[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 20:30:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 3 4 [5]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง  (อ่าน 75647 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 11:46:52 »





พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุ แปล

ปาฐกถาธรรมนิกายเซ็น โดย นายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง
สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์
แห่ง  "ธรรมรถ"



คำชี้แจ้งของท่านพุทธทาสภิกขุ
เกี่ยวกับการศึกษา-สูตรของเว่ยหล่าง

           เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ มีเรื่องที่จะต้องทราบกันเสียก่อนในเบื้องต้นอยู่ 2 ข้อ

          ข้อแรก หนังสือเล่มนี้จะไม่เป็นที่เข้าใจได้สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่เคยศึกษาทางพุทธศาสนามาก่อนเลย, มันไม่ใช่หนังสือเล่มแรกสำหรับผู้ริเริ่มการศึกษาพุทธศาสนา.  อย่างน้อยที่สุดผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้  แม้จะไม่เคยอ่านหนังสือของทางฝ่ายมหายานมาบ้างแล้ว  ก็ควรจะได้เคยศึกษาศึกษาหลักแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาบ้างพอสมควรแล้ว  จนถึงกับ  จับใจความได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนาที่ตนศึกษาแล้วนั้นมีหลักอย่างไร หรือวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ได้ โดยเฉพาะ.  และอีกทางหนึ่งสำหรับ.ผู้ที่เคยศึกษาแต่ฝ่ายเถรวาทมาอย่างเคร่งครัด   และยังแถมยึดถือทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งไว้อย่างเหนียวแน่นนั้น  อาจจะมองไปเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ผิดหลักพระพุทธศาสนาเป็นมิจฉาทิฏฐิ  หรือเป็นสิ่งที่น่าอันตรายไปอย่างยิ่ง  ไปก็ได้.  ทั้งนี้ เพราะเหตุที่  หลักคิด   และ  แนวปฏิบัติ  เดินกันคนละแนว  เหมือนการเดินของคนที่เดินตามทางใหญ่ที่อ้อมค้อม  กับคนที่เดินทางลัด หรือถึงกับดำดินไปผุดขึ้นในที่ที่ตนต้องการจะให้ไปถึงเสียเลย  ฉันใดฉันนั้น.

          ข้อที่สอง  ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจ ความทราบไว้เสียก่อนว่า หลักนิกายเซ็นและโดยเฉพาะของพระสังฆปรินายกชื่อ เว่ยหล่าง นี้ นอกจากจะเป็นวิธีการที่ลัดสั้นแล้ว  ยังเป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของคนทั่วไป แม้ที่ไม่รู้หนังสือ  หรือไม่เข้าใจพิธีรีตองต่างๆ  จึงเป็นเหตุให้ลัทธินี้ถูกขนานนามว่า  "ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกพระไตรปิฎก" หรืออะไรอื่นทำนองนี้อีกมากมาย.  ที่จริง ผู้ที่จะอ่านหนังสือนี้   ควรจะได้รับการชักชวนให้ลืมอะไรต่างๆที่เคยยึดถือไว้แต่ก่อนให้หมดสิ้นเสียก่อน  จึงจะเป็นการง่ายในการอ่านและเข้าใจ;  

โดยเฉพาะก็คือ  ให้ลืมพระไตรปิฎก ลืมระเบียบพิธีต่างๆทางพุทธศาสนา ลืมความคิดดิ่งๆด้านเดียว  ที่ตนเคยยึดถือ  กระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย   คงเอาไว้แต่ใจล้วนๆของมนุษย์  ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด  หรือถือศาสนาไหน  เป็นใจซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า  "ทำอย่างไร จิตของมนุษย์ทุกคนในลักษณะที่เป็นสากลนี้  จักหลุดพ้นจากความบีบคั้นหุ้มห่อพัวพันได้โดยสิ้นเชิง?" เท่านั้น. การทำเช่นนี้จักเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่ผู้อ่าน  ในการที่จะได้ทราบอย่างชัดแจ้งถึง ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาในขอบเขตของคัมภีร์  กับพุทธศาสนาซึ่งอยู่เหนือคัมภีร์;  พุทธศาสนาที่อิงอยู่กับพิธีรีตองต่าง ๆ กับพุทธศาสนาที่เป็นอิสระตามธรรมชาติ  และเดินตามหลักธรรมชาติ;  พุทธศาสนาที่ให้เชื่อก่อนทำ  กับพุทธศาสนาที่ให้ลองทำก่อนเชื่อ;  พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นวรรณคดี กับพุทธศาสนาประยุกต์;  

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ระหว่างพุทธศาสนาที่ใช้ได้แต่กับคนบางคน  กับพุทธศาสนาที่อาจใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้แก่บุคคลทุกคนแม้ที่ไม่รู้หนังสือ  ขอเพียงแต่ให้มีสติปัญญาตามปรกติสามัญมนุษย์เท่านั้น  ผู้ที่ได้ทราบเช่นนี้แล้วจะได้รับพุทธศาสนาชนิดที่ปฏิบัติได้จริง ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาปฏิบัติอย่างเหลือเฟือ  และลัดดิ่งไปสู่สิ่งที่จะให้เกิดความอิ่ม  ความพอ  ได้โดยเร็ว  ถ้ามิฉะนั้นแล้ว  เขาก็จะเป็นตัวหนอนที่มัวแต่กัดแทะหนังสือ หรือเป็นนักก่อการทะเลาะวิวาทตามทางปรัชญา ไปตามเดิมแต่อย่างเดียว.

          ผู้อ่านจะสังเกตเห็นได้เองเมื่ออ่านในตอนแรก ๆ ว่า หนังสือเรื่องนี้ ไม่ใช่หนังสือที่บรรจุไว้ด้วยข้อความที่ง่าย ๆ หรืออ่านเขาใจได้ง่าย ๆ เพราะเหตุว่าเรื่องการทำใจให้หลุดพ้นซากทุกข์จริง ๆ นั้น  ไม่ใช่ของง่ายเลย.  แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกประหลาดอย่างยิ่งว่า  ถ้าอ่านไปจนเข้าใจแล้ว  จะพบว่าทั้งที่มันเข้าใจยากมาก  ก็ยังอาจเป็นที่เข้าใจได้  แม้แต่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ  หรือไม่เคยศึกษาพระไตรปิฎกมาก่อนอยู่นั่นเอง  และทั้งไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากสิ่งที่มนุษย์ควรรู้และอาจรู้ได้โดยไม่เหลือวิสัย  ข้อความทุกข้อชี้บทเรียนไปที่ตัวชีวิตนั่นเอง  และได้ถือเอาความพลิกแพลงแห่งกลไกในตัวชีวิต  โดยเฉพาะคือจิต  ซึ่งเป็นโจทย์เลขหรือปัญหาที่ต้องตีให้แตกกระจายไป และจบสิ้นกันเพียงเท่านั้น คือเท่าที่จำเป็นจริง ๆ ไม่มีปัญญาเหลือเฟือชนิดที่ตีปัญหาโลกแตก  ที่ชอบถกเถียงกันในหมู่บุคคล  ที่อ้างตัวว่าเป็นพุทธบริษัทอันเคร่งครัดเท่านั้นเลย.

          อย่างไรก็ตาม  หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นหนังสือในลักษณะตำราธรรมะโดยตรง   เป็นเพียงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นประวัติและคำสอนของเจ้าลัทธิท่านหนึ่งเท่านั้น.  เราไม่อาจจับเอาหลักธรรมะต่าง ๆ ที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อยจนสะดวกแก่การศึกษาไว้ก่อนแล้ว   โดยง่ายเลย.  ผู้ศึกษาจะต้องเลือกเก็บใจความที่เป็นหลักธรรมต่าง ๆ เอาจากเรื่องราวที่เป็นประวัติ   หรือบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้น,จากข้อความที่เข้าใจได้ยาก ๆ นั่นแหละ  ผู้ศึกษาจะต้องทำการขุดเพชรในหินด้วยตนเอง.

          หนังสือเล่มนี้   แม้จะเป็นหนังสือของทางฝ่ายมหายานก็จริง   แต่หาใช่มหายานชนิดที่ชาวไทยเราได้เคยได้เห็น  ได้ยิน  ได้ฟัง  หรือเข้าใจกันอยู่โดยมากไม่; มหายานที่เราเคยได้เห็นได้ยินได้ฟังกันอยู่เป็นปรกตินั้น  ก็เป็นชนิดที่เกี่ยวเนื่องติดแน่นกันอยู่กับพระไตรปิฎกและพิธีรีตองต่าง ๆ  และไหลเลื่อนไปในทางเป็นของขลังและของศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน.  ส่วนใจความของหนังสือเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น คงเป็นไปแต่ในทางปฏิบัติธรรมทางใจโดยอาศัยปัญญาเป็นใหญ่หรือที่เราเรียกกันว่า   วิปัสสนาธุระล้วน ๆ  และทั้งเป็นแบบหนึ่งของตนเองซึ่งไม่ซ้ำใคร  เพราะมุ่งหมายจะให้เป็นวิธีลัดสั้นที่สุด  ดังกล่าวแล้ว.   เพราะฉะนั้นผู้ที่เคยตั้งข้อรังเกียจต่อฝ่ายมหายาน   และมีความยึดมั่นมาก  จนถึงกับพอเอ่ยชื่อว่า  มหายานแล้ว  ก็ส่ายหน้าดูถูกเหยียดหยาม  ไม่อยากฟังเอาเสียทีเดียวนั้น  ควรทำใจเสียใหม่ในการที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้  ซึ่งจะทำให้ท่านเกิดความรู้สึกอันตรงกันข้ามจากที่แล้ว ๆ มา  และเกิดความคิดใหม่ขึ้นมาแทนว่า  การตั้งข้อรังเกียจเดิม ๆ ของตนนั้นมันมากและโง่เกินไป.

