครับ” ผู้กำกับประทีปชอบใจบอกว่า “เพื่อน คือ มิตร รักเพื่อนก็ดี ให้ใช้ชื่อใหม่ว่า มิตร ก็แล้วกัน”

ยุคสมัยนั้น ชื่อพระเอก-นางเอก เป็นเรื่องคอขาดบาดตายครับ ชื่อพระเอกต้องสั้น พยางค์เดียว หรือ ๒ พยางค์ ถึงจะเท่ ชื่อ-นามสกุลต้องหล่อล้อตามชื่อ และต้องจดจำได้ง่าย ชื่อเดิมไม่สำคัญ ตัดทิ้งไป ให้ใช้ได้เฉพาะในสำมะโนครัว ชื่อ-นามสกุลแบบฝรั่งหรือลูกครึ่งฝรั่งในยุคนั้นยังไม่กล้าเปิดหน้า เปิดตัว เพราะเขินอายที่แม่ไปได้ผัวฝรั่ง

พระเอก-นางเอกต้องหน้าตาคมเข้มและมีอวัยวะเป็นของจริงทั้งเรือนร่าง ไม่มีของปลอมเจือปน ศัลยกรรมตกแต่งทำหน้า ทำนม ทำผม ยังมาไม่ถึงโลกใบนี้

ผู้กำกับประทีปทดสอบทัศนคติของจ่าเชษฐ์ต่อไปอีก โดยตั้งคำถามข้อ ๒ ว่า “ในชีวิตเกิดมาภูมิใจสิ่งใดมากที่สุด” จ่าเชษฐ์อมยิ้มเท่แบบพระเอก แล้วตอบอย่างไม่ลังเลว่า “ผมเคยได้รับหน้าที่อัญเชิญธงชัยเฉลิมพลของหน่วยในพิธีสวนสนามวันปิยมหาราชครับ”

แน่นอนที่สุดครับ ทหารคนที่ได้ทำหน้าที่อัญเชิญธงชัยเฉลิมพลของหน่วยจะต้องผ่านการคัดเลือกในเรื่องรูปร่าง ลักษณะที่สง่างาม ธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารเปรียบเสมือนหลักชัยของหน่วย ที่จะต้องเทิดทูนปกปักรักษาไว้ด้วยชีวิต ในหน่วยทหารจะต้องมีห้องเก็บรักษาธงอย่างดี จะอัญเชิญธงนี้ไปในเฉพาะพิธีการสำคัญ ทหารทุกนายจะได้รับการสั่งสอนอบรมเรื่องของธงชัยเฉลิมพล ในเรื่องแบบแผนและการปฏิบัติต่อธงอย่างเข้มงวด

พิธีการที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “สวนสนามสาบานธง” นั่นแหละคือพิธีการทางทหารที่จ่าเชษฐ์ได้รับมอบให้เป็น “ผู้เชิญธง” ซึ่งตัวธงมีน้ำหนักพอสมควร คนถือจะเป็นลมล้มคว่ำกลางแดดไม่ได้เป็นอันขาด ไอ้พวกตัวเตี้ยผอมแห้งแรงน้อยที่เรียกว่า “อวบ อกโรย” จะไม่มีวันได้เป็นคนเชิญธงอันทรงเกียรตินี้

สมัยก่อนจัดพิธีสาบานธงใน ๒๕ มกราคม ของทุกปี ต่อมาเปลี่ยนเป็นวันที่ ๑๘ มกราคม ซึ่งตรงกับวันที่พระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพม่าในปี พ.ศ.๒๑๓๕

เรื่องการอัญเชิญธงชัยเฉลิมพล จ่าเชษฐ์กินขาดทุกเรื่อง ถือเป็นเกียรติยศสูงสุด และเขาได้ทำหน้าที่นี้ทุกปีตลอดการเป็นทหาร และคำตอบดังกล่าวทำให้ผู้กำกับประทีปตั้งนามสกุลให้พระเอกอย่างเป็นสิริมงคลว่า
“ชัยบัญชา”

