[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 20:55:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3 4 5   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง  (อ่าน 75656 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 11:46:52 »





พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุ แปล

ปาฐกถาธรรมนิกายเซ็น โดย นายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง
สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์
แห่ง  "ธรรมรถ"



คำชี้แจ้งของท่านพุทธทาสภิกขุ
เกี่ยวกับการศึกษา-สูตรของเว่ยหล่าง

           เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ มีเรื่องที่จะต้องทราบกันเสียก่อนในเบื้องต้นอยู่ 2 ข้อ

          ข้อแรก หนังสือเล่มนี้จะไม่เป็นที่เข้าใจได้สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่เคยศึกษาทางพุทธศาสนามาก่อนเลย, มันไม่ใช่หนังสือเล่มแรกสำหรับผู้ริเริ่มการศึกษาพุทธศาสนา.  อย่างน้อยที่สุดผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้  แม้จะไม่เคยอ่านหนังสือของทางฝ่ายมหายานมาบ้างแล้ว  ก็ควรจะได้เคยศึกษาศึกษาหลักแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาบ้างพอสมควรแล้ว  จนถึงกับ  จับใจความได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนาที่ตนศึกษาแล้วนั้นมีหลักอย่างไร หรือวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ได้ โดยเฉพาะ.  และอีกทางหนึ่งสำหรับ.ผู้ที่เคยศึกษาแต่ฝ่ายเถรวาทมาอย่างเคร่งครัด   และยังแถมยึดถือทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งไว้อย่างเหนียวแน่นนั้น  อาจจะมองไปเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ผิดหลักพระพุทธศาสนาเป็นมิจฉาทิฏฐิ  หรือเป็นสิ่งที่น่าอันตรายไปอย่างยิ่ง  ไปก็ได้.  ทั้งนี้ เพราะเหตุที่  หลักคิด   และ  แนวปฏิบัติ  เดินกันคนละแนว  เหมือนการเดินของคนที่เดินตามทางใหญ่ที่อ้อมค้อม  กับคนที่เดินทางลัด หรือถึงกับดำดินไปผุดขึ้นในที่ที่ตนต้องการจะให้ไปถึงเสียเลย  ฉันใดฉันนั้น.

          ข้อที่สอง  ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจ ความทราบไว้เสียก่อนว่า หลักนิกายเซ็นและโดยเฉพาะของพระสังฆปรินายกชื่อ เว่ยหล่าง นี้ นอกจากจะเป็นวิธีการที่ลัดสั้นแล้ว  ยังเป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของคนทั่วไป แม้ที่ไม่รู้หนังสือ  หรือไม่เข้าใจพิธีรีตองต่างๆ  จึงเป็นเหตุให้ลัทธินี้ถูกขนานนามว่า  "ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกพระไตรปิฎก" หรืออะไรอื่นทำนองนี้อีกมากมาย.  ที่จริง ผู้ที่จะอ่านหนังสือนี้   ควรจะได้รับการชักชวนให้ลืมอะไรต่างๆที่เคยยึดถือไว้แต่ก่อนให้หมดสิ้นเสียก่อน  จึงจะเป็นการง่ายในการอ่านและเข้าใจ;  

โดยเฉพาะก็คือ  ให้ลืมพระไตรปิฎก ลืมระเบียบพิธีต่างๆทางพุทธศาสนา ลืมความคิดดิ่งๆด้านเดียว  ที่ตนเคยยึดถือ  กระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย   คงเอาไว้แต่ใจล้วนๆของมนุษย์  ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด  หรือถือศาสนาไหน  เป็นใจซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า  "ทำอย่างไร จิตของมนุษย์ทุกคนในลักษณะที่เป็นสากลนี้  จักหลุดพ้นจากความบีบคั้นหุ้มห่อพัวพันได้โดยสิ้นเชิง?" เท่านั้น. การทำเช่นนี้จักเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่ผู้อ่าน  ในการที่จะได้ทราบอย่างชัดแจ้งถึง ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาในขอบเขตของคัมภีร์  กับพุทธศาสนาซึ่งอยู่เหนือคัมภีร์;  พุทธศาสนาที่อิงอยู่กับพิธีรีตองต่าง ๆ กับพุทธศาสนาที่เป็นอิสระตามธรรมชาติ  และเดินตามหลักธรรมชาติ;  พุทธศาสนาที่ให้เชื่อก่อนทำ  กับพุทธศาสนาที่ให้ลองทำก่อนเชื่อ;  พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นวรรณคดี กับพุทธศาสนาประยุกต์;  

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ระหว่างพุทธศาสนาที่ใช้ได้แต่กับคนบางคน  กับพุทธศาสนาที่อาจใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้แก่บุคคลทุกคนแม้ที่ไม่รู้หนังสือ  ขอเพียงแต่ให้มีสติปัญญาตามปรกติสามัญมนุษย์เท่านั้น  ผู้ที่ได้ทราบเช่นนี้แล้วจะได้รับพุทธศาสนาชนิดที่ปฏิบัติได้จริง ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาปฏิบัติอย่างเหลือเฟือ  และลัดดิ่งไปสู่สิ่งที่จะให้เกิดความอิ่ม  ความพอ  ได้โดยเร็ว  ถ้ามิฉะนั้นแล้ว  เขาก็จะเป็นตัวหนอนที่มัวแต่กัดแทะหนังสือ หรือเป็นนักก่อการทะเลาะวิวาทตามทางปรัชญา ไปตามเดิมแต่อย่างเดียว.

          ผู้อ่านจะสังเกตเห็นได้เองเมื่ออ่านในตอนแรก ๆ ว่า หนังสือเรื่องนี้ ไม่ใช่หนังสือที่บรรจุไว้ด้วยข้อความที่ง่าย ๆ หรืออ่านเขาใจได้ง่าย ๆ เพราะเหตุว่าเรื่องการทำใจให้หลุดพ้นซากทุกข์จริง ๆ นั้น  ไม่ใช่ของง่ายเลย.  แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกประหลาดอย่างยิ่งว่า  ถ้าอ่านไปจนเข้าใจแล้ว  จะพบว่าทั้งที่มันเข้าใจยากมาก  ก็ยังอาจเป็นที่เข้าใจได้  แม้แต่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ  หรือไม่เคยศึกษาพระไตรปิฎกมาก่อนอยู่นั่นเอง  และทั้งไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากสิ่งที่มนุษย์ควรรู้และอาจรู้ได้โดยไม่เหลือวิสัย  ข้อความทุกข้อชี้บทเรียนไปที่ตัวชีวิตนั่นเอง  และได้ถือเอาความพลิกแพลงแห่งกลไกในตัวชีวิต  โดยเฉพาะคือจิต  ซึ่งเป็นโจทย์เลขหรือปัญหาที่ต้องตีให้แตกกระจายไป และจบสิ้นกันเพียงเท่านั้น คือเท่าที่จำเป็นจริง ๆ ไม่มีปัญญาเหลือเฟือชนิดที่ตีปัญหาโลกแตก  ที่ชอบถกเถียงกันในหมู่บุคคล  ที่อ้างตัวว่าเป็นพุทธบริษัทอันเคร่งครัดเท่านั้นเลย.

          อย่างไรก็ตาม  หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นหนังสือในลักษณะตำราธรรมะโดยตรง   เป็นเพียงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นประวัติและคำสอนของเจ้าลัทธิท่านหนึ่งเท่านั้น.  เราไม่อาจจับเอาหลักธรรมะต่าง ๆ ที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อยจนสะดวกแก่การศึกษาไว้ก่อนแล้ว   โดยง่ายเลย.  ผู้ศึกษาจะต้องเลือกเก็บใจความที่เป็นหลักธรรมต่าง ๆ เอาจากเรื่องราวที่เป็นประวัติ   หรือบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้น,จากข้อความที่เข้าใจได้ยาก ๆ นั่นแหละ  ผู้ศึกษาจะต้องทำการขุดเพชรในหินด้วยตนเอง.

          หนังสือเล่มนี้   แม้จะเป็นหนังสือของทางฝ่ายมหายานก็จริง   แต่หาใช่มหายานชนิดที่ชาวไทยเราได้เคยได้เห็น  ได้ยิน  ได้ฟัง  หรือเข้าใจกันอยู่โดยมากไม่; มหายานที่เราเคยได้เห็นได้ยินได้ฟังกันอยู่เป็นปรกตินั้น  ก็เป็นชนิดที่เกี่ยวเนื่องติดแน่นกันอยู่กับพระไตรปิฎกและพิธีรีตองต่าง ๆ  และไหลเลื่อนไปในทางเป็นของขลังและของศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน.  ส่วนใจความของหนังสือเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น คงเป็นไปแต่ในทางปฏิบัติธรรมทางใจโดยอาศัยปัญญาเป็นใหญ่หรือที่เราเรียกกันว่า   วิปัสสนาธุระล้วน ๆ  และทั้งเป็นแบบหนึ่งของตนเองซึ่งไม่ซ้ำใคร  เพราะมุ่งหมายจะให้เป็นวิธีลัดสั้นที่สุด  ดังกล่าวแล้ว.   เพราะฉะนั้นผู้ที่เคยตั้งข้อรังเกียจต่อฝ่ายมหายาน   และมีความยึดมั่นมาก  จนถึงกับพอเอ่ยชื่อว่า  มหายานแล้ว  ก็ส่ายหน้าดูถูกเหยียดหยาม  ไม่อยากฟังเอาเสียทีเดียวนั้น  ควรทำใจเสียใหม่ในการที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้  ซึ่งจะทำให้ท่านเกิดความรู้สึกอันตรงกันข้ามจากที่แล้ว ๆ มา  และเกิดความคิดใหม่ขึ้นมาแทนว่า  การตั้งข้อรังเกียจเดิม ๆ ของตนนั้นมันมากและโง่เกินไป.

           เมื่อกล่าวโดยหลักกว้างๆ แล้ว  ลัทธิของเว่ยหล่างนี้  เป็นวิธีลดที่พุ่งแรงบทหนึ่ง  อย่างน่าพิศวง  ถ้าจะชี้ให้เห็นกันง่ายๆ ว่า ลัทธินี้มีหลักหรือวิธีการอย่างใดแล้ว   ก็ต้องชี้ไปในทางที่จะวางหลักสั้นๆ ว่า  ก็เมื่อปุถุชนคนธรรมดาสามัญทั่วไป ย่อมเป็นผู้ที่กำลังมีความเห็นหรือความเข้าใจ  ที่ผิดจากความจริงเป็นปรกติอยู่แล้ว  สิ่งที่ตรงกันข้ามจากที่คนธรรมดาสามัญคิดเห็นหรือเข้าใจนั่นแหละ  เป็นความเห็นที่ถูก  เพราะฉะนั้นเว่ยหล่างจึงได้วางหลักให้คิดชนิดที่เรียกว่า  "กลับหน้าเป็นหลัง" เอาทีเดียว  ตัวอย่างเช่น  เมื่อผู้อื่นกล่าวว่าจงพยายามชำระใจให้สะอาดเถิด เว่ยหล่างกลับกล่าวเสียว่าใจของคนทุกคนสะอาดอยู่แล้ว จะไปชำระมันทำไมอีก  สิ่งที่ไม่สะอาดนั้นไม่ใช่ใจ จะไปยุ่งกับมันทำไม,

หรือถ้าจะกล่าวให้ถูกยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็กล่าวว่า เว่ยหล่าง ถือว่า  ใจมันไม่มีตัวไม่มีตน  แล้วจะไปชำระอะไรให้แก่ใคร  การที่จะไปเห็นว่าใจเป็นใจและไม่สะอาดนั้นเป็นอวิชชาของผู้นั้นเองต่างหาก  ดังนี้เป็นต้น.   โกอานหรือปริศนาธรรมที่ลัทธินี้วางไว้ให้ขบคิด  ก็ล้วนแต่ทำให้คนสามัญทั่วไปงงงวย  เพราะแต่ละข้อมีหลักให้คิดเพื่อให้เห็นสิ่งตรงกันข้าม  จากที่คนธรรมดาคิดกันอยู่  หรือเห็นๆกันอยู่.  ตัวอย่างเช่น  ถ้าหากว่ากามีสีดำนกยางก็ต้องมีสีดำด้วย  หรือถ้าเห็นว่านกยางมีสีขาว  กาก็ต้องขาวด้วย.  และถ้าให้ถูกยิ่งไปกว่านั้นก็คือนกยางนั่นแหละสีดำ  กานั่นแหละสีขาว  สังสารวัฏกับนิพพานเป็นของสิ่งเดียวกัน  ที่ที่เย็นที่สุดนั้น   คือที่ท่ามกลางกองเพลิงแห่งเตาหลอมเหล็ก  ดังนี้เป็นต้น

          ถ้าใครมองเห็นความจริงตามแบบของเว่ยหล่างเหล่านี้แล้ว  ก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า  เขาได้เห็นสิ่งต่างๆ จนลึกถึงขั้นที่มันตรงกันข้าม  จากที่คนสามัญทั่วไปเขามองเห็นกันอยู่เป็นปรกติ.  ฉะนั้น  สำหรับการสรุปใจความของลัทธินี้อย่างสั้นที่สุด  ก็สรุปได้ว่า  พยายามคิดจนเห็นตรงกันข้ามจากความคิดของคนที่ยังมีอวิชชาหุ้มห่อแล้ว  ก็เป็นอันนับได้ว่า  ได้เข้าถึงความจริงถึงที่สุด.  และวิธีการแห่งลัทธินี้ได้วางรูปปริศนาให้คิด  ชนิดที่ผิดตรงกันข้ามไปเสียตั้งแต่แรกทีเดียว  ใครคิดออก  ก็แปลว่า  คนนั้นผ่านไปได้  หรือย่างน้อยที่สุดก็เป็นวิธีที่จะทำให้ผ่านไปได้โดยเร็วที่สุด  นั่นเอง.  คิดให้ตรงข้ามจากสามัญสัตว์ทั่วไปเถิด  ก็จะเข้าถึงความคิดของพระอริยะเจ้าขึ้นมาเอง.  ฉะนั้นนิกายนี้จึงเรียกตัวเองว่า  "นิกายฉับพลัน"  ซึ่งหมายความว่า  จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามวิธีลัดนี้ให้บรรลุธรรมได้อย่างฉับพลันโดยไม่มีพิธีรีตอง.

          ส่วนปาฐกถาอีก 3 เรื่อง ของนายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง  ซึ่งพิมพ์ไว้ต่อท้ายเรื่องสูตรของเว่ยหล่างนั้นเล่า  ก็เป็นข้อความที่จะให้ผู้อ่านได้เข้าใจในวิธีการปฏิบัติของ  "นิกายฉับพลัน"  ได้เป็นอย่างดี.  จากข้อความทั้งหมดนั้น  ผู้ศึกษาจะได้ความรู้ที่แน่นอนข้อหนึ่งว่า  วิธีการที่  "ฉับพลัน" นั้น  ย่อมขึ้นอยู่แก่ความช่วยเหลือของอาจารย์  หรือผู้ควบคุมที่สามารถจริงๆเป็นส่วนใหญ่.  เพราะตามธรรมดาแล้ว  "การเขี่ยให้ถูกจุด"  นั่นแหละ  เป็นความสำเร็จที่ฉับพลันเหนือความสำเร็จทั้งปวง.  ถ้ามีความจำเป็นถึงขนาดที่จะต้องให้ตัวเองเป็นอาจารย์ตัวเองแล้ว  ขอจงได้พยายามศึกษาและจับใจความสำคัญแห่งข้อความนั้นๆ ให้ได้ของจริงๆ จงทุกๆคนเถิด.

