[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 07:45:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  [1] 2 3 ... 12
1  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ธรรมะบนเขา โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต เมื่อ: 17 มีนาคม 2563 20:14:54
สาธุ สาธุ สาธุครับ
2  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: เกร็ดธรรมะ พระกรรมฐาน เมื่อ: 17 มีนาคม 2563 20:07:45
สาธุ สาธุ สาธุ
3  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์ เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2561 17:43:38
หมู่บ้านรักษาศีล ๕
มันเป็นชื่อของโครงการเท่านั้นเอง
แต่การรักษาจริงๆมันเป็นเรื่องเฉพาะตน
คนหาเช้ากินค่ำเนาะ มันก็รักษายากหลายอยู่
ไข่มดแดง กุ้ง หอย ปู ปลา จะอดได้บ่
สอยไข่มดแดง แห่งของมักเนาะ
วันพระที่ผ่านมาก็ได้ข่าวมีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
เปิดน้ำออกจากฝ่าย เผื่อเปิดโอกาศให้ชาวบ้านทำการจับปลาวันพระยังไม่เว้นเนาะ การรักษาศีล ๕ มันเป็นเรื่องเฉพาะตนจริงๆเนาะ เชื่อปะ
4  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / สุขทุกข์ต้องเรียนรู้ด้วยตน เมื่อ: 21 ตุลาคม 2559 18:42:30
ชีวิต เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีความรู้สึกในการสำผัสนั้นๆได้ มีใจ มีสมอง เป็นสิ่งที่วิเศษของสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะมนุษย์ยิ่งถือว่าเป็นสัตว์ที่ประเสริฐสุด สามารถเรียกได้ว่าจะทำอย่างไรให้ใจเกิดทุกข์ หรือเกิดสุขได้ ซึ้งต้องใช้ปัญญา และสมองบวกกับหัวใจ เลือกที่เป็นและทำในสิ่งที่ทำให้เกิดสุขได้ ตามหลักของพุทธศานา อายจัง อายจัง อายจัง
5  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์ เมื่อ: 19 มิถุนายน 2559 20:58:02
สังขารถ้ามันไม่เจ็บไม่ทุกข์ก็จะไม่รู้สึกอะไรของการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเราพิจารณาถึงความไม่เที่ยงเสียได้ และสามารถสร้างภูมิธรรมให้กับตัวเองได้ก่อนที่สังขารมันจะเจ็บมันจะทุกข์ก็จะเป็นการดี เพราะเมื่อถึงเวลาที่สังขารมันกำลังเจ็บหรือทุกข์เราจะได้ไม่ต้องไปเจ็บไปทุกข์กับมันจนเกินไป เพราะภูมิธรรมมันจะช่วยแยกสุขออกจากทุกข์ แต่ถ้าเรายังสร้างภูมิธรรมให้กับตัวเราเองไม่ได้ เมื่อถึงเวลาเราก็ต้องเจ็บและทุกข์ไปกับสังขารที่กำลังเปลี่ยนแปลง
6  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: เรียนรู้ทุกข์ให้เข้าใจ เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2559 13:31:43
เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง     เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน     ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ       ถ้ามีครบ ควรเรียก มนุสสา
เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา       เปรมปรีดา คืนวัน สุขสันต์จริง
ใจสกปรก มืดมัว และร้อนเร่า       ใครมีเข้า ควรเรียก ว่าผีสิง     
เพราะพูดผิด ทำผิด จิตประวิง       แต่ในสิ่ง นำตัว กลั้วอบาย   
คิดดูเถิด ถ้าใคร ไม่อยากตก     จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย
       ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย         ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือน เอยฯ

 
7  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: วิธีทำ ผัดกระเพราไข่ปลา เมื่อ: 12 มีนาคม 2559 20:56:58
อยากกินจัง ตลก
8  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: เรียนรู้ทุกข์ให้เข้าใจ เมื่อ: 12 มีนาคม 2559 20:51:48
