[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 19:12:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หอระฆังแห่งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระฆังซึ่งจะดังเมื่อมีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช  (อ่าน 2878 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7886


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 15:18:20 »

หอระฆังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ระฆังซึ่งจะดังเมื่อมีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช



หอระฆัง ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นใหม่โดยมีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมไทย
ย่อมุมไม้สิบสอง (สี่ด้าน ด้านละสามมุม) ประดับด้วยเครื่องถ้วยชามแบบจีน เป็นลวดลายต่างๆวิจิตรพิสดารอย่างยิ่ง ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่
เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549

กล่าวกันว่าองค์ระฆัง ได้มาจากวัดระฆังโฆษิตาราม ซึ่งสมเด็จพระพุทธาจารย์โต พรหมรังษีได้ขุดพบพร้อมกับระฆังอีก 5 ใบ
แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าเท็จจริงประการใด เนื่องจาก หอระฆังแห่งนี้ตั้งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
ระฆังใบนี้จึงจะตีเฉพาะโอกาสสำคัญๆ คือ การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชโดยจำตีนับจำนวนครั้งตามลำดับว่าองค์ที่เท่าไหร่ก็ตีเท่านั้น เท่านั้น



ข้อมูล: วิกิพีเดีย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7886


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 15:23:58 »


ด้านนักเขียนชื่อดังอย่าง ส.พลายน้อย เองก็เคยเขียนเกี่ยวกับ หอระฆังวัดพระแก้ว ลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ไว้ดังนี้



https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2016/09/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%86%E0%B8%B1%E0%B8%87-728x1212.jpg
หอระฆังแห่งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระฆังซึ่งจะดังเมื่อมีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช


หอระฆังที่เห็นในภาพ เป็นหอระฆังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้รับการยกย่องว่าเป็นหอระฆังที่มีรูปทรงงดงาม
ฝีมือการประดับกระเบื้องก็ประณีต ตามประวัติกล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้รื้อหอระฆังที่สร้างไว้แต่ครั้งรัชกาลที่ 1
แล้วสร้างใหม่ในที่เดียวกัน ในหนังสือจดหมายเหตุการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในการฉลองพระนครครบรอบ 200 ปี
พุทธศักราช 2525 (กรมศิลปากร) ได้อธิบายต่อไปอีกว่า ในครั้งนั้น “ให้แขวนระฆังซึ่งขุดพบคราวทรงปฏิสังขรณ์วัดระฆังโฆษิตามราม
กล่าวกันว่าเป็นระฆังที่มีเสียงกังวานไพเราะอย่างยิ่ง”

เรื่องระฆังนี้เป็นปัญหา เพราะมีกล่าวไว้ไม่ตรงกัน ฝ่ายวัดระฆังโฆสิตารามก็ว่าเอามาจากวัดระฆัง ฝ่ายวัดสระเกศก็ว่าเอามาจากวัดสระเกศ
จะจริงเท็จอย่างไรก็ไม่ทราบ บางทีอาจจะเป็นระฆังที่เอามาแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 ครั้นรื้อหอระฆังสร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 ก็อาจเปลี่ยนระฆังด้วย
หรือเปลี่ยนมาก่อนนั้นก็ได้ ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะมีกลอนเพลงยาวของกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ กล่าวถึงระฆังวัดพระศรีรัตนศาสดารามตอนหนึ่งว่า

อ้างถึง

“ถึงจะทุ่มหนักเบาก็บันดาล
ส่งกังวานเสนาะลั่นไม่พลิกแพลง
แต่แรกหล่อมาก็นานจนปานนี้
สิบเจ็ดปีที่เป็นนิตย์ไม่ผิดกระแสง”


กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2344-2399) ฉะนั้นที่กล่าวว่าระฆังหล่อมาได้นาน 17 ปี
จึงเป็นระฆังที่หล่อใหม่อย่างแน่นอน ไม่ใช่ระฆังที่วาเอามาจากวัดสระเกศหรือวัดระฆังที่กล่าวมาข้างต้น แต่จะหล่อไว้เมื่อไรไม่พบหลักฐาน


ผู้ที่รู้เรื่องการหล่อระฆังอีกคนหนึ่งก็คือ นายมี กวีมีชื่อในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เขียนจดหมายเหตุพรรณนาถึงระฆังวัดพระแก้วไว้ตอนหนึ่งว่า

อ้างถึง

“องค์ระฆังแขวนห้อยร้อยเหล็กห่วง อยู่กลางดวงดาวยาววา ๑ ถึงคอเหล็กล้วนปิดทอง
ลงมาคล้องหน่วงห่วงนาคหลังระฆังทองหล่อปากแลคอค่างแลขอบรอบไปล้วนใสขัดหมดจด
ผ้าพาดและรัดประคดแลปุ่มนั้นปิดสุวรรณคำเปลวล้วน โดยส่วนสูงศอกคืบ ๕ นิ้ว กว้างศอก ๔ นิ้ว
ขึ้นลอยลิ่วลั่นชื่อลือเสียงสำเนียงเสนาะ เมื่อถึงยามย่ำบันเดาะเพราะดังเป็นกังวาน
วิเวกหวานวังเวงเง่งแว่วเข้าแก้วหู เป็นที่ชูชื่นใจไพร่ฟ้าวงศาสุรศักดิ เคยประจักษ์จำสำเหนียกสำเนียงไก่เมื่อตี ๑๑…”


