[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 03:19:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพระพุทธบาทบัวบก - ฟังเสียงนำสวดบูชาภาษาอีสาน (ตามรอยอารยธรรมบ้านผือ ตอนที่ 1)  (อ่าน 7777 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 ธันวาคม 2557 16:25:31 »

.



ตามรอยอารยธรรมบ้านผือ
วัดพระพุทธบาทบัวบก
ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

วัดพระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูพระบาท ซึ่งเชื่อมต่อกับเทือกเขาภูพานทางทิศเหนือ ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือระยะทางประมาณ ๑๖ กิโลเมตร

วัดนี้มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่ บริเวณที่สร้างวัด ยังปรากฏหลักฐานของศาสนสถานและแหล่งอาศัยของคนโบราณ ทางขึ้นไปยังวัดคดเคี้ยวตามแนวลาดของภูเขา ผ่านป่าไม้และลำธารที่สวยงาม มีเพิงหินและก้อนหินธรรมชาติรูปร่างแปลกๆ ตั้งกระจัดกระจายประดับประดาตามแนวเขาอยู่ทั่วไป ก้อนหินเหล่านี้เป็นหินทรายละเอียดปนก้อนกรวดขนาดเล็กอัดกันแน่น มีสีสันต่างๆ กัน เช่น ชมพู แดง เหลือง แสดและเทา ตามเพิงหินต่างๆ มีร่องรอยว่าเคยถูกดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของคน  ภายในบริเวณวัดมีสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาหลายอย่าง เช่น รอยพระพุทธบาท เสมาหิน และโบสถ์สมัยโบราณ   

เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ คณะสงฆ์และชาวบ้านได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์สร้างเป็นวัดขึ้นอีก โดยมี พระอาจารย์สีทัตถ์  สุวรรณมาโจ พระวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงของภาคนี้เป็นผู้นำในการก่อสร้าง





ประวัติความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทบัวบก กล่าวกันว่ามีในหนังสือตำนานพระเจ้าเหยียบโลก ซึ่งเขียนบันทึกไว้เป็นภาษาลาว เกี่ยวกับการเสด็จไปโปรดสัตว์ในที่ต่างๆ ของพระพุทธองค์  เจ้าอธิการประสิทธิ์ พากุล ได้อ้างถึงหนังสือเล่มนี้ว่า ในตอนปัจฉิมโพธิกาล องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จออกประกาศธรรมที่ทรงตรัสรู้ตามสถานที่ต่างๆ ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เสด็จมาประทับที่ดอยนันทะดังฮี ในแคว้นหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้ประทับรอยพระพุทธบาทตามสถานที่เสด็จผ่านหลายแห่ง เป็นต้นว่า ที่พระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  ที่พระบาทโพนเพ็น อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย  ที่พระบาทเวินปลา บ้านสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  และที่พระบาทธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร เป็นต้น

