[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 กรกฎาคม 2568 03:20:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 12 ข้อ ปมส่งกลับ 'อุยกูร์' สรุปคำถามคาใจ ส่งกลับไปแล้ว ทำอย่างไรได้บ้าง  (อ่าน 111 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 มีนาคม 2568 17:21:13 »

12 ข้อ ปมส่งกลับ 'อุยกูร์' สรุปคำถามคาใจ ส่งกลับไปแล้ว ทำอย่างไรได้บ้าง
 


<span>12 ข้อ ปมส่งกลับ 'อุยกูร์' สรุปคำถามคาใจ ส่งกลับไปแล้ว ทำอย่างไรได้บ้าง</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-03-07T17:17:55+07:00" title="Friday, March 7, 2025 - 17:17">Fri, 2025-03-07 - 17:17</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ถือเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่ถาโถมเข้าใส่รัฐบาลแพทองธาร หลังจากเมื่อ 27 ก.พ. 2568 รัฐบาลตัดสินใจส่งผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์จำนวน 40 คนกลับจีน ดินแดนที่พวกเขาลี้ภัยออกมาตั้งแต่ปี 2557 ทำให้หลายฝ่ายต่างกังวลว่า ชาวอุยกูร์เสี่ยงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และอาจละเมิดหลักการไม่ผลักดันบุคคลใดก็ตามกลับไปเผชิญอันตราย หรือที่เรียกว่า ‘Non-Refoulement’</p><ul><li aria-level="1">ฝั่งรัฐบาลชี้แจงว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจส่งกลับ เนื่องจากทางการจีนมีการร้องขอมานานและมีเอกสารหลักฐานยืนยันความเป็นพลเมืองของชาวอุยกูร์ ประกอบกับหนังสือรับประกันความปลอดภัย และอนุญาตให้ไทยสังเกตการณ์กระบวนการส่งกลับ และส่งตัวแทนติดตามผล เพื่อยืนยันว่าจีนทำตามสัญญา</li><li aria-level="1">นอกจากเหตุผลข้างต้น รัฐบาลยังกล่าวอ้างถึงการไม่มีประเทศที่ 3 ที่ยินดีรับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ทั้งหมด แม้ว่า รัศม์ ชาลีจันทร์ ที่ปรึกษา รมต.กต. จะเปิดเผยภายหลังว่าไม่มีประเทศไหนเสนอ ‘รับจริงจัง’ และไทยทำไปโดยคำนึงผลประโยชน์ของชาติ การกักขังชาวอุยกูร์ในห้องกักต่อไปหลังผ่านไปกว่า 10 ปี น่าจะเป็นผลเสียต่อผู้ลี้ภัย การส่งกลับโดยที่จีนรับประกันว่าทุกคนจะได้พบครอบครัวที่พลัดพรากกัน ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย</li></ul><p>คำถามสำคัญคือการชี้แจงของรัฐบาลแพทองธาร เพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้รัฐบาลหลุดพ้นข้อกล่าวต่างๆ เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเข้าใจในหลายประเด็น</p><p>ประชาไทรวบรวมประเด็นข้อกังวลสุดคาใจ และข้อถกเถียงจากหลายฝ่ายไว้ที่เดียว ทั้งประเด็นที่ว่าการส่งกลับประเทศต้นทางโดยยึดเพียงหนังสือรับประกันและให้ติดตามไปสังเกตการณ์ด้วยนั้นเพียงพอหรือไม่ที่จะหลุดจากข้อกล่าวหาละเมิดหลักการไม่ผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย ทางเลือกอื่นๆ ของการกักขังชาวอุยกูร์ ข้อถกเถียงดรามาสรุปชาวอุยกูร์ยินยอมกลับจีนหรือไม่ ทำไมหลายประเทศจึงกังวลและดูไม่เชื่อถือรัฐบาลจีน รวมถึงรากฐานของปัญหาว่า ชาวอุยกูร์คือใครในแผ่นดินจีน พวกเขามีปัญหาอะไร</p><h2>1.ชาวอุยกูร์เป็นใคร และทำไมต้องลี้ภัย</h2><p>สำหรับชาวชาติพันธุ์อุยกูร์ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียง ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีจำนวนประชากรในพื้นที่ประมาณ 11-12 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณ 45% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในมณฑลซินเจียง 45 ล้านคน พวกเขามีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับคนตะวันออกกลาง และพูดภาษากลุ่มเตอร์กิซ</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53584235249_83113e38ea_b.jpg" width="1024" height="794" loading="lazy">แผนที่ซินเจียง โดยฮิวแมนไรท์วอตช์</p><p>จากการสำรวจสื่อและข้อมูลเบื้องต้น