[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 17:22:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คนตาย ขวัญไม่ตาย งานศพสนุกๆ หลายวัน เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว  (อ่าน 5357 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 มิถุนายน 2557 13:22:20 »

.



ผี เป็นคำในตระกูลไทย-ลาว หมายถึง อำนาจเหนือธรรมชาติ มี ๒ ส่วน ได้แก่
๑. ส่วนที่เป็นตัวตน คือ ซาก (หรือ ร่างกาย)
๒. ส่วนที่ไม่เป็นตัวตน คือ ขวัญ (ต่างจากวิญญาณ)


 คนตาย ขวัญไม่ตาย
คนตายในความเข้าใจของคนเมื่อหลายพันหลายหมื่นปีมาแล้วไม่น่าจะมีและเป็นอย่างเดียวกับปัจจุบัน

คนแต่ก่อนเชื่อว่าแม้ร่างกายเจ้าของขวัญจะตายไปแล้ว แต่ขวัญยังไม่ตาย เพราะขวัญของผู้ตายจะไปรวมพลังกับขวัญบรรพชนคนก่อนๆ (ที่ฝังอยู่ลานกลางบ้านหรือใต้ถุนเรือนบริเวณเดียวกัน) เพื่อปกป้องคุ้มครองชุมชนและเผ่าพันธุ์ พร้อมทั้งบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้ชุมชนตลอดปี

 
 งานศพสนุกๆ หลายวัน
บ้างก็เชื่อว่าคนที่นอนนิ่งอยู่นั้น ขวัญหายไปชั่วคราว และขณะนั้นขวัญกำลังหาหนทางกลับเหย้าเรือนเดิมและร่างเดิมของตนไม่วันใดก็วันหนึ่ง

ญาติมิตรในชุมชนต้องร่วมกันร้องรำทำเพลงสนุกสนานนานจนกว่าจะพอใจ เพื่อให้ขวัญได้ยิน แล้วกลับคืนถูกทาง

ด้วยความเชื่ออย่างนี้เอง งานศพในไทยสมัยก่อนๆ จึงสนุกสนานรื่นเริงต่อเนื่องหลายวัน (ไม่มีเศร้าโศก) ดูได้จากวรรณกรรมเก่าๆ เช่น อิเหนา พรรณนาการละเล่นงานศพ มีละครโขนหนังและดอกไม้ไฟสนุกตื่นเต้นมาก ไม่มีทุกข์โศกคร่ำครวญ (ครั้นได้รับคติพุทธศาสนาแล้ว ความเชื่อก็ปรับเปลี่ยนไปว่าเมื่อคนตายแล้วก็ไม่มีขวัญ แต่จะมีวิญญาณล่องลอยไปใช้กรรม เมื่อหมดกรรมก็เกิดใหม่)




 ขวัญ
ขวัญ คือส่วนที่ไม่เป็นตัวตนของคนและสัตว์ ซึ่งมีในความเชื่อตรงกันของคนทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์

(คำว่า ขวัญ ในตระกูลไทย-ลาว ที่ใช้สืบเนื่องมานานมาก น่าจะเป็นคำร่วมสุวรรณภูมิที่มีมาแต่ดั้งเดิมดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว มีใช้ในหลายตระกูลภาษา แต่นานเข้าก็ออกเสียงแล้วสะกดต่างไปมากบ้างน้อยบ้าง)

ขวัญมีหน่วยเดียว แต่ฝังกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง หรือทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่เกิดมามากกว่า ๓๐ แห่ง เช่น ขวัญหัว, ขวัญตา, ขวัญมือ, ขวัญแขน, ขวัญขา ฯลฯ และมีความสำคัญมากเท่าๆ กับส่วนที่เป็นตัวตนหรือร่างกาย

ทั้งยังมีความเชื่อร่วมกันอีกว่า ถ้าขวัญอยู่คู่กับร่างกาย เจ้าของขวัญจะมีความสุขสบาย แต่ถ้าขวัญออกจากร่างกายไป เจ้าของขวัญจะไม่เป็นปกติ อาจเจ็บไข้ได้ป่วยจนถึงตาย