          ธรรมะนั้น  ไม่มีอะไรมากไปกว่าเรื่องของคนเราๆ ทุกๆ คน. เพราะมัวไปยกขึ้นให้สูง  เป็นเรื่องคัมภีร์หรือของศักดิ์สิทธิ์ไปเสียท่าเดียว  ก็เลยกลายเป็นเรื่องพ้นวิสัยของคนไป  เว่ยหล่างมีความมุ่งหมายให้ธรรมะนั้นกลับมาเป็นเรื่องของคนธรรมดาสามัญแม้ที่ไม่รู้หนังสือ. เพื่อประโยชน์แก่คนตามความหมายของคำว่า  "มหายาน"  หวังว่าผู้ที่คิดกรุ่นอยู่ในใจเสมอว่า  ตนเป็นคนฉลาดเพราะรู้หนังสือดีนั้น จักได้ทำตนให้เป็นบุคคลที่ไม่เสียเปรียบผู้ที่ไม่รู้หนังสือได้คนหนึ่งเป็นแน่

พุทธทาส   อินทปัญโญ
โมกขพลาราม ไชยา    31 มี.ค.2496




ผลงาน   ท่านพุทธทาสภิกขุ





สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์
แห่ง  "ธรรมรถ"




ลำดับสารบัญของเนื้อหา

หมวดที่ 1 ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง
หมวดที่ 2 ว่าด้วย-ปรัชญา
หมวดที่ 3 ว่าด้วยข้อปุจฉา-แลวิสัชนา
หมวดที่ 4 ว่าด้วย สมาธิ และปรัชญา(*๑๖)
หมวดที่ 5 ว่าด้วย ธฺยานะ

หมวดที่ 6 ว่าด้วยบาปสำนึก (การสำนึกบาป)
หมวดที่ 7 ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัย และสิ่งแวดล้อม
หมวดที่ ๘ สำนักฉับพลัน และ สำนักเชื่องช้า
หมวดที่ ๙ พระบรมราชูปถัมภ์
หมวดที่ ๑๐ คำสอนสุดท้าย




 หมวดที่ 1 ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง

   ครั้งหนึ่ง  เมื่อพระสังฆปริณายกองค์นี้  ได้มาที่วัดเปาลัม  ข้าหลวงไว่ แห่งเมืองชิวเจา  กับข้าราชการอีกหลายคน  ได้พากันไปที่วัดนั้น เพื่อขอให้ท่านกล่าวธรรมกถาแก่ประชาชนทั่วไป ณ ห้องโถง.แห่งวิหารไทฟัน  ในนครกวางตุ้ง.    
        ในไม่ช้า  มีผู้มาประชุมฟัง ณ โรงธรรมสภานั้น  คือข้าหลวงไว่แห่งชิวเจา, พวกข้าราชการและนักศึกษาฝ่ายขงจื้อ อย่างละประมาณ 30 คน, ภิกษุ, ภิกษุณี นักพรตแห่งลัทธิเต๋า  และคฤหัสถ์ทั่วไป  รวมเบ็ดเสร็จประมาณหนึ่งพันคน.
        ครั้นพระสังฆปริณายก  ได้ขึ้นนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว  ที่ประชุมได้ทำการเคารพ. และอาราธนาขอให้ท่านแสดงธรรมว่าด้วยหลักสำคัญแห่งพุทธศาสนา. ในอันดับนั้น   ท่านสาธุคุณองค์นั้น  ได้เริ่มแสดงมีข้อความดังต่อไปนี้-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  จิตเดิมแท้ (Essence of Mind) ของเราซึ่งเป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของการตรัสรู้นั้น  
เป็นของบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ (Pure by nature) และต้องอาศัย  จิตเดิมแท้ นี้เท่านั้น  
มนุษย์เราจึงจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ
อาตมาจะเล่าให้ฟังถึงประวัติของอาตมาเองบางตอน  และเล่าถึงข้อที่ว่า อาตมาได้รับคำสอนอันเร้นลับ  
แห่งนิกายธยาน(เซ็น) มาด้วยอาการอย่างไร

        บิดาของอาตมาเป็นชาวเมืองฟันยาง  ถูกถอดจากตำแหน่งราชการ  ถูกเนรเทศไปอยู่อย่างราษฎรสามัญที่ซุนเจาในมณฑลกวางตุ้ง.  อาตมาโชคร้ายโดยที่บิดาได้ถึงแก่กรรมเสียแต่ในขณะที่อาตมายังเล็กอยู่เหลือเกิน  และทิ้งมารดาไว้ในสภาพที่ยากจนทนทุกข์  เราสองคนจึงย้ายไปอยู่ทางกวางเจา และอยู่ที่นั้นด้วยความทุกข์ยากเรื่อยมา.

        วันหนึ่ง  อาตมากำลังนำฟืนไปขายอยู่ที่ตลาดเพราะเจ้าจำนำคนหนึ่งเขาสั่งให้นำไปขายให้เขาถึงร้าน  เมื่อส่งของและรับเงินเสร็จแล้ว  อาตมาก็ออกจากร้าน  ได้พบชายคนหนึ่งกำลังบริกรรมสูตรๆ หนึ่งอยู่แถวหน้าร้านนั้นเอง  พอได้ยินข้อความแห่งสูตรนั้นเท่านั้น  ใจของอาตมาก็ลุกโพลงสว่างไสวในพุทธธรรม  อาตมาจึงถามชื่อคัมภีร์ที่เขากำลังสวดอยู่  ก็ได้ความจากชายคนนั้นว่า  พระสูตรนั้นชื่อ วัชรสูตร (วชฺรจฺเฉทิกสูตร  หรือพระสูตรอันว่าด้วยเพชรสำหรับตัด) อาตมาจึงไล่เรียงต่อไปว่า  เขามาจากไหน ทำไมเขาจึงจำเพาะมาท่องบ่นแต่พระสูตรนี้.  ชายคนนั้นตอบว่าเขามาจากวัดตุงซั่น ตำบลวองมุย เมืองคีเจา เจ้าอาวาสในขณะนี้มีนามว่าหวางยั่น(ฮ่งยิ้ม) เป็นพระสังฆปริณายก แห่งนิกายเซ็น องค์ที่ 5 มีศิษย์รับการสั่งสอนอยู่ประมาณพันคน  เมื่อเขาไหว้พระสังฆปริณายกที่วัดนั้น  เขาได้ฟังเทศน์หลายครั้งเกี่ยวกับพระสูตรๆนี้  เขาเล่าต่อไปว่า ท่านสาธุคุณองค์นั้นเคยรบเร้าทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตอยู่เสมอ  ให้พากันบริกรรมพระสูตรๆนี้  เผื่อว่าเมื่อเขาพากันบริกรรมอยู่  เขาจะสามารถเห็น  จิตเดิมแท้  ของตนเอง  และจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ เพราะเหตุนั้น

        

        คงเป็นด้วยกุศลที่อาตมาได้ทำไว้แต่ชาติก่อนๆ จึงเป็นเหตุให้อาตมาได้ทราบเรื่องราวเหล่านี้  และอาตมายังได้รับเงินอีก 10 ตำลึงจากชายผู้อารีคนหนึ่งให้มาเพื่อมอบให้มารดาไว้ใช้สอย  ในระหว่างที่อาตมาไม่อยู่  ทั้งเขาเองเป็นผู้แนะนำให้อาตมารีบไปยังตำบลวองมุย  เพื่อพบพระสังฆปริณายกองค์นั้น  เมื่อได้จัดแจงให้มีคนช่วยดูแลมารดาเสร็จแล้ว  อาตมาก็ได้ออกเดินทางไปยังวองมุย และถึงที่นั้นได้ในชั่วเวลาไม่ถึงสามสิบวัน

        ครั้นถึงตำบลวองมุยแล้ว  อาตมาได้ไปนมัสการพระสังฆปริณายก  ท่านถามว่ามาจากไหน  และต้องประสงค์อะไร  อาตมาได้ตอบว่า  "กระผมเป็นคนพื้นเมืองซุนเจา  แห่งมณฑลกวางตุ้ง  เดินทางมาแสนไกลเพื่อทำสักการะเคารพแด่หลวงพ่อท่าน  และกระผมไม่ต้องการอะไร  นอกจากธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ (Buddha-nature) อย่างเดียวเท่านั้น"

        ท่านถามอาตมาว่า  "เป็นชาวกวางตุ้งหรือ?  เป็นคนป่าคนเยิงแล้วเธอจะหวังเป็นพุทธะได้อย่างไรกัน?"

        อาตมาได้เรียนตอบท่านว่า  "แม้ว่าจะมีคนชาวเหนือและคนชาวใต้ก็จริง แต่ทิศเหนือและทิศใต้นั้น หาได้ทำให้ความเป็นพุทธะซึ่งมีอยู่ในคนนั้นๆ แตกต่างกันได้ไม่.  คนป่าคนเยิงจะแตกต่างจากหลวงพ่อ ก็แต่ในทางร่างกายเท่านั้น, แต่ไม่มีความผิดแปลกแตกต่างกันในส่วนธรรมชาติของความเป็นพุทธะของเราทั้งหลาย"  แต่เผอิญมีศิษย์ของท่านเข้ามาหลายคน  ท่านจึงหยุดชะงัก  และสั่งให้อาตมาไปสมทบทำงานกับคนงานหมู่หนึ่ง

        อาตมากล่าวขึ้นว่า  "กระผมกราบเรียนหลวงพ่อว่า "วิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในใจของกระผมเสมอๆ  เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้มีจิตเลื่อนลอยไปจาก  จิตเดิมแท้ ของตนแล้ว ก็ควรจะเรียกเขาผู้นั้นว่า  "ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก" เหมือนกัน  กระผมจึงไม่ทราบว่างานอะไร ที่หลวงพ่อให้ผมกระทำ?"

        พระสังฆปริณายกได้มีบัญชาว่า  "เจ้าคนป่านี้เฉลียวฉลาดเกินตัวไปเสียแล้ว จงไปที่โรงนั่น  แล้วอย่าพูดอะไรอีกเลย"  อาตมาจึงถอยหลีกไปทางลานข้างหลัง มีคนวัดที่ไม่ใช่บรรพชิตคนหนึ่ง มาบอกให้ผ่าฟืน และตำข้าว




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กุมภาพันธ์ 2556 17:27:37 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 17:32:59 »



 พระสังฆปริณายกได้กล่าวตอบว่า ท่านทั้งหลาย  เนื้อกายของเรานี้เป็นนครแห่งหนึ่ง  ตา หู จมูก ลิ้นของเราเป็นประตูเมือง  ประตูนอกมี 4 ประตู ประตูในมีหนึ่งประตู ได้แก่อำนาจปรุงแต่งสำหรับคิดนึก ใจนั้นเป็นแผ่นดิน จิตเดิมแท้เป็นเจ้าแผ่นดิน ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลแห่งใจ  ถ้าจิตเดิมแท้อยู่ข้างใน ก็แปลว่าเจ้าแผ่นดินยังอยู่  แล้วกายและใจของเราก็ชื่อว่ายังมีอยู่  เมื่อจิตเดิมแท้ออกไปเสียแล้ว  ก็ชื่อว่าเจ้าแผ่นดินไม่อยู่  กายและใจของเราก็ชื่อว่าสาบสูญไปแล้ว  เราต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นพุทธะในภายในจิตเดิมแท้  และต้องไม่เสาะหาจิตเดิมแท้ในที่อื่นนอกจากตัวเราเอง ผู้ที่ถูกความเขลาครอบงำมองไม่เห็นจิตเดิมแท้นั้น  จัดเป็นคนสามัญ  

ผู้ที่มีความสว่างมองเห็นจิตเดิมแท้ของตนเอง  จัดเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง  ความเป็นคนมีเมตตากรุณา  เป็นพระอวโลกิเตศวร (คือพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในจำนวนโพธิสัตว์สององค์ในแดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตก)  การเพลินในการโปรยทาน คือพระมหาสถมะ (พระโพธิสัตว์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งคู่กัน  ความสามารถทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ คือ องค์พระศากยมุนี (พระนามอีกพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้)  

ความสม่ำเสมอคงที่และความตรงแน่ว คือ พระอมิตาภะ  ความคิดเรื่องตัวตนหรือเรื่องความมีความเป็น คือเขาพระสุเมรุ  ใจที่สามานย์ ได้แก่มหาสมุทร กิเลส คือละลอกคลื่น ความชั่วคือมังกรร้าย ความเท็จคือผีห่า  อารมณ์ภายนอกอันน่าเวียนหัว คือสัตว์น้ำต่างๆ  ความโลภและความโกรธ คือโลกันตนรก  อวิชชาและความมัวเมา คือสัตว์เดรัจฉานทั่วไป

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ถ้าท่านประพฤติในกุศล 10 ประการอย่างมั่นคง  แดนสุขาวดีก็จะปรากฏแก่ท่านในทันที  เมื่อใดท่านขจัดความเห็นว่าตัวตนและความเห็นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ออกไปเสียได้  เขาพระสุเมรุก็จะหักคะมำพังทลายลงมา  เมื่อใดจิตไม่ย้อมด้วยความชั่วอีกต่อไป  เมื่อนั้นน้ำในมหาสมุทร (แห่งสังสาระ)  ก็เหือดแห้งไปสิ้น  เมื่อท่านเป็นอิสระอยู่เหนือกิเลส เมื่อนั้นลูกคลื่นและละลอกทั้งหลายก็สงบเงียบลง  เมื่อใดความชั่วร้ายไม่กล้าเผชิญหน้าท่าน  เมื่อนั้นปลาร้ายและมังกรร้ายก็ตายสิ้น

        ภายในมณฑลแห่งจิตนั้น  มีองค์ตถาคตแห่งความตรัสรู้  ซึ่งสองแสงอันแรงกล้าออกมาทำความสว่างที่ประตูภายนอกทั้งหกประตู  และควบคุมมันให้บริสุทธิ์  แสงนี้แรงมากพอที่จะทะลุผ่านสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้งหก  และเมื่อมันย้อนกลับเข้าภายในไปยังจิตเดิมแท้  มันจะขับธาตุอันเป็นพิษทั้ง 3 อย่างให้หมดไป  และชำระล้างบาปชนิดที่จะทำให้เราตกนรก  หรืออบายอย่างอื่น  แล้วจะทำความสว่างไสวให้เกิดแก่เราทั้งภายในและภายนอก  จนกระทั่งเราไม่มีอะไรแตกต่างจากพวกที่เกิดในแดนบริสุทธิ์  ทางทิศตะวันตก  ที่นี้ถ้าเราไม่ฝึกตัวเราให้สูงถึงขนาดนี้แล้ว  เราจะบรรลุถึงแดนบริสุทธิ์นั้นได้อย่างไรกัน?