พบว่าการเข้าใจปัญหาในพื้นที่ซินเจียง และการอพยพลี้ภัยของชาวอุยกูร์ มี 3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาร่วมกัน</p><ol><li aria-level="1">นับตั้งแต่จีนเริ่มผนวกพื้นที่แห่งนี้เข้าภายใต้การปกครองของจีนเมื่อประมาณปี 2492 เป็นต้นมา&nbsp;จีนก็มีนโยบายให้ชาวฮั่นอพยพเข้ามาในมณฑลซินเจียงมากขึ้นผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ จนทำให้พลเมืองชาวฮั่นมีจำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ&nbsp; ทำให้ชาวอุยกูร์อาจรู้สึกว่าตัวเองกำลังกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง และสูญเสียอิทธิพลทางเศรษฐกิจ สังคม และการค้า</li><li aria-level="1">ปัจจัยที่สื่อหลายสื่อระบุว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนอุยกูร์เลือกอพยพลี้ภัยคือนโยบายกดขี่ทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมของจีนโดยเฉพาะการห้ามประกอบศาสนพิธี ห้ามถือศีลอดเดือนรอมฎอน มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามบางแห่ง ควบคุมเนื้อหาคำสอน ภาษาอุยกูร์ในการศึกษา และการละเมิดทางศาสนาอื่นๆ สำหรับอิสลามที่ผนวกเข้ากับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอย่างเข้มข้น เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่</li></ol><p>‘มาซียะห์’ (นามสมมติ) คนใกล้ชิดกับชาวอุยกูร์ในเรือนจำคลองเปรม ให้สัมภาษณ์ว่า ชาวอุยกูร์บางส่วนอพยพออกมา เพราะว่าปัญหาเรื่องชาวฮั่นที่อพยพเข้าไปในมณฑลซินเจียงมีจำนวนเยอะขึ้น ประกอบกับปัญหาการห้ามประกอบศาสนกิจตามศาสนาอิสลาม พวกเขายังรู้สึกด้วยว่าหากอยู่ในจีนต่อไป อาจถูกบังคับให้ร้องเล่นเต้นรำแสดงโชว์ทางวัฒนธรรม หรือต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามงานต่างๆ ซึ่งถือเป็นข้อห้ามสำคัญในศาสนาอิสลาม</p><ol start="3"><li aria-level="1">มาตรการกดปราบที่เข้มข้นในพื้นที่ซินเจียงของจีน อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากเหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่&nbsp;โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์ 9/11 เริ่มจากเมื่อปี เม.ย. 2552 ที่มีการก่อจลาจลโดยชาวอุยกูร์ที่เมืองอุรุมชี เมืองหลวงของซินเจียง เพื่อต่อต้านการอพยพเข้ามาของชาวฮั่น และการเลือกปฏิบัติทางศาสนา วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ในครั้งนั้นตำรวจจีนใช้กำลังปราบจนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 200 คน</li></ol><p>อีกเหตุการณ์คือเมื่อ 30 เม.ย. 2557 ได้เกิดเหตุระเบิดและโจมตีด้วยมีดที่สถานีรถไฟเมืองอุรุมชี ซึ่งตรงกับวันสุดท้ายของการเยือนซินเจียงของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เหตุการณ์นี้เป็นเหมือนจุดเปลี่ยนที่นำมาสู่นโยบายที่แข็งกร้าวต่อกลุ่มศาสนาอิสลามมากยิ่งขึ้น และจีนมักชี้ว่าตัวการเบื้องหลังความรุนแรงในพื้นที่คือกลุ่มที่ชื่อว่า 'อิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก (ETIM)'</p><p>หลังจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลจีนก็ถูกวิจารณ์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ซินเจียงอย่างต่อเนื่อง&nbsp;รายงานจาก สหประชาชาติ (UN)&nbsp;เผยแพร่เมื่อปี 2565 ระบุว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างการบังคับใช้แรงงาน การทรมาน และคุมขังโดยพลการในค่ายปรับทัศนคติ ซึ่งทางรายงานเชื่อว่ามีผู้ถูกกักขังประมาณ 1 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นคนที่นับถือศาสนาอิสลาม ขณะที่รัฐบาลจีนเรียกว่า 'ศูนย์ฝึกวิชาชีพ' เพื่อต่อต้านกับลัทธิแนวคิด 'สุดโต่ง' สร้างความปรองดอง และพัฒนาเศรษฐกิจ</p><p>ด้านสหรัฐฯ คู่ปรับของรัฐบาลปักกิ่ง