[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 03:34:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Engaged Buddhism ความสืบเนื่องแห่งการฝึกปฏิบัติในทุกย่างก้าวของชีวิต ท่านติช นัท ฮันห์  (อ่าน 4896 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 7.0.517.44 Chrome 7.0.517.44


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2553 01:06:51 »

[คัดลอกจากบอร์ดเก่าครับ โพสท์โดย อ.มด]


 

อรุณสวัสดิ์สังฆะที่รัก เราอยู่ที่เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ในงานภาวนา Engaged Buddhism for the 21st. Century เพื่อเตรียมฉลองวันวิสาขบูชาโลก

การประกอบกันขึ้น

เรามีคำศัพท์คำว่า formation หรือคำว่า "สังขาร" ในภาษาบาลีแปลว่า การประกอบกันขึ้น ของจิต หรือการปรุงแต่งของจิต พระพุทธองค์ตรัสว่า จิตปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การปรุงแต่งหรือการประกอบกันขึ้นนั้นมีทั้งทางจิตและทางกาย ตัวอย่างเช่น ดอกไม้ก็เป็นการ ประกอบกันของสิ่งต่างๆ เป็นรูปร่างขึ้นมา แสงอาทิตย์ เมฆ หมอก น้ำ และมีองค์ประกอบ หลายอย่างที่ได้มาอยู่รวมกันเพื่อที่จะช่วยให้ดอกไม้ปรากฏขึ้น เราจึงเรียกดอกไม้นั้นว่าเป็น การประกอบกันขึ้นเป็นรูปร่าง หรือที่เรียกว่าสังขาร การประกอบกันเป็นรูปร่างขึ้นนั้น มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
เมื่อฉันยกมือของฉันขึ้นมา ฉันรู้ว่ามือของฉันคือการประกอบกันขึ้นมา หลายอย่างได้ รวมกันกลายเป็นมือของฉันขึ้นมา บรรพบุรุษของฉัน คุณพ่อคุณแม่ อาหาร ประสบการณ์ต่างๆ ในอดีตและอีกมากมาย ที่ได้มารวมกันเพื่อที่จะช่วยทำให้มือของฉันปรากฏขึ้น เป็นการ ประกอบกันขึ้นมาทางชีววิทยา ร่างกายของฉันก็เช่นเดียวกัน เป็นการประกอบกันขึ้นทางกาย (body formation) หรือ ที่เรียกว่า "กายสังขาร"

เมื่อฉันโกรธ เบิกบาน ให้อภัย หงุดหงิด ซึมเศร้า มีสันติ เหล่านี้ก็คือ การประกอบกันขึ้นของสภาวะทางจิต หรือที่เราเรียกว่า "จิตปรุงแต่ง" ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ หรือการรับรู้ของเรานั้นก็เป็นจิตปรุงแต่ง จิตปรุงแต่งที่สร้างขึ้นมานี้เป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน เป็นอนิจจัง และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่นเดียวกับร่างกาย ไม่เพียงแต่จิตใจเท่านั้น สสารต่างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบกัน ขึ้นมา ก็เป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน หรือเป็นอนิจจังเช่นกัน พระพุทธองค์ได้ตรัสเช่นนั้นเพื่อให้เราสามารถมองอย่างลึกซึ้ง เมื่อเรามองและ สังเกตอย่างลึกซึ้ง เราจะเห็นการประกอบกันหรือการปรุงแต่งขึ้นมาของแต่ละสิ่งได้ ดั่งคำสอนในภาษาจีนที่ได้เขียนว่า "สิ่งที่สร้างขึ้น ทั้งหมดนั้นเป็นอนิจจัง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ"

 
จิตปรุงแต่ง 3 ประเภท

เราจะพูดถึงจิตปรุงแต่งในเช้านี้ ในประเพณีทางพุทธของฉันนั้น มีการแบ่งประเภทของ จิตปรุงแต่งเป็น 51 ประเภท ตอนที่ยังเป็นสามเณรฉันต้องท่องจำจิตปรุงแต่งทั้ง 51 ประเภทนั้น มีจิตปรุงแต่งเป็นประโยชน์และที่ไม่เป็นประโยชน์ ความกรุณา เมตตา ความเบิกบาน ความปิติ ความสุข การมีสติ การมีสมาธิ ปัญญา สิ่งเหล่านี้คือจิตปรุงแต่งที่เป็นประโยชน์ หรือเป็นกุศล ที่อยู่ในตัวเรา เราควรฝึกปฏิบัติให้สามารถตระหนักรู้ถึงจิตปรุงแต่งที่เป็นกุศลในตัวเรา และ ช่วยให้จิตปรุงแต่งเหล่านี้ได้ปรากฏขึ้นมา ขณะเดียวกันเรายังมีจิตปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เป็นไป ในแง่ลบด้วยเช่นกัน เช่น ความเกลียด ความโกรธ ความรุนแรง ความอิจฉา เราควรฝึกปฏิบัติ โดยพยายามหลีกเลี่ยงละเว้น ไม่ให้จิตปรุงแต่งเหล่านี้ปรากฏขึ้นมาในใจของเรา ด้วยการ ไม่รดน้ำเมล็ดพันธุ์หรือจิตปรุงแต่งเหล่านั้น เพื่อจิตปรุงแต่งเหล่านั้นจะได้ไม่สามารถปรากฏ ขึ้นมาในใจของเรา
นอกจากจิตปรุงแต่งที่เป็นประโยชน์หรือจิตปรุงแต่งที่เป็นกุศล และจิตปรุงแต่งที่ไม่เป็น ประโยชน์หรือจิตปรุงแต่งที่เป็นอกุศลแล้ว ยังมีจิตปรุงแต่งอีกประเภทหนึ่งที่เป็นได้ทั้งสอง อย่าง มันอาจจะเป็นทั้งเป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เช่น จิตปรุงแต่งเรื่องความคิด ความคิดนั้นเป็นจิตปรุงแต่งประเภทไหน? ความคิดนั้นอาจเป็นประโยชน์เป็นกุศล อาจไม่เป็น ประโยชน์เป็นอกุศลก็ได้ เพราะฉะนั้น จิตปรุงแต่งมี 3 ประเภท คือ จิตปรุงแต่งที่เป็นกุศล อกุศล และไม่กำหนดว่าเป็นกุศลและอกุศล


 
ดูแลจิตปรุงแต่ง

การฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา เราต้องฝึกการกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ณ ที่นี่และขณะนี้ เพื่อที่จะตระหนักรู้ว่าจิตปรุงแต่งอะไรกำลังเกิด ขึ้นมาในใจของเรา เมื่อวานนี้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปรุงแต่งในร่างกายของเรา โดยมีแบบฝึกหัด

หายใจเข้า ฉันตระหนักรู้ในกายของฉัน
หายใจออก ฉันผ่อนคลายร่างกายของฉัน

 
เวลาที่เราตระหนักรู้ถึงร่างกาย เราจะตระหนักรู้ถึงความตึงเครียดในร่างกายของเราได้ สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า การปรุงแต่งหรือการสร้าง ในทางสรีระวิทยาหรือชีววิทยา เมื่อเธอสามารถตระหนักรู้ถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกายของเธอ เวลาที่มีความเจ็บปวดใน ร่างกาย เธอก็ตระหนักรู้ถึงความเจ็บปวดในร่างกาย เมื่อเธอได้รับการผ่อนคลาย เธอก็ตระหนักรู้ถึงการผ่อนคลายในร่างกายของเธอ

สติ คือ พลังอย่างหนึ่ง เป็นพลังที่ช่วยให้เราตระหนักรู้ถึงการปรุงแต่ง หรือการประกอบกันขึ้นในกายและใจของเราในขณะนั้น การปรุงแต่งนั้นมีทั้งกายและใจ เวลาที่เรามีสติเราสามารถตระหนักรู้ได้ถึงการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นในกายและใจของเรา เช่น เวลาที่เรา โกรธ เรารู้ว่าเรากำลังโกรธ เวลาเราเบิกบาน เรารู้ว่าเรากำลังเบิกบาน เวลาเราเศร้าใจ เรารู้ว่าเรากำลังเศร้าใจ ดังนั้นเวลาที่เรามีความ อึดอัด เราก็รู้ว่าเรากำลังมีจิตปรุงแต่งที่ทำให้เราอึดอัดน่ารำคาญใจ เพราะฉะนั้น สติจึงเป็นพลังที่สามารถตระหนักรู้ถึงจิตปรุงแต่งที่ กำลังเกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน ไม่ว่าสิ่งที่ปรุงแต่งนั้นจะเกิดขึ้นในกายหรือใจของเราก็ตาม

