[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 20:07:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue) (ผู้ดูแล: มดเอ๊ก)


.:::

สุนทรียสนทนา (Dialogue) กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (Secret)

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุนทรียสนทนา (Dialogue) กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (Secret)  (อ่าน 2813 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2553 05:02:49 »

สุนทรียสนทนา (Dialogue) กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (Secret)


"การดูจิตขณะสนทนานี่แหละคือการปฏิบัติธรรม การเฝ้าระวังความคิด (พิพากษา เพ่งโทษ อคติ ฯลฯ) ที่เป็นเสียงภายในนี่แหละคือ การฝึกสติ"
 
เมื่อวานในบันทึก "ไร้กรอบ" ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (หนุ่มเมืองจันท์) ... ผมเล่าให้ฟังว่า ด้วยความบังเอิญที่ผมซื้อหนังสือ 1 เล่ม และ นิตยสาร 1 เล่ม ด้านในมีเรื่องราวของอาจารย์ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ทั้งสองเล่ม อย่างไม่น่าเชื่อ
 
บันทึก "ไร้กรอบ" ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (หนุ่มเมืองจันท์) ที่ผมได้เล่าวิธีคิด "ไร้กรอบ" ตามที่หนุ่มเมืองจันท์เล่าไว้ได้สนุกมากครับ
 
ดังนั้น บันทึกนี้จึงขอเล่าถึงอีกบทความในนิตยสาร Secret เรื่อง "สุนทรียสนทนา กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ"
 
 
"การดูจิตขณะสนทนานี่แหละคือการปฏิบัติธรรม การเฝ้าระวังความคิด
(พิพากษา เพ่งโทษ อคติ ฯลฯ) ที่เป็นเสียงภายในนี่แหละคือ การฝึกสติ"


จากหนังสือ Learn How to Learn ... ให้ความรักก่อนให้ความรู้ ของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

 
คงไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ ถ้าคุณจะไม่รู้จักผมเลย แม้แต่นิด และหากคุณมีคำถามว่า ผมเป็นใคร ทำอะไร ผมก็จะมีคำตอบกวน ๆ กลับไปว่า "ถ้าอยากรู้จักฉัน หาตัวเธอให้เจอก่อน" ครับ
 
แต่ถ้าให้ตอบจริง ๆ ในโลกสมัยสมมตินี้ผมคือ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผู้เคยนับถือศาสนาคริสต์มา 39 ปี ก่อนจะมาเพิ่มศาสนาเป็นพุทธ และต่อไปก็คิดว่าจะเพิ่มศาสนาไปเรื่อย ๆ จนไม่มีศาสนาเลย เพราะความจริงแล้วไม่มีศาสนาอะไรทั้งนั้น เราอยู่กับความไม่มี แต่เราไปบอกว่ามีเท่านั้นเอง
 
ผมเคยทำงานกับองค์การนาซา (NASA) วิจัยเกี่ยวกับการแตกหักของวัสดุจนได้รับรางวัล หลังจากนั้นกลับมาเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน บูรณาการศาสนากับชีวิตการทำงาน เพื่อพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนและพอเพียง
หลังจากลาออกจากการเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมได้ไปบวชที่วัดป่าเขาน้อย อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ซึ่งมี หลวงปู่จันทา ถาวโร เป็นหัวหน้าสงฆ์ เมื่อบวชผมก็ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติธรรม หลวงปู่สอนอะไรก็ทำตาม ท่านให้วางตำราและให้กำหนดพุท-โธให้มาก ๆ บวชได้ 13 วันผมก็เข้าใจเรื่องของการทำสมาธิ
 
หลังจากนั้นผมไปศึกษาธรรมกับ หลวงพ่อสำราญ ธัมมธุโร (หลวงพ่อกล้วย) วัดธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น ท่านสอนไม่ให้ติดในภาษาสมมติ ไม่ให้ติดว่าเป็นนักปฏิบัติ ท่านให้นำกายมาปฏิบัติ มาปล่อยวางไม่ให้ยึดแม้แต่ครูบาอาจารย์ ท่านสอนให้ฝึกสติด้วยการไปนั่งสมาธิในป่าช้า เพราะที่ป่าช้าจะมีความคิดแบบเดียวผุดมาให้ฝึก ทำให้แยกได้ทันทีว่า นี่สัญญาหนอ นี่สังขารหนอ จิตเกิดแล้วหนอ
 
