[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 19:35:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หากเราหลุดเข้าไปในหลุมดำ  (อ่าน 12614 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
พัดลมเพดานหมุนติ้ว
นักโพสท์ระดับ 7
**

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 102


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 ธันวาคม 2557 09:22:38 »

"หากเราหลุดเข้าไปในหลุมดำ"

การอธิบายเรื่องหลุมดำเป็นผลมาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพ โดยอธิบายว่ามันเกิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์ กลายเป็นสสารอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรรอดพ้นจากหลุมดำได้เลยแม้แต่แสง จึงทำให้เรามองไม่เห็นมัน และเรียกมันว่าหลุมดำ (เราจะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้จากแสงที่สะท้อนสิ่งเหล่านั้นมาเข้าตาเรา เมื่อแสงไม่สามารถออกจากหลุมดำได้ เราก็ไม่มีทางมองเห็นหลุมดำได้) ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าเอกภพของเราเต็มไปด้วยหลุมดำ และมีหลุมดำที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายพันเท่าอยู่ตรงกลางของแกแล็กซีด้วย
จากแรงโน้มถ่วงมหาศาลดังกล่าว ทำให้เกิดข้อข้องใจขึ้นมามากมาย เช่น หลุมดำนั้นมีขอบเขตหรือไม่? สสารที่ถูกดูดลงไปในหลุมดำแล้วมันไปอยู่ที่ไหน? และสิ่งที่ถูกดูดเข้าไปแล้วจะมีโอกาสออกมาได้หรือไม่ หรือว่ามันจะต้องหายไปตลอดกาล?

จะว่าไปแล้วการจินตนาการถึงหลุมดำก็ดูจะยากเหมือนกันสำหรับสามัญสำนึกของมนุษย์ธรรมดา ๆ อย่างเรา คิดดูสิ มีหลุมปริศนาในอวกาศ เป็นคล้าย ๆ ถุง แต่ไม่รู้ว่ามันมีก้นหลุมอยู่ตรงไหน มันยังไงกันแน่?

เดี๋ยวเราลองนำความรู้และทฤษฎีทั้งหมดที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันมาตอบโจทย์ทีละข้อดู…

1. หลุมดำมีขอบเขตหรือไม่?

ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน อธิบายว่า หลุมดำนั้นก็มีขอบเขตของตัวเองเหมือนกัน เราเรียกขอบเขตนั้นว่า “ขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon)”


2. สิ่งที่ถูกดูดเข้าไปในหลุมดำจะไปอยู่ที่ไหน?

ในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อาจชอบนำเสนอว่า เมื่อเราถูกหลุมดำดูดเข้าไปเราอาจจะไปโผล่ในอีกมิติหนึ่งซึ่งเป็นมิติคู่ขนาน แต่ในเมื่อเราเชื่อว่าหลุมดำมีขอบเขตตามข้อแรก ดังนั้นสสารที่ถูกดูดเข้าไปจึงไปโผล่ที่ไหนไม่ได้นอกจากไปกองอยู่ก้นหลุม ตามทฤษฎีอธิบายไว้ว่า ในหลุมดำนั้นตรงกลางจะมีจุดหนึ่งเป็นจุด “ซิงกูลาริตี้ (singularuty)” ซึ่งมวลทั้งหมดจะไปรวมกันเป็นจุดเดียว อะไรก็ตามที่หลุดเข้าไป ก็จะไปรวมกันอยู่ตรงจุดนี้


3. สิ่งที่ถูกดูดเข้าไปในหลุมดำมีโอกาสรอดออกมาได้หรือไม่?

เนื่องจากหลุมดำมีแรงดึงดูดสูงมาก แม้แต่แสงก็ยังไม่สามารถหลุดรอดออกมาได้ จึงสันนิษฐานกันว่า หากมีสสารหลุดลงไปในหลุมดำ และต้องการจะออกมา สสารนั้นจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าแสงจึงอาจจะหลุดรอดออกมาได้ ซึ่งในความเป็นจริงยังไม่มีสสารใดที่เร่งความเร็วได้มากกว่าแสง จึงน่าจะสรุปได้ว่า เราไม่สามารถออกจากหลุมดำได้เลย


4. สิ่งที่หลุดเข้าไปในหลุมดำ จะหายไปตลอดกาลหรือไม่?