           เมื่อกล่าวโดยหลักกว้างๆ แล้ว  ลัทธิของเว่ยหล่างนี้  เป็นวิธีลดที่พุ่งแรงบทหนึ่ง  อย่างน่าพิศวง  ถ้าจะชี้ให้เห็นกันง่ายๆ ว่า ลัทธินี้มีหลักหรือวิธีการอย่างใดแล้ว   ก็ต้องชี้ไปในทางที่จะวางหลักสั้นๆ ว่า  ก็เมื่อปุถุชนคนธรรมดาสามัญทั่วไป ย่อมเป็นผู้ที่กำลังมีความเห็นหรือความเข้าใจ  ที่ผิดจากความจริงเป็นปรกติอยู่แล้ว  สิ่งที่ตรงกันข้ามจากที่คนธรรมดาสามัญคิดเห็นหรือเข้าใจนั่นแหละ  เป็นความเห็นที่ถูก  เพราะฉะนั้นเว่ยหล่างจึงได้วางหลักให้คิดชนิดที่เรียกว่า  "กลับหน้าเป็นหลัง" เอาทีเดียว  ตัวอย่างเช่น  เมื่อผู้อื่นกล่าวว่าจงพยายามชำระใจให้สะอาดเถิด เว่ยหล่างกลับกล่าวเสียว่าใจของคนทุกคนสะอาดอยู่แล้ว จะไปชำระมันทำไมอีก  สิ่งที่ไม่สะอาดนั้นไม่ใช่ใจ จะไปยุ่งกับมันทำไม,

หรือถ้าจะกล่าวให้ถูกยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็กล่าวว่า เว่ยหล่าง ถือว่า  ใจมันไม่มีตัวไม่มีตน  แล้วจะไปชำระอะไรให้แก่ใคร  การที่จะไปเห็นว่าใจเป็นใจและไม่สะอาดนั้นเป็นอวิชชาของผู้นั้นเองต่างหาก  ดังนี้เป็นต้น.   โกอานหรือปริศนาธรรมที่ลัทธินี้วางไว้ให้ขบคิด  ก็ล้วนแต่ทำให้คนสามัญทั่วไปงงงวย  เพราะแต่ละข้อมีหลักให้คิดเพื่อให้เห็นสิ่งตรงกันข้าม  จากที่คนธรรมดาคิดกันอยู่  หรือเห็นๆกันอยู่.  ตัวอย่างเช่น  ถ้าหากว่ากามีสีดำนกยางก็ต้องมีสีดำด้วย  หรือถ้าเห็นว่านกยางมีสีขาว  กาก็ต้องขาวด้วย.  และถ้าให้ถูกยิ่งไปกว่านั้นก็คือนกยางนั่นแหละสีดำ  กานั่นแหละสีขาว  สังสารวัฏกับนิพพานเป็นของสิ่งเดียวกัน  ที่ที่เย็นที่สุดนั้น   คือที่ท่ามกลางกองเพลิงแห่งเตาหลอมเหล็ก  ดังนี้เป็นต้น

          ถ้าใครมองเห็นความจริงตามแบบของเว่ยหล่างเหล่านี้แล้ว  ก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า  เขาได้เห็นสิ่งต่างๆ จนลึกถึงขั้นที่มันตรงกันข้าม  จากที่คนสามัญทั่วไปเขามองเห็นกันอยู่เป็นปรกติ.  ฉะนั้น  สำหรับการสรุปใจความของลัทธินี้อย่างสั้นที่สุด  ก็สรุปได้ว่า  พยายามคิดจนเห็นตรงกันข้ามจากความคิดของคนที่ยังมีอวิชชาหุ้มห่อแล้ว  ก็เป็นอันนับได้ว่า  ได้เข้าถึงความจริงถึงที่สุด.  และวิธีการแห่งลัทธินี้ได้วางรูปปริศนาให้คิด  ชนิดที่ผิดตรงกันข้ามไปเสียตั้งแต่แรกทีเดียว  ใครคิดออก  ก็แปลว่า  คนนั้นผ่านไปได้  หรือย่างน้อยที่สุดก็เป็นวิธีที่จะทำให้ผ่านไปได้โดยเร็วที่สุด  นั่นเอง.  คิดให้ตรงข้ามจากสามัญสัตว์ทั่วไปเถิด  ก็จะเข้าถึงความคิดของพระอริยะเจ้าขึ้นมาเอง.  ฉะนั้นนิกายนี้จึงเรียกตัวเองว่า  "นิกายฉับพลัน"  ซึ่งหมายความว่า  จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามวิธีลัดนี้ให้บรรลุธรรมได้อย่างฉับพลันโดยไม่มีพิธีรีตอง.

          ส่วนปาฐกถาอีก 3 เรื่อง ของนายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง  ซึ่งพิมพ์ไว้ต่อท้ายเรื่องสูตรของเว่ยหล่างนั้นเล่า  ก็เป็นข้อความที่จะให้ผู้อ่านได้เข้าใจในวิธีการปฏิบัติของ  "นิกายฉับพลัน"  ได้เป็นอย่างดี.  จากข้อความทั้งหมดนั้น  ผู้ศึกษาจะได้ความรู้ที่แน่นอนข้อหนึ่งว่า  วิธีการที่  "ฉับพลัน" นั้น  ย่อมขึ้นอยู่แก่ความช่วยเหลือของอาจารย์  หรือผู้ควบคุมที่สามารถจริงๆเป็นส่วนใหญ่.  เพราะตามธรรมดาแล้ว  "การเขี่ยให้ถูกจุด"  นั่นแหละ  เป็นความสำเร็จที่ฉับพลันเหนือความสำเร็จทั้งปวง.  ถ้ามีความจำเป็นถึงขนาดที่จะต้องให้ตัวเองเป็นอาจารย์ตัวเองแล้ว  ขอจงได้พยายามศึกษาและจับใจความสำคัญแห่งข้อความนั้นๆ ให้ได้ของจริงๆ จงทุกๆคนเถิด.

          ธรรมะนั้น  ไม่มีอะไรมากไปกว่าเรื่องของคนเราๆ ทุกๆ คน. เพราะมัวไปยกขึ้นให้สูง  เป็นเรื่องคัมภีร์หรือของศักดิ์สิทธิ์ไปเสียท่าเดียว  ก็เลยกลายเป็นเรื่องพ้นวิสัยของคนไป  เว่ยหล่างมีความมุ่งหมายให้ธรรมะนั้นกลับมาเป็นเรื่องของคนธรรมดาสามัญแม้ที่ไม่รู้หนังสือ. เพื่อประโยชน์แก่คนตามความหมายของคำว่า  "มหายาน"  หวังว่าผู้ที่คิดกรุ่นอยู่ในใจเสมอว่า  ตนเป็นคนฉลาดเพราะรู้หนังสือดีนั้น จักได้ทำตนให้เป็นบุคคลที่ไม่เสียเปรียบผู้ที่ไม่รู้หนังสือได้คนหนึ่งเป็นแน่

พุทธทาส   อินทปัญโญ
โมกขพลาราม ไชยา    31 มี.ค.2496




ผลงาน   ท่านพุทธทาสภิกขุ





สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์
แห่ง  "ธรรมรถ"




ลำดับสารบัญของเนื้อหา

หมวดที่ 1 ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง
หมวดที่ 2 ว่าด้วย-ปรัชญา
หมวดที่ 3 ว่าด้วยข้อปุจฉา-แลวิสัชนา
หมวดที่ 4 ว่าด้วย สมาธิ และปรัชญา(*๑๖)
หมวดที่ 5 ว่าด้วย ธฺยานะ

หมวดที่ 6 ว่าด้วยบาปสำนึก (การสำนึกบาป)
หมวดที่ 7 ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัย และสิ่งแวดล้อม
หมวดที่ ๘ สำนักฉับพลัน และ สำนักเชื่องช้า
หมวดที่ ๙ พระบรมราชูปถัมภ์
หมวดที่ ๑๐ คำสอนสุดท้าย




 หมวดที่ 1 ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง

   ครั้งหนึ่ง  เมื่อพระสังฆปริณายกองค์นี้  ได้มาที่วัดเปาลัม  ข้าหลวงไว่ แห่งเมืองชิวเจา  กับข้าราชการอีกหลายคน  ได้พากันไปที่วัดนั้น เพื่อขอให้ท่านกล่าวธรรมกถาแก่ประชาชนทั่วไป ณ ห้องโถง.แห่งวิหารไทฟัน  ในนครกวางตุ้ง.    
        ในไม่ช้า  มีผู้มาประชุมฟัง ณ โรงธรรมสภานั้น  คือข้าหลวงไว่แห่งชิวเจา, พวกข้าราชการและนักศึกษาฝ่ายขงจื้อ อย่างละประมาณ 30 คน, ภิกษุ, ภิกษุณี นักพรตแห่งลัทธิเต๋า  และคฤหัสถ์ทั่วไป  รวมเบ็ดเสร็จประมาณหนึ่งพันคน.
        ครั้นพระสังฆปริณายก  ได้ขึ้นนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว  ที่ประชุมได้ทำการเคารพ. และอาราธนาขอให้ท่านแสดงธรรมว่าด้วยหลักสำคัญแห่งพุทธศาสนา. ในอันดับนั้น   ท่านสาธุคุณองค์นั้น  ได้เริ่มแสดงมีข้อความดังต่อไปนี้-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  จิตเดิมแท้ (Essence of Mind) ของเราซึ่งเป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของการตรัสรู้นั้น  
เป็นของบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ (Pure by nature) และต้องอาศัย  จิตเดิมแท้ นี้เท่านั้น  
มนุษย์เราจึงจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ
อาตมาจะเล่าให้ฟังถึงประวัติของอาตมาเองบางตอน  และเล่าถึงข้อที่ว่า อาตมาได้รับคำสอนอันเร้นลับ  
แห่งนิกายธยาน(เซ็น) มาด้วยอาการอย่างไร

        บิดาของอาตมาเป็นชาวเมืองฟันยาง  ถูกถอดจากตำแหน่งราชการ  ถูกเนรเทศไปอยู่อย่างราษฎรสามัญที่ซุนเจาในมณฑลกวางตุ้ง.  อาตมาโชคร้ายโดยที่บิดาได้ถึงแก่กรรมเสียแต่ในขณะที่อาตมายังเล็กอยู่เหลือเกิน  และทิ้งมารดาไว้ในสภาพที่ยากจนทนทุกข์  เราสองคนจึงย้ายไปอยู่ทางกวางเจา และอยู่ที่นั้นด้วยความทุกข์ยากเรื่อยมา.