หลายคบอกว่าผมสอนธรรมะแบบนอกกรอบ ที่ต้องนอกกรอบเพราะแบบเดิม ๆ นั่นไม่มีคนอยากฟัง หน้าที่การงานของผมอย่างหนึ่ง คือ การไปบรรยายให้ผู้บริหารที่มีการศึกษาสูง ๆ ฟัง และท่านเหล่านี้ส่วนหนึ่งเบือนหน้าหนีทันทีที่ได้ยินว่า ศีลห้า นรก สวรรค์ ผมเลยต้องหาวิธีหารอื่นมาหลอกล่อ อย่างเช่น เมื่อสอนเรื่องการบริหารจัดการให้ผู้บริหารฟัง ในระหว่างสอนผมก็สอดแทรกธรรมะไปเรื่อย ๆ แบบ "แนบเนียนนุ่มลึก" โดยที่เขาไม่รู้ตัว หลังจากนั้นให้เขาฟังตามไปเรื่อย ๆ จนตอนท้ายจะขมวดให้ฟังว่า ทั้งหมดที่สอนมาอยู่ในพระไตรปิฏก ฟังอย่างนี้เขาก็จะ "ปิ๊ง" ได้เอง และไม่ตั้งแง่ปฏิเสธตั้งแต่แรก
 
ทุกวันนี้ผมสอนธรรมะแบบ "ไดอะล็อก" (Dialogue) หรือเรียกเป็นไทยว่า "สุนทรียสนทนา" สอนธรรมะแบบล้อมวงคุยกันในระหว่างคุยกันก็เป็นเจริญวิปัสสนาแบบหนึ่ง สนทนาไปด้วย ดูจิตไปด้วย เป็นการสนทนากันแบบฟังเชิงลึก (Deep Listensing) ที่เรียกได้ว่าต้อง open mind, open heart, open will เพื่อให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของเราเอง ฟังเพื่อเก็บเกี่ยว ฟังเพื่อให้เกิดความไว้วางใจกัน ฟังเพื่อให้เกิดความเคารพในความแตกต่างกัน ทั้งทางความคิดและจิตใจ บางทีเราก็เรียกการพูดคุยแบบนี้ว่า "วงเล่าเร้าพลัง" คือมาคุยกัน เปิดหู เปิดตา เปิดใจ รับฟังกัน อย่าเพิ่งไปเถียงกัน อย่ารีบร้อน "สวน" หรือ "สอดแทรก" ซึ่งเป็นการสอนให้เราฟังอย่างมีสติ อย่าไปเพิ่งโทษ อคติ ลำเอียง คิดเอาเอง ซึ่งการฟังเชิงลึกได้ดีต้องฝึกฟังเสียงภายใน (Inner Voice) ของตัวเองให้ได้เสียก่อน เสียงที่ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ หมั่นไส้ อิจฉา ด่าทอ ยินดี กังวล นึกไปถึงเรื่องอื่น ไปนอกเรื่อง ฯลฯ เมื่อมีเสียงภายในหรือความคิดแทรกแซงก็หัดดับ หัดระงับ หัดข่ม แล้วมาจดจ่อ มีสมาธิ น้อมใจเข้าไปฟังคนพูดพูดต่อไป
เราอาจจะนั่งล้อมวงกันในสถานที่สบาย ๆ นั่งสบาย ๆ ปูเสื่อแจกหมอน นอนเอนหลังก็ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องใด หรือวิ่งเข้าวิ่งออกจนพลังของวงเสียสมดุลไป "พลัง" ในที่นี้คือ พลังที่ดีในการกระตุ้นต่อมความคิด เป็นพลังที่จะสร้างงาน สร้างปีติ สร้างสติ เรียนรู้ด้วยในที่เป็นกลาง ฯลฯ
 
