[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 ธันวาคม 2567 22:10:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะบนเขา โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต  (อ่าน 11966 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 ธันวาคม 2559 15:51:00 »




ธรรมะบนเขา
โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี


 ธรรมจริง กับ ธรรมปลอม : พระป่า กับ พระบ้าน

ธรรมของ"พระป่า"ไม่เหมือนกับธรรมของ"พระบ้าน" ธรรมจากการปฏิบัติ กับ ธรรมจากการอ่านนี่ ไม่เหมือนกัน การศึกษาไม่เหมือนกัน

"ธรรมจริง" กับ "ธรรมปลอม" ธรรมที่ได้จากการศึกษายังไม่เข้าไปถึงใจ ธรรมที่เกิดจากการปฏิบัตินี้มันถึงใจ มันดับความทุกข์ได้ ดับกิเลสได้ แต่ธรรมที่ได้อ่านได้ฟังนี้ มันยังดับกิเลสไม่ได้ ยังเข้าไปไม่ถึงใจ กิเลสมันขวางใว้ ฟังแล้วไม่เอาไปปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ แต่ถ้าฟังแล้วเอาไปปฏิบัติให้ได้ มันก็เข้าถึงใจได้ ฟังแล้วก็ พุทโธ พุทโธ นั่งสมาธิทำใจให้สงบ มันก็เข้าข้างในได้ พอเข้าข้างในได้ ใช้ปัญญาฆ่ากิเลสได้

ก็ต้องพยายามปฏิบัติ เอา สติ พุทโธ สมาธิให้ได้ก่อน ปัญญาจากการอ่านการฟังนี้เราฟังกันเยอะแยะแล้ว ฟังกันหูฉีกแล้ว แต่ยังเอาไปฆ่ากิเลสไม่ได้ เพราะไม่มีกำลัง ยังเข้าไปไม่ถึงตัวมัน ต้องเข้าไปให้ถึงตัวมัน แล้วก็เอาปัญญาพระพุทธเจ้านี้มาฆ่ามันได้ พยายามฝึกสติให้มากๆ นั่งสมาธิให้มากๆ ทำจิตรวมให้ได้ ถ้าจิตรวมลงแล้วก็สามารถเข้าถึงตัวกิเลสได้ จากนั้นก็เอาธรรมะพระพุทธเจ้ามาฆ่ามันได้ เอาอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เอาอสุภะ มาฆ่ามันได้
...พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต... . วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙



"สมัยนี้พระไปทำงานภายนอกกันส่วนใหญ่ ผ้าป่าบ้าง สร้างโบสถ์ สร้างเจดีย์ สร้างอะไรต่างๆ ซึ่งงานเหล่านี้ไม่ได้เป็นงานของพระ เป็นเรื่องของศรัทธาของญาติโยมที่อยากจะทำบุญ พระไม่มีหน้าที่ พระมีหน้าที่สร้างธรรมในจิตใจของตน สร้างความสงบให้กับใจ พระก็เลยหลงทางกันเป็นส่วนใหญ่ หลงไปกับ ลาภ ยศ ของทางโลก"

"งานหลักของพระคืองานภายใน งานปราบกิเลส งานกำจัดกิเลส แต่พระก็มีงานภายนอก งานภายนอกก็เพียงแต่ งานที่จำเป็นคือการเลี้ยงดูร่างกาย เช่นไปบิณฑบาตนี้ ก็เป็นงานภายนอก กวาดถูศาลา ซักผ้าจีวร พักผ่อนหลับนอนก็ถือว่าเป็นงานภายนอก งานทางร่างกายที่ยังต้องมีอยู่ เพราะยังต้องใช้ร่างกายในการที่จะมาปฏิบัติธรรม แต่งานจริงๆ ก็คืองานภายใน งานสร้างสติ สร้างสมาธิ สร้างปัญญา ขึ้นมา เพื่อทำใจให้สงบ เพื่อตัดความอยากต่างๆ ให้ได้ อันนี้เป็นงานของพระโดยตรง งานแบบนี้ฆราวาสมักไม่ทำกัน ฆราวาสจะทำแต่งานภายนอกอย่างเดียว งานหาเงินหาทองหาปัจจัย ๔ แล้วก็หาความสุขทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย อันนี้เป็นงานภายนอกที่หาเท่าไหร่ก็ไม่มีวันอิ่มวันพอ เพราะมันไม่ได้เข้าไปสู่ใจ มันไม่ได้ไปเลี้ยงใจ มันไม่ได้ไปทำให้ใจเกิดความอิ่มความพอ แต่มันกลับไปกระตุ้นความอยากความหิวให้มีมากขึ้นไปเรื่อยๆ

งานของพระคือ สร้างความอิ่มความพอให้กับใจ สิ่งเดียวที่จะอิ่มจะพอก็คือ ความสงบ ความสงบก็เกิดจากการเจริญสติ ก็พุทโธ พุทโธ ไป ไม่ให้ไปคิดอะไร แล้วก็นั่งสมาธิ ให้ใจรวมเป็นสมาธิเป็นหนึ่ง พอใจรวมใจสงบก็มีความสุข แล้วขั้นต่อไปก็ใช้ปัญญาสอนใจ ไม่ให้ไปหลง ไปทำอะไรตามความอยากต่างๆ พอไม่ไปทำตามความอยาก ก็จะไม่มีความทุกข์ตามมา อันนี้เป็นงานภายในล้วนๆ งานภายในใจ

แต่สมัยนี้พระท่านก็ไปทำงานภายนอกกันส่วนใหญ่ ท่านก็ออกไปทาง ผ้าป่าบ้าง สร้างโบสถ์ สร้างเจดีย์ สร้างอะไรต่างๆ ซึ่งงานเหล่านี้ไม่ได้เป็นงานของพระ เป็นเรื่องของศรัทธาของญาติโยม ที่อยากจะทำบุญ พระไม่มีหน้าที่ พระมีหน้าที่สร้างธรรมในจิตใจของตน สร้างความสงบให้กับใจ พระก็เลยหลงทางกันเป็นส่วนใหญ่ หลงไปกับ ลาภ ยศ ของทางโลก"
...พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต... . วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙


“คนที่ปฏิบัติธรรมภาวนาจริงๆ จะอยู่คนเดียว” คนที่ภาวนาจริงๆ แล้วจะไม่อยากสุงสิงกับใคร อยากจะอยู่คนเดียว เพราะเวลาอยู่คนเดียวแล้วก็มีสถานที่แบบนี้ จะไม่มีอะไรไปทำให้จิตใจกระเพื่อม เพราะจิตใจเปรียบเหมือนกับสระน้ำ ถ้ามีคนลงไปอาบ ไปตัก ไปเล่น น้ำก็ขุ่นน้ำก็ไม่นิ่ง

จิตของเราถ้าต้องสัมผัสกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะต่างๆ ก็จะต้องกระเพื่อมอยู่ตลอดเวลา เวลากระเพื่อมก็จะไม่สงบ ไม่นิ่ง จะไม่เห็นความสุขความประเสริฐ ของความสงบ ความอิ่มเอิบใจ ความพอใจ ที่เกิดจากการบำเพ็ญจิตตภาวนา

คนที่ภาวนาเป็นแล้ว จะรู้ว่าต้องการสถานที่แบบไหนเขาจะไม่ต้องการพวกแสงสีเสียง ไม่ต้องการเพื่อน ไม่ต้องการคนนั้นคนนี้มาแก้เหงาด้วยการคุยกัน เพราะจิตที่ได้เข้าสู่ความสงบแล้ว จะไม่ค่อยคิดถึงอะไร เพราะไม่ค่อยได้ปรุงแต่งกับเรื่องอะไร แต่จิตที่ยังไม่สงบก็จะคิดไปเรื่อยเปื่อย คิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้ แล้วก็เกิดอารมณ์ต่างๆ ขึ้นมา คิดในเรื่องที่เคยทำให้มีความสุข ในขณะที่ไม่มีความสุขนั้นแล้ว ก็จะทำให้เศร้าสร้อยหงอยเหงา อยากจะหวนกลับไปหาความสุขแบบนั้นอีก

ถ้าเคยมีความสุขกับเพื่อนกับฝูง กับการทำกิจกรรมต่างๆ พอต้องมาฝึกจิตอยู่คนเดียวในป่าก็จะอดคิดถึงเรื่องราวในอดีตที่เคยสัมผัสมาไม่ได้  อดที่จะคิดถึงเพื่อนคนนั้นเพื่อนคนนี้ กิจกรรมนั้นกิจกรรมนี้ไม่ได้ ก็เลยเกิดอารมณ์ว้าเหว่เปล่าเปลี่ยวขึ้นมา จึงทนอยู่ไม่ได้ ต้องกลับไปหาเพื่อนหาฝูง หากิจกรรมต่างๆ

แต่ถ้าเคยได้ฝึกจิตมาก่อน แล้วสามารถทำจิตให้สงบได้ เวลามาอยู่สถานที่แบบนี้ จะไม่ค่อยคิดถึงเรื่องราวเหล่านั้น  เพราะมีงานทำ รู้หน้าที่ของตน รู้ว่าต้องทำอะไร คือคอยควบคุมสังขารความคิดปรุงนี้เอง
...พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต... . วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๘



จะสร้างเจดีย์ ที่ไม่มีพระอริยบุคคล มาสั่งสอนก็ไม่ต่างจากโรงพยาบาลที่ไม่มีหมอมารักษา

ศาสนาพุทธมีอายุยืนยาวมาถึงปัจจุบัน เพราะมีการศึกษาพระธรรมคำสอน มีการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน มีการบรรลุธรรมขั้นต่างๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติ เมื่อได้บรรลุธรรมแล้วก็สามารถนำเอาธรรมที่ได้จากการบรรลุนี้มาเผยแผ่ มาสั่งสอนให้แก่ผู้อื่น ผู้อื่นเมื่อได้ยินได้ฟังก็นำเอาไปปฏิบัติตาม บรรลุธรรมตาม แล้วก็นำธรรมมาเผยแผ่ถ่ายทอดกันเป็นทอดๆ มาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ และถ้ายังมีการศึกษา มีการปฏิบัติ มีการบรรลุธรรม และมีการเผยแผ่ธรรมอยู่ ศาสนาก็ยังอยู่ต่อไป

การอยู่ที่พุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่ถาวรวัตถุ ไม่ได้อยู่ที่โบสถ์ ไม่ได้อยู่ที่เจดีย์ สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของศาสนา ตัวศาสนาที่แท้จริงก็คือ ธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่ได้จากการศึกษาและการปฏิบัติ ก็คือ มรรค ผล นิพพาน พระอริยบุคคลขั้นต่างๆ เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ นี่แหละเป็นธรรมที่แท้จริง เป็นตัวศาสนาที่แท้จริง

ถ้าศาสนามีพระอริยบุคคล ศาสนานี้จะไม่มีวันเสื่อม แต่ถ้าศาสนาปราศจากพระอริยบุคคล มีแต่ถาวรวัตถุ มีแต่โบสถ์ มีแต่เจดีย์ แต่ในจิตใจของผู้ที่อยู่ในโบสถ์ อยู่ในเจดีย์นั้น ไม่มีความสงบเลย มีแต่ความทุกข์ มีแต่ความวุ่นวายใจ ศาสนาก็ถือว่าหมดไป เพราะไม่สามารถที่จะยังประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีความทุกข์ได้ ผู้ที่มีความทุกข์ก็จะไม่เข้าหาพระพุทธศาสนา เพราะเข้าหาก็ไม่สามารถดับความทุกข์ให้หมดไปจากจิตใจได้

เหมือนโรงพยาบาลที่ไม่มีหมอ มีแต่คนงาน เช่น ภารโรง คนกวาดถู เวลาคนไข้มารักษา คนงานภารโรงก็ไม่สามารถรักษาคนไข้ให้หายได้ เมื่อไม่สามารถรักษาคนไข้ให้หายได้ ก็ไม่มีใครมารักษาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ พุทธศาสนาก็เหมือนโรงพยาบาล เป็นที่รักษาจิตใจให้หายจากความทุกข์ต่างๆ จะหายได้ก็ต้องมีพระอริยบุคคลเป็นผู้สั่งสอน ถ้าไม่มีพระอริยบุคคลก็เหมือนกับโรงพยาบาลที่ไม่มีหมอ
...พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต... . วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2560 16:51:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 มีนาคม 2560 16:07:20 »





ผู้ที่ปรารถนามรรคผลนิพพานต้องสละทุกสิ่งทุกอย่าง
 
ขอให้เรามั่นใจว่ามรรคผลนิพพานนี้มีจริง เป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติ คือให้ทำทาน ให้รักษาศีล ให้ภาวนา ให้ทำมากๆ ให้ทำเต็มที่ ให้ทำอย่างเดียวไม่ทำอย่างอื่น ถ้าเราทำอย่างนี้อย่างเดียว เราก็จะได้ผลเร็ว ถ้าเราทำหลายๆอย่างไปด้วย ก็จะช้าหรือจะไม่ได้ผลเลย เพราะจะต้องเสียเวลาไปกับการทำภารกิจอย่างอื่น ภารกิจที่จะเพื่อมรรคผลนิพพานก็จะทำได้น้อย และอาจจะไม่พอเพียงต่อที่จะทำให้เกิดผลขึ้นมาก็ได้

ดังนั้นผู้ที่ปรารถนามรรคผลนิพพานจึงจำเป็นที่จะต้องสละทุกสิ่งทุกอย่างๆไป ในเบื้องต้นก็ ฝึกสละไปตามกำลังที่สามารถทำไปได้ก่อน ตอนนี้มีอะไรที่จะสละได้ก็สละไปแล้วพยายามสละต่อไปอีก จนกว่าไม่มีอะไรที่ต้องสละ สละลาภยศสรรเสริญ สละความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายไป ทำไปเรื่อยๆแล้วมันก็จะมีกำลังที่จะทำเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ต้องปฏิบัติไปทั้ง ๓ ส่วนเลย ทานก็ทำ ศีลก็รักษา ภาวนาก็บำเพ็ญเจริญ ถ้าได้มีการบำเพ็ญภาวนา ความเจริญนี้จะมีการคืบหน้ามากกว่า มากกว่าการทำทาน รักษาศีลเพียงอย่างเดียว จะไม่ค่อยคืบหน้าเท่าไหร่ แต่ถ้าเราทำทานแล้วรักษาศีลแล้วเราก็ภาวนาไปด้วย อย่างน้อยวันหนึ่งก็ต้องมีการนั่งสมาธิอยู่ ตอนเช้าบ้าง ก่อนนอนบ้าง เป็นจุดเริ่มต้น ในระหว่างวันเวลาทำงานทำการก็ให้เจริญสติควบคุมจิตใจให้อยู่กับปัจจุบัน อย่าปล่อยให้ใจลอยไปในอดีต หรือลอยไปในอนาคต เพราะใจจะสงบ ใจจะเป็นสมาธิได้ ใจจะต้องอยู่ในปัจจุบัน ถ้าใจอยู่ในปัจจุบัน เวลานั่งสมาธิกำหนดใจให้อยู่กับลมหายใจเข้าออก หรือบริกรรมพุทโธ ถ้าใจไม่ไปที่อื่นใจอยู่กับลมหายใจเข้าออก หรืออยู่กับการบริกรรมพุทโธๆ ไป ใจจะรวมเข้าสู่ความสงบได้ แล้วจะได้พบกับความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่าความสุขที่ได้รับจากลาภยศสรรเสริญ จากรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ แล้วจะทำให้มีกำลังใจที่จะปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น อยากจะนั่งสมาธิให้มากขึ้น ก็อยากจะนั่งหลายๆครั้ง ให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จากวันละ ๒ ครั้งก็เป็นวันละ ๓-๔ ครั้ง หรือวันไหนที่ไม่ต้องทำงาน ก็จะได้ปฏิบัติทั้งวัน จะไม่อยากจะไปทำอะไร เพราะไม่มีอะไรเหมือนกับความสุขที่ได้จากความสงบ

การภาวนานี้เป็นการปฏิบัติที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้การดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพานนี้คืบหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเพียงแต่ทำทานและรักษาศีล ๕ ไป อันนี้จะยังไม่สามารถที่จะไปถึงโลกุตรธรรมได้ ไปได้แค่ระดับสวรรค์ชั้นเทพเท่านั้น ถ้าทำบุญทำทานรักษาศีล ๕ ถ้าทำทานด้วย รักษาศีล ๘ แล้วก็ภาวนาด้วย ก็จะไปสู่ชั้นพรหมโลกได้ สมาธินี้เป็นเหตุที่จะทำให้จิตนั้นได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมโลก และถ้าอยากจะก้าวเข้าสู่อริยมรรค อริยผลก็จำเป็นที่จะต้องเจริญวิปัสสนาภาวนา ต่อจากสมถภาวนาคือการนั่งสมาธิทำใจให้สงบ พอออกจากสมาธิมา ใจเริ่มคิดปรุงแต่งก็อย่าปล่อยให้คิดไปทางโลก ทางความอยาก ทางกิเลสตัณหา ให้ใจดึงมาคิดในทางธรรม ให้คิดในสภาวธรรมทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา เราจะไม่สามารถที่จะสั่งหรือควบคุมบังคับให้สิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามความอยาก ตามความต้องการของเราได้เสมอไป เวลาที่อยากแล้วไม่ได้ก็จะต้องเสียใจต้องทุกข์ใจ ถ้าไม่อยากจะเสียใจไม่อยากจะทุกข์ใจ ก็ต้องยอมรับความจริงของสิ่งต่างๆ ว่าเขาก็เป็นอย่างนั้น จะไปอยากให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้นั้นย่อมไม่ได้เสมอไป อาจจะได้บางครั้งบางเวลา แต่จะให้ได้ทุกครั้งทุกเวลานี้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ถ้าสอนใจให้เห็นอย่างนี้ใจจะได้หยุดความอยากต่างๆได้

ถ้าหยุดความอยากต่างๆ ได้ก็จะบรรลุธรรมได้ เช่นถ้าจะหยุดความอยากไม่แก่ หยุดความอยากไม่เจ็บไข้ได้ป่วย หยุดความอยากไม่ตายได้ ใจก็จะไม่ต้องมาทุกข์กับความแก่ ความเจ็บ ความตายของร่างกาย ก็ได้เข้าสู่ขั้นของพระโสดาบันที่เห็นว่าสิ่งใดที่มีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดาย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา เช่นร่างกายเมื่อเกิดมาแล้วย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมมีความเจ็บได้ป่วยเป็นธรรมดา ย่อมมีความตายเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ความเจ็บความตายไปไม่ได้ ย่อมมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ล่วงพ้นจากการพลัดพรากจากกันไปไม่ได้ นี่คือสิ่งที่เราควรจะสอนใจอยู่เรื่อยๆ หลังจากที่ออกมาจากสมาธิแล้ว แล้วสอนไปจนกว่า จะเกิดความอยากที่จะหยุดพักก็กลับเข้าไปในสมาธิพักเอากำลัง เพราะการพิจารณาทางปัญญาก็ สามารถพิจารณาได้ในระยะในระดับหนึ่ง แล้วไม่นานกำลังของสมาธิก็จะหมด แล้วใจก็เริ่มโลเลไปคิดทางโลกแทน ถ้าเริ่มไปคิดทางโลกไปคิดทางความอยาก ให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็ควรที่จะหยุดพิจารณา เช่นพิจารณาร่างกายแล้วเกิดความกลัว กลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตายขึ้นมาก็หยุดพิจารณาไปก่อน แล้วก็กลับเข้าไปในสมาธิใหม่ เพื่อที่จะพักจิตและกดกิเลสตัณหาที่เป็นตัวสร้างความอยากต่างๆ ให้แก่ใจ เวลาเข้าไปพักในสมาธิจิตสงบ กิเลสตัณหา ก็จะอ่อนกำลังลงไป พอออกจากสมาธิมา ก็จะไม่ออกมาสร้างอารมณ์ที่ไม่ดี อารมณ์หดหู่ เวลาพิจารณาความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะเวลาที่พิจารณาเรื่องความเสื่อม ความดับของสิ่งต่างๆ

ปกติจิตที่ไม่มีสมาธินี้จะไม่ชอบพิจารณาจะกลัว เวลาคิดถึงความตายนี้จะกลัวมาก จะไม่อยากคิด ความกลัวนี้เกิดจากจิตที่ไม่มีความสงบที่ไปตัดกำลังของกิเลสตัณหาคือความอยากอยู่ไปนานๆ แต่ถ้าได้เข้าไปในสมาธิได้ไปพักจิต พักกำลังของกิเลสตัณหาคือตัดกำลังของกิเลสตัณหาให้อ่อนลง เวลาออกจากสมาธิมาแล้วมาพิจารณาความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็จะไม่มีกิเลสตัณหาออกมาสร้างอารมณ์หดหู่ ก็จะสามารถสอนใจให้จำไว้ได้นานๆ ต้องพิจารณาอยู่เรื่อยๆ จนไม่หลงไม่ลืม จนยอมรับความจริงได้ จนทุกครั้งที่คิดถึงความแก่ ความเจ็บ ความตายจะไม่รู้สึกหดหู่ จะรู้สึกว่าพร้อมที่จะแก่ พร้อมที่จะเจ็บ พร้อมที่จะตาย นี่คือการพิจารณาในขั้นต้น แต่ยังไม่ได้ถือว่าเป็นขั้นที่สำเร็จ จะสำเร็จก็ต่อเมื่อไปเจอข้อสอบเวลาที่เจอความแก่ เจอความเจ็บ เจอความตาย เวลานั้นแหละจะได้รู้ว่า ผ่านหรือไม่ผ่าน เช่นเวลาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วก็ไปหาหมอ หมอก็วิเคราะห์ว่า เป็นโรคร้ายที่จะรักษาไม่ได้แล้ว มีเวลาเหลืออยู่ไม่นาน เวลานั้นก็จะเป็นเวลาที่จะพิสูจน์ว่า ปัญญาที่ได้เจริญมา ได้เตรียมสร้างไว้มานี้จะมีกำลังที่จะดับความทุกข์ ความกลัวตายได้หรือไม่ ถ้าปัญญาที่เราพิจารณานี้ อยู่กับเราไปตลอดไม่หลงไม่ลืม พอเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นมา ปัญญาก็จะมาแสดงทันทีว่าเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเป็นธรรมดา ล้วงพ้นความแก่ ความเจ็บ ความตายไปไม่ได้

ถ้าอยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตายจะทุกข์ทรมาน แต่ถ้ายอมรับความจริง ยอมรับว่ามันถึงเวลาของร่างกายที่มันจะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายแล้ว ถ้ายอมรับได้ไม่ต่อต้าน ความทุกข์ใจก็จะไม่มี ก็จะรู้ว่าตอนนี้เราได้บรรลุขั้นนี้แล้ว ผ่านข้อสอบข้อนี้แล้ว นี่คือเรื่องของการเจริญวิปัสสนาหรือปัญญา ควรทำหลังจากที่ออกจากสมาธิแล้ว ขณะที่อยู่ในสมาธิไม่ใช่เป็นเวลาที่จะพิจารณา เพราะเป็นเวลาที่ต้องการพักจิตให้อยู่ในความสงบให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพราะความสงบนี้ จะเป็นผู้ที่กดหรือตัดกำลังของตัณหาความอยาก ไม่ให้มีกำลังมาก พอออกจากสมาธิมา กิเลสตัณหาก็จะได้ไม่มาพาใจไปคิดในทางให้ติดอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด ให้ติดอยู่กับการอยากอยู่ไปนานๆ อยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตาย

พอออกจากสมาธิมาแล้วมาพิจารณาความแก่ ความเจ็บ ความตายใจกลับไม่รู้สึกหดหู่แต่อย่างใด กลับมีความเห็นตามความเป็นจริงนั้นว่า ต้องเป็นอย่างนั้นจริงๆต้องยอมรับความจริงอันนี้ ถ้าไม่อยากจะทุกข์ นี่แหละเป็นการเจริญปัญญาต้องทำควบคู่กับการเข้าไปในสมาธิคือ สลับกันทำ พิจารณาปัญญาไป พอเริ่มเถลไถลเริ่มออกนอกลู่นอกทาง เริ่มไม่ยอมอยู่ในวงของไตรลักษณ์ของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ต้องหยุดพิจารณา แล้วพักจิตเข้าไปในความสงบ เพื่อตัดกำลังของกิเลสตัณหาให้อ่อนกำลังลงไป แล้วก็ให้กำลังให้ความสุขแก่ใจ เพื่อที่จะได้มีกำลังใจที่จะเจริญปัญญาต่อไป เวลาที่ออกมาจากสมาธิ ต้องพิจารณาอย่างนี้สลับกับการเข้าสมาธิไปจนกระทั่งไม่หลงไม่ลืม มีความรู้นี้อยู่ควบคู่ไปกับใจเสมอ เห็นร่างกายของใครก็จะเห็นว่าเกิดแก่เจ็บตาย เห็นร่างกายของผู้อื่นก็เกิดแก่เจ็บตาย เห็นร่างกายของเราก็เกิดแก่เจ็บตาย จนไม่หลงไม่ลืม จนเห็นชัดว่าทุกคนนี้เกิดมาแล้ว ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไป

แล้วก็ให้มาพิจารณาดูว่าร่างกายนี้ มันไม่มีตัวไม่มีตน มันเป็นเพียงอาการ ๓๒ ก็ให้ดูแยกอาการ ๓๒ ออกมากองไว้เป็นกองๆ เอาผมออกมาไว้กองหนึ่ง เอาขนออกมากองไว้กองหนึ่ง เอาเล็บแยกออกมา เอาฟันแยกออกมา เอาหนังเอาเนื้อเอาเอ็นเอากระดูกแยกออกมา เอาอวัยวะต่างๆแยกออกมาแล้วดูซิว่า ตรงไหนบ้างที่เป็นตัวเราของเรา ผมนี้เป็นเราเป็นของเราหรือเปล่า เล็บนี้เป็นของเราหรือเปล่า ฟันเป็นของเราหรือเปล่า เป็นตัวเราหรือเปล่า เล็บมันก็เป็นเล็บ ฟันมันก็เป็นฟัน ผมก็เป็นผม ขนก็เป็นขน เขาไม่มีตัวเราอยู่ในนั้น เราไปตู่เขาเองว่าเขาเป็นตัวเราของเรา แล้วเวลาร่างกายนี้ตายไป เขาไปไหน เขาก็กลับคืนสู่ดินน้ำลมไฟไป ร่างกายถ้าตายแล้วปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ น้ำก็จะต้องไหลออกมา ลมก็ระเหยออกมา ไฟก็หายไป ทิ้งไว้นานๆ ร่างกายก็จะแห้งกรอบไป แล้วต่อไปก็เปื่อยผุกลายเป็นดินไป สมัยนี้เราก็เอาเข้าเตาเผาเลย ตายแล้วเก็บไว้ ๓ วัน ๗ วัน แล้วก็เผา เผาน้ำที่อยู่ในร่างกายก็จะถูกไฟเผาระเหยไปหมด ลมที่อยู่ในร่างกายก็ออกไปหมด พอเผาเสร็จก็จะเหลือแต่ดินก็คือขี้เถ้ากับเศษกระดูกนี่เอง

นี่คือร่างกายของพวกเราทุกคนเป็นอย่างนี้ เป็นเพียงอาการ ๓๒ ที่ทำมาจากดินน้ำลมไฟ ดินน้ำลมไฟนี้เข้ามาทางร่างกายได้อย่างไร ก็ลมที่เราหายใจเข้าไปนี้ก็คือธาตุลม น้ำที่เรารับประทานนี้ก็คือธาตุน้ำ ข้าวที่เรารับประทานก็คือธาตุดิน และเมื่อเข้าไปรวมกันแล้วมันก็ทำให้เกิดธาตุไฟขึ้นมา ทำให้ร่างกายร้อนขึ้นมา สังเกตเวลาที่เรารับประทานอาหารกันเสร็จแล้วนี้ จะรู้สึกร้อนเพราะมีการผสมของธาตุทั้ง ๓ ให้ผลิตธาตุที่ ๔ ขึ้นมา คือธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุดินไปรวมกันในท้อง แล้วก็เริ่มมีการเกิดปฏิกิริยาทำให้เกิดความร้อนขึ้นมา เวลาที่เรารับประทานอาหารกัน เรามักจะเหงื่อแตกกัน เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปก็มีธาตุไฟอยู่ด้วย เพราะอาหารทุกอย่างต้องหุงต้ม เพราะการหุงต้มก็ใช้ไฟก็เป็นการเติมธาตุไฟเข้าไป นี่คือการมาของธาตุไฟเข้าไปสู่ในร่างกาย เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วมันก็ไปแปลงไปเป็นผม เป็นขนเป็นเล็บเป็นฟัน ผมจึงยาวงอกออกมาได้เรื่อยๆ เหมือนกับต้นไม้ที่เราปลูกที่มันโตขึ้นมาจากดินได้ ก็เพราะว่าเราเติมน้ำเข้าไปเรื่อยๆ พอเติมน้ำ น้ำไปผสมกับดิน มันก็ไปแปลงเป็นต้นไม้ขึ้นมา ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามขึ้นมา ฉันใดอาหารที่เรารับประทานเข้าไป น้ำที่เราดื่ม ลมหายใจที่เราหายใจเข้าไป มันก็ไปผสมกัน แล้วก็แปลงไปเป็นอวัยวะต่างๆ แปลงเป็นผม แปลงเป็นขน เป็นเล็บเป็นฟัน ทำให้ร่างกายนี้สามารถอยู่ต่อไปได้ แต่มันก็จะอยู่ได้ถึงขีดหนึ่ง แล้วมันก็จะหมดความสามารถที่จะอยู่ต่อไปได้ มันก็จะหยุดทำงาน หยุดหายใจ หยุดรับประทานอาหาร หยุดดื่มน้ำ พอไม่มีไฟไม่มีลมไม่มีน้ำไม่มีดิน เข้าไปในร่างกาย ดินน้ำลมไฟที่มีอยู่ในร่างกายมันก็แตกสามัคคีกัน อยู่ร่วมกันไม่ได้ มันก็แยกทางกันไป น้ำก็ไปทาง ดินก็ไปทาง ลมก็ไปทาง ไฟก็ไปทาง