        วันหนึ่ง  อาตมากำลังนำฟืนไปขายอยู่ที่ตลาดเพราะเจ้าจำนำคนหนึ่งเขาสั่งให้นำไปขายให้เขาถึงร้าน  เมื่อส่งของและรับเงินเสร็จแล้ว  อาตมาก็ออกจากร้าน  ได้พบชายคนหนึ่งกำลังบริกรรมสูตรๆ หนึ่งอยู่แถวหน้าร้านนั้นเอง  พอได้ยินข้อความแห่งสูตรนั้นเท่านั้น  ใจของอาตมาก็ลุกโพลงสว่างไสวในพุทธธรรม  อาตมาจึงถามชื่อคัมภีร์ที่เขากำลังสวดอยู่  ก็ได้ความจากชายคนนั้นว่า  พระสูตรนั้นชื่อ วัชรสูตร (วชฺรจฺเฉทิกสูตร  หรือพระสูตรอันว่าด้วยเพชรสำหรับตัด) อาตมาจึงไล่เรียงต่อไปว่า  เขามาจากไหน ทำไมเขาจึงจำเพาะมาท่องบ่นแต่พระสูตรนี้.  ชายคนนั้นตอบว่าเขามาจากวัดตุงซั่น ตำบลวองมุย เมืองคีเจา เจ้าอาวาสในขณะนี้มีนามว่าหวางยั่น(ฮ่งยิ้ม) เป็นพระสังฆปริณายก แห่งนิกายเซ็น องค์ที่ 5 มีศิษย์รับการสั่งสอนอยู่ประมาณพันคน  เมื่อเขาไหว้พระสังฆปริณายกที่วัดนั้น  เขาได้ฟังเทศน์หลายครั้งเกี่ยวกับพระสูตรๆนี้  เขาเล่าต่อไปว่า ท่านสาธุคุณองค์นั้นเคยรบเร้าทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตอยู่เสมอ  ให้พากันบริกรรมพระสูตรๆนี้  เผื่อว่าเมื่อเขาพากันบริกรรมอยู่  เขาจะสามารถเห็น  จิตเดิมแท้  ของตนเอง  และจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ เพราะเหตุนั้น

        

        คงเป็นด้วยกุศลที่อาตมาได้ทำไว้แต่ชาติก่อนๆ จึงเป็นเหตุให้อาตมาได้ทราบเรื่องราวเหล่านี้  และอาตมายังได้รับเงินอีก 10 ตำลึงจากชายผู้อารีคนหนึ่งให้มาเพื่อมอบให้มารดาไว้ใช้สอย  ในระหว่างที่อาตมาไม่อยู่  ทั้งเขาเองเป็นผู้แนะนำให้อาตมารีบไปยังตำบลวองมุย  เพื่อพบพระสังฆปริณายกองค์นั้น  เมื่อได้จัดแจงให้มีคนช่วยดูแลมารดาเสร็จแล้ว  อาตมาก็ได้ออกเดินทางไปยังวองมุย และถึงที่นั้นได้ในชั่วเวลาไม่ถึงสามสิบวัน

        ครั้นถึงตำบลวองมุยแล้ว  อาตมาได้ไปนมัสการพระสังฆปริณายก  ท่านถามว่ามาจากไหน  และต้องประสงค์อะไร  อาตมาได้ตอบว่า  "กระผมเป็นคนพื้นเมืองซุนเจา  แห่งมณฑลกวางตุ้ง  เดินทางมาแสนไกลเพื่อทำสักการะเคารพแด่หลวงพ่อท่าน  และกระผมไม่ต้องการอะไร  นอกจากธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ (Buddha-nature) อย่างเดียวเท่านั้น"

        ท่านถามอาตมาว่า  "เป็นชาวกวางตุ้งหรือ?  เป็นคนป่าคนเยิงแล้วเธอจะหวังเป็นพุทธะได้อย่างไรกัน?"

        อาตมาได้เรียนตอบท่านว่า  "แม้ว่าจะมีคนชาวเหนือและคนชาวใต้ก็จริง แต่ทิศเหนือและทิศใต้นั้น หาได้ทำให้ความเป็นพุทธะซึ่งมีอยู่ในคนนั้นๆ แตกต่างกันได้ไม่.  คนป่าคนเยิงจะแตกต่างจากหลวงพ่อ ก็แต่ในทางร่างกายเท่านั้น, แต่ไม่มีความผิดแปลกแตกต่างกันในส่วนธรรมชาติของความเป็นพุทธะของเราทั้งหลาย"  แต่เผอิญมีศิษย์ของท่านเข้ามาหลายคน  ท่านจึงหยุดชะงัก  และสั่งให้อาตมาไปสมทบทำงานกับคนงานหมู่หนึ่ง

        อาตมากล่าวขึ้นว่า  "กระผมกราบเรียนหลวงพ่อว่า "วิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในใจของกระผมเสมอๆ  เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้มีจิตเลื่อนลอยไปจาก  จิตเดิมแท้ ของตนแล้ว ก็ควรจะเรียกเขาผู้นั้นว่า  "ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก" เหมือนกัน  กระผมจึงไม่ทราบว่างานอะไร ที่หลวงพ่อให้ผมกระทำ?"

        พระสังฆปริณายกได้มีบัญชาว่า  "เจ้าคนป่านี้เฉลียวฉลาดเกินตัวไปเสียแล้ว จงไปที่โรงนั่น  แล้วอย่าพูดอะไรอีกเลย"  อาตมาจึงถอยหลีกไปทางลานข้างหลัง มีคนวัดที่ไม่ใช่บรรพชิตคนหนึ่ง มาบอกให้ผ่าฟืน และตำข้าว




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กุมภาพันธ์ 2556 17:27:37 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #81 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 13:06:22 »




   สิ่งที่เป็นของคู่ประเภทตรงข้าม 36 ประการ ได้แก่

        วัตถุภายนอก 5 ประการ คือ

ฟ้าและดิน
อาทิตย์และจันทร์
แสงสว่างและความมืด
ธาตุบวกและธาตุลบ
ไฟฟ้าและน้ำ

        ธรรมลักษณะ 12 ประการ คือ

คำพูดและธรรม
การรับและการปฏิเสธ  
สาระและไม่เป็นสาระ
 
รูปและปราศจากรูป  
ความแปดเปื้อนและความไม่แปดเปื้อน  
ความมีอยู่และความว่างเปล่า  

ความเคลื่อนไหวและความสงบนิ่ง
ความบริสุทธิ์และมลทิน
สามัญชนและปราชญ์
 
พระสงฆ์และฆราวาส
คนแก่และคนหนุ่ม
ความใหญ่และความเล็ก

        กิจของภาวะที่แท้แห่งจิต 19 คู่ คือ

ยาวและสั้น
ดีและชั่ว
อวิชชาและปัญญา  
โง่และฉลาด
กระวนกระวายและสงบนิ่ง
กรุณาและชั่วช้า

ศีลและไม่มีศีล  
ตรงและคด
เต็มและว่าง  
ชันและระดับ
กิเลสและโพธิ  
ถาวรและไม่ถาวร  

เมตตาและโหดร้าย  
สุขและโกรธ
อ่อนโยนและหยาบช้า
ไปข้างหน้าและถอยหลัง
มีอยู่และไม่มีอยู่
ธรรมกายและกายเนื้อ

สัมโภคกายและนิรมานกาย


       "ผู้รู้จักวิธีใช้สิ่งทั้ง 36 คู่เหล่านี้ ย่อมตระหนักชัดถึง หลักการที่แผ่ซ่านไปในทุกสิ่ง ซึ่งกล่าวไว้ทั่วไปในพระสูตรทั้งหลาย  ไม่ว่าเขาจะเข้ามาหรือออกไป เขาย่อมสามารถหลีกเลี่ยงความสุดโต่งทั้งสองข้างนี้ได้

       "ในการปฏิบัติกิจของภาวะที่แท้แห่งจิต และ ในการสนทนากับผู้อื่น ทางภายนอกเราควรเปลื้องตัวเสียจากการยึดติดอยู่กับวัตถุ เมื่อจะต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุนั้นๆ ส่วนภายในตามคำสอนถึงความว่างเปล่า เราควรเปลื้องตนออกจากความคิดที่ว่าขาดสูญ การเชื่อว่า วัตถุทั้งหลายมีความจริงแท้ หรือเชื่อว่าขาดสูญ ย่อมก่อให้เกิดมิจฉาทิฏฐิอย่างฝังรากลึก หรือพอกพูนอวิชชาให้หนาแน่นยิ่งขึ้น"



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2553 09:55:24 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #82 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 14:25:18 »