ในจิตปรุงแต่ง 51 ประเภทนี้ เราทราบดีว่ามีจิตปรุงแต่งที่เป็นกุศล เช่น จิตปรุงแต่งแห่งสติ แห่งปัญญา ความรัก ความเมตตากรุณา ความสุข สันติ ทุกคนมีจิตปรุงแต่งอันเป็นกุศลเป็นประโยชน์เหล่านี้ และจิตปรุงแต่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในรูปแบบของ พีชะ หรือ พืช (ซึ่งท่านติช นัท ฮันห์ ใช้คำว่า "เมล็ดพันธุ์")

รดน้ำเมล็ดพันธุ์ที่ดี

เรามีเมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธที่นอนอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา อยู่ในห้วงลึกในจิตของเรา เราจึงรู้สึกสบายใจ และไม่มีความโกรธ ก็เพราะเมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธนั้นไม่ได้ปรากฏขึ้นมาบนจิตสำนึกของเรา แต่ว่าเมื่อมีใครสักคนพูดหรือทำอะไร ที่ทำให้เราได้สัมผัส กับเมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธที่นอนอยู่ในห้วงลึกของจิตของเรา เราก็จะเกิดความรู้สึกโกรธขึ้นมา ก่อนจะเป็นความรู้สึกโกรธนั้น มันนอนเนื่องอยู่ในรูปแบบของเมล็ดพันธุ์ ที่เราเรียกว่า พีชะ ในภาษาสันสกฤต เมื่อมันได้รับการรดน้ำ หรือสัมผัส มันจะเติบโตโผล่ ขึ้นมากลายเป็นสังขารหรือที่เราเรียกว่า จิตปรุงแต่ง

เรามีจิตปรุงแต่งที่เป็นประโยชน์ คือความรัก เมตตา กรุณา ให้อภัย เราต้องรู้วิธีที่จะสัมผัสกับเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ รดน้ำเมล็ดพันธุ์ เหล่านี้ เพื่อที่จะให้มันมีโอกาสปรากฏขึ้นมาในใจของเรา เมื่อเมล็ดพันธุ์เหล่านี้สามารถปรากฏขึ้นมาในใจของเรา เราจะมีความสุข แต่หากปล่อยให้เมล็ดพันธุ์แห่งความสุขนอนอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราเฉยๆ เราก็จะไม่มีความสุขเพียงพอในชีวิตประจำวันของเรา
ในจิตใจหรือวิญญาณ (consciousness) ของเรา ถ้าแบ่งคร่าวๆ จะมีสองชั้นคือ คลังวิญญาณ (store consciousness) ซึ่งเป็นที่ เก็บเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด 51 เมล็ดพันธุ์ เมื่อเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นได้รับการรดน้ำ มันจะปรากฏขึ้นมาเป็นจิตปรุงแต่งอยู่บนจิตรับรู้ หรือ จิตสำนึกของเรา หรือที่เราเรียกว่า มโนวิญญาณ (mind consciousness)

แนวทางที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ คือ เมื่อใดก็ตามที่เมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธ ความหงุดหงิดรำคาญปรากฏขึ้นเป็นจิตปรุงแต่ง ปรากฏขึ้นอยู่บนจิตรับรู้ หรือมโนวิญญาณของเรานั้น ขอให้เราตระหนักรู้ เพื่อที่เราจะหยิบเมล็ดพันธุ์อื่นขึ้นมาช่วยดูแลเรา เมล็ดพันธุ์ นั้นก็คือเมล็ดพันธุ์แห่งสติ ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะเชิญเขาขึ้นมาบนจิตรับรู้ของเรา หรือมโนวิญญาณ พอพลังแห่งสติขึ้นมา จะไป โอบรับดูแลจิตปรุงแต่งแห่งความโกรธ ตอนนี้บนจิตรับรู้ของเรานั้นมีทั้งจิตปรุงแต่งแห่งความโกรธ และจิตปรุงแต่งแห่งสติ แต่จิต ปรุงแต่งแห่งสตินั้น มีความสามารถที่จะตระหนักรู้ โอบรับ และดูแลความรู้สึกที่กำลังโกรธอยู่ เวลาที่มีสตินั้น จะต้องเป็นการมีสติกับ อะไรสักอย่างหนึ่งอยู่เสมอ เช่น มีสติกับการตามลมหายใจ มีสติกับการเดิน เมื่อเธอโกรธ เธอตระหนักรู้ว่าเธอกำลังโกรธ นี้คือ มีสติ กับความโกรธ คนที่ไม่ได้ฝึกปฏิบัติจะมีแต่ความโกรธผุดขึ้นมา เป็นจิตปรุงแต่งแห่งความโกรธเฉยๆ แล้วเขาก็ปล่อยให้จิตปรุงแต่ง หรือพลังแห่งความโกรธนั้น ทำลายสิ่งต่างๆ มากมาย แต่สำหรับบรรดาผู้ที่เป็นนักปฏิบัติภาวนาแล้ว เราจะไม่ปล่อยให้จิตปรุงแต่งหรือ ความโกรธนี้ขึ้นมาลำพัง เราจะเชื้อเชิญจิตปรุงแต่งแห่งสติขึ้นมาดูแลพลังแห่งความโกรธ นี่คือการฝึกปฏิบัติว่าด้วยการมีสติกับ ความโกรธ ...

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 7.0.517.44 Chrome 7.0.517.44


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2553 01:07:19 »


 

 
ฝึกปฏิบัติอย่างไม่แบ่งแยก

 
เพราะฉะนั้นในฐานะผู้ฝึกปฏิบัติ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราโกรธ เราจะต้องเชิญพลังแห่งสติขึ้นมา ดูแลพลังแห่งความโกรธอยู่เสมอ บางครั้งอาจจะไม่ใช่เมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธที่ปรากฏขึ้น อาจเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความซึมเศร้า เมื่ออาการซึมเศร้าปรากฏขึ้นมาเป็นจิตปรุงแต่ง เราไม่มี ความสุข ไม่มีความเบิกบาน เมื่ออาการซึมเศร้าปรากฏขึ้นมาอยู่ในจิตรับรู้ของเรา เราจะต้องรู้ วิธีที่จะปฏิบัติ โดยเชิญพลังแห่งสติหรือจิตปรุงแต่งแห่งสติขึ้นมา พลังแห่งสติจะตระหนักรู้ถึง พลังแห่งความซึมเศร้า ขณะเดียวกันพลังแห่งสตินั้นก็จะอยู่เฉยๆ ไม่ต่อสู้กับพลังแห่งการ ซึมเศร้า มีเพียงการตระหนักรู้ไม่มีการต่อสู้ เพราะหน้าที่ของพลังแห่งสติก็คือตระหนักรู้เท่านั้น ไม่ใช่การต่อสู้กับพลังที่เป็นอกุศล เมื่อพลังแห่งสติตระหนักรู้แล้ว ก็มีหน้าที่โอบรับพลังแห่ง อาการซึมเศร้า เหมือนกับเด็กที่กำลังร้องไห้แล้วแม่โอบกอดอุ้มลูกกล่อมให้หยุดร้อง เมื่อแม่ ได้ยินลูกกำลังร้องไห้ แม่ก็จะอุ้มลูกขึ้นมาและกอดลูกในอ้อมแขน นั่นก็คือ พลังแห่งสติที่ เข้าไปโอบกอดความซึมเศร้านั้น
เวลาที่แม่กล่อมลูก พลังแห่งความอ่อนหวาน ความนุ่มนวลของแม่จะแผ่ซ่านเข้าไปอยู่ใน ตัวของลูก และในชั่วขณะสองสามนาที ลูกก็จะรู้สึกดีขึ้นเพราะได้รับพลังอ่อนโยน อ่อนหวาน นุ่มนวลแผ่ซ่านเข้าไป เช่นเดียวกัน เวลาที่เรามีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้น เราเชื้อเชิญเมล็ดพันธุ์ แห่งสติขึ้นมาให้กลายเป็นพลังแห่งสติอยู่ในจิตรับรู้ของเรา พลังแห่งสติจะตระหนักรู้พลังแห่ง การซึมเศร้า และจะโอบกอดพลังแห่งความซึมเศร้านั้น ด้วยความรักอ่อนโยนนุ่มนวล ไม่มีการ ต่อสู้ พลังแห่งสติทำด้วยความอ่อนโยน ไม่มีการแบ่งแยก ไม่ต่อสู้ ไม่มีความรุนแรง

