[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 18:38:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พริกมีประโยชน์ ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้นะเออ... !!!  (อ่าน 1655 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 มีนาคม 2553 15:36:46 »

พริกขี้หนูสดลดระดับน้ำตาลในเลือด




นี่แหละเผ็ดของจริง


Capsaicin ในพริกขี้หนู ซึ่งทำให้เกิดความเผ็ดร้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางยา เชื่อกันว่ามีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

รศ.สุพีชา วิทยเลิศปัญญา ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัยเรื่อง “เภสัชจลนศาสตร์ของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูสด และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพริกขี้หนูสดต่อน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดี” เพื่อพิสูจน์สรรพคุณของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้หรือไม่

Capsaicin ว่าพบมากที่สุดบริเวณรกของพริกขี้หนู วิธีในการวิจัยระยะแรกจะศึกษานำร่องในอาสาสมัครจำนวน 2 ราย เพื่อพิสูจน์ปริมาณที่เหมาะสมของสาร Capsaicin ในพริกขี้หนูที่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลลดลง

การวิจัยเลือกใช้พริกขี้หนูขนาด 5 กรัม ผลปรากฏว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้อย่างเห็นได้ชัด จากนั้นจึงทดลองในอาสาสมัครจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็น 12 ราย

อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งรับประทานพริกขี้หนูบรรจุในแคปซูลพร้อมกับน้ำตาลความเข้มข้น สูง อาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งรับประทานแคปซูลเปล่า เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม จากนั้นจึงวัดระดับน้ำตาลในเลือดทุก 15 นาที ตั้งแต่เริ่มรับประทานยาเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลปรากฏว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัดในนาทีที่ 30 เป็นต้นไป

กลุ่มที่รับประทานพริกขี้หนูสดมีระดับน้ำตาลลดลงมากกว่ากลุ่มที่รับประทานแคปซูลเปล่า และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

นอกจากนี้ จากการวิจัยโดยให้กลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานแคปซูลเปล่ามารับประทานพริกขี้ หนูสด และเจาะเลือดวัดระดับอินซูลิน รวมทั้งวัดระดับ Capsaicin ใน เลือดของอาสาสมัครกลุ่มที่รับประทานพริกขี้หนูสดที่บรรจุในแคปซูล ผลปรากฏว่าระดับอินซูลินในกลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานพริกขี้หนูสดอยู่ใน ระดับคงที่ ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานพริกขี้หนูสดมีระดับอินซูลินลดลง

แสดงให้เห็นว่า Capsaicin จาก พริกขี้หนูสดสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่าพริกขี้หนูสดขนาด 5 กรัมมีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้ ผลที่ได้น่าจะมาจากการที่ Capsaicin เข้าสู่ร่างกายและออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินนั่นเอง

รศ.สุพีชา กล่าวเสริมว่า นอกจากพริกขี้หนูสดแล้วยังมีสมุนไพรชนิดอื่น เช่น ใบหม่อน มะระขี้นก ฯลฯ ที่มีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป เพื่อใช้สมุนไพรดังกล่าวเสริมกับการรับประทานยาแผนปัจจุบัน สำหรับงานวิจัยที่จะทำต่อไปในอนาคตจะศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานต่อไป






ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิชาการดอทคอม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.3 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 05:25:45