ในระหว่างที่ประทับอยู่ดอยนันทะดังฮี  พระองค์ได้ทรงทราบว่านาคในแถบนี้มีความดุร้ายและรบกวนมนุษย์และสัตว์อยู่เสมอ จึงตัดสินพระทัยเสด็จไปยังถ้ำหนองบัวบานและถ้ำบัวบก อันเป็นที่อยู่อาศัยของนาคสองตัว คือ กุทโธปาปนาคและมิลินทนาค  เมื่อเสด็จมายังถ้ำหนองบัวบาน กุทโธปาปนาคได้แผลงฤทธิ์และพยายามทำร้ายพระพุทธองค์ แต่ไม่สามารถทำอันตรายพระองค์ได้ นาคจึงคลายความดุร้ายและยอมจำนนต่อพระพุทธองค์ พระองค์ได้ประทานพระธรรมแก่กุทโธปาปนาค มีใจความว่า “ผู้ใดทำบาปย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ เมื่อละจากโลกนี้ย่อมมีความเศร้าโศก ชื่อว่าความเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เพราะเห็นว่ากรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน ถ้าผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง ท่านเรียกผู้นั้นว่าสมณะเพราะเป็นผู้ระงับบาปได้ เหมือนตัวเราตถาคต ถ้าผู้ใดมีศรัทธามีปัญญาตั้งตนอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม แม้จะอยู่คนเดียวย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติและพวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธาได้ เหมือนตัวเราตถาคต  ถ้าผู้ใดมีศรัทธามีปัญญาตั้งตนอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม แม้จะอยู่คนเดียวย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติและพวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธาได้”  เมื่อได้ฟังหัวข้อธรรมที่พระองค์ได้เสด็จแล้ว กุทโธปาปนาคก็มีจิตใจเลื่อมใสและยอมเป็นศิษย์นับถือพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง กุทโธปาปนาคหวนระลึกถึงน้องชาย คือมิลินทนาคซึ่งมีนิสัยพาลเกเรชอบรังแกมนุษย์และสัตว์ต่างๆ จึงกราบทูลขอให้พระพุทธองค์เสด็จไปโปรด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้เสด็จไปยังถ้ำบัวบกอันเป็นที่อาศัยของมิลินทนาค นาคตัวนี้ได้สำแดงเดชพยายามทำร้ายพระองค์ด้วยวิธีต่างๆ แต่ไม่สัมฤทธิ์ผล นาคจึงปลอมแปลงกายเป็นคนเข้าไปกราบคารวะ เพื่อให้พระพุทธองค์อภัยโทษและเป็นที่พึ่งของตน พระพุทธองค์ได้พิจารณาอาการของมิลินทนาคเห็นว่ามีนิสัยพอที่จะรับฟังธรรมได้ จึงได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรด มีใจความว่า “บุคคลใดมั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้ เมื่อละจากโลกนี้ย่อมดีใจในสวรรค์ จะอยู่ที่ใดบุคคลผู้นั้นย่อมมีใจอันเบิกบาน สำหรับเวทมนต์ ญาติและพวกพ้องจะนำสุขมาให้ในสัมปรายิกภพไม่ได้ ส่วนพวกมีศีลเพ่งพินิจถึงคุณโทษของสิ่งชั่วร้ายเท่านั้นจะนำความสุขมาให้”  เมื่อมิลินทนาคได้ฟังจึงได้สำนึกถึงความผิดในอดีตของตน จึงหาหนทางแก้ไขและกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพุทธศาสนา แต่พระพุทธองค์ไม่ยอมให้อุปสมบท เพราะทรงเห็นว่ามิลินทนาคเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นการผิดวินัยของพระองค์ จึงเพียงแต่ประทานพระไตรสรณคมน์ให้ถือปฏิบัติ เมื่อมิลินทนาคขอบรรพชาอุปสมบทไม่ได้ จึงกราบทูลขอรอยพระพุทธบาทไว้เพื่อจะได้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ประทานรอยพระบาทไว้ที่ไหล่เขาภูพาน ณ บริเวณใกล้ปากถ้ำของพญามิลินทนาคและตรัสว่า “เจ้าอย่าขึ้นมารบกวนมนุษย์และสัตว์ให้ได้รับอันตรายเลย ตั้งอยู่ในพื้นบาดาลโน้นเถิด ตราบใดในระยะขวบปี หรือเจ็ดวัน ถ้าได้ยินเสียงฆ้องกลองขอให้เข้าใจว่าศาสนาของเราตถาคตยังอยู่ แต่ตราบใดชั่วระยะเจ็ดวันไม่ได้ยินเสียงฆ้องกลอง ขอให้เข้าใจว่าศาสนาของตถาคตสิ้นไปแล้ว และเจ้าจงขึ้นมาบนพื้นโลกเพื่อรักษาศาสนาสมบัติของเราไม่ให้เป็นอันตรายเถิด เราตถาคตได้กำหนดอายุของพระพุทธศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ พระวัสสา จากนั้นไปศาสนาของเราก็เสื่อมไป”  หลังจากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ก็บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือตามไหล่เขาภูพานมุ่งตรงไปสู่มัธยมประเทศ กลับไปยังเชตะวันมหาวิหารอันเป็นที่ประทับของพระองค์


ด้วยเหตุนี้ผู้มาทำบุญที่วัดพระพุทธบาทบัวบก
จึงมีคำนมัสการกล่าวถึงมิลินทนาคผู้ขอประทานรอยพระพุทธบาทนี้ไว้จนทุกวันนี้ว่า

“มิลินทะนาคะราชา ยาจิโต โคตะมะ พุทธะเสฏฐัง ปาทะวะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา”



ใกล้กันกับรอยพระพุทธบาทบัวบก ปัจจุบันยังมีเพิงหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ มีหินสองก้อนตั้งซ้อนกันโดยธรรมชาติ ก้อนบนเป็นหลังคากันแดดและฝนได้ ก้อนล่างมีโพลงลึกเข้าไป ในหินมีน้ำขังอยู่เต็ม ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นที่อยู่ของมิลินทนาค จึงเรียกกันว่า “ถ้ำพญานาค” รอบๆ ถ้ำนี้มีต้นดอกลั่นทมขึ้นอยู่โดยรอบ ดอกไม้ส่งกลิ่นหอมเย็นไปทั่วบริเวณ ตามโขดหินรอบๆ วัดมีกุฏิพระอยู่เรียงราย กุฏิบางหลังตั้งอยู่บนก้อนหินขนาดใหญ่ มีต้นไม้ขึ้นอยู่โดยรอบ ทำให้บริเวณวัดมีความสงบร่มเย็น เหมาะสำหรับบำเพ็ญธรรมและวิปัสสนาอย่างยิ่ง