เมื่อใดก็ตามที่เจ้าของขวัญเจ็บป่วยมาก แสดงว่าขวัญไม่ได้อยู่กับตัว ดังนั้นผู้ใหญ่ในครอบครัวต้องทำพิธีเรียกขวัญให้กลับเข้าสู่ตัว เพื่อให้เจ้าของขวัญอยู่ดีมีสุข

สัตว์และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและการทำมาหากินของคนล้วนมีขวัญทั้งนั้น เช่น ขวัญวัว, ขวัญควาย, ขวัญเรือน, ขวัญข้าว, ขวัญเกวียน, ขวัญยุ้ง ฯลฯ


 
 รูปขวัญ
ขวัญมีรูปร่างเป็นเส้นวงๆ วนเวียนซ้อนกันหลายชั้นตามต้องการ ดังลายเขียนสีบนหม้อบ้านเชียงเป็นลายวงๆ วนเวียนซ้อนกันหลายชั้น (คล้ายลายก้นหอย) เสมือนมีขวัญของคนตายอยู่ในหม้อใบนั้น

โดยช่างเขียนเคยเห็นลักษณะที่เชื่อว่านั่นคือขวัญ จากบริเวณโคนเส้นผมบนกลางกระหม่อมของทุกคน แล้วยังเห็นตามโคนเส้นขนที่เป็นขวัญบนตัวสัตว์ เช่น วัว, ควาย

ภาชนะเขียนสี ที่บ้านเชียง (อ.หนองหาน จ.อุดรธานี) อายุราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีลวดลายต่างๆ กัน แต่ที่พบมากจนเป็นลักษณะเฉพาะ แล้วเป็นที่รู้จักทั่วไปเรียกลายก้นหอย(แบบลายนิ้วมือ)

นั่นคือ ลายขวัญ ที่คนยุคนั้นทำขึ้นเพื่อทำขวัญ เลี้ยงขวัญ เรียกขวัญ สู่ขวัญ คนตาย (นับเป็นต้นแบบประเพณีเรียกขวัญใส่หม้อเพื่อเซ่นวักหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ขวัญอยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ร่อนเร่พเนจร เช่น เอาหม้อไปไว้หอผี หรือที่สาธารณะปากทางเข้าชุมชน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเรียกวิญญาณดุร้ายใส่หม้อ แล้วอธิบายไม่ได้ว่าทำไมใส่หม้อ?)

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าลายสลักรูปแฉกดาวบนหน้ากลองทองมโมโหระทึกคือรูปขวัญ ที่คนยุคนั้นเข้าใจและสร้างภาพขึ้น


 ทำขวัญ
พิธีกรรมเกี่ยวกับขวัญ เรียกว่าทำขวัญ (หรือสู่ขวัญ เรียกขวัญ เลี้ยงขวัญ) ในทุกช่วงสำคัญของชีวิตทั้งเหตุดีและไม่ดี ตั้งแต่เกิดจนตาย

เพื่อให้ผู้รับทำขวัญพ้นจากความวิตกกังวลหวาดกลัวหรือตกใจ ต่อการเปลี่ยนแปลงสู่สภาพแวดล้อมใหม่ ซึ่งเท่ากับสร้างความมั่นใจและความมั่นคงแก่ผู้รับขวัญ

ทำขวัญ, สู่ขวัญ, เรียกขวัญ, เลี้ยงขวัญ เป็นพิธีกรรมที่แสดงความผูกพันและความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติระหว่างบุคคลกับครอบครัว และบุคคลกับชุมชนในสังคมเกษตรกรรม ฉะนั้นพิธีจึงเริ่มจัดให้มีขึ้นอย่างง่ายๆ โดยพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดเท่านั้น