และอีกตอนหนึ่งเล่าประวัติว่า

อ้างถึง

“ด้วยเดิมที่สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวอันทรงธรรอนันตคุณวิบุลเลิศฟ้าที่ล่วงแล้วนั้นทรงหล่อ พร้อมด้วยพระหน่อสุริวงเสนาองคนางใน
ถอดกำไลแหวนทองแลเงินแลนากนั้นหลากหลาย ใส่ละลายหล่อหลอมพร้อมเพรียงเสียงจึงดี ด้วยพระบารมีภินิหารอันทรงหล่อต่อตั้ง
มาครั้งนี้เล่าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวอันทรงธรรวิริยาทึก โดยลึกซึ้งแสนละเอียดสุขุมภาพมาทรงปฏิสังขรณ์
ก็ยิ่งวัฒนาถาวรวิจิตรโจกระฆังทั้งจังหวัด คู่บารมีพระศรีรัตนปฏิมากรมรกฏ ซึ่งพระอินทรองค์ทรงรจนามาแต่งตั้ง
ใครได้ฟังก็เป็นมงคลควรเงี่ยหูชื่นชูใจ”


ตามประวัติอาจเป็นได้ว่าระฆังได้หล่อเมื่อรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ความก็ดูเกี่ยวข้องกันดี
สรุปว่าเรื่องระฆังที่เล่ากันมาดังกล่าวข้างต้นไม่เป็นความจริง


ที่มา: คอลัมน์ “รูปเก่าเล่าเรื่อง” โดย ส.พลายน้อย ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543
คัดลอกบทความและภาพจาก: www.silpa-mag.com/featured/article_2237
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7886


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 15:30:00 »


หอระฆัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นให้ครบบริบูรณ์ ตามระเบียบของการสร้างวัดคือ มีพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ พระมณฑปประดิษฐานพระไตรปิฎก
และหอระฆัง

ระฆังที่นำมาประดิษฐานนี้สันนิษฐานได้เป็น ๒ นัย นัยหนึ่งกล่าวว่า เป็นระฆังซึ่งพบในการขุดสระเพื่อสร้างหอไตร
ที่วัดระฆังโฆสิตาราม และทรงผาติกรรมมาจากวัดนั้น เนื่องด้วยเป็นระฆังที่มีเสียงกังวาลมาก
แต่อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าเป็นระฆังที่โปรดเกล้า ฯ ให้หล่อขึ้นเพื่อประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยเฉพาะ
หอระฆังที่สร้างขึ้นในรัชกาลนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีรูปร่างอย่างไร

ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ สันนิฐานว่าสร้างขึ้นในตำแหน่งเดิมโดยรื้อหอระฆังเก่าออกไป
แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อเตรียมงานสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี
ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงเป็นแม่กองประดับกระเบื้องหอระฆังทั้งหลัง
ในรัชกาลที่ ๗ ได้มีการซ่อมเฉพาะส่วนชำรุดโดยทั่วไปพร้อมทั้งลงรักปิดทองประดับกระจกส่วนยอดใหม่
ในรัชกาลที่ ๙ ได้มีการบูรณะในส่วนที่ชำรุดเสียหาย แต่ยังคงรักษาศิลปะเดิมไว้ไม่ได้เปลี่ยนแปลง



ลักษณะสถาปัตยกรรม

หอระฆังเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สร้างเป็นบุษบกทรงมณฑป ตั้งบนฐานทักษิณแบบปรางค์ย่อมุมไม้สิบสอง
ที่ฐานนี้มีประตูทางเข้า ๔ ด้านทำเป็นซุ้มจรนำรูปโค้งแหลมประดับด้วยกระเบื้องถ้วย หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา
เคลือบสีเขียวขอบสีแดง ตอนบนของซุ้มเป็นทรงบันแถลงนาค ๓ เศียร ๒ ชั้น มีช่อฟ้าและหางหงส์เป็นรูปหัวนาค
กรอบประตูเป็นไม้ทาสีเขียวเป็นรูปโค้งแหลมตามรูปซุ้มจรนำ ตอนล่างเป็นบานประตู ๒ บาน ทาสีเขียวเปิดเข้าไป
ตอนบนเป็นช่องลมกรุด้วยลวดตาข่าย ตรงกลางมีแผ่นไม้รูปกลมรีจำหลักเป็นลายพุดตาน

ส่วนล่างของฐานทักษิณประดับด้วยหินอ่อนสีเทารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยรอบ ผนังของฐานทักษิณประดับด้วยกระเบื้องก้นถ้วย
รูปกลมสีขาวเป็นพื้น ตกแต่งเป็นดอกด้วยกระเบื้องถ้วยสีต่าง ๆ เฉพาะตรงส่วนย่อมุมไม้สิบสองประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว
แบบลายไทย ซึ่งสั่งทำมาจากเมืองจีน พร้อมกับการนำมาประดับที่ปราสาทพระเทพบิดร ตอนบนและล่างทำเป็นบัวหัวเสา
และบัวปลายเสาประดับกระเบื้องถ้วย ขอบนอกประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเป็นลายรักร้อย

บุษบกประดิษฐานระฆังตั้งอยู่บนฐานเขียง และฐานสิงห์ ๒ ชั้น คั่นด้วยหน้ากระดานฐานบัว ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยสีต่าง ๆ
ส่วนบุษบกย่อมุมไม้สิบสองเป็นไม้ปิดทองประดับกระจกฐานเสาทำเป็นกาบพรหมศร หัวเสามีคันทวยรับชายคาโดยรอบ
ระหว่างเสาตอนบนประดับด้วยสาหร่ายรวงผึ้งปลายลายเป็นพญานาคปิดทอง ตอนล่างประดับด้วยกระจังปูนปั้นประดับกระจก
เพดานบุษบกปิดทองฉลุลายเป็นรูปดาวเพดานแขวนระฆังไว้ตรงกลาง



ที่มา: www.vcharkarn.com/vcafe/37346
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.899 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 06 พฤศจิกายน 2567 17:39:20