[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 19:35:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'พายุสุริยะ'ภัยธรรมชาติชนิดใหม่ รับมืออย่างไร? กระทบถึงไทย!  (อ่าน 9768 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2553 21:45:41 »




หลังจากที่รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของประเทศอังกฤษออกมาแถลงข่าวว่าจะเกิดปรากฏการณ์ “พายุสุริยะ” ครั้งร้ายแรงที่สุดในปี 2556 ที่จะถึงนี้ ซึ่งอาจส่งผลให้โลกตกอยู่ใน “ภาวะอัมพาต”  ทั้งระบบไฟฟ้า การสื่อสาร คมนาคม และการบิน จะไม่สามารถใช้งานได้นั้น ทำให้ประชาชนที่รับทราบข่าวสารต่างพากันตื่นตระหนก หากเป็นประชาชนในแถบยุโรปที่อยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ คงจะพอทราบถึงความรุนแรงของพายุสุริยะแล้วว่าเป็นเช่นไร เพราะเคยเผชิญกันมาบ้างแล้ว แต่หากเป็นประเทศไทยถือว่าพายุสุริยะเป็นภัยธรรมชาติชนิดใหม่ หากเกิดขึ้นกับประเทศไทยแล้วเราควรเตรียมตัวรับมือกันอย่างไร...??
   
ศ.ดร.เดวิด รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยา ลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า พายุสุริยะ คือการระเบิดเป็นครั้งคราวที่ผิวดวงอาทิตย์ ซึ่งไม่เคยทำให้คนตายหรือบาดเจ็บ ส่วนในอนาคตมีโอกาสที่อาจทำลายดาวเทียมของไทยหรือทำให้เกิดไฟดับ ซึ่งคนไทย ไม่ต้องกังวล
   
พายุสุริยะเกิดที่จุดมืด (sunspots) บนดวงอาทิตย์ ในกลุ่มจุดมืดมักจะมีเส้นสนามแม่เหล็กออกจากจุด หนึ่งและกลับเข้าไปที่อีกจุดหนึ่ง ส่วนจำนวนจุดมืดที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นและลงทุก ๆ 11 ปี โดยประมาณ ครั้งล่าสุดที่มีจำนวนมืดมากที่สุดคือ ปี พ.ศ. 2543 และมีจำนวนน้อยที่สุดเมื่อปลายปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกือบจะไม่มีจุดมืดโผล่มาที่ผิวดวงอาทิตย์เลย นักวิทยาศาสตร์คาดว่าน่าจะมีจำนวนจุดมืดมากที่สุดอีกครั้งหนึ่งในปลายปี 2555 หรือต้นปี 2556 ซึ่งจะทิ้งช่วงจากครั้งที่ผ่านมาเป็นเวลา 13 ปี ซึ่งนานกว่าระยะเวลาปกติ (11 ปี) แต่ช่วงก่อนหน้านี้สั้นผิดปกติ (9-10 ปี)
     
ขณะนี้จำนวนจุดมืดและจำนวนพายุสุริยะกำลังจะเพิ่มขึ้นมาใหม่แต่ถือว่ายังน้อยอยู่ ฉะนั้นช่วงนี้มีโอกาสน้อยที่จะมีพายุสุริยะที่รุนแรงพอที่จะส่งผลกระทบต่อโลก แต่โอกาสจะเพิ่มขึ้นในปี 2554-2560 คู่กับจำนวนจุดมืด กลุ่มจุดมืดนั้นมีโครงสร้างที่น่าสนใจ โดยเส้นแรงแม่เหล็กเก็บสะสมพลังงานไว้เหมือนหนังสติ๊ก เมื่อเก็บสะสมพลังงานไว้มากจะมีแรงกดดันให้เส้นสนามแม่เหล็กเชื่อมต่อใหม่และปล่อยพลังงานชั่ววูบ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ระเบิดที่เรียกว่า พายุสุริยะ นั่นเอง พายุสุริยะมีสอง รูปแบบ คือการปะทุ (flare) โดยแปลงพลังงานแม่เหล็กออกไปเป็นความร้อนและ การ ปล่อยก้อนมวลจากโคโรนา (coronal mass ejection หรือ CME) ซึ่งแปลงออกไปในรูปพลังงานจลน์
   
พายุสุริยะมีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่ผิวดวงอาทิตย์และเกิดกะทันหันระดับไม่กี่วินาทีในช่วงเริ่มต้น แต่บางครั้งใช้เวลาเป็นชั่วโมงกว่าจะสิ้นสุด ฉะนั้นพลังงานแม่เหล็กแปรรูปเป็นพลังงานความร้อนเรียกว่า การปะทุ แต่ถ้าแปรรูปพลังงานแม่เหล็กเป็นพลังงานจลน์ อาจจะผลักก้อนมวลใหญ่ที่เรียกว่าก้อนมวลจากโคโรนาออกมาจากดวงอาทิตย์ แต่ความหนาแน่นต่ำโดยทั้ง 2 เหตุ การณ์สามารถผลิตรังสีคอส  มิก (cosmic rays) ชนิดหนึ่ง เรียกว่าอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ (solar energetic particles) เป็น ส่วนหนึ่งของพลาสมาที่บังเอิญ ถูกเร่งให้มีพลังงานสูง เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลกระทบต่อโลก เมื่อมีพายุสุริยะอนุภาคเหล่านี้จะวิ่งด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง สามารถทำลายดาวเทียม ยานอวกาศหรือกระทบนักบินอวกาศได้ ซึ่งกะทันหันมากและเราไม่สามารถระบุเวลาได้ แต่ผลกระทบอีกแบบคือก้อนมวลที่จะมาถึงโลกเราสามารถพยา กรณ์ล่วงหน้าได้โดยประมาณ ว่าจะตกมาถึงโลกเมื่อใด
   
อย่างไรก็ตามโดยปกติมีลมสุริยะที่มาจากบรรยากาศของดวงอาทิตย์ที่ออกมาทุกทิศทุกทางตลอดเวลา ทุกวัน ลมสุริยะมีการผลักดันเส้นสนามแม่เหล็กของโลกในด้านที่เป็นกลางวันจะบีบเข้าหาโลก และในด้านที่เป็นกลางคืนจะยืดออกไป ซึ่งเกิดขึ้นปกติทุกวันไม่ส่งผลกระทบต่อคนบนโลก เป็นสภาพปกติที่ลมสุริยะปะทะกับเส้นสนามแม่เหล็กโลก แต่ถ้าพายุสุริยะมากระทบโลกจะบีบเส้นสนามแม่เหล็กเข้ามาและตามธรรมชาติมีอนุภาคมูลฐานส่วนหนึ่งค้างไว้ตามเส้นสนามแม่เหล็กของโลก เรียกว่าแถบรังสีของโลก เมื่อโดนสนามแม่เหล็กผลักเข้าหาโลก อนุภาคเหล่านี้มาชนกับบรรยากาศใกล้ขั้วโลกและทำให้เปล่งแสงออกมาที่เรียกว่า แสงเหนือแสงใต้ (aurora) เป็นแสงสวยงามในท้องฟ้า มีมากเป็นพิเศษเมื่อมีพายุสุริยะ แต่นอกเหนือจากแสงสวยงาม พายุสุริยะยังมีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า สภาพอวกาศ (space weather)
   
ผลกระทบจากพายุสุริยะไม่เคยทำให้มนุษย์ตายหรือบาดเจ็บหรือสิ่งปลูกสร้างพัง ไม่เกิดแบบภาพยนตร์ 2012 อย่างแน่นอน ที่เกิดขึ้นบางครั้งเคยมีผลกระทบต่อดาวเทียมระบบการสื่อสารหรือยานอวกาศ โดยมี 15 ครั้งที่บันทึกไว้ว่าดาวเทียมหรือยานอวกาศพังและใช้งานไม่ได้ เนื่องจากพายุสุริยะ เพราะโปรแกรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในดาวเทียมหรือยานอวกาศ อาจถูก รบกวนและเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถใช้งานได้ เราคงทราบว่าดาวเทียมมีมูลค่าสูงระดับพัน ๆ ล้านบาท จึงกลายเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อระบบโทรคมนาคม
   
นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์เมื่อทราบว่ามีพายุสุริยะเกิดขึ้นแล้วจะเตือนสายการบินที่มีเครื่องบินที่ผ่านขั้วโลกเหนือให้บินอ้อมขั้วโลกเพื่อเลี่ยงรังสีคอสมิกที่อาจตามเส้นสนามแม่เหล็กถึงบริเวณขั้วโลก แต่ถ้าเตือนบ่อยเกินเหตุก็มีผลเสียหาย จะทำให้สายการบินมีค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำมันเพิ่ม เมื่อเกิดพายุสุริยะคนปกติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะเป็นเรื่องของอนุภาคในอวกาศ และผล  กระทบทางไฟฟ้าต่อโลก อีกอย่างที่เคยเกิดขึ้น คือปัญหากับโรงปั่นไฟฟ้า เพราะว่าพายุสุริยะจะกระทบเส้นสนาม  แม่เหล็กของโลกที่ใกล้ขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้
   
ดังนั้น ประเทศที่มีปัญหาไฟดับมักจะอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ โดยเคยเกิดผลกระทบจากพายุสุริยะรุนแรงที่ประเทศแคนาดา เมื่อปี พ.ศ. 2532 ประชากร 6 ล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้นานเป็นเวลา 9 ชม. เนื่องจากการเกิดพายุสุริยะทำให้สนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลง จนเกิดสนามไฟฟ้ากระแสตรงทำให้หม้อแปลงพัง เมื่อพังที่หนึ่งก็จะกระทบให้พังเป็นลูกโซ่ แต่ปัจจุบันบริษัทผลิตไฟฟ้าในประเทศใกล้ขั้วโลก เหนือศึกษาเรื่องนี้และมีซอฟต์ แวร์เพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันเหตุนี้ได้ ส่วนในประเทศไทยยังไม่เคยเกิด แต่ถ้าในอนาคตเรามีระบบไฟที่สลับซับซ้อนมากขึ้นหรือมีพายุสุริยะที่รุนแรงมากจริง ๆ อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบของพายุสุริยะต่อประเทศไทย
   
นอกจากนี้ยังจะมี ผล กระทบต่อนักบินอวกาศ หากจะไปดวงจันทร์หรือดาวอังคาร ทุกวันนี้นักบินอวกาศอยู่ภายใต้เส้นสนามแม่เหล็กโลก  ไม่ได้รับอันตรายจากอนุภาค  โดยตรง แต่ถ้าออกไปปฏิบัติภารกิจนานหลายเดือนมีโอกาส สูงที่จะเป็นมะเร็ง ซึ่งเรายังไม่มีวิธีป้องกันจากอนุภาคในอวกาศ ที่เรียกว่า รังสีคอสมิก ซึ่งรังสีคอสมิกมีชนิดหนึ่งที่มาตลอดเวลาและมีอยู่อีกส่วนหนึ่งที่มาพร้อมกับพายุสุริยะโดยจะรุนแรงมากขึ้น แต่ถึงไม่มีพายุสุริยะถ้านักบินอวกาศอยู่ห่างจากโลกนานเป็นเดือน ๆ ก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นว่ายังไม่เคยมีผลกระทบจากพายุสุริยะต่อคนในประเทศไทย แต่ในอนาคตถ้าบังเอิญมีพายุสุริยะที่รุนแรงเป็นพิเศษก็อาจจะมีผลกระทบได้ เช่น ดาวเทียมที่ใช้ในการสื่อสาร หรือมีไฟดับทางพื้นดิน แต่ความจริงในภาพรวมก็สามารถมีไฟดับได้โดยไม่ต้องมีพายุสุริยะ
   