เมื่อรับศาสนาจากอินเดียแล้วพิธีทำขวัญอย่างง่ายๆ ในท้องถิ่นก็ถูกปรับเปลี่ยนให้ซับซ้อนขึ้นโดยรับคติพราหมณ์กับพุทธเข้ามาประสมประสาน

ดังจะเห็นว่าพิธีทำขวัญสมัยต่อมาจนถึงทุกวันนี้มักจะมีบายสีและแว่นเวียนเทียนเป็นเครื่องประกอบ และมีหมอขวัญเป็นผู้ชำนาญขับคำร้องขวัญ คือกล่าวเชิญทั้งผีฟ้าพญาแถนและทวยเทพยดามาปลอบขวัญ

(ทำขวัญปัจจุบัน คนอีสานถูกทำให้เชื่อว่าเป็นพิธีพราหมณ์ ไม่มีเป่าแคนคลอคำ    สู่ขวัญ แต่ลำผีฟ้ารักษาโรค เมื่อถึงช่วงสุดท้ายต้องมีพาขวัญ สู่ขวัญ เรียกขวัญ และต้องมีเป่าแคนคลอหมอร้องขวัญ)

บายสี เป็นคำเขมร หมายถึงเจ้าแม่ข้าว หรือข้าวขวัญที่จัดวางในกระทงใบตอง ต่อมารวมกระทงใส่เครื่องสังเวย จัดบายสีเป็นพิธีพราหมณ์ที่รับมาประสมกับพิธีพุทธใช้เคลือบพิธีผี เช่น พิธีทำขวัญนาค (ที่ไม่มีในพุทธบัญญัติ)


------------------------------
หมวดหมู่ : หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์)



ภาชนะสัมฤทธิ์ใส่กระดูกคนตาย ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีลายสลักเป็นรูปเรือศักดิ์สิทธิ์ พบที่เวียดนาม
พิธีศพ นานหลายวัน

พิธีศพของคนในภูมิภาคอุษาคเนย์ อาจนับเป็นพิธีศพยาวนานหลายวันที่สุดในโลกก็ได้ ที่สนุกสนานรื่นเริงด้วยการร้องรำทำเพลงเพื่อเรียกขวัญที่หายไปให้กลับคืนร่างเดิม
 
เพราะเชื่อว่าคนที่นอนนิ่งอยู่นั้นขวัญหายหรือขวัญหนีไปชั่วคราว อีกไม่นานจะกลับมาคืนร่างเดิมเป็นปกติ
 
จึงมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหรือบนเพิงผา มีอายุราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว เป็นขบวนแห่ตีฆ้องกลองและกระบอกไม้ไผ่เนื่องในงานศพ ซึ่งต้องเริ่มด้วยทำขวัญ มีเลี้ยงผีบรรพชน
 
เครื่องดนตรีงานศพอย่างนี้จะมีพัฒนาการต่อไปข้างหน้าเป็นเครื่องประโคมเป่าปี่ตีฆ้องกลองงานศพ เรียกวงปี่พาทย์ เป็นลักษณะเฉพาะของอุษาคเนย์ที่ใช้งานพิธีกรรมสำคัญอื่นๆ ด้วย เช่น โขนละคร, ทำบุญทั่วไป


คนตาย ขวัญไม่ตาย
คนตายในความเข้าใจของคนเมื่อหลายพันหลายหมื่นปีมาแล้วไม่น่าจะมีและเป็นอย่างเดียวกับปัจจุบัน
 
คนแต่ก่อนเชื่อว่าแม้เจ้าของขวัญจะตายไปแล้ว แต่ขวัญยังไม่ตาย เพราะขวัญของผู้ตายจะไปรวมพลังกับขวัญบรรพชนคนก่อนๆ (ที่ฝังอยู่ลานกลางบ้านหรือใต้ถุนเรือนบริเวณเดียวกัน) เพื่อปกป้องคุ้มครองชุมชนและเผ่าพันธุ์ พร้อมทั้งบันดาลความอุดมสมบูรณ์
 