ผู้มีกุศลในใจ คือ มีบุญในใจ หนักแน่น ใครด่าว่าติเตียน ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่เกลียด เพราะว่าใจมีบุญเป็นเครื่องอยู่ ตรงกันข้ามกับใจที่มีกิเลสเป็นเครื่องอยู่ กิเลสอยู่ในใจใคร ก็มีแต่ ปั่นจิตใจให้เดือดร้อนวุ่นวาย
            หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
 เลือดพุ่ง
9  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา เมื่อ: 12 มีนาคม 2559 15:08:32
โอวาทบางตอนหลวงปู่ชา สุภัทโท
หนังสือ หมวด: กุญแจภาวนา
ท่านทั้งหลายได้นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับธรรมในพระพุทธศาสนา จากครูบาอาจารย์มาก็มาก ซึ่งบางท่านก็สอนอย่างพิสดารกว้างเกินไป จนไม่ทราบว่าจะกำหนดเอาไปปฏิบัติได้อย่างไร บางท่านก็สอนลัดเกินไป จนผู้ฟังยากที่จะเข้าใจ เพราะว่ากันตามตำรา บางท่านก็สอนพอปานกลาง ไม่กว้างและไม่ลัด เหมาะที่จะนำไปปฏิบัติ จนตัวเองได้รับประโยชน์จากธรรมนั้นๆ พอสมควร อาตมาจึงใคร่อยากจะเสนอข้อคิดและปฏิบัติ ซึ่งเคยดำเนินมา และได้แนะนำศิษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ บางทีอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอยู่บ้างก็อาจจะเป็นไปได้
ผู้จะเข้าถึงพุทธธรรม
ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธธรรมนั้น เบื้องต้นจะต้องทำตนให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่เป็นประจำ และเข้าใจความหมายของคำว่า พุทธธรรม ต่อไปว่า
พุทธะ หมายถึง ท่านผู้รู้ตามเป็นจริง จนมีความสะอาด สงบ สว่างในใจ
ธรรม หมายถึง ตัวการความสะอาด สงบ สว่าง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
ดังนั้น ผู้ที่เข้าถึงพุทธธรรม ก็คือคนเข้าถึงศีล สมาธิ ปัญญานี่เอง
การเดินเข้าถึงพุทธธรรม
ตามธรรมดาการที่บุคคลจะไปถึงบ้านถึงเรือนได้นั้น มิใช่บุคคลที่มัวนอนคิดเอา เขาเองจะต้องลงมือเดินทางด้วยตนเอง และเดินทางให้ถูกทางด้วย จึงจะมีความสะดวกและถึงที่หมายได้ หากเดินผิดทางเขาจะได้รับอุปสรรค เช่น พบขวากหนาม เป็นต้น และยังไกลที่หมายออกไปทุกที หรือบางทีอาจจะได้รับอันตรายระหว่างทาง ไม่มีวันที่จะเข้าถึงบ้านได้ เมื่อเดินไปถึงบ้านแล้วจะต้องขึ้นอยู่อาศัยพักผ่อน หลับนอน เป็นที่สบายทั้งกายและใจ จึงจะเรียกว่าคนถึงบ้านได้โดยสมบูรณ์ ถ้าหากเป็นแต่เพียงเดินเฉียดบ้านหรือผ่านบ้านไปเฉยๆ คนเดินทางผู้นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการเดินทางของเขา ข้อนี้ฉันใด การเดินทาง เข้าไปถึงพุทธธรรมนั้นก็เหมือนกัน ทุกๆคนจะต้องออกเดินทางด้วยตนเอง ไม่มีการเดินแทนกัน และต้องเดินไปตามทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา จนถึงซึ่งที่หมาย ได้รับความสะอาดสงบสว่าง นับว่าเป็นประโยชน์เหลือหลายแก่ผู้เดินทางเอง
แต่ถ้าหากผู้ใดมัวแต่อ่านตำรา กางแผนที่ออกดูอยู่ตั้งร้อยปีร้อยชาติ ผู้นั้นไม่สามารถไปถึงที่หมายได้เลย เขาจะเสียเวลาไปเปล่าๆ ปล่อยประโยชน์ที่ตนจะได้รับให้ผ่านไปเลย ครูบา-อาจารย์เป็นผู้บอกให้เท่านั้น เราทั้งหลายได้ฟังแล้วจะเดินหรือไม่เดิน และจะได้รับผลมากน้อยเพียงใด มันเป็นเรื่องเฉพาะตนอีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ ข้างนอกขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่า แก้โรคชนิดนั้นๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด ที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวด อ่านไปตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่าโดยไม่ได้รับประโยชน์ จากตัวยานั้นเลย และเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคอะไรก็ไม่ได้ เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไร ทั้งๆที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยาออกกินเลย เพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยาซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียเพลิน แต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอ จะอ่านฉลากครั้งเดียว หรือไม่อ่านก็ได้ แต่ลงมือกินยาตามคำสั่งของหมอ ถ้าคนไข้เป็นน้อยเขาก็หายจากโรค แต่ถ้าหากเป็นมาก อาการของโรคก็จะทุเลาลง และถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไปเอง ที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้งก็เพราะโรคเรามันมาก เรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกิน ดังนั้น ท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญา พิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จึงจะเข้าใจดี
พวกแพทย์ พวกหมอ เขาปรุงยา ปราบโรคทางกายจะเรียกว่าสรีระโอสถก็ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่าธรรมโอสถ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรคทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โรคทางใจเป็นได้ไว และเป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็น ไข้ใจ จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ พิจารณาดูเถิดการเดินทางเข้าถึงพุทธรรมมิใช่เดินด้วยกาย แต่ต้องเดินด้วยใจ จึงจะเข้าถึงได้ ได้แบ่งผู้เดินทางออกเป็น ๓ ชั้น คือ
ก. ชั้นต่ำ ได้แก่ผู้รู้จักปฏิญาณตน เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง อาศัยตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยดี ละทิ้งประเพณีที่งมงาย ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว จะเชื่ออะไรต้องพิจารณาเหตุผลเสียก่อน คนพวกนี้เรียกว่าสาธุชน
ข. ชั้นกลาง หมายถึงผู้ปฏิบัติจนเชื่อต่อพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้น ไม่เสื่อมคลาย รู้เท่าทันสังขาร พยายามสละความยึดมั่นถือมั่นให้น้อยลง มีจิตเข้าถึงธรรมชั้นสูงขึ้นเป็นขั้นๆ ท่าน เหล่านี้เรียกว่า พระอริยบุคคล คือพระโสดาบันพระสกิทาคามี พระอนาคามี
ค. ชั้นสูง ได้แก่ผู้ปฏิบัติจนกายวาจาใจเป็นพุทธะ เป็นผู้พ้นจากโลก หมดความยึดถืออย่างสิ้นเชิง เรียกว่าพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด
ศีล
การทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลนั้นคือระเบียบควบคุมรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ว่าโดยประเภทมีทั้งของชาวบ้านและของนักบวช แต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้ว มีอย่างเดียว คือ เจตนา ในเมื่อเรามีสติระลึกได้อยู่เสมอ เพื่อควบคุมใจให้รู้จักละอายต่อการทำชั่วเสียหาย และรู้สึกตัวกลัวผลของความชั่วจะตามมา พยายามรักษาใจอยู่ให้ในแนวทางแห่งการปฏิบัติถูกต้อง ที่ควรเป็นศีลอย่างดีอยู่แล้ว ตามธรรมดาเมื่อเราใช้เสื้อผ้าที่สกปรก และตัวเองก็สกปรกย่อมทำให้จิตใจอึดอัดไม่สบาย แต่ถ้าหากเรารู้จักรักษาความสะอาดทั้งร่างกาย และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ย่อมทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบาน ดังนั้น เมื่อศีลไม่บริสุทธิ์ และกายวาจาสกปรก ก็เป็นผลให้จิตใจเศร้าหมองขัดต่อการปฏิบัติธรรม และเป็นเครื่องกั้นใจมิให้บรรลุถึงจุดหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจที่ได้รับการฝึกมาดีหรือไม่เท่านั้น เพราะใจเป็นผู้สั่งให้พูดให้ทำ ฉะนั้นเราจึงต้องมีการฝึกจิตใจต่อไป
สมาธิ
การฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิก็คือ การฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่น และมีความสงบ เพราะตามปกติจิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำนบ ทำชลประทานเหล่านี้ ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่าง และใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงที่ลุ่มเสียหมด จิตใจที่มีการกั้น การฝึกที่ดีอยู่ ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า “จิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดีย่อมสำเร็จประโยชน์” ดังนี้เป็นต้น
เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอาใช้งานต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมันทำประโยชน์นานาประการ ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้ว จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวกได้เปลี่ยนภาวะ จากปุถุชนมาเป็นพระอริย-บุคคล จนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไป และท่านได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวาง เหลือประมาณที่เราๆจะกำหนดเพราะพระองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้นจิตที่เราฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่าง ยังเป็นทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบ ไม่เป็นผู้หุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผล และได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ
การฝึกจิต มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า “อานาปานสติภาวนา” คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ที่สำนักนี้ให้กำหนดลมที่ปลายจมูก โดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดิน จงกรม และนั่งสมาธิก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่น หรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า พยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผลไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์ สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆติดต่อกันไป โดยการฝึกจิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผล ควรเลือกหาที่สงบไม่มีคนพลุกพล่าน เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือต้นไม้ที่มีร่มเงาๆแต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง (กระท่อม) โคนไม้, ป่า, ป่าช้า, ถ้ำ, ตามภูเขา เป็นที่บำเพ็ญเหมาะที่สุดเราจะอยู่ที่ใดก็ตาม ใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียว แม้จิตใจจะคิดไปเรื่องอื่นก็พยายามดึงกลับมา ทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมด โดยไม่พยายามคิดถึงมัน รู้ให้ทันกับความคิดนั้นๆ เมื่อทำเข้าบ่อยๆ จิตจะสงบลงเรื่อยๆ เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกาย ร่างกายคือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติ ไหลไปตามเหตุ ตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็น อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆจะน้อยลงๆ เพราะเรารู้เท่าทันมัน เรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น
ปัญญาเกิด เมื่อเราใช้จิตที่ฝึกดีแล้วพิจารณารูปนามอยู่อย่างนี้ ให้รู้แจ้งแน่ชัดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาปัญญารู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของสังขาร ก็เกิด เป็นเหตุให้เราไม่ยึดถือหรือหลงใหล เมื่อเราได้อะไรมามีสติ ไม่ดีใจจนเกินไป เมื่อของสูญหายไป ก็ไม่เสียใจจนเกิดทุกข์ เวทนาเพราะรู้เท่าทัน เมื่อประสบความเจ็บไข้ หรือได้รับทุกข์อื่นๆก็มีการยับยั้งใจ เพราะอาศัยจิตที่ฝึกมาดีแล้ว เรียกว่ามีที่พึ่งทางใจเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่า เกิดปัญญา รู้ทันตามความเป็นจริง ที่เกิดปัญญาเพราะมีสมาธิ สมาธิจะเกิดเพราะมีศีล มันเกี่ยวโยงกันอยู่อย่างนี้ ไม่อาจแยกออกจากกันไปได้
สรุป