นี่คือการพิจารณาเพื่อให้เห็นอนัตตาในร่างกาย เห็นว่าร่างกายนี้ไม่มีตัวเราของเรา เราเป็นผู้รู้ผู้คิดผู้ที่มาครอบครองร่างกายนี้เท่านั้น แต่เราไม่ได้เป็นร่างกายเหมือนกับเราเป็นคนขับรถ เราซื้อรถมา เราไม่ได้เป็นรถ เราเป็นคนขับรถ เราเป็นผู้สั่งให้รถวิ่งไปไหนมาไหน ถ้ารถไม่มีคนขับรถ รถก็จะไม่สามารถวิ่งไปไหนมาไหนได้ ถ้าร่างกายนี้ไม่มีใจ ผู้รู้ผู้คิดมาเป็นผู้ให้คำสั่ง ร่างกายนี้ก็จะไม่สามารถทำอะไรได้ ไปไหนมาไหนไม่ได้ นี่คือการพิจารณาเพื่อแยกใจออกจากร่างกาย เพื่อที่จะได้เห็นอย่างชัดเจนว่าร่างกายนี้ เป็นเพียงอาการ ๓๒ ที่ทำมาจากดินน้ำลมไฟเท่านั้น ไม่มีตัวเราหรือไม่มีตัวใครทั้งนั้นอยู่ในร่างกาย เช่นร่างกายของพ่อของแม่ก็ไม่มีพ่อไม่มีแม่อยู่ในร่างกายอันนั้น ร่างกายของสามีภรรยาของบุตรของธิดาของญาติสนิทมิตรสหาย ก็ไม่มีตัวเขาอยู่ในนั้น เป็นเพียงอาการ ๓๒

ผู้ที่สั่งให้ร่างกายนี้ทำอะไรนี้แหละ คือตัวพ่อตัวแม่ เช่นใจของพ่อใจของแม่ที่มาสั่งให้ร่างกายของพ่อของแม่ทำอะไรต่างๆ เวลาร่างกายของพ่อของแม่ตายไป ใจของพ่อใจของแม่ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย เพราะใจนี้ไม่มีวันตาย เมื่อไม่มีร่างกาย ใจของพ่อของแม่ของเราหรือของใครก็ตาม ถ้ายังมีความอยากที่จะใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุขต่างๆ ก็จะไปเกิดใหม่ ไปหาร่างกายอันใหม่

ดังนั้นจึงไม่มีใครตาย พ่อแม่ไม่ได้ตาย สามีภรรยาบุตรธิดาไม่ได้ตาย ญาติสนิทมิตรสหายไม่ได้ตาย สิ่งที่ตายไปก็คืออาการ ๓๒ คือดินน้ำลมไฟนี่เอง และก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครที่จะไปยับยั้งไปหักห้ามได้ ห้ามไม่ให้ร่างกายนี้ตายไม่ได้ ห้ามไม่ให้ร่างกายนี้สลาย บุบสลายกลับคืนสู่ดินน้ำลมไฟไปไม่ได้ การที่อยากไปให้เขาไม่ตายนี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา ทั้งๆที่ใจก็ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย แต่ใจกลับไปทุกข์แทนร่างกาย ร่างกายเขาไม่ทุกข์เลยเวลาที่เขาต้องตาย เพราะเขาไม่มีความรู้ เขาไม่รู้ว่าเขาเป็นร่างกาย เขาไม่รู้ว่าเขาเป็นหรือเขาตาย เขาเป็นดินน้ำลมไฟเป็นวัตถุ อย่างศาลาที่นั่งอยู่นี้เขาไม่รู้ว่าเขาเป็นศาลา ผู้ที่มานั่งอยู่ในศาลานี้เป็นผู้รู้ว่าเป็นศาลา แล้วถ้าไปหลงไปยึดไปติดว่า เป็นของตนก็จะเกิดความอยากให้ศาลานี้อยู่ไปเรื่อยๆ ไม่ชำรุด แต่ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะอยู่ไปคงเส้นคงวาเหมือนเดิมไปตลอด ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเสื่อมไปตามกาลตามเวลา และย่อมมีการสูญสลายหมดไปในที่สุด นี่คือเรื่องของการพิจารณาเรื่องของอนัตตา เรื่องของร่างกาย ถ้าเราพิจารณาอยู่เรื่อยๆแล้ว ความรู้นี้มันจะอยู่กับใจของเรา เวลาเราเห็นร่างกายของใคร เราจะได้แยกร่างกายกับใจของคนนั้นได้ว่า ร่างกายเป็นอย่างหนึ่ง ใจเป็นอีกอย่างหนึ่ง เวลาร่างกายของคนนั้นตายไป เราก็จะไม่เศร้าโศกเสียใจ ไม่วุ่นวายใจ เพราะเรารู้ว่าคนนั้นเขาไม่ได้ตายไปกับร่างกาย ใจของเขาไม่ได้ตายไปกับร่างกาย ใจของเขาก็ไปต่อจะไปแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับบุญกับบาปที่ได้ทำไว้ ถ้าได้ทำบุญไว้มากกว่าทำบาป ก็จะไปสูงไปสู่สุคติ ถ้าทำบาปไว้มากกว่าบุญ บาปก็จะดึงใจให้ไปสู่อบาย แล้วก็กลับมาเกิดใหม่ เป็นมนุษย์ใหม่ หลังจากที่ได้ไปใช้บาปใช้กรรมหรือหลังจากที่ได้ไปรับผลบุญ

เมื่อบุญที่เขาได้รับหมดแล้ว บาปกับบุญไม่มีกำลังที่จะดึงให้ไปอบายหรือไปสวรรค์ ใจก็จะกลับมาได้ร่างกายอันใหม่ ถ้ายังมีความอยากที่จะหาความสุขผ่านทางร่างกาย ถ้ายังมีกามตัณหา ก็จะกลับมาเกิดในกามภพ กามภพก็คือภพของผู้ที่เสพกามคือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะนี้ก็มี ๒ คือแบบหยาบและแบบละเอียด แบบหยาบก็ต้องมีร่างกาย คือร่างกายของมนุษย์หรือร่างกายของเดรัจฉาน ถ้าแบบละเอียดก็เป็นร่างกายของพวกกายทิพย์ เช่นเทวดาทั้งหลาย นี่คือเรื่องของใจที่มาใช้ร่างกายเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ การเจริญปัญญาก็เพื่อที่จะแยกใจออกจากกาย เพื่อจะได้รู้ว่า อะไรตาย อะไรไม่ตาย และเวลาสิ่งที่ตายไปจะได้ไม่ต้องไปเสียอกเสียใจเศร้าโศก เพราะว่าผู้ที่เราคิดว่าตายนั้นเขาไม่ได้ตาย คือใจของแต่ละดวงที่มาครอบครองร่างกายแต่ละร่างกายนี้ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย ถ้าเราคิดอย่างนี้แล้วเราก็จะไม่หวั่นไหวกับความตาย ไม่ว่าจะเป็นของใครก็ตามของคนอื่นเราก็ไม่หวั่นไหว ของเราเราก็ไม่หวั่นไหวเพราะเรารู้ว่าเราไม่ได้ตายไปกับร่างกาย เหมือนกับคนขับที่รู้ว่ารถยนต์นี้ไม่ได้เป็นคนขับ เวลาคนขับสูญเสียรถยนต์ไป คนขับก็ไม่เดือดร้อนอะไร ถ้าอยากจะซื้อรถใหม่ มีเงินซื้อก็ไปซื้อมาใหม่ ถ้าไม่มีก็รอไปก่อน รอไปจนกว่าจะมีเงินพอจะซื้อก็ซื้อมาใหม่ก็เท่านั้นเอง

ร่างกายนี้เป็นเหมือนกับรถยนต์ ใจเป็นเหมือนกับคนขับ ดังนั้นใจถ้าได้รับรู้ความจริงอันนี้ ได้มีปัญญาคอยสอนใจอยู่เรื่อยๆ ไม่ให้หลงไม่ให้ลืม เวลาร่างกายนี้เป็นอะไรไป ใจก็จะไม่เดือดร้อน ใจก็จะตั้งอยู่ในความสงบ ตั้งอยู่ในอุเบกขา อยู่ในสมาธิได้ ถ้ามีสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิก็จะทำใจให้สงบไม่ได้ ถึงแม้จะรู้ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเราของเขา แต่มันก็ยังทำใจไม่ได้ เพราะความอยากมันมีกำลังมากกว่าความนิ่ง ความเฉยของใจ เราจึงต้องฝึกสมาธิกันให้มากๆ เราจึงจะสามารถใช้ปัญญาสอนใจให้อยู่เฉยๆ ได้ ถ้าเรามีแต่ปัญญา แต่ไม่มีสมาธิ ถึงเวลาที่จะต้องทำใจมันทำใจไม่ได้ พวกเราทุกคนก็รู้ว่า เราเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายกัน เราก็รู้ว่าร่างกายมันก็เป็นเพียงดินน้ำลมไฟกัน แต่พอเราเจอความตายกัน ทำไมเราถึงต้องหวาดกลัวกัน ทำไมเราต้องวุ่นวายกัน นั่นก็เพราะว่าเรายังไม่สามารถทำใจให้สงบได้นั่นเอง

ดังนั้นก่อนที่เราจะใช้ปัญญามาสอนใจให้ปล่อยวางร่างกายได้อย่างไม่เดือดร้อนไม่วุ่นวาย เราจำเป็นต้องมีสมาธิก่อน เราจึงต้องเจริญสติให้มากๆไว้ก่อน เพื่อที่จะได้เข้าไปในสมาธิได้ แล้วก็ให้ฝึกให้ทำอย่างชำนาญจนสามารถเข้าออกได้ทุกเวลาที่ต้องการ เวลาใด ที่ต้องการทำใจให้นิ่งให้สงบ ก็สามารถสั่งให้สงบได้เลยโดยที่ไม่ต้องหลับตาก็ได้ โดยที่ไม่ต้องนั่งก็ได้ เช่นเวลาเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ก็สามารถสั่งใจให้สักแต่ว่ารู้ได้ ให้เฉยได้ ถ้ามีสมาธิ ถ้าเคยฝึกสมาธิมาแล้วก็รู้ด้วยปัญญาว่า สิ่งที่เดือดร้อนสิ่งที่จะต้องถูกทำลายนั้นไม่ใช่ตัวผู้รู้ ไม่ใช่ตัวจิต แต่เป็นตัวร่างกายที่เป็นเพียงดินน้ำลมไฟ เป็นเพียงอาการ ๓๒ ร่างกายนี้จึงไม่มีคำว่าสัตว์ ไม่มีคำว่าบุคคล ไม่มีหญิงไม่มีชาย คำว่าสัตว์บุคคลหญิงชายนี้ เป็นเพียงสมมุติที่ใจเราไปสมมุติไว้กับร่างกายต่างๆ เท่านั้นเอง

ความจริงของร่างกายนี้ก็เป็นเพียงดินน้ำลมไฟ เป็นเพียงอาการ ๓๒ เกิดแก่เจ็บตาย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเท่านั้นเอง นี่คือเรื่องของการพิจารณาร่างกายในส่วนที่เรียกว่าอนิจจัง คือต้องรู้ว่าร่างกายนี้ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไปเป็นธรรมดา รู้ในส่วนอนัตตาว่าเป็นเพียงอาการ ๓๒ เป็นเพียงดินน้ำลมไฟ ไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตนอยู่ในร่างกายนี้ ผู้ที่ได้สามารถพิจารณาได้อย่างนี้ ก็จะสามารถบรรลุธรรมขั้นแรกได้คือ ขั้นพระโสดาบัน และถ้าอยากจะบรรลุธรรมขั้นสูงต่อไป ก็ต้องพิจารณาอสุภะคือความไม่สวยไม่งามของร่างกาย เพราะการไม่เห็นอสุภะนี้จึงทำให้กามารมณ์ขึ้นมา

กามารมณ์ก็คือการอยากที่จะร่วมหลับนอนกับร่างกายของผู้อื่น อยากมีแฟน อยากมีสามี อยากมีภรรยา เพราะคิดว่ามีแล้วจะมีความสุข แต่มันเป็นความสุขที่ห่อความทุกข์เอาไว้ เป็นความสุขแบบยาขมเคลือบน้ำตาล เวลาได้เสพกามก็จะมีความสุข เวลาที่เกิดความอยากจะเสพกามแล้วไม่ได้เสพเวลานั้นก็จะมีความทุกข์ ถ้าไม่อยากจะต้องมีความทุกข์เกี่ยวกับเรื่องการเสพกาม ก็ต้องศึกษาดูส่วนที่ไม่สวยงามของร่างกาย ดูร่างกายที่เวลาตายไปแล้วดูน่ารักน่าร่วมหลับนอนด้วยหรือไม่ หรือดูอวัยวะต่างๆ ที่มีอยู่ภายใต้ของร่างกาย หรือดูกลิ่นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าดมของร่างกาย คือให้มองในส่วนที่มันทำให้ไม่อยากที่จะมีการเสพกามนั่นเอง ต้องพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เหมือนกับการพิจารณาอนิจจัง ความไม่เที่ยง เหมือนกับพิจารณาอนัตตา พิจารณาจนมันไม่หลงไม่ลืม มันจำติดตาติดใจได้ตลอดเวลา เวลาอยากจะเสพกามมันก็จะนึกถึงส่วนที่ไม่น่าดูไม่สวยไม่งามนี้ แล้วมันก็จะดับกามารมณ์ได้ ถ้าทำได้จนไม่มีกามารมณ์หลงเหลืออยู่ภายในใจก็จะได้ธรรมขั้นสูงขึ้นไป คือขั้นพระอนาคามี ขั้นพระสกิทาคามีก็อยู่ระหว่างกลางคือได้บ้างไม่ได้บ้าง ทำกามารมณ์ให้เบาบางลงไป แต่ยังทำไม่ได้หมด ถ้าทำได้หมดก็เรียกว่า เป็นขั้นของพระอนาคามีไป

แล้วต่อจากนั้นก็ไปทำขั้นของพระอรหันต์ต่อไป พระอรหันต์ท่านก็ยังมีความอยากเหมือนกัน แต่อยากในสิ่งที่ละเอียดกว่าร่างกาย ก็คือธัมมารมณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในใจนั่นเอง ก็ต้องพิจารณาให้เห็นว่าธัมมารมณ์นั้นก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน มีสุขก็มีทุกข์ มีเจริญก็มีเสื่อม อย่าไปยึดไปติดกับความสุขที่ได้จากธัมมารมณ์ เพราะเวลาธัมมารมณ์นั้นเสื่อมไป ความสุขนั้นก็หายไป ความทุกข์ก็จะกลับคืนมาได้ ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็ไม่ต้องไปยึดไปติดธัมมารมณ์ เหมือนกับไปไม่ยึดไปติดกับร่างกายนั่นเอง เพราะร่างกายก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธัมมารมณ์ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเหมือนกัน

ให้พิจารณาอย่างนี้ไปจนไม่มีความยึดติดกับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ข้างนอกหรือข้างใน ลาภยศสรรเสริญก็ไม่ยึดติด ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่ยึดติด ธัมมารมณ์ที่มีอยู่ภายในใจก็ไม่ยึดติด ปล่อยหมด ปล่อยให้เขาเป็นไปตามเรื่องของเขา เขาจะเจริญก็ปล่อยให้เขาเจริญไป เขาจะเสื่อมก็ปล่อยให้เขาเสื่อมไป แล้วจะไม่ทุกข์กับเขา เมื่อไม่มีความทุกข์หลงเหลืออยู่แล้ว ก็เป็นอันว่าหมดภารกิจในการบำเพ็ญ ในการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน

นี่คือผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อที่เราจะได้มีเวลามาปฏิบัติได้อย่างเต็มที่นั่นเอง.
   ธรรมะบนเขา วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2560 17:33:54 »



"ใจสงบแล้วเราจะมีความสุข เพราะไม่มีความสุขอื่นใดที่ดีกว่าความสุขที่เกิดจากความสงบ"
ธรรมะบนเขา - พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


"ศีล ๘ จะทำให้มีเวลามานั่งสมาธิ"

ถาม : รักษาศีล ๘ ส่งผลให้การนั่งสมาธิดีขึ้นจริงไหมคะ

พระอาจารย์ : จริง เพราะมันจะแก้ปัญหาหลายอย่าง หนึ่งมันจะได้มีเวลามานั่งกัน ถ้าไม่ถือศีล ๘ เดี๋ยวมันจะไปนั่งดูทีวี เดี๋ยวก็ไปกินเลี้ยง ไปงานไปท่องเที่ยวตามแหล่งบันเทิงต่างๆ มันก็จะไม่มีเวลามานั่ง ถ้ากินมากๆ มันก็ง่วง ไม่อยากจะนั่ง มันอยากจะนอน

 ฉะนั้น ถือศีล ๘ นี้ มันจะทำให้เรามีเวลา แทนที่จะไปนอนกับแฟน ก็นอนไม่ได้ ก็เอาเวลาที่จะนอนกับแฟน มานั่งสมาธิได้ ไม่ต้องเสียเวลามานั่งแต่งเนื้อแต่งตัว แต่งหน้าทาปาก ทำเผ้าทำผม เสร็จแล้วก็ออกไปเที่ยวกัน ไปเที่ยวแล้วกลับมาเหนื่อยก็นอน ก็จะไม่มีเวลามานั่งสมาธิกัน.


                    สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๐
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



"ไม่เข้าใจ”
ถาม :กระผมกราบเรียนถามครับ ตา หูจมูก ลิ้น เป็นทวารที่เกิดกิเลสและตันหาต่างๆ ผมเข้าใจว่า ตานี้เพียงแต่สักแต่เห็น หูสักแต่ได้ยิน แต่ทีนี้ใจนี่ ผมยังไม่เข้าใจครับ พระอาจารย์ช่วยชี้แนะให้ผมเข้าใจ แล้วนำไปปฏิบัติต่อไปครับ

พระอาจารย์ : ก็ใจมันไปปรุงแต่ง ไปคิดไปจำว่าเป็นของเราเป็นของเขา มันก็เลยเกิดอุปทาน เกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา ไม่ได้เห็นเฉยๆตามที่ตาเห็น ตามันเห็นเฉยๆ แต่ใจมันไม่ได้เห็นเฉยๆ ใจมันไปคิดว่าเป็นของเรา พอคิดว่าเป็นของเรามันก็หวง ห่วงขึ้นมา มันก็ทุกข์ขึ้นมา มันต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ ต้องเปลี่ยนว่ามันไม่ใช่ของเรา มันไม่เที่ยง ถ้าไปยึดไปติด ก็จะทำให้เราทุกข์ ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่

ถาม : เปลี่ยนความคิดใหม่ ถ้ามันยังไม่หาย ก็กลับไปนั่งสมาธิ ถูกต้องไหมครับ

พระอาจารย์ : ออใช่ ยังไม่มีกำลังที่จะทำให้มันหยุด ปล่อยวาง ก็ต้องกลับไปนั่งสมาธิ พอนั่งสมาธิสงบมันก็จะปล่อยวางได้ชั่วคราว พอออกมาก็สอนมันใหม่ สอนว่าไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง อย่าไปยึดไปติด เพราะเดี๋ยวมันจากเราไป มันจะทำให้เราทุกข์

ถาม : สาธุผมเข้าใจแล้ว และก็จะนำไปปฏิบัติต่อไปครับ

พระอาจารย์ : ดี สาธุ


                    ธรรมะบนเขา วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๐
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



“ กำลังของสติ”
จิตมันไม่แน่นอน สภาพของจิตใจมันไม่แน่นอน แล้วก็กำลังสติของเราก็ไม่แน่นอน บางวันถ้าเรามีสติดี ใจก็จะสงบง่าย บางวันถ้าสติไม่ดีก็จะสงบยาก จุดตัวสำคัญก็คือสติ กุญแจสำคัญในการฝึกสมาธิก็คือสติ ถ้าสติไม่ดี ก็เหมือนกับรถเบรคไม่ดี เบรคไม่ดีก็จะเบรคไม่ค่อยได้ผล แหกโค้งตกข้างถนนลงคู ชนกับรถคันนั้นรถคันนี้ แสดงว่าเบรคไม่ดี ถ้าเบรคไม่ดีมันก็เหมือนสติไม่ดี จิตก็ไม่ยอมหยุดคิด คิดเรื่องนั้นแล้วก็มาคิดเรื่องนี้ คิดไปคิดมาอยู่เรื่อยๆ ถ้ามีการคิดอยู่เรื่อยๆ มันจะไม่สงบ นั่งแล้วจะไม่ได้ผล แต่ไม่ใหม่อาจจะต้องทนหน่อยเพราะสติของเรายังเป็นเหมือนเด็กทารกอยู่ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่บางทีก็ไม่เผลอมากบางทีก็เผลอมากเราต้องฝึกสติก่อนที่มานั่งด้วยติ๋มจะดีจะช่วยได้มากถ้าเราฝึกสติอยู่ในชีวิตประจำวันของเราไม่ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ให้มีพุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่ในใจ ถ้าสิ่งที่เราทำไม่ต้องใช้ความคิด ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความคิดก็หยุดพุทโธไว้ก่อน แล้วก็มีสติอยู่กับความคิด อยู่กับงานที่เรากำลังทำอยู่ พอไม่ต้องคิดแล้วเราก็หยุดคิด ถ้ามันไม่ยอมหยุดคิดจะไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็ใช้พุทโธ หยุดมัน ถ้ามันไม่คิดมันรู้เฉยๆ ก็ไม่ต้องพุทโธ ถ้ารู้ว่ากำลังเดิน กำลังยืน กำลังนั่ง กำลังนอน กำลังทำอะไรอยู่ ก็ไม่ต้องใช้พุทโธก็ได้ ตราบใดที่มันไม่คิดมีแต่รู้

ใจเรานี้มีสองส่วน คือคิดกับรู้ การฝึกสมาธินี้เราต้องการหยุดความคิดให้เหลือแต่ตัวรู้ แล้วใจจะสงบ จะมีความสุข ถ้าเราอยู่กับตัวรู้ได้ ใจของเรานี้จะปลอดภัย แต่ถ้าเราไปอยู่กับความคิด ใจเราจะเดือดร้อนได้ เพราะความคิดของเรามันคิดไปได้ทั้งทางที่ดีหรือทางที่ไม่ดี ส่วนใหญ่มันจะคิดไปในทางที่ทำให้เราเดือดร้อนกัน คิดไปตามความอยากต่างๆ พอคิดไปตามความอยากใจก็จะร้อนขึ้นมา จะทำให้ดิ้นรน วุ่นวาย กระสับกระส่าย เพราะเวลาเกิดความอยากแล้ว ถ้ายังไม่ได้สิ่งที่อยากอยู่นี้ มันจะเฉยไม่ได้ มันต้องผลักดันตัวเองไปหาสิ่งที่อยากได้ ถ้าไม่ได้ก็เสียใจน้อยใจ โกรธ ถ้าได้ก็ดีใจเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็มีความอยากใหม่ขึ้นมาอีก ถ้าเราหยุดความคิดได้ ความอยากต่างๆ ก็จะหยุด เพราะว่าความอยากต้องมีความคิดเป็นตัวนำหน้า ถ้าไม่มีความคิดแล้วความอยากก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ ที่เรามาฝึกนั่งสมาธินี้ก็เพื่อหยุดความคิดหยุดความอยากแล้วใจของเราก็จะเป็นปกติสุขใจของเราใจเย็นจะสบายใจเราร้อนใจเราวุ่นวายก็เพราะความคิดของเราความอยากของเรานี้เองวิธีที่จะหยุดความคิดหยุดความอยากได้ก็ต้องใช้สติฝึกสติไปให้มากๆ อย่าฝึกสติเฉพาะตอนที่เรามานั่งสมาธิกัน ฝึกมันทั้งวันเลย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ถ้าเราไม่ต้องใช้ความคิดกับเรื่องอะไร ก็ให้มันอยู่กับพุทโธ หรือว่าให้มันอยู่กับงานที่เรากำลังทำอยู่ กำลังล้างหน้าแปรงฟันอาบน้ำ ให้มันอยู่กับการล้างหน้าแปรงฟันอาบน้ำ อย่าให้มันทำสองอย่าง ร่างกายอาบน้ำแต่ใจกลับกำลังไปคิดถึงว่าจะไปทำอะไรดีไปหาใครดี อย่างนี้ เรียกว่าไม่มีสติ มีสติต้องอยู่กับเรื่องเดียว อยู่กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น อยู่กับการทำงาน การเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย หรือไม่เช่นนั้นก็อยู่กับพุทโธ พุทโธไป ถ้าเราฝึกแบบนี้ไปได้เรื่อยๆ แล้ว เราจะมีสติ เวลานั่งสมาธิ ใจของเราจะสงบได้ ใจสงบแล้วเราจะมีความสุข เพราะไม่มีความสุขอื่นใดที่ดีกว่าความสุขที่เกิดจากความสงบ.


                    ธรรมะบนเขา วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๐
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



“ชาตินี้เป็นชาติที่วิเศษของพวกเรา”
ให้เราเห็นโทษของความอยากทั้ง ๓ และหยุดมันฝืนมันไม่ทำตามมัน ถ้าเราฝืนมันหยุดมันทุกครั้งที่มันอยาก เราก็ไม่ทำตามความอยาก ความอยากมันก็จะหมดกำลังไป และมันก็จะไม่มีวันที่จะโผล่ขึ้นมาใหม่ได้อีก มันก็จะไม่ดึงให้ใจเรากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่อีกต่อไป อันนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้มาประกาศพระธรรมคำสอน มามีพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ มีพระพุทธศาสนา พวกเราถึงจะสามารถที่จะกำจัดความอยากต่างๆ ที่เป็นเหตุที่ทำให้ใจของเรายังต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ได้ ชาตินี้จึงเป็นชาติวิเศษของพวกเรา ที่นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง โอกาสอย่างนี้นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง โอกาสที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์และได้มาพบกับพระพุทธศาสนา

จึงขอให้พวกเราพยายามปฏิบัติให้ถึงธรรมขั้นสูงสุดให้ได้เถิด คือนอกจากการทำบุญทำทานแล้วรักษาศีล ๕ แล้ว ก็ขอให้เรามาหัดรักษาศีล ๘ กัน รักษาศีล ๘ แล้วเราก็จะได้มีเวลามานั่งสมาธิทำใจให้สงบกัน ถ้าเรานั่งสมาธิทำใจให้สงบได้ ใจเราจะมีกำลังที่จะสู้กับความอยากได้ ลดตัณหาความอยากได้ หยุดความอยากได้ ถ้าเรามีปัญญาเห็นว่าการทำตามความอยากจะนำไปสู่ความทุกข์ นำไปสู่การเกิดแก่เจ็บตายอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ถ้าเราไม่อยากจะกลับมาเกิดมาแก่มาเจ็บมาตายอีกต่อไป เราก็หยุดความอยากทั้ง ๓ นี้เท่านั้นเอง หยุดกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นี่เป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนสามารถปฏิบัติได้ อย่าไปมองในขณะที่เราเริ่มต้นว่ามันยากเย็น อย่าไปมองธรรมที่สูงกว่าที่เราทำได้ ปฏิบัติธรรมที่อยู่ในความสามารถของเราไปก่อน เราทำทานได้ทำไปก่อน รักษาศีล ๕ รักษาได้รักษาไปก่อน แล้วค่อยขยับขึ้นไป ถ้ารักษาศีล ๕ ได้ ต่อไปก็จะขยับไปรักษาศีล ๘ ได้ ก็จะมีเวลามาฝึกมาทำสมาธิได้ พอทำสมาธิก็จะมีกำลังที่จะหยุดความอยากต่างๆ ได้ด้วยปัญญา

ดังนั้นขอให้พวกเราจงใช้โอกาสอันดีงามของภพนี้ชาตินี้ที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ได้มาเกิดมาพบกับพระพุทธศาสนา ให้พวกเรามาพัฒนาจิตใจของพวกเราแบบยั่งยืนกันดีกว่า หยุดการพัฒนาแบบชั่วคราวทางร่างกายกันเถิด เพราะมันเป็นการพัฒนาที่ไม่มีวันสิ้นสุด ที่จะต้องพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ตายไปแล้วก็ต้องกลับมาพัฒนาใหม่ กลับมาพัฒนาได้มากได้น้อย ตายไปก็หายไปหมด แล้วก็ต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ แต่ถ้าเรามาพัฒนาทางจิตใจ ทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พัฒนา เราก็จะได้ไม่ต้องกลับมาพัฒนากันซ้ำแล้วซ้ำอีก พัฒนาการหนเดียว พัฒนาจนจิตขึ้นสู่ขั้นที่ไม่มีวันเสื่อมอีกต่อไป นี่คือประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการที่ได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ และได้มาเกิดในพระพุทธศาสนา ขอย่าให้ปล่อยประโยชน์อันล้ำค่านี้หลุดจากมือของพวกเราไปโดยที่เราไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนเลย การแสดงก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ขออนุโมทนาให้พร.