ปูชนียวัตถุที่สำคัญที่สุดในวัดพระพุทธบาทบัวบกคือพระพุทธบาท ซึ่งมีพระธาตุเจดีย์สร้างครอบอยู่ รอยพระพุทธบาทเดิมมีรูปพรรณสัณฐานเป็นแอ่งลึกเข้าไปในพื้นหินประมาณ ๑ ศอก พื้นพระพุทธบาทมีรูปกงจักรอยู่ตรงกลาง รอบๆ กงจักรมีรูปสัตว์ต่างๆ นิ้วทุกนิ้วมีความยาวเสมอกัน พระพุทธบาทมีขนาดกว้างประมาณ ๑ เมตร ยาว ๒ เมตร เหนือรอยพระพุทธบาทมีสิ่งก่อสร้างคล้ายอุโมงค์ครอบอยู่ ต่อมาได้สร้างพระเจดีย์ใหม่แทนอุโมงค์เก่าและโบกปูนให้พื้นภายในเสมอกัน พร้อมกันนั้นได้ยกขอบรอบพระพุทธบาทให้สูงขึ้นจากพื้นหินประมาณ ๐.๘๐ เมตร ตามแนวเดิมพระเจดีย์องค์ใหม่ สร้างขึ้นตามแบบที่จำลองมาจากพระธาตุพนม โดยรื้ออุโมงค์อิฐที่ครอบรอบพระพุทธบาทเดิมออก รูปพรรณสัณฐานของเจดีย์นี้เป็นรูปดอกบัวเหลี่ยม สูงประมาณ ๔๐ เมตร ฐานกว้างยาวด้านละ ๘ เมตร เจดีย์แบ่งออกเป็น ๕ ชั้นซ้อนกันขึ้นไป ตอนล่างชั้นที่ ๑ และ ๒ มีลวดลายปูนแกะสลักเป็นรูปซุ้มประตู และเสาต่างๆ บนซุ้มประดับด้วยลวดลายดอกบัวห้าแฉก ส่วนด้านข้างมีลวดลายเครือเถา คน สัตว์ บางตอนประดับประดาด้วยกระจกกลมและเหลี่ยม การตกแต่งลวดลายบนฐานเจดีย์ คล้ายคลึงกับลวดลายบนฐานของพระธาตุพนม แต่ฝีมือไม่ละเอียดงดงามเท่า ชั้นที่ ๓ ตอนบนของเจดีย์มีลวดลายดอกปูนปั้นประดับกระจก ชั้นต่อไปประดับด้วยกระจกสี่เหลี่ยมไม่มีลวดลาย ชั้นบนสุดสร้างบนยอดแหลมคล้ายปิระมิด ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพบในอุโมงค์เก่าตอนรื้อออก ยอดเจดีย์มีฉัตร ๕ ชั้น ฐานเจดีย์มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ๒ ชั้น

อาจารย์ศรีทัตถ์และคณะใช้เวลาปฏิสังขรณ์บริเวณวัดและก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทเป็นเวลาประมาณ ๑๔ ปีจึงแล้วเสร็จ ในระหว่างการดำเนินงานได้ประสบปัญหาทางเทคนิคเกี่ยวกับการก่อสร้างนานาประการ วัสดุและอุปกรณ์ก็ต้องนำมาจากสถานที่ห่างไกลด้วยความยากลำบาก เพราะการคมนาคมยังไม่สะดวกแต่ด้วยแรงศรัทธาและความอุตสาหะของคณะสงฆ์และชาวบ้านช่วยกันแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ทำให้การก่อสร้างได้ดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง องค์เจดีย์เสร็จบริบูรณ์เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๑,๕๐๐.๕๔ บาท

ในบริเวณวัดพระพุทธบาทบัวบก มีพระธาตุเจดีย์ขนาดย่อมอีกองค์หนึ่ง ตั้งอยู่บนโขดหินมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายคลึงกับพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ แต่มีลวดลายปูนปั้นแตกต่างไปเล็กน้อย เจดีย์นี้สร้างขึ้นบรรจุอัฐิอาจารย์บุญ ซึ่งเคยมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก และชอบสถานที่นี้มาก เมื่อถึงแก่มรณภาพลูกศิษย์จึงมาสร้างธาตุบรรจุอัฐท่านขึ้นที่นี่