สรุปได้ความดังนี้ อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้ และติดต่อกันไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่า ปัญญา การทำอานาปานสติภาวนา จึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเอกประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด
ผลจากการปฏิบัติ เมื่อเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ย่อมมีผลปรากฏตามระดับจิตของผู้ปฏิบัตินั้นๆ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ พวก ดังต่อไปนี้
ก. สำหรับสามัญชนผู้ปฏิบัติตาม ย่อมทำให้เกิดความเชื่อในคุณพระรัตนตรัย ถือเอาเป็นที่พึ่งได้ ทั้งเชื่อตามผลกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขความเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนได้กินขนมที่มีรสหวาน
ข. สำหรับพระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมมีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลายเป็นผู้มีจิตใจผ่องใสดิ่งสู่นิพพาน เปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ซึ่งมีทั้งรสหวานและมัน
ค. สำหรับท่านผู้ได้บรรลุอรหันต์ ย่อมมีความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ทั้งปวง เพราะเป็นพุทธะแล้ว พ้นจากโลกอยู่จบพรหมจรรย์ เปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ที่มีทั้งรสหวานมัน และหอม
เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์ทั้งหลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดีทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย ฉะนั้น ควรจะทำตนให้เข้าถึง พุทธรรม เสียแต่วันนี้
ขอฝากภาษิตว่า
“เที่ยว ทาง เวิ้ง เหิงนาน มัน สิค่ำ เมา นำต่าบักหว้า มัน สิช้า ค่ำ ทาง”
“มรรค ผล ไม่พ้นสมัย”
[จบเรื่อง โอวาทบางตอน]
หลวงปู่ชา สุภัทโท หนังสือ หมวด: กุญแจภาวนา
10  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์ เมื่อ: 10 มีนาคม 2559 20:10:36
                                         
   ผลของกรรม
กรรมชั่วที่เราทำไว้ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี มันให้ผลเป็นทุกข์ จำไว้นะ การป่วยไข้ไม่สบายก็ตาม ความขัดข้องในทรัพย์สมบัติก็ตาม ความเดือดร้อนใดๆ ก็ตาม ที่มันประสบกับเราในชาตินี้ นั่นคือผลของความชั่วในชาติที่เป็นอดีต หรือความชั่วที่เราสร้างในชาตินี้ มันให้ผลเป็นความเร่าร้อน ถ้าผลอันใดเกิดจากความสุขกายสบายใจ ความรื่นเริงหรรษา นั่นมันเป็นผลของความดีที่เราทำไว้แต่ชาติก่อนให้ผล หรือว่าความดีในชาตินี้ให้ผล
 รู้สึกแย่ อายจัง สลึมสลือ
11  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: เรียนรู้ทุกข์ให้เข้าใจ เมื่อ: 09 มีนาคม 2559 18:56:54
ถ่านที่มีไฟ ย่อมเกิดความร้อนและเผาไหม้ในทุกสิ่ง กินเลส ก็เหมือนความร้อนที่อยู่ในใจย่อมเผาไหม้บุคคลทั้งหลายให้เกิดความทุกข์ได้ตลอดเวลา หากไม่รู้จักหาวิธีดับไฟคือกิเลส ที่เป็น โลภะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่เป็นอยู๋ให้น้อยลง ให้เย็นลง และดับลงไปในที่สุด
 เลือดพุ่ง เศร้า ตาย
12  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ชีวิตที่อิสระ คือชีวิตที่ไม่เป็นทุกข์ เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2559 11:58:53
คติธรรมคำสอนหลวงพ่อจรัญ
"... คนเรานะ เกิดมาในสากลโลกนั้น
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร
ถ้าครั้งในอดีตเคยเป็นญาติกันไปมาหาสู่ต้องมาหากัน..."

"... ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายไม่เคยไปมาหาหาสู่กันครั้งอดีตจะมาพบกันอีกไม่ได้ "เวียนว่ายตายเกิด"
เวียนไปก็เวียนมา เวียนมาแล้วก็เวียนไป เหมือนพัดลม พัดลม พัดลม ลมไม่พัดก็ไม่มีลม เวียนไปเวียนมา ลมก็ไปก็พัดมา พัดมาหาจุดมุ่งหมาย..."