เวลาที่เราฝึกปฏิบัติในทางพุทธเช่นนี้ ก็คือการฝึกที่จะไม่แบ่งแยกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่แบ่งแยกออกเป็นสองขั้ว ให้รู้ว่าทั้งความ ซึมเศร้า และจิตแห่งสตินั้นก็คือตัวเธอ เธอไม่จำเป็นต้องฝึกแล้วแยกตัวเธอออกจากสติหรืออาการซึมเศร้า หรือเห็นว่าอาการซึมเศร้า นั้นไม่ใช่เธอ เธอเป็นทั้งสติและอาการซึมเศร้า เพราะฉะนั้นเราฝึกโดยการไม่แบ่งแยก ไม่แบ่งแยกความรู้สึกของเราออกเป็นสองขั้ว เราจึงไม่จำเป็นต้องต่อสู้กับความรู้สึกซึมเศร้า หรือความรู้สึกที่ไม่ดีที่เกิดขึ้น เราเพียงแต่ตระหนักรู้และโอบกอดมันเท่านั้น และเราก็ ไม่ควรจะกดดันความรู้สึกเหล่านั้นด้วย เพราะฉะนั้นการฝึกปฏิบัติเช่นนี้ก็เป็นการฝึกปฏิบัติที่ไร้ความรุนแรง เวลาที่เราฝึกปฏิบัติด้วย การไม่แบ่งแยก ไม่มองและแบ่งความรู้สึกเป็นสองขั้วสองฝ่าย (non-duality) เราก็จะฝึกปฏิบัติไปสู่การไม่ใช้ความรุนแรง (non-violence) ได้

เมื่อเรามีความรู้สึกเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกที่น่ายินดี หรือไม่น่ายินดี หรือเป็นกลาง ในฐานะที่เป็นผู้ฝึกปฏิบัติ เราจะต้อง ตระหนักรู้ถึงความรู้สึกของเรา และยอมรับความรู้สึกอย่างที่เราเป็นอยู่ ไม่จำเป็นต้องสู้กับความรู้สึกนั้น ไม่ว่าความรู้สึกนั้นจะน่ายินดี หรือไม่น่ายินดี หรือว่าเป็นความรู้สึกกลางๆ หรือความรู้สึกที่ปนเปผสมกัน เราเพียงแต่รับรู้และตระหนักรู้ถึงจิตปรุงแต่งแห่งความรู้สึก ที่กำลังเกิดขึ้นเท่านั้น ความรู้สึกเป็นเหมือนแม่น้ำที่ไหลล่องตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนอยู่ในตัวเรา ในฐานะผู้ฝึกปฏิบัตเราเพียงตระหนักรู้ ถึงแม่น้ำแห่งความรู้สึกที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเท่านั้น ความรู้สึกนั้นจะผุดขึ้นและหายไป เพราะฉะนั้น เราจะต้องฝึกพิจารณาความรู้สึก ของเรา

ใน พระสูตรสติปัฎฐาน 4 หรือพื้นฐานแห่งการฝึกสติ 4 ด้าน พระพุทธองค์ได้ทรงสอน หลักเกี่ยวกับสติไว้ 4 ประการ ประการแรก คือ การมีสติกับกายของเรา เมื่อฉันฝึกปฎิบัติ

หายใจเข้า ฉันตระหนักรู้ถึงร่างกายของฉัน
หายใจออก ฉันปลดปล่อยความตึงเครียดที่อยู่ในร่างกายของฉัน

 
ฉันกำลังฝึกปฏิบัติกับร่างกายของฉัน เหมือนกับร่างกายเป็นสิ่งที่ฉันกำหนดหรือฝึกสติด้วย เวลาที่ฉันฝึกผ่อนพักตระหนักรู้

หายใจเข้า ฉันตระหนักรู้ ถึงทุกส่วนในร่างกายของฉัน
หายใจออก ฉันตระหนักรู้ถึงทุกส่วนในร่างกายของฉัน

 
การฝึกอันนี้ก็คือ การฝึกสติปัฎฐานข้อที่ 1 คือการฝึกพิจารณากายในกายของเรา

ประการที่ 2 คือการตระหนักรู้ในความรู้สึกและอารมณ์ของเรา ความรู้สึกนั้นอาจจะน่ายินดี หรือไม่น่ายินดี แต่เราควรจะอยู่ตรงนั้น เพราะเราเป็นผู้ฝึกปฏิบัติ เราจะต้องตระหนักรู้ถึง ความรู้สึกเหล่านั้น และดูแลความรู้สึกเหล่านั้นให้ดี เหมือนกับแม่ที่กำลังดูแลลูก เรากลับมา ดูแลเด็กทารกที่กำลังร้องไห้

ถ้าเกิดมีความรู้สึกไม่ดีเกิดขึ้น เราก็จะ หายใจเข้า ฉันตระหนักรู้ถึงความรู้สึกที่ไม่น่ายินดีที่ปรากฏขึ้นในตัวฉัน เราไม่ควรจะปล่อย ให้ความรู้สึกที่ไม่น่ายินดีนั้นชี้นำตัวเรา แล้วเราถูกลากพาไปในความรู้สึกที่ไม่น่ายินดีนั้น ถ้าเรามีความรู้สึกที่เจ็บปวด เราบอกว่า หายใจเข้า ฉันตระหนักรู้ถึงความรู้สึกเจ็บปวดอันไม่น่ายินดีที่เกิดขึ้นในตัวฉัน เราเพียงแต่ตระหนักรู้เท่านั้น อย่าพยายามที่จะสู้ หรือ ผลักดันความรู้สึกเหล่านั้น นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นความรุนแรง เราต้องฝึกที่จะไม่แบ่งแยกความรู้สึกของเรา ออกเป็นสองขั้ว ฝึกด้วยการไม่ใช้ความรุนแรง เหมือนกับแม่ที่กำลังอุ้มเด็กทารกด้วยความอ่อนโยนนุ่มนวล เวลาที่เราใช้พลังแห่งสติ เข้าไปโอบกอดพลังในแง่ลบก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราสามารถโอบรับพลังที่เจ็บปวดด้วยพลังแห่งสติ พลังแห่งสติก็เหมือนกับคุณแม่ เพราะฉะนั้นเธอก็อยู่ตรงนั้นกับลูกของเธอ ตระหนักรู้ลูกของเธอ โอบกอดลูกของเธออย่างนุ่มนวลอ่อนโยน แล้วในเวลาสองสามนาที ความเจ็บปวดก็จะผ่อนคลายลง

 
สติ สมาธิ ปัญญา

 
เพราะฉะนั้น หน้าที่ของ สติ ประการแรกก็คือตระหนักรู้ ประการที่สองคือโอบรับหรือโอบกอด สำหรับประการที่สามคือสติทำให้ เกิดการปลดปล่อยผ่อนคลาย ในขณะเดียวกันสติเองก็มีพลังแห่งสมาธิอยู่ด้วย เวลาที่มีพลังแห่งสติ พลังแห่งสมาธิก็จะอยู่ตรงนั้น ด้วยเช่นกัน เมื่อเธอสามารถรักษาพลังแห่งสติได้อย่างยาวนาน พลังแห่งสมาธิก็เริ่มกล้าแข็งมากขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่เรามีสติ ก็จะทำให้เรามีสมาธิ สตินั้นนำไปสู่สมาธิ เวลาที่มีเรามีสมาธินั้น เราสามารถที่จะมองลึกซึ้งไปถึงธรรมชาติของสิ่งที่กำลังอยู่ตรงหน้า ว่าอะไรที่กำลังอยู่ตรงนั้น เราสามารถที่จะมองอย่างลึกซึ้งให้เข้าใจได้ นี้คือการฝึกปฏิบัติสมาธิในขั้นลึกซึ้งลงไปอีก ในขั้นแรก เราตระหนักรู้ ส่วนขั้นที่สองเรามองอย่างลึกซึ้ง เมื่อเรามองอย่างลึกซึ้ง เราสามารถค้นพบรากแห่งธรรมชาติของสิ่งที่เป็นอยู่ตรงนั้น และเมื่อเธอค้นพบรากแห่งธรรมชาติของสิ่งที่เป็นอยู่ตรงนั้น เธอก็จะเกิดความเข้าใจหรือที่เรียกว่า ปัญญา เธอก็จะหาทางออกจาก ความทุกข์ ความโกรธ จากสิ้นหวัง และอาการซึมเศร้าของเธอได้

