[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤศจิกายน 2567 06:08:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อุปทาน 4  (อ่าน 15735 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:01:22 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

พุทธศาสนาเรามีความมุ่งหมายจะแก้ปัญหาเรื่องความทุกข์ในทางใจ
ที่สูงและลึกยิ่งไปกว่าความมุ่งหมาย
ของ ศีลธรรม หรือ จริยธรรม ตามธรรมดา
เพื่อให้เข้าใจในเรื่องความทุกข์นี้ยิ่งขึ้น
เรามีทางที่จะเปรียบเทียบลักษณะ
ของความทุกข์ให้เห็นว่ามีอยู่ชั้น ๆ
ซึ่งชั้นสุดท้ายจะต้องอาศัยสติปัญญาหรือความรู้ที่สูงสุดจริง ๆ
จึงจะดับมันได้. ลักษณะที่จะกำหนดได้ง่าย ๆ ในทางเปรียบ
เทียบ หรือจะไม่ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบก็ตาม ในที่นี้ก็คือ
ลักษณะของการเป็นโรค การเป็นโรคนั้น เราอาจจะจำแนก
ให้สิ้นเชิงได้โดยจัดเป็น 3 ประการด้วยกัน คือการเป็นโรค
ทางกาย ทางร่างกาย ซึ่งเราเห็นกันอยู่ทั่ว ๆ ไป นี้อย่างหนึ่ง
ที่สูงขึ้นไปกว่านั้นอีกชั้นหนึ่ง ก็คือการเป็นโรคทางจิต ทีนี้เรา
ลองคิดกันดูว่าจะมีโรคอะไรอีกไหม ที่สูงไปกว่าโรคทางจิต?
ถ้าเข้าใจความข้อนี้จะดีมากในบัดนี้ ตามทางธรรมหรือทาง
ปรัชญาที่เกี่ยวกับศาสนา ได้มีการบัญญัติคำขึ้นใช้อีกคำหนึ่ง
ซึ่งเป็นคำสำหรับเรียกโรคในทาง ซึ่งเราเรียกกันไปทีก่อนว่า
ทางวิญญาณอาตมาเองก็ยังไม่ทราบว่าจะใช้คำว่าอะไรดี.
โรคทางกายนั้นคงใช้คำว่า Physical Disease. โรคทางจิตก็
คือ Mental Disease ต่อมาถึงโรคประเภทสุดท้ายนี้ เรียกว่า
Spiritual Disease. คำนี้ ตามธรรมดาหรือถ้าเป็นคนธรรมดา
ก็มักจะเข้าใจไปว่า เป็นเรื่องผีเรื่องสาง หรือเรื่องอะไร
ทำนองนั้น แต่ความจริงนั้น Spiritual Disease นี้ มิได้หมาย
ถึงโรคเกี่ยวกับผีสางอะไรทำนองนั้นเลย. มันหมายถึงโรคที่
เกี่ยวกับกิเลสแผดเผา ! ถ้าจะชี้ที่ตัวจริงของโรคนี้ก็คือ ความ
ทนทรมานทางจิตที่เกิดมาจากกิเลสแต่โรคนั้นปรากฏทาง
จิตหรือวิญญาณล้วนๆ ซึ่งตรงกับคำว่า Spiritual. ซึ่งสูงไป
กว่าคำว่า Mental เพราะคำว่า Mental นั้น กระเดียดไปทาง
เกี่ยวพันกับ Physical อยู่มาก โรคทางกายคือความเจ็บไข้
ทางกาย โรคทางจิต ก็คือความป่วยในทางจิต แต่โรคทาง
วิญญาณ นี้ยิ่งไปกว่านั้นแม้ไม่ป่วยทางกาย ไม่ป่วยทางจิต
แต่ถ้ายังมีกิเลสตัณหาอวิชชาอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็นคนป่วยใน
ทาง Spirit หรือวิญญาณ๑อยู่ด้วยกันทุกคน อวิชชาคือ.............................................