แต่บ้างก็เชื่อว่าคนที่นอนนิ่งอยู่นั้น ขวัญหายไปชั่วคราว และขณะนั้นขวัญกำลังหาหนทางกลับเหย้าเรือนเดิมและร่างเดิมของตนไม่วันใดก็วันหนึ่ง
 
ด้วยความเชื่ออย่างนี้เอง งานศพในไทยสมัยก่อนๆ จึงสนุกสนานรื่นเริงต่อเนื่องหลายวัน (ไม่มีเศร้าโศก) ดูได้จากวรรณกรรม เช่น อิเหนา พรรณนาการละเล่นงานศพ มีละครโขนหนังและดอกไม้ไฟสนุกตื่นเต้นมาก ไม่มีทุกข์โศกคร่ำครวญ
 
(ครั้นได้รับคติพุทธศาสนาแล้ว ความเชื่อก็ปรับเปลี่ยนไปว่าเมื่อคนตายแล้วก็ไม่มีขวัญ แต่จะมีวิญญาณล่องลอยไปใช้กรรม เมื่อหมดกรรมก็เกิดใหม่)

 
พิธีศพ
พิธีศพ ก็คือพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย เป็นพิธีกรรมสำคัญที่สุดของมนุษย์อย่างน้อยตั้งแต่ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว สืบถึงปัจจุบัน
 
แต่เดิมเคยเชื่อว่าคนเรามาจากบาดาลทางน้ำที่อยู่ใต้พื้นดิน เมื่อคนตาย (ที่ยุคนั้นเข้าใจความตายต่างจากยุคนี้) ก็คือการกลับไปสู่ถิ่นเดิมในบาดาลที่มีนาคพิทักษ์อยู่
 
คนมีฐานะทางสังคม เช่น หัวหน้าเผ่าพันธุ์ หรือหมอผี เมื่อตายไป คนทั้งชุมชนร่วมกันทำพิธีศพใหญ่โต แต่ถ้าคนทั่วไปตายลงก็ทิ้งให้แร้งกากิน

 
เก็บศพหลายวัน
พิธีศพไม่ว่าจะเป็นบุคคลสำคัญหรือธรรมดา เครือญาติจะเก็บศพไว้หลายวันหลายคืน โดยกินเลี้ยงกินเหล้าแล้วขับลำบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของเผ่าพันธุ์
 
เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันก็แห่ศพที่อาจหุ้ม หรือห่อด้วยเครื่องจักสานอย่างใบไม้ไปฝังบริเวณที่กำหนดรู้กันว่าเป็นสถานที่เฉพาะ ซึ่งมักเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลางหมู่บ้าน มีเสาไม้ปักไว้เป็นเครื่องหมายล้อมรอบ
 
ต่อมาใช้แผ่นหินเป็นแท่งเล็กบ้างใหญ่บ้างตามฐานะของชุมชน แท่งหินนี้คนปัจจุบันเรียกหินตั้ง (ต่อไปเมื่อรับพุทธศาสนาแล้วเรียกว่าเสมาหิน หรือใบเสมาในปัจจุบัน)

 
ฝังศพ
ขบวนแห่ศพมีเครื่องประโคม เช่น ฆ้อง กลอง หรือมโหระทึก และอื่นๆ (มีรูปวาดที่ถ้ำตาด้วง จ.กาญจนบุรี)
 
เมื่อเอาศพลงหลุมต้องเอาเครื่องมือเครื่องใช้ใส่ลงไปด้วย เชื่อว่าจะได้ติดตัวไปใช้ในบาดาล ฉะนั้นในหลุมศพจึงมีสิ่งของมากมายล้วนแสดงฐานะของผู้ตายว่าเป็นคนสำคัญ เช่น
 
ภาชนะดินเผาลายเขียนสีในวัฒนธรรมบ้านเชียง ไม่ได้ทำไว้ปรุงอาหารในชีวิตประจำวัน แต่ทำไว้ฝังไปกับศพเท่านั้น
 