เรียกการกระทำของจีนต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมด้วยคำที่รุนแรงว่ามันคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์</p><p>ส่วนสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เคยโพสต์ข้อความออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวโดยระบุว่ามีบางประเทศหรือกลุ่มต่อต้านที่พยายามเผยแพร่ข่าวลือที่ไม่เป็นจริง และสร้างความเข้าใจผิดโดยเจตนาเกี่ยวกับพื้นที่ซินเจียง ทางการจีนได้นำคนท้องถิ่นสู้กับปัญหาก่อการร้ายจนประสบความสำเร็จในปี 2559 และยังร่วมกันเสริมสร้างพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนส่งผลให้เศรษฐกิจในพื้นที่เจริญเติบโต</p><p>"ปัจจุบัน รายได้ต่อหัวต่อปีของประชาชนในซินเจียงเพิ่มขึ้นถึง 6.7% เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2567 ชนเผ่าต่างๆ ได้อยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง และประชาชนใช้ชีวิตและทำงานด้วยความสงบสุข" สถานเอกอัครราชทูตจีน ระบุ</p><p>นอกจากนี้ หลังจากมีการส่งตัวชาวอุยกูร์กลับรอบล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้ลองเช็กหน้าเพจสถานเอกอัครราชทูตจีนฯ ได้มีการโพสต์วิดีโอหลายตัวสัมภาษณ์คนท้องถิ่นเกี่ยวกับสิ่งดีๆ ในซินเจียง เช่น&nbsp;การมีเสรีภาพในการประกอบพิธีทางศาสนา&nbsp;ความรู้สึกของนักท่องเที่ยว ความสวยงามของซินเจียง และอื่นๆ</p><h2>2.จุดเริ่มต้นของการกักขังเกือบ 11 ปีในไทย</h2><p>ย้อนไปในประมาณปี 2557 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในสวนยางของ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองภาค 6&nbsp;ได้ควบคุมตัวกลุ่มผู้ลี้ภัยได้ประมาณ 220 คน แบ่งเป็น ชาย 78 ราย หญิง 60 ราย และเด็ก 82 ราย โดยทาง ตม.เองยังไม่ทราบว่ากลุ่มผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้เป็นใคร และมาจากไหน</p><p>ในห้วงเวลานั้น&nbsp;กัณวีร์ สืบแสง อดีตเจ้าหน้าที่ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ที่ประจำอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ (ปัจจุบันเป็น สส.พรรคเป็นธรรม) ได้รับการประสานให้เข้ามาช่วยดูผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ เขาได้พยายามพูดคุยจนท้ายสุดพบว่า ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้คือชาวอุยกูร์จากประเทศจีน และพยายามเดินทางไปยังประเทศตุรกี</p><p>กัณวีร์ ยืนยันว่า เขาพยายามประสานจนกระทั่งตุรกียอมรับผู้ลี้ภัย และมีการส่งเครื่องบินจากกรุงอังการา เมืองหลวงประเทศตุรกี เพื่อเข้ามารับตัวชาวอุยกูร์รวมประมาณ 420 คน โดยแบ่งเป็นชาวอุยกูร์ที่สงขลา 220 คน และชาวอุยกูร์ในห้องกัก ตม.สวนพลู อีกประมาณ 200 คน แต่ไม่สำเร็จ โดยเขาอ้างว่ากระบวนการดังกล่าวถูกหยุดลงจากการแทรกแซงของจีน&nbsp;</p><p>หลังจากนั้นชะตากรรมของผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ก็ถูกกระจายไปยังห้องกักกัน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทั่วประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของการกักขังอันยาวนาน</p><h2>3.เคยมีการส่งตัวอุยกูร์มาแล้ว 2 ครั้ง</h2><p>ช่วงระยะเวลากว่าทศวรรษ รัฐบาลไทยมีการส่งตัวชาวอุยกูร์ไปประเทศที่ 3 และการส่งกลับจีน&nbsp; รวม 2 ครั้ง โดยเกิดขึ้นในปี 2558 ในสมัยรัฐบาลจากรัฐประหารของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา</p><ul><li aria-level="1">เมื่อ 29 มิ.ย. 2558 ทางการไทยส่งตัวผู้หญิงและเด็กชาวอุยกูร์จำนวนราว 172 ราย ลี้ภัยประเทศตุรกี</li><li aria-level="1">เมื่อ 8 ก.ค. 2558 ทางการไทยมีการบังคับชาวอุยกูร์จำนวน 109 คน ใส่กุญแจมือ ใช้ถุงดำครอบศีรษะ และส่งตัวพวกเขาให้กับเจ้าหน้าที่จีนที่กรุงเทพฯ ก่อนจะพาชาวอุยกูร์ขึ้นเครื่องบินกลับไปจีน</li><li aria-level="1">ครั้งล่าสุดเมื่อกลางดึกของวันที่ 27 ก.