                    ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๐
                    “การพัฒนาชีวิต”
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



ขอให้เราทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
ขอให้พวกเราพยายามเดินตามขั้นตามตอน ที่พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านสอนกัน อย่าไปฟังพวกที่ไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง พวกที่ศึกษาแล้วก็มาสอน พวกนี้มักจะสอนไปตามความอยากของกิเลสตัณหา กิเลสตัณหาไม่ชอบนั่งสมาธิ ไม่ชอบทำใจให้สงบ เขาก็จะสอนว่าไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิ ไม่ต้องทำใจให้สงบ เจริญปัญญาได้เลย ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วพระพุทธเจ้าจะสอนสัมมาสมาธิไว้ทำไม เราจะเชื่อใครดี เราจะเชื่อพระพุทธเจ้าเชื่อครูบาอาจารย์ หรือเราจะเชื่อพวกที่สอนว่าไม่ต้องเจริญสมาธิกัน อันนี้เป็นเรื่องที่เราต้องใคร่ครวญต้องพิจารณา หรือถ้าเราเชื่อพวกที่สอนไม่ให้นั่งสมาธิ แล้วเราดูการปฏิบัติของเราว่าเป็นอย่างไร ผลมันเป็นอย่างไร ตัดกิเลสตัณหาได้บ้างหรือยัง พวกที่ชอบใช้ปัญญาโดยที่ไม่ต้องนั่งสมาธินี้ ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ความจริงใครเขาพูดอะไรก็ไม่ปฏิเสธหรือไม่รับ ไม่ควรจะปฏิเสธหรือไม่รับ ควรที่จะนำเอาไปพิสูจน์ดู เขาบอกว่าไม่ต้องนั่งสมาธิ เจริญปัญญาได้เลย เราก็ลองไปเจริญปัญญาดู ลองไปพิจารณาไตรลักษณ์ดู สัพเพ ธัมมา อนัตตาดู ธรรมทั้งหลายไม่มีตัวไม่มีตน พิจารณาแล้วเราตัดกิเลสตัณหาได้หรือเปล่า แล้วเราลองไปทำตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน แบบที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง

อย่างหลวงตาตอนที่ไปศึกษากับหลวงปู่มั่น ครั้งแรกเลยที่หลวงปู่มั่นสอนหลวงตา ท่านก็สอนว่า ท่านมหาท่านเป็นผู้มีความรู้มากแล้ว ท่านเป็นมหา ๓ ประโยค ได้เรียนรู้ธรรมของพระพุทธเจ้ามาอย่างโชกโชน แต่ธรรมของพระพุทธเจ้าตอนนี้มันไม่เป็นประโยชน์ในการที่จะมาฆ่ากิเลสตัณหา มาดับความทุกข์ใจ ตอนนี้สิ่งที่ท่านควรจะทำก็คือทำใจให้สงบก่อน เตรียมภาชนะรองรับพระธรรมของพระพุทธเจ้าก่อน ตอนนี้ภาชนะของท่านนี้ ยังไม่พร้อมที่จะรองรับพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่สามารถเข้าไปถึงใจได้ เพราะใจไม่สงบ ใจไม่สงบใจไม่สามารถพิจารณาธรรมได้อย่างต่อเนื่อง ธรรมที่ได้ยินได้ศึกษาจากพระคัมภีร์นี้ เป็นสัญญาความจำ ไม่ใช่เป็นความจริง ก็คือศึกษาแล้วก็ท่องจำไว้ แล้วถ้าไม่ได้เอามาใช้เดี๋ยวก็ลืมได้ พอถึงเวลาจะใช้จริงๆ ก็ใช้ไม่ได้ นี่แหละคือสิ่งที่หลวงปู่มั่นสอนหลวงตา หลวงตาท่านเอามาเล่าให้ฟัง ตอนที่ท่านได้ไปขออยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นสอนเลยว่า ตอนนี้อย่าพึ่งเอาปัญญามาใช้ ตอนนี้มาทำใจให้สงบก่อน ทำใจให้สงบแล้วค่อยพิจารณา ธรรมทั้งหลายที่ได้ศึกษาที่ได้ยินได้ฟังมาแล้วมันจะเข้าไปสู่ในใจ มันจะเป็นอาวุธที่ไว้ต่อสู้กับกิเลสตัณหาได้ แต่ถ้าใจไม่สงบนี้ธรรมที่ได้ศึกษามานี้ยังไม่อยู่ในใจ ไม่สามารถที่จะไปฆ่ากิเลสตัณหาที่มีอยู่ภายในใจได้

ดังนั้นก็ขอให้ท่านทั้งหลาย จงพยายามศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า และพยายามปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อย่าข้ามขั้นตอน อย่าใจร้อน ปฏิบัติต้องใจเย็นๆ อย่าปฏิบัติด้วยความอยาก ปฏิบัติด้วยเหตุด้วยผล เหตุก็คือต้องทำอะไรก็ทำไป ส่วนผลนี้เดี๋ยวมันตามมาเอง ไม่ต้องไปอยากให้มันเกิด ถ้าอยากให้มันเกิดเร็วก็ให้เหตุมันเร็วให้เหตุมันมากไว้ สร้างเหตุให้มาก แล้วผลมันก็จะเกิดขึ้นมาเอง ดังนั้นก็ขอให้เราทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทำทาน รักษาศีล ศีล ๕ ศีล ๘ แล้วก็สมถภาวนา เจริญสติ นั่งสมาธิทำใจให้สงบ ออกจากความสงบก็เจริญวิปัสสนาเจริญปัญญา ก่อนจะเจริญปัญญาก็ขอให้จิตมันสงบ ให้มันมีความสงบแบบต่อเนื่อง คือสงบได้ทั้งวันก่อนยิ่งจะดีใหญ่ ตอนที่ยังไม่สงบอย่างต่อเนื่อง เวลาออกจากสมาธิมา ก็เจริญสติต่อ คอยรักษาใจรักษาความสงบไว้ แล้วพอนั่งได้ก็กลับไปนั่งใหม่ ให้จิตสงบใหม่ เอาเรื่องของสมาธินี้ให้มันแน่นก่อน ให้มันชำนาญก่อน พอสมาธิมันแน่นมันชำนาญแล้ว จนเหมือนกับว่าเริ่มติดสมาธิแล้ว ตอนนั้นค่อยมาออกทางวิปัสสนาออกทางปัญญาต่อไป แล้วการเจริญปัญญามันก็จะได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เวลาเหนื่อยหรือว่าเวลากำลังของความสงบหมด ก็หยุดพักเข้าไปในสมาธิสลับกันไป เบื้องต้นก็เอาสมาธิอย่างเดียวก่อน เอาให้มันชำนาญเอาให้มันแน่น เข้าได้ตลอดเวลาทุกเวลา แล้วก็อยู่ได้นาน แล้วค่อยออกมาทางปัญญา สลับกับการเข้าไปพักในสมาธิ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แล้ว ธรรมก็จะเข้าไปอยู่ในใจ แล้วก็จะเข้าไปทำลายกิเลสตัณหาที่อยู่ภายในใจให้หมดไปได้.


                    วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๗
                    (จุลธรรมนำใจ ๔๑)
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



เรื่องของธรรม
การฟังธรรมกับการแสดงธรรมก็ต้องอาศัยสถานที่สงบ ถ้ามีเสียงอึกทึกครึกโครม มันก็รบกวนทั้งผู้แสดงทั้งผู้ฟัง เพราะฟังธรรม แสดงธรรมก็ต้องมีใจที่สงบ ถ้าใจไม่สงบแล้ว มันสับสน แสดงด้วยเหตุด้วยผลไม่ได้ แทนที่จะเห็นเหตุผลรู้เหตุผล ต้องมีใจที่สงบ ถ้าใจไม่สงบมันจะมองไม่เห็นเหตุมองไม่เห็นผล

นี่พอเสียงเข้ามา มันก็ดึงใจไปจากเรื่องที่ว่ากำลังจะพูด เสียงมามันก็ดึงออกไป เดี๋ยวคนเดินเข้ามาอีก บางทีต้องปิดตาหลับตา แล้วไม่รับรู้ไม่เห็น เห็นแล้วใจมันไปแล้ว มันรับรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้ขึ้นมา มันก็เลยไม่ได้อยู่กับเรื่องที่กำลังพูดอยู่การฟังธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ เกิดอานิสงส์ เกิดผล ก็จำเป็นจะต้องฟังในที่ที่สงบ ถึงจะได้ผลเต็มร้อย ผลที่เกิดจากการฟังธรรมก็มีอยู่ห้าประการด้วยกันคือ หนึ่งจะได้ยินได้ฟังธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน สองธรรมที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาแล้วถ้าได้ฟังซ้ำอีกก็จะเกิดความเข้าใจดีขึ้นไปตามลำดับ สามจะกำจัดความลังเลสงสัยต่างๆ ความขัดข้องใจสิ่งที่ขัดข้องใจต่างๆให้หมดไปได้ สี่จะทำให้มีความเห็นที่ถูกต้อง ห้าจะทำให้จิตใจผ่องใส สงบ มีความสุข

ถ้าจะฟังให้ได้ผลนี่ ต้องนั่งเฉยๆ กายวาจาใจต้องสงบ นอกจากสถานที่ต้องสงบแล้ว กายวาจาใจของผู้ฟังก็ต้องสงบ กายก็คือร่างกายไม่เคลื่อนไหวนั่งเฉยๆ ไม่ทำอะไร วาจาก็ไม่พูดคุยกัน ใจก็ไม่คิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ คิดอยู่กับเสียงธรรม คิดอยู่กับเรื่องธรรมที่กำลังฟังอยู่ ถ้ามีกายวาจาใจที่สงบ ฟังแล้วก็จะได้ผลดี กายวาจาที่สงบก็เรียกว่าศีล คือตอนนี้ผู้ฟังได้เฉยๆ นี้ถือว่ามีศีลแล้ว ร่างกายไม่ได้ทำบาป ไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ได้ลักทรัพย์ ไม่ได้ประพฤติผิดประเวณี ไม่ได้พูดปด วาจาก็ไม่ได้พูดอะไร ไม่ได้ดื่มสุรายาเมา

มีกายวาจาที่สงบ เรียกว่าศีล ใจถ้าไม่ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ มีความตั้งใจที่จะฟังธรรม ก็เรียกว่ามีสมาธิใจตั้งมั่น คำว่าสมาธิก็คือใจที่ตั้งมั่นอยู่ในความสงบ ไม่คิดปรุงแต่ง ถ้าฟังธรรมด้วยศีลหรือสมาธิ ผลก็คือปัญญาก็จะเกิด ปัญญาก็คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง เห็นว่าบุญมีจริง บาปมีจริง ผลของบุญคือสวรรค์มีจริง ผลของบาปคือนรก อบายมีจริง ตายแล้วไม่สูญ ตายแล้วไปเกิดใหม่ ถ้าได้ปฏิบัติได้ชำระ ได้กำจัดกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจ ใจก็ไม่ต้องไปเกิดใหม่ ใจก็ไปสู่นิพพาน นี่คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง

โดยปกติแล้ว ถ้าไม่ได้ฟังเทศน์ฟังธรรม จะไม่รู้เรื่องบุญเรื่องบาป เรื่องผลของบุญผลของบาป ไม่รู้ว่าตายแล้วไม่สูญ ตายแล้วต้องไปรับผลบุญผลบาปต่อ ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดต่อถ้ายังมีกิเลสตัณหาอยู่ภายในใจ ถ้าชำระกิเลสตันหาให้หมดไปจากใจได้ ตายไปก็ไม่ต้องไปเกิด ไม่ต้องไปรับผลบุญผลบาป นี่คือความเห็นที่ถูกต้องที่จะได้จากการฟังเทศน์ฟังธรรม เพราะเวลาแสดงธรรมก็จะแสดงเรื่องราวเหล่านี้ เรื่องบุญเรื่องบาป อธิบายว่าบุญเป็นอย่างไรบาปเป็นอย่างไร ผลของบุญเป็นอย่างไรผลของบาปเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รับผลของบุญผลของบาป ใครไปเกิดใหม่ นี่คือเรื่องของธรรม ธรรมที่จะแสดงเรื่องของบุญของบาป เรื่องของผู้ไปรับผลบุญผลบาป เรื่องของผู้ไปเกิดแก่เจ็บตายใหม่ เรื่องของผู้ไปที่นิพพาน.


                    สนทนาธรรมบนเขา  วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



“ธรรม ๔ ประการ ของชีวิตคู่”

ถาม : กรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตคู่ต้องล้มเหลว เพราะผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย

พระอาจารย์ : ชีวิตคู่ล้มเหลวมันอยู่ที่คนสองคนนั่นแหละ มันไม่อยู่ที่ใครหรอก ถ้าคนสองคนมีความจริงใจต่อกัน ต่อให้ฟ้าดินถล่มมันก็ไม่เลิกกันหรอก แต่ถ้าไม่จริงใจต่อกันมีใครมายุมาแย่หน่อยเดี๋ยวก็เลิกกันได้ ฉะนั้นตัวการสำคัญนี้อยู่ที่ใจของคนทั้งสองคน พระพุทธเจ้าบอกว่าถ้ามีธรรม ๔ ประการแล้วจะอยู่ด้วยกันไปได้อย่างถาวร คือหนึ่งต้องมีจาคะ มีการเสียสละให้ต่อกันและกัน เอาใจกันและกัน ไม่ใช่เอาใจของตัวเอง จาคะ แล้วก็มีสัจจะมีความจริงใจมีความซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่ไปมีนอกใจไปมีคนอื่น แล้วก็มีขันติความอดทน เวลาเจอความทุกข์ยากลำบากต่างๆ ก็ฟันฝ่ากันไปอยู่ด้วยกันไปไม่ทอดทิ้งกัน แล้วก็มีธรรมะความอดกลั้น เวลามีอารมณ์ไม่ดีเวลาเห็นเขาทำอะไรไม่ถูกใจก็ต้องอดกลั้นไว้อย่าระบายออกมา ต้องมีความเมตตาสูงให้อภัยกัน ถ้าอย่างนี้แล้วต่อให้ใครมายุยงมาสั่งมาห้ามอะไรก็ไม่มีวันที่จะไม่วันให้สองคนนี้แยกกันได้

แต่ถ้าไม่มีธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ไม่ต้องมีใครมายุยงมาแหย่ไม่ต้องมีเหตุการณ์หรอก เดี๋ยวมันก็แยกกันไปเอง พอต่างคนต่างไม่เอาใจกันไม่เสียสละให้กันและกัน เดี๋ยวก็อยู่ด้วยกันไม่ได้แล้ว ต่างคนต่างจะเอาใจตัวเอง ก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ อยู่ด้วยกันมันต้องมีการเสียสละให้ต่อกันและกัน แบ่งรับแบ่งสู้กัน ให้เขาให้เรา เขาให้เราเราให้เขา ไม่ใช่เราจะเอาอย่างเดียว ถ้าเอาอย่างเดียวก็เดี๋ยวก็คนที่ให้เขาก็ให้ไม่ไหว เขาว่าไปดีกว่าอยู่แล้วขาดทุน อยู่ไปทำไม (หัวเราะ)

ถาม : อาจารย์ครับที่ว่าคู่สามีภรรยาที่จะอยู่ด้วยกันได้ต้องศีลเสมอกัน

พระอาจารย์ : ไม่หรอก ธรรมะเสมอกันเนี่ย เนี่ยธรรมะก็คือศีลเนี่ย สัจจะก็คือศีลเนี่ย ซื่อสัตย์ต่อกันไม่ประพฤติผิดประเวณี ไม่หลอกลวงกัน ไม่โกหกต่อกัน ก็ศีลไง ก็มีสัจจะ แต่ต้องมีนอกจากศีลแล้วต้องมีอย่างอื่น มีจาคะมีการเสียสละแบ่งปันกัน ไม่ใช่เอาแต่เอา เอาแต่ได้อย่างเดียว แล้วต้องมีความอดทนเพราะชีวิตเรามันเหมือนเดินทาง มีขึ้นมีลง เวลาขึ้นมันเหนื่อยใช่ไหม ก็ต้องช่วยกัน ดันกันไป ไม่ใช่พอเหนื่อยยากก็ทิ้งกันเลย แล้วก็ธรรมะก็อดกลั้น เพราะบางทีมีอารมณ์ไม่ดีก็อย่าระบายออกมา อารมณ์ไม่ดีก็เก็บไว้ ใช้พุทโธๆ หยุดมัน ระบายไปก็จะทำให้คู่ครองอยู่กับเราไม่ได้จะรำคาญไอ้นี่ขี้บ่นเหลือเกิน บ่นนู่นบนนี่จู้จี้จุกจิกงี้ พวกนี้ไม่มีธรรมะไม่มีความอดทนกลั้น อย่างนี้ก็จะทำให้อยู่ด้วยกันไม่ได้.

                     ธรรมะบนเขา   วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๐
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต





“หมั่นฟังเทศน์ฟังธรรมกันอยู่เรื่อยๆ”
เราสามารถที่จะฟังเทศน์ฟังธรรมศึกษาธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ตลอดเวลา ถ้าเราได้ศึกษาบ่อยๆ ศึกษามากๆ เราก็จะได้เข้าถึงเรื่องของบุญต่างๆ ที่เราจะต้องบำเพ็ญกันที่เราจะต้องปฏิบัติกัน ถ้าเราไม่ศึกษา นานๆ ฟังสักครั้งหนึ่งอ่านสักครั้งหนึ่งแล้วเราก็ไปทำภารกิจอื่นๆ ต่อ เดี๋ยวสิ่งที่เราได้ศึกษาได้ยินได้ฟังมันก็จะจางหายไปลืมไปได้ ดังนั้นถ้าเรามีหนังสือธรรมะดีๆ ของพระพุทธเจ้าก็ดี ของพระสาวกทั้งหลาย ของครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลายก็ขอให้เราหมั่นอ่านกัน อ่านฟังกัน ถ้าเป็นแผ่นซีดีถ้าเป็นเสียงก็หมั่นฟังกัน ถ้าเป็นหนังสือก็หมั่นอ่านกัน เพราะอ่านแล้วเราก็จะได้รู้ว่าเราต้องทำบุญอะไรบ้างนั่นเอง การฟังเทศน์ฟังธรรมนี้จึงถือว่าเป็นบุญที่สำคัญที่สุดในบรรดาบุญทั้งหลาย เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นของการไปทำบุญต่างๆ ได้ เหมือนกับการเดินทางนี้เราต้องมีแผนที่ เราต้องดูแผนที่กัน ต้องรู้ทางว่าเราจะไปทิศทางไหนกัน ถ้าเราไม่รู้ทางแล้วเราออกเดินทางเดี๋ยวก็ไปผิดทางได้หลงทางได้ แทนที่จะไปสวรรค์กลับไปอบาย แทนที่จะไปนิพพานกลับไปเวียนว่ายตายเกิดกันได้ การฟังธรรมนี้จึงมีคุณมีประโยชน์มากเป็นมงคลอย่างยิ่งแก่ชีวิต

การที่เราจะได้ประโยชน์จากการฟังเทศน์ฟังธรรมเราต้องฟังด้วยสติ ฟังด้วยกายวาจาใจที่สงบ บางท่านคิดว่าเปิดธรรมะไปฟังไปแล้วก็ทำอะไรควบคู่ไปด้วย ถ้าถามว่าเป็นประโยชน์ไหม ก็ตอบว่าเป็นแต่ว่าจะไม่ได้เต็มร้อย เพราะอะไร เพราะว่าใจนี้ไม่ได้อยู่กับการฟังธรรมตลอดเวลา เพราะกำลังทำอะไรอย่างอื่นด้วย ใจก็ต้องแบ่งไปอย่างละครึ่ง ฟังธรรมไปครึ่งหนึ่งกลับไปกลับมา ฟังธรรมปั๊บแล้วเดี๋ยวก็กลับมาดูงานที่กำลังทำอยู่ ทำกลับไปกลับมา ก็จะได้ธรรมเพียงครึ่งเดียวและอาจจะเป็นธรรมที่ไม่ต่อเนื่องทำให้ไม่ได้เกิดความเข้าอกเข้าใจ เพราะเรื่องของธรรมนี้เป็นเรื่องของเหตุของผลที่จะต้องฟังอย่างต่อเนื่องว่าทำอะไรอย่างไร แล้วได้ผลอะไรอย่างไร ถ้าฟังแต่เหตุแล้วไปทำอะไรระหว่างที่กำลังอธิบายเรื่องผล ก็จะไม่เข้าใจว่าทำไปแล้วจะได้อะไรจากการกระทำเหล่านี้ ทางที่ดีถ้าอยากจะฟังเทศน์ฟังธรรมควรจะฟังด้วยกายวาจาใจที่สงบ กายก็คือนั่งเฉยๆ ไม่ต้องเคลื่อนไหวไม่ต้องทำอะไร วาจาก็ไม่ต้องคุยกันอย่าคุยกัน ใจก็อย่าไปคิดเรื่องอื่นให้คิดอยู่กับเรื่องธรรมที่กำลังมาสัมผัสที่หูพิจารณาตามถ้าพิจารณาได้ ถ้าพิจารณาไม่ได้ก็ใช้เสียงทำกล่อมใจไป ก็จะได้ประโยชน์สองลักษณะด้วยกัน ถ้าพิจารณาตามก็จะได้ปัญญา ได้สัมมาทิฏฐิ ได้รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรดีอะไรชั่ว อะไรเป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์เกิดการเวียนว่ายตายเกิด อะไรเป็นเหตุที่ดับความทุกข์ดับการเวียนว่ายตายเกิด อันนี้เรียกว่าปัญญา

สัมมาทิฏฐิ พอเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรเราก็สามารถที่จะแยกแยะมันไป อันไหนไม่ดีเราก็โยนทิ้งไป อันไหนดีเราก็เก็บไว้ อันไหนที่เราควรที่จะรักษาเราก็รักษา อันไหนที่เราควรจะเจริญเราก็เจริญ เมื่อเรารู้แล้วเราทำในสิ่งที่รู้ที่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง พอทำแล้วเราก็จะได้ผลอย่างที่เราต้องการ ผลก็คือให้ใจของเรานี้เย็นสบายไม่วุ่นวายไม่เดือดร้อนไปกับเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเราโดยตรงหรือไม่เกี่ยวกับเราโดยตรง เช่นร่างกายของคนอื่นคนที่เรารักเราเป็นห่วงเป็นใย เวลาเขาเป็นอะไรก็ทำให้เราไม่สบายใจได้ หรือร่างกายของเราเองที่มันก็จะเริ่มมีวันเป็นไปในไม่ช้าก็เร็วมันก็ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วมันก็จะต้องตายไปในที่สุด ถ้าเรามีบุญที่เกิดจากการฟังเทศน์ฟังธรรมเราจะรู้จักวิธีที่จะปฏิบัติกับเหตุการณ์ต่างๆ ดังนั้นเราควรที่จะหมั่นฟังเทศน์ฟังธรรมกันอยู่เรื่อยๆ อย่าเกียจคร้าน ให้เห็นการฟังเทศน์ฟังธรรมนี้เป็นเหมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ได้อยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าเลย เพราะธรรมทั้งหมดนี้ก็มาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า และได้รับการบันทึกจดจำกันมา แล้วก็นำเอามาถ่ายทอดให้พวกเราได้ยินได้ฟังกัน.


                    ธรรมะบนเขา “บุญ”  วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๐                    
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กุมภาพันธ์ 2561 18:29:06 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2560 16:33:32 »



"เราต้องมีบารมีธรรม"

ชีวิตของพวกเราก็เป็นเหมือนเรือที่ลอยอยู่ในกลางทะเล ถ้าเราไม่มีพาย ไม่มีใบ ไม่มีหางเสือหรือไม่มีเครื่องยนต์ เรือมันก็ต้องไหลไปตามกระแสน้ำกระแสลม มันก็จะลอยอยู่ในทะเลไปเรื่อยๆ โอกาสที่มันจะไปขึ้นฝั่งนี้ก็คงจะยาก แต่ถ้าเรามีหางเสือ มีใบหรือมีพาย หรือมีเครื่องยนต์ไว้ควบคุมบังคับเรือ เรือมันก็สามารถที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางที่เราต้องการจะไปได้ เช่นขึ้นฝั่ง ถ้าเราต้องไปขึ้นฝั่งถ้าเราไม่มีอะไร เราลอยคออยู่กลางทะเล ไม่มีใบ ไม่มีหางเสือไม่มีพายก็ทำอะไร ก็ต้องปล่อยให้มันไหลไปตามกระแสลมกระแสน้ำ ลมก็พัดไปพัดมา น้ำมันก็พัดไปพัดมา โอกาสที่มันจะพัดขึ้นฝั่งนี้แทบจะไม่มี

ดังนั้นชีวิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่มีอะไรควบคุมจิตใจของเรา ปล่อยให้มันเป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด อยากจะทำอะไรก็ทำ ไม่อยากจะทำก็ไม่ทำ มันก็จะพาให้เราวนไปวนมาอยู่ในวัฏฏะแห่งการเวียนว่ายตายเกิด เพราะส่วนใหญ่ความอยากของเรา อารมณ์ของเรามันจะให้เราไปหาของที่มีอยู่ในกลางทะเล มันจะไม่พาให้เราไปขึ้นฝั่งนั่นเอง

ฝั่งที่พูดถึงนี้ก็คือพระนิพพาน การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด การที่เราจะเอาจิตใจของเราที่เป็นเหมือนเรือนี้ให้ไปสู่ฝั่งของพระนิพพานได้ เราก็ต้องมีเครื่องบังคับเรือ เช่นจะเป็นเครื่องยนต์ก็ได้ หรือเป็นใบ สมัยก่อนสมัยโบราณก็ใช้ใบใช้หางเสือหรือใช้พาย ก็สามารถที่จะควบคุมบังคับเรือให้ไปสู่ฝั่งได้ ถ้าจิตใจของพวกเราไม่ต้องการที่จะปล่อยให้มันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารไปเรื่อยๆ เราก็ต้องมีเครื่องมือ เครื่องมือนี้ก็คือธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญ เรียกว่า บารมี

บารมีนี้แหละที่ทำให้พระทัยของพระพุทธเจ้าได้ไปถึงพระนิพพาน ถ้าพวกเราอยากจะไปพระนิพพานเราก็ควรที่จะมาทำตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำคือเจริญบารมีทั้ง ๑๐ ประการ
.
ธรรมะบนเขา
วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๙
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



ใจต้องสงบ
การจะพิจารณาอย่างต่อเนื่องได้นี้ ใจต้องมีความสงบ เพราะเวลาใจมีความสงบ ใจจะไม่ถูกกิเลสตัณหาดึงไปใช้งานนั่นเอง เพราะกิเลสตัณหาได้ถูกสมาธิหรือความสงบนี้ตัดกำลังลงไป จนไม่มีกำลังมากพอที่จะดึงใจให้ไปคิดในทางของกิเลสตัณหาได้ ทำให้ใจนี้สามารถคิดในทางธรรมได้ คิดในทางปัญญาได้ นี่แหละคือสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าเรามีความสงบแล้วจิตรวมเเล้ว ถ้าจิตรวมแล้วนี้ การพิจารณาปัญญานี้จะสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

แต่ก็มีช่วงที่จะต้องหยุดพิจารณา เพราะกำลังหมด กำลังที่จะพิจารณาหมด กิเลสเริ่มออกมารบกวนใจ ความสงบที่ได้จากสมาธิก็จางหายไปได้ ถ้าเราพิจารณาธรรม ใช้ความคิดปรุงเเต่งไป ความสงบก็จะจางหายไปได้ พอความสงบจางหายไป กิเลสตัณหาก็จะมีกำลังเพิ่มมากขึ้น กิเลสตัณหาก็จะดึงเราไปคิดในทางของกิเลสตัณหา คิดไปในทางรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ คิดไปในทางลาภยศสรรเสริญ คิดไปในเรื่องนั้นเรื่องนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่ได้คิดอยู่ในเรื่องของไตรลักษณ์ ไม่ได้คิดอยู่ในเรื่องของอสุภะ และตอนนั้นเราก็ต้องกลับมาเจริญสมถภาวนาใหม่ ดึงใจให้กลับเข้าสู่ความสงบใหม่ ตัดกำลังของกิเลสตัณหาให้อ่อนลงไปใหม่

เหมือนกับเวลาที่หมอทำการผ่าตัดคนไข้ ก่อนที่จะผ่าตัดคนไข้ได้ หมอจะต้องวางยาสลบก่อน ให้คนไข้สลบไป เพราะถ้าคนไข้ไม่สลบ เวลาผ่านี้คนไข้จะดื้นเพราะมันเจ็บ ถ้าดิ้นแล้วหมอก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างสะดวก จึงต้องทำให้คนไข้สลบก่อน ด้วยการดมยาสลบ แล้วก็ต้องคอยควบคุมให้คนไข้นี้สลบอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะถ้ายาหมดสภาพไป คนไข้ก็จะฟื้นขึ้นมา พอฟื้นขึ้นมา ก็จะไม่สามารถผ่าตัดได้ต่อ ก็ต้องให้คนไข้สลบกลับไปใหม่ก่อน

ฉันใดการพิจารณาวิปัสสนา เจริญปัญญา ก็เหมือนกับการผ่าตัดให้แก่ใจนั่นเอง

ใจที่ยังมีกิเลสอยู่นี้ จะไม่ชอบพิจารณาไตรลักษณ์ จะไม่ชอบพิจารณาอสุภะ จะบังคับอย่างไรมันก็ไม่ชอบ เหมือนกับคนไข้ที่ไม่ยอมให้หมอทำการผ่าตัด ถ้ายังไม่สลบ ดังนั้น การที่จะพิจารณาไตรลักษณ์ พิจารณาอุสุภะได้อย่างต่อเนื่อง จำเป็นจะต้องมีใจที่สงบ ที่ไม่ดิ้น ไม่ต่อต้าน.