    "ผู้ที่เชื่ออย่างยึดมั่นในลัทธิขาดสูญ ย่อมดูหมิ่นพระสูตรทั้งหลาย ในแง่ที่ว่าภาษานั้นไม่จำเป็น ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว พวกเราก็ผิดในการที่พูด เพราะคำพูดย่อมก่อให้เกิดเนื้อหาทางภาษา  และเขาก็อาจแย้งได้อีกว่า สำหรับวิธีตรงนั้นภาษาเป็นอันยกเลิกได้  แต่เขาจะพอใจกับคำว่า ยกเลิก  ซึ่งก็เป็นภาษาเช่นกัน ฉะนั้นหรือ?  เมื่อได้ยินผู้อื่นกล่าวถึงพระสูตร คนเช่นนี้จะตำหนิผู้พูดในทำนองว่า ติดอยู่กับตำรา มันเป็นความชั่วอย่างพอตัวทีเดียว ที่ยึดถือความคิดเห็นผิดๆเช่นนี้ไว้กับตน พวกท่านควรรู้ว่า การกล่าวร้ายต่อพระสูตร เป็นความผิดอย่างมหันต์ เพราะผลลัพธ์ที่จะได้นั้นหนักมากทีเดียว

        "ผู้ที่เชื่อในความจริงแท้ของวัตถุภายนอก ก็พยายามค้นหารูปนั้นด้วยการปฏิบัติในลัทธิบางอย่าง เขาอาจจัดห้องบรรยายไว้อย่างกว้างขวาง เพื่อถกเถียงกันถึงลัทธิเที่ยงแท้และลัทธิขาดสูญ แต่คนเช่นนี้ แม้อีกมากมายหลายกัลป์ ก็ไม่อาจตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิตได้"





        "เราควรเดินทางไปตามคำสอนของพระธรรม อย่าปล่อยใจให้เฉื่อยชาเพราะจะเกิดอุปสรรคแก่ความเข้าใจในหลักธรรมได้  การสอนหรือการฟังพระธรรมโดยไม่ได้ปฏิบัติตามย่อมเป็นการเปิดช่องให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ฉะนั้น เราควรเดินทางไปตามคำสอนของพระธรรม และในการเผยแพร่ธรรม ก็ไม่ควรให้ความคิดเห็นถึงความจริงแท้แห่งวัตถุ มาชักนำเราไป"


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2553 10:06:29 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #83 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 16:23:20 »




  "ถ้าท่านเข้าใจสิ่งที่ฉันพูด และนำไปใช้ในการสั่งสอน ในการปฏิบัติและในชีวิตประจำวัน ท่านจะสามารถจับความสำคัญของสำนักเราได้"

        เมื่อมีปัญหาถามมา จงตอบไปในทำนองปฏิเสธ ถ้าเป็นปัญหากล่าวปฏิเสธ จงตอบในทำนองบอกรับ ถ้าถูกถามถึงสามัญชน จงตอบเรื่องของปราชญ์จากการเปรียบเทียบกันหรืออ้างอิงก้นระหว่างสิ่งตรงข้ามทั้งคู่ จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจใน ทางสายกลาง ได้ถ้าปัญหาต่างๆ ถามมาในทำนองนี้ ท่านจงอย่าตอบให้ผิดไปจากสัจจะ"

        "สมมุติมีคนถามท่านว่า ความมืดคืออะไร ท่านก็ตอบเขาไปว่า ความสว่างเป็นเหตุ ความมืดเป็นปัจจัย เมื่อความสว่างหายไป ความมืดก็ตามมาสองสิ่งนี้อยู่ในลักษณะเปรียบเทียบต่อกันและกัน  จากการเปรียบเทียบกันหรือ อ้างอิงกัน ระหว่างสิ่งตรงข้ามทั้งคู่ ก็จะเกิด ทางสายกลาง ขึ้น

        จงตอบปัญหาอื่นๆ ทั้งปวงในทำนองเดียวกันนี้ ในการถ่ายทอดธรรมให้สานุศิษย์ของท่าน ท่านควรมอบคำสอนนี้ต่อๆกันไป ตามอนุชนแต่ละชั้นเพื่อเป็นเครื่องประกันความถาวรแห่งเป้าหมายและจุดประสงค์ของสำนักเรา"

       ในเดือนเจ็ด แห่งปีเยนซี อันเป็นปีที่หนึ่ง แห่งรัชสมัยไตกิ๊กหรือเยนโว พระสังฆนายกได้สั่งให้ศิษย์บางท่านไปสร้างสถูปไว้แห่งหนึ่ง ในวัดกว็อกเยน ที่ชุนเจา  และกำชับให้แล้วเสร็จโดยด่วน พอจวนสิ้นฤดูร้อนในปีต่อมา สถูปนั้นก็แล้วเสร็จเรียบร้อย

        ครั้นถึง วันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนเจ็ด พระสังฆนายก ประชุมสานุศิษย์ของท่าน และกล่าวว่า:-


        "ฉันจะจากโลกนี้ไปในเดือนแปด  หากใครยังมีข้อสงสัยอันใด เกี่ยวกับหลักธรรมแล้ว จงถามเสียให้ทันเวลา เพื่อท่านจะได้เข้าใจให้กระจ่าง เพราะท่านอาจไม่พบใครที่จะสอนท่านอีก  เมื่อฉันจากไปแล้ว"


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 พฤษภาคม 2554 12:52:56 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #84 เมื่อ: 18 มีนาคม 2553 17:30:31 »




ข่าวร้าย ทำให้ท่านฟัตห่อยและสานุศิษย์อื่นๆ น้ำตาไหล
ส่วนท่านชินวุยนั้น ตรงกันข้าม คงสงบนิ่ง

พระสังฆนายกกล่าวชมเชยท่านชินวุยว่า "อาจารย์หนุ่มชินวุยคนเดียวเท่านั้นในที่นี้
ที่ได้บรรลุถึงฐานะของจิต

ที่ไม่ยินดีหรือยินร้ายต่อความดีหรือความชั่ว ไม่รู้จักความดีใจหรือเสียใจ
และไม่ไหวสะเทือนต่อคำเยินยอหรือติฉิน


แต่ท่านอบรมอยู่ในภูเขานี้ก็หลายปีแล้ว  ท่านได้รับความก้าวหน้าบ้าง
ขณะนี้ท่านร้องไห้ทำไม

ท่านกังวลต่อฉัน  เพราะฉันไม่รู้ว่าฉันจะไปที่ไหนกระนั้นหรือ? แต่ฉันรู้
มิฉะนั้น ฉันคงบอกท่านล่วงหน้าไม่ได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น 

เรื่องที่ทำให้ท่านร้องไห้ก็คือ ท่านไม่รู้ว่าฉันจะไปที่ไหน
ถ้าท่านร้องไห้เพราะเหตุนั้นก็ไม่น่าจะร้อง ในสภาพแห่งความเป็นเช่นนั้น





โดยเนื้อแท้แล้ว ย่อมไม่มีการมาหรือการไป ไม่มีการเกิดหรือการดับ
นั่งลงเถิดทุกๆท่าน ฉันจะกล่าวโศลก  ว่าด้วย ความจริงแท้   และความลวง

กับโศลกว่าด้วย ความเคลื่อนไหวและความสงบนิ่ง ให้ท่านฟัง
จงนำไปศึกษา
แล้วความเห็นของท่าน

ก็จะอยู่ในแนวเดียวกับความเห็นของฉัน
  จงนำไปปฏิบัติ แล้วท่านจะทราบถึง
เป้าหมายและจุดประสงค์แห่งสำนักของเรา"

        ที่ประชุมต่างทำความเคารพและขอฟังโศลกนั้น:-



http://i480.photobucket.com/albums/rr164/EcoWitch/ZenGarden.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2553 10:41:58 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #85 เมื่อ: 19 มีนาคม 2553 12:36:07 »






ในสรรพสิ่งทั้งหลายย่อมไม่มีอะไรจริงแท้
ดังนั้นเราควรเปลื้องตน ออกเสียจากความคิดเห็น ถึงความจริงแท้แห่งวัตถุเหล่านั้น

ใครที่เชื่อ ในความจริงแท้ของวัตถุ
ย่อมถูกพันธนาการอยู่ด้วยความคิดเห็นเช่นนั้นซึ่งล้วนเป็นสิ่งลวง

ใครที่ตระหนักชัดถึงความจริงแท้ในตัวเขาเอง
ย่อมรู้ว่า จิตที่แท้ต้องค้นหาต่างที่กับปรากฏการณ์ที่ผิด

ถ้าจิตของใครถูกพันธนาการไว้ด้วยปรากฏการณ์ที่เป็นความลวงแล้ว
จะไปหาความจริงแท้ได้ที่ไหน ในเมื่อปรากฏการณ์ทั้งหลายไม่ใช่ความจริงแท้

สัตว์ทั้งหลายย่อมเคลื่อนไหว     วัตถุทั้งปวงย่อมหยุดนิ่ง





ใครฝึกตนให้เป็นผู้ไร้ความเคลื่อนไหว ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไร
นอกจากทำตนให้แน่นิ่งอย่างวัตถุ
ถ้าท่านจะหาความสงบนิ่งที่ถูกแบบ ก็ควรสงบนิ่งภายในการเคลื่อนไหว

ความสงบนิ่ง (เหมือนอย่างวัตถุ) ก็เป็นเพียงความสงบนิ่ง (ไม่ใช่ธยาน)
ในสรรพวัตถูทั้งหลายนั้น ท่านจะไม่พบเมล็ดพืชแห่งความเป็นพุทธะ

ท่านผู้เชี่ยวชาญในการจำแนกธรรมลักษณะต่างๆ ย่อมพำนักอยู่อย่างสงบนิ่ง
ในหลักธรรมลักษณะต่างๆย่อมพำนักอยู่อย่างสงบนิ่งในหลักธรรมเบื้องแรก

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงสำเหนียกรู้ในสิ่งทั้งหลาย นี่แหละคือหน้าที่ของตถตา  
บรรดาผู้ที่ดำเนินไปตามมรรคจงกระตุ้นเตือนตนเอง และคอยหมั่นระวัง