เมื่อที่ประชุมได้ฟังเทศนาของพระสังฆปริณายกจบลงแล้ว  ต่างพากันทราบถึงจิตเดิมแท้ของตนๆอย่างแจ้งชัด  ทุกคนพากันทำความเคารพ  และอุทานออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า "สาธุ" เขายังได้พากันสวดมนต์ภาวนา  ขอสรรพสัตว์ในสากลจักรวาลนี้  เมื่อได้ยินธรรมเทศนานี้แล้ว  จงเข้าใจได้อย่างซึมซาบในทันทีทันใดเถิด

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า  ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ผู้ใดอยากทำการปฏิบัติ (ทางจิต)  จะทำที่บ้านก็ได้  ไม่มีความจำเป็นสำหรับคนเหล่านั้น ที่จะต้องอยู่ในสังฆราม  พวกที่ปฏิบัติตนอยู่กับบ้านนั้น  อาจเปรียบกันได้กับชาวบ้านทางทิศตะวันออกที่ใจบุญ  พวกที่อยู่ในสังฆาราม  แต่ละเลย ต่อการปฏิบัตินั้น  ไม่แตกต่างอะไรกันกับชาวบ้านที่อยู่ทางทิศตะวันตก  แต่ใจบาป  จิตบริสุทธิ์ได้เพียงใด  มันก็เป็น  "แดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตก  กล่าวคือ จิตเดิมแท้ของบุคคลนั้นเอง" เพียงนั้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เมษายน 2553 20:30:11 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลบลิ้งค์ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 17:53:27 »




     ข้าหลวงไว่ได้เรียนถามขึ้นว่า  เราทั้งหลายควรฝึกตัวอย่างไรเมื่ออยู่ที่บ้าน ขอพระคุณเจ้าโปรดสั่งสอนเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  อาตมาจะสอนโศลกว่าด้วยนิรรูปให้สักหมวดหนึ่ง  ถ้าท่านทั้งหลายเก็บเอาข้อความออกมาปฏิบัติตามแล้ว  ท่านก็จะอยู่ในสภาพเช่นเดียวกันกับพวกที่อาศัยอยู่กับอาตมาเนืองนิจเหมือนกัน  ในทางตรงข้าม  ถ้าท่านทั้งหลายไม่ปฏิบัติมัน  ท่านก็จะหาความเจริญในทางจิตไม่ได้  แม้ว่าท่านจะโกนหัว  และสละบ้านเรือนออกแสวงบุญ (คือบวชเป็นพระ)  โศลกนั้น  มีดังต่อไปนี้

ผู้มีใจเที่ยงธรรม  การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น
ผู้มีความประพฤติตรงแน่ว  การปฏิบัติในทางฌานมันจะมีมาเอง (แม้จะไม่ตั้งใจทำ)

สำหรับหลักแห่งการกตัญญูกตเวทีนั้น  เราอุปัฏฐากบิดามารดา รับใช้ท่านอย่างฐานลูก
สำหรับหลักแห่งความเป็นธรรมนั้น  ผู้ยิ่งใหญ่กับผู้ต่ำต้อยยืนเคียงข้างอาศัยกันและกัน (ในคราวคับขัน)

สำหรับหลักแห่งความปรารถนาดีต่อกันนั้น  ผู้อาวุโสกับผู้อ่อนอาวุโส ต้องสมัครสมานกัน
สำหรับหลักแห่งขันตินั้น  เราไม่ให้มีการทะเลาะเบาะแว้ง  แม้จะตกอยู่ในท่ามกลางของหมู่อมิตรอันกักขฬะ

ถ้าเรามีความเพียร  รอคอยจนได้ไฟอันเกิดจากการเอาไม้มาสีกัน
  เมื่อนั้น บัวสีแดง(พุทธภาวะ)  ก็จะโผล่ออกมาเองจากตมสีดำ(ความมืดมนก่อนตรัสรู้)

 สิ่งที่มีรสขม ย่อมถูกใช้เป็นยาดี
สิ่งที่ฟังแล้วไม่ไพเราะหู นั้นคือคำตักเตือนอันจริงใจของผู้เตือนที่แท้จริง

จากการแก้ไขความผิดให้กลับเป็นความถูก  เราย่อมได้รับสติปัญญา
โดยการต่อสู้เพื่อรักษาความผิดของตัวไว้  เราแสดงนิมิตแห่งความมีจิตผิดปรกติออกมา

ในวันหนึ่งๆที่ชีวิตล่วงไปเราควรปฏิบัติความไม่เห็นแก่ตัวอยู่ตลอดเวลา
แต่ว่าพุทธภาวะนั้น  ไม่มีหวังที่จะได้มาจากการให้เงินเป็นทาน

โพธิปัญญานั้น หาพบได้เฉพาะจากภายในใจของเราเอง
และไม่มีความจำเป็นที่จะเสาะหาความจริง  อันเด็ดขาดของพระศาสนาจากภายนอก

ผู้ซึ่งได้ฟังโศลกนี้แล้ว นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
จะประสบแดนสุขาวดีอยู่ตรงเบื้องหน้าเขา นั่นแล.

พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า  ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ท่านทุกคนจงปฏิบัติตามคำสอนที่กล่าวไว้ในโศลกนี้เถิด  เพื่อว่าท่านจะได้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้  และลุถึงพุทธภาวะได้โดยตรงๆ พระธรรมไม่คอยใคร  อาตมาก็กำลังจะกลับไปโซกายเดี๋ยวนี้  ท่านทั้งหลายจงเลิกประชุมเถิด ถ้าท่านยังมีปัญหาใดๆ  ท่านจงไปถามที่นั่นเถิด

        ในการได้สมาคมกันคราวนี้  ท่านข้าหลวงไว่  ข้าราชการ คนใจบุญและสุภาพสตรีผู้อุทิศเคร่งครัดทั้งหลาย  ผู้ได้มาร่วมประชุม ณ ที่นั้น ได้เกิดความสว่างไสวทุกคน  เขารับคำสอนไปปฏิบัติด้วยความซื่อตรงแน่วแน่.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กุมภาพันธ์ 2553 20:19:41 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 18:59:14 »




หมวดที่ 4

ว่าด้วย สมาธิ และปรัชญา*16

******************

ในสมัยอื่นอีก  พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง  ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ในระบบคำสอนของอาตมานั้น  สมาธิ และปรัชญา นับว่าเป็นหลักสำคัญ  แต่ท่านทั้งหลายอย่าได้เข้าใจผิดไปว่า  ธรรมะข้อนี้แยกจากกันได้เป็นอิสระ  เพราะเหตุว่ามันเป็นของรวมอยู่ด้วยกันอย่างที่จะแยกกันไม่ได้  และมิใช่เป็นของสองอย่าง  ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความเป็นของตัวเอง  สมาธินั่นแหละคือตัวจริงของปรัชญา  ในเมื่อปรัชญาเป็นแต่เพียงอาการไหวตัวของสมาธิ  ในขณะที่เราได้ปรัชญา  สมาธิก็มีพร้อมอยู่ในนั้นแล้ว หรือจะกล่าวกลับกันว่า  เมื่อมีสมาธิ  เมื่อนั้นก็มีปรัชญา  ดังนี้ก็ได้  ถ้าท่านทั้งหลายเข้าใจหลักอันนี้  ก็แปลว่าท่านเข้าใจความสัมพันธ์อันมีส่วนเสมอกันระหว่างสมาธิกับปรัชญา  ผู้ศึกษาไม่ควรจะไปคิดว่า  มันมีอะไรแตกต่างกันในระหว่างคำว่า  "สมาธิให้เกิดปรัชญา"  กับคำว่า  "ปรัชญาให้เกิดสมาธิ"  การถือความเห็นว่าแยกกันได้นั้น  ย่อมส่อว่ามันมีอะไรที่เด่นๆ  อยู่ถึงสองฝักสองฝ่าย  ในธรรมะนี้

        สำหรับบุคคลที่ลิ้นของเขาพูดได้ไพเราะ  แต่ใจของเขาไม่สะอาดนั้น สมาธิและปรัชญาไม่มีประโยชน์อะไรแก่เขา  เพราะสมาธิและปรัชญาของเขาไม่ทางจะสมส่วนสัมพันธ์กันได้เลย  อีกทางหนึ่งซึ่งตรงกันข้าม  คือถ้าทั้งใจและดีทั้งถ้อยคำที่พูด  ทั้งกิริยาอาการภายนอกกับความรู้สึกในใจก็ประสานกลมกลืนกันแล้ว  นั่นแหละคือกรณีสมาธิและปรัชญา ได้สัมพันธ์กันอย่างสมส่วน

        การโต้แย้งกันนั้น  ไม่จำเป็นต้องเกิดแก่นักศึกษา  ที่มีความสว่างไสวแล้ว  การมัวเถียงกันว่าปรัชญาเกิดก่อน  หรือสมาธิเกิดก่อนนั่นแหละ  จะทำให้ผู้นั้นตกอยู่ในภาวะเช่นเดียวกับคนที่ถูกอวิชชาครอบงำทั้งหลาย  การเถียงกันย่อมหมายถึงความดิ้นรนจะเป็นฝ่ายชนะ  ย่อมเสริมกำลังให้แก่ความยัดมั่น  ถือมั่นว่าตัวตน  และย่อมจะผูกพันเราไว้กับความยึดถือ  ด้วยความสำคัญว่าตัวตน ว่าสัตว์  ว่าชีวะ  ว่าบุคคล

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  สมาธิและปรัชญานั้น  ควรจะเปรียบกับอะไรเล่า?  ธรรมะสองชื่อนี้  ควรจะเปรียบกันกับตะเกียง  และแสงของมันเอง  มีตะเกียง ก็มีแสง  ไม่มีตะเกียงมันก็มืด  ตะเกียงนั่นแหละคือตัวการแท้ของแสงสว่าง  และแสงสว่างเป็นแต่สิ่งซึ่งแสดงออกของตะเกียง  โดยชื่อ ฟังดูเป็นสองอย่าง  แต่โดยเนื้อแท้แล้ว  มันเป็นของอย่างเดียว  และทั้งเป็นของอันเดียวกันด้วย  กรณีเช่นนี้แหละ ได้กับสมาธิและปรัชญา


*16 คำว่าปรัชญา ท่างฝ่ายมหายานนั้น ตรงกับคำว่าปัญญา ในฝ่ายเถรวาท  แต่คำปรัชญาในที่นี้มิได้เป็นคำเดียวกับปรัชญาในภาษาไทย  ซึ่งใช้เป็นคำแปลของคำว่าคิดกัน Philosophy  ในมหายานใช้รูปศัพท์สันสกฤตเช่นนั้นเอง (ผู้แปลไทย พุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กุมภาพันธ์ 2553 08:58:51 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2553 09:51:17 »




ในสมัยอื่นอีก  พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง  ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  การบำเพ็ญ  "สมาธิที่ถุกวิธี" นั้น ได้แก่การทำให้เป็นระเบียบตายตัว  เพื่อให้เราเป็นคนตรงแน่วในทุกโอกาส  ไม่ว่าคราวเดิน ยืน นั่ง หรือนอน  วิมลกีรฺตินิเทศสูตร  มีข้อความว่า  "ความเป็นผู้ตรงแน่วนั่นแหละคือเมืองอริยะ  "แดนบริสุทธิ์"

ท่านทั้งหลายจงอย่าปล่อยใจให้คดเคี้ยวไปมา และอย่าประพฤติความตรงแน่ว  เพียงสักว่าที่ริมฝีปาก 
เราต้องบำเพ็ญให้ตรงแน่วจริงๆ  และไม่ผูกพันตัวเองไว้กับสิ่งใดๆ

คนพวกที่งมงายอยู่ภายใต้อวิชชา  ย่อมเชื่ออย่างดื้อดึงไปตามตัวหนังสือ(*17)
ฉะนั้นเขาจึงรั้นที่จะแปล  เอาตามชอบใจของตัวเอง ในการแปลคำว่า  "สมาธิที่ถูกวิธี"

ซึ่งเขาเหล่านั้นพากันแปลว่า  "นั่งอย่างเงียบติดต่อกันไป  โดยไม่ยอมให้ความคิดอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในจิต" 
การแปลความหมายเช่นนี้  เป็นการจัดตัวเราเองให้ลงไปอยู่ในชั้นเดียวกับวัตถุที่ไร้ชีวิตวิญญาณทั้งหลาย
 

และยังจะกลายเป็นสิ่งสะดุดเกะกะกีดขวางหนทางตรง  อันเราพึงทำให้เปิดโล่งอยู่เสมอ 

ถ้าเราทำใจของเราให้พ้นจากการข้องแวะในสิ่งทั้งหลายทุกสิ่งได้แล้ว  ทางนั้นก็จะเตียนโล่ง
 ถ้าไม่อย่างนั้น  ชื่อว่าขัง(*18) ตัวเราเอง 

ถ้าหากว่าคำแปลที่ว่า "นั่งอย่างเงียบติดต่อกันไป ฯลฯ" เป็นคำแปลที่ถูกต้อง  แล้วทำไมในคราวหนึ่งท่านสารีบุตร
จึงถูกท่านวิมลกีรติขนาบเอาเนื่องจากนั่งเงียบๆ ในป่านั้นเอง(*19)



*17 คำนี้ไม่สามารถแปลไปตามต้นฉบับซึ่งมีอยู่ว่า ".....ย่อมเชื่ออย่าดื้อดึงในธรรมลักษณะ...." เพราะจะไม่ทำให้ผู้อ่านจับใจความอย่างใดได้เลย  จึงถอดใจความอย่างง่ายเสียทีเดียว  และแปลว่าเชื่อตามตัวหนังสือ  คำว่า "ธรรมลักษณะ"นี้ หาคำแปลยากที่สุดแม้ นายว่อง มูล่ำ  เองก็ถึงกับแปลแตกต่างกันทุกแห่ง  ทั้งสามแห่ง  แต่ข้าพเจ้าได้พยายาม ทบทวนดูแล้ว  จึงแปลอย่างนี้โดยอาศัยหลักคู่แรกของ  ธรรมลักษณะ  คือคำพูด  กับตัวธรรมจริง  นายว่องมูล่ำ ไม่แปล ใช้ทับศัพท์เอาแล้ววงเล็บไว้ว่า (Thing and Form) ซึ่งไม่ทำความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านทั่วไปได้เลย (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

*18 ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เรียนถามพระอาจารย์ในนิกายธยาน ชื่อเช็กตาว ผู้สืบต่อมาจากศิษย์องค์หนึ่งของพระสังฆปริณายกองค์ที่หก  ว่า  "อะไรเป็นความหลุดรอด?"  พระอาจารย์รูปนั้นได้ย้อนถามว่า "ใครเล่าที่จับท่านใส่กรงขัง?"  ความเหมาะสมของคำตอบนี้เป็นอย่างเดียวกันแท้กับข้อความในตัวบทข้างบนนี้ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังฆประณายกองค์ที่หกได้เล่าว่า  พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าไม่ยอมถกด้วยเรื่อง ธยาน และ วิมุติ จะยอมถกเฉพาะเรื่องจิตเดิมแท้เท่านั้น (ในหมวดที่1) นั่นก็คือ  ท่านได้แสดงแง่คิดอย่างเดียวกันกับอุทาหรณ์ข้างบน (ผู้แปลเดิม ดิปิงเซ่)

*19 ท่านวิมลกีรติ  กล่าวแก่ท่านสารีบุตรว่า เมื่อกล่าวถึงการนั่งเงียบๆ แล้ว มันควรจะหมายถึงว่า  เขาไม่เกิดในโลกทั้งสามอีกต่อไป (คือความรู้สึกของเขามีระดับอยู่เหนือกามโลก  รูปโลก และอรูปโลก) มันควารจะหมายถึงว่า ขณะที่อยู่ในนิโรธสมาบัติ (ฌานขั้นที่ดับสัมปฤตีได้)  นั้นเขาก็สามารถทำการเคลื่อนไหวต่างๆทางกายได้  เช่น  การเดิน การยืน การนั่ง การนอน ฯลฯ มันควรจะหมายถึงว่า  โดยไม่ต้องหันเหออกจากทางแห่งบัญญัติ  เขาสามารถทำกิจการต่างๆทางวิสัยโลกได้ มันควรจะหมายถึงว่า เขาคอยอยู่ข้างในก็หามิได้  ข้างนอกก็หามิได้  มันควรจะหมายถึงว่า เขาบำเพ็ญโพธิปักขิยธรรมสามสิบเจ็ดประการอยู่  โดยปราศจากความหวั่นไหวด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ  มันความจะหมายถึงว่า โดยไม่ต้องมีการทำลายล้างกิเลสอีกต่อไป เขาก็สามารถเข้า ถึงนิพพาน ผู้ที่สามารถนั่งได้เช่นนี้แหละจะได้รับความรับรองจากพระพุทธเจ้า"  วิมลกีรฺติ. นิเทศ.สูตร
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2553 10:50:32 »