ธรรมะบนเขา
วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๗
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



“เรื่องของเหตุของผล”

ถาม : อยากทราบว่าการบนบาศาลกล่าวกับหลวงพ่อหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์องค์ต่างๆในทางธรรมถือว่าผิดหรือไม่ครับ เพราะมีคนใกล้ชิดบอกว่าเป็นเหมือนสัญญาต่างๆ ตอบแทน เราขอท่านให้ เมื่อผลสำเร็จแล้วก็ต้องตอบแทนกัน

พระอาจารย์ : คือมันไม่เป็นเหตุเป็นผล คือการบนบานนี้ไม่เหมือนกับการไปซื้อของที่ร้านเซเว่น ได้แน่ๆ อยากซื้อขนมก็เอาเงินให้เขาเขาก็ให้ขนมเรามา การไปบนบานขอโน่นขอนี่จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ นี้มันไม่มีเหตุมีผล หนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่รู้อยู่ที่ไหน สองเขามีอนุภาพไงถึงจะมาทำให้เราได้ในสิ่งที่เราอยากได้ มันไม่มีหรอก มีบางทีมันเป็นเรื่องบังเอิญ ไปบนแล้วมันก็ได้ แต่มันไม่ได้เพราะจากการบนหรอก มันได้เพราะมันมีเหตุปัจจัยที่ทำให้มันเกิดขึ้นมา มันก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเรื่องบนบานนี้เป็นเรื่องไร้สาระพูดง่ายๆ ไม่มีพื้นฐานของความเป็นจริงอยู่ เป็นเรื่องของเหตุบังเอิญ แต่ที่เรื่องเขาบอกว่าถ้าบนแล้วต้องไปใช้บนนี้ก็เพราะว่าให้เราเป็นคนมีสัจจะ เราไปสัญญากับใครว่าจะทำอะไรให้เขาแล้ว พอเขาทำให้เราแล้วเราไม่ไปทำให้เขานี้เราจะเสียสัจจะ เราจะเป็นคนโกหก จะเสียเครดิต แล้วเราจะหลอกตัวเราเอง เพราะต่อไปเราก็อาจจะตั้งสัจจะว่าเราจะทำโน่นทำนี่ พอเราได้ในสิ่งที่เราอยากได้แล้วเราก็ไม่ไปทำอย่างนี้ มันก็จะทำให้เราเป็นคนโกหกหลอกลวงไป เขาถึงบอกว่าถ้าไปบนอะไรแล้วต้องไปใช้บน ถ้าไม่อยากจะใช้บนก็อย่าไปบน แต่เรื่องบนนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของเหตุของผล เป็นเรื่องของไม่มีอะไรมายืนยันว่าบนแล้วจะได้สิ่งที่เราบนก็ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน แล้วสิ่งที่เราบนนี้เขาทำให้เราได้สิ่งที่เราบนได้อย่างไร มันไม่มีเหตุไม่มีผล อย่างนั้นก็ไม่ต้องทำอะไรสิ ไปบนกันทุกอย่าง อยากจะเป็นเศรษฐีก็ไปบนกัน เดี๋ยวก็รวยแล้วงี้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก.


สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต





“พิจารณาอยู่เนืองๆ"ถาม: กราบนมัสการครับ ถ้าหากเห็นโทษของความผูกพัน จะพิจารณาละวางหรือพิจารณาบ่อยๆอย่างไร ให้ละวางได้ครับ

พระอาจารย์: อ๋อ ก็ต้องคิดว่าเราต้องมีความพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ล่วงพ้นจากการพลัดพรากจากกันไปไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีอยู่นี้ เราจะต้องจากเขาไป ไม่จากเป็นก็จากตาย เรามาตัวเปล่าๆ แล้วเราต้องไปตัวเปล่าๆ ดูคนที่ไม่มีอะไรติดตัวไปได้ไหม ไม่มีใครเอาอะไรไปได้ นอกจากบุญกับบาปเท่านั้น ที่เอาไปได้ แต่ถ้าเป็นวัตถุ เป็นสิ่งของเป็นบุคคลนี้ เอาไปไม่ได้ ให้คิดอยู่เนืองๆ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาอยู่เนืองๆว่า เกิดมาแล้วต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ต้องพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ล่วงพ้นจากการพลัดพรากจากกันไปไม่ได้ ให้คิดอย่างนี้แล้วก็จะปล่อยวางได้.

                    ธรรมะบนเขา “พิจารณาอยู่เนืองๆ”  วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๑                    
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



“ทำใจให้มีความสุข”
วิธีแก้ปัญหาก็คือต้องมาทำใจให้มีความสุขเลิกใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข พอเราพุทโธเป็น ทำใจให้สงบเป็น ต่อไปเราก็ไม่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข เวลาร่างกายแก่แล้ว ก็ยังมีความสุขได้ ดูพวกหลวงปู่หลวงตาสิ ท่านอยู่ ๘๐-๙๐ ปีหน้าตาท่านยิ้มแย้มแจ่มใส ใจสงบนี้จะไม่เดือดร้อนกับความเจ็บของทางร่างกาย ร่างกายจะเจ็บมันก็ไม่มาทำลายความสุขของใจ ใจยังสุขยังสบายเหมือนกับไม่ได้เจ็บ

อันนี้แหละเป็นสิ่งที่เราต้องคิดกันนะ เพราะว่าต่อไปเราต้องแก่กัน ต้องเจ็บต้องตายกันแล้วจะแก่จะเจ็บจะตายแบบทุกข์หรือแบบสุขดี ถ้าอยากจะแก่เจ็บตายแบบสุข ก็ต้องมาหัดทำความสุขทางใจกัน มาฝึกทำใจให้มีความสุขกัน เผื่อเราจะได้ไม่ต้องอาศัยร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุขต่อไป แล้วเราจะไม่กังวลต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่กังวลกับความแก่ ไม่กังวลกับความตาย พวกเรานี้ตอนนี้ยังไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย แต่ใจก็กังวลกันแล้ว เวลาเห็นคนแก่ทีก็ไม่สบายใจ เห็นคนเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่สบายใจ เห็นคนตายก็ไม่สบายใจ ทั้งๆ ที่ตัวเองยังไม่แก่ ยังไม่เจ็บไม่ตายก็กังวล แล้ววิตกกังวลหวาดกลัวต่างๆ นาๆ แทนที่จะมีความสุข กลับไม่มีความสุข ทั้งๆ ที่มีร่างกายที่ยังสมบูรณ์แข็งแรงอยู่ แต่ถ้าเรามาทำใจให้สงบได้นี้ เราจะไม่กังวลกับความแก่ความเจ็บความตาย แก่ก็แก่ไปซิ เจ็บก็เจ็บไป ตายก็ตายไป เพราะเราไม่ต้องอาศัยร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุขให้กับเรา เรามีพุทโธเป็นเครื่องมือหาความสุข และเราต้องการความสุขเราก็พุทโธ พุทโธ พุทโธไป เดี๋ยวไม่นาน ห้านาทีสิบนาทีใจก็สงบ มีความสุขได้

พยายามทำไปเถิด นี่ของดีของวิเศษจริงๆ นะ ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะดีกว่าสติ สติคือพุทโธ นี่เวลาเราท่องพุทโธ นี่เป็นเวลาที่เรากำลังสร้างสติขึ้นมา สติเป็นตัวที่จะทำให้ใจเรานิ่งทำใจให้เราหยุดคิดได้ ถ้าเราไม่มีสติ มันจะไม่หยุดคิด มันจะคิด พอคิดแล้วมันก็จะอยาก มันจะโลภแล้วก็จะโกรธ เวลาโลภเวลาอยากได้อะไรแล้วไม่ได้ ก็โกรธ อันนั้นแหละทำให้ใจวุ่นวายไปหมด พอโกรธก็ต้องไปทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่นแล้วเดี๋ยวก็ต้องถูกเขาทำร้ายกลับ ตีกันไปตีกันมา เพราะควบคุมใจไม่ได้ ควบคุมความคิดไม่ได้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ถ้ามีสติแล้ว จะควบคุมอารมณ์ต่างๆ ได้ อารมณ์โลภโกรธหลงจะไม่เกิด อารมณ์ดีใจเสียใจจะไม่เกิด อารมณ์วุ่นวายใจ เดือดเนื้อร้อนใจ เศร้าสร้อยหงอยเหงาอะไรต่างๆ นี้ จะไม่เกิด ถ้ามีสติคอยควบคุมความคิดไว้ ถ้ามีพุทโธ พุทโธอยู่ไปเรื่อยๆ มันจะไปคิดเรื่องที่จะไปทำให้มันโกรธไม่ได้ ไปคิดในเรื่องที่ไปทำให้มันโลภมันอยากไม่ได้ พุทโธไป พุทโธจะกดอารมณ์ต่างๆ ไว้

อันนี้ก็เป็นขั้นต้น การใช้พุทโธนี้ เวลาเราใช้จิตก็จะสงบ จะมีความสุข เวลาเราไม่ใช้ ถ้าปล่อยให้คิดเดี๋ยวก็เกิดความอยากขึ้นมาได้ พอเกิดความอยากมันก็ทำให้เรามีอารมณ์เสียได้ หงุดหงิดรำคาญใจขึ้นมาได้ สตินี้ไม่สามารถขจัดความอยากได้ ถ้าอยากจะกำจัดความอยากนี้ พระพุทธเจ้าบอกต้องใช้ปัญญา ปัญญาคืออะไร คือความรู้ว่าความอยากนี้เป็นตัวที่เราไม่ควรที่จะไปส่งเสริม ไม่ควรไปทำตาม เพราะทำแล้วมันจะไม่หมด ทำแล้วมันจะอยากไปเรื่อยๆ แล้วจะอยากมากขึ้นไปเรื่อยๆ ได้คืบก็อยากจะได้ศอก ได้ศอกก็อยากจะได้วา แล้วพอไม่ได้ก็จะเสียใจ หรือถ้าได้มาแล้วเสียไปก็จะเสียใจ แล้วถ้าตายไปความอยากมันก็จะพาเราไปเกิดใหม่ นี่คือปัญญา.


                    ธรรมะบนเขา “ทำใจให้มีความสุข”  วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๑                    
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต





“ให้อยู่กับพุทโธไป”
ความสุขของพระพุทธเจ้านี้ง่ายมาก เพียงแต่ให้คิดคำว่าพุทโธพุทโธคำเดียว ให้อยู่คนเดียวไม่ให้ไปยุ่งกับใคร ให้อยู่เฉยๆ ให้นั่งอยู่เฉยๆ พอจิตสงบแล้วก็จะได้ความสุขที่ดีกว่า แล้วพอเราได้ครั้งหนึ่งแล้วเราก็จะได้ไปเรื่อยๆ ทุกครั้งไป มันจะยากครั้งแรกเท่านั้นแหละ กว่าจะได้ครั้งแรกนี้มันเหนื่อย เพราะมันยังทำไม่เป็นยังไม่รู้จักวิธีทำให้มันสงบ เพราะเวลาพุทโธได้สองคำเดี๋ยวก็เผลอไปคิดแล้ว ไปคิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้มันก็เลยนั่งแล้วไม่สงบ

แต่ถ้าเราสามารถควบคุมใจให้อยู่กับพุทโธพุทโธพุทโธไปได้ ไม่ให้คิดอะไร บางทีห้านาทีสิบนาที นี้มันก็สงบแล้ว แต่ถ้าพุทโธสองคำแล้วก็ไปคิดนี้ นั่งไปชั่วโมงมันก็ไม่สงบ พุทโธได้สองคำก็ไปคิด คิดไปห้านาทีสิบนาทีถึงรู้ว่าไม่ได้พุทโธ อ้าว กลับมาพุทโธสองสามคำ อ้าวไปอีกแล้ว นั่งแบบนี้มันเลยไม่เคยสงบ พอไม่สงบมันก็เลยหมดกำลังใจ ท้อแท้เบื่อหน่าย ก็เลยไปหาความสุขที่เคยหาดีกว่า ไปดื่มกาแฟดีกว่า ไปกินขนมดีกว่า ไปดูภาพยนต์ดีกว่า ไปดูละครดีกว่า ไปทำอะไรที่เราเคยทำกัน แต่มันเป็นความสุขเดี๋ยวเดียว ทำเสร็จแล้วก็หมดไป เดี๋ยวก็ต้องทำใหม่ แล้วถ้าเกิดทำไม่ได้ก็จะทุกข์อีก ถ้าเวลาร่างกายไม่สบายก็ทำไม่ได้ หรือเวลาจะดูละครไฟดับก็ดูไม่ได้ หรือจะไปเที่ยวไม่มีเงินไปเที่ยวก็ไปไม่ได้ นี่มันก็จะกลายเป็นความทุกข์ขึ้นมา

ดังนั้นสู้มาทนทุกข์กับการท่องพุทโธดีกว่า บริกรรมพุทโธไปเรื่อยๆ นั่งเฉยๆ มันจะรู้สึกอึดอัดก็ช่างหัวมัน อย่าไปสนใจ ใจมันปรุงแต่งขึ้นมา สร้างอารมณ์ไม่ดีให้เราเท่านั้นเอง สร้างให้เรารู้สึกอึดอัด ดังนั้นเวลานั่งพุทโธ เรานี่อึดอัดไหม แต่ถ้านั่งดูหนังนี้อึดอัดหรือเปล่า นั่งเหมือนกัน แต่ถ้านั่งดูหนังดูละครนี้นั่งดูได้เป็นชั่วโมงไม่อึดอัด พอให้นั่งอยู่กับพุทโธพุทโธไม่กี่คำนี้อึดอัดขึ้นมาแล้ว เพราะใจมันต่อต้าน มันไม่ชอบ มันไม่ชอบนั่งอยู่เฉยๆ มันชอบมีอะไรไปทำอยู่เรื่อยๆ มีอะไรดู มีอะไรฟัง มีอะไรกินมีอะไรดื่ม มันชอบอย่างนั้น พอไม่ให้มันดูมันฟัง ไม่ให้มันกินไม่ให้มันดื่ม มันก็เกิดอาการอึดอัดขึ้นมา หรือเกิดอาการว้าเหว่ เศร้าสร้อย หงอยเหงา ขึ้นมา

เราต้องพยายามอย่าไปสนใจ พยายามอยู่กับคำว่าพุทโธไป บริกรรมพุทโธไป พุทโธพุทโธพุทโธไป ให้อยู่กับพุทโธไปสักพักใหญ่ๆ เดี๋ยวมันจะหายเอง อาการต่างๆ มันจะหาย แล้วใจจะเย็น จะเบา จะสบาย จะมีความสุข.


                    ธรรมะบนเขา “ให้อยู่กับพุทโธไป”  วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๑                    
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



“ดับความทุกข์ที่ถาวร”
การได้ฟังธรรมตามกาลตามเวลาเป็นมงคลอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าสอนให้เราสร้างสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สร้างปัญญาขึ้นมาด้วยการฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ฟังก็ได้ศึกษา คือ อ่านหนังสือก็ได้ ดูวิดีโอก็ได้สมัยนี้ ทางธรรมะนี้สามารถศึกษาได้หลายทาง ไม่เหมือนสมัยโบราณ สมัยพระพุทธกาลนี้จะฟังเทศน์ฟังธรรมได้นี้ ก็ต้องไปวัดเท่านั้น เพราะที่วัดจะมีพระแสดงธรรมให้ฟัง จะไปวัดได้ก็ต้องหยุดการทำงาน เหมือนสมัยพุทธกาลจึงมีการฟังธรรมตามวันพระตามวันเวลาตามการตามเวลา ก็คือวันหยุดทำงานของญาติโยมที่ตรงกับวันพระนี่เอง วันพระจึงเป็นวันฟังธรรม วันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ไปสร้างสัมมาทิฏฐิ สร้างสัมมาสังกัปโป สร้างสัมมาวายาโม คือ ความเพียรชอบ เพียรศึกษาก่อน เมื่อได้ศึกษาแล้วก็ให้เพียรปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพียรสร้างสัมมากัมมันโต สัมมาวายาโม สัมมาวาจา โดยการรักษาศีล ๕ รักษาศีล ๘ เช่น ในวันพระญาติโยมนอกจากการไปฟังเทศน์ฟังธรรมเพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโปแล้ว ก็ยังเพียรปฏิบัติเพื่อให้เกิดสัมมากัมมันโต สัมมาวาจา สัมมาอาชีโว ถ้าทำอาชีพที่ไม่ถูกต้องก็เลิกเสียถ้าเลิกได้ ถ้ายังเลิกไม่ได้ก็ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะต้องเลิกให้ได้ กำหนดเวลาให้มีเวลาที่จะเปลี่ยนอาชีพเพื่อจะได้มีสัมมาอาชีพโว รักษาศีลเพื่อจะได้มีสัมมากัมมันโต สัมมาวาจา รักษาศีล ๕ ในเบื้องต้น พอรักษาศีล ๕ ได้แล้ว ก็มาเพิ่มเป็นการรักษาศีล ๘ เพราะการรักษาศีล ๘ นี้จะทำให้เกิดการมีความเพียรพยายามที่จะละตัณหาความอยาก ที่ทำให้ต้องกลับมาเกิดมาแก่มาเจ็บมาตายกันอยู่เรื่อยๆ ศีล ๘ นี้จะช่วยละตัณหาความอยาก คือ กามตัณหาได้ เช่น ศีลข้อที่ ๓ ก็จะเปลี่ยนเป็นการร่วมหลับนอนกับคู่ครอง ไปเป็นการไม่ร่วมหลับนอนกับใคร ไม่หาความสุขทางการเสพกามเสพความสุขทางร่างกาย เพราะไม่ใช่เป็นวิธีดับความทุกข์ที่แท้จริง เอาเวลาที่จะดับความทุกข์ที่แท้จริงนี้มาเจริญสติ มาเจริญสัมมาสติ ซึ่งเป็นมรรคองค์ที่ ๗ ถ้ามีการเจริญสัมมาสติแล้วจะทำให้สามารถทำให้เกิดมรรคที่ ๘ ขึ้นมาได้ ก็คือสัมมาสมาธิ สัมมาสติ สัมมาสมาธินี้จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีการรักษาศีล ๘ ขึ้นไป ถ้ารักษาศีล ๕ นี้จะไม่มีกำลังพอ เพราะจะไม่มีข้อห้ามไม่ให้ไปหาความสุขทางร่างกายได้นั่นเอง ผู้ที่ถือศีล ๕ นี้ยังไปหาความสุขทางร่างกายได้ อย่างร่วมหลับนอนกับคู่ครองของตนได้ แต่ห้ามไม่ให้หลับนอนกับผู้ที่ไม่ได้เป็นคู่ครองของตน ถ้าเป็นคู่ครองของตนก็ร่วมหลับนอนได้ นี่คือศีลข้อที่ ๓ ของศีล ๕ แต่ถ้าต้องการดับความทุกข์อย่างถูกต้อง ก็ต้องไม่ใช้การหาความสุขทางร่างกายมาดับเป็นการดับชั่วคราว การได้ร่วมหลับนอนกับคู่ครองนี้ก็จะทำให้เกิดความสุขขึ้นมาแล้วก็จะทำให้ความทุกข์ที่มีอยู่หายไปชั่วคราว แต่เดี๋ยวความทุกข์นั้นก็จะกลับขึ้นมาใหม่ เพราะต้นเหตุของความทุกข์ไม่ได้ถูกดับไปด้วยการร่วมหลับนอนกันนั่นเอง ต้นเหตุของความทุกข์ก็คือกามตัณหา ภวตันหา และวิภวตัณหา นี้จะดับได้ก็ต่อเมื่อเรามาถือศีล ๘ กัน มาละเว้น มาไม่กระทำตามความอยาก ความอยากจะดับได้นั้นก็ต้องดับด้วยการไม่กระทำตามความอยาก ถ้าไปทำตามความอยากแล้ว ความอยากนั้นจะไม่มีวันดับไม่มีวันหมด ดังนั้นถ้าอยากจะดับความทุกข์อย่างถาวรก็ต้องมาดับด้วยการถือศีล ๘ แล้วก็มาเจริญสัมมาสติ มาเจริญสัมมาสมาธิ.

                    ธรรมะบนเขา “ดับความทุกข์ที่ถาวร”  วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๑                    
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต





“ความสุขที่เป็นของเรา”
ความสุขที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่ข้าวของหรืออยู่ที่ร่างกาย แต่อยู่ที่ใจ ใจไม่ต้องมีข้าวของไม่ต้องมีร่างกาย ใจมีสติ มีปัญญา มีธรรมมะ ใจก็จะมีความสุข และเป็นความสุขที่ดีกว่าความสุขที่ได้จากข้าวของเงินทองอะไรต่างๆ นี่ถ้ายังมีร่างกายอยู่มันก็จำเป็นจะต้องมีข้าวของบ้างไว้สำหรับดูแลร่างกาย ก็ให้มีเท่าที่จำเป็น ไม่ให้มีมาก มีมากก็เป็นภาระมาก มีความกังวลมาก ให้เอาเวลามาสร้างความสุขทางใจ นี่เป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขทั้งปวง สิ่งต่างๆ ในโลกนี้จะวิเศษขนาดไหน จะให้ความสุขเราขนาดไหนก็ตาม สู้ความสุขที่ได้จากการที่เรามาปฏิบัติธรรมไม่ได้ มาปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบได้ จะได้ความสุขที่ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะสู้ได้ แล้วเป็นความสุขที่เป็นของเราไปตลอดด้วย จะอยู่กับใจไปตลอด แต่ความสุขต่างๆในโลกนี้ มันจะอยู่กับเราไม่นาน มันมาแล้วเดี๋ยวบางทีมันก็หมด เงินมาเดี๋ยวใช้ปั๊บเดี๋ยวก็หมด พอหมดความสุขที่ได้จากเงินก็หมดไป ความทุกข์ก็เข้ามา พอไม่มีเงินใช้ก็เดือดร้อน ความสุขที่ได้จากแฟนก็เหมือนกัน เดี๋ยวก็ต้องหมดไป เดี๋ยวแฟนก็ต้องแก่เจ็บตายไป หรือไม่เช่นนั้นแฟนเขาก็ไปมีแฟนใหม่ พอเขาไปเราก็ ความสุขที่ได้จากเขาก็หมดไป แต่ความสุขที่เราได้จากการปฎิบัติธรรมนี้ไม่หมด เพราะเราปฏิบัติได้ตลอดเวลา เวลาร่างกายไม่สบาย นอนอยู่ในเตียงก็ยังปฏิบัติได้ ถ้าเรารู้จักวิธีทำใจให้มีความสุขแล้ว เราทำได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกสภาพของร่างกาย แม้แต่ไม่มีร่างกาย ก็ยังมีความสุขอยู่ ความสุขนี้ไม่ได้หมดไปกับร่างกาย เพราะความสุขนี้ไม่ได้ใช้ร่างกายเป็นตัวผลิต ตัวที่จะผลิตความสุขอันนี้คือ ธรรมะของพระพุทธเจ้า คือสตินี่ พุทโธพุทโธไปนี่แหละ ถ้าพุทโธได้ สามารถทำใจให้สงบแล้วก็ จะมีความสุข พุทโธนี้มีประโยชน์มีคุณค่ามากกว่าข้าวของเงินทองต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้.
            
        ธรรมะบนเขา “ความสุขที่เป็นของเรา”  วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๑                    
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



“ของที่ถวายให้กับพระ”

ถาม : ที่ผมพยายามจะใส่บาตร แต่ที่คอนโดมีข้อห้ามไม่ให้ทำกับข้าวในห้อง ของที่ใส่บาตรส่วนใหญ่ก็เป็นของแห้ง เช่น หมูหยอง นมกล่อง อานิสงค์นี้จะต่างจากการใส่กับข้าวหรือไม่ครับ ถ้ามูลค่าของเท่าๆ กัน

พระอาจารย์ : อ๋อไม่ต่างหรอก ถ้าของถวายแล้วพระฉันได้ในวันนั้น ถ้าจะใส่บาตรน่ะ ถ้าของถวายแล้วพระฉันไม่ได้ เช่น เนื้อดิบหรือว่าผักดิบ ยังไม่ได้มีการผสมมีการปรุงมีการกระทำให้เป็นอาหาร พระเอาไปฉันไม่ได้มันก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่บุญก็ยังได้อยู่ เพียงแต่ว่าพระท่านก็รับกรรมไปเท่านั้นเอง ได้ของแต่ของเอาไปกินไม่ได้ อย่างหลวงปู่มั่นท่านเคยเล่าให้ฟังว่าท่านบิณฑบาตกับชาวเขา แล้วชาวเขาบางทีเขาทำปลาร้าดิบใส่บาตร ทีนี้อาหารของพระต้องเป็นอาหารที่สุขแล้ว ปลาร้าดิบนี้ก็ถือว่ายังไม่สุก ต้องสุกด้วยไฟ แต่ท่านก็ไม่บอกเขาเพราะว่าเป็นพระบอกไม่ได้ ท่านก็เลยกินข้าวเปล่าไป ฉันข้าวเปล่าไป เพราะว่ามันเป็นของดิบ ของดิบฉันไม่ได้ หรือของเมาอย่างพวกข้าวเมาข้าวอะไรนะข้าวหมากก็ไม่ได้ มันก็เป็นมันมีสุราล่ะ เขาหมักแล้วมันกลายเป็นสุราขึ้นมา ถวายพระพระก็ฉันไม่ได้ หรืออาหารที่ไม่สุกเต็มที่ ไข่ดาวที่เป็นเหลวๆ อยู่ยังไม่แข็งนี้ก็ไม่ได้ เนื้อที่ยังมีเลือดซิบๆ อยู่นี้ก็ยังถือว่าเป็นของดิบอยู่ ฉะนั้นจะทำของที่ถวายให้กับพระนี้ต้องเป็นของสุกแล้ว พระถึงจะฉันได้ พระรับได้แต่บอกโยมไม่ได้เท่านั้นเอง บอกได้ก็ต่อเมื่อมีคนถามอย่างนี้ถึงจะบอกได้ ถ้าไม่ถามก็บอกไม่ได้เดี๋ยวหาว่าจู้จี้จุกจิก อยากจะกินนู่นกินนี่เดี๋ยวไปใส่ให้มัน (หัวเราะ).