ในฐานะที่เป็นสานุศิษย์ของสำนักมหายาน จงอย่ารวบรัดเอาความรู้
ประเภทที่จะผูกพันท่านไว้กับกงจักร แห่งการเกิดและตาย

สำหรับบุคคลที่มีความรู้สึกสอดคล้องกัน จงอธิบายกันในหลักธรรม
ทางพระพุทธศาสนา

ส่วนบุคคลที่มีทัศนะต่างจากเรา
จงปฏิบัติต่อเขาอย่างสุภาพ  ซึ่งเป็นการอำนวยความสุขให้กับเขา

เรื่องการโต้เถียงไม่ใช่วิธีการของสำนักเรา   เพราะเป็นการขัดแย้งกับหลักธรรม
การยึดมั่นหรือขัดแย้งกับสิ่งอื่น โดยไม่คำนึงถึงหลักข้อนี้

ย่อมเป็นการผลักไสให้ภาวะที่แท้แห่งจิตของตน ตกไปสู่ความขมขื่นแห่งโลกียภูมิ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 สิงหาคม 2553 10:57:15 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #86 เมื่อ: 25 มีนาคม 2553 10:20:25 »

Relax - Buddhist Meditation Music - Zen Garden - Kokin Gumi


เมื่อได้ฟังโศลกบทนี้ ที่ประชุมต่างกราบนมัสการพระสังฆนายกพร้อมกันทุกคนต่างสำรวมใจปฏิบัติตามโศลกอย่างจริงจัง และละเว้นการขัดแย้งกันในทางศาสนา

        เมื่อเห็นว่าพระสังฆนายกจะจากไปในไม่ช้า ท่านฟัตห่อย ผู้อาวุโส ได้หมอบกราบพระสังฆนายกสองครั้งแล้วถามว่า "เมื่อพระคุณท่านเข้าปรินิพพานแล้วใครจะเป็นผู้ได้รับมอบบาตรจีวรและธรรมต่อไป"

        พระสังฆนายกตอบว่า "สำหรับคำสอนของฉันทั้งหมด นับแต่ได้กล่าวเทศนาในวัดไทฟันตราบจนบัดนี้ จงคัดลอกเป็นเล่มแล้วแจกกจ่ายกันไปก็ได้ แต่ให้ชื่อว่า สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์แห่งธรรมรถ จงทะนุถนอม ไว้ให้ดี แล้วมอบต่อกันไปตามอนุชนแต่ละรุ่น เพื่อช่วยเหลือสัตว์ทั้งปวง บุคคลที่สั่งสอนตามคำสอนนี้ เป็นผู้ที่สั่งสอนตามธรรมแท้

        พอแล้วสำหรับธรรม ส่วนการรับช่วงจีวรนั้น ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัน เพราะเหตุใดหรือ? เพราะว่าท่านทั้งหลายต่างก็ศรัทธาต่อคำสอนของฉันโดยพร้อมมูล ทั้งท่านก็ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ แล้ว ท่านย่อมสามารถสืบต่อจุดประสงค์อันสูงยิ่งของสำนักเราให้ลุล่วงไปได้ นอกจากนั้นตามความหมายในโศลกของท่านโพธิธรรม พระสังฆนายกองค์แรกผู้ถ่ายทอดพระธรรมและบาตรจีวรท่านก็ไม่ประสงค์จะให้มอบแก่ใครต่อไปอีก โศลกนั้นคือ:-



จุดประสงค์ในการมาดินแดนนี้
ก็เพื่อถ่ายทอดพระธรรม สำหรับปลดปล่อยสัตว์ที่ถูกครอบงำไว้

ด้วยความหลงผิด

เมื่อมีกลีบครบห้ากลีบ ดอกไม้นั้นก็สมบูรณ์
หลังจากนั้นไป ผลจะปรากฏขึ้นเองตามธรรมชาติ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 สิงหาคม 2553 15:10:59 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #87 เมื่อ: 27 มีนาคม 2553 12:40:06 »



    พระสังฆนายกกล่าวเสริมต่อไปว่า "ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย จงชำระจิตของท่านให้บริสุทธิ์และฟังฉันพูด ใครที่ปรารถนาจะบรรลุปัญญาของพุทธะ ซึ่งรู้ไปในทุกๆสิ่ง เขาก็ควรรู้จัก สมาธิเฉพาะวัตถุประสงค์ และ สมาธิเฉพาะแบบ ในทุกๆกรณี เราควรเปลื้องตนออกเสียจากความผูกพันในวัตถุทั้งหลาย และวางท่าทีต่อสิ่งเหล่านั้นให้เป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย อย่าปล่อยให้ชัยชนะหรือความปราชัย และการได้มาหรือการสูญเสียก่อความกังวลแก่เราได้ จงสงบและเยือกเย็น จงสุภาพและอารีอารอบ จงซื่อตรงและเที่ยงธรรมสิ่งเหล่านั้นคือ สมาธิเฉพาะวัตถุประสงค์ ในทุกๆ โอกาส ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นั่งหรือนอน จงเป็นคนตรงแน่ว เราก็จะดำรงอยู่ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์และไม่ต้องเคลื่อนไหวแม้สักน้อย เราก็เสมือนกับอยู่ในอาณาจักรแห่งดินแดนอันบริสุทธิ์ สิ่งเหล่านี้คือ สมาธิเฉพาะแบบ.

        ผู้ที่ปฏิบัติตามสมาธิทั้งสองอย่างนี้ ได้ครบถ้วนแล้ว ก็เสมือนกันเนื้อนาที่ได้หว่านเมล็ดพืชลงไป แล้วกลบไว้ด้วยโคลน เมล็ดพืชจึงได้รับการบำรุงและเจริญเติบโต ตราบจนกระทั่งผลิผล."

        คำสอนของฉันขณะนี้ ไม่ผิดอะไรกับฝนตกตามฤดูกาล ซึ่งจะนำความชุ่มชื่นมาสู่ผื่นแผ่นดินอันกว้างใหญ่ ธรรมชาติแห่งพุทธะซึ่งมีอยู่ภายใน เหมือนกับเมล็ดพืชที่ได้รับความชุ่มชื่นจากสายฝน ย่อมจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ใครที่ปฏิบัติตามคำสอนของฉัน ย่อมจะได้บรรลุถึงโพธิอย่างแน่นอน ใครที่ดำเนินตามคำสอนของฉัน ย่อมจะได้รับผลอันสูงเลิศเป็นแน่แท้ จงฟังโศลกดังนี้:-


"เมล็ดพืชแห่งพุทธะ แฝงอยู่ในจิตของเรา

ย่อมงอกตามสายฝน ที่ซึมซาบไปในทุกสิ่ง

ดอกไม้แห่งหลักธรรม เมื่อได้ผลิออกมาด้วยปัญญาญาณ

ผู้นั้นย่อมแน่แท้ ที่จะเก็บเกี่ยวผลแห่งการตรัสรู้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #88 เมื่อ: 27 มีนาคม 2553 13:21:41 »




     จากนั้นพระสังฆนายกได้เสริมต่อไปว่า "ธรรมนั้นไม่เป็นของคู่ และจิตก็ฉันนั้น มรรคนั้นบริสุทธ์ และอยู่เหนือรูปทั้งมวล ฉันขอเตือนท่าน อย่าปฏิบัติสมาธิในเรื่องความเงียบสงบ หรืออย่าทำจิตให้ว่างเปล่า จิตนั้นบริสุทธิ์อยู่แล้ว โดยธรรมชาติ ดังนั้น จึงไม่มีอะไร ที่เราจะต้องไปใฝ่หา หรือ ยกเลิก แต่ละท่านจงปฏิบัติให้ดีที่สุด และไปในที่ทุกแห่งตามแต่เหตุการณ์จะนำไป"

        จากนั้นสานุศิษย์ทั้งหลายต่างกราบนมัสการและเลิกประชุม

        ครั้นถึงวันขึ้นแปดค่ำ เดือนเจ็ด พระสังฆนายกสั่งให้สานุศิษย์ของท่านจัดเรือโดยด่วน เพื่อท่านจะกลับไปชุนเจา เมืองเกิดของท่าน บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายโดยพร้อมกันวิงวอนท่านอย่างร้อนรนและน่าสังเวช ขอให้ท่านอยู่ต่อไป

        พระสังฆนายกกล่าวว่า "เป็นธรรมดาเหลือเกิน ที่ฉันควรจะไป เพราะความตาย เป็นผลอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นของความเกิด แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งพระองค์เสด็จมาในโลกนี้ ก็ต้องผ่านการตายทางโลกีย์ ก่อนที่จะเสด็จเข้าสู่พระมหาปรินิพพาน เรื่องนี้ก็ไม่มีข้อยกเว้น สำหรับกายอันเป็นเนื้อหนังของฉันซึ่งจะต้องเหยียดยาวลง ณ ที่ใดที่เหนึ่ง"

        ที่ประชุมต่างวิงวอนว่า "เมื่อท่านได้เยี่ยมชุนเจาแล้ว จะเร็วหรือช้าก็ตามขอได้โปรดกลับมาที่นี่เถิด"
        พระสังฆนายกตอบว่า "ใบไม้ที่หล่นจากต้นแล้ว ย่อมกลับคืนไปสู่รากเมื่อฉันมาที่นี่ครั้งแรก ฉันก็ไม่ได้บอกใคร"

        ที่ประชุมถามว่า "ใครครับ พระคุณท่าน ที่ท่านได้ถ่ายทอดขุมกำเนิดแห่งดวงตาของธรรมแท้?"
        พระสังฆนายกตอบว่า "มนุษย์ในหลักธรรมย่อมได้รับ และบรรดาผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้วจากความคิดเห็นอันเฉียบขาด ย่อมเข้าใจ"