พลังแห่งสติคือพลังที่บรรจุพลังแห่งสมาธิไว้ด้วย ในขณะที่พลังแห่งสมาธิก็บรรจุพลังแห่งปัญญาไว้เช่นกัน เพราะฉะนั้น สมาธินำไปสู่ปัญญา ปัญญา คือการกระทำที่ช่วยให้เราหลุดพ้นหรือปลดปล่อย ในพระพุทธศาสนาเราไม่พูดถึงการหลุดพ้นด้วยการ ปลดปล่อยตัวเองด้วยความจำนน แต่เราพูดถึงการหลุดพ้นด้วยการใช้ปัญญา เพราะฉะนั้น เราจะต้องเริ่มต้นด้วยการบ่มเพาะพลัง แห่งสติ พลังแห่งสติก็จะนำมาซึ่งพลังแห่งสมาธิ พลังแห่งสมาธิก็จะนำมาซึ่งพลังแห่งปัญญา นี่คือพลังทั้งสามในพระพุทธศาสนา ที่เราสามารถบ่มเพาะได้

เราสามารถบ่มเพาะสิ่งเหล่านี้ได้ในทุกชั่วขณะและทุกสถานที่ ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าเราจะกำลังนั่ง เดิน ขับรถ รับประทาน อาหาร หรือทำกับข้าว ถึงแม้เธอกำลังขับรถ เธอก็สามารถที่จะบ่มเพาะพลังแห่งสติ สมาธิ และปัญญา เธอสามารถที่จะมีพลังแห่งสติ เกิดสมาธิและปัญญาได้ในขณะที่ขับรถ เธอไม่จำเป็นต้องไปเข้าวัดเพื่อที่จะทำให้เกิดพลังแห่งปัญญา ไม่ผิดที่กล่าวกันว่าที่วัดนั้น มีบรรยากาศที่ทำให้เราฝึกปฏิบัติได้ง่ายขึ้น แต่ความเป็นจริงก็คือ เราสามารถฝึกพลังแห่งสติ สมาธิ ได้ทุกที่ทุกเวลา

เป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะต้องเรียนรู้ที่จะใช้พลังแห่งสติ เพื่อที่จะตระหนักรู้ถึงความรู้สึกที่เจ็บปวด อารมณ์ที่เจ็บปวดในตัวเรา ไม่เพียงแต่จะนำมาซึ่งการปลดปล่อยความรู้สึกเจ็บปวดเหล่านั้น แต่เราสามารถที่จะมองอย่างลึกซึ้งถึงธรรมชาติของอารมณ์ ความรู้สึกนั้น เพื่อที่จะได้รับปัญญา หรือความเข้าใจ ถ้าเราได้รับปัญญาแล้ว เราก็จะหลุดพ้นจากอารมณ์และความรู้สึกที่เจ็บปวด เหล่านั้น เช่น ความโกรธ เกลียด อิจฉา และความซึมเศร้าต่างๆ ...
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 7.0.517.44 Chrome 7.0.517.44


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2553 01:07:42 »


 

ความหมายของ Engaged Buddhism

Engaged Buddhism หรือ พระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตประจำวันของเรา ก็คือการนำ พุทธศาสนาให้ปรากฏอยู่ในทุกชั่วขณะในชีวิตประจำวันของเรา นี้คือความหมายที่แท้จริง อย่างแรกของ Engaged Buddhism แต่บางทีเรามักคิดว่า Engaged Buddhism เป็น พระพุทธศาสนาที่ต่อสู้เพื่อสันติภาพ เพื่อสังคม ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน หรือเพื่อความ เท่าเทียมกัน ที่เรามักจะแปลว่า พระพุทธศาสนารับใช้สังคม แต่จริงๆ แล้วนั่นไม่ใช่ความหมาย ที่แท้จริงทั้งหมด นั้นเป็นเพียงความหมายส่วนหนึ่งของ Engaged Buddhism เท่านั้น

ความจริงแล้ว Engaged Buddhism ก็คือการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ชีวิตของเรามีการฝึกปฏิบัติ อย่างเต็มเปี่ยม ปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวันของเราในทุกชั่วขณะ ไม่ว่าอยู่ในทางใจ หรือกาย ของเราก็ดี เพราะฉะนั้น Engaged Buddhism หรือ พระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตประจำวันนั้น ก็คือการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา ที่เกิดขึ้นในกาย และใจของเรา มันเป็นสิ่งที่เรียบง่ายมาก

Engaged Buddhism คือ การตอบสนองต่อการปรุงแต่งทางกาย (กายสังขาร) และ ทางจิต (จิตปรุงแต่ง-จิตสังขาร) ของเรา มันก็คือเท่านั้นเอง นี่คือความหมายอันแท้จริง ของ Engaged Buddhism อันเป็นพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตประจำวัน

 
การเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาแนวใหม่

เมื่อปี 2497 ฉันเป็นพระธรรมาจารย์ที่ยังหนุ่มมากได้สอนอยู่ในสถาบันพระพุทธศาสนาชื่อว่า สถาบันเอิ๋งกวาง (Ân Quang) ที่ โฮจิมินห์ ในช่วงนั้นกำลังเกิดสงครามในเวียดนามระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดนาม เป็นสงครามระหว่างชาวเวียดนามที่ต่อต้านการเข้ามา เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ในปีนั้นประเทศได้แบ่งเป็นสองส่วน คือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ เวียดนามเหนือเป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนเวียดนามใต้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ มีชาวเวียดนามมากกว่าหนึ่งล้านคนที่หนีออกจากภาคเหนือมาภาคใต้ หลายคนเป็นชาวคาทอลิก มีความสับสนวุ่นวายมากมายในช่วงนั้น ประเทศเราแยกออกเป็นสองส่วน โดยสนธิสัญญาเจนีวา

ในปี 2497 เรามีความสับสนมากมายในจิตใจ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรือฆราวาสก็ตาม เวียดนามเหนือ ได้รับแรงบันดาลใจจากอุดมการณ์ของมาร์กซิส หรือเลนิน เวียดนามใต้ก็ได้การสนับสนุนจากอเมริกา และกลายเป็นชาวคาทอลิค ประธานาธิบดีที่เป็นชาวคาทอลิกได้รับแต่งตั้งโดยสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีคนนั้นพยายามต่อต้านศาสนาอื่น และเน้นการปกครอง แบบลัทธิปูชนียบุคคล (personalism) ลัทธิที่บูชานับถือบุคคลในขณะนั้นได้ปลูกฝังอุดมการณ์ขึ้น ก่อให้เกิดเป็นสงครามทาง อุดมการณ์ ช่วงเวลานั้น มีสงครามและความสับสนมากมาย มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับเดินทางมาที่วัดเอิ๋งกวาง และขอให้ฉันเขียน บทความลงในหนังสือพิมพ์ว่า พระพุทธศาสนานั้นจะช่วยส่องแสงนำสถานการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวายในขณะนั้นได้อย่างไร? สามารถช่วยให้คนเหล่านั้นมีความคิดที่ชัดเจน และไม่สับสนได้อย่างไร? จะมีทางใดบ้างที่พระพุทธศาสนาจะช่วยได้?