ปัจจุบันเรามีงานวิจัยในการตรวจวัดอนุภาคนิวตรอนที่พื้นดิน เพื่อวัดปริมาณรังสีคอสมิกที่เข้ามาในชั้นบรรยา กาศ โดยมีเครื่องมือตรวจวัดอยู่ที่ สถานีตรวจวัดนิวตรอน  สิรินธร ตั้งอยู่ในเขตฐานทัพอากาศบนยอดดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่และเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยา ลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากงานวิจัย ทราบว่า เมื่อรังสีคอสมิกผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามาจะเกิดการแตกตัวกลายเป็นอนุภาคเล็ก ๆ และอนุภาคนิวตรอนเป็นอนุภาค ชนิดหนึ่งจากการแตกตัวดังกล่าว ซึ่งปริมาณนิวตรอน ที่วัดได้จะบ่งชี้ถึงปริมาณรังสีคอสมิกที่เข้ามาในชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัดอนุภาคนิวตรอนได้มาก ยิ่งมีปริมาณรังสีคอสมิกเข้ามามาก และจากการวัดนิวตรอนเทียบกับความเร็วลมสุริยะที่วัดโดยยานอวกาศ พบว่าเมื่อลมสุริยะมีความเร็วมากจะวัดอนุภาคได้น้อยเพราะลมสุริยะจะช่วยผลัก รังสีคอสมิกออกไป ซึ่งงานวิจัยนี้อาจนำไปสู่การพยากรณ์การเกิดผลกระทบจากพายุสุริยะได้ในอนาคต สนใจเว็บ ไซต์ของกลุ่มวิจัยสามารถดู ข้อมูลได้ที่ www.ThaiSpace Weather.com
   
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าจะมีพายุสุริยะรุนแรงในปี พ.ศ. 2556 นั้นความจริงแล้วจะมีพายุสุริยะเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2560 ตลอดทั้งช่วงไม่ใช่เฉพาะปี พ.ศ. 2556 แล้วแต่ว่าจะเป็นพายุที่รุนแรงมากหรือน้อย พายุที่มีผลกระทบ น้อยหรือไม่มีผลกระทบต่อโลกเลยก็มีบ่อย ที่เป็นข่าวช่วงนี้เพราะนาซากำลังพูดถึงวัฏจักรจุดมืดข้างหน้าในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งไม่ค่อยมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่คิดว่าจะต้องรุนแรงเป็นพิเศษ แต่ความจริงจำนวนจุดมืดน่าจะน้อยกว่าปกติและน่าจะมีโอกาสเกิดพายุสุริยะที่รุนแรงน้อยเป็นพิเศษ แต่อย่างไรก็เป็นเรื่องของโอกาส อาจจะมีพายุรุนแรงเกิดขึ้นได้
   
หากมีคนเตือนถึงภัยชนิดใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยและอาจจะเกิดขึ้น เราจึงต้องพิจารณาถึงเหตุผลที่ทำให้ต้องกังวลใจ ส่วนพายุสุริยะเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่ใช่มหันตภัย เพราะมีภัยธรรมชาติอื่นที่รุนแรงกว่าพายุสุริยะ  มากมาย เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม จึงอยากจะแนะนำประชาชนว่าไม่ต้องกังวล ส่วน การไฟฟ้าและผู้ที่ดูแลดาวเทียมควรศึกษาความเสี่ยงไว้บ้างเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับพายุสุริยะรุนแรงที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=486&contentID=98728

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2553 23:23:28 »

โอ้สุดยอดครับ

อ่านมันส์ ได้ความรู้มาก

ยาวพอได้กว่าจะอ่านจบนานเหมือนกัน

แต่เนื้อหาดีจริง ๆ ครับ ได้ความรู้มากจริง ๆ

เรื่องที่ว่าน่าจะมีจำนวนจุดมืดมากที่สุดอีกครั้งหนึ่งในปลายปี 2555

เชื่อว่าหลายคนคงเอะใจ เฮ้ย มันตรงกับช่วงคำทำนาย 2012 นี่หว่า

ก็ต้องรอลุ้นกันต่อไปครับ

ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทดีที่สุด หมั่นทำบุญสร้างกุศลไว้ครับ

 กลอกตา กลอกตา กลอกตา

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.375 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มีนาคม 2567 03:28:01