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อาจารย์สอนกัมมัฏฐานบางคน  สอนศิษย์ของตัวให้เฝ้าระวังจิตของในให้นิ่งเงียบ  ถึงกับว่าหมดความเคลื่อนไหวเป็นไปของจิตเอาเสียงที่เดียว  เมื่อเป็นดังนั้น  พวกศิษย์ก็พากันเลิกถอนการระดมกำลังจิตเสียสิ้นเชิง  คนหลงผิดเหล่านี้ก็พากันฟั่นเฟือน  เนื่องจากมีความเชื่อถือในคำแนะนำนั้นเกินไป  กรณีเช่นว่านี้มีอยู่ทั่วไป   ใช่ว่าจะมีนานๆครั้งก็หามิได้ และนับว่าเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวงที่สอนผู้อื่นให้ทำเช่นนั้น

        ในสมัยอื่นอีก  พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง  ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

        ในพุทธศาสนาชนิดที่เป็นไปตามคัมภีร์นั้น ความแตกต่างระหว่างนิกาย "ฉับพลัน" กับ "นิกายเชื่องช้า"  มิได้มีอยู่อย่างชัดแจ้ง ความแตกต่างเท่าที่เห็นกันอยู่ก็มีแต่เพียงว่า  ตามธรรมชาติที่เกิดมา  คนบางพวกรู้อะไรได้เร็วในเมื่อคนอีกบางพวกที่ทึบต่อการที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆ  พวกที่สว่างไสว  ก็สามารถเห็นแจ้งสัจจธรรม  ได้ทันที  ในเมื่อพวกที่อยู่ภายใต้อวิชชาจะต้องค่อยๆฝึกตัวเองต่อไป  แต่ความแตกต่างเช่นกล่าวนี้  จะไม่ปรากฏเลย  ถ้าหากว่าเรามารู้จักใจของตนเอง  และรู้แจ้งต่อสภาพแท้ของเราเอง  เพราะฉะนั้น คำว่า "เชื่องช้า" กับคำว่า "ฉับพลัน" สองคำนี้ เป็นเพียงภาพเลือนๆมากกว่าที่จะเป็นของจริง

       
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  มันเป็นจารีตในนิกายของเรา 

ในการที่จะ   ถือเอา  "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" 
ว่าเป็นผลที่เราจำนงหวัง   

ถือเอา  "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์"  ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญ
และ   ถือเอา  "ความไม่ข้องติด" ว่าเป็นหลักหรือต้นตอ  อันเป็นประธานสำคัญ 

"ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์" นั้น 
หมายถึงความไม่ถูกอารมณ์ดึงดูดเอาไป  ในเมื่อได้สัมผัสกันเข้ากับอารมณ์
 
"ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" นั้น  หมายถึง
ความไม่ถูกลากเอาไป  โดยความคิดอันแตกแยกแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง 

ในขณะที่กำลังบำเพ็ญภาวนาทางจิต 

***

"ความไม่ข้องติด"  นั้น หมายถึงลักษณะเฉพาะแห่ง  จิตเดิมแท้  ของเรานั่นเอง


        สิ่งทุกสิ่ง  ไม่ว่าดีหรือเลว  สวยงามหรือน่าเกลียด  ควรจัดเป็นของว่างอย่างเดียวกัน 
แม้ในขณะที่โต้เถียงและทะเลาะวิวาท  เราควรประพฤติต่อเพื่อนและต่อศัตรูของเราอย่างเดียวกัน 

และไม่มีการ   นึกถึง   การแก้เผ็ด 

ในการฝึกความนึกคิดของตนเอง จงปล่อยให้อดีตเป็นอดีต 
ถ้าเราเผลอให้ความคิดของเรา  ที่เป็นอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต 

มาจับติดต่อกัน เป็นห่วงโซ่  แล้วก็หมายว่า   เราจับตัวเอง   ใส่กรงขัง 
ในฝ่ายตรงกันข้าม  ถ้าเราไม่ยอมให้ใจของเรา   ข้องติดอยู่  ในสิ่งใดๆ   

 เราจะลุถึง   ความหลุดพ้น
  เพื่อผลอันนี้  เราจึงถือเอา 
"ความไม่ข้องติด"  ว่าเป็นหลักหรือต้นตอ  อันเป็นประธานสำคัญ

         การทำตัวเราเอง  ให้เป็นอิสระ  จาการถูกดูดดึงไปตามอารมณ์ภายนอกนี้
เรียกว่า  "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์"  เมื่ออยู่ในฐานะ   ที่จะทำได้

ดังนั้น  สภาพธรรม(ที่มีในเรา)  ก็จะบริสุทธิ์  เพื่อผลอันนี้
เราจึง   ถือเอา  "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์"  ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2553 13:26:52 »



การดำรงใจไว้ให้เป็นอิสระจากอำนาจของกิเลส  ในทุกๆลักษณะของสิ่งที่แวดล้อมรอบตัวเรา  นี้เรียกว่า  "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"  ใจของเราลอยอยู่สูงเหนือสิ่งต่างๆ  ที่แวดล้อมเรา  และในทุกกรณี  เราไม่ยอมให้สิ่งเหล่านั้นมามีอิทธิพลครอบงำ  ในการที่ใจของเราของเราจะทำหน้าที่ของมัน  แต่ว่ามันเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวง  ในการบีบบังคับใจไม่ให้คิดอะไรเสียหมด  เพราะว่าแม้เราจะทำได้สำเร็จในการบังคับเช่นนั้น  และเราดับจิตลงไปในขณะนั้น  เราก็ยังคงต้องเกิดใหม่  ในภพใดภพหนึ่งอยู่ดี  

จงกำหนดความข้อนี้ไว้เถิดบรรดาท่านผู้เดินทางทั้งหลาย  มันเป็นความชั่วอย่างพอตัวทีเดียว  สำหรับคนที่ทำอย่างผิดพลาด  เนื่องมาจากไม่เข้าใจความหมายของธรรมบัญญัติข้อนั้น  แล้วมันจะเป็นความชั่วมากขึ้นไปเพียงใดอีก  ในการเร้าใจให้ผู้อื่นพากันทำตามเป็นบริวารของตน  เมื่อหลงเสียแล้ว  เขาก็มองไม่เห็นอะไร  และยิ่งกว่านั้นเขายังแถมเป็นผู้กล่าวตู่พระพุทธวจนะ  อยู่ตลอดกาลเป็นนิจด้วย  เหตุฉะนั้นแหละ  เราจึงถือเอา  "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"  ว่าเป็นผลที่จำนงหวังของเรา

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อาตมาจะอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก  ว่าทำไมเราจึงถือเอา  "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"  มาเป็นผลที่จำนงหวังของเรา  เพราะเหตุว่ามีคนเขลาบางประเภท  ได้โอ้อวดว่าเห็นแจ้ง  จิตเดิมแท้  แต่ก็กำลังถูกอารมณ์ที่แวดล้อมลากเอาตัวไป  วิตกต่างๆ เกิดขึ้นในใจของเขา  ถูกแวดล้อมอยู่ด้วยมิจฉาทิฏฐิ  อันเป็นกระแสแห่งความหลงและกิเลสทุกๆชนิด

 
ก็ใน จิตเดิมแท้ (ซึ่งเป็นตัวสำแดงแห่งความว่าง) นั้น ไม่มีอะไรสำหรับให้ใครลุถึงเสียเลย  
ฉะนั้น  การที่มาเอ่ยอ้างว่ามีการลุถึง  และกล่าวพล่อยๆถึงความดีหรือความชั่ว  

เหล่านั้นล้วนแต่เป็นมิจฉาทิฎฐิและกิเลส  

เพื่อผลอันนี้เอง  เราจึงได้ถือเอา  "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"
ว่าเป็นผลที่จำนงหวังในนิกายของเรา





        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  (ก็ในเรื่องความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตกนั้น)  อะไรเล่าเป็นสิ่งที่เราควรสลัดเสียให้สิ้นเชิง  และอะไรเล่า  ที่เราควรปักใจของเราลงไป  เราควรสลัด  "ของที่เป็นคู่ๆอย่างตรงกันข้ามต่อกัน"(*20) เสียให้สิ้นเชิง  พร้อมทั้งอกุศลเจตสิกทุกๆอย่าง  และเราควรปักใจของเราลงไปที่ภาวะแท้จริงของ  ตถตา (ความเป็นแต่อย่างนั้นอย่างเดียว  เป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้)  เพราะเหตุว่า  ตถตา นั่นแหละ  เป็นตัวการแท้ของวิตก  และวิตกเป็นผลแห่งการไหวตัวของ ตถตา

ตัวแท้ของตถตา  ซึ่งเบ่งบานขึ้นถึงระดับเด่นชัดนั้นต่างหาก  ที่ทำให้วิตกนั้นเกิดขึ้น  หาใช่เพราะอวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์นั้นๆไม่  ตถตา ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณลักษณะของตัวมันเอง  ฉะนั้น มันจึงสามารถให้กำเนิดแก่วิตก  ปราศจาก ตถตา เสียแล้ว อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์  และอารมณ์นั้น (*21) ย่อมสลายลงทันที. ผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เพราะเหตุที่คุณลักษณะของ ตถตา  ต่างหากที่ให้กำเนิดแก่วิตก  ฉะนั้น  อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์ต่างๆ  ของเราไม่จำเป็นจะต้องพลอยด่างพร้อยหรือเศร้าหมองไปด้วย  ในทุกๆเหตุการณ์  แม้ว่ามันจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการดู  การฟัง การสัมผัส การรู้ฯลฯ ก็ตาม,  และตัวภาวะแท้ของเรา  ก็อาจยัง  "แสดงตัวเองให้ปรากฏได้"  ทุกเวลา  เพราะเหตุฉะนั้น  พระสูตรนั้นจึงกล่าวว่า  ผู้ทีคล่องแคล่วในการแยกแยะธรรมลักษณะนานาประการ  เพื่อความเข้าใจอันถูกต้องได้  จักเป็นผู้ตั้งอยู่อย่างไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน  ใน "ธรรมอันเอก" (กล่าวคือถิ่นอันสงบเย็นของพระอริยะหรือนิพพาน)


*20 ของคู่ในที่นี้  คือของที่เป็นสุดโต่งฝ่ายข้างหนึ่ง  ก็สุดโต่งฝ่ายข้างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น  บวก-ลบ โง่-ฉลาด ร้อน-เย็น  นรก-สวรรค์ ฯลฯ (พุทธทาส)

*21 อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์ หรือ Sense Organs ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ใจ อารมณ์  หรือ Sense objects ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์ คำเหล่านี้เป็นคำบัญญัติเฉพาะในพุทธศาสนา อาจไม่ตรงกับที่บัญญัติเฉพาะวิชาแขนงอื่นก็ได้ (พุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มีนาคม 2553 10:30:16 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2553 14:06:45 »



บัวหิมะ บนเทือกเขาซินเกียง

หมวดที่ 5

ว่าด้วย ธฺยานะ

**********

วันหนึ่ง  พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง  ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

        ในระบบการเจริญกัมมัฏฐานภาวนาของเรานั้น  เรามิได้กำหนดลงไปที่จิต (จิตปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างอย่างตรงกันข้าม กับจิตเดิมแท้)  หรือกำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์  หรือว่าเราจะไปจับเอาตัวความหยุดนิ่ง  ปราศจากความเคลื่อนไหวทุกประการ  ก็หามิได้  สำหรับการกำหนดจดจ่อลงไปที่จิตนั้น  ไม่ควรทำ  เพราะจิตเป็นของมืดมัวมาเสียก่อนแล้ว  เมื่อเรามองเห็นชัดว่ามันเป็นเพียงตัวมายาตัวหนึ่งเท่านั้นแล้ว  ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะไปจดจ่อกับมัน  สำหรับการกำหนดลงไปที่ตัวความบริสุทธิ์นั้นเล่า  ตัวธรรมชาติแท้ของเราก็บริสุทธิ์อย่างแท้จริงอยู่แล้ว  และตลอดเวลาที่เราขับไล่อกุศลวิตกออกไปเสียให้สิ้นเชิง  มันก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในตัวเรา  นอกจากความบริสุทธิ์ย่างเดียวเพราะว่ามันเป็นด้วยอกุศลวิตก  กำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์  เราก็มีแต่จะสร้าง  อวิชชาอันใหม่ขึ้นมาอีกอันหนึ่ง  เท่านั้น  คืออวิชชาแห่งความบริสุทธิ์  เพราะเหตุที่อวิชชาเป็นสิ่งที่ไม่มีที่ตั้งอาศัย  จึงเป็นความเขลาที่เราจะไปอิงอาศัยมัน,  ตัวความบริสุทธิ์นั้นไม่มีสัณฐาน  ไม่มีรูปร่าง  แต่มีคนบางคนที่อุตริถึงกับประดิษฐ์  "รูปร่างของความบริสุทธิ์" ขึ้นมา  แล้วก็กุลีกุจออยู่กับมันในฐานะเป็นปัญหาสำคัญของความหลุดพ้น  เมื่อถือหลักความคิดเช่นนี้  คนเหล่านั้นก็กลายเป็น ผู้ขับไล่ไสส่งความบริสุทธิ์ เสียเองแล้ว  จิตเดิมแท้ของเขา  ก็ถูกทำให้เศร้าหมองไปเพราะเหตุนั้น

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  พวกที่ฝึกตัวอยู่ใน "ความแน่วไม่หวั่นไหว"  นั้น  แม้จะได้เผชิญกับคนทุกชนิด  เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็นความผิดของผู้อื่นอยู่เสมอ  เขาไม่มีอะไรวิปริตผิดแปลกไปจากเดิม  เมื่อประสบบุญหรือบาป  ความดีหรือความชั่ว ของผู้อื่น  เพราะลักษณะเช่นนี้  ย่อมอนุโลมต่อ "ความแน่วไม่หวั่นไหว" ของจิตเดิมแท้ ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  คนทีมีจิตยังมืดนั้นอาจสงบเฉพาะทางร่างกายภายนอก  แต่พอเผยอริมฝีปากเท่านั้น  เขาก็ติชมวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นด้วยเรื่องบุญบาป  ความสามารถ  ความอ่อนแอ  ความดีหรือความชั่ว  ของคนเหล่านั้นๆ  นี่แหละ  เขาเฉออกไปนอกทางแห่งสัมมาปฏิบัติอย่างนี้เอง  อีกฝ่ายหนึ่ง  การที่จดจ่อง่วนอยู่ ที่จิตของตนเอง  หรือที่ความบริสุทธิ์  ก็กลายเป็นสิ่งสะดุดกีดขวางในหนทาง  ด้วยเหมือนกัน

        ในสมัยอื่นอีก  พระสังฆปริณายก ได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อย่างไรเรียกว่า  การนั่ง  เพื่อการกัมมัฏฐานภาวนา?  ในนิกายของเรานี้  การนั่ง  หมายถึงการได้รับอิสรภาพอันเด็ดขาด  และมีจิตสงบได้ในทุกๆ กรณีที่แวดล้อมเข้ามาจากภายนอก  ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายข้างดี หรือเป็นอย่างใดมา  การกัมมัฏฐานภาวนา  นั้น  หมายถึงการเห็นชัดแจ้งในภายใน  ต่อ  "ความแน่วไม่หวั่นไหว  ของจิตเดิมแท้

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อะไรเรียกว่า ธฺยาน (ฌาน) และสมาธิ?