13  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2559 11:33:24
คติธรรมของหลวงพ่อจรัญ
เราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า  สติปัญญา  เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้น แท้จริงแล้ว เรานำออกมาใช้น้อยมาก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าต่อชีวิต และจำเป็นแก่ชีวิต มีคุณค่าเหลือที่จะประมาณได้
14  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: เรียนรู้ทุกข์ให้เข้าใจ เมื่อ: 08 มกราคม 2559 16:37:40
       เรื่องความรู้ที่เป็นไป เพื่อความหมดทุกนี้ มันจะต้องเป็นผู้ที่พร้อมแล้วเท่านั้น ทางที่ดีเราควรจะรู้แค่ว่า ทำอย่างไรเราจึงไม่เป็นทุกข์ซึ่งวิธีที่จะรู้ธรรมะนั้นมันเป็นอะไรมากกว่าการใช้ปัญญาเพ็ง พิจารณาเอาเอง ถ้าเราไปจำคำของอาจารย์มา มันก็ไม่ใช่ปัญญาความคิดของเรา ถ้าเราไปอ่านจำแปลมาจากหนังสือ เราก็ไม่มีปัญญาเป็นของตัวเอง
       พุทธศาสนา คือระบบปฏิบัติ เพื่อความหลุดรอดแห่งชีวิตให้ชีวิตหลุดจากปัญหาไปสู่ความไม่มีปัญหา ให้ชีวิตหลุดจากความเสเพลไปสู่ความเป็นชิ้นเป็นอัน ในที่สุดพุทธศาสนาจะทำให้ผู้ที่ดำเนินอยู่ในทางปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ได้พ้นไปจากความเศร้าโศกทั้งปวง ซึ่งมันมารวมอยู่ที่การควบคุมพฤติกรรมของเราให้เป็นไปอย่างถูกต้องนั่นเอง คนส่วนมากมักเป็นนักอ่าน นักแปล นักสอน นักสวด แต่ไม่ชอบฝึกจิตปฏิบัติธรรม พวกเราจึงไม่มีปัญญาความรู้แจ้งสักที
  โดยสภาพความเป็นจริง ความจำมันต่างจากปัญญา ความคิดมันก็ต่างจากปัญญา บางคนจำพระสูตรได้แม่นยำว่าพระพุทธเจ้าเทศน์เรื่องอะไรว่าอย่างไร แต่ใจของเราก็ไม่เป็นอย่างที่พระพุทธเจ้าสอน
 บางคนเป็นนักคิดนักพูดบรรยายธรรมะได้อย่างไพเราะวิจิตรพิสดาร แต่จิตใจนั้นหาหมดทุกข์หมดกิเลส และรู้แจ้งธรรมไม่ บางท่านมีชื่อเสียงมีลูกศิษย์บริวารเยอะ ไปไหนมีแต่คนห้อมล้อม แต่จิตใจนั้นยังกลัดหนองอยู่ ดังนั้นปัญญาตัวแท้กับกิริยาภายนอกของคนจึงแยกออกจากกัน จึงสรุปได้ว่าเราควรเร่งฝึกจิตของเราให้หมดทุกข์ได้จริงๆ แค่นี้ก็พอแล้ว อย่าเอาแต่พูดธรรมะหรือเรียนธรรมะจากตำรากันอยู่เลย แต่หันมาเรียนรู้ศึกษาดู รู้ เห็นจิตใจของเรา จนรู้เท่าทันความคิดแล้วควบคุมมันได้ไม่ยืดถือ
 เลือดพุ่ง ลัลลา เขิน เย้
15  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / สภาวะธรรม เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต เมื่อ: 22 ธันวาคม 2558 21:47:27
ถ้าขาดธรรม ก็เหมือนชีวิตขาดลมหายใจ อายจัง อายจัง อายจัง
16  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม เมื่อ: 06 ธันวาคม 2558 20:30:22
สาธุ สาธุ สาธุครับ เลือดพุ่ง
17  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: เรียนรู้ทุกข์ให้เข้าใจ เมื่อ: 06 ธันวาคม 2558 20:15:21
ธรรมะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองถึงจะเข้าใจแบบลึกซึ้ง
การเรียนรู้จากการที่ได้ยินมา จากการอ่านหนังสือ หรือการฟัง จัดเป็นการเรียนรู้แต่เพียงภายนอกคือเป็นเพียงแนวทางให้เราได้นำมาศึกษาต่อด้วยตนเอง กล่าวคือบุคคนนั้นๆจะเข้าใจธรรมชาติที่เป็นแก่นของธรรมนั้นได้ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ใช้ใจสัมผัสถึงสภาวะที่กำลังเกิดอยู่ในขณะนั้นเมื่อความเข้าใจเริ่มมีมากความสงบเย็นก็มีมากขึ้นตามลำดับ ความลึกซึ้งความละเอือดของจิตย่อมมีขึ้นตามลำดับเช่นกัน