มิตร ชัยบัญชา ก้าวสู่วงการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือเรื่อง ชาติเสือ บทประพันธ์ของเศก ดุสิต กำกับโดยประทีป โกมลภิส เป็นเรื่องแรกที่มิตรได้ประกบกับนางเอกที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นถึง ๖ คน เช่น เรวดี ศิริวิไล นัยนา ถนอมทรัพย์ ประภาศรี สาธรกิจ และน้ำเงิน บุญหนัก เป็นภาพยนตร์ที่เริ่มถ่ายทำในปลาย พ.ศ.๒๕๐๐ และเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๑ ภาพยนตร์ทำรายได้กว่าแปดแสนบาท ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต้อง “ตกใจตาย” ของคนสมัยนั้น เรื่องชาตินักเลง หรืออินทรีแดง เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สอง หนังเรื่องนี้ทำรายได้เกิน ๑ ล้านบาท เป็นเรื่องใหญ่สำหรับการสร้างภาพยนตร์ในเมืองไทย

มิตร ชัยบัญชา แจ้งเกิดในสังคมไทยสนั่นเมือง ลั่นทุ่ง เจ็ดคุ้งแม่น้ำ แผ่นโปสเตอร์โฆษณาหนังที่ไปแปะทุกที่ทั่วประเทศ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์มีรูปของมิตร ชัยบัญชา และนางเอกสาวสุดสวย และตัวประกอบ คิวแสดงของมิตรทะลักเข้ามาแน่นเอี้ยด อินทรีแดง จ้าวนักเลง ทับสมิงคลา แสงสูรย์ นวนิยายในอดีตที่เป็นเพียงแค่หนังสือเก่าเก็บบนหิ้ง ถูกขุดมาสร้างเป็นภาพยนตร์เพราะหนุ่มหล่อที่ชื่อ มิตร ชัยบัญชา

เมื่อพระเอกหนังกลับเข้าหน่วยทหาร เขาจะเป็นจ่าโท พิเชษฐ์ พุ่มเหม อันเป็นที่รักของเพื่อนๆ และผู้บังคับบัญชา

นาทีทองของวงการภาพยนตร์ไทยได้มาถึงแล้ว โดยมีมิตร ชัยบัญชา เป็นพระเอกหมายเลข ๑

มิตรดังไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ มิตร ชัยบัญชา จ่าโททหารอากาศ แสดงได้ทั้งบทบู๊ บทรัก รันทด ตลก เชย เฟอะฟะ เด๋อด๋า ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา คนไทยให้การยอมรับในตัวพระเอกหนุ่มคนนี้

การถ่ายทำภาพยนตร์มีปัจจัยสำคัญประการ ๑ คือ การตรงต่อเวลา ผู้แสดงจะต้องให้เวลากับงานถ่ายทำ จนกว่าผู้กำกับจะพอใจ อาจจะถ่ายซ้ำแล้วซ้ำอีก พระเอกหนุ่มชื่อมิตรเป็นดาราที่ตรงต่อเวลา ทุ่มเท ให้เกียรติกับทีมงานตลอดชีวิตการแสดง ซึ่งดาราอื่นๆ หลายคนลืมตัวลืมตน เป็นที่น่ารังเกียจของเพื่อนร่วมงานยิ่งนัก

พ.ศ.๒๕๐๖ ภาพยนตร์เรื่อง ใจเพชร ทำรายได้สูงสุด ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่มีมิตรแสดงทำรายได้เกินล้านบาท

พ.ศ.๒๕๐๘ ภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน ทำเงินได้ ๓ ล้านบาทในเวลา ๑ เดือน และมิตรเข้ารับพระราชทานรางวัลดาราทอง ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๙ ภาพยนตร์เรื่อง เพชรตัดเพชร ก็โกยเงินไปอีกมหาศาล

พ.ศ.๒๕๑๓ ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง ของรังสี ทัศนพยัคฆ์ เป็นภาพยนตร์เพลงลูกทุ่งที่สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่วงการภาพยนตร์ไทย ทำรายได้มากกว่า ๖ ล้านบาทและยืนโรงได้นานกว่า ๖ เดือนในกรุงเทพฯ ทำรายได้ทั่วประเทศกว่า ๑๓ ล้านบาท