พระพุทธศาสนานั้นเป็นวัฒนธรรมโบราณในประเทศเวียดนาม หลายคนมีเมล็ดพันธุ์ในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ผู้อำนวยการของ หนังสือพิมพ์ มินห์ จู๋ ซึ่งอพยพมาจากเวียดนามเหนือ ได้บอกให้ฉันเขียนบทความลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะส่องแสงนำทางพุทธ ศาสนาตามทางจิตวิญญาณ ว่าเราควรจะทำอย่างไรกับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ ฉันยอมรับที่จะเขียน และเขียนทั้งหมด 10 บทความ โดยเขียนในหัวข้อว่า พระพุทธศาสนาในมุมมองใหม่ (A Fresh Look on Buddhism ) หรือ ในภาษาเวียดนามที่ฉันเรียกว่า ด่าว ฝัก กวา หยั่น ทึ๊ก เหมย (Ðao Phâฺt Qua Nhâฺn Thúc Mói) "ด่าว ฝัก" แปลว่าหนทางพระพุทธศาสนา "กวา" แปลว่าผ่าน "หยั่น ทึ๊ก" แปลว่าการมองหรือรับรู้ด้วยปัญญา "เหมย" (Mói) แปลว่าใหม่ นั่นคือ หนทางพระพุทธศาสนาผ่านการมองด้วยปัญญาใหม่ หรือ การมองพระพุทธศาสนาในมุมมองใหม่ ก็คือการเริ่มต้นของ Engaged Buddhism

ในสมัยนั้นฉันยังเขียนด้วยมือ ไม่ได้ใช้เครื่องพิมพ์ดีด หรือ คอมพิวเตอร์ บทความได้พิมพ์อยู่บนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ มีหัวข้อใหญ่เป็นสีแดง มีคนอ่านมากมาย บรรดาหนังสือพิมพ์ก็ยอมรับในหัวข้อพระพุทธศาสนาที่ฉันเขียนอย่างมาก ทุกคนกำลัง แสวงหาหนทางที่ชัดเจน หาทิศทางที่จะเดินไป เพราะทุกคนกำลังสับสนในภาวะบ้านเมืองสมัยนั้น ฉันจำได้ว่าพระจรี๋กวาง (Trí Quang) ตอนนั้นได้อยู่กับฉันที่วัดเอิ๋งกวาง และอยากรู้อยากเห็นมากว่าฉันกำลังเขียนอะไร ทุกเช้า ท่านจะไปซื้อหนังสือพิมพ์และ อ่าน บทความที่ฉันเขียน หลังจากนั้นบทความทั้งสิบชิ้นก็ได้พิมพ์ในหนังสือชื่อ ต่วย บุ๊ค หลังจากนั้นไม่นานเมื่อฉันได้ไปเยี่ยมเมืองเว้ ก็ได้เขียนบทความอีก 10 บทความที่มีชื่อว่า ด่าว ฝัก ไง่ ไน หรือ หนทางพระพุทธศาสนาในวันนี้ (Buddhism for Today) เป็น บทความที่มีเนื้อหาเน้น Engaged Buddhism ในนิตยสาร และได้แปลออกเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วย

ในปี 2506 ฉันได้เป็นอาจารย์ด้านพระพุทธศาสนา ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ช่วงนั้นมีการ เคลื่อนไหวในกลุ่มพระพุทธศาสนา เพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชน เพื่อจะโค่นล้มประธานาธิบดี เดี๋ยน ที่เป็นชาวคาทอลิกที่ต่อต้านพระพุทธศาสนา เธออาจจะเคยได้ยินเรื่องของ พระอาจารย์ กว๋าง ดึ๊ก (Quàng Ðúc) ที่เผาตัวเองอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน วิธีการที่ท่านทำนั้นเป็นวิธีการที่ ไร้ความรุนแรงอย่างสมบูรณ์

หลังจากเหตุการณ์นั้น เพื่อนของฉันเรียกร้องให้ฉันกลับมาสอนหนังสือที่ประเทศเวียดนาม ฉันกลับมาตั้งมหาวิทยาลัยหวั่นหั่น และพิมพ์หนังสือภาษาเวียดนามเกี่ยวกับ Engaged Buddhism ขึ้น เป็นชื่อภาษาเวียดนามว่า ด่าว ฝัก ดี หว่าว ก่วก เด่ย (Ðaฺo Phâฺt Ði Vào Cuôฺc Ðòi) "ด่าวฝัก" แปลว่าหนทางพุทธศาสนา "ดีหว่าว" คือเข้าใน "ก่วกเด่ย" คือชีวิต หมายถึง พุทธศาสนาเข้าในชีวิต ฉันเขียนบทความเหล่านี้มาก่อนหน้านั้นแล้ว ฉันได้รวบรวมและทำเป็น หนังสือออกมาเขียนว่า "นี่คือความหมายที่แท้จริงที่ใช้กันในประเทศเวียดนาม" คำว่า Engaged Buddhism ก็คือ Buddhism enters into life พระพุทธศาสนาเข้าไปใช้ในชีวิต หกเดือนหลังจากนั้น ฉันเขียน หนังสือขึ้นอีกเล่มหนึ่งชื่อว่า ด่าว ฝัก เหี่ยง ได่ หวา (Ðaฺo Phâฺt Hiêฺn Ðaฺi Hóa) แปลว่า พุทธศาสนาทันยุคสมัย (Buddhism updated)

หลังจากเขียน "พุทธศาสนาสำหรับวันนี้" (Buddhism for Today) แล้ว ฉันวางแผนที่จะเขียนหนังสือที่ชื่อว่า "พุทธศาสนา สำหรับพรุ่งนี้" (Buddhism for Tomorrow) (ผู้ฟังหัวเราะ) แต่ว่าเมื่อถึงเวลานั้น ฉันก็ถูกห้ามไม่ให้เขียน เพราะฉันเรียกร้องเรื่อง สันติภาพ รัฐบาลทางใต้ต่อต้านไม่ให้เขียน เพราะว่าฉันไม่ได้ขึ้นอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และฉันก็กำลังเดินทางอยู่ในต่างประเทศ ไม่สามารถกลับเข้ามาได้ ฉันจึงต้องใช้ชีวิตอยู่นอกประเทศ และฉันยังไม่สามารถเขียนหนังสือโดยใช้ชื่อตัวเองได้ ต้องใช้นาม ปากกาเขียนหนังสือ เพื่อที่จะส่งกลับมาพิมพ์ให้ชาวเวียดนามได้อ่าน เมื่อหนังสือของฉันถูกสั่งห้าม ฉันก็ใช้ชื่อใหม่ว่า ซู ดัง ลู (Su Ðan Lu) และใช้อีกชื่อว่า เหวียนลาง (Nguyên Lang) ดังนั้น ถึงแม้ว่าฉันจะถูกเนรเทศอยู่ต่างประเทศถึงสามสิบเก้าปีนั้น ฉันก็เขียน หนังสือมากมายภายใต้ชื่อต่างๆ ให้กับชาวเวียดนามได้อ่านอย่างต่อเนื่อง

พระพุทธศาสนาที่อยู่กับเราทุกชั่วขณะ

เราต้องเข้าใจว่า Engaged Buddhism คือ พระพุทธศาสนาที่อยู่ตรงนั้นกับเรา ในทุกขณะ ในขณะปัจจุบัน ไม่ว่าเรากำลังแปรงฟัน กำลังขับรถ เราต้องหยุดอยู่ตรงนั้นกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ ในขณะที่เรากำลังชอปปิ้งในซูเปอร์มาร์เก็ต เราจะได้รู้ว่าควรซื้ออะไร ไม่ควร ซื้ออะไร (ผู้ฟังหัวเราะ) ฉันคิดว่านั่นคือความหมายพื้นฐานที่สำคัญมากของคำว่า Engaged Buddhism ซึ่งก็คือพระพุทธศาสนาที่ ตอบสนองกับชีวิตที่กำลังเกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลกร้อน เรื่องนิเวศวิทยา การขาดการสื่อสาร สงคราม ความขัดแย้ง ในสังคม การหย่าร้าง ในการที่เราเป็นผู้ฝึกปฏิบัติ เราจะต้องตระหนักรู้ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในกาย อารมณ์ ความรู้สึกของเรา และใน สิ่งแวดล้อม นี่คือ ความหมายของ Engaged Buddhism คือพระพุทธศาสนาที่ตอบสนองกับชีวิต ณ ขณะนี้