ธฺยาน  หมายถึงการหลุดจากความพัวพันด้วยอารมณ์ภายนอก(*22) ทุกประการ

 และ สมาธิ หมายถึงการได้รับศานติในภายใน 

ถ้าเราพัวพันอยู่กับอารมณ์ภายนอก  จิตภายในก็จะปั่นป่วน  เมื่อเราหลุดจากการพัวพันด้วยอารมณ์ภายนอกทุกอย่างแล้ว  จิตก็จะตั้งอยู่ในศานติ  จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสุทธิ์อยู่แล้วอย่างแท้จริง  แล้วเหตุผลที่ว่า  ทำไมเราจึงปั่นป่วนนั้น  ก็เพราะเรายอมตัว  ให้อารมณ์ซึ่งแวดล้อมเราอยู่  ลากเอาตัวเราไป  ผู้ที่สามารถรักษาจิตของตนไว้ไม่ให้ปั่นป่วนได้  ไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมชนิดไหนหมด  นั่นแหละ ชื่อว่าได้บรรลุถึงสมาธิ

        การเป็นอิสระไม่พัวพันด้วยอารมณ์ภายนอกทุกอย่าง  ชื่อว่า  ธฺยาน  การลุถึงศานติในภายใน  ชื่อว่า สมาธิ  เมื่อใดเราอยู่ในฐานะที่จะเล่นฌาน และดำรงจิตในภายในให้ตั้งอยู่ในสมาธิ     เมื่อนั้น จึงชื่อว่าเราได้ลุถึง  ธฺยานและสมาธิ  ข้อความในโพธิสัตวสีลสูตร  มีอยู่ว่า  "จิตเดิมแท้ของเรานั้น เป็นของบริสุทธิ์แท้จริง" ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เราจงเห็นชัดความข้อนี้เพื่อตนเองทุกเมื่อเถิด  เราจงฝึกตัวเอง  ฝึกฝนมันด้วยตัวเอง  และลุถึงพุทธภาวะ  ด้วยความพยายามของตนเองเถิด


*22 อารมณ์ภายนอก  หมายถึงสิ่งทุกสิ่งนอกจากจิต  ฉะนั้นแม้แต่ความคิดในจิตหรือของจิตก็เรียกว่าอารมณ์ภายนอกในที่นี้เหมือนกัน ไม่ต้องกล่าวถึง รูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นของภายนอกชัดๆ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2553 15:19:50 »




หมวดที่ 6

ว่าด้วยบาปสำนึก (การสำนึกบาป)

************************

   ครั้งหนึ่ง  พวกที่ใฝ่ใจในการศึกษา  และพวกชาวบ้าน  จากกวางเจา ชิวเจา และที่อื่นๆ ได้มาประชุมกันอย่างคับคั่ง  เพื่อฟังคำเทศนาของพระสังฆปริณายก  เมื่อพระสังฆปริณายกเห็นดั่งนั้น  ก็ได้ขึ้นธรรมมาสน์  และแสดงธรรมเป็นข้อความดังต่อไปนี้:-

        การปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น เราควรตั้งต้นที่  จิตเดิมแท้  ของเราตลอดเวลา  เราต้องชำระจิตของเราติดต่อกันทุกขณะจิต  ไต่ไปตามมรรคปฎิปทาด้วยน้ำพักน้ำแรง  ของเราเอง  ให้เห็นประจักษ์ชัดแจ้งในธรรมกายของเรา  ให้เห็นประจักษ์ชัดแจ้งต่อองค์พระพุทธเจ้าในใจของเรา  รื้อขนเองด้วยต่างคนต่างสมาทานศีล  แล้วการมาสู่ที่นี่ของพวกท่านทั้งหลาย  ก็จะมิเป็นการมาเปล่า  เนื่องจากท่านทั้งหลายมาจากที่ไกล  ด้วยกันทุกคน   ข้อที่เราได้มาพบกันที่นี่  ย่อมแสดงว่าเป็นการได้มีการสมาคมกันอย่างประเสริฐ  ฉะนั้นพวกเราทั้งหมดจงนั่งลงตามท่านั่งชาวอินเดีย  อาตมาจะได้แสดงเรื่องวิธีการ สำนึกบาป(*23) (อันเป็นทางใจล้วน) ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม (เช่นกิริยาท่าทางเป็นต้น) แก่ท่านทั้งหลาย

เมื่อทุกคนนั่งเรียบร้อยแล้ว  พระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า:-

       
คันธสาระ(*24) ข้อต้นนั้น คือ ศีล  ซึ่งหมายถึงการที่จิตของเรา  ปราศจากรอยด่างๆของทุจริต 
ความชั่ว ความริษยา ความตระหนี่ ความโกรธ การใช้กำลังข่มขู่  และการผูกเวร

คันธสาระ  ข้อที่สองนั้นคือ สมาธิ  ซึ่งหมายถึงการที่จิตของเรา  ไม่มีอาการหวั่นไหวในทุกเหตุการณ์ 
ที่เข้ามาแวดล้อมเรา  ไม่ว่ามาดีหรือมาร้าย

 คันธสาระ ข้อที่สาม คือปัญญา ซึ่งหมายถึงการที่จิตของเราเป็นอิสระจากเครื่องหุ้มห่อรึงรัด 
หมายถึงการที่เราส่องปัญญาของเราอยู่เนืองนิจ  ลงที่จิตเดิมแท้ของเรา
 
หมายถึงความที่เราเป็นผู้พ้นเด็ดขาดจากการที่จะทำความชั่วทุกประเภท

หมายถึงความที่แม้ว่า เราจะทำความดีทุกสิ่งทุกอย่าง 
ถึงกระนั้นเราก็ไม่ปล่อยให้ใจของเราเกี่ยวเกาะอยู่ที่ผลของความดีนั้นๆ


และหมายถึงวาเรายอมเคารพนับถือผู้ทีสูงกว่าเรา  อ่อนน้อมต่อผู้ที่ต่ำต้อยกว่าเรา
 เห็นอกเห็นใจคนที่หมดวาสนาและคนยากจน

  คันธสาระ ข้อที่สี่ คือความหลุดพ้น(วิมุติ) ซึ่งหมายถึงความที่ใจของเราขึ้นถึงขั้นเป็นอิสระเด็ดขาด 
ไม่เกี่ยวเกาะอยู่กับสิ่งใด  ไม่ผูกพันตัวเองอยู่กับความดีและความชั่ว 

คันธสาระข้อที่ห้า คือความรู้ อันเราได้รับในขณะที่ลุถึงความหลุดพ้น

เมื่อจิตของเราไม่เกี่ยวเกาะกับความดีและความชั่วแล้ว เรายังจะต้องระวังไม่ปล่อยให้จิตนั้น
 อิงอยู่กับความว่างเปล่า  หรือตกลงไปสู่ความเฉื่อย 

ยิ่งกว่านั้นเรายังจะต้องเพิ่มพูนการศึกษา  และขยายความรู้ของเราให้กว้างออกไป
 จนกระทั่งเราสามารถ รู้จักจิตของเราเอง 

สามารถเข้าใจโดยทั่วถึง ในหลักแห่งพุทธธรรม  ทำตนเป็นญาติมิตรกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย
ที่เราเกี่ยวข้องด้วย
 
บำบัดความรู้สึกว่า  "ตัวตน" และความรู้สึกว่ามี ว่าเป็น เสียให้หมดสิ้น และเห็นแจ้งชัดว่า 
จำเดิมแต่ต้นมาจนกระทั่งถึงเวลาที่เราได้บรรลุโพธินั้น 

"ธรรมชาติที่แท้จริง" (หรือจิตเดิมแท้) ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ดั่งนี้ ชื่อว่าคันธสาระแห่ง  "ความรู้อันเราได้รับในขณะที่ลุถึงความหลุดพ้น"
คันธสาระอันประกอบไปด้วยองค์ห้าประการนี้

 ย่อมอบกลิ่นออกมาจากภายใน  และเราไม่ควรแสวงหามันจากภายนอก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2553 16:08:56 »



ทีนี้อาตมาจะได้แสดงแก่ท่านทั้งหลาย ถึงเรื่อง "บาปสำนึก*25 อันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" อันเป็นวิธีที่จะไถ่ถอนเสียได้ซึ่งปวงบาป  อันเราทั้งหลายได้กระทำกันในชาติเป็นปัจจุบัน  ชาติอดีต  และอนาคต  และจะชำระมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ของเราให้หมดจด

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, จงทำตามอาตมา  และว่าดังๆ พร้อมกันทุกคนเหมือนที่อาตมาจะว่านำ:-



*23 คำว่า Formless Repentence ในที่นี้แปลว่า  วิธีการสำนึกบาป (อันเป็นทางใจล้วน) ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม (เช่นกิริยาท่าทางเป็นต้น) นี้หมายถึงการซักล้างหรือเปลี่ยนกลับที่เกี่ยวกับใจภายในใตล้วนๆ  ด้วยอำนาจของปัญญาเป็นต้น  ไม่เกี่ยวกับกิริยา  เช่น  ประกอบพิธี  ขอขมาในโบสถ์หรือเกี่ยวกับวัตถุ  เช่นไถ่ตัวด้วยของทำบุญเป็นต้น  หรือเกี่ยวกับบุคคล  เช่น  อ้อนวอนผู้มีอำนาจเบื้องบนเป็นต้น  ท่านเรียกของท่านว่า Formless ซึ่งตามตัวว่า  "ไม่มีรูป"  นับว่าเป็นคำที่แปลยากที่สุดในหนังสือเล่มนี้  และมีอยู่ทั่วไปแทบทุกบท  ต่อไปนี้จะแปลเพียงสั้นๆ ว่า  "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม"  มีอธิบายดังที่กล่าวมาแล้ว  ให้ผู้อ่านถือเป็นหลักใหญ่ๆ  ไว้อย่างหนึ่งว่าสังฆปริณายกเว่ยหล่างที่กล่าวถึงองค์นี้  ท่านมุ่งจะสอนทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นธรรมาธิษฐาน คือเรื่องจิต หรือตัวจริงไปหมด  ไม่ให้เป็นรูปบุคคลาธิฐาน  ซึ่งสมมุติขึ้นเป็นบุคคล หรืออิงอยู่กับวัตถุ  (ผู้แปลไทย  พุทธทาส)

*24 คันธสาระ ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่มีกลิ่นหอมทั่วไป  ใช้จุดเพื่อให้อากาศหอม ผู้อ่านที่สังเกตจะเห็นได้ว่า คันธสาระห้าอย่างนี้  โดยชื่อ ก็คือที่เรียกกันในฝ่ายเถรวาทว่าธรรมสาระห้านั่นเอง ได้แก่ ศีล. สมาธิ ปัญญา. วิมุต  และวิมุติญาณทัสสะ แต่คำอธิบายเดินคนละชั้นคนละแนว (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

*25 คำว่า บาปสำนึก  หรือการสำนึกบาปนี้  หมายถึงความสลดสังเวชในบาปที่ทำมาแล้ว ถึงขนาดที่จะทำใจให้เปลี่ยนกลับตัวเป็นคนๆ ใหม่ แต่ท่านหมายความสูงถึงการทำใจให้พ้นจาการถือในบาปในบุญเอาเสียทีเดียว จงพยายามชี้ให้เห็นว่า ใจต้องข้ามพ้นจากบาปและบุญ  จึงจะสามารถทำใจ ให้เกลี้ยงเกลาจากบาปได้  ซึ่งในที่อื่นข้างหน้า ท่านชี้ให้เห็นว่า บุญกับบาปนั้นเป็นของอย่างเดียวกัน  คือเป็นเพียงสังขาร  และออกมาจากอวิชชาด้วยกันทั้งสองอย่าง ผู้แปลไทย พุทธทาส




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มกราคม 2554 11:48:59 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2553 18:13:48 »


Plitvice falls(น้ำตกพลิทไวซ์ โครเอเชีย) ภาพโดย Jack Brauer

      ขอให้เราทั้งหลาย บรรดาสาวกที่ไม่ได้ระบุนามเหล่านี้ จงเป็นผู้เป็นอิสระตลอดกาล จากรอยด่างของความไม่รู้และรู้ผิด  เราได้สำนึกแล้วในบาปและกรรมชั่วทั้งหลายของเรา อันเราได้ประกอบแล้ว เพราะอำนาจแห่งความรู้ผิด หรือความไม่รู้ ขอให้บาปทั้งปวงนั้นจงเป็นสิ่งไถ่ถอนหมดสิ้นแล้วในทันทีนี้  และขออย่าให้กลับเกิดมีมาอีกเลย

        ขอให้เราทั้งหลาย  จงเป็นผู้เป็นอิสระตลอดกาล จากรอยด่างของความเย่อหยิ่งและความอวดดี  เราสำนึกได้แล้วในจริตอันเย่อหยิ่งและโอ่อวด  อันเราทั้งหลายได้ประพฤติมาแล้วในอดีต  ขอให้บาปทั้งมวลนั้น  จงเป็นสิ่งที่ไถ่ถอนหมดสิ้นแล้วในทันทีนี้ และขออย่าให้กลับเกิดมีมาอีกเลย

        ขอให้เราทั้งหลาย  จงเป็นผู้เป็นอิสระตลอดกาล  จากรอยด่างของความริษยา และความเคียดแค้น  เราสำนึกได้แล้วในบาป  และกรรมชั่วทั้งหลายของเรา  อันเราได้ประกอบขึ้นแล้วด้วยใจอันเต็มไปด้วยความริษยาและความเคียดแค้น  ขอให้บาปทั้งมวลนั้น จงเป็นสิ่งที่ไถ่ถอนหมดสิ้นแล้วในทันทีนี้  และขออย่าให้กลับเกิดมีมาอีกเลย

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  นี่แหละที่เราเรียกว่า  "เซ็น-ฝู่ อันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม"
อะไรเล่าเป็นความหมายของ  เซ็น และ ฝู่ (กฺษมยติ) ในที่นี้?

เซ็น นั้นถึงความสำนึกบาปอันเป็นอดีต  การสำนึกถึงตัวบาปและกรรมชั่วทั้งปวงในอดีต 
อันเราได้ประกอบขึ้นแล้ว  ด้วยอำนาจความรู้ผิด ความไม่รู้  ความเย่อหยิ่ง  ความอวดดี 
ความเคียดแค้น  หรือความริษยาและอื่นๆ ได้ ฯลฯ  จนถึงกับทำความสิ้นสุดให้แก่บาปเหล่านี้ได้เรียกว่า เซ็น. 

ฝู่ นั้นเล็งถึงการสำนึกบาปส่วนที่จะเกิดขึ้นด้วยการกระทำในอนาคตของเรา 
เมื่อเห็นแจ้งชัดถึงธรรมชาติอันเราอาจล่วงละเมิดได้ (ในอนาคต) 
เราย่อมตั้งปฏิญาณว่าแต่นี้ต่อไป  เราขอทำความสุดสิ้น แก่กรรมชั่ว ทุกประเภท 
อันเกิดขึ้นมาจากความรู้ผิด  ความไม่รู้ ความเย่อหยิ่ง  ความอวดดี  ความเคียดแค้น  หรือความริษยา 
และว่า เราจะไม่ก่อบาปขึ้นอีกต่อไป  นี้เรียกว่า ฝู่

        เนื่องจากความไม่รู้และรู้ผิดเป็นเหตุ คนทั้งหลายย่อมไม่เห็นชัดแจ้งว่าในการทำความสำนึกบาปนั้น  เขาไม่ควรจะเพียงแต่รู้สึกเสียใจ  เพราะบาปกรรมที่ทำมาแล้วอย่างเดียว  แต่เขาควรจะละเว้นเด็ดขาดจากการทำบาปใหม่ในอนาคตด้วย  เนื่องจากเขาไม่ใส่ใจสำรวมถึงการกระทำในอนาคตนั่นเอง  เขาประกอบบาปขึ้นใหม่ ก่อนแต่ที่จะไถ่ถอนบาปเก่าให้สิ้นไป  เราจะเรียกการกระทำเช่นนั้นว่า  "การสำนึกบาป"  ได้อย่างไรกันเล่า?
       


ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เมื่อได้มีการสำนึกบาปชำระตัวแล้ว
 
เราควรจะตั้งไว้ซึ่ง

ปฏิญาณรวบยอด 4 ประการ*26 ดังต่อไปนี้

เราขอปฏิญาณ ที่จะปลดปล่อย สัตว์มีวิญญาณ
 
มีปริมาณไม่จำกัด อันเป็น ของ แห่งใจ ของเราเอง.