คนบางเผ่าพันธุ์ที่อยู่ใกล้ลำน้ำหรือใกล้ทะเล เคลื่อนศพไปทางน้ำด้วยเรือส่งศพ มีภาพลายเส้นที่ผิวมโหระทึก
 
แต่บางเผ่าพันธุ์ทำโลงศพด้วยไม้ที่ขุดเป็นรางหรือโลงไม้ รูปร่างคล้ายเรือหรือรางเลี้ยงหมูปัจจุบัน เอาศพวางในรางแล้วช่วยกันหามไปไว้ในถ้ำหรือเพิงผาแหล่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พบที่แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ฯลฯ (รางระนาดปัจจุบันก็ได้มาจากโลงไม้ยุคนี้)

 
ต้นเค้าโกศใส่ศพนั่ง
คนบางกลุ่มมีประเพณีฝังศพงอเข่าไว้กับอก บางทีเอาศพงอเข่าใส่ไหไปฝัง ฯลฯ อย่างนี้เรียกกันภายหลังว่าประเพณีศพนั่ง สืบเนื่องมาถึงสมัยหลังคือศพเจ้านายในพระบรมโกศ
 
[คำว่า โกศ ยืมจากภาษาบาลี-สันสกฤต แต่ประเพณีศพนั่งในโกศ ไม่พบหลักฐานว่าเคยมีในอินเดีย]
 
แต่ที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง คือ พิธีศพครั้งที่ ๒
 
เริ่มจากครั้งแรกเอาคนตายไปฝังดินไว้ให้เนื้อหนังเน่าเปื่อยยุ่ยสลายไปกับดินจนเหลือแต่กระดูก
 
แล้วทำศพครั้งที่ ๒ ด้วยการเก็บกระดูกใส่ภาชนะ เช่น ไหหิน ที่ทุ่งไหหินในลาว, หม้อดินเผาใส่กระดูกพบทั่วไป แต่ที่มีขนาดใหญ่ พบแถบทุ่งกุลาร้องไห้ นักโบราณคดีบางคนกำหนดเรียกแบบ “แค็ปซูล”
 
ประเพณีอย่างนี้พบทั่วไปทั้งผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ แล้วสืบถึงยุคทวารวดี พบภาชนะใส่กระดูกทำด้วยหินก็มี ทำด้วยดินเผาแกร่งก็มี ปัจจุบันก็คือโกศ
 
แม้แต่การเก็บกระดูกคนตายไว้ตามกำแพงวัด ก็สืบเนื่องจากประเพณีดึกดำบรรพ์ อย่างนี้เอง

 
สร้างเจดีย์ทับที่ฝังศพ
แหล่งฝังศพยุคดึกดำบรรพ์ไม่ได้เป็นที่น่ารังเกียจสะพรึงกลัวอย่างทุกวันนี้เรียก ป่าช้า ป่าเลว (เห้ว, เปลว) ฯลฯ
 
แต่คนเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ยกย่องพื้นที่ฝังศพเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตของผีบรรพชน
 
เมื่อรับพุทธศาสนาในภายหลังจึงยกบริเวณนั้นสร้างสถูปเจดีย์เป็นพุทธสถานก็มี เช่น ปราสาทพิมาย (อ.พิมาย จ.นครราชสีมา) และวัดชมชื่น ที่เมืองเชลียง (อ. ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย) ฯลฯ



ภาชนะดินเผาบรรจุศพแบบ “แค็ปซูล” เมื่อราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีรูปร่างลักษณะต่างๆ กัน
นับเป็นต้นเค้าโกศ และประเพณีเก็บกระดูกใส่หม้อ หรือสถูปเจดีย์ในสมัยหลังๆ
ขุดพบที่ทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด


ไหหิน ใส่กระดูกศพ ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ที่ทุ่งไหหิน แขวงเชียงขวาง ในลาว

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2558 14:08:42 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.505 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 สิงหาคม 2566 06:29:52