พ. 2568 รัฐบาลแพทองธาร ส่งตัวชาวอุยกูร์จำนวน 40 คนกลับประเทศจีนแล้ว</li></ul><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ย้อนหนึ่งทศวรรษของการคุมขังผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์</li><li>3 รมต.แถลงด่วนส่งกลับ 40 อุยกูร์ กัก 10 กว่าปีหาประเทศที่ 3 ไม่ได้ โฟนอินจากจีนยันดูแลดี-ไม่มีคดี</li></ul></div><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54371350112_3c7a9d4c0c_b.jpg" width="819" height="1024" loading="lazy"><h2>4. ตอนนี้เหลือชาวอุยกูร์ทั้งหมดกี่ราย</h2><p>หลังจากการส่งตัวชาวอุยกูร์จำนวน 40 คนกลับประเทศจีน ข้อมูลล่าสุดจากสื่อต่างๆ และภาคประชาสังคมอย่างมูลนิธิศักยภาพชุมชน ระบุว่า ตอนนี้จะเหลือชาวอุยกูร์ในประเทศไทยอย่างน้อย 8 คน โดยแบ่งเป็นชาวอุยกูร์ 3 คนที่ถือพาสสปอร์ตต่างประเทศ และ 5 คนในเรือนจำคลองเปรม เนื่องจากต้องคดีอาญาจากกรณีแหกห้องกักใน จ.มุกดาหาร และคดีลักทรัพย์ โดยคาดว่าจะครบกำหนดโทษในปี 2572</p><h2>5. 'เข้าเมืองผิดกฎหมาย' ไม่เท่ากับผลักดันกลับประเทศต้นทางได้</h2><p>หลังการส่งกลับ รัฐบาลไทยต้องเผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่โหมกระหน่ำจากทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะข้อกล่าวหาการละเมิดหลักการไม่ผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย หรือที่เรียกว่า ‘Non-Refoulement’</p><p>ภัทรพงษ์ แสงไกร อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า หลักการ ‘Non-Refoulement’ กำหนดว่ารัฐผู้รับผู้ลี้ภัยไม่สามารถผลักดันผู้ลี้ภัย หรือผู้แสวงหาที่พักพิงกลับประเทศต้นทาง หากมีหลักฐานหรือข้อบ่งชี้ให้เชื่อได้ว่า หากผลักดันกลับไปแล้ว บุคคลดังกล่าวจะได้รับอันตรายต่อชีวิตหรือเสรีภาพของผู้ที่ถูกผลักดัน</p><p>"ความสำคัญของหลักนี้ อาจจะเรียกง่ายๆ ว่า&nbsp; ‘ปลอดภัยไว้ก่อน’ คือ เป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงด้วยการไม่ส่งคนออกไปเผชิญความเสี่ยงตั้งแต่แรก" ภัทรพงษ์ ระบุ</p><p>หลักการนี้ถูกระบุไว้ทั้งในกฎหมายภายในประเทศอย่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้สูญหาย มาตรา 13 หรือในอนุสัญญาที่ไทยไปเป็นภาคีอย่างอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT)</p><p>สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรระหว่างประเทศ ‘ฮิวแมนไรท์วอตช์’ ประจำประเทศไทย อธิบายว่า หลักการนี้ครอบคลุมต่อทุกคนไม่ว่าเขาจะมีสถานะอย่างไรก็ตาม แม้แต่การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน หรือคนที่เป็นที่ต้องการตัวโดยรัฐประเทศอื่น&nbsp;</p><p>"เขาจะเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้รับการรับรองจาก UN เป็นบุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย แม้แต่เป็นบุคคลที่ถูกต้องการตัวโดยกฎหมายของประเทศอื่น เช่น มีการออกหมายเรียกต่างๆ ที่ต้องการตัวคนเหล่านั้น ก็อยู่ในหลักการห้ามส่งกลับไปเผชิญอันตรายครอบคลุมทุกคน" ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอตช์ ระบุ</p><p>ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอตช์กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้มีความพยายามบอกว่า ชาวอุยกูร์เป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย และยังไม่ได้เป็นผู้ลี้ภัยของ UNHCR หรือประเทศไหนเลย เราจึงสามารถส่งตัวเขากลับในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายได้เลยนั้น คำกล่าวอ้างเช่นนี้มีปัญหา</p><p>"คนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรมลักลอบเข้าเมือง มันไม่ได้เกี่ยวกับการที่จะไปปลดภาวะความคุ้มครองที่เขาได้รับ การคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ หรือภาวะความคุ้มครองตามกฎหมายที่ไทยมีอยู่" สุณัย กล่าว</p><h2>6. ต่างจากรัฐบาลประยุทธ์ จีนรับประกันความปลอดภัย แต่อาจไม่พอ</h2><p>สำหรับที่รัฐไทยอ้างว่า จีนมีหนังสือทางการทูตถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อรับประกันความปลอดภัยของชาวอุยกูร์ เพียงพอที่จะทำให้หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาละเมิดหลักการไม่ผลักดันกลับไปเผชิญอันตรายหรือไม่&nbsp;</p><p>อาจารย์จากนิติศาสตร์ มธ. อธิบายก่อนว่า หนังสือรับรองทางทูตเป็นแนวปฏิบัติที่ค่อนข้างแพร่หลายในทางการทูต โดยเฉพาะช่วงหลังเหตุการณ์ 9-11 เป็นต้นมา หรือบางครั้งเราจะเรียกหนังสือรับรองว่า “Diplomatic Assurance” แต่ปัญหาพื้นฐานคือ ‘ลำพังแค่หนังสือรับรองอย่างเป็นทางการแค่อย่างเดียวมักจะไม่เพียงพอที่จะประกันว่าคนที่รัฐส่งตัวออกไปจะไม่เสี่ยงที่จะถูกทรมาน ถูกทารุณกรรม ถูกประหัตประหาร หรือถูกละเมิดสิทธิ์อย่างร้ายแรงในรูปแบบอื่นๆ’ แต่ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศปลายทางเป็นอย่างไร ที่ผ่านมารัฐนั้นปฏิบัติตามหนังสือรับรองลักษณะนี้หรือไม่เพียงใด ในประเทศปลายทางมีกลไกทางกฎหมายอะไรบ้างที่จะช่วยประกันว่ารัฐนั้นๆ สามารถปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาตามหนังสือรับรองได้จริง และหากรัฐไม่ปฏิบัติตามหนังสือรับรอง จะมีกลไกบังคับใช้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้อาจจะต้องคำนึงถึงความประสงค์ของคนที่จะถูกส่งตัวด้วย ในแง่นี้หลักห้ามผลักดันกลับ จึงมีความเข้มงวดและเคร่งครัดมาก</p><p>ภัทรพงษ์ กล่าวว่า เมื่อปี 2 ก่อน (2566) ศาลสหราชอาณาจักรเคยวินิจฉัยปัดตกการส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศรวันดา แม้ทางการรวันดาจะมีหนังสือรับรองทางการทูต และมีเงินสนับสนุนจากอังกฤษให้ แต่ศาลก็พิจารณาตามปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวข้างต้น และให้เหตุผลว่าแม้ว่ารวันดาจะทำหนังสือรับรองโดยสุจริต (in good faith) และแม้จะมีแรงจูงใจในการปฏิบัติตามหนังสือรับรองเป็นความช่วยเหลือทางการเงินจากอังกฤษ แต่ดูจากพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว ศาลเห็นว่า ณ เวลานั้น ยังขาดกลไกและแนวปฏิบัติอีกมากที่จะประกันว่าผู้ขอลี้ภัยจะไม่เผชิญความเสี่ยงจะที่ถูกประหัตประหาร</p><p>ภัทรพงษ์ กล่าวต่อว่า ในกรณีการส่งกลับชาวอุยกูร์ 40 คนของไทยสามารถนำเรื่องนี้มาตั้งคำถาม หรือพูดคุยต่อได้ว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ในซินเจียงตอนนี้เป็นอย่างไรแล้ว ที่ผ่านมาจีนปฏิบัติตามหนังสือรับรองหรือไม่ ในกรณีของไทยรัฐบาลเคยส่งชาวอุยกูร์กลับไปแล้ว ซึ่งเข้าใจว่าครั้งนั้นก็มีหนังสือรับรองลักษณะเดียวกัน ตรงนี้ถามได้ว่าจีนทำตามหนังสือรับรองมากน้อยแค่ไหน การที่อนุญาตให้รัฐบาลไทยไปติดตามสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนนั้นมีเงื่อนไขอย่างไร ฝ่ายไทยสามารถขอไปตรวจเองได้หรือไม่ หรือจะได้ไปก็ต่อเมื่อฝ่ายจีนเชิญเท่านั้น นอกจากนี้ มีกลไกคุ้มครองสิทธิชาวอุยกูร์อย่างไร เข้าถึงทนายหรือเข้าถึงศาลได้หรือไม่ และในท้ายที่สุด ถ้าจีนไม่ปฏิบัติตามหนังสือรับรอง จะมีกลไกบังคับใช้อย่างไร</p><p>สุณัย ก็มองเช่นเดียวกันว่า หนังสือรับรองไม่เพียงพอใช้เป็นเหตุผลส่งชาวอุยกูร์กลับ แม้ว่าทางการจีนจะมีการรับปากกับนายกรัฐมนตรีว่าจะรับประกันความปลอดภัย แต่ในกรณีของชาวอุยกูร์เป็นกรณีพิเศษ เพราะเคยมีรายงานหลายฉบับระบุว่าชาวชาติพันธุ์อุยกูร์ถูกประหัตประหาร และปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อเนื่องยาวนาน จนถูกเรียกว่าเข้าข่าย ‘การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ’ ดังนั้น ไทยควรต้องตรวจสอบในบริบทโดยรวมด้วยว่าสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการกระทำโหดร้ายต่อชาวอุยกูร์ดีขึ้นหรือยัง หากสภาพแวดล้อมยังไม่เปลี่ยนแปลง ก็หมายความการส่งกลับชาวอุยกูร์ของไทยก็ยังไม่เพียงพอที่จะพ้นจากพันธะกรณีของหลักการไม่ผลักดันบุคคลกลับไปเผชิญอันตรายที่ประเทศต้นทาง</p><h2>7.