เราสามารถพูดเกี่ยวกับ Engaged Buddhismในแง่ของ อริยสัจสี่ ได้ ข้อที่ 1 คือทุกข์ หรือ ill-being ความไม่สบาย ไม่เป็นปกติ ในอดีตนั้นพระอาจารย์ในพระพุทธศาสนามักพูดถึงอริยสัจสี่ ในแง่ที่บอกว่าชีวิตทั้งหมดนั้นเป็นทุกข์ การเจ็บป่วยนั้นเป็นทุกข์ ความแก่ นั้นเป็นทุกข์ มีชีวิตกับคนที่รักก็เป็นทุกข์ มีชีวิตกับคนที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ (ผู้ฟังหัวเราะ) ปรารถนาอะไรแล้วไม่ได้ นั่นก็เป็นความทุกข์ และพยายามที่จะอธิบายอริยสัจสี่ ข้อที่ 1 แบบนั้น

แต่ว่าถ้าเราฝึกเจริญสติแล้ว เราจะต้องตระหนักรู้และบ่งบอกว่า ความทุกข์หรือความไม่สบายไม่ปกติที่เกิดขึ้นในตัวเรา ในร่างกาย ของเรา เช่น ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในกายและใจของเรา ไม่ใช่เพียงแต่ท่องว่า แก่ก็เป็นทุกข์ ป่วยก็เป็นทุกข์ กายก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เรารักก็เป็นทุกข์ แต่เราจะต้องเข้าใจอริยสัจสี่ในแง่มุมใหม่ เราจะต้องบอกว่าอะไรที่เป็นทุกข์ในกายของเรา ไม่ว่า จะเป็นความตึงเครียดในกายและใจ ความโกรธ กลัว ความกังวล ความรุนแรง ครอบครัวที่แตกแยก สังคมที่แตกแยก สงคราม ความขัดแย้ง ผู้ก่อการร้าย การทำลายนิเวศวิทยา การทำลายสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และสิ่งอื่นๆ เราควรจะอยู่ตรงนั้นอย่าง เต็มเปี่ยมในขณะปัจจุบัน เพื่อที่จะตระหนักรู้และบ่งบอกได้ถึงหน้าตาอันแท้จริงของความทุกข์นั้น

แต่ปกติแล้ว เรามักจะมีแนวโน้มที่พยายามจะวิ่งหนีความทุกข์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน เราไม่เผชิญหน้ากับมัน เราไม่อยาก จะตระหนักรู้ เราไม่อยากจะบ่งบอกความรู้สึกเหล่านั้น เรารู้สึกว่ามันหนักเกินไป เราหาวิธีมากมายเพื่อจะหันหลังให้กับความจริงเหล่านั้น เราพยายามที่จะหนีความทุกข์ พยายามวิ่งหนี แต่พระพุทธองค์ได้ทรงแนะนำเราว่าอย่าทำแบบนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงพยายาม สนับสนุนให้เราเผชิญหน้า ให้เราตระหนักรู้กับความทุกข์ที่กำลังเกิดขึ้น และให้มองอย่างลึกซึ้งกับธรรมชาติของความทุกข์นั้น คำสอนของพระพุทธองค์ก็คือ เมื่อเธอไม่เข้าใจความทุกข์ เธอไม่สามารถที่จะเห็นหนทางแห่งการเปลี่ยนแปร และไม่สามารถที่จะ เห็นหนทางแห่งการดับทุกข์ ...๐
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 7.0.517.44 Chrome 7.0.517.44


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2553 01:08:13 »


 

มองเห็นความจริงอันอริยะ

เราทราบดีว่า อริยสัจข้อที่ 1 คือความทุกข์ ส่วนข้อ 4 คือหนทางสู่ การดับทุกข์ ถ้าเราไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับอริยสัจข้อที่ 1 เราก็ไม่ สามารถเห็นหนทางของการดับทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องมองอย่าง ลึกซึ้งในความทุกข์ที่เกิดขึ้น แล้วเราก็จะเห็นอริยสัจข้อที่ 4 คือหนทาง แห่งการดับทุกข์ นั่นคือคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นถ้าเรา วิ่งหนีจากอารมณ์ความรู้สึก ความเจ็บปวดต่างๆ เหล่านั้น ก็ทำให้เรา หลีกเลี่ยงและไม่มีโอกาสที่เห็นหนทางที่จะหลุดออกจากความเจ็บปวด เหล่านั้นได้ เพราะฉะนั้น เราต้องกลับมาสู่บ้านในปัจจุบันของเรา และ อยู่กับมันอย่างเต็มเปี่ยม
เพื่อที่จะตระหนักรู้ความทุกข์ที่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ เธอจะต้อง ฝึกมองอย่างลึกซึ้งที่จะเห็นอริยสัจข้อที่ 1 เมื่อเธอเห็นข้อที่ 1 คือ ความทุกข์แล้ว เธอก็จะเห็นข้อที่ 2 ที่เรียกว่า ธรรมชาติแห่งความทุกข์ (the nature of ill-being) หรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความทุกข์ หรือที่เราเรียกว่า "รากแห่งทุกข์" นั้น หมายความว่า เมื่อเราสามารถ ที่จะมองอย่างลึกซึ้งลงไปในความทุกข์ เราก็สามารถค้นพบธรรมชาติ

ของความทุกข์นั้น หรือความเป็นไปเป็นมา หรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความทุกข์นั้น หรือเหตุแห่งทุกข์ เช่น มีรากมาจากความโกรธ ความไม่รู้ ความคิดเห็นที่ผิด การรับรู้ที่ผิด ความเกลียด การขาดการสื่อสาร พวกเราแต่ละคนจะต้องค้นหาสาเหตุแห่งความทุกข์นั้น ด้วยตัวเราเอง ตัวอย่างเช่น เวลาเรามองเข้าไปในชีวิตที่วุ่นวาย ก็เห็นว่ามีอะไรที่เราต้องทำมากมาย เรามีสิ่งที่จะมุ่งให้สำเร็จ แต่เราไม่มีความ สามารถที่จะมีชีวิตอย่างลึกซึ้งในทุกชั่วขณะ ในชีวิตประจำวันของเรา เราไม่สามารถทำให้ร่างกายของเราผ่อนคลาย ชีวิตที่วุ่นวาย มากเช่นนั้นทำให้เราเกิดความกังวล หรือความรู้สึกไม่ดีอื่นๆ ถ้าเราตระหนักรู้ที่จะอยู่เหมือนกับพระพุทธเจ้า คือดำรงอยู่ในขณะปัจจุบัน ปล่อยให้ความสดใส และการเยียวยารักษาเกิดขึ้นในตัวเรา เราจะไม่กลายเป็นเหยื่อของความเครียด ความกังวลต่างๆ และชีวิตที่ วุ่นวาย เพราะฉะนั้นหนทางที่จะออกจากทุกข์ คือ การที่เรารู้วิธีที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข และผ่อนคลายในขณะปัจจุบัน เราจะต้อง เห็นว่า หนทางการฝึกสตินั้น ก็คืออริยสัจข้อที่ 4 คือ ทางออกแห่งความทุกข์

 
ถอดถอนความคิดเห็นที่ผิด

เวลาเรามีความตึงเครียดอยู่ในตัวเอง เราไม่สามารถที่จะฟังคนอื่นได้อย่างลึกซึ้งไม่สามารถใช้วาจาแห่งความรัก วาจาแห่งสติ และไม่สามารถถอดถอนการรับรู้ที่ผิดได้ เมื่อเรามีความคิดเห็นที่ผิด ก็จะทำให้เราเกิดความกลัว ความรุนแรง ความโกรธ และอื่นๆ เพราะฉะนั้นเราจะต้องหาสาเหตุที่ทำให้เราไม่สบาย นี่คือสิ่งสำคัญมากที่เราจะต้องทำ