        เราขอปฏิญาณ ที่จะเพิกเสีย ซึ่งกิเลส มีปริมาณคณานับไม่ได้ 
ในใจของเราเอง

        เราขอปฏิญาณ ที่จะศึกษา ระบอบธรรม อันนับไม่ถ้วน
แห่งจิตเดิมแท้ของเรา

        เราขอปฏิญาณ ที่จะเข้าให้ถึง พุทธภาวะ  อันสูงสุด
แห่งจิตเดิมแท้ของเรา


*26 ปฏิญาณรวบยอด 4 ประการ นั้น คำว่ารวบยอดหมายความว่า กินหมดถึงหลักทุกๆ หลักในการปฏิบัติ หรือตัวศาสนาก็ตาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 กุมภาพันธ์ 2553 13:05:28 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553 13:03:54 »



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  บัดนี้เราทั้งหมดได้ประกาศออกไปแล้วว่าเราปฏิญาณในอันที่จะปลดปล่อยสัตว์มีวิญญาณ  อันมีประมาณไม่จำกัด  แต่นั้นหมายความว่าอย่างไรเล่า? มันมิได้หมายความว่า อาตมา,เว่ยหล่าง  กำลังจะปลดปล่อยสัตว์นั้น. และอะไรเล่าคือสัตว์มีวิญญาณเหล่านั้น  อันมีอยู่ในใจของเรา?

สัตว์เหล่านั้นคือ  ใจที่หลงผิด ใจที่เป็นมายา ใจชั่วร้ายและใจอื่นๆ ทำนองนั้น เหล่านี้ทั้งหมด  เรียกว่าสัตว์ที่มีวิญญาณ *27  สัตว์เหล่านี้แต่ละตัวจำจะต้องปลดปล่อยตัวมันเอง  โดยอาศัยอำนาจแห่งจิตเดิมแท้ของมัน แล้วการปลดปล่อยนั้น  ก็จะเป็นการปลดปล่อยอันเลิศแท้.

        ในเรื่องนี้  การปลดปล่อยตัวเองโดยอาศัยจิตเดิมแท้ของตัวเองนั้น  หมายความว่าอย่างไรเล่า? มันหมายถึงการหลุดรอดของสัตว์ที่โง่เขลา ที่หลงผิด ที่หลงทรมาน อันมีอยู่ในใจเรา  ออกไปได้โดยอาศัยสัมมาทิฏฐิ   โดยได้อาศัยสัมมาทิฏฐิและปัญญา  สิ่งกางกั้นต่างๆที่สัตว์ผู้ไร้ความรู้และรู้ผิดเหล่านั้นแต่ละตัว จะอยู่ในฐานะปลดปล่อยตัวเองออกไปได้  ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัว ผู้ผิดจงปลดปล่อยตัวเองได้  ด้วยอาศัยความถูก ผู้รู้ผิดจงปลดปล่อยตัวเองได้ ด้วยอาศัยความรู้แจ้ง  ผู้ไม่รู้  ด้วยอาศัยปัญญา  และผู้เต็มอยู่ด้วยโทษ  ด้วยการอาศัยคุณนี้คือการปลดปล่อยอันเลิศแท้.

        สำหรับข้อปฏิญาณที่ว่า  "เราขอปฏิญาณที่จะเพิกเสียซึ่งกิเลสอันชั่วร้ายภายในใจ  อันมีปริมาณคณานับไม่ได้"  นั้น ย่อมเล็งถึงการปลดออกเสียซึ่งกลุ่มของความคิดอันเชื่อถือไม่ได้  และเป็นมายาหลอกลวง  โดยนำเอาปัญญาแห่งจิตเดิมแท้เข้ามาใส่แทนที่.

        สำหรับข้อปฏิญาณที่ว่า "เราขอปฏิญาณที่จะศึกษาระบบธรรม อันนับไม่ถ้วน"  นั้น  ควรจะวางหลักลงไปว่า  การศึกษาที่แท้จริงจะยังมีไม่ได้  จนกว่าเราจะได้เผชิญหน้ากับจิตเดิมแท้ของเราเสียก่อน.  และจนกว่าเราจะมีความเป็นไปของเรากลมเกลียวกันได้กับธรรมะอันถูกต้อง ในทุกโอกาสเสียก่อน

        สำหรับข้อปฏิญาณที่ว่า  "เราขอปฏิญาณที่จะเข้าให้ถึงพุทธภาวะอันสูงสุด" นั้น อาตมาปรารถนาที่จะชี้ ให้ท่านทั้งหลายเห็นชัดว่า เมื่อเราสามารถน้อมจิตของเรา ไปตามทางแห่งธรรมะอันแท้  และถูกตรงในทุกโอกาส  และเมื่อปัญญาแจ่มแจ้งอยู่ในใจของเราไม่ขาดสาย  จนกระทั่งเราสามารถตีตัวออกห่างเสียได้ทั้งจากความรู้แจ้งและความไม่รู้ ไม่ข้องแวะด้วยกับทั้งความจริงและความเท็จ เมื่อนั้นแหละ  เราอาจจะถือว่าตัวเราได้รู้แจ่มชัดแล้วในธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ *28 หรืออีกนัยหนึ่ง  ได้ลุถึงแล้วซึ่งพุทธภาวะ
 


*27 การที่เรียกใจที่ชั่วร้ายนานาชนิด  ว่าสัตว์มีวิญญาณในที่นี้  เป็นสำนวนศาสนาชนิดหนึ่งซึ่งถือว่าสิ่งทั้งปวงสำคัญอยู่ที่ใจ สำเร็จอยู่ที่ใจ หรือออกไปจากใจ และเป็นสิ่งที่น่าสงสารที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญญา พิจารณาเห็น  ผู้แปลไทย พุทธทาส

*28ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ หรือพุทธภาวะ ซึ่งมีประจำอยู่ที่จิตเดิมแท้  สองคำนี้ เป็นคำที่อธิบายยาก  ท่านจึงต้องชี้ไว้ด้วยลักษณะอาการ ทำนองการอนุมานว่า เมื่อใดจิตสะอาดและฉลาดและสงบ ถึงขนาดที่มองเห็นว่า  ความจริงกับความเท็จก็เป็นของไม่น่ายึดถือ  เท่ากัน ความตรัสรู้  กับความโง่เขลาก็เป็นของไม่น่ายึดถือ เท่ากัน  เมื่อนั้น ใจนั้นชื่อว่า อยู่ในมาตรฐานที่รู้จักพุทธภาวะ อันมีอยู่เองแล้ว  ในจิตเดิมแท้ของคนทุกคน ผู้แปลไทย พุทธทาส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กรกฎาคม 2553 06:37:54 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553 13:50:41 »



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เราควรจะสำเหนียกอยู่ในใจให้ได้เสมอไปว่า  เรากำลังไต่ไปเรื่อยๆตามทางแห่งมรรคปฏิปทา  เพราะว่าการทำในใจเช่นนั้นย่อมเพิ่มกำลังให้แก่ปฏิญาณของเรา  บัดนี้  เนื่องจากเราได้ตั้งไว้ ซึ่งปฏิญาณรวมยอด 4 ประการ  เหล่านี้แล้ว  อาตมาจะได้แสดงแก่ท่านทั้งหลาย ถึง "เครื่องส่องทาง *29 มีองค์สามประการอันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม *30" สืบต่อไป


เราถือเอา "การรู้แจ้ง(ตรัสรู้) ว่าเป็นเครื่องนำทางของเรา
เพราะว่านั่นแหละ
คือยอดสุดทั้งของบุญและปัญญา

        เราถือเอา "ความถูกต้องตามธรรมแท้"  ว่าเป็นเครื่องนำทางของเรา
เพราะว่านั่นแหละ
คือหนทางที่ดีที่สุดแล้ว ของการรื้อถอนตัณหา.

        เราถือเอา  "ความบริสุทธิ์" ว่าเป็นเครื่องนำทางของเรา
 เพราะว่านั่นแหละ
คือคุณชาติอันประเสริฐที่สุดของการได้เกิดเป็นมนุษย์


ต่อไปนี้จงถือเอาท่านที่ตรัสรู้แล้ว  เป็นครูของเรา  ในทุกกรณี  เราไม่ควรรับเอาพญามาร  (บุคคลาธิษฐานแห่งความชั่ว) หรือมิจฉาทิฏฐิบุคคลอื่นใดว่าเป็นผู้นำของเรา  ข้อนี้เราอาจน้อมนำเข้ามาสู่ใจเราได้  โดยการน้อมระลึกถึงอยู่เนืองนิจใน "รัตนะทั้งสาม"  แห่งจิตเดิมแท้ของเรา  ซึ่งในรัตนะเหล่านี้เอง  ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อาตมาแนะนำให้ท่านทั้งหลายถือเอาเป็นที่พึ่ง รัตนะเหล่านั้นคือ:-

พระพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นตัวแทนของ  "ความรู้แจ้ง(ตรัสรู้)"

         พระธรรม  ซึ่งเป็นตัวแทนของ "ความถูกต้องตามธรรมแท้"

        พระสงฆ์  ซึ่งเป็นตัวแทนของ  "ความบริสุทธิ์"




   การน้อมใจของเราให้ถือเอา  "ความรู้แจ้ง" เป็นที่พึ่งได้
จนถึงกับความรู้สึกที่ชั่วร้าย  และผิดธรรมไม่อาจเกิดขึ้นได้ 
ตัณหาห่างจากไป  ความตึงเครียดไม่ปรากฏ 
ราคะและโลภะไม่รึงรัดอีกต่อไป  นั่นแหละคือยอดสุด ทั้งของบุญและปัญญา

        การน้อมใจของเราให้ถือเอา  "ความถูกต้องตามธรรมแท้"  เป็นที่พึ่งได้ 
จนถึงกับเราเป็นอิสระอยู่เสมอ  จากความเห็นผิด 
(ซึ่งถ้าปราศจากความเป็นผิดแล้ว  ก็ไม่อาจจะเกิดความยึดถือตัวตน  ความเย่อหยิ่ง
 หรือความทะเยอทะยานขึ้นมาได้)
นั่นแหละ คือหนทางอันประเสริฐที่จะถอนเสียได้ซึ่งตัณหา.

        การน้อมใจของเรา  ให้ถือเอา  "ความบริสุทธิ์" เป็นที่พึ่งได้ 
จนถึงกับไม่ว่าสถานะการณ์อันใดจะเข้ามาแวดล้อมใจ ก็ไม่ถูกทำให้เปื้อน
ด้วยวัตถุอารมณ์ 
อันน่าขยะแขยง  ด้วยความทะเยอทะยานและตัณหา
 นั่นแหละ  คือคุณชาติอันประเสริฐสุดของการได้เกิดมาเป็นคน


*29 เครื่องส่องทาง Guidance ในที่นี้โดยความหมายก็ตรงกับคำว่า สรณะ เพราะสรณะก็คือเครื่องสำหรับให้ใจหน่วงไป หรือดึงดูดใจไปหา.  แต่ข้าพเจ้าคงแปลว่า "เครื่องส่องทาง" อนุโลมตามรูปศัพท์ในภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่เชื่อว่าต้นฉบับเดิมในภาษาจีนใช้คำที่ตรงกับคำว่า สรณะ  ผู้แปลไทย พุทธทาส

*30 "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม"  ในตอนนี้มีอธิบายชัดอยู่ในตัวแล้ว  คือคำว่าพระพุทธเจ้า ก็ไม่หมายเอาองค์หรือร่างกายพระพุทธเจ้า  แต่หมายเอาตัวความรู้  พระธรรม ก็ไม่ได้หมายเอาคัมภีร์หรือเสียง หรือภาพ แต่หมายเอาตัวความถูกต้อง  พระสงฆ์ไม่ไม่หมายเอาผ้าเหลืองหรือตัวคน  แต่หมายเอาตัวความบริสุทธิ์ เช่นนี้ทำให้เราเข้าใจความหมายของคำว่า "Formless" หรือ "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม"  ตามความหมายของพระสังฆปริณายก นั้นได้ง่ายขึ้น ผู้แปลไทย พุทธทาส
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2553 14:27:03 »


    การปฏิบัติใน  "เครื่องส่องทางมีองค์สาม" ตามวิธีที่กล่าวมาแล้วนี้ ย่อมหมายถึงการทำที่พึ่งในตัวของตัวเอง (คือในจิตเดิมแท้ของผู้นั้นเอง)*31 พวกคนเขลาพากันถือสรณะ  "เครื่องส่องทางมีองค์สาม"  ทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่เขาหาเข้าใจในสิ่งนี้ไม่ ถ้าเขากล่าวว่า เขาถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้า เขาทราบหรือว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? ถ้าเขาไม่สามารถเห็นพระพุทธเจ้าได้ แล้วเขาจะสามารถถือที่พึ่งในพระองค์ได้อย่างไร?  การที่เขายืนยันเช่นนั้นมิกลายเป็นเท็จไปหรือ?

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายแต่ละคนควรจะพิจารณา และสอบสวนข้อเท็จจิรงในแง่นี้ให้แจ้งชัด  เพื่อตัวท่านเอง  และอย่างปล่อยให้กำลังกายและกำลังความคิดของท่าน  ถูกใช้ไปผิดทาง  พระสูตรได้กล่าวไว้ชัดแล้วว่า*31 เราควรจะถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าภายในตัวเราเอง  ไม่ได้กล่าวสอนไว้เลยว่าให้ถือพระพุทธเจ้าอื่นๆ นอกจากนี้เป็นที่พึ่ง ยิ่งกว่านั้นถ้าหากว่าเราไม่ถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าภายในตัวเราเองแล้ว  ก็ไม่มีที่อื่นใดอีก  ที่จะถือเอาเป็นที่พึ่งที่ต้านทานแก่เราได้เมื่อได้พิจารณาเห็นความจริงในข้อนี้  โดยกระจ่างแล้วเราทั้งหลายแต่ละคนจงถือเอาที่พึ่งใน "รัตนะทั้งสาม" ภายในตัวเราเองเถิด  ในภายในเราบังคับใจของเราเอง  ภายนอก  เรานอบน้อมต่อผู้อื่น นี่แหละ  คือวิถีทางแห่งการถือที่พึ่งภายในตัวเราเอง

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เมื่อท่านทุกคนได้ถือเอา  "เครื่องส่องทางมีองค์สาม"  นี้แล้ว  อาตมาก็จะได้กล่าวแก่ท่านทั้งหลาย  ถึงเรื่องตรีกาย (กายสามอย่าง) ของพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้ สืบไป  เพื่อว่าท่านทั้งหลายจะสามารถเห็นกายทั้งสามนี้ แล้วจะเห็นแจ้งในจิตเดิมแท้อย่างชัดเจนด้วย จงตั้งใจฟังให้ดี  และว่าตามดังๆ พร้อมกันทุกคน  เหมือนที่อาตมาจะว่านำ:-




ด้วยกายเนื้อของเรานี้  
เราขอถือที่พึ่งในธรรมกายอันบริสุทธิ์ (คือกายแก่น)
ของ
พระพุทธเจ้า

        ด้วยกายเนื้อของเรานี้  
เราขอถือที่พึ่งในสัมโภคกายอันสมบูรณ์(คือการแสดงออก)
ของ
พระพุทธเจ้า

        ด้วยกายเนื้อของเรานี้  
เราขอถือที่พึ่งในนิรมานกายอันมากมายตั้งหมื่นแสน(กายเปลี่ยนรูปต่างๆ)
ของ
พระพุทธเจ้า