        ที่ประชุมถามต่อไปว่า "จะมีเหตุวิบัติเกิดขึ้นแก่ท่านบ้างหรือไม่ หลังจากนั้น?"
        พระสังฆนายกตอบว่า "ห้าหรือหกปีหลังจากที่ฉันได้จากไปแล้ว จะมีคนผู้หนึ่งมาตัดศีรษะฉัน ฉันได้กำหนดคำทำนายไว้แล้วดังนี้:-
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #89 เมื่อ: 27 มีนาคม 2553 14:04:48 »




สิ่งสักการะ ได้เทอดทูนไว้เหนือศีรษะของบิดามารดา
เพื่อเป็นการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

เมื่อเหตุวิบัติได้บังเกิดขึ้นแก่มุนี
ยังและหลิวจะได้เป็นขุนนาง"

   จากนั้น ท่านกล่าวเสริมต่อไปว่า "เมื่อฉันจากไปแล้วเจ็ดสิบปี จะมีพระโพธิสัตว์สององค์มาจากทางตะวันออก องค์หนึ่งเป็นฆราวาส อีกองค์หนึ่งเป็นพระภิกษุ มาสั่งสอนธรรมในเวลาเดียวกัน จะเผยแพร่พระธรรมออกไปอย่างกว้างขวาง จะเสริมสร้างสำนักของเราให้มีรากฐานมั่นคง ปฏิสังขรณ์วัดของเรา และถ่ายทอดหลักธรรมให้แก่ผู้สืบทอดที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย

        สานุศิษย์ทั้งหลายถามว่า "ท่านจะให้พวกข้าพเจ้าทราบได้ไหมว่า ธรรมนี้ได้ถ่ายทอดกันมากี่ชั่วคนแล้ว นับจากพระพุทธเจ้าพระองค์แรกเป็นต้นมา?"

        พระสังฆนายกตอบว่า "พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาในโลกนี้ มีจำนวนมากมายจนนับไม่ถ้วยพระองค์ ขอให้เรากล่าวนามของพระองค์ เพียงเจ็ดพระองค์หลังเถิด คือ


พระพุทธเจ้า  วิปัสสิน      กัปป์ที่แล้ว(อาลัมกรกัลป์)
พระพุทธเจ้า  สิขิน          กัปป์ที่แล้ว(อาลัมกรกัลป์)

พระพุทธเจ้า  เวสสภู      กัปป์ที่แล้ว(อาลัมกรกัลป์)
พระพุทธเจ้า  กกุสันธ      กัลป์ปัจจุบัน (ภัทรกัลป์)

พระพุทธเจ้า  โกนาคมน  กัลป์ปัจจุบัน (ภัทรกัลป์)
พระพุทธเจ้า  กัสสป       กัลป์ปัจจุบัน (ภัทรกัลป์)

พระพุทธเจ้า  โคตม       กัลป์ปัจจุบัน (ภัทรกัลป์)     

จากพระพุทธเจ้าโคตม พระธรรมได้ถ่ายทอดมาสู่


พระสังฆนายกที่ 1           พระอารยะ  มหากัสสปะ

พระสังฆนายกที่ 2           พระอารยะ  อานนท์
พระสังฆนายกที่ 3           พระอารยะ  สันวส

พระสังฆนายกที่ 4           พระอารยะ  อุปคุปต
พระสังฆนายกที่ 5           พระอารยะ  ธริตก

พระสังฆนายกที่ 6           พระอารยะ  มิฉก
พระสังฆนายกที่ 7           พระอารยะ  วสุมิตร

พระสังฆนายกที่ 8           พระอารยะ  พุทธนันทิ
พระสังฆนายกที่ 9           พระอารยะ  พุทธมิตร

พระสังฆนายกที่ 10           พระอารยะ  ปาสว
พระสังฆนายกที่ 11           พระอารยะ  ปุนยยสัส

พระสังฆนายกที่ 12           พระโพธิสัต์  อัศวโฆษ 
พระสังฆนายกที่ 13           พระอารยะ  กปิมล

พระสังฆนายกที่ 14           พระโพธิสัตว์  นาคารชุน 
พระสังฆนายกที่ 15           พระอารยะ  คนเทว

พระสังฆนายกที่ 16           พระอารยะ  ราหุลต
พระสังฆนายกที่ 17           พระอารยะ  สังฆนันทิ

พระสังฆนายกที่ 18           พระอารยะ  สังฆยสัส
พระสังฆนายกที่ 19           พระอารยะ  กุมารต

พระสังฆนายกที่ 20           พระอารยะ  ขยต
พระสังฆนายกที่ 21           พระอารยะ  วสุพันธุ

พระสังฆนายกที่ 22           พระอารยะ  มนูร
พระสังฆนายกที่ 23           พระอารยะ  อักเสนยสัส

พระสังฆนายกที่ 24           พระอารยะ  สินห
พระสังฆนายกที่ 25           พระอารยะ  วิสอสิต

พระสังฆนายกที่ 26           พระอารยะ  ปุนยมิตร
พระสังฆนายกที่ 27           พระอารยะ  ปรัชญาตาระ

พระสังฆนายกที่ 28           พระอารยะ  โพธิธรรม
(พระสังฆนายกองค์ที่ 1ของจีน (ตั้กม้อ)

พระสังฆนายกที่ 29           พระอาจารย์  เว่ยโห
พระสังฆนายกที่ 30           พระอาจารย์  ซังซาน

พระสังฆนายกที่ 31           พระอาจารย์  ตูชุน
พระสังฆนายกที่ 32           พระอาจารย์  ฮวางยาน

และฉันเป็นพระสังฆนายกที่ 33 จากการสืบต่อทางสานุศิษย์ ที่พระธรรมได้ถ่ายทอดจากพระสังฆนายก
องค์หนึ่งไปยังอีกองค์หนึ่ง นับจากนี้ไป
ท่านทั้งหลายควรถ่ายทอดต่อไปให้คนรุ่นหลัง จากอนุชนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อเป็นการรักษาประเพณีเอาไว้.




ลำดับพระสังฆปรินายกฝ่ายเซน

พระอริยสงฆ์สาวกผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดชี้ธรรม ด้วยวิถีแห่ง "จิต สู่ จิต"
แต่ละรุ่นๆ จะได้รับมอบ บาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัญญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง

釋迦牟尼佛 พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า

การถ่ายทอดธรรมดังกล่าวมีพระอริยเจ้าแต่ละสมัยรับช่วงสืบทอดกันลงมาโดยลำดับดังนี้

1.初祖訶迦葉尊者 พระมหากัสสปเถระ
2.二祖阿難陀尊者 พระอานนท์เถระ

3.三祖商那和修尊者 พระสันนวสะเถระ
4.四祖優婆□多尊者 พระอุปคุปด์เถระ

5.五祖提多迦尊者 พระธริตกเถระ
6.六祖彌遮迦尊者 พระมัจฉกะ

7.七祖婆須密尊者 พระวสุมิตรเถระ
8.八祖佛陀難提尊者 พระพุทธนันทิเถระ

9.九祖伏馱密多尊者 พระพุทธมิตรเถระ
10.十祖脅尊者 พระปารศวะเถระ

11.十一祖富那夜奢尊者 พระปุณยยศัสเถระ
12.十二祖馬鳴大士 พระอัศวโฆษ มหาโพธิสัตว์

13.十三祖迦毗摩羅尊者 พระกบิลเถระ
14.十四祖龍樹尊者 พระนาคารชุน มหาโพธิสัตว์

15.十五祖迦那提婆尊者 พระคุณเทวเถระ
16.十六祖羅侯羅多尊者 พระราหุลตเถระ

17.十七祖僧伽難提尊者 พระสังฆนันทิเถระ
18.十八祖伽耶舍多尊者 พระสังฆยศัสเถระ

19.十九祖鳩摩羅多尊者 พระกุมารตเถระ
20.二十祖闍夜多尊者 พระชยเถระ

21.二十一祖婆修盤頭尊者 พระวสุพันธุเถระ
22.二十二祖摩拏羅尊者 พระมนูรเถระ

23.二十三祖鶴勒那尊者 พระฮักเลนยศัสเถระ
24.二十四祖師子尊者 พระสินหเถระ

25.二十五祖婆舍斯多尊者 พระวสิอสิตเถระ
26.二十六祖不如密多尊者 พระปุณยมิตรเถระ

27.二十七祖般若多羅尊者 พระปรัชญาตาระ
28.二十八祖菩提達磨大師 พระโพธิธรรม

โดย ลำดับที่ 28 (สายชมพูทวีป) คือพระโพธิธรรม เมื่อท่านเดินทางเผยแพร่พุทธศาสนาเข้าสู่จีน
ที่นี่เองการอ่านชื่อออกเสียงว่า "โพธิธรรม" หรือ "โบ-ตะ-มะ" ที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ตั๊กม้อ"
ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งวัดเส้าหลิน นับเป็นพระสังฆปรินายกฝ่ายเซนองค์แรกในจีน ต่อมาเมื่อสืบทอดพระสังฆปรินายก
องค์ที่ 3 (ฝ่ายจีน) จึงได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น

วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น
เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ(การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น)
แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น

********



ข้อมูลจาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กรกฎาคม 2553 16:37:43 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #90 เมื่อ: 27 มีนาคม 2553 17:41:01 »





ในวันขึ้นสามค่ำ เดือนแปด แห่งปีไกวเซา นับเป็นปีที่สองในรัชสมัย ซินติน หลังจากฉันอาหารที่วัดกว๊อกเยนแล้ว พระสังฆนายกได้กล่าวแก่สานุศิษย์ว่า "โปรดนั่งลงตามลำดับอาวุโส เพราะฉันกำลังจะกล่าวลาท่าน"