มิตร ชัยบัญชา เป็นพระเอกที่ทำรายได้เป็นอันดับ ๑ ของประเทศแบบไม่มีใครมาเบียดแทรก มิตรใช้ชีวิตเรียบง่าย ประหยัดมัธยัสถ์ ชอบช่วยเหลือผู้คนทั่วไป แสดงหนังแล้วบางทีก็ได้เงินไม่ครบ ให้เพื่อนยืมเงินแล้วเพื่อนหายตัวได้ ชอบทำบุญโดยเฉพาะวัดแคนางเลิ้ง ที่กินข้าววัดมาแต่เด็ก มิตรดูแลวัดนี้เป็นพิเศษ

ชีวิตของมิตร ชัยบัญชา มีแต่คนรัก ชื่นชม นับถือโดยไม่ต้องปรุงแต่ง มีนางเอกผ่านเข้ามาในชีวิตการแสดงถึง ๒๙ คน







โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

คุณเพชรา เชาวราษฎร์ เธอสวยมาตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ เกิดปี พ.ศ.๒๔๘๖ ที่จังหวัดระยอง ชื่อเล่นว่าอี๊ด พ่อแม่ตั้งชื่อจริงว่า เอก ชาวราษฎร์ คุณพ่อมีเชื้อสายจีน คุณแม่เป็นคนไทย ครอบครัวของเธอทำไร่ ทำสวน ค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เด็กหญิงอี๊ดเรียนระดับประถมที่บ้านเกิด ยิ่งโตขึ้นยิ่งเปล่งประกายความสวย โตขึ้นมาหน่อยไปเรียนระดับมัธยมที่กรุงเทพฯ

เรียนจบมัธยม คุณอี๊ดไปทำงานที่ร้านเสริมสวยของญาติในกรุงเทพฯ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ความงามที่ปกปิดไม่อยู่ ทำให้แมวมองมาทาบทาม ชวนเธอไปประกวดเทพธิดาเมษาฮาวาย ที่มีสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นผู้จัด เธอใช้ชื่อในการประกวดว่า ปัทมา ชาวราษฎร์ ผลปรากฏว่าสาวงามจากระยองคนนี้ชนะใจกรรมการแบบเอกฉันท์ เธอแจ้งเกิดกลายเป็นนางงามในกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร

มิตร ชัยบัญชา เป็นพระเอกดาวรุ่งเกิดใหม่ที่คนไทยปลื้มมาก ผู้สร้างภาพยนตร์มองเห็นเงินลอยอยู่ตรงหน้ากองมหึมา ถ้าจับมิตรประกบเพชราในภาพยนตร์ไทย

“บันทึกรักของพิมพ์ฉวี” เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มิตร-เพชราโคจรมาพบกันในปี พ.ศ.๒๕๐๕ โดย ดอกดิน กัญญามาลย์ และศิริ ศิริจินดา คุณเพชราตอนนั้น เธออายุ ๑๙ ปี ดอกดินเป็นผู้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “เพชรา เชาวราษฎร์” โดยให้เหตุผลว่าชื่อ “ปัทมา” ไม่โดนใจ ส่วนเจน จำรัสศิลป์ ได้ตั้งฉายาให้ว่า “นางเอกสาวนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง”

เพชรามาแจ้งเกิดตูมตามจากภาพยนตร์เรื่องที่สอง คือเรื่องดอกแก้ว แล้วตามด้วย หนึ่งในทรวง อ้อมอกสวรรค์ และได้แสดงคู่กับมิตร ชัยบัญชา รับบทคู่รักในภาพยนตร์อีกหลายเรื่องจนเป็นที่ชื่นชอบของแฟนภาพยนตร์ คนไทยเรียกกันติดปากทั้งเมืองว่า มิตร-เพชรา

ยุคที่เธอโด่งดังมากๆ แต่ละเดือนมีคิวถ่ายหนังประมาณ ๑๒-๑๘ เรื่อง แต่ละวันต้องถ่ายทำภาพยนตร์วันละ ๓-๔ เรื่อง ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ คุณเพชราเข้ารับพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทองจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจสูงสุด

คุณเพชรา เชาวราษฎร์ ได้รับฉายาว่า “ราชินีจอเงิน”

แฟนภาพยนตร์คนไทยมักเข้าใจว่าทั้งสองเป็นคู่รัก ถึงไม่ใช่ก็ภาวนาให้เป็นเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมิตร-เพชรามีความสนิทสนมจริงใจ เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี มิตรดูแลเพชราเหมือนน้องสาว คอยปกป้องและเป็นที่ปรึกษาให้เพชรา แต่ก็เคยโกรธกันอยู่บ่อยๆ บางครั้งไม่พูดกันเป็นช่วงๆ ทั้งๆ ที่แสดงหนังด้วยกันอยู่ เพชราเคยปรารภว่า มิตรเป็นคนขี้ใจน้อย

พ.ศ.๒๕๐๖ เมื่อชีวิตของหนุ่มหล่อ มิตรรุ่งโรจน์เจิดจรัสแสดงหนังรับเงินแทบไม่มีเวลาหายใจ ในที่สุด จ่าโทพิเชษฐ์ พุ่มเหม จึงตัดสินใจลาออกจากกองทัพอากาศ เป็นมิตร ชัยบัญชา เต็มพิกัด

มิตร-เพชราเล่นหนังแบบไหน เล่นบทอะไร คนดูชอบไปหมด ชีวิตส่วนตัวนอกจอของดาวค้างฟ้าคู่นี้ไม่เคยมีข่าวในทางลบ ทั้งสองคนมีวินัยในการทำงาน นิสัยและอัธยาศัยต่อเพื่อนร่วมงานเป็นที่กล่าวขวัญในด้านบวกเสมอ คุณกิ่งดาว ดารณี เคยให้สัมภาษณ์ว่า มิตร ชัยบัญชา มีภาพยนตร์ต้องถ่ายทำเดือนละประมาณ ๓๐ เรื่อง ภาพยนตร์เรื่องต่อมาที่สร้างชื่อเสียงให้กับมิตร ชัยบัญชา ได้แก่ ใจเดียว ใจเพชร จำเลยรัก เพลิงทรนง อวสานอินทรีแดง นางสาวโพระดก เก้ามหากาฬ ชายชาตรี ร้อยป่า สมิงบ้านไร่ หัวใจเถื่อน สาวเครือฟ้า ทับเทวา สิงห์ล่าสิงห์ ๕ พยัคฆ์ร้าย ทาสผยอง อินทรีมหากาฬ เดือนร้าว ดาวพระศุกร์ มือนาง พนาสวรรค์ ลมหนาว แสงเทียน พระอภัยมณี ปีศาจดำ พระลอ ทรชนคนสวย ๗ พระกาฬ พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร ชุมทางเขาชุมทอง ไฟเสน่หา ฟ้าเพียงดิน เงิน เงิน เงิน เพชรตัดเพชร มนต์รักลูกทุ่ง ฯลฯ กล่าวกันว่าในช่วงนั้นมิตรมีรายได้เข้าบัญชีธนาคารเฉลี่ยสัปดาห์ละ ๑ แสนกว่าบาท มิตรไปชำระภาษีเงินได้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคม

“ค่านิยม” ในสมัยโน้นหรือแม้ในปัจจุบัน การเป็นดาราขวัญใจประชาชนต้องเป็นคนของประชาชนเท่านั้น การมีคู่ครอง การเป็นผัว เป็นเมียในชีวิตจริง ถือเป็นเรื่องที่คอขาดบาดตาย ดารายอดนิยมทั้งหลายจะต้องปกปิดซ่อนเร้นคู่ชีวิตจริงอย่างมิดชิด กระแสความนิยมจะตกลงทันทีถ้ามีข่าวระแคะระคายว่าพระเอกคนนี้มีเมียแล้ว หรือนางเอกคนนี้มีสามีแล้ว

