[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 17:32:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ผลศึกษาพบไม่ใช้โซเชียลมีเดียในที่ทำงาน ช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน  (อ่าน 186 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 ธันวาคม 2566 13:07:42 »

ผลศึกษาพบไม่ใช้โซเชียลมีเดียในที่ทำงาน ช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-27 11:58</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>งานศึกษาจากนักวิจัยชาวเยอรมันพบว่าการใช้เวลาน้อยลงบนโซเชียลมีเดียสามารถปรับปรุงสุขภาพจิต ความพึงพอใจในการทำงาน และความทุ่มเทของพนักงานได้อย่างมาก</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53420928432_1c954ce642_o_d.png" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพประกอบ: Jeremy Bezanger/Unsplash</span></p>
<p>27 ธ.ค. 2566 สำหรับพนักงานที่อยากให้วันทำงานมีคุณค่ามากขึ้น ถึงเวลาลดการเล่น TikTok และ Facebook ลงบ้างแล้ว งานศึกษาจากนักวิจัยชาวเยอรมันพบว่าการใช้เวลาน้อยลงบนโซเชียลมีเดียสามารถปรับปรุงสุขภาพจิต ความพึงพอใจในการทำงาน และความทุ่มเทของพนักงานได้อย่างมาก  การวิจัยนี้เน้นย้ำถึงวิธีการง่าย ๆ และคุ้มค่าในการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กร</p>
<p>แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งผู้คนมักใช้อ้างว่าสามารถสร้างอารมณ์เชิงบวกที่ขาดหายไปในชีวิตประจำวัน จริง ๆ แล้วเชื่อมโยงกับทั้งการเพิ่มอารมณ์และผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิต อาการ "กลัวตกกระแส" (FOMO) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับโซเชียลมีเดีย สามารถนำไปสู่พฤติกรรมติดหนึบซึ่งมีผลกระทบต่อระยะยาว</p>
<p>งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยรูร์โบคุม (The Ruhr University Bochum) ศึกษาผู้เข้าร่วม 166 คนที่ทำงงจังหรือเต็มเวลาและใช้เวลาเล่นโซเชียลมีเดียที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานอย่างน้อย 35 นาทีต่อวัน  พวกเขาถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งยังคงพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดียตามปกติ ส่วนอีกกลุ่มลดการใช้งานลง 30 นาทีต่อวันเป็นเวลา 7 วัน  ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามก่อน ระหว่าง และหลังการทดลอง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ เช่น ภาระงาน, ความพึงพอใจในการทำงาน, สุขภาพจิต และอาการ FOMO</p>
<p>"แม้จะผ่านไปเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เราพบว่ากลุ่มที่ใช้เวลาเล่นโซเชียลมีเดียน้อยลง 30 นาทีต่อวัน มีความพึงพอใจในการทำงานและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นอย่างมาก" จูเลีย ไบราลอฟสกายา (Julia Brailovskaia) รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยรูร์โบคุม ระบุในเอกสารเผยแพร่ของมหาวิทยาลัย  "ผู้เข้าร่วมในกลุ่มนี้รู้สึกถูกกดดันน้อยลงและทุ่มเทกับงานมากกว่ากลุ่มควบคุม"</p>
<p>นอกจากนี้อาการ FOMO ของผู้เข้าร่วมการศึกษาก็ลดลงด้วย ผลกระทบเชิงบวกยังคงอยู่และเพิ่มขึ้นในบางกรณีแม้ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์หลังการทดลอง</p>
<p>นักวิจัยเชื่อว่า การลดการใช้โซเชียลมีเดีย ทำให้ผู้เข้าร่วมมีเวลามากขึ้นในการโฟกัสที่งานโดยไม่รู้สึกกดดันเกินไป และยังมีสิ่งรบกวนน้อยลงด้วย การขัดจังหวะจากโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลต่อสมาธิและประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจขัดขวางการติดต่อกับเพื่อนร่วมงานในชีวิตจริง นำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยว การลดเวลาเล่นโซเชียลมีเดียสามารถลดปัญหานี้ได้</p>
<p>"ขณะทำงานสมองของเราไม่สามารถรับมือกับสิ่งรบกวนจากโซเชียลมีเดียได้" ไบราลอฟสกายา อธิบาย  "ผู้ที่หยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่บ่อยๆ เพื่อติดตามฟีดโซเชียลมีเดีย มักไม่โฟกัสที่การทำงาน และมีผลลัพธ์การทำงานที่แย่กว่า"</p>
<p>การศึกษานี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้หลายชิ้น ซึ่งระบุว่าการลดการใช้โซเชียลมีเดียแม้เพียงเล็กน้อยในแต่ละวันสามารถลดอาการซึมเศร้าและเพิ่มพูนสุขภาพจิตได้</p>
<p>"การลดเวลาเล่นโซเชียลมีเดียในแต่ละวันอาจเป็นประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับการฝึกอบรมโค้ชธุรกิจ โปรแกรมสุขภาพจิต และการแทรกแซงทางจิตวิทยา" ไบราลอฟสกายา สรุป</p>
<p>การศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Behaviour and Information Technology</p>
<p><strong>ที่มา:</strong>
Avoiding social media at work leads to greater job satisfaction, study reveals (StudyFinds, 15/12/2023)</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107397
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.169 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มิถุนายน 2568 01:40:29