        ทันใดนั้น ท่านฟัตห่อยได้กล่าวกับพระสังฆนายกว่า "พระคุณท่านได้โปรดกรุณาให้คำสอนที่กำจัดความไว้อย่างแน่นอนแก่คนรุ่นหลังๆ  เพื่อมหาชน ผู้หลงผิด จะได้ตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ"

        พระสังฆนายกตอบว่า "ไม่ใช่ว่า จะเป็นการเหลือวิสัยสำหรับคนเหล่านี้ที่จะตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ ถ้าหากว่าเขาจะทำตนให้เคยชินกับธรรมชาติของสามัญสัตว์ แต่ว่าการค้นหาความเป็นพุทธะโดยปราศจากความรู้ ดังกล่าว ย่อมเป็นการไร้ผล แม้เขาจะใช้เวลาเป็นกัลป์ๆเที่ยวค้นหาก็ตาม"

        เอาละ ฉันจะบอกให้ท่านทราบ ถึงวิธีที่จะทำตนให้เคยชินกับธรรมชาติของสัตว์ภายในจิตของท่านเอง และโดยวิธีนี้ ท่านจะตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะซึ่งแฝงอยู่ในนั้น  การรู้จักพุทธะ ไม่ได้หมายถึงอะไรนอกไปจากรู้จักสัตว์ทั้งหลาย  เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ว่าตนเป็นพุทธะโดยอานุภาพ  ส่วนผู้ที่เป็นพุทธะ ย่อมไม่เล็งเห็นความแตกต่างระหว่างท่านเองกับสัตว์ทั้งหลายอื่น เมื่อสัตว์ทั้งหลายตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต เขาก็เป็นพุทธะ ถ้าพุทธะถูกครอบงำด้วยความหลงผิดอยู่ในภาวะที่แท้แห่งจิต เขาก็เป็นสามัญสัตว์ ความบริสุทธิ์ในภาวะที่แท้แห่งจิต ทำให้สามัญสัตว์เป็นพุทธะ ความไม่บริสุทธิ์ในภาวะที่แท้แห่งจิต ย่อมเปลี่ยนพุทธะให้เป็นสามัญสัตว์ เมื่อจิตของท่านคิดหรือเศร้าหมอง ท่านก็เป็นสามัญสัตว์ซึ่งมีธรรมชาติแห่งพุทธะแฝงอยู่ภายใน ตรงกันข้าม ถ้าท่านทำจิตให้บริสุทธิ์และตรงแน่ว แม้เพียงชั่วขณะเดียว ท่านก็เป็นพุทธะ"

        ภายในจิตของเรามีพุทธะ และพุทธที่อยู่ภายในนั้น เป็นพุทธะที่แท้จริงได้จากไหน? อย่าสงสัยเลย เรื่องพุทธะภายในจิตของท่าน นอกจากที่นั่นแล้วไม่มีอะไรจะปรากฏขึ้นได้ เนื่องจากปรากฏการณ์หรือสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นผลิตผลมาจากจิตของเรา ในพระสูตรจึงกล่าวว่า เมื่ออาการของจิตเริ่มขึ้น สิ่งต่างๆ ก็ปรากฏ เมื่ออาการของจิตดับลง สรรพสิ่งทั้งหลายก็ดับ ก่อนที่จะจากท่าน ฉันจะกล่าวโศลกให้ท่านฟัง ชื่อว่า พุทธะอันแท้จริงของภาวะที่แท้แห่งจิต อนุชนรุ่นต่อไปในอนาคต ผู้เข้าใจในความหมายนี้ จะได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต และบรรลุความเป็นพุทธะตามนัยนี้?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 กันยายน 2553 10:40:39 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #91 เมื่อ: 27 มีนาคม 2553 19:00:21 »






ภาวะที่แท้แห่งจิต หรือตถตา เป็นพุทธะอันแท้จริง
ส่วนมิจฉาทิฏฐิและธาตุอันเป็นพิษร้าย 3 ประการเป็นพญามาร

การบรรลุธรรมด้วยสัมมาทิฏฐิ เรามุ่งไปสู่พุทธะภายในตัวเรา
เมื่อธรรมชาติของเราถูกครอบงำ
ด้วยธาตุอันเป็นพิษร้าย สามประการ อันเป็นผลมาจากมิจฉาทิฏฐิ

เราก็มีชื่อว่า อยู่ภายใต้อำนาจพญามาร
เมื่อสัมมาทิฏฐิได้ขจัดธาตุอันเป็นพิษร้ายเหล่านี้ ไปจากจิตของเรา

พญามารก็กลายร่างเป็นพุทธะอันแท้จริง
ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมานกาย



กายทั้งสามนี้ย่อมกำเนิดมาจากสิ่งหนึ่ง คือภาวะที่แท้แห่งจิต
ใครที่สามารถตระหนักชัดถึงความจริงข้อนี้ได้ด้วยปัญญาญาณ

ย่อมหว่านเมล็ดพืช และจะเก็บเกี่ยวผลถึงการตรัสรู้
จากนิรมานกายนี้แหละ
ที่ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของเราได้ถือกำเนิดภายในนิรมานกายนั้นแหละ

จะพบธรรมชาติอันบริสุทธิ์และภายใต้การนำของธรรมชาติอันบริสุทธิ์นั่นเอง
นิรมานกาย จะดำเนินไปตามมรรคอันถูกต้อง
ซึ่งวันหนึ่งจะได้บรรลุถึงสัมโภคกายอย่างสมบูรณ์และไพศาล



ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ก็ถือกำเนิดมาจากสันดานในทางกามคุณ
เมื่อกำจัดความปรารถนาในทางกามคุณเสียได้ เราก็บรรลุธรรมกาย
อันบริสุทธิ์

เมื่ออารมณ์ของเราไม่เป็นทาสของวัตถุแห่งกามทั้งห้าอีกต่อไป
และเมื่อเราได้ตระหนักชัด
ถึงภาวะที่แท้แห่งจิตแม้เพียงขณะเดียว เมื่อนั้นเราก็แจ้งในสัจจะ

เมื่อเรามีโชคที่ได้ มาเป็นสานุศิษย์ของสำนักฉับพลันในชาตินี้
เราย่อมพบพระภควาของภาวะที่แท้แห่งจิตได้ในทันใด
ใครที่ค้นหาพุทธะ ด้วยการปฏิบัติตามลัทธิอื่น ย่อมไม่ทราบว่าจะพบ
พุทธะที่แท้จริงได้ที่ไหน



ใครที่สามารถตระหนักชัดถึงสัจจะ ภายในจิตเขาเอง ย่อมเป็นผู้หว่าน
เมล็ดพืชแห่งพุทธะ
ใครที่ไม่ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งจิต
และค้นหาพุทธะจากภายนอก ย่อมเป็นคนโง่ที่มีความปรารถนาผิดเป็นเครื่องกระตุ้น

โดยนัยนี้ ฉันได้มอบคำสอนของสำนักฉับพลัน ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังแล้ว

เพื่อเป็นการช่วยเหลือมวลสัตว์ ที่สนใจจะปฏิบัติธรรม
โปรดฟังฉัน บรรดาสานุศิษย์ในอนาคต
เวลาของท่านจะสิ้นไปอย่างเปลือยเปล่า ถ้าท่านเพิกเฉยไม่นำคำสอนนี้ไปปฏิบัติ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 กันยายน 2553 10:51:31 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #92 เมื่อ: 08 เมษายน 2553 08:38:47 »

 อายจัง

การเผยแพร่ธรรม  
จิตนึกถึงคนอื่น
เป็นกรรมสาธารณะ นะ สาธุ


แวะมาแล้วล่ะ แต่งกระทู้ได้สวย น่าอ่านดี นะครับ

เปรียบ พระธรรม คือ องค์พระ
การจัดแต่ง กระทู้ คือ ทองปิดองค์พระ

เป็น อุปายะโกศล อุบายธรรม ที่ทำให้เส้นทางธรรม ไม่น่าเบื่อ
ได้ทั้งปัญญา และ ความรื่นรม ความปีติสุข  ตลอดเส้นทางธรรม


พระธรรม เพียว ๆ มีรสขม  มหาชนไม่ชอบ ต้องยาขม อย่างฟ้าทะลายโจร
มาปรุงแต่งรสชาติ ให้น่าทาน คนจึงชอบ ทานไปเรื่อย ๆ ก็มีสรรพคุณ เข้าถึง มรรคผลนิพพาน ไม่ต่างกัน
การเอา พระธรรม มาแต่งสี ปรุงรส ให้น่าสนใจ
จะทำให้คนเข้าถึงธรรมได้จำนวนมหาศาล เอาศรัทธา เข้าดึง สุดท้าย
ปัญญาบารมี อินทรีย์ทางธรรม เข้าจะสว่างไสวตามลำดับ


การเผยแพร่ธรรม ธรรมทาน เป็น ทานอันประเสริฐสุด
เป็น การให้ดวงตา แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ยกระดับจิตร่วมแห่งโลกธาตุ
ธรรมมะ พระพุทธะ เป็น สิ่งที่พบเจอได้ยากยิ่ง
ธรรมสิ่งที่พบเจอได้ยาก ให้ของยาก ๆ  หาได้ยากยิ่ง

สังขาร ร่างกาย ทะเลทุกข์ เข้มข้น บีบเค้น แล้วยังมีใจไพศาลเยี่ยงนี้

ข้าพเจ้าขอ อนุโทนา ใน เนื้อนาบุญอันนี้ อย่าได้ย่นย่อท้อถอย
ขอให้มั่นคง ในพันธกิจแห่งพุทธะ ทำไป ขอให้ดวงใจ ฉ่ำเย็น เห็นธรรมไปเรื่อย
จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ นะ