                    ธรรมะบนเขา “ความสุขที่เป็นของเรา”  วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๑                    
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต




“ฐานของจิต”
จุดยืนของใจหรือฐานของจิต เราต้องดึงจิตเข้าไปที่ฐาน ถ้าจิตยืนอยู่บนฐานแล้ว จิตจะมีความมั่นคง มีความหนักแน่น ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหวกับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะที่ใจมาสัมผัสรับรู้ เท่านี้เอง นี่คือเคล็ดลับของชีวิต เคล็ดลับของความสุขใจ อยู่ตรงนี้แหละ ดึงใจให้มันไปอยู่ตรงจุดนั้นให้ได้ ตรงจุดที่เป็นอุเบกขาสักแต่ว่ารู้ แล้วเวลาอะไรมากระทบนี้มันจะสักแต่ว่ารู้แค่นั้นเอง มันจะไม่ดีใจไม่เสียใจ ไม่วิตกไม่กังวลไม่ห่วงใย ใจของเราตอนนี้มันถูกกิเลสตัณหาโมหะอวิชชาหลอกให้ออกจากจุดนั้น หลอกให้เรามาอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรส แล้วก็ไปดีใจเสียใจกับรูปเสียงกลิ่นรสกัน เราต้องดึงใจเราให้กลับไปอยู่ที่ฐานอยู่ที่อุเบกขา แล้วเวลารับรู้รูปเสียงกลิ่นรสแล้วก็จะไม่เดือดร้อน ไม่วุ่นวาย ไม่หนักอกหนักใจ

สิ่งที่จะดึงใจให้เราไปที่ฐานได้ไปที่อุเบกขาได้ นั่นก็คือสติและปัญญา ขั้นต้นนี้ใช้สติ เพราะสตินี้เป็นธรรมที่ง่ายกว่าปัญญา สตินี้เพียงแต่ระลึกรู้อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ให้จิตไปคิดเรื่องอื่น มันก็จะเข้าสู่อุเบกขาได้ เช่นอยู่กับกรรมฐานใดกรรมฐานหนึ่ง กรรมฐานมีอยู่ ๔๐ ชนิด อนุสติก็มีอยู่ ๑๐ ชนิดด้วยกัน เช่นพุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า จะระลึกโดยวิธีเจริญบทพุทธคุณก็ได้ ท่องอิติปิโสฯ ไปภายในใจ ท่องอยู่เรื่อยๆ อย่าปล่อยให้ใจคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ หรือจะใช้คำบริกรรมพุทโธพุทโธไปก็ได้ พุทโธพุทโธไปอย่าปล่อยให้ใจคิด ถ้าใจไม่คิดก็หยุดพุทโธก็ได้ ถ้าใจไม่คิดใจรู้เฉยๆ ก็หยุดพุทโธ แต่ถ้าใจคิดเราก็ต้องพุทโธพุทโธจนกว่ามันจะหยุดคิด ถ้ามันหยุดคิดเราก็หยุดพุทโธได้ นี่อนุสติก็มีอยู่ ๑๐ พุทธานุสติ ธรรมมานุสติก็บทธรรมคุณหรือบริกรรมสังโฆ สังโฆสังฆานุสติก็ระลึกถึงพระสังฆคุณ หรือสังโฆสังโฆไป เทวานุสติ หลับตา เราก็ดูลมหายใจเข้าออกไป แต่ถ้าเราไม่ได้นั่งเฉยๆ เราก็ใช้พุทธานุสติ เช่นเราเดินหรือทำอะไรอยู่ แล้วใจมันยังคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ เราก็ใช้พุทธานุสติหรือบริกรรมพุทโธพุทโธ ดึงใจให้หยุดคิด ให้กลับมาอยู่กับเรื่องที่เรากำลังทำอยู่ อยู่กับงานที่เรากำลังทำอยู่ นี่เป็นวิธีเจริญสติ พุทธานุสติก็ได้ หรือกายคตาสติก็ได้ กายคตาสติก็ให้ดูร่างกาย ดูร่างกายก็ดูได้สองแบบ ดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตอนนี้ร่างกายกำลังทำอะไรอยู่ ก็ให้อยู่กับการกระทำของร่างกายเพียงอย่างเดียวไม่ให้ใจไปคิดถึงเรื่องอื่น กำลังเดินก็ให้อยู่กับการเดิน กำลังรับประทานก็ให้อยู่กับการรับประทาน กำลังดื่มก็ให้อยู่กับการดื่ม ไม่ว่าร่างกายทำอะไรก็ให้ใจเราดูร่างกายเพียงอย่างเดียว อย่าปล่อยให้ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ เรียกว่ากายคตาสติ กายคตาสติอีกแบบหนึ่งก็ให้ดูอาการ ๓๒ ของร่างกาย.

                    สนทนาธรรมบนเขา  วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๐                  
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต





ความสุขที่แท้จริงคือความสงบของใจ
ความสุขอยู่ที่ไหนรู้ไหม นั่นน่ะสิแล้วไปหาอย่างอื่นทำไม ทำไมไม่หาใจ ความสุขอยู่ที่ใจ แต่ไปหาที่เงิน หารูปเสียงกลิ่นรส ไปหาที่ลาภยศสรรเสริญ ที่นั่นเป็นความทุกข์ เพราะได้มาแล้วต้องทุกข์กับมัน ได้อะไรมาก็ต้องทุกข์ เพราะว่าสิ่งที่เราได้มามันไม่แน่นอน มันสามารถที่จะจากเราไปได้ทุกเวลานาที พอจากไปเราก็ทุกข์กัน แต่เราไม่รู้กันเราไม่คิดกัน เราคิดแต่ว่ามีแล้วมันสุข แต่ไม่คิดถึงตอนเวลาไม่มี เวลาไม่มีมันทุกข์ แทนที่จะหาความสุขกันเราก็เลยหาความทุกข์กัน เพราะขาดปัญญา มองไม่เห็นไตรลักษณ์ มองไม่เห็นของทุกอย่างที่เราคิดว่าเป็นสุขนั้นมันไม่เที่ยง มันไม่แน่นอน มันไม่ถาวร มันเป็นของชั่วคราว เราควบคุมบังคับเขาไม่ได้ สั่งให้เขาเป็นของเราอยู่กับเราไปตลอดไม่ได้ ต้องมีเวลาใดเวลาหนึ่งที่จะต้องมีการพลัดพรากจากกัน

อันนี้เป็นเรื่องของโมหะความหลง หรืออวิชชาความไม่รู้ เหมือนเด็กไม่รู้ว่าไฟมันร้อน พ่อแม่จึงต้องคอยห้ามใช่ไหม หนูอย่าไปเล่นกับไฟ แต่ห้ามยังไงมันก็ห้ามไม่อยู่ พอเผลอเดี๋ยวก็ไปเล่นกับไฟ พอเล่นแล้วถึงจะรู้ว่ามันร้อน แต่ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันร้อนมันก็ยังอดที่จะอยากจะเล่นไม่ได้ เพราะมันติดมาเป็นนิสัย พวกเราอาจจะรู้ว่าลาภยศสรรเสริญ รูปเสียงกลิ่นรสนี้มันเป็นทุกข์ แต่เราก็อดไม่ได้ เพราะมันเป็นเหมือนยาเสพติด คนติดยาเสพติดเขาก็รู้ว่ามันไม่ดี แต่มันก็อดไม่ได้ที่จะเสพ เพราะว่าเวลาไม่ได้เสพมันทรมาน ก็เลยต้องหาเสพ เสพแล้วก็ติด เวลาไม่ได้เสพก็ทรมาน แต่ก็ต้องเสพ เพราะไม่อยากจะทรมาน มันติดแล้วเลิกไม่ได้ พวกเราทุกคนที่มาเกิดในโลกนี้เป็นพวกติดยาเสพติดทั้งนั้นแหละ ติดลาภยศสรรเสริญ ติดรูปเสียงกลิ่นรสต่างๆ ทุกวันนี้ตั้งแต่ตื่นมาจนหลับนี้ใจเราจะคิดอยู่กับการหาลาภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายอยู่ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถของการเคลื่อนไหวถ้าจะว่าได้ เคลื่อนไหวเพื่อไปหาสิ่งเหล่านี้ หาลาภหายศหาสรรเสริญ หารูปเสียงกลิ่นรส เวลาหาไม่ได้หรือเวลาสูญเสียไปก็เศร้าโศกเสียใจ ทุกข์ทรมานใจ

เราไม่รู้ว่าความสุขมันอยู่ตรงไหนกัน เราจึงต้องมาอาศัยผู้ที่รู้ “พุทโธ คือ ผู้รู้” พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ รู้ว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหน แล้วก็มาสอนผู้ที่ศึกษาเชื่อศรัทธาปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ก็ได้พบความสุขที่แท้จริง ก็กลายเป็นพระสาวกขึ้นมา พระอรหันตสาวกนี้ก็ไม่ได้มาจากใครที่ไหน มาจากพวกเรานี้แหละ พวกที่หลงพวกที่ไม่รู้ว่าความสุขอยู่ที่ไหน พอได้มาพบกับพระพุทธเจ้าก็ดี พบกับพระธรรมคำสอนก็ดี พบกับพระอริยสงฆ์สาวกก็ดี ก็เกิดหูตาสว่างขึ้นมา เห็นทุกข์ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ลาภยศสรรเสริญ รูปเสียงกลิ่นรสนี้มันเป็นทุกข์ แล้วก็เห็นวิธีที่จะให้เราได้เข้าหาความสุขที่แท้จริง ความสุขที่แท้จริงก็คือ ความสงบของใจ.


                    สนทนาธรรมบนเขา  วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กุมภาพันธ์ 2561 18:22:43 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 27 มกราคม 2561 19:14:35 »




จิตสงบก็อิ่มขึ้นมา
กินข้าววันละมื้อก็อยู่ได้ แต่ใจไม่อยู่ ที่เรากินกันหลายมื้อไม่ใช่เพราะร่างกายมันหิว ใจมันหิว พอใจหิวก็เลยให้กินข้าวกินอาหาร ทั้งๆที่ ร่างกายมันบอกพอแล้ว อ้วนแล้ว หมอสั่งให้หยุดกินแล้ว แต่ใจมันหิว ก็เลยไปเลี้ยงร่างกายที่ไม่หิว ร่างกายก็เลยอ้วนเอาอ้วนเอา ใจก็ยังผอมอยู่ เพราะใจไม่ได้อาหารของใจ อาหารของใจคืออะไร ก็คือธรรมะนี่ ความสงบ ดังนั้นเวลาหิวอย่าไปกิน ถ้าวันนี้กินแล้ว กินมื้อเดียวนี้พอแล้ว ถ้าหิวก็ต้องไปทำใจให้สงบ ไปนั่งสมาธิพุทโธพุทโธ นี่พอใจสงบแล้วจะหายหิว แล้วต่อไปร่างกายจะไม่อ้วน ไม่ต้องไปฟิตเนส ไม่ต้องไปออกกำลังกาย ไม่ต้องไปอะไร เพราะเราไม่กินมากเกินไป

ทุกวันนี้เรากินมากเกินไป คนหิวไม่ใช่ร่างกาย ไปป้อนผิดคน ให้อาหารผิดคน ใจหิวแต่ไปให้อาหารที่ร่างกาย ใจมันก็ยังหิวอยู่นั่นแหละ กินได้ชั่วโมงเดียวก็หิวอีกแล้ว ถ้าจะหิวก็ต้องให้อาหารใจ ให้สมาธิ ให้ความสงบ ให้พุทโธ ให้สติ พอมีสติพุทโธพุทโธไม่ให้คิดอะไร เดี๋ยวจิตสงบ ก็อิ่มขึ้นมา แล้วก็จะไม่หิวข้าว นี่พวกที่เขาปฏิบัติธรรมพวกที่เขามาอยู่ที่นี่ บนเขานี้ กินมื้อเดียวทั้งนั้น เวลาหิวข้าวก็ไปนั่งสมาธิกัน ที่นี่ไม่มีอาหารให้กิน ข้างบนนี้ไม่มีเก็บอาหารไว้ให้ หิวก็ต้องนั่งสมาธิทั้งนั้นแหละ เพราะที่หิวไม่ใช่ร่างกายหิว ใจหิว บางคนนี้บางองค์นี้ไม่กินสามสี่วันก็มี พอเวลาหิวก็นั่งสมาธิ ก็เลยไม่ต้องกินข้าว กินสมาธิแทน เพราะผู้ที่หิวนี้ไม่ใช่ร่างกาย ผู้ที่หิวนี้คือใจ ร่างกายยังมีเสบียง นี่เก็บไว้กินได้หลายวัน มีไขมัน มีอะไรอยู่ในร่างกายเรา นี่ไม่กินข้าวเจ็ดวันก็ไม่ตาย เชื่อไหม พวกเรานี้ดีเสียอีกไม่กินเจ็ดวัน น้ำหนักจะลดไปอย่างน้อยก็เจ็ดกิโลแล้ว อยากจะลดน้ำหนักไหม ถ้าอยากจะลดลองมาอยู่ในที่แบบนี้ดู แล้วก็อย่าไปกินข้าว ดื่มแต่น้ำแล้วก็นั่งสมาธิไป เวลาหิวก็นั่งสมาธิไป พุทโธพุทโธไป เดี๋ยวพอจิตนิ่งสงบ มันก็ลืมคิดถึงเรื่องอาหาร มันก็หายหิว มันอิ่มมันก็สงบขึ้นมา พอมันหิวอีกก็พุทโธพุทโธขึ้นไปอีก นี่คือวิธีลดน้ำหนักได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว วันละกิโลนี้รับประกันได้ ถ้าไม่กินนี้ วันหนึ่งนี้ กิโลหนึ่งลดไปได้แน่นอน ไม่กินเจ็ดวัน ลดไปเจ็ดกิโลแล้ว สบาย.


                    สนทนาธรรมบนเขา  วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๑
                    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



ที่พึ่งถาวร
ถ้าเราไม่ประมาท เรารีบสร้างที่พึ่งให้กับเราเอง สร้างที่พึ่งในใจเรา ปฏิบัติสร้างธรรมะสร้างความสงบให้กับใจ พอใจสงบเราก็มีที่พึ่ง คนอื่นจะเป็นอะไรเราก็ไม่เดือดร้อน ใจเราก็จะไม่หวั่นไหว ฉะนั้นตอนนี้มีบทเรียนว่าครูบาอาจารย์ท่านจะจากเราไปแล้ว แต่เดี๋ยวบางทีก็ลืม พออาจารย์องนี้ตายไปก็ไปหาอาจารย์องค์ใหม่ แล้วก็ไปเกาะอาจารย์องค์ใหม่ แล้วก็ไม่เคยคิดว่าไปเกาะอาจารย์เพื่ออะไร

ความจริงการไปมีอาจารย์ก็เพื่อจะได้ไปศึกษาคำสอนของท่าน ท่านก็สอนให้เราปฏิบัติ สอนให้เราสร้างที่พึ่งให้กับตัวเราเอง เพราะอาจารย์เดี๋ยวก็ต้องแก่เจ็บตาย ตั้งแต่องค์แรกคือพระพุทธเจ้าท่านก็ต้องแก่เจ็บตาย ท่านก็สอนให้เราปฏิบัติ สร้างที่พึ่ง สร้างมรรคขึ้นมา สร้างสติสร้างปัญญา ถ้าเรามีที่พึ่งมีสติมีปัญญา ใจเราจะไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เมื่อไม่ต้องพึ่งผู้อื่นเวลาผู้อื่นเขาเป็นอะไรไปเราก็ไม่เดือดร้อน แต่ถ้าเรายังพึ่งตัวเราไม่ได้ เรามัวแต่ไปพึ่งผู้อื่นที่เขาจะต้องมีวันจากเราไป พอเขาจากเราไปเราก็หวั่นไหว เพราะเราจะไม่มีที่พึ่ง เราหวั่นไหวเพราะเรากลัวว่าต่อไปท่านไปแล้วเราจะไม่มีที่พึ่ง นี่คือความประมาทของลูกศิษย์ลูกหาที่เข้าหาครูบาอาจารย์แต่ไม่ได้เข้าหาเพื่อปฏิบัติ เข้าหาเพื่อเกาะท่าน ได้ยินได้ฟังธรรมของท่านตอนนั้นก็เหมือนกับมีธรรม ฟังธรรมแล้วใจก็มีความสุข รู้สึกว่ามีปัญญา แต่มันเป็นปัญญาแบบชั่วคราว เวลาฟังก็เข้าใจ พอหยุดฟังก็หายไปลืมไป พอมีเหตุการณ์อะไรมากระทบใจก็หวั่นไหวขึ้น เพราะว่าปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรมนี้มันเสื่อมได้ ฟังแล้วเดี๋ยวก็ลืม

ฉะนั้นต้องเอาปัญญาที่เราฟังนี้มาพิจารณาอยู่เรื่อยๆ คิดอยู่เรื่อยๆ ว่าอนิจจาไม่เที่ยง ของต่างๆ ในโลกนี้ไม่เที่ยง ครูบาอาจารย์ที่เราพึ่งพาอาศัยท่านก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวท่านก็ต้องจากเราไป ร่างกายของเราก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวเราก็ต้องจากโลกนี้ไป เราต้องมาสร้างธรรมที่เที่ยง ถ้ามีธรรมแล้วเราจะอาศัยธรรมนี้เป็นที่พึ่งปกป้องรักษาใจของเราได้ ธรรมที่เราต้องมีก็คือสมาธิกับปัญญา ที่เราไม่มีกัน ถ้าเรามีสมาธิมีปัญญาแล้วใจของเราจะไม่หวั่นไหวกับเหตุการณ์ต่างๆ อะไรจะเกิดอะไรจะดับนี้ใจเราไม่เดือดร้อน เพราะใจเรามีที่พึ่งมีความสุขในตัวเอง ไม่ต้องหาความสุขจากผู้อื่น ไม่ต้องหาความสุขจากการไปฟังเทศน์ฟังธรรมกับครูบาอาจารย์ ไม่ต้องหาความสุขจากการไปทำบุญกับครูบาอาจารย์ เราสามารถมีความสุขได้ด้วยตัวเราเอง ด้วยธรรมของเรา

เหมือนกับครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านก็เป็นเหมือนเรามาก่อน เมื่อก่อนท่านก็อยู่ของท่านไม่มีที่พึ่งท่านก็ไปหาครูบาอาจารย์ ไปแล้วท่านก็ไปศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงแต่ไปอยู่แล้วก็ไปฟังแต่ไม่สร้างที่พึ่งขึ้นมา การฟังนี้เป็นเพียงส่วนแรก ต้องฟังเพื่อให้รู้ว่าเราต้องทำอย่างไรเพื่อให้เราเป็นที่พึ่งของเราเอง แต่ถ้าฟังแล้วเราไม่ไปปฏิบัติ การจะเป็นที่พึ่งของเรานี้เราต้องนั่งสมาธิได้ เราต้องมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ เห็นอริยสัจสี่ ถ้าเรามีสมาธิมีปัญญาใจของเราจะไม่มีความทุกข์กับอะไรไม่มีการหวั่นไหวกับอะไร เพราะสมาธิกับปัญญาจะรักษาใจของเราให้นิ่งให้สงบให้ไม่กระทบกระเทือนกับสิ่งต่างๆ ที่มาสัมผัสรับรู้

นี่คือสิ่งที่เราขาด ขาดสมาธิขาดปัญญา ปัญญาที่ไม่ลืม ตอนนี้เรามีปัญญาแต่เป็นปัญญาที่ลืม ฟังก็เข้าใจ เดี๋ยวสักพักก็ลืมหายไป ถูกกิเลสมาหลอกให้ไปหลงชอบนู่นชอบนี่ต่อไป แต่ถ้ามีปัญญาแล้วมันจะไม่หลง ถ้าปัญญาที่แท้จริงมันจะไม่หลง กิเลสจะมาหลอกให้ไปพึ่งสิ่งนั้นสิ่งนี้ มันไม่ไป เพราะมันเห็นว่าไม่มีอะไรในโลกนี้พึ่งได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นของชั่วคราว พึ่งได้ชั่วคราว ได้มาแล้วเดี๋ยวก็หมดไป พอหมดไปก็วุ่นวายต้องไปหาใหม่กัน หามาเท่าไหร่ก็หมดไปเท่านั้น ฉะนั้นถ้ามีปัญญาเห็นว่าทุกอย่างในโลกนี้มันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงไม่ถาวร เป็นของชั่วคราว พึ่งได้ไม่นาน ก็ไม่ไปพึ่งมันดีกว่า สิ่งที่เราพึ่งได้ตลอดถาวรก็คือความสงบ คือสมาธิ กลับมาสมาธิดีกว่า เวลาจะไปพึ่งสิ่งนั้นสิ่งนี้ถ้ามีปัญญาก็บอกว่าไม่ไปดีกว่า มาพึ่งความสงบดีกว่า และความสงบนี้เราสามารถพึ่งได้ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักวิธีทำความสงบแล้ว ใจของเราก็จะสงบไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด.


               สนทนาธรรมบนเขา  วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต




ต้องปฏิบัติเท่านั้น
นอกจากการใฝ่รู้แล้ว เราก็ยังต้องมีการใฝ่ปฏิบัติ คือหลังจากที่เราได้ยินได้ฟังได้เรียนได้รู้แล้ว เรายังต้องทำอีกขั้นหนึ่ง ก็คือเราต้องปฏิบัติตามความรู้ที่เราได้เรียนมา เพราะธรรมที่เราได้ยินได้ฟังได้เรียนรู้นี้ เป็นเหมือนยาที่เราได้รับมาจากหมอ ยังไม่สามารถรักษาร่างกายที่ไม่สบายนี้ ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้ เราต้องเอายาที่หมอนี้ให้เรามา เราต้องรับประทานยาตามหมอสั่ง หมอสั่งให้รับประทานวันละ ๓ เวลา ๔ เวลา เราก็ทำตามที่หมอสั่ง พอเรารับประทานไปแล้ว ยาเข้าไปในร่างกายแล้ว ยาก็สามารถทำหน้าที่ของยาได้ คือไปรักษาร่างกายไปทำลายเชื้อโรคที่ทำให้ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา พอเชื้อโรคถูกยาทำลายไปหมดแล้ว โรคภัยไข้เจ็บก็หายไป พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เป็นเหมือนยารักษาโรคใจ โรคของใจก็คือความทุกข์ใจนี่เอง พวกเราทุกคนไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่มีความทุกข์ใจ เราทุกคนมีความทุกข์ใจด้วยกัน ถ้าเราไม่รับประทานยาของพระพุทธเจ้า เราก็จะไม่มีวันที่จะรักษาโรคของความทุกข์ใจให้หายไปได้ แต่ถ้าเราน้อมนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ ก็เหมือนกับการที่เราเอายาของหมอมารับประทาน พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านี้ต้องเข้าไปในใจ ตอนนี้มันไม่ได้เข้าไปถึงใจ เข้าไปถึงแค่ความจำ เข้าไปถึงเพียงสัญญา ที่สามารถที่จะจางหายไปได้ ธรรมะที่เราได้ยินได้ฟัง พอเราไม่ได้พิจารณา พอเราออกไปทำภารกิจอย่างอื่น ใจของเราก็เอาเรื่องอย่างอื่นเข้ามาภายในใจ ความรู้ที่เราได้เรียนรู้จากพระธรรมคำสอน ก็จะถูกความรู้อย่างอื่นมากลบไป ทำให้หายไป เราต้องเอาความรู้เหล่านี้ ให้เข้าไปผ่านตัวสัญญาสังขารวิญญานให้ได้ คือต้องให้เข้าไปถึงตัวใจเลย การที่จะให้เข้าไปถึงตัวใจได้นี้ ก็ต้องปฏิบัติเท่านั้นเอง ถ้าไม่ปฏิบัติ เดี๋ยวความรู้ต่างๆที่เราได้ยินได้ฟังมันก็จะจางหายไป พอเวลาเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา เราก็จะไม่มียาไม่มีธรรมะมาดับความทุกข์ภายในใจของเรา เราจึงต้องปฏิบัติ แล้วเราถึงจะได้รักษาโรคของใจ คือความทุกข์นี้ให้หมดไปได้.

               กัณฑ์ที่ ๔๘๖ (จุลธรรมนำใจ ๔๑)  วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๗
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต




สรณัง คัจฉามิ
เราต้องคิดถึงทุกสภาพที่จะเกิดขึ้นกับเรา กับชีวิตเรา การสูญเสียสิ่งต่างๆ ในทุกรูปแบบต้องติดให้ได้ พรุ่งนี้เราพิกลพิการไปอยู่กับมันได้หรือเปล่า เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตแล้วอยู่กับมันได้หรือเปล่า หมอบอกว่าเป็นโรคมะเร็งอยู่กับมันได้หรือเปล่า หรือจะไปกระโดดตึกฆ่าตัวตาย

อันนี้แหละคือ ข้อสอบของเรา ต้องทำการบ้านเตรียมไว้ก่อนทุกรูปแบบเลย เกิด เเก่ เจ็บ ตาย มันก็มีแค่นี้ พลัดพรากจากกัน พลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ หรือประสพกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ นี่คือข้อสอบ คือการบ้านของเรา เราไม่ชอบทำการบ้านกัน

ชอบไปเพ้อฝันว่า จะได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ คนนั้นคนนี้จะดีกับเรา จะอยู่กับเรา จะยกย่องสรรเสริญเคารพเรา ไม่ดูถูกเหยียดหยามเรา พอไปเจอสิ่งที่ไม่คาดฝันมาก่อนก็จะทำใจไม่ได้ เพราะไม่ทำการบ้านไว้ก่อน เราต้องพยายามหมั่นทำการบ้าน คิดถึงเรื่องเสื่อม เรื่องเสียไว้ อย่าไปคิดถึงแต่เรื่องเจริญ เจริญไม่ต้องทำการบ้านหรอก มันผ่านแน่ๆ

เวลาได้เงินมานี้มันยิ้มตาบานทั้งวัน แต่เวลาเงินหายหน้าคว่ำทั้งวัน เวลาใครชมยิ้มทั้งวัน พอใครด่าหน่อยหน้างอทั้งวันอารมณ์บูดทั้งวัน เพราะไม่ยอมทำการบ้านกัน ไม่ยอมพิจารณาเรื่องเสื่อม เอาแต่ลาภ ยศ สรรเสริญ พอมันเสื่อมก็รับไม่ได้ ถ้าหมั่นทำการบ้านเรื่อยๆ แล้ว เวลาเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะทำใจได้

ดังนั้น เราต้องพยายามทำการบ้าน คือจินตามยปัญญา สุตมยปัญญา ก็ฟังเป็นระยะ บางทีลืมก็กลับมาฟังใหม่ ฟังแล้วก็กลับไปทำการบ้าน ทำไปเรื่อยๆ พอมีเหตุการณ์ต้องเข้าห้องสอบก็จะได้ทำได้ หรือถ้าอยากจะให้สอบผ่านเร็วๆ ขี้เกียจรอเหตุการณ์ ก็สร้างเหตุการณ์ขึ้นมาเลย ยกสามีให้คนอื่น ยกภรรยาให้คนอื่น ยกลูกให้คนอื่น ยกสมบัติข้างของเงินทองให้คนอื่นไปเลย อย่างนี้แหละจะได้เข้าห้องสอบจะได้รับปริญญาเร็วๆ ไม่งั้นก็ต้องมานั่งรอให้เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อน ถึงจะมาสอบ

คนที่เขาบรรลุกันเพราะเขาเดินเข้าหาห้องสอบกัน ไม่รอให้เหตุการณ์มาสอบ เดินเข้าป่าเข้าเขากัน ครูบาอาจารย์เดินเข้าหาเสือ หางู หาสิ่งที่น่ากลัวกัน หาความทุกข์ความยากลำบากกัน เดินธุดงค์ในป่าอยู่อดอยากขาดแคลนไม่มีที่อยู่อาศัยนอนใต้โคนไม้นอนในกลดนอนบนแคร่ ห้องน้ำห้องท่าก็ไม่มี ไฟฟ้าก็ไม่มี น้ำประปาก็ไม่มี อย่าว่าแต่แอร์พัดลมเลย แต่จิตใจของท่านสอบผ่านกันหมด เป็น"สรณัง คัจฉามิ" กันไปหมด พวกเราถ้าอยากเป็นเหมือนท่านก็ต้องทำเหมือนท่าน ถ้าทำอย่างเราก็ไม่รู้จะผ่านเมื่อไหร่.


               สนทนาธรรมบนเขา  วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๖
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต




ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
พยายามหมั่นคิดถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอน โดยเฉพาะร่างกายเราหรือสิ่งที่เราไปพึ่งไปอาศัยให้ความสุขกับเรา เช่น ร่างกายของแฟนเราเขาก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ร่างกายเราก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย พอมันแก่เจ็บตาย แล้วเราก็พึ่งมันไม่ได้แล้ว คนแก่คนเจ็บคนตายมันไม่ค่อยมีความสุขกันเท่าไหร่ มีแต่ความทุกข์ แต่คนที่มีสมาธินี้ ไม่ว่าจะแก่จะเจ็บจะตาย ก็สุขได้ สุขโดยที่ไม่ต้องใช้ร่างกาย ใช้สติ หมั่นเจริญสติควบคุมความคิด ควบคุมความอยาก หยุดความอยากด้วยปัญญาได้ ต่อไปใจจะมีความสุขตลอดเวลา.