ตามที่กล่าวมาแล้ว หลุมดำนั้นมีแรงโน้มถ่วงสูง และดูดทุกสิ่งเข้าไปรวมกันที่จุดซิงกูลาริตี้ (สสารน่าจะถูกบีบอัดรวมกัน) และไม่น่าจะกลับมาได้อีกแต่ในปี ค.ศ.1974 นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ชื่อสตีเฟน ฮอว์กิ้ง เป็นนักฟิสิกส์ควอนตัม ชี้ว่ามีการแผ่รังสีอย่างหนึ่งออกมาจากหลุมดำได้ และตั้งชื่อรังสีนั้นว่า “รังสีฮอว์กิ้ง” และยังเสนอทฤษฎีที่ว่า “หลุมดำนั้นมีการระเหยไปเรื่อย ๆ” ซึ่งถ้าเป็นไปตามนั้นจริงหลุมดำก็น่าจะหดเล็กลงเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา แต่เราก็ยังไม่รู้ว่าการแผ่รังสีและการระเหยของหลุมดำดังกล่าว จะสามารถทำให้สสารต่าง ๆ คืนกลับมาจากหลุมดำหรือไม่ เพราะตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม “สิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถหายไปได้”

อันที่จริงเรื่องจุดซิงกูลาริตี้เองก็ไม่สอดคล้องกับกลศาสตร์ควอนตัม (ก็อย่างที่เรารู้ กลศาสตร์ควอนตัมกับทฤษฎีสัมพัทธภาพยังมีความขัดแย้งกันอยู่มาก) บางทีหลุมดำอาจซับซัอนมากกว่าที่อธิบายไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพก็ได้


อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังคงเป็นเรื่องของทฤษฎี ตามที่กล่าวกันว่า ความจริงทางวิทยาศาสตร์ คือเรื่องของ “ทฤษฎีที่ดีที่สุด” แน่นอนว่ามันเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาหากมีทฤษฎีที่ดีกว่ามาแทนที่ และปัญหาพื้นฐานอย่างหนึ่งของวิทยาศาสตร์ก็คือ บางครั้งทฤษฎีที่ผิดก็สามารถทำนายหลายสิ่งหลายอย่างได้แม่นยำ และไม่ว่าใครจะว่าอย่างไร แอดมินก็คิดว่าวิทยาศาสตร์นั้นเป็นศาสตร์ที่ “ใจกว้าง” และนักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงก็ต้องเป็นคนที่ “ใจกว้าง” ด้วยเช่นกัน เพราะพวกเขาต้องยอมรับได้ในสิ่งที่มันเป็น ซึ่งบางทีก็ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาเชื่อ

คำตอบที่แท้จริงเกี่ยวกับหลุมดำยังต้องนับว่าเป็นหนึ่งในปริศนาที่ดำมืด เพราะหลุมดำที่อยู่ใกล้เรามากที่สุดตั้งอยู่ห่างออกไปหลายพันปีแสง และในระยะทางขนาดนั้นรังสีฮอว์กิ้งก็อ่อนเกินกว่าจะสังเกตได้ มันจึงยากมากที่เราจะศึกษาหลุมดำ เพราะถึงอย่างไร เราก็เข้าใกล้มันหรือเข้าไปพิสูจน์ไม่ได้อยู่แล้ว


ที่มา indepencil

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
พัดลมเพดานหมุนติ้ว
นักโพสท์ระดับ 7
**

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 102


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2557 09:24:19 »














บันทึกการเข้า
พัดลมเพดานหมุนติ้ว
นักโพสท์ระดับ 7
**

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 102


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2557 09:25:23 »


ไขจักรวาล ปริศนาหลุมดำ


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.265 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 16:40:35