หมายหเตุ......................... คำว่าวิญญาณโดยทั่วไป ตรงกับคำว่า Consciousness. ที่ตรงกับคำว่า Spirit เป็นคำ
พิเศษของฝ่ายพวกที่ถือว่ามี เจตภูต หรือตัวตน มิใช่ศัพท์ทางพุทธศาสนาโดยตรง พุทธ-ศาสนาปฏิเสธตัวตน ทำนองนั้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:19:59 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:06:52 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4

ความไม่รู้ ตัณหาคือความอยาก อุปทานคือความยึดมั่น
เหล่านี้เป็นเครื่องทำให้คนเราตกอยู่ในสภาพของความป่วย
ในทางวิญญาณ สิ่งนี้ยิ่งไปกว่าความป่วยทางจิต
คำว่าจิต หรือวิญญาณนี้ ออกจะปนกันยุ่ง ฉะนั้นอย่า
ไปยึดถือถ้อยคำนัก ขอให้ยึดถือกิริยาอาการที่เกิดขึ้นจริง ๆ
ก็แล้วกันถ้าป่วยทางกายก็ไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล
ทั่ว ๆ ไปถ้าป่วยทางจิต ก็ไปโรงพยาบาลพิเศษ เช่นที่ปาก
คลองสาน เป็นต้นโดยเฉพาะแต่ถ้าเป็นทางวิญญาณหรือ
Spiritual แล้ว ก็ต้องไปหาโรงพยาบาลของพระพุทธเจ้า
โดยตรง อย่างนี้เป็นต้น ถ้าเราเข้าใจว่าโรคของคนทุกคน มี
อยู่เป็น 3 ชั้นดังนี้แล้ว เราก็จะรู้จักอานิสงส์ รู้จักประโยชน์
รู้จักความสำคัญของพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นทันทีเมื่อเป็น
ดังนี้.........เราจะเห็นได้ว่า การที่จะแก้ปัญหาในการเป็นโรคทาง
วิญญาณนี้ มันเหลือวิสัยที่ศีลธรรมสากลทั่ว ๆ ไปจะช่วย
แก้ไขได้ ต้องอาศัยหลักธรรมในพระพุทธศาสนาในส่วนที่
เป็นชั้นสูง คือส่วนที่สามารถจะกำจัดกิเลสตัณหาได้จริง ๆ
เท่านั้น เป็นเครื่องเยียวยารักษา นี่แหละจะทำให้เราสนใจ
ในตัวพุทธศาสนายิ่งขึ้น เราจะมองเห็นความที่ศาสนาหรือ
พุทธศาสนามีสภาพอยู่เหนือกว่าศีลธรรมทั่ว ๆ ไปดังที่.........
กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า ใจความสำคัญของพระพุทธ
ศาสนานั้น คือวิชาและระเบียบปฏิบัติจนเกิด ความรู้อัน
ถูกต้องว่าอะไรเป็นอะไร ถ้ารู้ถูกต้องแล้ว อย่างน้อยก็รู้ว่า............................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:02:14 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:11:02 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


สิ่งทั้งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใครไปยึดถือว่าเป็นตัว
ตนหรือของตนเข้า มันก็เป็นความทุกข์แม้ที่สุดแต่ใครไป
หลงใหล หลงรัก หลงชัง มันเข้า ก็เป็นความทุกข์เราเรียก
ความทุกข์หรือความทรมานอันนี้เองว่าเป็นโรคทางวิญญาณ
ซึ่งสัตว์กำลังเป็นกันอยู่ทุกรูปทุกนาม
ทีนี้มาถึงปัญหาที่ว่าเราต้องการจะปลีกตัว ลากตัว
ถอนตัว ออกมาเสียจากสังขารหรือจากสิ่งทั้งหลายที่เป็น
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหล่านั้น เราจะมีวิธีอย่างไร ?
คำตอบคือเราจะต้องศึกษาต่อไปถึงข้อที่ว่า “อะไรเป็นเหตุให้
เราเข้าไปอยาก และเข้าไปติดยึดถือสิ่งเหล่านั้น?” เราจะ
ต้องศึกษาเรื่องของสิ่งลึกลับ ที่ทำให้เราหลงเข้าไปยึดถือสิ่ง
ทั้งหลายทั้งปวงในโลก ทั้ง ๆ ที่มันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงที่เป็น
ทุกข์ ที่เป็นอนัตตา ถ้าเรารู้ลึกซึ้งถึงสิ่งที่เป็นต้นเหตุ ให้เรา
เข้าไปหลงยึดถือแล้ว เราอาจจะตัดการยึดถือเสียได้ เพราะ
ฉะนั้นเราจึงต้องมีความรู้ในข้อนี้โดยตรง เราจึงสามารถทำ
ตนให้ถอยออกไปเสียให้ห่างไกล หรือให้เป็นอิสระออกไปเสีย
จากสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของความหลงไหลยึดถือ
ทั้งที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุก ๆ วิถีทาง
อีกประการหนึ่ง อาตมาเห็นว่าการศึกษาให้เข้าใจ
เรื่องกิเลสส่วนที่เป็นเหตุให้ยึดถือ หรือที่เรียกว่า..........................
อุปาทาน นี้แหละเสียก่อน จะเป็นการช่วยให้เราเข้าใจพุทธ
ศาสนาได้ชัดเจนลึกซึ้งถึงที่สุด และโดยง่ายจึงขอร้องให้.......................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:03:02 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:18:19 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