เรามักเห็นว่า การเป็นสามีภรรยานั้นยากมาก ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกนั้นมีปัญหา ทุกคนรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เพราะเราไม่รู้ วิธีดูแลความท้อแท้สิ้นหวังของตนเอง และไม่รู้วิธีตามลมหายใจ ไม่รู้วิธีโอบรับความรู้สึกเหล่านั้น เราคิดว่าวิธีเดียวที่จะหยุดความ สิ้นหวังนั้นได้ก็คือการฆ่าตัวตาย ที่ประเทศฝรั่งเศส ในแต่ละปี มีหนุ่มสาวประมาณ 12,000 คนฆ่าตัวตาย เพราะพวกเขาไม่สามารถ ที่จะดูแลอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้ โดยเฉพาะอารมณ์ท้อแท้สิ้นหวัง และพ่อแม่ก็ไม่รู้วิธีดูแลหรือฝึกอบรมลูกของเขาให้ดูแล และโอบรับอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น ครูก็ไม่รู้วิธีดูแลอารมณ์ตนเอง และก็ไม่รู้วิธีสอนลูกศิษย์ให้ดูแลอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นคนหนุ่มสาวจึงเลือกวิธีฆ่าตัวตาย เมื่อคนเราไม่สามารถสื่อสารกันได้ เราไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่เห็นความทุกข์ยาก ลำบากของกันและกัน กล่าวร้ายและตำหนิซึ่งกันและกัน ทำให้ไม่มีความรักและความสุข

 
สงครามก็เกิดขึ้นจากความคิดเห็นที่ผิดเช่นเดียวกันกับการก่อการร้าย ผู้ก่อการร้ายคิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งพยายามที่จะทำลายพวกเขา ผู้ก่อการร้ายคิดว่าประเทศของเขาจะถูกทำลาย ศาสนาของเขาจะถูกทำลาย เขาจึงพยายามหาวิธีที่จะลงโทษอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าเรามอง อย่างนี้ เราจะเข้าใจว่า มีความเข้าใจที่ผิดอันทำให้เกิดความกลัว และนี่คือพื้นฐานที่ทำให้เกิดการก่อการร้าย ทำให้เกิดความรุนแรง เรารู้ดีว่า สงครามในประเทศอิรักไม่ได้ช่วยลดจำนวนการก่อการร้ายลดลงเลย แต่กลับเพิ่มจำนวนขึ้น เพราะว่าพื้นฐานแห่งความ เข้าใจผิด ความคิดเห็นที่ผิดนี้ทำให้เกิดความโกรธ ความโกรธยังไม่ได้รับการถอดถอนออกไป เราจำเป็นต้องถอดถอนความคิดเห็น และความเข้าใจที่ผิด เพื่อถอดถอนการก่อการร้าย การวางระเบิดที่สนามบินหรือการต่อต้านด้วยอาวุธต่างๆ ไม่สามารถถอดถอน ความเข้าใจหรือความคิดเห็นที่ผิดได้

มีเพียงแต่วาจาแห่งความรัก การฟังอย่างลึกซึ้งด้วยความเมตตากรุณาเท่านั้น ที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปร ช่วยปกป้องไม่ให้ เขาเกิดความเข้าใจผิด พวกเราที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในการทหาร การเมือง ไม่รู้จักฝึกปฏิบัติแบบนี้ จึงใช้อาวุธและความรุนแรง เพื่อ ถอดถอนผู้ก่อการร้าย แต่เวลาเรามองอย่างลึกซึ้งจะเห็นรากของความทุกข์นั้น เมื่อนั้นเราจะเห็นอริยสัจข้อที่ 2 คือสิ่งที่ประกอบกัน ให้เกิดความทุกข์นั้น

มีประเทศกำลังพัฒนามากมาย เช่น ประเทศจีน ที่มีประชากรจำนวนมาก และมีการ บริโภคมากมายเช่นกัน เขาต้องการพลังงานจำนวนมากทั้งไฟฟ้า ก๊าซ และน้ำมันต่างๆ เขาจึงต้องผลิตพลังงานมากขึ้น และอุตสาหกรรมก็เพิ่มขึ้น นี้ส่งผลให้เกิดการทำลาย ระบบนิเวศวิทยามากขึ้นด้วย และทำให้เกิดปรากฏการณ์ของภาวะโลกร้อนมากขึ้น ซึ่ง เป็นปัญหาหนักมากขึ้นทุกวัน
ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ เราต้องลดอุตสาหกรรมทำเนื้อสัตว์ 50% เพื่อที่จะรักษาภาวะโลกร้อนของเรา ฉันได้เขียนจดหมายถึงลูกศิษย์ของฉัน และกระตุ้น ให้เขาช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยการลดการรับประทานเนื้อสัตว์ลง 50% ในประเทศ เวียดนามเรามีประเพณีไม่รับประทานเนื้อสัตว์เดือนละ 10 วัน ฉันได้บอกเขาว่า อาจจะ เป็น 15 วัน เพราะเราต้องลดลง 50% เพื่อที่จะแก้ปัญหานี้

ถ้าเรามองเข้าไปถึงความทุกข์ เราจะเห็นรากของความทุกข์นั้น และในทันทีทันใด เราก็จะเห็นหนทางแห่งการดับทุกข์นั้น เราจะรู้วิธีที่จะอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เราก็จะ มีโอกาสเบิกบานกับโลกนี้

สิ่งที่ชัดเจนก็คือ อริยสัจข้อที่ 4 เราจะออกจากทุกข์ได้ เมื่อเรามองอย่างลึกซึ้ง ลงไปในความทุกข์ของเรา หรืออริยสัจข้อที่ 1 และมองอย่างลึกซึ้งในอริยสัจข้อที่ 2 คือ รากแห่งทุกข์นั้น และเมื่อเราฝึกปฎิบัติข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการ เราสามารถที่จะ ฝึกสติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการฝึกปฏิบัติความรักความเมตตา กรุณา อันนี้คือ ความรักที่แท้จริง และหนทางสู่การดับทุกข์นั้น ต้องบรรจุไปด้วยการฝึกปฏิบัติข้อ อบรมสติ 5 ประการด้วย หรือการฝึกศีล 5 ตามแนวทางหมู่บ้านพลัม เพราะนั่นก็คือ การฝึกปฏิบัติความรักที่แท้จริง

 
 
ปัญญาแห่งการเป็นดั่งกันและกัน

 
ในการฝึกปฏิบัติที่เรียกว่า "มรรค 8" นั้น พระพุทธองค์ได้ทรงสอนข้อหนึ่งที่พูดถึงสัมมาทิฏฐิ หรือการมีความคิดเห็นที่ถูกต้อง ความคิดเห็นที่ถูกต้อง คือ ปัญญาที่เกี่ยวกับการเป็นดั่งกันและกัน สมมติว่าเรามองไปที่คู่ครองคู่ใดคู่หนึ่ง เรามองไปที่คุณพ่อกับ ลูกชาย การฝึกที่จะมองอย่างลึกซึ้งนั้น จะช่วยให้เราเห็นว่าลูกชายก็คือผู้สืบเนื่องของคุณพ่อ คุณพ่อก็มีลูกชายอยู่ในทุกอณูเซลล์ อยู่แล้ว ลูกชายก็มีคุณพ่ออยู่ในทุกอณูเซลล์ เพราะฉะนั้นเมื่อเรามองเข้าไปในลูกชาย เราจะเห็นคุณพ่อ เรามองไปที่คุณพ่อ เราจะ เห็นลูกชาย