กระบวนการติดตามผลต้องเปิดกว้าง-อิสระ</h2><p>ส่วนมาตรการติดตามตรวจสอบผู้ถูกส่งกลับไปว่าจะได้รับอันตรายหรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทยถือว่าเพียงพอที่จะหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาละเมิดหลักการไม่ผลักดันกลับไปเผชิญอันตรายหรือไม่นั้น</p><p>ความเห็นของสุณัย มองว่า มาตรการติดตามที่ไทยทำเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่อาจยังไม่เพียงพอ เนื่องจากเบื้องต้น ฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และรองผู้บัญชาการตรวจแห่งชาติ ได้ไปร่วมสังเกตการณ์การส่งกลับเฉพาะกิจ ก็เผชิญข้อครหาด้านความน่าเชื่อถือ เรามีข้อมูลหรือไม่ว่าญาติที่พลัดพรากและมาเจอผู้ถูกส่งกลับเป็นญาติฝ่ายไหน ระดับไหน หรือมาโดยเต็มใจหรือไม่ อีกทั้ง ยังมีข้อกังวลด้านระยะเวลาการสังเกตการณ์นี้จะดำเนินไปยาวนานแค่ไหน หากสั้นไป มันก็ไม่พอที่จะมาสรุปว่าจีนรักษาคำพูด</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54357874215_ca332fe74e_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy">ภาพรองเลขาฯ สมช. เดินทางไปสังเกตการณ์การส่งกลับชาวอุยกูร์ 40 คน (ที่มา: พรรคเพื่อไทย)</p><h2>8. ข้อเสนอหลังส่งกลับอุยกูร์แล้ว</h2><p>ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์วอตช์ มีข้อเสนอถึงการส่งคณะผู้สังเกตการณ์ไปตรวจสอบกระบวนการชาวอุยกูร์ในประเทศจีน ดังนี้</p><p>1. ไทยควรระบุให้ชัดเจนถึงระยะเวลาที่จะไปสังเกตการณ์ ซึ่งอาจต้องไปตรวจสอบติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายปี และควรระบุให้ชัดด้วยว่าจะส่งคณะผู้แทนฯ ไปสังเกตการณ์ทุกกี่วัน เช่น 15 วัน 30 วัน เป็นต้น</p><p>2. ไทยทำตามลำพังอาจไม่มีความน่าเชื่อมากพอ เพราะว่ามีข้อครหาว่าเป็นการจัดฉากหรือไม่ ดังนั้น ไทยควรเจรจากับจีนให้มีการเปิดกว้างด้านการตรวจสอบ โดยควรมีผู้แทนจากหน่วยงานระหว่างประเทศอย่างสหประชาชาติ (UN) องค์กรอิสระที่มีความน่าเชื่อ หรือสถานทูตต่างๆ เข้ามาร่วมตรวจสอบในกรณีนี้</p><p>3. ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ต้องมีความอิสระอย่างแท้จริง ไม่ถูกจำกัด เช่น ทางการจีนบอกว่าจะดูอะไรได้ที่ไหน เท่าไร ในการไปเยี่ยมแต่ละครั้งผู้ร่วมสังเกตการณ์ควรมีอิสระในการบอกว่าจะทำอะไร</p><p>ศิววงศ์ สุขทวี จากเครือข่ายปฏิรูปการโยกย้ายถิ่นฐาน กลุ่มที่ทำงานเรื่องกฎหมายโยกย้ายถิ่นฐาน ก็ให้ความเห็นในแนวทางเดียวกันว่า คณะผู้แทนจากรัฐบาลไทยที่จะไปร่วมสังเกตการณ์ควรมีหน่วยงานที่เป็นอิสระและมีความน่าเชื่อถือร่วมติดตามไปด้วย อย่างน้อยที่สุดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)</p><p>โดยความเคลื่อนไหวล่าสุด เมื่อ 5 มี.ค. 2568&nbsp;ภูมิธรรม เวชยชัย ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุว่าเขาและทวี ในฐานะประธาน สมช.จะเดินทางไปเยี่ยมชาวอุยกูร์ และจะมาแจ้งให้ทราบ โดยเบื้องต้น คณะผู้แทนไทยมีการเปิดเผยว่าจะให้สื่อมวลชนประมาณ 40 คนร่วมเดินทางไปสังเกตการณ์ด้วย&nbsp;</p><h2>9.จากไม่มีประเทศที่ 3 สู่ไม่มีประเทศไหน 'จริงจัง'</h2><p>อีกประเด็นที่ถูกตั้งข้อสงสัยคือ รัฐบาลไทยระบุว่าไม่มีประเทศที่ 3 รับผู้ลี้ภัยอุยกูร์จริงหรือไม่ โดยก่อนหน้านี้&nbsp;ภูมิธรรม ออกมาเผยว่า ช่วง 2-3 ปีแรกมีการเสนอให้ UNHCR รับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ไป แต่ว่าเรื่องนี้ก็ไม่มีความคืบหน้า และประเทศตุรกีตอบรับชาวอุยกูร์แค่ผู้หญิง เด็ก-คนชราเท่านั้น ในช่วงท้ายก่อนส่งกลับก็ได้พูดคุยกับประเทศมหาอำนาจว่าไทยมีเพียง 2 หนทางคือส่งกลับประเทศต้นทาง และส่งไปประเทศที่ 3 ซึ่งรอมา 11 ปี&nbsp;แต่ไม่มีประเทศไหนยินดีรับ แต่พอจีนส่งเรื่องยืนยันว่ามีชาวอุยกูร์ตกค้างอยู่ และรับปากเรื่องสวัสดิภาพ จึงนำมาสู่การส่งคืนกลับประเทศตามกฎหมาย</p><p>ประเด็นนี้ทางกัณวีร์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม ได้ออกมาโต้โดยเอาเอกสารชวเลข การประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 10 ก.