บริเวณลานวัดด้านข้างพระธาตุเจดีย์ใหญ่ มีเพิงหินขนาดย่อม ๒ เพิง ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นที่เก็บพระพุทธรูปขนาดเล็ก มีทั้งของใหม่และเก่าวางอยู่เรียงราย ด้านหน้าเพิงแกะสลักหินเป็นพระพุทธรูปนั่งเป็นแถว แต่เป็นฝีมือสมัยหลัง แกะสลักไม่สู้ละเอียดนัก ด้านหน้าของเพิงหินที่อยู่ใกล้ฐานเจดีย์องค์ใหญ่ มีเสมาหินขนาดใหญ่ปักอยู่ด้วย เสมานี้เป็นรูปกลีบบัวสูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร เดิมมีรอยจารึกด้วยอักขระโบราณ แต่ปัจจุบันลบเลือนไปจนเกือบหมด เพราะถูกขูดออกเพื่อบันทึกปีการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ คือพุทธศักราช ๒๔๖๗-๒๔๗๓ จึงเป็นที่น่าเสียดายที่หลักฐานสำคัญที่อาจบอกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนสถานในบริเวณนี้สมัยก่อนปฏิสังขรณ์ถูกทำลายไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ใกล้เนินหินทั้งสองนี้มีโบสถ์ขนาดเล็กหลังหนึ่ง โบสถ์หลังนี้ต่อเติมจากโบสถ์เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งสร้างขึ้นติดกับเพิงหินขนาดใหญ่ โดยดัดแปลงใช้ประโยชน์ เพิงหินธรรมชาติเป็นกำแพงด้านหลังและหลังคาบางส่วน ที่เหลือจึงก่อกำแพงอิฐโบกปูนด้านข้างพร้อมทั้งต่อเติมหลังคาบางส่วน ที่เหลือจึงก่อกำแพงอิฐโบกปูนด้านข้างพร้อมทั้งต่อเติมหลังคาด้วยแผ่นสังกะสี หน้าจั่วมีลวดลายปูนปั้นรูปช้างประดับด้วยกระจกรอบๆ มีเสมาหินขนาดค่อนข้างเล็กปักอยู่ตามุมต่างๆ เสมาหินส่วนมากหักชำรุด ไม่มีการแกะสลักลวดลายหรือจารึกอักขระลงบนแท่งเสมาเหล่านี้

ด้านหลังของโบสถ์มีศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ภายในวัดมีบ่อน้ำและถังหลายใบสำหรับเก็บน้ำที่ไหลลงมาจากยอดเขาและน้ำฝนไว้สำหรับใช้และบริโภคได้ตลอดปี ตามปกติชาวบ้านใกล้เคียงมักขึ้นมาทำบุญในวันพระ สำหรับงานบุญไหว้พระพุทธบาทจัดเป็นประจำทุกปีในเดือน ๔ ขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ จะมีผู้คนขึ้นไปนมัสการจำนวนมากเป็นพิเศษ  ในวันธรรมดาบริเวณวัดมักเงียบสงบ นานๆ จึงจะมีผู้คนขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทและชมโบราณสถานและศิลปวัตถุที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง


















Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2557 16:54:48 »

.







สวดมนต์ วัดพระพุทธบาทบัวบก

นับว่าตนเองเป็นผู้โชคดี
เมื่อได้บูชาพานดอกไม้ (ราคาแล้วแต่ศรั่ทธา )
เพื่อกราบรอยพระพุทธบาท ใต้เจดีย์พระพุทธบาทบัวบก
คุณป้าผู้จำหน่ายดอกไม้ของวัด กรุณานำเราไปที่เจดีย์พระพุทธบาท
สอนวิธีการบูชา และนำสวดบูชาพระธาตุเจดีย์ด้วยสำเนียงภาษาอีสานอันไพเราะ
ก้องกังวานไปทั่วปริมณฑล โถงใต้เจดีย์พระพุทธบาทบัวบก

ด้วยไม่เคยประสบมาก่อน จึงต้องตามคณะที่ไปด้วยกันบางคน
ที่ยังไม่ได้เข้ามากราบรอยพระพุทธบาท
ให้เข้ามากราบบูชา และขออนุญาตถ่ายวีดีโอการนำสวด
เผยแพร่สู่สารธารณชนต่อไป.




โปรดติดตาม
ลำดับต่อไป

ตามรอยอารยธรรมบ้านผือ (ตอนที่ 2) อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
สถานที่ดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับวัดพระพุทธบาทบัวบก
มีหลักฐานปรากฏชัดว่า มนุษย์ใช้เพิงหิน ผนังถ้ำ ที่มีอยู่กระจัดกระจาย
เป็นที่อยู่อาศัยเมื่อหลายพันปีล่วงมาแล้ว.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ธันวาคม 2557 13:11:17 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.376 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 17 ชั่วโมงที่แล้ว