               สนทนาธรรมบนเขา  วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต





500/700
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กุมภาพันธ์ 2561 18:25:13 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2561 16:09:41 »





“เป็นเรื่องของกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป”
ถาม : กราบเรียนถามพระอาจารย์ ได้ยินมาว่าเวลาเราใส่บาตรเวลารับพรจากพระไม่ควรนั่งยองยอง เพราะพระสงฆ์ท่านจะอาบัติจริงหรือเปล่าครับ

พระอาจารย์ : อันนี้ก็เป็นกฎในอดีตมั้ง ที่เขาว่าเวลาพระยืนพูดก็ต้องยืนพูดกับพระ นั่งถือว่าไม่เคารพ ในสมัยปัจจุบันนี้มันกลับกันซะแล้ว ถ้ายืนคุยกับพระหาว่าไม่เคารพ ต้องนั่งถึงจะเคารพ ฉะนั้นเราก็ต้องดูธรรมเนียมสมัยที่เราอยู่ สมัยก่อนสมัยนั้นเขาถือว่าจะต้องยืน พระยืนคนฟังก็ต้องยืน พระนั่งคนฟังก็ต้องนั่ง แต่สมัยนี้ไม่ได้เป็นอย่างงั้นแล้ว พระยืนคุยเรายืนคุยกับพระไม่ดีไม่ถูก ต้องนั่ง เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปกังวลหรอกมันเป็นเรื่องของกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้นพระก็ไม่อาบัติหรอก ญาติโยมก็นั่งรับพรกันตั้งเยอะแยะเวลาพระให้ยืนบิณฑบาตให้ ญาติโยมเขาก็นั่งกันส่วนใหญ่ มันเป็นธรรมเนียม ฉะนั้นไม่ถือว่าเป็นอาบัติ นอกจากว่าจะยึดติดในกฎเดิมเนี่ยมันก็เป็นอาบัติ แต่มันก็เป็นข้ออาบัติที่ไม่ได้มีอะไรเสียหาย มันเพียงแต่ว่าอาจจะดูไม่สวยงาม.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


“อย่าหยุด”
อย่าประมาทนะ อย่าชะล่าใจ ปฏิบัติแล้วอย่าหยุด ถ้ายังไม่ถึงเป้าหมายอย่าเพิ่งหยุด พอหยุดแล้วเดี๋ยวมันจะทำให้เวลากลับมาปฏิบัติใหม่มันจะยาก ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ถ้ายังมีกิเลสอยู่ก็อย่าเพิ่งหยุด ศีล สมาธิ ปัญญา อย่าหยุด ถ้าไม่มีกิเลสแล้วหยุดได้ ถ้าไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่อยากได้อะไร ไม่อยากมีอะไร ไม่อยากเป็นอะไรแล้ว หยุดได้ หยุดปฏิบัติได้ ถ้ายังไม่ถึงนั้นก็อย่าหยุด

อย่าไปเป็นเหมือนกระต่ายนะ เป็นเหมือนเต่า คลานไปเรื่อยๆ อย่าไปหยุด ถ้ายังไม่ถึงหลักชัยอย่าเพิ่งไปหยุด กระต่ายมันวิ่งนำหน้าเต่า เฮ้ยกูทิ้งมันไกลแล้ว กูไปเที่ยวก่อนก็ได้ เดี๋ยวพอเผลอกลับมา โหยมันไปถึงโน่นแล้ว วิ่งตามมันไม่ทัน เราปฏิบัติ โอ้ยเรามาไกลแล้วเดี๋ยวเราพักก่อน อย่าไปคิดอย่างนั้น เดี๋ยวพอเผลอมามองอีกที โอ้ยทำไมหลักชัยมันหนีไปอีกตั้งไกล พอเราไม่ปฏิบัติมันก็จะเริ่มเดินถอยหลัง แล้วถ้าเราหยุดปฏิบัติมันจะถอยหลัง ถ้าเราปฏิบัติเท่าเดิมมันก็จะอยู่กับที่ ถ้าอยากจะให้มันก้าวหน้าก็ต้องปฏิบัติมากกว่าเดิม มันถึงจะก้าวหน้าได้ อย่าไปคิดว่าโอ้ยเราปฏิบัติแล้วจะอยู่กับที่ มันไม่อยู่แล้ว พอหยุดปฏิบัติแล้วมันจะเริ่มถอยแล้ว เพราะมันเปิดช่องให้กิเลสดึงใจไปแล้ว แต่ถ้าปฏิบัติเท่าเดิม มันก็จะยังจะอยู่ที่เดิม ถ้าอยากจะให้มันก้าวหน้าต้องปฏิบัติมากกว่าเดิม เช่นเคยปฏิบัติ ๒ ชั่วโมงก็ต้องเพิ่มเป็น ๓ ชั่วโมง ถึงจะก้าวหน้า

ถ้าหยุดปฏิบัติมันก็จะถอยเลย เพราะว่าเอาเวลาที่ปฏิบัติไปเที่ยว ไปหาเงินไปทำอย่างอื่น มันก็จะถอย ตอนนี้ถ้าไม่ปฏิบัติก็ถือว่ากำลังเดินถอยหลังโดยไม่รู้สึกตัวแล้ว อย่าไปคิดว่าเรามาไกลแล้ว ไม่ไกลหรอก ถ้าหยุดปฏิบัติปั๊ป มันจะเริ่มถอย มันยิ่งไกลใหญ่ ยิ่งจะไกลจากหลักชัยใหญ่.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต




บุญมี ๑๐ ชนิด
ถาม : บิดาเป็นคนจีนแต่เกิดในเมืองไทย ท่านไม่ชอบฟังธรรมไม่ชอบสวดมนต์ แต่ชอบใส่บาตรทุกเช้า ชอบให้ทานทั้งคนและสัตว์ ท่านทำอย่างนี้จะได้บุญไหมคะ

พระอาจารย์ : ได้ ก็ได้ทำทานได้ทำบุญไง เพียงแต่ว่าบุญที่สูงกว่านั้นจะไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ามีบุญที่ดีกว่ามีสูงกว่ามีมากกว่าบุญที่ได้จากการทำทาน ก็คือบุญที่เกิดจากการรักษาศีล บุญที่เกิดจากการฟังเทศน์ฟังธรรม บุญที่เกิดจากการภาวนา ในศาสนาพุทธนี้มีบุญอยู่ ๑๐ ชนิดด้วยกัน เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ มีอยู่ ๑๐ บุญที่เกิดจากทาน การทำทานการให้หนึ่ง บุญที่เกิดจากการรักษาศีล บุญที่เกิดจากการภาวนา บุญที่เกิดจากการอุทิศบุญ บุญที่เกิดจากการอนุโมทนาบุญ บุญที่เกิดจากการรับใช้ผู้อื่น บุญที่เกิดจากการมีความอ่อนน้อมถ่อมตน บุญที่เกิดจากการมีความเห็นที่ถูกต้อง เห็นว่าบาปมีจริง บุญมีจริง นรกมีจริง สวรรค์มีจริง บุญที่เกิดจากการฟังเทศน์ฟังธรรม บุญที่เกิดจากการให้ธรรมะแก่ผู้อื่น อันนี้ก็คือวิธีทำบุญต่างๆ แต่บุญนี้แบ่งเป็น ๒ พวก บุญหลักกับบุญเสริม เหมือนอาหารเรามีอาหารหลักกับอาหารเสริมใช่ไหม อาหารหลักนี่เราต้องกินทุกวัน เช่น ข้าว กับข้าวยังงี้ต้องกินทุกวัน แต่อาหารเสริม เช่น ผลไม้ ขนม เครื่องดื่ม มีก็กินไม่มีก็ไม่กินก็ยังไม่อดตาย เราต้องกินอาหารหลัก บุญก็มีบุญหลักๆ ของเราก็คือ การทำทาน การรักษาศีล การภาวนา การฟังเทศน์ฟังธรรม อันนี้ การมีความเห็นที่ถูกต้อง อันนี้ถือว่าเป็นบุญหลัก ต้องมี ส่วนบุญอย่างอื่นก็แล้วแต่โอกาส ถ้าเรามีโอกาสมาทำบุญแล้ว เราอยากจะอุทิศบุญให้คนอื่นก็อุทิศได้ หรือเวลามีเพื่อนฝูงเขาไปทำบุญ เราจะอนุโมทนากับเขา เราก็ได้บุญ หรือเรารับใช้ผู้อื่น เขาไปวัดไม่ได้ เขาฝากเงินเราไปทำบุญ เรารับไปยังงี้ก็เป็นบุญที่เกิดจากการรับใช้ผู้อื่น อันนี้เป็นบุญเสริม บุญเสริมก็ทำเมื่อมีโอกาส แต่บุญหลักนี่ต้องทำเป็นประจำ เช่น ควรจะทำบุญทำทานทุกวัน ถ้าไม่มีคนรับก็ใส่กระปุกไว้ก่อนก็ได้ เช่นอยากจะทำกับพระแต่ไม่มีพระมาบิณฑบาตที่บ้าน ก็เอาเงินใส่บาตรนี้ใส่กระปุกไว้ก่อน แล้วพอถึงเวลามีเวลาไปวัดก็เอาเงินนี้ไปถวายวัดไป ก็ถือว่าได้ทำบุญทุกวัน เพราะมันเป็นเหมือนอาหารที่เราต้องกินทุกวัน ศีลก็ต้องรักษาทุกวัน ตลอดเวลา ศีล ๕ ภาวนาก็ควรจะทำทุกวัน ทำมากทำน้อยก็แล้วแต่ว่ามีเวลาว่างมากน้อยเพียงไร มีเวลาว่างมากก็ภาวนามาก นั่งสมาธิมาก เจริญสติมาก ฟังธรรมก็ฟังอย่างน้อยวันละครั้ง ๒ ครั้ง แล้วแต่ว่ามีเวลาหรือไม่มีเวลา นี่คือบุญหลักที่เราต้องมี ต้องทำอยู่เป็นประจำ ส่วนบุญเสริมก็แล้วแต่เหตุการณ์.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


หาความสุขที่ถาวร
คนเราไม่ว่าจะเป็นชาติไหนก็เหมือนกันทั้งนั้นล่ะ มีความปรารถนาที่จะหาความสุข ความสุขที่เราได้มาตอนที่เราเกิดมันไม่สุขแท้ มันสุกๆ ดิบๆ เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ ก็เลยทำให้เราอยากจะหาความสุขแบบสุขแท้ สุขไปเรื่อยๆ สุขแล้วไม่ทุกข์ ก็พอได้มาเจอคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ได้คำตอบ พระพุทธเจ้าก็เคยสุกๆ ดิบๆ เคยสุขๆ ทุกข์ๆ มาก่อน เคยเป็นเจ้าชาย มีความสุขแบบเจ้าชาย แต่ก็ยังทุกข์เพราะมองเห็นเวลาที่จะต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ก็รู้ว่าตอนนั้นจะไม่มีความสุข อย่างตอนนี้หนูกับแม่ใครมีความสุขมากกว่ากันน่ะ ใช่ไหม พวกหนูมีความสุขมากกว่าแม่ ใช่ไหม แม่เดี๋ยวเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ เดี๋ยวไม่สบาย ทุกข์ไหม แต่ตอนที่เป็นเหมือนลูกๆ ตอนนั้นไม่ทุกข์ใช่ไหม ตอนนั้นไม่เคยคิดว่าจะต้องมาเป็นอย่างนี้ใช่ไหม แต่พระพุทธเจ้าท่านฉลาด ท่านคิด ตอนที่ท่านเป็นหนุ่มท่านคิดแล้ว พอเห็นคนแก่เห็นคนเจ็บเห็นคนตาย ท่านก็บอกว่าเฮ้ยต่อไปเราก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายนี่ พอคิดแล้วก็เลยไม่สบายใจเลย ทั้งๆ ที่ยังไม่แก่ยังไม่เจ็บยังไม่ตาย แต่ก็รู้ว่าจะต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ก็เกิดความไม่สบายใจขึ้นมา จนไม่มีความสุขกับความเป็นเจ้าชาย แล้วพอดีไปเห็นนักบวชก็เลยรู้ว่ามีวิธีหาความสุขอีกแบบหนึ่ง ความสุขแบบนักบวช ความสุขแบบที่ไม่ต้องใช้ร่างกาย ความสุขที่ใช้ใจใช้ธรรมะใช้สติ นั่งสมาธิได้จิตสงบแล้วจะมีความสุข และจะนั่งได้ไม่ว่าจะเป็นตอนไหน ตอนแก่ตอนเจ็บตอนตายก็ทำสมาธิได้ทำใจให้สงบได้ ทำให้มีความสุขได้ พระพุทธเจ้าเป็นคนแรกที่ค้นพบความสุขอีกแบบหนึ่ง ก็เลยออกบวชแล้วก็ไปนั่งสมาธิทำใจให้สงบ เวลานั่งสมาธิก็มีความสุข แต่พอออกจากสมาธิมาก็ยังทุกข์อยู่ พอคิดถึงความแก่ความเจ็บความตายก็ยังทุกข์อยู่ แล้วก็ไม่มีใครรู้วิธีว่าทำยังไงถึงไม่ทุกข์กับความแก่ความเจ็บความตาย พระพุทธเจ้าเลยต้องไปค้นหาวิธีดู ก็ค้นพบว่าที่ทุกข์เพราะไม่อยากแก่ไม่อยากเจ็บไม่อยากตาย แต่ถ้าหยุดความอยากไม่แก่อยากไม่เจ็บอยากไม่ตายได้ก็จะไม่ทุกข์ พระพุทธเจ้าหลังจากนั้นก็เลยไม่ทุกข์กับความแก่ความเจ็บความตาย ปล่อยให้มันแก่ปล่อยให้มันเจ็บปล่อยให้มันตาย ทำใจให้เฉยๆ ทำใจให้นิ่ง อย่าไปอยากให้มันไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายมันก็ไม่ทุกข์ ทีนี้ก็สบาย ไม่ต้องเข้าสมาธิก็ได้

เมื่อก่อนที่ต้องเข้าสมาธิเพราะเวลาไม่เข้าสมาธิ จิตมันอยาก อยากไม่แก่อยากไม่เจ็บอยากไม่ตาย ก็เลยต้องหนีเข้าไปในสมาธิ พอเข้าไปในสมาธิมันก็หยุดความคิดหยุดความอยากไม่แก่อยากไม่เจ็บอยากไม่ตาย มันก็สบายใจ แต่พอออกมาก็มาคิดมาอยากก็ไปทุกข์ แต่ตอนหลังเข้าใจแล้ว เข้าใจว่าที่ทุกข์เพราะความอยาก อยากไม่แก่อยากไม่เจ็บอยากไม่ตาย พอออกจากสมาธิทีนี้ทำใจให้เฉยๆ เห็นความแก่ก็ยอมแก่ เห็นความเจ็บก็ยอมเจ็บ เห็นความตายก็ยอมตาย แล้วก็รู้ว่าสิ่งที่แก่ที่เจ็บที่ตายไม่ใช่ผู้ที่กลัว ผู้ที่กลัวไม่ได้แก่ไม่ได้เจ็บไม่ได้ตาย เนี่ยเรามีสองคน ในตัวเรานี้มีสองคน เรามีร่างกายแล้วเราก็มีใจ ร่างกายแก่เจ็บตาย แต่ใจเป็นคนกลัว แต่ใจไม่ได้แก่ไม่ได้เจ็บไม่ได้ตาย พระพุทธเจ้ามาค้นพบมาแยกออก ว่าคนที่กลัว กลัวความแก่กว่าความเจ็บกลัวความตายนี้ ไม่ได้แก่ไม่ได้เจ็บไม่ได้ตาย ผู้ที่แก่ที่เจ็บที่ตายไม่กลัว ร่างกายมันไม่กลัวความแก่ความเจ็บความตาย เพราะมันไม่รู้ว่ามันแก่มันเจ็บมันตาย ร่างกายเป็นเหมือนโทรศัพท์มือถือเนี่ย มันไม่รู้ว่าเดี๋ยวจะต้องเสียต้องพัง แต่คนใช้เนี่ยรู้ คนที่ซื้อโทรศัพท์มาเนี่ยรู้ เดี๋ยวใช้ไปต่อไปมันก็ต้องเสีย คนที่ซื้อกลัวไม่อยากให้มันเสีย ใจก็เหมือนกัน ใจเป็นเหมือนเจ้าของโทรศัพท์เจ้าของร่างกาย ใจกับร่างกายเป็นคนละส่วนกัน ร่างกายเป็นสมบัติของใจ ใจได้ร่างกายมาจากพ่อแม่ แล้วใจก็ใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข แต่ไปหลงคิดว่าใจเป็นร่างกายก็เลยทุกข์กับร่างกาย คิดว่าตัวเองจะตายแก่จะเจ็บไปกับร่างกาย แต่พอมาฝึกนั่งสมาธิ ใจกับร่างกายก็แยกออกจากกัน ก็เลยเข้าใจว่าอ๋อใจนี้ไม่ได้เป็นร่างกาย ร่างกายไม่ได้เป็นใจ เป็นคนละคนกัน ร่างกายเป็นอะไรไม่ได้ทำให้ใจเป็นไปด้วย ใจไม่มีรูปร่างหน้าตา ใจไม่มีความแก่ความเจ็บความตาย แต่ใจยังต้องไปเกิดใหม่ต้องไปมีร่างกายอันใหม่ เพราะว่ายังอยากจะใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุขอยู่ พอร่างกายอันนี้ตายไป ใจก็ยังไปเกิดใหม่ต่อ แต่ตอนหลังมารู้แล้วว่าเกิดแล้วไม่ดี เกิดแล้วก็ต้องมาแก่มาเจ็บมาตาย ก็ไม่เอาดีกว่า เหมือนซื้อโทรศัพท์มาแล้วก็เดี๋ยวก็ต้องเสีย เดี๋ยวก็ต้องไปซ่อม แล้วเดี๋ยวก็ต้องทิ้งมันไป เดี๋ยวต้องไปซื้อเครื่องใหม่อีก ซื้อมากี่เครื่องมันก็เสียทุกเครื่อง ก็เลยไม่ซื้อดีกว่าไม่ใช้มันดีกว่า เลิกใช้โทรศัพท์มือถือ

เมื่อก่อนไม่มีโทรศัพท์มือถือก็อยู่กันได้นี่ถามแม่ดูสมัยแม่เป็นเด็กมีโทรศัพท์มือถือใช้หรือเปล่า ไม่มีก็อยู่ได้นะ นั่นแหละสบายกว่าเสียอีก ไม่ต้องมาคอยติดตามซ่อม คอยติดตามอัพเดทไอ้นู่นไอ้นี่อยู่เรื่อย เดี๋ยวถ้าไม่ได้อัพเดทใช้ไม่ได้อีกแล้ว เมื่อสองวันก่อนเครื่องนี้ก็ไม่ได้อัพเดทก็ใช้ไม่ได้ คนเข้าไม่ได้กันเมื่อสองวันก่อน วันเสาร์มั้ง เนี่ยมีอะไรแล้วมันจะมีปัญหาอยู่เรื่อยๆ สู้ไม่มีดีกว่า ร่างกายก็มีปัญหา มีร่างกายแล้วเดี๋ยวก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ต้องคอยเลี้ยงมัน ต้องคอยหากินหาอยู่ ต้องคอยอาบน้ำให้มันคอยดูแลเลี้ยงดูมันเป็นภาระ แต่ทำไงได้เมื่อยังต้องใช้ร่างกายก็ต้องทนไป แต่คนที่สามารถเลิกใช้ร่างกายได้ก็สบาย อย่างคนที่มานั่งสมาธิได้ คนที่หาความสุขจากการนั่งสมาธิได้ก็ไม่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข ร่างกายจะแก่จะเจ็บจะตายก็ไม่เดือดร้อน แต่คนที่ยังต้องใช้ร่างกายหาความสุขอยู่ เวลาร่างกายแก่ร่างกายเจ็บร่างกายตายนี้จะเดือดร้อนมาก จะทุกข์มาก ถ้าไม่อยากจะทุกข์ต่อไปในอนาคตตอนที่แก่เจ็บตายนี้รีบมาหัดนั่งสมาธิกันเริ่มมาฝึกสติกันมาทำใจให้สงบกัน แล้วจะมีความสุข แล้วเวลาร่างกายเป็นอะไรใจจะไม่เดือดร้อน ใจมีความสุขได้โดยที่ไม่ต้องใช้ร่างกาย นี่ก็คือเรื่องของพระพุทธเจ้าเรื่องของคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็อยู่ตรงนี้ อยู่ตรงที่สอนให้เราหาความสุขแบบใหม่กัน หาความสุขที่ถาวร ที่จะให้ความสุขกับเราไปได้ตลอด ไม่ว่าเราจะแก่หรือไม่แก่ เจ็บหรือไม่เจ็บ ตายหรือไม่ตาย มีเงินหรือไม่มีเงิน ไม่มีปัญหา ความสุขของพระพุทธเจ้านี้ไม่ต้องใช้เงิน เพียงแต่ให้หยุดความคิดให้ได้เท่านั้นเอง ความคิด หยุดความอยากได้ ก็มีความสุข.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


วันทุกข์ วันสุข
คนที่อยู่ในศาลาถ้าไม่ต้องการให้ฝนตก ต้องการให้ฝนหยุดก็จะเดือดร้อนใจขึ้นมา แต่ถ้าไมได้ต้องการฝนจะตกก็ปล่อยตกไป เพราะว่าไปห้ามเขาไม่ได้ ใจก็จะไม่เดือดร้อน อย่างตอนนี้ พวกเรานั่งอยู่ในศาลา เราก็ไม่เดือดร้อนกับการตกของฝน ฝนจะตกก็ปล่อยตกไป ถ้าเราอยากจะให้เขาหยุดเราก็จะเดือดร้อน

ดังนั้น เราต้องฝึกทำใจให้รับรู้เฉยๆ เพราะนี่คือธรรมชาติของใจ ที่จะทำให้ใจไม่เดือดร้อน ทำให้ใจไม่ทุกข์ไม่วุ่นวายกับเรื่องราวต่างๆ คือ ”สักแต่ว่ารู้” เท่านั้นเอง
สักแต่ว่ารู้เฉยๆ อย่าไปรู้แล้ววิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่รับรู้ แล้วก็เกิดความอยากตามมา เช่น รับรู้แล้ววิพากษ์วิจารณ์ว่า ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ก็จะเกิดความอยากให้เป็นอย่างนั้นหรือเป็นอย่างนี้ขึ้นมา ก็จะเกิดความวุ่นวายใจขึ้นมา เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจขึ้นมา

ปัญหาของใจก็คือ การรับรู้เฉยๆ คือ การปล่อยวาง รับรู้แล้วปล่อยวาง เห็นแล้วก็ปล่อยวาง ได้ยินแล้วก็ปล่อยวาง สิ่งที่เกิดเขาเกิดแล้วเขาก็ผ่านไป สิ่งที่ดับเขาดับแล้วก็ผ่านไป แต่ผู้รับรู้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ผู้รับรู้คือ ใจ ไม่มีวันดับ ไม่มีวันตาย แต่มีวันสุขหรือวันทุกข์ วันสุขคือวันที่ใจปล่อยวาง ใจไม่มีความอยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

วันทุกข์คือ วันที่ใจเกิดความอยากขึ้นมา อยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ พอไม่ได้ดังที่ใจอยากก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา ดังนั้น ถ้าเราอยากจะมีแต่วันสุข ไม่มีวันทุกข์ เราต้องสอนใจให้รู้เฉยๆ ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจารณ์ว่าดี หรือ ไม่ดี เขาจะดีก็เป็นเรื่องของเขา เขาจะไม่ดีก็เป็นเรื่องของเขา เขาไม่มีวันที่จะทำร้ายเราได้ เขาไม่มีวันที่จะทำให้เราดีขึ้นมาได้ เขาไม่มีวันที่จะทำให้เราเลวลงไปได้ สิ่งที่จะทำให้เราเลวหรือดีขึ้นไป คืออยู่ที่ตัวของเราเอง อยู่ที่ว่า เราหยุดความวิพากษ์วิจารณ์ได้หรือเปล่า หยุดความอยากได้หรือเปล่า ถ้าเราหยุดได้เราจะดีเราจะสบาย ถ้าเราหยุดไม่ได้เราจะทุกข์ เราก็จะวุ่นวายใจ.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต



ถาม : สมาธิแบบ ขณิกสมาธิ กับความสงบเท่าช้างกระดิกหูงูแลบลิ้น เป็นอย่างเดียวกันหรือไม่ ?

พระอาจารย์ : ก็นั่นแหล่ะ ขณิก ก็แปลว่า ขณะหนึ่ง ขณะสั้นๆ เวลานั่งสมาธิครั้งแรกๆ เวลาจิตมันรวมเข้าสู่ความสงบ มันจะตกวุ๊บไป พอมันรวมสั้นๆแล้วมันก็จะถอนออกมา แต่มันจะได้สัมผัสรับรู้ว่า ความสงบมันมีความวิเศษอย่างไร เหมือนลิ้นกับแกง ที่ได้สัมผัสกับแกงเพียงหยดเดียว ก็จะทำให้เกิดฉันทะ วิริยะ ติดอกติดใจ อยากที่จะลิ้มรสแกงนั้นให้มากขึ้น ก็จะหมั่นบำเพ็ญสมถภาวนาให้มากขึ้น เจริญสติให้มากขึ้น นั่งสมาธิให้บ่อยขึ้น แล้วต่อไปจาก "ขณิก" ก็จะเป็น "อัปปนา"ไป

อัปปนา ก็หมายความว่า อยู่ได้นาน เช่น อยู่ได้ ๕ นาที ๑๐ นาที ๒๐ นาที ๓๐ นาที เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อยู่ที่กำลังของสติที่เราบำเพ็ญมา และอยู่ที่เราไม่ไปทำภารกิจอย่างอื่น เพราะถ้าไปทำภารกิจอย่างอื่นมันก็จะมาทำลายการที่จะทำให้ใจเข้าสู่ความสงบได้นาน เพราะเวลาเราไปทำอย่างอื่นนี้เหมือนกับเราดึงใจออกไปข้างนอก

ส่วนการบำเพ็ญ เช่นการเจริญสติ เป็นการที่เราดึงใจให้เข้าข้างใน ฉะนั้น ถ้ากำลังที่จะดันใจให้ออกข้างนอกมันมีมาก แล้วกำลังที่จะดันใจเข้าข้างในมีน้อยกว่ามันก็จะอยู่ได่แป๊บเดียว แต่ถ้ากำลังที่ดึงใจให้เข้าข้างในมีมากกว่า กำลังใจที่จะออกข้างนอกมันก็จะอยู่ได้นานกว่า ดังนั้นเราจึงต้องสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ส่งใจเราออกไปหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ให้เราดึงใจเข้าข้างในด้วยการเจริญสติ ด้วยการเจริญพุทโธนี้เอง และด้วยการนั่งสมาธิ เดินจงกรม ถ้าเราทำแต่ภารกิจเหล่านี้ จิตก็จะรวมเข้าสู่ความสงบ และอยู่ได้นานตามลำดับ.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๖
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กุมภาพันธ์ 2561 18:14:53 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2561 16:30:47 »



จะเชื่อใคร
วันนี้มีโยมมาถามเรื่องภาวนาเสร็จ เธอก็บ่นว่า บางทีภาวนาไปก็เบื่อๆ

พระอาจารย์ : พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ไม่เห็นท่านเบื่อเลย จะเชื่อใคร เชื่อกิเลสหรือเชื่อครูบาอาจารย์ เชื่อพระพุทธเจ้า

มันส์จะตาย ภาวนานี้สนุกนะ ท่านภาวนาทุกวันทั้งวันทั้งคืน ท่านสงบของท่าน เรากลับเบื่อ ไปเชื่อมันทำไมกิเลส เราต้องนึกถึงพระพุทธเจ้ามั่งซิ

นึกถึงครูบาอาจารย์ ทำไมชอบนึกถึงแต่กิเลสอยู่เรื่อยๆ เวลากิเลสโผล่ขึ้นมาก็ต้องเอาพระพุทธเจ้าขึ้นมาสู้มัน เราเป็นศิษย์พระพุทธเจ้าไม่ใช่ศิษย์กิเลส เราไม่ฟังกิเลส เดี๋ยวไม่ชนะมันนะ ถ้าเชื่อมันก็จบ เชื่อมัน มันก็เอาไปเลย ทีเวลาดูทีวีนี้มันส์เหลือเกิน ต้องฝืนมันอย่าไปทำตามมัน ต้องสู้มัน ต้องเห็นว่ามันเป็นข้าศึกของเรา ทำตามกิเลสก็เท่ากับให้มันมาฆ่าเรา เปิดประตูให้ข้าศึกเข้าเมือง.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


เจริญสติ
การปฏิบัติจึงมองข้ามเรื่องของการเจริญสติไปไม่ได้ เจริญสติเพื่อให้เกิดสมาธิ เพื่อให้ใจสงบ เมื่อใจสงบแล้ว ก็จะสามารถพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา ว่าไม่สวยไม่งามได้ ถ้าไม่มีความสงบก็จะไม่สามารถพิจารณาได้ เพราะจะไม่มีกำลังที่จะพิจารณา จะถูกกำลังของกิเลสตัณหาดึงไปให้เห็นว่าเที่ยง ให้เห็นว่าสวยงาม ให้เห็นว่าสุข ให้เห็นว่าเป็นของเรา เป็นตัวเรานั่นเอง

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในสติปัฏฐาน ๔ นี้ ก็คือการเจริญสติ การเจริญสมาธิ และการเจริญปัญญานี่เอง ผู้ที่ศึกษาอ่านพระสูตรนี้ จึงต้องรู้จักแยกแยะว่า ทรงแสดงหลักธรรมนี้ในส่วนไหน.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๖
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