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  กายเนื้อของเรานี้  อาจเปรียบกันได้กับโรงพักแรก (คือที่อาศัยชั่วคราว)  ดังนั้นเราจึงไม่สามารถยึดเอาเป็นที่พึ่ง ในภายในจิตเดิมแท้ของเรา  เราอาจหาพบกายทั้งสามนี้ และเป็นของสาธารณะทั่วไปสำหรับทุกคน  แต่เนื่องจากใจ(ของคนธรรมดาสามัญ) ทำกิจอยู่ด้วยความรู้ผิด เขาจึงไม่ทราบถึงธรรมชาติแท้ ในภายในกายของเขา  ผลจึงเกิดมีว่า เขาไม่รู้จักตรีกาย ภายในตัวของเขาเอง (มิหนำซ้ำยังเชื่อผิดๆ อีก) ว่าตรีกายนั้นเป็นสิ่งที่ต้องแสวงหาจากภายนอก  ท่านจงตั้งใจฟังเถิด อาตมาจะแสดงให้ท่านเห็นว่าในตัวท่านเอง  ท่านจะหาพบตรีกายเป็นปรากฏการณ์  อันแสดงออกของจิตเดิมแท้  อันเป็นสิ่งที่ ไม่อาจหาพบได้ จากภายนอก


*31 พระสังฆปริณายกต้องการจะชี้ให้เห็นว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชนิดที่เป็นรูปธรรมนั้น คนละอย่างต่างจากตัวพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  ที่เป็นลักษณะของจิตเดิมแท้  และท่านสอนสาวกของท่านให้ถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างนัยหลัง จึงขัดกัน  อย่างที่จะเข้ากันไม่ได้  หรือฟังกันไม่ถูกกับพวกที่ถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชนิดที่เป็นรูปธรรม และด้วยเหตุนี้เอง  ท่านจึงต้องใช้คำว่า "Formless" กำกับอยู่เสมอทุกแห่งในหัวข้อคำสอนของท่าน ผู้แปลไทย พุทธทาส

*31 พระสูตร ในที่นี้หมายถึงสูตรฝ่ายมหายาน  และโดยเฉพาะหมายถึงวัชรเฉทิกสูตรซึ่งข้าพเจ้าจะได้หาโอกาสสอบดูต่อไป พระสูตรเล่มจีน เรียก กิมกังเก็ง ผู้แปลไทย พุทธทาส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กรกฎาคม 2553 07:06:36 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553 13:59:25 »



 ในที่นี้  อะไรเล่าชื่อว่าธรรมกายอันบริสุทธิ์? จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสุทธิ์จริงแท้  ทุกสิ่งทุกอย่าง  เป็นเพียงอาการแสดงออกของจิตนี้กรรมดีกรรมชั่ว  เป็นเพียงผลของความคิดดีและคิดชั่วตามลำดับ  ฉะนั้น ภายในจิตเดิมแท้ สิ่งทุกสิ่ง (ย่อมบริสุทธิ์จริงแท้) เหมือนกับสีของท้องฟ้ากับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์  ซึ่งเมื่อเมฆผ่านมาบังความแจ่มนั้นดูประหนึ่งว่าถูกทำให้มัวไป  แต่เมื่อเมฆผ่านไปแล้ว  ความแจ่มกลับปรากฏอีก และสิ่งต่างๆก็ได้รับแสงที่ส่องมาเต็มที่อย่างเดิม  ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  จิตชั่วของเราเปรียบเหมือนกับเมฆ  ความรู้แจ้งแทงตลอด  และปัญญาของเราเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ตามลำดับ  เมื่อเราพัวพันอยู่กับอารมณ์ภายนอก

จิตเดิมแท้ของเรา  ก็ถูกบดบังไว้ด้วยความรู้สึกที่ติดรสของอารมณ์  ซึ่งย่อมเป็นการปิดกั้นความรู้แจ้งแทงตลอด และปัญญาของเราไว้  มิให้ส่องแสงออกมาภายนอกได้ แต่เผอิญเป็นโชคดีแก่เราอย่างเพียงพอ ที่ได้พบกันกับครูผู้รอบรู้และอารีที่ได้นำธรรมะอันถูกต้องตามธรรมมาให้เราทราบ  เราจึงสามารถกำจัดอวิชชาและความรู้ผิดเสียได้  ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรา  จนถึงกับเราเป็นผู้รู้แจ้งสว่างไสว  ทั้งภายในและภายนอก  และธรรมชาติแท้ของสิ่งทั้งปวง  ปรากฏ ตัวมันเองอยู่ภายในจิตเดิมแท้ของเรา  นี่แหละคือสิ่งซึ่งบังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ได้เผชิญหน้ากันกับจิตเดิมแท้  และนี่แหละ  คือสิ่งซึ่งเรียกว่า  ธรรมกายอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  การถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าที่จริงแท้นั้น ก็คือการถือที่พึ่งในจิตเดิมแท้  ของเราเอง ผู้ที่ถือที่พึ่งเช่นนี้ ย่อมจะพรากสิ่งต่อไปนี้ออกเสียจากจิตเดิมแท้ ของตน คือจิตชั่วต่ำ จิตริษยา จิตสอพลอ คดๆ งอๆ ความยึดถือตัว ความคดโกงและมดเท็จ  ความดูถูก ดูแคลน ความโอหัง ความเห็นผิด  ความเย่อหยิ่งจองหอง  และความต่ำทรามอื่นๆ อันจะมีเกิดขึ้นใจจิตไม่ว่าในเวลาใดๆ  การถือที่พึ่งในตัวเราเองนั้น  คือการระวังระไวอยู่ตลอดเวลาในการที่จะไม่ทำชั่วทำผิด  และงดขาดจากการวิพากษ์วิจารณ์ความดี  หรือความผิดของบุคคลอื่น  ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตัวอยู่เสมอทุกโอกาส มีอัธยาศัยสุภาพต่อคนทุกๆคน ย่อมเป็นผู้ที่ได้เห็นจิตเดิมแท้ของเขาอย่างทั่วถึงแล้ว ทั่วถึงจริงๆ  จนถึงกับหนทางข้างหน้าของเขาจะปราศจากอุปสรรคทุกประการ  นี่แหละคือวิถีทางที่จะทำที่พึ่ง ในตนเอง

                    http://i907.photobucket.com/albums/ac279/manow_010/manow1/rain25.gif
พระสูตรเว่ยหล่าง


        อะไรเล่า  ชื่อว่าสัมโภคกายอันสมบูรณ์  ในที่นี้ขอให้เรานึกถึงตะเกียงเป็นภาพเปรียบ  แม้แต่แสงตะเกียงเพียงดวงเดียว ก็ยังสามารถทำลายความมืด ที่มืดมานับพันๆปีได้ ฉะนั้น ประกายแห่งปัญญาย่อมสามารถทำลายอวิชชาที่มืดมาเป็นยุคๆ ได้เช่นกัน  เราไม่ต้องวิตกกังวลถึงอดีต  เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ล่วงพ้นมาแล้ว  และไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ สิ่งที่ต้องการความสนใจจากเราคืออนาคต ฉะนั้น จงให้ความคิดของเราเป็นสิ่งที่กระจ่าง และกลมกล่อมอยู่ทุกขณะจิตเถิด  และให้เห็นอย่างเผชิญหน้าอยู่กับจิตเดิมแท้ทุกเมื่อเถิด  ความดีกับความชั่วเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามต่อกันและกันอยู่ก็จริง แต่ว่าตัวเนื้อแท้ส่วนลึกของมันนั้น ไม่สามารถจะแยกออกเป็นสองฝ่าย*32 ธรรมชาติชั้นที่เราไม่สามารถแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายนี่เอง  คือตัวธรรมชาติแท้ (กล่าวคือความจริงแท้อันเด็ดขาด) ซึ่งไม่สามารถถูกทำให้เปื้อนด้วยความชั่ว หรือวิปริตไปอย่างใดอย่างหนึ่ง  ด้วยอำนาจของความดี นี่แหละคือสิ่งซึ่งเรียกว่า สัมโภคกายของพระพุทธเจ้า



*32 ข้อความวรรคนี้  คงจะเข้าใจยากยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นกับธรรมประเภทนี้  ว่ามีความดีกับความชั่ว  เป็นของที่เห็นชัดว่าผิดตรงข้าม  แต่ส่วนเนื้อแท้ส่วนลึกของมันเป็นอันเดียวกัน ไม่สามารถแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายนั้น  คือว่า ปรากฏการณ์ข้างนอกของความดีความชั่ว  หรือผลอันจะเกิดจากความดีความชั่วแก่เรา  หรือลักษณะอื่นๆ ก็ตามล้วนแต่ตรงกันข้าม จนคนทั่วไปเรียกว่าเป็นของคู่  คือคนละอย่างตรงกันข้าม แต่เมื่อปัญญาแทงตลอดลงไปถึงตัวจริงส่วนลึก(Quintessence)ของมันแล้ว  การกลับปรากฏไปเสียว่ามาจากตัณหาด้วยกัน  เป็นสังขารด้วยกัน  อวิชชาปรุงแต่งขึ้นด้วยกัน ไม่อาจแบ่งแยกเป็นสองฝ่ายในขั้นนี้ซึ่งเป็นขั้นรากเง้าของมัน  ใครเห็นชัดความจริงในส่วนนี้ ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้  ในส่วนสัมโภคกายของพระองค์ คำว่า Quintessence นั้น ตามตัวอักษรแปลว่า  อายตนะที่ห้า  หรือมูลธาตุที่ห้า ดิน น้ำ ลม ไฟ คือสี่ธาตุ ธาตุที่ห้า คือใจ  เมื่อใช้กับวัตถุ หมายถึงส่วนที่เป็นตัวแท้ของมัน  ที่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ข้างนอก  ในที่นี้ใช้กับความดี ความชั่ว คำนี้จึงหมายถึง "ตัวแท้ชั้นในหรือชั้นลึก"ของสิ่งนี้ ผู้แปลไทย พุทธทาส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กรกฎาคม 2553 07:57:49 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553 15:17:41 »



  ความคิดชั่วร้ายเพียงดวงเดียว  จากจิตเดิมแท้ของเรา  อาจจะทำลายความดีที่เราสร้างสม  อบรมมานาน  นับเป็นสมัยๆ ให้เสื่อมเสียไปหมดได้ทำนองเดียวกับความคิดอันดีงานจากจิตเดิมแท้นั่นอีกเหมือนกัน อาจจะชำระชะล้างบาปอกุศลของเรา  ซึ่งแม้จะมากมายเหมือนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ได้ดุจกันการเห็นประจักษ์ชัดต่อจิตเดิมแท้ของเราเองอยู่ทุกขณะจิต  ปราศจากการแทรกแซงจนกระทั่งลุถึงการตรัสรู้ขั้นสูงสุด ถึงงกับอยู่ในภาวะแห่งความเต็มเปี่ยมด้วยความรู้ อันถูกต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นั่นแหละ คือสัมโภคกาย

     
ทีนี้ อะไรเล่า ชื่อว่านิรมานกายอันมากมายนับด้วยหมื่นแสน?
เมื่อใดเราทำตัวเรา ให้เข้ามาอยู่ในฝักฝ่ายของความรู้จักแบ่งแยกว่า อะไรเป็นฝ่ายไหน

 และระบุออกไปว่า อะไรเป็นสิ่งที่ควรต้องการ  ได้แม้แต่เพียงนิดเดียวเท่านั้น 
เมื่อนั้นความเปลี่ยนรูปแปลงร่างก็จะเกิดขึ้น (แก่ตัวเราเอง)*33

ถ้าผิดไปจากนี้  สิ่งทุกสิ่งจะยังคงว่างเปล่า เหมือนกับอวกาศ  ดังเช่นที่มันเป็นอยู่ในตัวมันเองมาแต่เดิม
 โดยการเอนอิงจิตของเราลงไปบนสิ่งชั่ว  นรกก็เกิดขึ้น

โดยการเอนอิงจิตของเราลงไปบนการกระทำกรรมดี  สวรรค์ก็ปรากฏ

มังกรและงูร้าย คือการแปลงร่างมาเกิดของเวรภัยอันมีพิษ
 เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ก็คือตัวตน ของความเมตตากรุณา  จับกลุ่มกันมาเกิด

ซีกบนคือปัญญาซึ่งจับตัวกันเป็นผลึก ส่องแสงจ้าอยู่ 
ในขณะที่โลกซึกล่างเป็นเพียงอีกรูปหนึ่งของสิ่งที่ก่อรูปมาจากอวิชชา  และความมัวเมา

การเปลี่ยนรูปแปลงร่างของจิตเดิมแท้ช่างมีมากมายเสียจริงๆ
พวกที่ตกอยู่ภายใต้ความหลงก็ไม่มีวันตื่น  และไม่มีวันเข้าใจ 

จึงน้อมใจลงสู่ความชั่วเสมอและประพฤติความชั่วนั้นเป็นปกตินิสัย




แต่ถ้าเขาจะน้อมจิตเลี้ยวจากความชั่ว มายังความดีงาม แม้แต่เพียงสักขณะจิตเดียวเท่านั้น
ปัญญาก็จะเกิดขึ้นทันที  นี่แหละ คือสิ่งซึ่งเรียกว่านิรมานกายของพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้ 

       ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ธรรมกาย คือ สิ่งซึ่งมีความเต็มเปี่ยมอยู่ในตัวเอง  อย่างแท้จริง 
การเห็นกันอยู่อย่างเผชิญหน้ากับจิตเดิมแท้ของคนทุกๆขณะจิต  นั้นคือ สัมโภคกาย ของพระพุทธเจ้า

การเอนอิงจิตของเราลงที่สัมโภคกายนั้น (จนถึงกับเกิดความสว่างหรือปัญญา) นั่นคือนิรมานกาย
การปฏิบัติให้ลุถึงการตรัสรู้  ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราเอง และการที่ตนเองปฏิบัติความดีงาม
ตามที่มีอยู่ในจิตเดิมแท้ของตนเอง นั่นแหละ คือกรณีชั้นเลิศของ "การถือที่พึ่ง"

กายเนื้อของเรานี้ประกอบอยู่ด้วยเนื้อและหนัง ฯลฯ มันไม่มากอะไรยิ่งไปกว่าเป็นที่พักแรม
(สำหรับอาศัยเพียงชั่วคราว)
 
ดังนั้นเราจึงไม่ถือที่พึ่งในกายเนื้อนั้น แต่เราจงพยายามให้เห็นแจ้งในตรีกายแห่งจิตเดิมแท้ของเราเถิด
และเราจะรู้จักพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้ของเราเอง


*33 ข้อความนี้ คงฟังยากสำหรับบางคน จึงขออธิบายเสียด้วยว่า พอปัญญาแท้จริงเกิดขึ้นแม้นิดเดียว ในขณะนั้นก็เกิดการเปลี่ยนรูปขึ้นภายในจิต  เช่นเปลี่ยนจากความมืด มายังความสว่าง จากความเปื้อน มาเป็นความสะอาด  จากความร้อนมาเป็นความเย็น เป็นต้น  เป็นของใหม่ขึ้นมา มากน้อยตามสมควรแก่ความรู้จักแยก (discrimination) และความรู้จักระบุของที่ควรต้องการ (particularization) ของตนเอง หมายความสั้นๆว่า พอปัญญาเกิด ก็ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในภายในด้วยเสมอไป ถ้าผิดไปจากนี้ ก็คือยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผู้แปลไทย พุทธทาส
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #36 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553 16:52:43 »

P1020011.AVI

http://img39.imageshack.us/img39/3604/1242385602.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง

(:LOVE:)จิตเดิมแท้ของมนุษย์มีความประภัสสรอยู่แต่ถูกห่อหุ้มด้วย"อวิชชา"คือความไม่รู้ รัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กุมภาพันธ์ 2553 16:57:43 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2553 17:18:25 »





อาตมามีโศลกโคลง *34 อันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" อยู่บทหนึ่ง