 เลือดพุ่ง ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม เขิน
18  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: ความเป็นมาของพระพุทธเจ้า...ตอน ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2558 19:56:21
สาธุ สาธุ สาธุจ๊า เลือดพุ่ง
19  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: เรียนรู้ทุกข์ให้เข้าใจ เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2558 19:49:27
ทุกข์เพราะเหตุ
เหตุที่ทำให้ทุกข์เพราะคนอื่น สิ่งอื่น เมื่อไม่ถูกต้องไม่ถูกใจเรามันก็ทุกข์ได้ ถ้าใจเราไปคิดว่ามันควรจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เมื่อขัดกับใจที่อยากจะให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ใจมันก็ทุกข์สิ เพราะความทุกข์มันจะเกิดขึ้นมาได้ทุกที่ทุกเวลาถ้ามันมีโอกาศมีเหตุให้มันทุกข์ ดังนั้นเมื่อเป็นเรื่องของคนอื่นสิ่งอื่นที่มันไม่เกี่ยวข้องกับตัวเราก็ไม่จำเป็นที่จะเก็บมาคิดให้เสียสุขภาพจิตเปล่าๆ ให้ดูที่ใจของเรา รักษาความสมดูลขอใจเราให้มันเป็นปกติก็พอ อย่าหาเรื่องเปิดโอกาศให้ทุกข์มันเข้ามารบกวนใจเราสิ ถ้าจะตำหนิคนอื่น ให้ตำหนิใจเรานี้แหละก่อนว่าถ้ารู้เรื่องของคนอื่นที่ทำไม่ถูกไม่ต้องแล้วมันทุกข์ใหม วางเฉยหรือรับรู้เฉยๆได้หรือเปล่า ถ้าว่างเฉยหรือ อุเบกขาไม่ได้ก็อย่าไปรับรู้มันปล่อยให้เป็นเรื่องของคนอืนไป อย่าไปสร้างเหตุให้ใจมันทุกข์
20  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / เรียนรู้ทุกข์ให้เข้าใจ เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2558 20:26:06
ความทุกข์มันเกิดมีขึ้นอยู่เสมอ
ให้เราเรียนรู้ทุกข์ที่มันเกิดมีขึ้นด้วยวิธีธรรมชาติที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเราทุกข์เพราะสังขารก็ให้เราลองใช้จิตของเราพิจรณาตรวจดูสิ ว่าส่วนใหนที่มันทำให้เราทุกข์ เช่นปวดหัวเข่าปวดขา แทนที่เราจะมานั้งคิดถึงแต่ความปวดที่มันมี ให้เราเปลี่ยนมากำหนดดูว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ของเราเพียงแต่เราอาศัยมันมานานแล้ว และมันคงเสี่ยม จะพุพังไปตามกาลเวลาของมัน ถ้าเราไปเหนี่ยวรั้งคิดว่ามันเป็นของเรามันก็จะนำความเจ็บปวดมาให้เราทรมารเล่น ให้เราลองปล่อยมันไปให้เป็นอิสระดูบ้าง ทำเป็นไม่สนใจในอาการของมันสิ แล้วเราจะลืมเลยว่ามันปวดอยู่ มันจะปวดก็เรื่องของมัน ให้เราแยกจิตออกจากความเจ็บปวดเสีย มันก็จะหายปวดได้ เพราะถ้าใจเราไม่ไปยึดไม่ไปผูกมัดมัน มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ สังขารมันจะนำความทุข์มาให้เพราะเราไม่ยอมปล่อยให้มันเป็นอิสระ แต่ถ้าเราเข้าใจเรียนรู้ทุกข์ได้เมื่อไหร่ ทุกข์ที่เคยมีก็จะค่อยๆหายไปและแปลสะภาพเป็นความว่างของความรู้สึกในทุกข์ แล้วความสุขก็จะเขามาแทน เพราะเราปล่อยให้สังขารเป็นอิสระปล่อยให้ทุกข์เป็นอิสระ
หน้า:  [1] 2 3 ... 12
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.133 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 09 สิงหาคม 2566 08:40:04