จิตไม่เที่ยง อารมณ์ของจิตไม่เที่ยง
ถาม : ขอถามพระอาจารย์ค่ะ คือที่เขาบอกว่านิพพานนี้สูญ คือแสดงว่าจิตของคนเรานี้มีเกิดมีดับตลอดเวลา แต่ว่าไปเวียนว่ายในภพภูมิต่างๆ อยู่ใช่ไหมคะ หนูเข้าใจถูกไหมคะ

พระอาจารย์: ใช่ จิตไม่สูญ แต่จิตมีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เดี๋ยวดีใจเดี๋ยวเสียใจ เกิดดับ คือ อารมณ์ในจิตมันเกิดดับ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แต่ตัวจิตเองไม่ดับ เหมือนตัวหิ่งห้อยน่ะ หิ่งห้อยมันมีอยู่แต่แสงหิ่งห้อยมันเกิดดับๆ แต่จิตมันก็เป็นอย่างนั้นแหละ เดี๋ยวก็ดีใจเดี๋ยวก็เสียใจ เดี๋ยวก็วุ่นวายใจ เดี๋ยวก็สงบ เรียกว่าจิตไม่เที่ยง อารมณ์ของจิตไม่เที่ยง แต่ตัวจิตเองไม่ตาย พอร่างกายนี้ตายไป จิตก็ไปมีร่างกายอันใหม่ เหมือนคนใช้มือถือนี่ พอมือถือเสีย คนเสียไปกับมือถือหรือเปล่า คนใช้เสียไปกับมือถือหรือเปล่า ใช่ไหม มือถือเสียเราก็ไปซื้อมือถือเครื่องใหม่ อันนี้ก็เหมือนกัน พอร่างกายนี้เสียไป คนใช้ร่างกายนี้ก็ไปเอาร่างกายอันใหม่ เราเปลี่ยนร่างกายมาเหมือนเปลี่ยนมือถือเนี่ย เปลี่ยนมามากยิ่งกว่ามือถืออีก เพราะร่างกายที่เราเปลี่ยนนี้เป็นร้อยล้านพันล้านร่างกาย เชื่อไหม น้ำตาที่เราร้องไห้ในแต่ละภพแต่ละชาตินี้ ถ้าเอามารวมกัน พระพุทธเจ้าบอกมากยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทร คิดดูว่าจะต้องมีร่างกายกี่ร่างกาย มาร้องไห้กี่ครั้งถึงจะได้น้ำตามากยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทร นั่นคือจำนวนภพชาติที่พวกเราได้เกิดแก่เจ็บตายกันมา แล้วยังเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตของเราไปถึงนิพพาน ถึงนิพพานก็คือจิตหมดอยาก ไม่อยากจะไปมีร่างกายอีกต่อไป ก็จะไม่ต้องมาร้องห่มร้องไห้อีกต่อไป เข้าใจนะ

ฉะนั้นทุกอย่างที่เราทำนี้เราทำให้กับจิต ทำบุญรักษาศีลภาวนานี้เป็นเครื่องมือที่จะส่งให้จิตไปนิพพาน ถึงแม้ว่าร่างกายนี้ตายไป จิตยังไม่ถึงนิพพาน แต่บุญที่เราได้ทำไว้ มันเหมือนกับน้ำมันที่เราใส่รถไว้เนี่ย ถ้ารถพังเราก็เปลี่ยนรถใหม่ได้ ย้ายน้ำมันไปถ่ายน้ำมันไปใส่อีกคันได้ แต่จิตมันไม่ตาย ฉะนั้นบุญที่เราใส่น้ำมันที่เราให้กับจิตเพื่อส่งไปนิพพานมันก็ไม่หาย มันไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย ฉะนั้นทำไป ทำไปเรื่อยๆ ยิ่งทำมากมันก็จะได้ไปถึงเร็ว ทำน้อยก็ไปถึงช้า.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


การพิจารณาอสุภะ
การพิจารณาอสุภะนี้ มีเป้าหมายอยู่ที่การดับกามารมณ์ที่คอยมารบกวนใจของเรา ทำให้เราอยู่ในความสงบ อยู่ตามลำพังไม่ได้ เวลาเกิดกามารมณ์แล้วเราจะรู้สึกว้าเหว่ เศร้าสร้อยหงอยเหงา อยากจะมีแฟน อยากจะมีเพื่อน อยากจะมีคู่หลับนอน

แต่การมีกามารมณ์นี้ จะทำให้เราไม่สามารถมีความสุขที่ได้จากความสงบอยู่ตามลำพังได้ ดังนั้น ผู้ที่แสวงหาความสุขจากการทำใจให้สงบนี้ จำเป็นต้องพิจารณาอสุภะเพื่อมาดับกามารมณ์ที่จะทำให้ไม่สามารถตั้งอยู่ในความสงบได้

เป้าหมายของอสุภะนี้ อยู่ที่การดับของกามารมณ์ ไม่ได้อยู่ที่การดับของ อสุภะ อสุภะนี้เป็นเหมือนยา ที่จะมารักษาโรคใจก็คือ กามารมณ์ ความทุกข์ที่เกิดจากการเวลามีกามารมณ์ขึ้นมา ถ้าพิจารณาเห็นอสุภะ กามารมณ์ก็จะดับไป

ฉะนั้น ตราบใดที่ยังมีกามารมณ์อยู่ การพิจารณาอสุภะจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เหมือนกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่จำเป็นต้องรับประทานยาไปเรื่อยๆ จนกว่าโรคจะหาย ถ้าโรคไม่หายก็ต้องกินยาไปเรื่อยๆ รับประทานยาไปเรื่อยๆ

ฉันใดถ้ายังมีกามารมณ์อยู่ ยังอยากเสพกามอยู่ ก็ยังต้องพิจารณาอสุภะไปเรื่อยๆ จนกว่าความอยากเสพกามนี้หมดไปเท่านั้น การพิจารณาอสุภะก็จะหมดไป ไม่มีความจำเป็นต่อไป.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๖
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


ปฏิจจสมุปบาท
ถาม : ถ้าจะขอความเมตตาจากท่านพระอาจารย์ ได้โปรดช่วยแสดงธรรมเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทให้ผมมีโอกาสได้ฟังเป็นบุญสักครั้ง จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งที่สุดเลยครับ

พระอาจารย์ : ก็เคยแสดงอยู่เรื่อยๆ ปฏิจจสมุปบาท คือการแสดงการเดินทางของความอยากเราเนี่ยแหละ ของกิเลสเรา เริ่มด้วยอวิชชา อวิชชาก็คือความหลงความไม่รู้ว่าความสุขอยู่ที่ไหน ไปหลงไปคิดว่าความสุขอยู่ที่ข้างนอกใจ ก็เลยต้องไปหาตาหูจมูกลิ้นกาย ก่อนจะไปหาตาหูจมูกลิ้นกายก็ต้องคิด พอคิดแล้วก็จะส่งวิญญาณไปเกาะที่ตาหูจมูกลิ้นกาย พอวิญญาณไปเกาะที่ตาหูจมูกลิ้นกาย ก็จะได้สัมผัสกับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ พอได้สัมผัสกับรูปเสียงกลิ่นรสก็เกิดเวทนาความรู้สึกความสุขความทุกข์ความไม่สุขไม่ทุกข์ขึ้นมา พอเกิดความเวทนา เกิดความรู้สึกก็เกิดตัณหาความอยากขึ้นมา ถ้าเจอความสุขก็อยากจะให้

สุขนานๆ ถ้าเจอความทุกข์ก็อยากจะให้มันหายไปเร็วๆ มันก็เลยทำให้เกิดอุปาทานยึดติดกับสิ่งที่เราได้สัมผัสรับรู้ เลยทำให้เราต้องไปมี ภว ไปเกิดใหม่ เวลาสิ่งที่เราสัมผัสรับรู้หมดไป เราก็ไปหาใหม่ ไปหารูปเสียงกลิ่นรสใหม่ พอรูปเสียงกลิ่นรสอันนี้หมดก็ไปหาใหม่ เช่นไปเที่ยวกลับมา ภาพรูปเสียงกลิ่นรสที่เราได้รับจากการไปเที่ยวแล้วมันก็หมดไป เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ไปใหม่ ไปอยู่เรื่อยๆ พอไม่มีร่างกายก็ไปมีร่างกายอันใหม่ ไปเกิดใหม่ อันนี้เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท เริ่มต้นที่อวิชชาความหลงความไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ในใจ ถ้ารู้ว่าความสุขอยู่ในใจก็หยุด หยุดความคิดปรุงแต่งส่งใจไปหารูปเสียงกลิ่นรส ใจอยู่ในความสงบก็จบ ไม่มีความอยากตามมา.


               ธรรมะบนเขา  วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


ให้คิดไปในทางปัญญา
ความวุ่นวายใจกับความไม่วุ่นวายใจอันไหนจะดีกว่ากัน ตอนนี้ใจเราไม่วุ่นวายใจเราสบาย ทำไมเราไม่รักษามันไว้ให้มันเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพราะเราไม่รู้จักวิธีรักษามันนั่นเอง เดี๋ยวพอร่างกายไปหิวพอร่างกายไปอะไรก็วุ่นวายขึ้นมา ถ้าไม่ได้กินไม่ได้อะไรเดี๋ยวร่างกายเจ็บ ถ้าไม่ได้ขยับก็วุ่นวายขึ้นมาแล้ว ต้องขยับแข้งขยับขาถึงจะหายวุ่นวาย แต่ถ้ารู้จักฝึก ถ้าจำเป็นจะต้องให้มันนั่งอยู่อย่างนั้นให้มันเจ็บอยู่อย่างนั้นก็ยังสามารถรักษาใจไม่ให้วุ่นวายได้ ถ้ามีสติ มีสมาธิ มีปัญญา อันนี้จะสามารถสอนใจให้ไม่วุ่นวายกับความเจ็บของร่างกายต่างๆ ได้ นี่แหละประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการที่เรามาฟังเทศน์ฟังธรรม แล้วเราเอาไปปฏิบัติตามต่อ อันนี้รู้แล้วว่าเราต้องปฏิบัติอะไรกันบ้าง ถ้าเราอยากจะรักษาใจของเราไม่ให้มันวุ่นวายไปกับเหตุการณ์ต่างๆ ก็คือเราต้องมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา

สมาธิก็คือความนิ่งแบบตอนนี้แหละ ตอนนี้เราก็มีสมาธิกันแล้ว แต่ยังไม่เต็มร้อย ถ้าสมาธิเต็มร้อยนี่มันจะเข้าไปข้างใน ร่างกายจะหายไปจะเหลือแต่ตัวใจตัวเดียว ใจจะกลับเข้าไปสู่ตัวใจ ตอนนี้ยังไม่ได้กลับเข้าไป ตอนนี้เพียงแต่หยุดคิดนึก เพราะตอนนี้เอาความคิดมาฟังเทศน์แทน เพราะเอาใจมาฟังเทศน์ เลยไม่ได้ไปคิดเรื่องอื่น ก็เลยนั่งเฉยๆ ได้ อยู่ในความสงบได้ สมมุติว่าลืมปิดเตาไม่ได้ปิดเตาแก๊สอยู่ที่บ้าน ถ้าคิดถึงปั๊บนี่ เดี๋ยวมันจะนั่งอยู่ไม่ได้แล้ว เดี๋ยวกลัวบ้านไหม้ต้องรีบกลับบ้านไปปิด แต่ถ้าลืมคิดถึงมัน มันจะไหม้เราก็ไม่รู้ เราก็สงบของเราสบายไป อันนี้คือสมาธิ อย่างไรมันก็ต้องไหม้อยู่ดี ไม่ไหม้มันก็ต้องพังอยู่ดี บ้านสร้างมันไปห้าสิบปีร้อยปีก็ต้องทุบทิ้งอยู่ดี มีอะไรอยู่คงเส้นคงวาบ้าง ดูกรุงศรีอยุธยาสิ มโหฬารใหญ่โตขนาดไหน เดี๋ยวนี้ก็กลายเป็นซากปรักหักพัง

ถ้าจะคิดก็ให้คิดไปในทางปัญญา คิดไปในทางความเป็นจริงว่าทุกอย่างมันจะต้องมีวันจบวันหมด ร่างกายของเราดูแลรักษามันดีขนาดไหน เดี๋ยวมันก็ตาย จะใหญ่โตร่ำรวยขนาดไหน ก็ห้ามมันไม่ได้ ถ้าไปกังวลกับมัน กังวลไปทำไม ห่วงมันทำไม แล้วเราไปเปลี่ยนมันได้หรือเปล่า เปลี่ยนแปลงมันได้หรือ ห้ามมันได้หรือ ก็ไม่ได้อยู่ดี ไปวุ่นวายไปทำไม ไปทุกข์กับมันทำไม พอมันเห็นด้วยปัญญา มันก็ไม่ทุกข์ มันก็เฉยๆ ไป.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


การภาวนามี ๒ ขั้น
ถาม : การภาวนาคือการนั่งสมาธิท่องพุทโธพุทโธใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ : ใช่ การภาวนามี ๒ ขั้น ขั้นแรกเรียกว่าสมาธิสมถะภาวนา ก็คอยใช้สติ คอยหยุดความคิด เช่น การท่องพุทโธๆ ไป พอจิตสงบมีสมาธิแล้ว ขั้นต่อไปเวลาออกจากสมาธิ เราก็ใช้ให้ใจคิดทางปัญญาเรียกว่าวิปัสสนา ให้คิดว่าร่างกายของเราเกิดแล้วต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ทำไมให้คิดทั้งๆ ที่คิดว่าเรารู้แล้ว แต่เราลืม พอเราไม่คิดปั๊บเราก็ลืม เราก็จะลืมแก่ลืมเจ็บลืมตายได้

ฉะนั้นต้องคิดบ่อยๆ คิดทุกลมหายใจเข้าออก อย่างเมื่อกี้ฝรั่งเขาถามว่าท่านคิดถึงอนาคตใน ๕ ปีข้างหน้าอย่างไร ก็คิดแค่อนาคตแต่ข้างหน้านี่คือหายใจเข้ากับหายใจออกยังงี้ ถ้าหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย คิดแค่นี้ก็จะทำให้ใจเราหายหลง หายวุ่นวาย หายกังวลกับสิ่งต่างๆ อันนี้คือปัญญา

ขั้นที่ ๒ เรียกว่าวิปัสสนาภาวนา ต้องใช้ความคิด คิดแต่เรื่องความเป็นจริง คิดจนกระทั่งเราไม่หลงไม่ลืม คิดว่าเราจำได้ เราพร้อมที่จะตายทุกเวลานาที พร้อมหรือยัง ตอนนี้ถามตัวเองว่า ตอนนี้เราพร้อมที่จะตายหรือยัง ตอนนี้ถ้ายังไม่พร้อมก็แสดงว่าเรายังไม่เห็นความจริงว่าร่างกายนี้ต้องตาย แล้วจะตายได้ทุกเวลานาที ไม่มีใครไปกำหนดได้.


               สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


ต้องชนะตนไม่ใช่ชนะผู้อื่น
ถาม : ทำไมคนภาวนาจึงดูเหมือนไม่ค่อยสู้คน ไม่ตอบโต้ ยอมคนอื่นง่ายๆ ทำให้คนรอบข้างมองว่าเป็นคนไม่ทันคน เพราะเหตุใดเจ้าคะ

พระอาจารย์ : เพราะคนฉลาดไง เพราะว่าคนรอบข้างไม่ใช่ศัตรูของเขา ศัตรูของเขาคือกิเลสตัณหา ไอ้ตัวที่มักใหญ่ใฝ่สูง ตัวที่คิดว่าตัวเองเก่งตัวเองดีนี่แหละ ไอ้ตัวนี้แหละเป็นตัวที่สร้างปัญหาให้กับเรา คนรอบข้างเราไม่ใช่เป็นคนที่สร้างปัญหา สร้างความทุกข์ให้กับเรา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าการชนะคนอื่นเป็นหมื่นเป็นแสนก็สู้ชนะตนไม่ได้ เพราะชนะคนอื่นก็เป็นเวรเป็นกรรมกัน เราชนะเขา เขาก็โกรธแค้นโกรธเคืองเรา เราแพ้เขาเราก็โกรธแค้นโกรธเคืองเขาอาฆาตพยาบาทจองเวรกันไป แต่ถ้าเราชนะความโกรธในตัวเราชนะความโลภในตัวเรา ใจเราก็จะสงบ แล้วเราก็ไม่ต้องไปมีปัญหากับใคร อันนี้แหละคือการชนะที่แท้จริง ต้องชนะตน ไม่ใช่ชนะผู้อื่น คนฉลาดเขาจึงไม่ไปต่อกรกับคนอื่น ก็เลยลักษณะเหมือนกับว่าเป็นคนยอมแพ้ แต่ความจริงกำลังต่อสู้กับข้าศึกศัตรูที่สู้ยากที่สุดก็คือตัวเองนี่แหละ ไอ้ตัวที่จะเอาชนะตนเอง ตัวนี้มันสู้ยาก เอาชนะคนอื่นมันง่าย ทุบหัวเขาตีหัวเขา เขาก็ตายแล้ว แต่ไอ้ตัวนี้มันไม่ตายง่ายๆ ถึงต้องใช้สูตร ๓ ย. เข้าใจไหม ยอม หยุด แล้วก็เย็น ก็ยอมแพ้นั่นแหละ ไม่ยุ่งแล้ว ใครจะพูดอะไร ใครจะด่าอะไรก็ปล่อยเขาด่าไป เรายอมแพ้ ปล่อยให้เขาด่าไป เราจะได้หยุดความโกรธแค้นโกรธเคืองได้ พอเราหยุดได้แล้ว ใจเราก็จะเย็น มีความสุข ดีกว่าไปชนะเขา แล้วใจก็ร้อน หวาดกลัวว่าเขาจะต้องมาทำร้ายเราต่อไป ถ้าแพ้เขาก็ร้อนเพราะความเครียด พยาบาทเคียดแค้นอีก นั่นไม่ใช่วิธีที่ต่อสู้ที่แท้จริงของนักปราชญ์ นักปราชญ์ต่อสู้กับพี่ศัตรูที่แท้จริงก็คือกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในใจนี่เอง คือความเคียดแค้นอาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรม ชนะตัวนี้แล้วใจเย็นใจสงบใจสบาย ไม่มีเวรมีกรรมกับใครอีกต่อไป.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


ทำไมเราต้องละความอยาก
ทำไมเราต้องละความอยาก เพราะความอยากจะนำเราไปสู่ความทุกข์ไม่ใช่ไปสู่ความสุข ความสุขที่ได้จากการทำตามความอยากเป็นความสุขปลอมเป็นความสุขเดี๋ยวเดียว เป็นเหมือนเหยื่อที่ติดอยู่ปลายเบ็ด เหยื่อนี่มันชิ้นเล็กๆ เท่านั้นเอง แต่พอเราไปฮุบเหยื่อแล้วทีนี้เป็นยังไง ถูกตะขอเบ็ดเกี่ยวปาก เสียชีวิตเลยไหมปลา ปลาโง่ไม่ฉลาด เหมือนเหยื่อที่ติดอยู่ปลายเบ็ดคิดว่าเป็นอาหารอันโอชะ พอไปฮุบเหยื่อเข้าก็ถูกตะขอเบ็ดเกี่ยวปาก ถูกเขาดึงไปจับไปฆ่าลงหม้อแกง แต่ถ้าปลาฉลาดเห็นว่าโอยมันมีตะขอเบ็ดซ่อนอยู่นะ อย่าไปฮุบมันดีกว่า ถอยดีกว่า ก็จะปลอดภัย

จิตที่ฉลาดมีปัญญาก็จะเห็นว่าความสุขที่จะได้จากการทำตามความอยากนี้เป็นเหมือนกับเหยื่อที่ติดอยู่ปลายเบ็ด เพราะถ้าไปฮุบแล้วมันจะติด มันจะต้องอยากได้อยู่เรื่อยๆ ได้มาปั๊บเดี๋ยวมันก็หมดแล้ว เที่ยวมาปั๊บเดี๋ยวกลับมาบ้านเดี๋ยวมันก็หายไปแล้ว พรุ่งนี้ก็อยากไปเที่ยวใหม่แล้ว ถ้าไม่ได้ไปเที่ยวก็ทุกข์หล่ะสิ ทรมานใจแล้ว นี่คือปัญญา ทำไมเราต้องไม่ทำตามความอยาก ทำไมเราต้องละความอยาก เพราะความอยากเป็นผู้ที่จะดึงให้เราต้องไปทุกข์ ไม่มีวันจบไม่มีวันสิ้น เป็นผู้ที่จะดึงให้เราต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ถ้าเรารู้ด้วยปัญญาทุกครั้งเกิดความอยากเราก็จะสู้กับมันด้วยสติ มีสติมีปัญญาแล้วก็ต้องมีสติ สติปัญญานี้เป็นอาวุธเหมือนมือซ้ายมือขวาช่วยกันสนับสนุนกัน ปัญญาจะเป็นผู้สอนว่าทำไมไม่ควรทำตามความอยาก สติเป็นผู้หยุดความอยาก พออยากเราก็พุทโธพุทโธพุทโธไป หยุดคิดถึงเรื่องที่เราอยากเดี๋ยวมันก็หายไป หรือคิดในเรื่องที่ทำให้เราไม่อยาก เช่นคิดถึงแฟนก็คิดถึงศพเขา ก็คิดเขาเป็นซากศพคิดถึงอวัยวะต่างๆ ที่มีอยู่ในร่างกายเขา ก็ไม่อยากจะได้เขามาเป็นแฟน ถ้าเห็นโครงกระดูกเขาเห็นตับไตไส้พุงของเขา เห็นกระดูกเห็นอุจจาระเห็นปัสสาวะของเขา มันก็จะทำให้หายอยากได้ นี่ก็คือการใช้สติ ให้คิดไปในทางที่จะทำให้ไม่อยาก หรือไม่เช่นนั้นก็หยุดคิด ใช้พุทโธหยุดคิดไปได้ทั้งสองอย่าง ถ้าเห็นเป็นอสุภะได้ยิ่งดีใหญ่เพราะมันจะไม่อยากเลยต่อไป เห็นแฟนทีไรก็เห็นเป็นโครงกระดูกเห็นเป็นซากศพไป เห็นอาหารก็เห็นว่ากลายเป็นอุจจาระไป อาหารที่เรากินมันจะกลายเป็นอะไร มันไม่เป็นอุจจาระมันจะเป็นอะไร มันก็ไปเสริมอาการ ๓๒ บางส่วนก็ไปเสริมผมขนเล็บฟันหนัง ส่วนที่ไม่ไปเสริมก็กลายเป็นอุจจาระไป กินอาหารก็เหมือนกับกินอุจจาระนี่เอง ถ้าทุกครั้งที่เราอยากจะกินอาหาร เช่นเราถือศีล ๘ แล้วตอนเย็นนึกอยากจะกินอาหารก็คิดว่ากำลังจะกินอุจจาระ พอคิดอย่างนี้มันก็หายหิวเลย ไม่อยากกิน

นี่คือวิธีการใช้ปัญญาเพื่อหยุดความอยากต่างๆ ต้องมองมุมกลับอย่าไปมองมุมที่มันกิเลสชอบมอง กิเลสชอบมองมุมสวยเราก็ต้องมองมุมที่มันไม่สวย กิเลสชอบมองมุมที่อร่อยเราก็ต้องมองมุมที่ไม่อร่อย แล้วความอยากกินก็ไม่มี ความอยากจะนอนกับแฟนก็ไม่มี นี่คือปัญญาที่จะทำให้เราละความอยากต่างๆ ได้ เมื่อเราละความอยากต่างๆ ได้ การที่จะไปเกิดต่อไปก็ไม่มี เพราะเหตุที่จะดึงไปเกิดมันไม่มี เหมือนน้ำมันที่หมดถ้าเราไม่เติมน้ำมันพอน้ำมันหมดเราไม่เติม รถมันก็วิ่งไม่ได้ น้ำมันที่พาให้จิตเราไปเวียนว่ายตายเกิดก็คือความอยากนั่นเอง แต่ทุกครั้งที่มันอยากเราก็ไม่ไปเติมมัน เราไม่ไปทำตามความอยาก ต่อไปความอยากมันก็หมด หมดแล้วมันก็จะไม่มีอะไรมาดึงให้เราไปเกิดแก่เจ็บตายอีกต่อไป.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กุมภาพันธ์ 2561 18:31:10 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2561 07:55:45 »





















700
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มีนาคม 2561 16:27:03 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2561 18:06:58 »



อย่าไปทำตามความอยาก
ถ้าใจมีสมาธิแล้ว มีความสงบแล้ว มีอุเบกขาแล้ว จะกำจัดรัก ชัง กลัว หลงที่มีอยู่ในใจ ให้หายไปหมดได้ แล้วก็สามารถใช้ปัญญาสอนใจ เวลาอยาก ก็จะบอกว่าอย่าไปอยาก อยากแล้วทุกข์ อยากแล้วถ้าไม่ได้ก็ทุกข์ ถ้าได้แล้วเดี๋ยวก็อยากอีก เพราะสิ่งที่ได้มาแล้วเดี๋ยวมันก็หมดความหมายไป หมดความสุขไป ก็อยากจะได้สิ่งใหม่ต่อไปอยากเท่าไหร่ก็ไม่มีวันพอ แล้วเวลาเสียสิ่งที่เราได้มาไป ก็เสียใจทุกข์ใจอีก

ดังนั้นอย่าไปทำตามความอยาก แล้วจะไม่ทุกข์กับอะไรต่อไป ร่างกายจะแก่ก็อย่าไปอยากให้มันไม่แก่ อย่าไปอยากให้มันไม่เจ็บ อย่าไปอยากให้มันไม่ตาย เวลามันจะแก่ก็ปล่อยให้มันแก่ไป ผมจะหงอกก็ปล่อยให้มันหงอกไป หนังจะเหี่ยวก็ปล่อยให้มันเหี่ยวไป ถึงเวลามันเจ็บก็รักษาไป รักษาได้ก็รักษาไป รักษาไม่ได้ก็อยู่กับมันไป จนกว่ามันจะตายไป ถึงเวลามันจะตายมันก็ต้องตาย ไม่มีใครห้ามได้ หมอเก่งขนาดไหน ยาวิเศษขนาดไหนก็ไม่สามารถยับยั้งความตายได้ แต่ถ้ามีสติ มีปัญญานี้ จะยับยั้งความทุกข์ใจได้ ใจจะไม่ทุกข์กับความแก่ กับความเจ็บ กับความตาย ไม่ว่าจะเป็นของใครก็ตาม ของเราเอง ของผู้อื่น ของคนที่เรารัก ถึงเวลาเขาไปเราก็เฉยๆไปเท่านั้นเอง เวลาเขาอยู่เราก็เฉยๆ เวลาคนที่เราเกลียดยังอยู่เราก็เฉย เราก็ไม่ไปมีความอยากให้เขาตาย เขาจะอยู่ก็อยู่ไป เดี๋ยวถึงเวลาเขาก็ตายเองไม่ต้องไปฆ่าเขาให้เสียเวลาเสียเงินเสียทองเปล่าๆ ถ้าเราอยากจะให้ใครตายก็ให้คิดอย่างนี้ เดี๋ยวเขาก็ตายเองแหละ เราไม่ต้องไปทำอะไร ไปฆ่าคนเดี๋ยวเราต้องติดคุกติดตะราง ไปถูกเขาฆ่าต่อ ถ้าเราเห็นว่าทุกคนต้องตาย เราก็ไม่ต้องทำอะไร ข้าศึกศัตรูถึงมันจะร้ายกาจขนาดไหน เดี๋ยวถึงเวลามันก็ตายกัน เห็นไหมฮิตเลอร์นี้มันตายรึเปล่า ถึงเวลามันจะตายมันก็ตายกันทั้งนั้น เราไม่ต้องไปทำอะไรมันหรอก ไม่ว่าใครทั้งนั้นในโลกนี้เกิดมาแล้วต้องตายกันไปหมด ไม่รู้จะไปทำสงครามป้องกันกันทำไม ก็ไปฆ่ากันอยู่ดี ทำสงครามเพื่อป้องกันความตาย ก็ไปฆ่ากันตายอยู่ดี สู้อยู่กันอย่างสงบดีกว่า มาฝึกสติทำใจให้สงบ มาสร้างความสุขแบบที่ไม่ต้องใช้ร่างกายดีกว่า ถ้าเรามีความสุขทางใจ ด้วยสติด้วยปัญญาแล้ว เราก็จะไม่ทุกข์กับเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ทุกข์กับการเปลี่ยนแปลง การเสื่อมการดับของสิ่งต่างๆ.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


ต้องสร้างสติขึ้นมาก่อน
ถาม : เวลาเดินจงกรม นอกจากเจริญสติแล้ว เราสามารถจะพิจารณาธรรมได้ไหมคะ