ค. 2567 มาเผยแพร่ ในตอนนั้นตัวแทนของกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข้อมูลในที่ประชุมว่ามีบางประเทศพร้อมรับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ไปตั้งถิ่นฐาน เช่น สหรัฐฯ สวีเดน และออสเตรเลีย ซึ่งหากรวมกับที่สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานด้วย จะมีประเทศแคนาดา เพิ่มมาอีก 1 ประเทศ</p><p class="picture-with-caption">&nbsp;</p><blockquote class="twitter-tweet"><p lang="th" dir="ltr">มาตามหา!! คนที่ถามหาหลักฐานครับ ว่าทางผู้แทนกระทรวงต่างประเทศแจ้งกับผมว่ามีประเทศที่ 3 มาขอรับชาวอุยกูร์ เอามาให้แล้วนะครับ “ชวเลข ของการประชุม กมธ.การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน วันที่ 10 กรกฎาคม 2567” ทางผู้แทน กต. ได้ให้ข้อมูลในที่ประชุมว่า… pic.twitter.com/1PltTkECJa</p><p>— กัณวีร์ สืบแสง Kannavee Suebsang (@nolkannavee) March 5, 2025</p><script async src="https://platform.twitter.com/widgets.js" charset="utf-8"></script><p>&nbsp;</p><p class="picture-with-caption">ที่มา: แพลตฟอร์ม X : กัณวีร์ สืบแสง</p><p>รัศม์ ชาลีจันทร์&nbsp;ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเมื่อ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา ชี้แจงว่ามีประเทศที่ 3 ที่ต้องการรับผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์จริง แต่พร้อมกันก็ระบุว่า&nbsp;“ไม่มีประเทศไหนที่แน่วแน่ที่จะรับไปจริงจัง” ที่จะไปเจรจาล็อบบี้ประเทศจีนให้อนุญาตให้ไทยส่งชาวอุยกูร์ไปประเทศที่ 3 หรือถ้าทางการไทยถูกจีนตอบโต้ เขาเชื่อว่าจะไม่มีประเทศไหนเข้ามาช่วยเหลือ และประชาชนในประเทศก็จะได้รับผลกระทบ</p><p>โพสต์ของรัศม์ ระบุต่อว่า เขาเคยหวังว่าจะส่งชาวอุยกูร์ไปประเทศที่ 3 ได้โดยเฉพาะเมื่อ 11 ปีที่แล้วตอนที่ยังไม่มีแรงกดดัน แต่ตอนนี้ต้องยอมรับว่าผลกระทบต่อการส่งไปประเทศที่ 3 ของไทยนั้นมันมหาศาล ยากที่จะทำได้จริงและโดยส่วนตัวเขาไม่เชื่อว่ามีรัฐบาลไหนกล้าทำ ซึ่งถ้าไม่ทำอะไรจะทำให้ชาวอุยกูร์ถูกขังอย่างยาวนาน และอาจเสียชีวิตในสถานกักกัน ดังนั้น จึงเชื่อว่าการส่งกลับจีนโดยที่รัฐบาลปักกิ่งรับประกันความปลอดภัยและชาวอุยกูร์จะได้รับการกลับคืนสู่สังคม จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย เขาเชื่อว่าจีนจะรักษาคำพูด เนื่องจากเป็นประเทศมหาอำนาจ</p><p>รัศม์ เชื่อว่า การส่งไปประเทศที่ 3 ไม่ใช่การตัดสินใจอยู่บนหลักความเป็นจริง และปัญหาของเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าไม่มีประเทศที่ 3 ยินดีรับ แต่อยู่ที่ไทยต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ และทำยังไงให้กระทบกับประชาชนคนไทยน้อยที่สุด</p><h2>10.มีทางเลือกอื่นไหม ให้ชาวอุยกูร์อยู่ในไทยต่อได้</h2><p>คำถามสำคัญต่อมา คือ จริงหรือไม่ที่บอกว่าไม่มีช่องทางให้ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์อยู่ในประเทศไทยต่อได้</p><p>ศิววงศ์ ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายปฏิรูปการโยกย้ายถิ่นฐาน กลุ่มทำงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ให้สัมภาษณ์ว่า หากตอบในกรณีผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ชาวอุยกูร์ ก็มีช่องทางที่รัฐบาลสามารถทำให้อยู่ในประเทศไทยต่อได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53587170571_0d82c39671_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ศิววงศ์ สุขทวี (แฟ้มภาพ)</p><p>ศิววงศ์ กล่าวต่อว่า ในช่วงปลายวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อปี 2565 รัฐบาลเคยมีมติ ครม. ครอบคลุมผู้ที่ไม่สามารถกลับประเทศต้นทางให้ออกมาทำงานได้ แม้ว่าในทางปฏิบัติยังมีปัญหา แต่ที่ยกตัวอย่างเพราะอยากสะท้อนว่าไทยมีทางเลือกอื่นในการจัดการกลุ่มผู้ต้องกักไม่ว่าจะคนจีน คนเกาหลีเหนือ หรือชาติอื่นๆ ไทยมีอำนาจตามกฎหมายที่จะอนุญาตให้เขาออกมานอกห้องกัก ทำอะไรก็ได้โดยมีเงื่อนไขตามที่ไทยกำหนด ผ่านการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง มาตรา 17 ที่ให้อำนาจ ครม.