จงจำไว้เถิดว่า เรารักษาธรรม แล้ว ธรรมจะรักษาเรา

ขอให้เข้มแข็ง จิตสบาย คลายตัว มองเห็นหนทางอันกว้างไกล ขึ้นเรื่อย ๆ
ผลสะท้อน ย้อนกลับ ไปยังคนให้ จงเป็นดั่งใน ปรัชญาปารมิตาเทอญ

อจินไตย ไร้ประมาณ ยิ่งกว่าห้วงนภากาศ สิบทิศ  ตัดผ่าน ทวิภาวะ นานาทุกข์ นะ

สุดท้าย ถ้าเก่งขึ้นแล้ว พึ่งตัวเองได้แล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งชี้ทางให้คนอื่น โดยธรรมชาติ

อย่างในภาพ ปริศนาธรรมเซน จิตวัว ภาพสุดท้าย ชื่อว่า

พระยิ้ม พุงพุ้ย ชี้ทางเด็ก


*** ว่าง ๆ จะเอา ไอ้ที่พิมพ์เสร็จ แล้ว มาให้เจ้าของ กระทู้แต่งให้จ้า
ยืมฝีมือหน่อย นะ โอ หนังสือ รินไซเซน ศิษย์ ท่านฮวงโป
มดเอ๊ก ยังพิมพ์ไม่เสร็จเลย อิ อิ อิ ไปล่ะ สาธุ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เมษายน 2553 08:59:46 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #93 เมื่อ: 08 เมษายน 2553 14:48:54 »





เมื่อโศลกจบลงแล้ว พระสังฆนายกกล่าวต่อไปว่า "จงรักษาตัวให้ดีเมื่อฉันเข้าปรินิพพานแล้ว
จงอย่างเอาอย่างธรรมเนียมโลก อย่าร้องไห้ หรือโศกเศร้า

ไม่ควรปล่อยให้เกิดความเสียใจหรือคร่ำครวญ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องตรงข้ามกับคำสอนที่แท้
ใครที่ทำเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่ศิษย์ของฉัน

 สิ่งที่ควรทำก็คือ จงรู้จักจิตของท่านเอง และตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะของท่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่
ไม่สงบนิ่งและไม่เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่ไม่เกิดและไม่ดับ

เป็นสิ่งที่ไม่มาและไม่ไป เป็นสิ่งที่ไม่รับและไม่ปฏิเสธ เป็นที่สิ่งที่ไม่คงอยู่และไม่จากไป มิฉะนั้นแล้ว
จิตของท่านจะถูกครอบงำด้วยความหลงผิด ทำให้ไม่อาจเข้าใจความหมายได้


ฉันทบทวนเรื่องนี้กับท่าน เพื่อทำตามคำสอนของฉันและนำไปปฏิบัติ  การที่ฉันจากไป
ก็ไม่เป็นข้อประหลาดอย่างใดตรงกันข้าม ถ้าท่านฝ่าฝืนคำสอนของฉัน
แม้ฉันจะอยู่ต่อไปก็ไม่เกิดคุณประโยชน์อันใด แล้วพระสังฆนายกก็กล่าวโศลกต่อไปว่า:-

ด้วยความเยือกเย็นและไม่กระวนกระวาย บุคคลชั้นเลิศไม่ต้องปฏิบัติความดี
ด้วยความเที่ยงธรรมเป็นตัวของตัวเอง ท่านไม่ต้องกระทำบาป

ด้วยความสงบและสงัด ท่านเพิกเฉยการดูและการฟัง
ด้วยความเสมอภาคและเที่ยงตรง จิตของท่านไม่ได้พำนัก ณ ที่ใด"



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มิถุนายน 2555 23:54:54 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #94 เมื่อ: 08 เมษายน 2553 16:26:36 »



     เมื่อจบโศลกแล้ว พระสังฆนายกก็นั่งสงบนิ่งจนกระทั่งยามสามของคืนนั้น ทันใดนั้น ท่านกล่าวแก่สานุศิษย์อย่างสั้นๆ ว่า "ฉันจะไปเดี๋ยวนี้" แล้วท่านก็เข้าปรินิพพานไปในขณะนั้น กลิ่นหอมอันประหลาดคลุ้งไปทั่วห้อง รุ้งจากแสงจันทร์ผุดขึ้นประดุจเชื่อมฟ้ากับดิน พรรณไม้ในป่ากลายเป็นสีขาว นกและสัตว์จตุบาทส่งเสียงระงม



        ครั้นถึงเดือนสิบเอ็ด ในปีเดียวกันนั้น ปัญหาว่า จะเก็บพระสรีรร่างของพระสังฆนายกไว้ที่ไหน กลายเป็นข้อพิพาทระหว่างข้าราชการแห่งเมืองกวางเจา ชิวเจาและชุนเจา  ต่างฝ่ายต่างต้องการให้เก็บไวในเมืองของตน แม้สานุศิษย์ของพระสังฆนายก รวมทั้งภิกษุและฆราวาสอื่นๆ ก็เข้าร่วมโต้แย้งในการนี้ด้วย เมื่อไม่อาจปรองดองกันได้ จึงพร้อมใจกันจุดเครื่องหอมและอธิษฐานขอให้พระสังฆนายกบอกทิศทาง โดยการถือเอาการลอยของควันเป็นเกณฑ์ คว้นนั้นลอยไปทางโซกาย ฉะนั้นในวันขึ้นสิบสามค่ำ เดือนสิบเอ็ดจึงได้อัญเชิญพระสรีรร่างพ้อมด้วยบาตรและจีวรของท่านไปยังโซกาย

        ในปีรุ่งขึ้น วันแรมสิบค่ำ เดือนเจ็ด มีการอัญเชิญพระศพของท่านออกจากสถูป ท่านฟองปิน สานุศิษย์องค์หนึ่งของพระสังฆนายก ได้หุ้มร่างของท่านไว้ด้วยดินหอม เมี่อระลึกถึงคำทำนายของท่านว่า จะมีคนนำพระเศียรของท่านไปบรรดาสานุศิษย์จึงพร้อมใจกันเอาแผ่นเหล็กมาหุ้มคอของท่านไว้และพันร่างท่านด้วยผ้าอาบน้ำยา ก่อนจะอัญเชิญเข้าไว้ในสถูปตามเดิม ทันใดนั้นเกิดเป็นแสงสว่างสีขาวพวยพุ่งขึ้นจากสถูปสู่ท้องฟ้า เป็นเวลาสามวันจึงหายไป บรรดาข้าราชการ แห่งเมืองชิวเจา จึงได้กราบทูลรายงานต่อพระมหาจักรพรรดิ พระมหาจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการ ให้สร้างแผ่นจารึกบันทึกชีวประวัติของพระสังฆนายก


        พระสังฆนายกได้รับมอบจีวรและบาตรเมื่ออายุ 24  ได้อุปสมบทเมื่ออายุ 39 และเข้าปรินิพพานเมื่ออายุ 76 ท่านได้เทศนาธรรม เพื่อประโยชน์แก่มวลสัตว์เป็นเวลา 37 ปี สานุศิษย์ของท่าน 43 องค์ ได้รับมอบธรรมและได้เป็นผู้สืบทอดจากท่านด้วยกรรมวาจา ส่วนผู้ที่เห็นแจ้งในธรรมจนละฆราวาสวิสัยนั้นมากมายเหลือคณานับ



        จีวรและบาตรอันเป็นเสมือนสัญญลักษณ์แห่งความเป็นพระสังฆนายก ซึ่งพระโพธิธรรมท่านได้มอบตกทอดมา ตลอดจนจีวรโมลาและบาตรผลึก ซึ่งพระมหาจักรพรรดิจุงจุงได้ส่งมาถวาย ภาพสลักของพระสังฆนายกโดยท่านฟองปินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆนั้น อยู่ความพิทักษ์รักษาของผู้เฝ้าสถูป เป็นสิ่งซึ่งจะต้องรักษาไว้ในวัดโปลัมชั่วกาลนาน เพื่อเป็นสวัสติมงคลแก่วัด พระสูตรที่ท่านได้เทศนา ก็นำมาพิมพ์และแจกจ่ายทั่วกัน เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงหลักการและจุดประสงค์ของสำนักธรรม งานต่างๆเหล่านี้ ได้จัดทำไป ก็เพื่อความรุ่งเรืองสถาพรของพระรัตนตรัย และเพื่อสวัสติมงคลทั่วไปแก่มวลสัตว์


จบพระสูตร





Credit by : http://www.mahayana.in.th/tmayana/พระสูตร/เวยหล่างสูตร.html
Pics by : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 กันยายน 2553 11:48:41 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #95 เมื่อ: 08 เมษายน 2553 17:06:26 »




ขอบพระคุณ คุณมดเอ๊กซ์ ที่เมตตาชี้แนะ 
เพียรธรรมไป
ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ..

และยินดีเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นเกียรติน่ะค่ะ มีอะไรที่จะสามารถทำได้ ยินดีค่ะ..
ด้วยจิตคารวะ...
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #96 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2553 09:30:15 »






<a href="http://audio.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=18072" target="_blank">http://audio.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=18072</a>

Credit by : พลังจิตออดิโอ
อนุโมทนาสาธุค่ะ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 03:13:56 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 7.0.517.44 Chrome 7.0.517.44


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #97 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2553 01:11:21 »

ดันกระทู้นิดครับ เสียดายกระทู้ดี ๆ แบบนี้

ตกไปอยู่หน้าท้าย ๆ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
ภูไม้
มือใหม่หัดโพสท์กระทู้
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 1


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 10.0 Firefox 10.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #98 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2555 13:32:30 »

up upครับ  เห็นด้วยกับท่าน Mckaforce  อย่างยิ่งเลยครับ
ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 ... 3 4 [5]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.951 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 03 กุมภาพันธ์ 2567 21:11:24