พระอาจารย์ : ได้ เพียงแต่ว่ามันคนละขั้นกัน ขั้นแรกนี่เราต้องการสร้างสติขึ้นมาก่อน เพราะการสร้างสตินี้เหมือนกำลังหัดยืนอยู่ หัดยืนหัดเดินอยู่ การพิจารณานี้มันเหมือนกับกำลังหัดวิ่ง มันคนละขั้น มันข้ามขั้นตอน แล้วมันจะไม่ได้ผล เพราะมันจะล้ม มันจะพิจารณาได้คำสองคำ แล้วเดี๋ยวก็ไปคิดเรื่องกิเลสแล้ว ฉะนั้นสู้ฝึกสติให้ควบคุมไม่ให้มันคิดก่อนดีกว่า หยุดความคิดให้ได้ก่อน ถ้าเราหยุดความคิดได้แล้ว ทีนี้เวลาเราอยากให้มันคิดอะไร เราก็สั่งให้มันคิดได้ แล้วถ้ามันเกิดเถลไถล เราก็จะหยุดมันได้ แต่ถ้าเรายังหยุดความคิดไม่ได้ พอเราไปพิจารณาปัญญา ตอนต้นก็ปัญญา แล้วทำไปทำมาก็คิดไปทางกิเลสขึ้นมา ก็จะหยุดมันไม่ได้ ฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็อย่าเพิ่งคิดทางปัญญา ฝึกสติหยุดความคิด แต่ปัญญาถ้ามีความจำเป็นอาจจะมีปัญหาทางใจเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน ก็ใช้ปัญญาได้ เช่นโกรธใครยังงี้ ก็พิจารณาให้อภัยเขา แผ่เมตตาไป หรือถ้าเกิดกามารมณ์ขึ้นมา ก็พิจารณาอสุภะเสียตอนนั้นเลย เช่นกำลังคิดถึงแฟน ก็เอาเลย ดูตับไตไส้พุงดูอะไรไป ตอนนั้นก็ใช้ปัญญาได้ แต่ให้มันมีเหตุผล ถ้าไม่มีเหตุผลจำเป็นแล้วก็อย่าเพิ่งไปใช้มันดีกว่า.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


★ •:*´¨`*:•.☆•★ •:*´¨`*:• ★

ทุกข์นี้มันเหมือนไฟที่เผาร่างกาย ทุกข์ใจของเรานี้ มันทารุณรุนแรงกว่าไฟที่เผาร่างกายมากมายหลายร้อยเท่า แต่เรากลับมองไม่เห็นว่ามันเป็นภัยสำหรับเรา

เรากลับสร้างความทุกข์ให้กับเราอยู่เรื่อยๆ ทุกข์กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร้องห่มร้องไห้เศร้าโศกเสียใจ มีใครมาบอกให้หยุดก็ไม่หยุดจะเอาแต่ใจของตนเอง อยากจะให้ได้สิ่งที่ตัวเองอยากได้ ถ้าไม่ได้ก็ทุกข์อย่างนี้ไปเรื่อยๆ นี่แหละคือ ความโง่เขลา เบาปัญญา อวิชา โมหะ ที่หลอกให้ใจผลิตความทุกข์เผาใจตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่เจริญปัญญา ไม่พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เห็นอริยสัจ ๔ เพราะไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญสติ ไม่นั่งสมาธิ ไม่ทำทาน ไม่รักษาศีล

อยากจะได้สิ่งต่างๆ ตามความอยากของตน ความอยากในกามตัณหา วิภวตัณหา วภตัณหาเท่านั้น แล้วก็ไปสร้างทุกข์ให้กับตนไม่พอ ยังไปสร้างทุกข์ให้กับคนอื่นด้วย ไปเบียดเบียนคนอื่น ไปรังแกคนอื่น อันนี้ก็เป็นเพราะว่า ไม่สนใจเรื่องบุญ เรื่องกุศล เรื่องของการทำทาน รักษาศีล ภาวนา สนใจเเต่เรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ สนใจความสุขทางตาหูตาลิ้นจมูกกาย ใจก็เลยผลิตแต่ไฟนรกมาเผาตัวเองอยู่โดยไม่รู้สึกตัว จะเผาไปเรื่อยๆ ไม่ใช่แต่ชาตินี้ชาติเดียว เผาแล้วนับไม่ถ้วน พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ไม่รู้กี่พระองค์ ก็ผ่านมาแล้วไม่ได้รับประโยชน์จากพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเลย ก็ยังผลิตกามตัณหา วิภวตัณหา ภวตัณหา มาคอยเผาใจตนเอง และเผาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ไม่ปฏิบัติ ไม่เร่งความเพียร ไม่ทำทาน ไม่รักษาศีล ไม่ภาวนา

และให้ทำตามขั้นตามลำดับไม่ให้ติดอยู่ขั้นใดขั้นหนึ่ง ทำทานแล้วก็ต้องก้าวเข้าสู่ขั้นศีล ขั้นศีลแล้วก็ต้องก้าวเข้าสู่ขั้นภาวนา อย่าไปคิดว่า ทำทานแล้วพอแล้วได้ทำบุญแล้ว อันนี้เป็นเสี้ยวหนึ่งของบุญ เสี้ยวใหญ่ยังไม่ได้ทำกัน เสี้ยวใหญ่ก็คือการภาวนา ต้องภาวนาต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะหลุดพ้น จนกว่าจะทำลายกิเลสตัณหาอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้เท่านั้น ถึงเรียกได้ว่า ได้ทำบุญเต็มที่ในโลกนี้แล้ว.


               ส่วนหนึ่งจากเทศนาธรรมะบนเขา วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๖
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


★ •:*´¨`*:•.☆•★ •:*´¨`*:• ★

ถาม : กราบเรียนถามเป็นกรณีศึกษาค่ะ กรณีคุณป้าที่ทุบรถจอดขวางทางเข้าบ้านที่เป็นข่าวอยู่ ควรใช้ธรรมะข้อใดในการแก้ปัญหาคะ

พระอาจารย์ : อ๋อ ก็ใช้กรรมไง ถือว่ามันเป็นกรรมของเราที่จะต้องเจอเหตุการณ์อย่างงี้ ก็ปล่อยมันไป ใช้ความเมตตา ก็คิดว่า เอ้า เขาไม่มีที่จอดรถ เขาอยากจะมาจอดรถตรงนี้ก็ปล่อยเขาจอดไป เราก็หาวิธีแก้ปัญหาแบบที่ไม่มีเรื่องก็คือ ถ้าเราไม่อยากให้เขาจอด เราก็ไปสร้างอะไรกั้นไว้ก็ได้นี่ ไปเอาถังน้ำมงถังน้ำมันหรืออะไรไปวางไว้ แต่อย่าไปทำร้ายของผู้อื่นเขา ทำให้ของเขาเสียหาย.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มีนาคม 2561 16:27:56 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5773


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 06 มีนาคม 2561 16:25:14 »



เครื่องกำกับการกระทำของกายวาจาใจ
ถาม : การวาง กาย วาจา ใจ เมื่อเราจำเป็นต้องพบปะหมู่คน คนหมู่มากหรือเพื่อน เราควรวางใจอย่างไรครับ

พระอาจารย์ : ก็ให้ใจ กาย วาจา ใจมีศีลมีธรรมนั่นเอง จะพูดอะไรก็อย่าพูดคำหยาบอย่าพูดเพ้อเจ้ออย่าพูดปด ทำอะไรก็อย่าไปทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เช่นอย่าไปลักทรัพย์ อย่าไปประพฤติผิดประเวณี คือการที่เรามีศีลเนี่ย ก็จะทำให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย จะไม่มีใครมาจับเราไปขังในกรง ถ้าเราทำผิดศีลนี่เราก็จะกลายเป็นเดรัจฉาน เขาก็จะไม่อยากให้เราอยู่กับพวกที่เป็นมนุษย์ เขาก็จะจับเราไปขังในกรง กรงก็คือคุกตะราง ถ้าเราไม่รักษาศีลเราทำบาปทำผิดกฏหมายก็จะต้องถูกเขาจับไปขังในคุกในตะราง ฉะนั้นถ้าเราอยากจะอยู่อย่างปกติสุขอย่างเป็นมนุษย์ก็จะต้องมีศีล ๕ เป็นเครื่องกำกับการกระทำของกายวาจาใจ.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

★ •:*´¨`*:•.☆•★ •:*´¨`*:• ★

ต้องมีข้อสอบมาพิสูจน์ใจ
ผู้ใดที่มีดวงตาเห็นธรรมแล้วนี้ จะไม่กลับไปอยู่ในเพศของฆราวาสอย่างแน่นอน ที่บอกว่าเป็นโสดาบัน แล้วกลับไป สึกไปนี้ ก็เป็นโสดาบันเทียมเข้าใจไหม โสดาบันตามความคิด แต่ไม่ได้เป็นไปทางจิตใจ คิดว่าตัวเองเข้าใจแล้วว่า ร่างกายไม่ใช่ตัวเราของเรา มันจะแก่ จะเจ็บ จะตายก็ช่างมัน อันนี้ก็พูดได้ เพราะมันยังไม่เจอของจริง มันยังไม่ได้ไปสอบ ต้องเข้าห้องสอบ ถึงจะรู้จริงว่าปล่อยได้หรือเปล่า ต้องนั่งสู้กับเวทนาให้เกิด แล้วมันดับของมันไปเอง แล้วจิตใจไม่มีความทุกข์ไม่มีความหวั่นไหวกับทุกขเวทนา คือความเจ็บปวดของร่างกาย แล้วก็ต้องพาร่างกายไปหาที่ไหนที่มันน่ากลัว ที่มันน่ากลัวตายนี้ ให้มันไปดูสิว่ามันยังกลัวอยู่หรือเปล่า อันนี้ถึงจะรู้ว่าเป็นโสดาบันจริงหรือไม่จริง

แต่เพียงแต่นั่งคิดตรงนี้ว่า อ๋อ ร่างกายไม่ใช่ของเรา เกิดแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ปล่อยให้มันตายไป อันนี้ก็พูดได้ ใครๆก็พูดได้ แต่เวลาไม่สบายแล้วไปหาหมอ หมอบอกเป็นมะเร็งนี่ จะรักษาไม่หายนี่ ดูสิใจจะเป็นยังไง ตอนนั้นแหละจะรู้ว่าเป็นโสดาบันหรือไม่โสดาบัน ถ้ารู้สึกเฉยๆ เอ้อ เดี๋ยวมันต้องธรรมดา มันต้องเจ็บเดี๋ยวมันต้องตาย เอ้อก็ดี จะได้เตรียมตัวเตรียมใจ โดยที่ไม่รู้สึกหวั่นไหว ไม่รู้สึกเศร้าโศกเสียใจเดือดร้อน อย่างนั้นแหละโสดาบันจริง

คือมันต้องมีข้อสอบมาพิสูจน์ใจ ไม่ใช่เพียงแต่ฟังหรืออ่านแล้วก็มาคิดว่า อ๋อ ร่างกายไม่ใช่เรา มาจากดินน้ำลมไฟ มาจากพ่อจากแม่ เดี๋ยวมันต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ถ้าไปยึดกับมันก็จะทุกข์ ฉะนั้นอย่าไปยึดมันดีกว่า อันนี้มันพูดได้ เพราะตอนนี้มันยังไม่ทุกข์ ต้องไปเจอตอนที่มันทุกข์ แล้วดูสิว่ามันทุกข์หรือเปล่า ไปเจอตอนที่มันเจ็บ ตอนที่มันตาย หรือสำหรับบางคน คนที่ชอบสวยชอบงาม พอเห็นหนังเหี่ยว พอเห็นผมขาวขึ้นมา ดูสิว่ามันทุกข์ขึ้นมาหรือเปล่า หรือสิวฝ้าโผล่ขึ้นมาบนใบหน้า

อันนี้แหละมันต้องมีข้อสอบ ไม่ใช่อยู่ดีๆมานั่งคิดตอนที่ยังไม่มีข้อสอบ เหมือนเด็กที่จะเข้าสอบ ยังไม่สอบนี่ โอ้ย ดูเข้าใจแล้วสอบยังไงก็สอบได้ เออพูดได้ แต่ต้องไปสอบก่อนถึงจะรู้จริงว่าสอบได้หรือสอบไม่ได้ ถึงแม้จะได้ทำการบ้านแล้วก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ไปทำข้อสอบนี้ ยังไม่รู้ว่าสอบได้จริงหรือเปล่า อันนี้ก็เหมือนกัน หรือเหมือนนักมวยที่ซ้อมชกอยู่กระสอบทราย ซ้อมชกกับคู่ซ้อมจนมีความมั่นใจ โอย เอาชนะมันได้แน่นอนก็ยังเป็นความคิดเท่านั้นเอง ยังไม่เป็นความจริง มันต้องรู้กันตอนที่ขึ้นเวทีเท่านั้นแหละ ถ้าไปขึ้นเวทีแล้วทีนี้จะรู้แล้วแพ้หรือชนะ ดังนั้นเราจะต้องเจอกับเหตุการณ์จริง แล้วถึงจะรู้ว่าใจเรานี้ทุกข์หรือไม่ทุกข์ปล่อยหรือไม่ปล่อย.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

★ •:*´¨`*:•.☆•★ •:*´¨`*:• ★

คำถามธรรมะบนเขา
ถาม : พ่อชอบขอเงินลูกไปซื้อเหล้า ถ้าไม่ให้จะบาปไหมเจ้าคะ

พระอาจารย์ : ไม่น่าจะบาปนะเพราะว่าการให้พ่อไปกินเหล้านี้มันบาป ไม่บาปหรอกแล้วก็ไม่ได้ขาดความเมตตาด้วย เพราะว่ามันไม่ได้เป็นการทำให้พ่อมีความสุขจริง กลับทำให้พ่อมีความทุกข์มากขึ้น เพราะร่างกายก็จะเจ็บไข้ได้ป่วยมากขึ้น แล้วจิตใจก็จะติดสุรา เวลาไม่ได้ดื่มสุราก็จะทุกข์ทรมานใจ ดังนั้นไม่ควรให้ได้จะดีกว่า ให้พ่ออดลงแดงไปให้ได้ ถ้าลงแรงไปได้หาย อยากกินเหล้าจะได้เห็นโทษของการดื่มสุราต่อไปก็จะเลิกดื่มสุราได้ เราต้องใจแข็ง ใจแข็งถ้าพ่อขอเงินไปดื่มสุรา อย่าให้

ถาม : แล้วถ้าให้เงินพ่อจะบาปไหมเจ้าคะ

อาจารย์ : ก็นั่นสิ ก็อย่าไปให้สิ ไม่บาป ไม่บาป แล้วก็ไม่ได้บุญให้ก็ไม่ได้บุญ ให้แบบนี้ไม่ได้เป็นการทำบุญ เพราะเป็นการส่งเสริมให้เขาไปทำบาป แต่ถ้าพ่อไม่มีข้าวกินอย่างนี้ พ่อขอเงินไปซื้อข้าวกินอย่างนี้ก็ต้องระวังว่าหลอกเราหรือเปล่า ก็พาไปซื้อข้าวกินหรือนั่งดูต่อหน้า หรือไปเอาข้าวแบบข้าวยอดข้าว (หัวเราะ).


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

★ •:*´¨`*:•.☆•★ •:*´¨`*:• ★

ทาน
มรรคขั้นแรกคือทาน เราทำทานเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องไปหาเงินหาทอง เราจะได้มีเวลามารักษาศีล มาภาวนาได้ ถ้าเรายังใช้เงินใช้ทองซื้อของตามความอยากต่างๆ เราก็จะต้องซื้ออยู่เรื่อยๆ เพราะความอยากจะไม่มีวันหมด ซื้ออะไรมาแล้วเดี๋ยวเห็นของอะไรใหม่ก็อยากจะซื้อใหม่ ถ้าไม่ได้ซื้อก็ทรมาน ทุกข์ทรมานใจ ก็ต้องซื้อเพราะทนไม่ไหว ทนกับความทุกข์ทรมานใจไม่ไหว เวลาเกิดความอยากใช้เงินแล้ว ถ้าไม่ได้ใช้เงินนี้มันจะตายให้ได้ มือไม้สั่นไปหมด แต่พอได้ใช้เงินแล้วสบายใจ แต่สบายเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวความอยากใช้เงินใหม่ก็โผล่ขึ้นมาอีก แล้วถ้าไม่มีเงินก็ต้องไปหาเงินมา ต้องทำงานมากขึ้น ถ้ายิ่งใช้มากก็ต้องยิ่งทำงานมากขึ้น เวลาก็จะหมดไปกับการหาเงิน กับการใช้เงินซื้อความสุขปลอม ที่มีทุกข์ติดตามมาด้วย พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ผู้ที่ยังใช้เงินใช้ทองซื้อความสุขต่างๆ ให้เอามาทำบุญทำทานแทน เพราะการทำบุญทำทานก็เป็นการซื้อความสุขอีกรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นการซื้อความสุขแบบไม่ได้ทำตามความอยาก แต่เป็นการฝืนความอยาก เป็นการหยุดความอยาก ทำให้เวลาเราทำบุญ ความอยากที่จะไปเที่ยวมันก็จะหมดกำลังไป แล้วต่อไปเราก็ไม่ต้องไปเที่ยว เราก็จะได้ไปบำเพ็ญ รักษาศีลไปภาวนาได้

นี่คือข้อที่ ๑. คือทาน ถ้าเรามีทรัพย์มีเงินทองที่เราจะเอาไปซื้อความสุข ทางร่างกายทางตาหูจมูกลิ้นกาย ซื้อของฟุ่มเฟือยต่างๆ ซื้อของที่ไม่จำเป็น ก็ให้เราหยุด เอาเงินนี้มาทำบุญ เพราะไม่มีเงินแล้วต่อไปมันก็ไม่เดือดร้อน ไม่มีเงินไปซื้อของต่างๆตามความอยาก ก็จะไม่เดือดร้อน เพราะความอยากมันจะหมดไป ทุกครั้งที่เราอยากแล้วเราไม่ทำตามความอยาก ความอยากมันก็จะหมดกำลังไปในที่สุด แล้วต่อไปเราไม่มีเงินทองเราก็จะไม่เดือดร้อน ถ้าเราต้องมีก็มีเฉพาะเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเท่านั้นเอง ซึ่งถ้าเราใช้แบบมักน้อยสันโดษก็ไม่ต้องใช้มาก เงินทองค่าแรงขั้นต่ำวันละสามร้อยนี้เหลือกินแล้ว มื้อละร้อย ถ้าอยู่แบบประหยัดอยู่แบบมักน้อยสันโดษ เราจะไม่ต้องใช้เงินทองมาก เราก็ไม่ต้องเสียเวลาหาเงินทองให้มาก เราจะได้มีเวลามารักษาศีล รักษาศีล ๘ แล้วก็ภาวนากัน

นี่คือหน้าที่ของการทำทาน เพื่อเปิดทางให้เราได้ไปรักษาศีล และไปภาวนา ถ้าเราไม่ทำบุญทำทาน เอาเงินไปเที่ยวกัน เอาเงินไปซื้อของฟุ่มเฟือยกัน เราจะไม่มีเวลามารักษาศีล ๘ มาภาวนา เพราะเราจะต้องเสียเวลาไปกับการหาเงินหาทอง เพื่อมาซื้อของต่างๆ เพื่อมาซื้อความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วพอเงินทองหมด ก็ต้องไปหาเงินใหม่ ต้องทำงานอยู่เรื่อยๆ จะไม่มีเวลาที่จะมาบำเพ็ญรักษาศีล บำเพ็ญจิตตภาวนา ได้แบบเต็มรูปแบบ ทำได้ก็แบบมือสมัครเล่น นานๆ ก็มาสักครั้งหนึ่ง ปีหนึ่งมาสักครั้งหนึ่ง มาอยู่วัดสักสามวัน มันจะไปได้อะไร มันก็ได้เพียงแต่ของชิมเท่านั้น เหมือนกับไปชิมอาหาร จะไม่ได้กินอาหาร เพียงแต่ได้ชิม เพราะเวลาไม่พอ ถ้าอยากจะกินอาหารอยากจะสัมผัสกับรสแห่งธรรมที่ชนะรสทั้งปวง จำเป็นจะต้องให้เวลากับการบำเพ็ญคือ การรักษาศีลกับการบำเพ็ญจิตตภาวนาให้อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเท่านั้น ถึงจะสามารถสัมผัสกับรสแห่งธรรมที่ชนะรสทั้งปวงได้ ดังนั้นผู้ที่บรรลุธรรมนี้เป็นผู้ที่ปฏิบัติแบบมืออาชีพทั้งนั้น ไม่ได้เป็นมือสมัครเล่น ไม่ได้ปฏิบัติปีละสามวันเจ็ดวัน แต่ปฏิบัติทุกวัน ถึงจะสามารถเข้าถึงรสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวงได้.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๐
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

★ •:*´¨`*:•.☆•★ •:*´¨`*:• ★

วิธีการปิดอบาย
ถาม : ขอพระอาจารย์เมตตาครับ สืบเนื่องจากพระอาจารย์พูดเรื่องการสร้างเสนาสนะ ก็มีความเชื่อว่า สร้างเจดีย์แล้วจะได้กุศลแรง จะปิดอบายได้ ?

พระอาจารย์ : ไม่จริง คือ จะปิดอบายได้ ก็ต้องรักษาศีล 5 ให้ได้ก่อน รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ก่อน ก็มีพระโสดาบันเท่านั้น ที่สามารถรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ตลอดเวลาได้ ก็มีตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

 ถาม : อย่างนี้ที่เขาบอกว่า ไปอินเดีย (น่าจะหมายถึงไปสังเวชนียสถาน) จะปิดอบายได้ 1 ชาติ ก็ไม่ใช่ซิครับ ?

พระอาจารย์ : เป็นเพียงก้าวแรกของการนำไปสู่การปิดอบาย คือการทำให้เกิดความศรัทธา เชื่อว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีจริง เมื่อเชื่อแล้วก็จะเกิดศรัทธาที่จะศึกษา ที่จะปฏิบัติ พอศึกษาแล้วก็จะบรรลุเป็นพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นมา ก็จะปิดอบายได้ ไม่ใช่ว่าเพียง แต่ไปอินเดียวแล้วจะปิดได้ เหมือนมาที่นี่ (ศาลาไม้บนเขาชีโอน) มาที่แล้วต้องกลับไปปฏิบัติต่อ ถ้าปฏิบัติ จนบรรลุเป็นพระโสดาบันก็จะปิดอบายได้

เพราะพระโสดาบันจะรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ท่านไม่เสียดายชีวิต เพราะท่านเห็นว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวท่าน ร่างกายนี้จะทำบาปหรือไม่ทำบาป มันก็ต้องตายอยู่ดี แต่ผู้ที่ทำบาป คือใจต้องไปใช้กรรมในอบายต่อไป ท่านเห็นชัด เหมือนกับเราเห็นว่าถ้าทำผิดกฎหมายนี้เราก็จะต้องติดคุกแน่นอน เราก็จะไม่กล้าทำกัน แต่คนสมัยนี้เขาเก่ง เขามีวิธีที่จะไม่ติดคุกได้ เขาเลยไม่กลัวกัน เลยกล้าทำกัน อันนั้นก็ช่วยไม่ได้ แต่อบายไม่มีวิธีกั้นได้ ถ้าทำบาปแล้วต้องไปแน่ๆ เงินก็ปิดไม่ได้ มีวิธีเดียวก็คือต้องไม่ทำบาปเท่านั้นเอง ต้องรักษาศีลให้ได้ และการจะรักษาศีลได้ เราต้องรู้ว่าร่างกายนี้เราจะรักษามันยังไงก็รักษาไว้ไม่ได้ ยังไงมันก็ต้องตายอยู่ดี

ดังนั้น การที่จะไปทำบาป เพื่อรักษาร่างกายก็เป็นการที่จะทำให้เราไปใช้กรรมในอบาย สู้ยอมปล่อยให้ร่างกายตายไปดีกว่า แล้วเราไม่ทำบาป เราก็จะได้ไม่ต้องไปให้กรรมในอบายต่อไป อย่างพระโสดาบัน ท่านเห็นว่าร่างกายไม่ใช่ตัวของท่าน เห็นว่ามันจะต้องตาย ท่านก็เลยไม่ต้องไปรักษามัน เวลาอดข้าว อดอยากขาดแคลน ก็ไม่ไปลักขโมย เพื่อที่จะทำบาป เพื่อที่จะหาอาหาร หายามารักษาร่างกาย ถ้าจะหาก็หาโดยไม่ทำบาป ถ้าหาไม่ได้ก็ปล่อยให้มันตายไป รักษาก็ตายอยู่ดี ไม่รักษาก็ตายอยู่ดี ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง แต่ทำบาปแล้วต้องไปใช้กรรมในอบาย ถ้าไม่ทำบาปก็ไม่ต้องไปใช้กรรมในอบาย.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

★ •:*´¨`*:•.☆•★ •:*´¨`*:• ★

ใจเราจะไม่เดือดร้อน
ทุกสิ่งทุกอย่างมีเกิดแล้วก็ต้องมีดับไป เช่นเขาด่าเราแล้ว เดี๋ยวเขาก็ต้องหยุดด่าเอง เขาไม่มีกำลังที่จะด่าไปตลอดเวลา ปล่อยให้เขาด่าเราให้เต็มที่เลย เเล้วเดี๋ยวเขาก็หมดกำลังไป แล้วเขาจะไม่กลับมาด่าเราอีก เพราะรู้ว่าด่าแล้วไม่ได้อะไร ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกเดือดร้อน หรือวุ่นวายใจกับคำด่าของเขา

เขาด่า เราก็ฟังเขาด่า ความจริงเขาก็ไม่ต้องการอะไร ต้องการระบายความรู้สึกที่มีอยู่ภายในใจของเขา เหมือนเราระบายความรู้สึกของเรา เราไม่สนใจด้วยซ้ำว่าเขาฟังหรือไม่ฟัง เขาชอบหรือไม่ชอบ เราไม่สนใจ เราเพียงแต่อยากระบายความคับแค้นที่ออกจากใจเราเท่านั้นเอง พอระบายหมดไปแล้วก็ไม่รู้จะระบาย ถ้าไม่ได้ระบายอาจจะระเบิดขึ้นมาได้ ถ้าไม่ได้พูดเดี๋ยวจะเอาปืนมายิ่งเรา มาฆ่าเราก็ได้ เหมือนกับกาน้ำที่เราต้มน้ำ ถ้าเราไม่มีรูให้ไอน้ำมันออกมา เดี๋ยวกาน้ำจะต้องระเบิด

ดังนั้น ถ้าเขาอยากจะด่า อยากจะระบายความเครียดแค้น ความโกรธ ไม่พอใจของเขาออกมา ก็ปล่อยเขาพูดออกมา ก็ดีแล้วปล่อยเขาพูด ดีกว่าเขามาตีเรา เขาด่าเราดีแล้วเขาไม่ตี เขาตีเราก็ดีแล้วที่เขายังไม่ฆ่าเรา ให้คิดอย่างนี้แล้วเราจะอยู่นิ่งเฉยได้ เราจะไม่เดือดร้อนกับการกระทำต่างๆของคนทั้งหลาย ไม่ว่าจะชมก็ไม่ได้ตื่นเต้นดีอกดีใจ คำชมก็เป็นเสียงเหมือนกัน คำด่าก็เป็นเสียงเหมือนกัน ชมแล้วก็หายไปเหมือนกัน ด่าแล้วก็หายไปเหมือนกัน คนฟังก็ยังเป็นเหมือนเดิมอยู่ ไม่ได้วิเศษ ไม่ได้เป็นทองขึ้นมาเวลาเขาชมเราว่าดียังงั้น ดีอย่างนี้ เราก็ไม่ได้เป็นทอง เป็นเพชรขึ้นมา

เวลาเขาด่าเรา เราก็ไม่ได้เป็นโคลนเป็นตมตามที่เขาด่า เราก็ยังเป็นคนเดิมอยู่ เหมือนเดิมอยู่ทุกอย่าง แล้วเราไปตื่นเต้นดีใจเสียใจกับการชมกับการด่าของคนอื่นทำไม ก็แสดงว่าเราโง่ เราไม่รู็จักรักษาใจของเราให้อยู่อย่างสุข อย่างสบาย เราต้องเป็นเหมือนจิ้งหรีดให้เขามาปั่นอยู่เรื่อยๆ เวลาเขาปั่นเรา เราก็ร้องกรี๊ดๆขึ้นมา ดีอกดีใจขึ้นมา เวลาเขาด่าเรา ก็ร้องห่มร้องไห้ขึ้นมา แล้วเราได้อะไรจากการด่าการชมของเขา เราก็ยังเป็นคนเดิมอยู่เหมือนเดิม

ดังนั้น เราควรมาฝึกฝนอบรมจิตใจของเราให้ฉลาด ให้เป็นหินให้มีความหนักแน่น ไม่ให้สะทกสะท้านกับสิ่งต่างๆทั้งหลายในโลกนี้ เพราะว่า มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ไม่ได้เกิดขึ้นกับใจ ใจแค่เพียงอาศัยร่างกายเพื่อมารับรู้เหตุการณ์ต่างๆ เหมือนกับเราดูภาพยนต์ เราไม่ได้อยู่ในจอภาพยนต์ เหตุการณ์ในจอภาพยนต์ไม่เกี่ยวกับเรา เราเพียงรับรู้เท่านั้น.


               ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๖
               พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 235


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.132 Chrome 80.0.3987.132


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 17 มีนาคม 2563 20:14:54 »

สาธุ สาธุ สาธุครับ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.714 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 27 พฤศจิกายน 2567 02:46:03