ยกเว้นมาตราบางมาตราของกฎหมายคนเข้าเมือง หรือยกเว้นทั้งฉบับก็ได้</p><div class="note-box"><p>พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 17 กำหนดว่า ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใดๆ ก็ได้</p></div><p>&nbsp;</p><p>ต่อมา ไทยมีมาตรการให้ประกันตัวออกมาอยู่อาศัยภายนอกห้องกักได้ ซึ่งเป็นมาตรการที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองใช้มาตลอดกับผู้ต้องกักที่ได้รับสถานะ ‘ผู้ลี้ภัย’ ที่ได้รับรองโดย UNHCR การอนุญาตให้ประกันตัวมีเงื่อนไขคือต้องมีหลักทรัพย์ประมาณ 5 หมื่นบาท และต้องมีนายประกันตัวเป็นคนไทย แต่การประกันตัวไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีสิทธิอยู่อาศัย แต่สามารถอยู่ภายนอกรอการส่งกลับ ซึ่งก็ดีกว่าอยู่ในห้องกัก</p><p>ท้ายสุดคือรัฐบาลมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร และไม่สามารถกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 หรือบางคนจะเรียกว่า 'กลไกคัดกรองแห่งชาติ' (National Screening Mechanism - NSM) ตอนนี้มีหลายร้อยคนในปีที่ผ่านมา (2567) เข้าสู่กระบวนการ แล้วเมื่อยื่นเรื่องเข้าสู่การกระบวนการแล้ว สตม. จะอนุญาตให้ประกันตัวออกมานอกห้องกัก โดยมีเงื่อนไขประกันด้วยเงินที่น้อยกว่าคนต่างด้าวทั่วไป</p><div class="note-box"><p>อนึ่ง ข้อมูลเมื่อ 30 ส.ค. 2567 ระบุว่ามีผู้ยื่นเรื่องอยู่ที่ 217 คน โดยแบ่งเป็นผู้ใหญ่ชาย 129 คน ผู้ใหญ่หญิง 50 คน เด็กชาย 14 คน และเด็กหญิง 25 คน</p></div><p>ทั้งนี้ ถ้าผ่านกระบวนการคัดกรองตามกลไกระเบียบสำนักนายกฯ คนต่างด้าวจะได้รับสถานะที่เรียกว่า ‘ผู้ได้รับการคุ้มครอง’ และได้รับหนังสือประจำตัวซึ่งออกโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยผู้ได้รับสถานะการคุ้มครองจะได้รับสิทธิดังนี้</p><ul><li aria-level="1">คนกลุ่มนี้จะไม่ถูกส่งกลับไปที่ภูมิลำเนา ยกเว้นว่าเป็นความสมัครใจ&nbsp;หรือมีเหตุผลด้านความมั่นคง</li><li aria-level="1">ให้ความช่วยเหลือในการกลับประเทศภูมิลำเนาตามความสมัครใจ เมื่อเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับสิ้นสุดลง หรือพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานเพื่อให้ผู้ได้รับการค้มุครองสามารถเดินทางไปประเทศที่จะพำนักต่อไปได้</li><li aria-level="1">คนที่ได้รับสถานะคุ้มครอง จะสามารถอยู่ในไทยชั่วคราว หรือเป็นกรณีพิเศษ</li><li aria-level="1">ถ้าผู้ได้รับสถานะคุ้มครองเป็นเด็ก จะได้รับสิทธิด้านการศึกษา และสาธารณสุข ตามพันธะกรณีระหว่างประเทศ นโยบายรัฐบาล และมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง</li></ul><p>จากมาตรการที่ยกขึ้นมา ทำให้ความเห็นของศิววงศ์ มองกรณีนี้ว่าปัญหาของไทยอาจไม่ได้เป็นเรื่องทางด้านกฎหมาย แต่อยู่ที่เจตจำนงทางการเมืองมากกว่าว่าจะทำอะไร</p><h2>11. สมัครใจจริงหรือไม่ คำถามที่ยังสู้กัน</h2><p>ประเด็นสุดท้ายคือชาวอุยกูร์สมัครใจกลับประเทศต้นทางหรือไม่ เพราะนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าชาวอุยกูร์ทั้งหมดสมัครใจกลับ</p><p>อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการส่งกลับเมื่อ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่ข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ ระบุว่าชาวอุยก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.721 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 12 มิถุนายน 2568 13:39:00