หลักการดูจิตขณะสนทนาของผมคือ ถ้าจิตของเราเกิดอาการ กายจะเปลี่ยนแปลง เลือดลมจะวิ่ง กล้ามเนื้อน้อยใหญ่จะเกร็งกลางอกจะหด ๆ หู่ ๆ เต้น ๆ เสียว ๆ เราก็หายใจลึก ๆ ดึงกำลังสติขึ้นมาคิดในแง่ดี ๆ เข้าไว้ หากจิตยังไม่ปกติ พึงสังวรว่า "อย่าได้ออกอาการทางวาจาทางกาย" นะครับ สมมติว่าเป็นสุนัข เวลาที่จิตเกิดอาการเราจะเห็นชัด คือกายจะฟ้อง เช่น กระดิกหางหรือหดหาง สำหรับเราซึ่งเป็นคน ก็ควรจะดูกายของเราให้ทันด้วย จะได้รู้ว่าจิตเกิดหนอ ดังนั้น ถ้าเราสนทนากับใคร ก็ฟังเขาพูดไป สำเหนียกไปที่จิตด้วย จะเห็นความคิด "วิตก" (ขึ้นขบวนรถไฟความคิดแห่งอนาคต) "วิจารณ์" (ขึ้นขบวนรถไฟความคิดแห่งอดีต) ผุดขึ้น ขอให้รู้เท่าทัน วิตกหนอ วิจารณ์หนอ
 
อย่างไรก็ตาม ในการพูดคุยผมไม่คิดว่าตัวเองเป็นอาจารย์ แต่ผมเป็นกระบวนการนำพาผู้ร่วมเรียนรู้ไปเข้ากระบวนการ ไปเจอประสบการณ์ ไปค้นพบด้วยตนเอง ไปพิสูจน์ความเชื่อกัน ผมมิบังอาจไปสั่งสอนใครนะครับ แต่ยั่วให้คิด ตั้งคำถามให้คิด แหย่ ๆ เพราะถ้าไม่แบ่งแยก นั่นผู้เรียน ฉันผู้สอน เจ้าตัว "อัตตา" จะแทรกได้ง่าย ๆ
 
นอกจากนั้นผมยังมีกติกาว่า จะไม่บรรยายแบบที่มีผู้ฟังเยอะ ๆ แต่จะให้การพูดคุยแบบสุนทรียสนทนาร่วมกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินป่า เยี่ยมบ้านพักคนชรา เยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้าย นั่งคุยกันที่สวนสาธารณะ นั่งดูหนังด้วยกัน แล้วมาคุยกันในบรรยากาศสบาย ๆ ฯลฯ
 
สุดท้ายแล้วการศึกษาธรรมะคือ การศึกษาใจของตน ศึกษาว่า ทำไม เมื่อไร อย่างไร ใจของเราจึงเกิดอาการ และอาการของใจนั้น หายไป ดับไป ได้อย่างไร
ดังนั้น ต่อให้อ่านตำราเป็นล้าน ๆ เล่ม ท่องพระไตรปิฏกได้ทั้งหมด ก็สู้ตามรู้ ตามดู ตามวางที่ใจไม่ได้ครับ
 
http://gotoknow.org/blog/scented-book/253599

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ดร วรภัทร ภู่เจริญ เป็นชาวพุทธมืออาชีพ อย่างฉลาด 01 13
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
เงาฝัน 1 3147 กระทู้ล่าสุด 14 พฤศจิกายน 2553 00:04:13
โดย หมีงงในพงหญ้า
สุนทรียสนทนา สมาธิกับชีวิตประจำวัน โดย อ.วรภัทร ภู่เจริญ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 1 3147 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2553 10:36:26
โดย หมีงงในพงหญ้า
ร้อยคนร้อยธรรม-ดร.วรภัทร ภู่เจริญ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 18 16461 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2553 10:56:55
โดย หมีงงในพงหญ้า
ตัวอย่าง หลักสูตร สุนทรียสนทนา (Dialogue)
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 8624 กระทู้ล่าสุด 09 พฤศจิกายน 2555 01:10:07
โดย มดเอ๊ก
ฟังธรรม ดร วรภัทร์ ภู่เจริญ สุนทรียสนทนา
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 2183 กระทู้ล่าสุด 04 กรกฎาคม 2559 07:13:39
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.332 วินาที กับ 35 คำสั่ง

Google visited last this page 08 เมษายน 2567 19:25:44