ซึ่งการท่องและการปฏิบัติตามโศลกโคลงนี้ จะสามารถเพิกอวิชชาให้สูญไป
และชำระชะล้างบาป
อันได้สะสมอบรมมานานนับด้วยกัลป์ๆได้ โดยสิ้นเชิง โศลกโคลงนั้นมีดังนี้:-

       
พวกที่จมอยู่ความเขลา ย่อมมัวแต่สะสมบุญอันแปดเปื้อน (ด้วยการลูบคลำของตัณหาและทิฏฐิ)*35 
ไม่ไต่ไปตามมรรคปฏิปทา

พวกนี้ตกอยู่ภายใต้ความรู้สึก ว่าการสะสมบุญ กับการไต่ไปตามมรรคปฏิปทานั้น
เป็นของสิ่งเดียวและอย่างเดียวกัน


        แม้ว่าบุญของคนพวกนี้ อันเกิดจากการให้ทานและการบูชา จะมีมากหาประมาณมิได้

        เขาก็ไม่เห็นแจ้งว่า  วิถีทางมาอันเฉียบขาดของบาปนั้น เนื่องอยู่กับมูลธาตุ อันมีพิษร้ายสามประการ
(โลภ โกรธ หลง)อันมีอยู่ในใจของตนเอง

        เขาคิดว่าเขาจะเปลื้องบาปของเขาได้ ด้วยการสะสมบุญ 
        โดยหารู้ไม่ว่าความสุขที่เขาจะได้รับในชาติข้างหน้านั้น ไม่มีอะไรเกี่ยวกับการเปลื้องบาปนั้นเลย


        ทำไมจึงไม่เปลื้องบาป (ด้วยวิธีที่ทำกัน) ภายในใจของตนเอง เพราะนั่นแหละ
เป็นการชำระบาป (ภายในจิตเดิมแท้ของเรา) อย่างแท้จริง


        คนบาปที่ได้มีความเห็นแจ้งขึ้นในทันทีทันใด ว่าอะไรจะนำมาซึ่งการสำนึกบาป อย่างแท้จริง
ตามวิธีของนิกายมหายาน

        และได้เลิกละเด็ดขาดจากการทำบาป ทำแต่ความดีงาม นี่แหละ คือ ผู้หมดบาป

        ผู้ที่ไต่ไปตามมรรคปฏิปทา ซึ่งกำหนดในจิตเดิมแท้อยู่เนืองนิจนั้น


        ควรถูกจัดเข้าในระดับชั้นเดียวกันกับ พุทธบุคคลอันมีประเภทต่างๆ


*34 โคลงโศลก ในที่นี้คือคำที่ผูกเข้าเป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ หรือโคลงในภาษาบาลีเรียกคำชนิดนี้ว่า "คาถา" หรือคำสำหรับขับ  "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" ในที่นี้  ก็เช่นเดียวกับที่อื่นนั่นเอง คือสอนวิธีปฏิบัติไม่เกี่ยวกับรูปธรรม  หรือพึ่งพาอาศัยรูปธรรม  ผู้แปลไทย พุทธทาส

*35 บุญเป็นสิ่งที่แปดเปื้อนหรือมีราคี  เพราะบุญทุกอย่างต้องอาศัยตัณหาและทิฏฐิ หรือย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเกิดขึ้นได้  ที่เป็นชั้นสูง  เช่นทิฏฐิที่ยังสำคัญว่าตัวตนบังคับให้ทำดีอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อตัวเช่นนี้ บุญนี้ ชื่อว่ายังถูกทิฏฐิ หรืออุปทานลูบคลำอยู่ ถ้าสูงพ้นนี้ไป คือมีความรู้สึกในความไม่มีตัวตน  ทำอะไรก็พ้นจากความเป็นบุญเสียแล้ว จึงมีหลักตายตัวว่า  บุญทุกชนิดต้องแปดเปื้อนแต่เป็นความแปดเปื้อนชนิดที่ถือกันว่าสวยเช่น การเขียนปาก เขียนคิ้ว  ของคนในสมัยนี้ เป็นตัวอย่าง  บุญย่อมนำหรือส่งเสริมให้เกิดในภพใดภพหนึ่งเสมอไป ซึ่งทำให้มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทางพุทธศาสนาจึงถือว่า  แม้บุญก็มีพิษร้ายเท่ากับบาป  แต่ว่าลึกซึ้งเกินกว่าที่คนธรรมดาจะมองเห็น  และเมื่อเขายังไม่สามารถทำอะไรให้สูงไปกว่านั้นได้  จึงให้ทำบุญกันไปก่อนดีกว่าทำบาป แต่เมื่อใดความเห็นจริง  เมื่อนั้น จะเบื่อบุญเท่ากับเบื่อบาป และหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์  ผู้แปลไทย พุทธทาส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กรกฎาคม 2553 16:36:42 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #38 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553 05:59:29 »



พระสังฆปริณายกของเราที่แล้วๆมา  ไม่ค่อยสอนระบบธรรมอย่างอื่นเลย นอกจากระบบ "ฉับพลัน"*36 นี้เท่านั้นขอให้ ผู้ปฏิบัติตามระบบนี้ทุกคน  จงเห็นอย่างเผชิญหน้าต่อ จิตเดิมแท้ของตน และอยู่กับพระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้ในทันที

        ถ้าท่านกำลังแสวงหาธรรมกาย

        ก็จงมองให้สูง  เหนือขึ้นไปจากลักษณะธรรมดา *37 (ปรากฏการณ์ต่างๆ) แล้วจิตเดิมแท้ของท่านก็จะบริสุทธิ์

จงตั้งตัวมั่น  ในความมุ่งหมายที่เห็นจิตเดิมแท้อย่างเผชิญหน้า อย่าถอยหลัง

        เพราะความตายอาจมาถึงโดยปัจจุบัน และทำชีวิตในโลกนี้ของท่าน  ให้สิ้นสุดลงโดยทันที

        ผู้ที่เข้าใจคำสอนตามหลักแห่งมหายาน และอยู่ในฐานะที่จะมองเห็นจิตเดิมแท้เช่นนี้

        ควรจะกระพุ่มมือทั้งสองเข้าด้วยกันอย่างนอบน้อม (ด้วยอาการแห่งความเคารพ) แล้วแสวงหาธรรมกาย ด้วยความกระตือรือร้นเถิด

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวเสริมอีกว่า:-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ท่านทั้งหลาย ควรสาธยายโศลกนี้และปฏิบัติตาม ถ้าท่านมองเห็นจิตเดิมแท้ของท่านหลังจากที่สาธยายแล้ว ท่านก็จะเห็นได้เองว่า ท่านได้อยู่ในที่เฉพาะหน้าของอาตมาตลอดไป แม้ว่าตามที่แท้ท่านอยู่ห่างออกไปตั้งพันๆไมล์ แต่ถ้าท่านไม่สามารถทำได้  แม้เราจะอยู่จ่อหน้ากันอย่างนี้  โดยทีแท้ก็คือเราอยู่ห่างกันตั้งพันๆ ไมล์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น  จะมีประโยชน์อะไรในการที่ท่านทนทรมานเดินทางจนมาถึงที่นี่ จากที่อันไกลแสนไกล จงระวังตัวของท่านให้ดี อาตมาลาก่อน

       บรรดาผู้มาประชุมกันนั้น เมื่อได้ฟังพระสังฆปริณายกกล่าวจบแล้ว ได้พากันรู้แจ้งเห็นจริง ด้วยอาการอันปลื้มปิติ เขาพากันร้บเอาคำสอน และนำไปปฏิบัติ



*36 ระบบฉับพลัน  หมายถึงระบบลัดตามวิธีนี้  เพื่อตัดขาดจากการมัวข้องแวะกับรูปธรรม นับตั้งแต่ตำราไปจนถึงบุญกุศลหรือสวรรค์ อ้นเป็นหลักสำคัญของท่านผู้นี้ ผู้แปลไทย พุทธทาส

*37 คำนี้ของเดิมว่า "ธรรมลักษณะ" หมายถึงลักษณะธรรมดาของสิ่งทั้งปวงทั่วไป ข้าพเจ้าไม่ทับศัพท์เพราะอาจเกิดความสับสนแก่ท่านผู้อ่านได้ ผู้แปลไทย พุทธทาส
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553 06:16:30 »




หมวดที่ 7

ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัย และสิ่งแวดล้อม

***********************************

       แม้ว่าพระสังฆปริณายก  จะได้กลับมายังตำบลโซฮัวแห่งเมืองชิวเจา จากวองมุยอันเป็นที่ซึ่งท่านได้รับมอบพระธรรม (แห่งนิกายธยานะจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อน)  อีกก็ตาม  ท่านก็ยังเป็นคนแปลกหน้า ที่ไม่มีใครรู้จักในหมู่คนทั้งหลายอยู่นั่นเอง  และผู้ทีให้การต้อนรับเลี้ยงดูอย่างครบครันแก่ท่านนั้น ได้แก่นักศึกษาแห่งลัทธิขงจื้อผู้หนึ่ง  ซึ่งมีนามว่าหลิวชีลั่ก เผอิญหลิวชีลั่กผู้นี้  มีน้าผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง ชื่อวูจูจอง  ได้บวชเป็นบรรพชิตในพุทธศาสนา  และโดยปรกติสวดสาธยายมหาปรินิวาณสูตรอยู่เป็นนิจ  เมื่อพระสังฆปริณายกได้ฟังการสาธยาย  ของสตรีผู้นี้เพียงชั่วเวลาหน่อยเดียวเท่านั้น ก็สามารถจับฉวยเอาใจความอันลึกซึ้งของพระสูตรนั้นได้  และได้เริ่มอธิบายแก่เธอ  เมื่อเป็นดังนั้น  สตรีผู้นี้ได้หยิบคัมภีร์ขึ้นมาถามถึงความหมายของข้อความตอนหนึ่งแก่ท่าน

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  อาตมาไม่รู้หนังสือ  แต่ถ้าท่านประสงค์จะทราบใจความ  แห่งพระคัมภีร์เรื่องนี้  ก็จงถามเถิด  นักบวชสตรีผู้นั้นจึงถามต่อไปว่า  เมื่อท่านไม่รู้จักแม้แต่จะอ่านถ้อยคำเหล่านั้นแล้ว  ท่านจะสามารถทราบถึงความหมายแห่งตัวสูตรได้อย่างไรเล่า?   พระสังฆปริณายกได้ตอบคำถามนี้ว่า  ความลึกซึ้งแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เกี่ยวอะไรกันเลยกับภาษาที่เขียนด้วยตัวหนังสือ

        คำตอบนี้  ได้ทำให้สตรีผู้นั้นรู้สึกประหลาดใจเป็นอันมาก  และเมื่อได้เล็งเห็นว่า  ท่านผู้นี้มิได้เป็นพระภิกษุอย่างธรรมดาสามัญแล้ว ก็ได้บอกกล่าวให้เป็นที่ทราบกันทั่วไป  ในบรรดาผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือในหมู่บ้านนั้น  เธอได้บอกกล่าวว่า  ท่านผู้นี้เป็นอริยะบุคคล  เราทั้งหลายควรขอร้องท่านให้พักอยู่ที่นี่  และขออนุญาตจากท่านเพื่อถวายอาหารและที่พักอาศัย

        ต่อมา  มีเชื้อสายแห่งท่านขุนนางชั้นสูง  คือท่าน หวู่ แห่งราชวงศ์อาย ผู้หนึ่ง มีนามว่า  โซชุกเหลียง  พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวนมาก ได้พากันมาในเวลาบ่ายวันหนึ่ง  เพื่อถวายความเคารพแด่พระสังฆปริณายก  วัดเปาลัมอัน เป็นวัดเก่าแก่ในประวัติศาสตร์  ซึ่งร้างไปเพราะภัยสงครามในปรายราชวงศ์ชิว  ในบัดนี้หักพังเหลือแต่เศษสิ่งของเป็นกองๆ นั้น  มหาชนได้พากันบูรณะขึ้นใหม่ตรงที่เดิมนั่นเอง  และได้ของร้องให้พระสังฆปริณายกอยู่อาศัยประจำที่นั่น ไม่นานนักก็กลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมาก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #40 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553 07:11:49 »



เมื่อได้อยู่ที่นั่นมาประมาณเก้าเดือนเศษ  ศัตรูผู้ปองร้ายท่าน  ก็ได้ติดตามมา  และคอยพยายามจองล้างจองผลาญท่านอีก  เนื่องด้วยเหตุนี้ท่านได้ไปหลบซ่อนยังภูเขาใกล้ๆกัน คนโหดร้ายเหล่านั้นได้จุดไฟเผาป่าซึ่งท่านได้ไปหลบซ่อนอยู่  แต่ท่านหนีรอดไปได้ด้วยหลบไปซ่อนอยู่บนชะง่อนฝา  ชะง่อนผาแห่งนี้  ซึ่งต่อมาเรียกว่า  "ภูเขาแห่งความปลอดภัย"  นั้น  ยังมีรอยคุกเข่าของพระสังฆปริณายกปรากฏอยู่  และยังมีรอยเป็นลายเนื้อผ้าแห่งเครื่องนุ่งห่มของท่านปรากฏติดอยู่บนแผ่นหินนั้นด้วย

        เมื่อท่านระลึกได้ถึงคำเตือน  ของพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า  ผู้เป็นครูของท่าน ที่ได้เคยสั่งไว้ว่า  "จงหยุดที่ตำบลเวย  แล้วซ่อนอยู่ผู้เดียวที่ตำบลวุย"  ดังนี้  ท่านจึงได้เอาตำบลทั้งสองนี้ เป็นที่หนีร้อน  และเวียนไปเวียนมา

        ภิกษุฟัตห่อย  ช่าวบ้านฮุกกองแห่งชิวเจา  เมื่อทำการสนทนากับพระสังฆปริณายกเป็นครั้งแรก  ได้ถามถึงความหมายของกระทู้ธรรมที่คนทุกคนสนใจบทหนึ่งที่ว่า "ใจคือสิ่งใด  พุทธะคือสิ่งนั้น"  พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า การไม่ปล่อยให้ความคิดที่ผ่านไปแล้วกลับเกิดขึ้นมาอีก นี่คือ  "ใจ" การไม่ปล่อยให้ความคิดที่กำลังจะเกิด ถูกทำลายไปเสีย  นี่คือ  "พุทธะ"  การแสดงออกซึ่งปรากฏการณ์ทุกชนิด นี่คือ  "ใจ"  การเป็นอิสระจากรูปธรรมทั้งปวง(คือการู้เท่าถึงความลวงตาของปรากฏการณ์ทั้งหลาย) นี่คือ  "พุทธะ" แต่ถ้าข้าพเจ้าจะต้องอธิบายแก่ท่านให้ครบถ้วนทุกกระบวนความ  เรื่องที่จะต้องนำมาพูดก็จะไม่จบสิ้นลงไปได้  แม้ว่าข้าพเจ้าจะใช้เวลาอธิบายสักกัลป์หนึ่ง  ดังนั้น จงฟังโศลกของข้าพเจ้าจะดีกว่า:-


ปรัชญา (ปัญญา) คือ  "สิ่งที่ใจเป็น"

สมาธิ คือ  "สิ่งที่พุทธะเป็น"

ในการบำเพ็ญปรัชญาและสมาธิ  ต้องให้แต่ละอย่างลงจังหวะกันและกัน

แล้วความคิดของเราก็จะบริสุทธิ์

คำสอนข้อนี้เข้าใจได้

ก็แต่โดยการ  "ประพฤติดูจนช่ำชอง"

ที่ว่าสมาธิตั้งมั่นนั้น   ที่จริงมิใช่สมาธิอะไรเลย

คำสอนที่ถูกต้องนั้นคือ ให้บำเพ็ญปัญญา คู่กันไปกับสมาธิโดยไม่แยกกัน
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3 4 5   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.426 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 01 มีนาคม 2567 07:59:27