เวลาที่เราปลูกข้าวโพด เราบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลงไปในดิน ประมาณสักสองอาทิตย์ เราจะเริ่มเห็นต้นข้าวโพดอ่อนๆ ขึ้นมา มีใบไม้สองใบ เราจะไม่เห็นเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอีก แต่เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดนั้นไม่ได้หายไปไหน มันยังมีชีวิตอยู่ในต้นข้าวโพดอ่อนนั้น หากเธอสามารถที่จะมองอย่างลึกซึ้งด้วยปัญญา เธอจะเห็นเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอยู่ในรูปแบบใหม่ นั่นคือ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดกลายเป็น ต้นข้าวโพด คุณพ่อและลูกชายเช่นเดียวกัน เมื่อเรามองไปที่ลูกชาย เราก็จะเห็นคุณพ่อ ถ้าเราเห็นความทุกข์ของลูกชาย ก็ต้องเห็นว่า เป็นความทุกข์ของคุณพ่อด้วย เช่นเดียวกัน ความสุขของคุณพ่อก็เป็นความสุขของลูกชายด้วย เมื่อมองอย่างลึกซึ้งเช่นนั้น เธอจะ ค้นพบความจริงของการเป็นดั่งกันและกัน ความสุขนั้นไม่ใช่เรื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือเป็นเรื่องส่วนตัว เมื่อพ่อเป็นทุกข์ ลูกก็ เป็นทุกข์ เมื่อพ่อเป็นสุข ลูกก็เป็นสุข เพราะฉะนั้น ถ้าเรามองเช่นนั้นเราจะสามารถสัมผัสความจริงแห่งการไร้ตัวตน ความจริงแห่ง อนิจจัง ความจริงแห่งอนัตตา และความจริงแห่งการเป็นดั่งกันและกันที่เห็นว่าพ่อและลูกไม่ได้แยกจากกัน พวกเขามีความเชื่อมโยง สัมพันธ์เป็นดั่งกันและกัน ความเป็นอนิจจัง (impermanence) ความเป็นดั่งกันและกัน (inter-being) และความเป็นอนัตตา (no self) นั่นคือปัญญาต่างๆ ที่ช่วยนำมาซึ่งสัมมาทิฏฐิ หรือความคิดเห็นที่ถูกต้อง (right view)

 
 
ความคิดเห็นที่ไม่แบ่งแยก

 
ทุกครั้งเวลาที่เราปฏิบัติภาวนา เวลาที่เรามีความคิดผุดขึ้นมา เราคิดอะไรขึ้นมา เราจะต้องตระหนักรู้ธรรมชาติของความคิดนั้น ซึ่งก็คือจิตปรุงแต่ง 1 ใน 51 ประเภท เวลาที่เธอมีความคิดเกิดขึ้น ความคิดนั้นอาจจะไปในทิศทางที่เข้าใจ เมตตากรุณา ไม่มีการ แบ่งแยก ซึ่งพระพุทธเจ้าอธิบายว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง บางทีเมื่อเธอสามารถที่จะมีความคิดที่ถูกต้อง เธอจะรู้สึกดีในกายและใจ ของเธอ ผู้ฝึกปฏิบัติที่ดีนั้นมีความสามารถที่จะสร้างความคิดมากมายในทุกวัน ความคิดเห็นที่ถูกต้องคือคิดไปในทิศทางที่ไม่แบ่งแยก ไม่มีตัวตนและเป็นดั่งกันและกัน ในการที่เราจะมีความคิดเห็นที่ถูกต้องได้ เราก็ต้องมีปัญญาที่ถูกต้องด้วย หากเราไม่มีความคิดเห็น ที่ถูกต้อง ก็จะมีความรู้สึกที่อยากจะลงโทษเขา นั่นไม่ใช่ความคิดเห็นที่ถูกต้อง ความคิดนั้นจะทำลายสุขภาพของเรา สังคมของเรา อันนี้ก็คือมิจฉาทิฏฐิ หรือความคิดเห็นที่ผิด นี่คือหนทางที่นำไปสู่ความทุกข์
แต่หากเราฝึกปฏิบัติให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา ก็จะนำไปสู่หนทางที่จะออกจากทุกข์ เราต้องสัมผัสกับความจริงแห่งอนิจจัง อนัตตา ความจริงแห่งการเป็นดั่งกันและกัน ความคิดเห็นที่ถูกต้อง (right view) จะช่วยให้เราสร้างวาจาที่ถูกต้อง หรือสัมมาวาจา เมื่อเราพูด อะไรสักอย่าง แล้วสิ่งที่พูดนั้นนำใจให้เกิดความหวัง ความเชื่อมั่น นั่นก็คือวาจาที่ถูกต้อง เมื่อเราเขียนจดหมายที่เต็มไปด้วยความรัก การให้อภัย ความใจดี เราจะรู้สึกถึงความประเสริฐ เมื่อเราพูดอะไรที่ทำให้มีความสุข คำพูดนั้นจะทำให้เกิดการบำบัดเยียวยาในตัวเรา และอีกฝ่ายหนึ่งในทันทีทันใด แล้วเราก็จะมีความสุข นี่ก็คือการดับทุกข์ พระพุทธเจ้าได้พูดถึงหนทางที่ถูกต้อง โดยการกระทำที่ ถูกต้องคือการกระทำที่ช่วยปกป้องเกื้อกูลรักษาให้เราปลอดภัย เมื่อเรามีการกระทำที่ถูกต้องเช่นนั้น เธอจะรู้สึกถึงการเยียวยาและ มันจะเกิดขึ้นในอีกฝ่ายหนึ่งด้วย

อริยสัจข้อที่ 4 คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาก เช่น การมีความคิดเห็นที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดวาจาที่ถูกต้อง การกระทำที่ถูกต้อง ข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการนั้นเกี่ยวข้องกับความคิดเห็นที่ถูกต้อง วาจาที่ถูกต้อง การกระทำที่ถูกต้องด้วย ถ้าเรา สามารถประยุกต์ และนำคำสอนไปใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ในครอบครัว ในที่ทำงาน ในชุมชน ในสังคม เราก็จะสามารถช่วย หยุดความทุกข์ได้มากมาย และนำความสุขมาได้มากมาย นี่เป็นสองสามตัวอย่างที่จะช่วยให้เราเห็นว่า Engaged Buddhism สามารถที่ จะเข้าใจในแง่อริยสัจ 4 ได้ด้วย นี่คือความหมายที่ฉันพยายามอธิบายความหมายของ Engaged Buddhism

Engaged Buddhism เป็นพระพุทธศาสนาแบบที่สามารถอธิบายและบ่งบอกถึงความทุกข์ความไม่สบายตามหนทางแห่งอริยสัจ 4 ทั้งยังตอบสนองต่อความทุกข์ความไม่สบายตามหนทางแห่งอริยมรรค การตอบสนองในขั้นต้นมุ่งไปยังความทุกข์ร่างกายของเรา ต่อมาก็เป็นจิตของเรา คือความรู้สึกและการรับรู้ของเรา และต่อมาคือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นของคนรอบข้างเรา สิ่งแวดล้อมของเรา การตอบสนองต่อความทุกข์และการมีชีวิตอย่างมีความสุขด้วยวิถีที่สงบ ก็คือการฝึกปฏิบัติตามแบบของพระอวโลกิเตศวรนั่นเอง ...๐

 
 
บทความนี้เป็นปาฐกถาธรรมที่ท่านติช นัท ฮันห์ ได้แสดงไว้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ณ เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ในงานภาวนา Engaged Buddhism for the 21st. Century เพื่อเตรียมฉลองวันวิสาขบูชาโลก

แปลโดย : ภิกษุณีนิรามิสา

 
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
kidnakub22
นักโพสท์ระดับ 3
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 10


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2553 08:09:58 »

ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ
บันทึกการเข้า
คำค้น: Engaged Buddhism ความสืบเนื่อง การฝึก ปฏิบัติ ทุกย่างก้าว ชีวิต ติช นัท ฮันห์ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
Engaged Buddhism ความสืบเนื่องแห่งการฝึกปฏิบัติในทุกย่างก้าวของชีวิต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 4 3436 กระทู้ล่าสุด 04 ธันวาคม 2555 14:03:35
โดย pluskit031
พุทธตันตระ - วัชรยาน (The Essense of Jung's Psychology and Tibetan Buddhism)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2481 กระทู้ล่าสุด 18 กรกฎาคม 2559 22:20:36
โดย มดเอ๊ก
"มหาธรรรม 16" พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม Engaged Buddhism
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1189 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2559 15:35:52
โดย มดเอ๊ก
” Engaged Buddhism” พุทธศาสนาเพื่อสังคม ธรรมบรรยาย โดย ท่านติช นัท ฮันห์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 3 2708 กระทู้ล่าสุด 25 กรกฎาคม 2559 14:33:20
โดย มดเอ๊ก
คำนิยมปฏิบัติการแห่งความรัก ปาฐกถาธรรมแนะนำ ท่านติช นัท ฮันห์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1097 กระทู้ล่าสุด 19 สิงหาคม 2559 23:56:12
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.197 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 มีนาคม 2567 00:12:57