[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 02:55:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เคล็ดลับการใช้สมาธิช่วยให้เรียนเก่ง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย  (อ่าน 11264 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น้ำมนต์
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 36


เย็นฉ่ำ เย็นชื่น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.114 Chrome 35.0.1916.114


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 มิถุนายน 2557 11:54:07 »





เคล็ดลับการใช้สมาธิช่วยให้เรียนเก่ง
โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย



นักศึกษาซึ่งอยู่ในวัยกำลังศึกษา ถ้าหากตั้งใจปฏิบัติสมาธิพิจารณาธรรมก็ให้ยกเอาวิชาความรู้ที่เราเรียนมา ในชั้นของเรานั่นแหละมาเป็นอารมณ์พิจารณา เราเรียนมาทางวิทยาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือศาสตร์อะไรก็ตาม อย่างวันนี้ไปโรงเรียนมา อาจารย์สอนอะไรมา พอกลับมาถึงที่พัก อาบน้ำ รับประทานอาหาร อ่านหนังสือดูตำรับตำรา

ก่อนนอนไหว้พระ นั่งสมาธิ เวลาเรานั่งสมาธิ ให้พยายามคิดทบทวนความรู้ที่เรียนมาแต่ละวันๆ เพื่อจะให้เรารู้ได้ว่าวันนี้เราจำได้กี่มากน้อย เอาหลักวิชาที่เราเรียนมานั่นแหละ เป็นอารมณ์จิตในการพิจารณา อย่าไปเข้าใจว่าเอาสิ่งนั้นมาพิจารณาแล้ว จิตออกนอกลู่นอกทาง ไม่ใช่อย่างนั้น แม้แต่ว่าเราตั้งใจปฏิบัติสมาธิเอาสิ่งอื่นเป็นอารมณ์ เช่น บริกรรมภาวนา เป็นต้น เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิ ตามธรรมชาติแล้ว จิตของเราหนักอยู่ในแง่ไหน ผูกพันอยู่กับเรื่องอะไร มันจะวิ่งไปหาสิ่งนั้น แล้วจะไปคิดปรุงแต่งวิจัยอยู่ในสิ่งนั้นๆ อันนี้หมายถึงสมาธิที่เป็นเองโดยอัตโนมัติ มันจะเป็นเช่นนั้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น เราอย่าไปเข้าใจผิดว่าจิตมันฟุ้งซ่านหรือว่าออกนอกลู่นอกทาง เพราะคำว่า สภาวธรรม หมายถึง กายกับใจของเรา สิ่งที่เราสามารถรับรู้ได้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ รวมทั้งธุรกิจการงานอันเป็นเรื่องชีวิตประจำวัน การศึกษาวิชาความรู้ที่เราเรียนมานั้นๆ อันนี้เป็นอารมณ์จิตของผู้ปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ

ถ้าเราดำเนินการปฏิบัติดังที่กล่าวนี้ สมาธิกับงานของเราจะมีความสัมพันธ์กัน แล้วเราจะรู้สึกว่าโอกาสที่เราปฏิบิติสมาธิมันจะไม่มีอุปสรรคขัดข้อง เพราะว่าเราเอาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอารมณ์จิตในการภาวนาได้ เช่นอย่างเวลานักศึกษาจะปฏิบัติสมาธิในห้องเรียน พออาจารย์มายืนที่หน้าห้อง เรามองจ้องไปที่ตัวอาจารย์ ส่งจิตไปรวมไว้ที่ตัวอาจารย์มายืนที่หน้าห้อง เรามองจ้องไปที่ตัวอาจารย์ ส่งจิตไปรวมไว้ที่ตัวอาจารย์ อย่าให้สายตาและจิตไปอื่น จ้องอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะจบชั่วโมงที่มีอาจารย์มาสอน

เราจะได้สมาธิในการเรียน ถ้าปฏิบัติต่อเนื่องกันจริงๆ ในเมื่อได้สมาธิอย่างเข้มแข็ง เวลาไปสอบ อ่านคำถามจบ จิตจะว่างลงนิดหนึ่ง คำตอบจะผุดขึ้นมา เราจะเขียนเอา เขียนเอา ไม่ต้องคิดอะไรมาก บางทีเวลาก่อนสอบ จิตของเราจะบอกให้ดูหนังสือเล่มนั้น จากหน้านั้นไปถึงหน้านั้น ข้อสอบจะออกที่ตรงนี้ อันนี้เป็นวิธีการปฏิบัติสมาธิให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน ถ้าหากเราพยายามปฏิบัติต่อเนื่องกันทุกชั่วโมงที่มีอาจารย์มาสอน เราจะได้พลังของสมาธิ มีสติสัมปชัญญะเข้มแข็ง ทำให้เราเรียนดีขึ้นๆๆ อันนี้คือผลประโยชน์ที่เราจะพึงได้



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

เพียงหยดน้ำหยดหนึ่งจากฟากฟ้า
ไม่นานนักก็ระเหยกลับสู้ผืนนภา
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.226 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 01 มีนาคม 2567 10:30:18