ปลาย พ.ศ.๒๕๑๑ ไม่ทราบว่าปีศาจร้ายตัวไหนดลใจให้มิตรตัดสินใจเข้าสู่การเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ในนามกลุ่มหนุ่ม เมื่อ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๑ มิตรหาเสียงในเขตบางรัก ยานนาวา สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบศัตรูพ่าย มิตรไม่ได้รับเลือก เสียใจมาก หลบไปเลียแผลพักผ่อนในป่าไทรโยค กาญจนบุรีพักใหญ่

เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ มิตรขอพิสูจน์ความนิยมในตัวเองอีกครั้งตามคำขอของเพื่อนๆ โดยขยับขึ้นไปสมัคร ส.ส.เขตพระนคร เพื่อต้องการเข้าไปในสภา จะช่วยเป็นปากเสียงสนับสนุนกิจการภาพยนตร์ไทย ช่วยนักแสดงไทยให้เป็นอาชีพที่มั่นคง มีสวัสดิการ และได้รับการดูแล

คู่แข่ง ส.ส.ของมิตรในเขตไปหาเสียงกับประชาชนว่า ถ้ามิตร ชัยบัญชา ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เข้าสภา มิตรจะต้องเลิกแสดงหนัง มิตรเลยแพ้การเลือกตั้งอีกเป็นครั้งที่ ๒ ทรัพย์สินเงินทองของมิตรละลายไปมากโข พร้อมกับบ้าน ๑ หลังที่จำนองกับธนาคาร พระเอกมิตรเสียใจแบบซ้ำซาก

พ.ศ.๒๕๑๓ มิตรลงทุนสร้างภาพยนตร์ที่แสดงนำและกำกับการแสดงเองเป็นเรื่องแรก เรื่องอินทรีทอง ซึ่งเป็นภาพยนตร์ชุด “อินทรีแดง” เรื่องที่ ๖ ที่มิตรแสดงในบท โรม ฤทธิไกร หรืออินทรีแดง โดยแสดงร่วมกับเพชรา ที่รับบทเป็น “วาสนา”

๘ ตุลาคม ๒๕๑๓ การถ่ายทำอินทรีทองดำเนินไปอย่างราบรื่น จนกระทั่งมาถึงฉากสุดท้าย ซึ่งถ่ายทำที่หาดดงตาล พัทยาใต้ ชลบุรี ในบทภาพยนตร์ อินทรีแดงจะต้องหนีออกจากรังของคนร้าย โดยการโหนบันไดเชือกจากเฮลิคอปเตอร์

มิตรตัดสินใจว่าจะแสดงฉากนี้ด้วยตัวเอง มิตรเกาะที่บันไดลิงของเฮลิคอปเตอร์ที่ต้องบินขึ้น โดยที่มิตรยังไม่ได้ใช้เท้าเหยียบบนบันไดลิง พระเอกตัวจริงต้องโหนตัวอยู่กับบันไดด้วยแรงแขนเท่านั้น มิตรกระเสือกกระสนหนีตายด้วยการตบเท้าเข้าหากันขณะเกาะบันไดลิงแกว่งในอากาศ แต่กองถ่ายทำไม่เข้าใจ นักบินเองก็มองไม่เห็นและยังดึงเครื่องขึ้นต่อไป ในจังหวะที่เครื่องเลี้ยวกลับเกิดแรงเหวี่ยงมหาศาล นาทีนั้นเชือกบาดข้อมือพระเอกจนเกือบขาด มิตรทนความเจ็บไม่ไหว ปล่อยตัวลงมาจากความสูง ๓๐๐ ฟุต ร่างของพระเอกยอดนิยมขวัญใจชาวไทยกระแทกกับพื้นดินเลือดท่วมตัว

ผลการชันสูตรศพจากโรงพยาบาลศรีราชายืนยันว่าเขาเสียชีวิตทันที เพราะร่างกายเหลวน่วมไม่มีชิ้นดี เชือกบาดข้อมือเป็นแผลลึก ๒ ซม. ยาว ๘ ซม. กระดูกขากรรไกรข้างขวาหัก กระดูกโหนกแก้มซ้ายขวาหัก มีเลือดออกทางหูขวา กระดูกซี่โครงขวาหัก ๕ ซี่ กระดูกโคนขาขวาหัก กระดูกต้นคอหัก โดยเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ ๑๖.๑๓ น.

๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๓ สื่อไทยและต่างประเทศทุกแขนงพาดหัวการเสียชีวิตของมิตร ชัยบัญชา โดยตั้งสวดศพที่วัดแคนางเลิ้ง หลังจากครบ ๑๐๐ วัน พิธีพระราชทานเพลิงศพจัดเมื่อ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งต้องย้ายจากวัดไปเผาที่วัดเทพศิรินทร์ เพราะสถานที่กว้างขวางกว่า

หลังจากมิตรเสียชีวิตในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง คุณเพชราก็ยังรับบทนางเอกภาพยนตร์ต่อเนื่องมาอีกหลายปี คู่กับสมบัติ เมทะนี, ไชยา สุริยัน, ลือชัย นฤนาท และพระเอกใหม่ ครรชิต ขวัญประชา, นาท ภูวนัย, ยอดชาย เมฆสุวรรณ, กรุง ศรีวิไล

ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๕ คุณเพชราเธอเริ่มมีปัญหาเรื่องสายตา จักษุแพทย์รักษานัยน์ตาที่แสนหวานจนสุดความสามารถ และในที่สุดตาของเธอบอดสนิททั้งสองข้าง เมื่อราว พ.ศ.๒๕๒๐ ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่เธอแสดงคือเรื่อง ไอ้ขุนทอง หลังจากนั้นเธอก็ไม่ปรากฏตัวที่ไหนอีก หากแต่ทุกกิจกรรมที่เธอมีส่วนร่วมเล็กๆ น้อยๆ ในเวลาต่อมาล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อการกุศลทั้งสิ้น ล่าสุด ๑๓ กันยายน ๒๕๕๙ เธอไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้โรงพยาบาลจุฬาฯ ในเรื่องของการดูแลสุขภาพพร้อมกับคุณชรินทร์ นันทนาคร สามีที่ให้การดูแลเธอมาตลอด

เรื่องชีวิตส่วนตัวของคุณมิตร-เพชรา ผู้เขียนให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล ไม่ขอล่วงเกินครับ ที่ย้อนอดีตเรียบเรียงมาเล่าสู่กันฟังก็ด้วยชื่นชมท่านทั้งสองเป็นแบบอย่างของชีวิตที่ดีงาม มีเมตตา กรุณา มีไมตรีจิตกับสังคมมาโดยตลอด มีแต่คนยกย่องสรรเสริญครับ






















ภาพเก่า “บุนสงกานลาว” ในอดีตจากยุคขาว-ดำ สู่ความวินเทจ


ภายใต้วัฒนธรรมหลากหลายที่ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีร่วมกัน ก็คือ “สงกรานต์” ที่ไม่ได้มีแค่ในไทย หากแต่มีทั่วไปในแทบทุกประเทศในเขตแดนอุษาคเนย์

สงกรานต์ปีนี้ เพจดังของ สปป.ลาว อย่าง “Laos 1,000,000 SHARE” ได้ประมวลภาพถ่ายเก่างานฉลองสงกรานต์ตั้งแต่อดีต หรือ “บุนปีใหม่” ในยุคภาพขาวดำซึ่งคาดว่ามีอายุเฉียดร้อยปี หรือมากกว่านั้น ไล่มาจนถึงภาพสีที่ให้อารมณ์วินเทจ  เหตุการณ์ในภาพ สะท้อนวิถีอันงดงาม ทั้งในวัดวาอารามที่ภิกษุสามเณรร่วมกันสร้างหัตถศิลป์พื้นถิ่นเพื่อใช้ในงานดังกล่าว , ภาพของชาวบ้านนั่งเรียงแถวสองข้างทาง รอสรงน้ำพระพุทธรูปในกระบวนแห่, นาฏยศิลปินลาวร่ายรำทำท่าฟ้อนอย่างงดงาม

นี่คือสงกรานต์ในความทรงจำวันวานของประเทศเพื่อนบ้านที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ที่มา ภาพ-ข้อมูล : มติชนออนไลน์ (ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)

หน้า:  1 ... 142 143 [144] 145 146 ... 276
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.805 วินาที กับ 22 คำสั่ง