[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 06:08:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "เขตอภัยทาน" มีที่มาอย่างไร?  (อ่าน 4308 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 02 ตุลาคม 2557 15:58:37 »

.


เขตอภัยทาน ห้ามฆ่าสัตว์

เขตอภัยทาน

เขตอภัยทาน ที่ติดตามวัด มีที่มาอย่างไร
ตอบ ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้ความหมายศัพท์ "อภัยทาน" ไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ซึ่งรจนาไว้เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฎกว่า "ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย" ขณะที่พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำจำกัดความของคำว่า "เขตอภัยทาน" เอาไว้ว่า คำว่า อภัยทาน (Abhayadana) ตามรูปศัพท์แปลว่าการให้อภัย หมายถึงการให้ความไม่มีภัย ความไม่น่ากลัว ซึ่งก็ได้แก่การให้ความเมตตา ความปรารถนาดี ขอให้ผู้อื่นเป็นสุข หลีกเว้นการทำลายล้างซึ่งกันและกัน ในทางตรงกันข้ามกลับให้การดูแลคุ้มครองอันมีพื้นฐานจากเมตตาและกรุณา

เรื่องราวของอภัยทานมีปรากฏมากในอรรถกถาชาดกเรื่องต่างๆ ซึ่งอธิบายความเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีในชาติต่างๆ ของพระโพธิสัตว์ ส่วนมากเป็นเรื่องการให้อภัยแก่สัตว์ประเภทเนื้อ เช่น เก้ง กวาง โดยอรรถกถาชาดกบางเรื่องเล่าว่า พระโพธิสัตว์เคยเสวยชาติเป็นกวางและอยู่ในวาระจะถูกพระราชาล่า แต่พระโพธิสัตว์ก็หาวิธีกล่าวให้พระราชาได้สติ และเลิกละการทรงกีฬาล่าสัตว์ สุดท้ายพระราชทานป่าล่าสัตว์นั้นให้เป็นเขตอภัยทาน กล่าวคือ สัตว์ทุกตัวหากเข้ามาในป่านั้นจะได้รับการไว้ชีวิตและได้รับการคุ้มครอง ใครจะล่าหรือฆ่าหรือทำร้ายมิได้

ในสังคมไทย เรื่องอภัยทานเป็นที่รู้จักกันดีเกี่ยวกับบุคคล กฎหมายกำหนดให้มีการอภัยโทษได้ในกรณีที่ผู้ทำผิดต้องโทษประหารชีวิต แต่ผู้ที่จะให้อภัยโทษขั้นนี้ได้ต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เพราะถือว่าทรงเป็นเจ้าชีวิต ฉะนั้นจึงเรียกการอภัยโทษนี้ว่าพระราชทานอภัยโทษ

ส่วนด้านศาสนสถาน วัดพุทธศาสนาก็ถือเป็นเขตอภัยทานที่สำคัญ ในยุคโบราณใครที่อยู่ในวัดจะได้รับการคุ้มครอง และปัจจุบันการทำร้ายชีวิตสัตว์ในวัดก็ยังเป็นสิ่งที่สังคมรับไม่ได้ บางวัด มีสัตว์อาศัยอยู่มากชนิดทั้งปลาและนก จึงมีผู้ลอบทำร้ายสัตว์เหล่านี้อยู่มาก จึงต้องปักป้าย "เขตอภัยทาน" เพื่อเป็นการเตือนสติ

ยังมีข้อปฏิบัติของวัดตามคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องกำหนดเขตอภัยทานในที่วัด พ.ศ.๒๕๓๘ สรุปความว่า การกำหนดเขตอภัยทานขึ้นไว้ โดยความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์บก สัตว์น้ำ ตลอดถึงปักษีทวิชาติที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย ได้อาศัยด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากการถูกเบียดเบียน หรือรบกวนด้วยประการใดๆ โดยการกำหนดเขตอภัยทาน ให้กำหนดในเขตสังฆาวาสและพุทธาวาส หรือในเขตที่อยู่จำพรรษาที่ทางวัดประกาศกำหนดไว้เป็นเขตรับอรุณในเวลาเข้าพรรษา และให้เป็นหน้าที่ของวัดหรือเจ้าอาวาสจะจัดทำป้ายบอกเขตอภัยทานซึ่งมีขนาดกว้าง-ยาวไม่ต่ำกว่า ๓๐ และ ๗๐ เซนติเมตร ที่แผ่นป้ายนั้นให้มีหนังสือถาวรบอกให้ชัดเจนว่า เขตอภัยทาน

ให้ติดแผ่นป้ายไว้ที่เสา ต้นไม้ หรือที่อื่นใดอันมั่นคง มีความสูงต่ำพอที่ประชาชนจะเห็นได้โดยสะดวก ทั้งนี้ เขตอภัยทานบนฝั่งแม่น้ำลำคลอง เป็นเครื่องหมายบอกบ่งให้รู้ว่าภายในแม่น้ำลำคลองตลอดเขตอภัยทานนั้น นับจากตลิ่งหรือฝั่งออกไปไม่เกิน ๓ วา (อุทกเขป) จะเป็นที่อยู่อย่างปลอดภัยของ ฝูงปลามัจฉาชาตินานาพันธุ์ จะไม่ถูกเบียดเบียนรบกวนด้วยประการใดๆ ทั้งยังอาจได้อาศัยอาหารหากินจากผู้มีเมตตากรุณา คือภิกษุสามเณรและประชาชนผู้ใจบุญทั้งหลายตามสมควร และให้เป็นหน้าที่ของวัดนั้นๆ แนะนำชักชวนขอร้องประชาชนให้เห็นความสำคัญของเขตอภัยทานแล้วให้ความสนับสนุนโดยไม่รบกวนเบียดเบียนสัตว์บกสัตว์น้ำหรือหมู่นกที่อาศัยอยู่ในเขตอภัยทาน
 ที่มา ... นสพ.ข่าวสด


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ตุลาคม 2557 16:02:23 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คำว่า ร้อนตับแตก มีที่มาอย่างไร ?
สุขใจ ห้องสมุด
หมีงงในพงหญ้า 2 3026 กระทู้ล่าสุด 18 ธันวาคม 2553 16:48:55
โดย หมีงงในพงหญ้า
"Lemon Soup" อาสาส่ง"ทุกวัน"เพลงกระตุ้น"รัก"ที่เมื่อรู้สึกแล้วต้อง"บอก"
หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
มดเอ๊ก 0 5152 กระทู้ล่าสุด 03 มิถุนายน 2554 10:29:07
โดย มดเอ๊ก
เรื่องราวของ " บายศรี " บายศรีคืออะไร ใช้ทำอะไร มีที่มาอย่างไร ?
สุขใจ ห้องสมุด
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 22228 กระทู้ล่าสุด 14 กันยายน 2554 01:01:30
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
"กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี" มีที่มาอย่างไร?
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 2921 กระทู้ล่าสุด 20 เมษายน 2555 19:02:07
โดย Kimleng
เกร็ดศาสนา พุทธชยันตี มีที่มาอย่างไร?
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 3 3126 กระทู้ล่าสุด 18 พฤษภาคม 2555 19:18:26
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.271 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 20:53:43