บรรดาท่านักศึกษาทั้งหลายได้สนใจในเรื่องอุปาทาน หรือ
ความยึดถือนี้ให้มากเป็นพิเศษ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอ
ให้ศึกษาจนรู้จักตัวความยึดถือที่แท้จริงที่ท่านกำลังมีอยู่ใน
ท่านทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเอง หรือว่าจะเป็นตัว
บุคคลที่เรากำลังจะไปช่วยเหลือเขาให้พ้นทุกข์ภัยที่เกิดมา
แต่กิเลสกิเลส ซึ่งเป็นความยึดถือ หรือเป็นเครื่องยึดถือในสิ่ง
ทั้งปวงนั้นพุทธศาสนาเรียกว่า อุปาทานคำว่า อุปาทาน ก็
แปลว่า ความยึดถือ ถ้าตามตัวหนังสือจริง ๆ ก็แปลว่าการ
เข้าไปยึดถือเอาหรือการเข้าไปทรงไว้เป็นต้น แต่โดยใจ-
ความแล้ว คือการเข้าไปยึดถือเอาด้วยกำลังจิตใจทั้งหมดทั้ง
สิ้นนั่นเองอุปาทาน หรือกิเลสเป็นเครื่องให้ยึดถือนี้ ท่านจำแนก
เป็น 4 ประการด้วยกัน ประการแรกเรียกว่า กามุปาทาน คือ
การยึดถือในของรักของใคร่ทั่วไป ประการที่สองเรียกว่า
ทิฏฐุปาทาน การยึดถือทิฏฐิความคิดเห็นตามที่ตนมีอยู่
ประการที่สามเรียกว่า สีลัพพตุปาทาน ยึดถือในศีลและวัตร
ปฏิบัติต่าง ๆ ที่ตนเคยประพฤติปฏิบัติกระทำโดยงมงายมา
แต่เดิม และประการสุดท้าย คือประการที่สี่นั้น เรียกว่า อัตต
วาทุปาทาน คือการยึดถือด้วยการกล่าวว่า เป็นตัวเป็นตน.
กามุปาทาน ยึดมั่นในกาม ซึ่งเป็นประการแรกนั้น
เห็นได้จากการที่คนเราตามธรรมดา มีความติดพันในสิ่งที่
เป็นที่รักที่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด คือจะเป็นรูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม รูปก็คือสิ่งที่น่ารัก
ใคร่ในทางรูป หรือทางที่เห็นด้วยตาเสียง ก็หมายถึงเสียง
ไพเราะที่จะผูกพันจิตใจ กลิ่น ก็คือกลิ่นหอม รส ก็คือรสที่
อร่อย โผฏฐัพพะ คือการสัมผัสทางกาย ตามที่สัญชาตญาณ
ตามปรกติของคนเรารู้สึกว่าเป็นความสนุกสนานเพลิดเพลิน
หรือเอร็ดอร่อย. วัตถุที่ตั้งของกามารมณ์ 5 อย่างนี้กล่าว
เพียงเท่าที่รู้จักกันทั่วไป แต่ตามหลักธรรมในพุทธศาสนา
นั้น ขยายออกไปเป็น 6. คือ ธรรมารมณ์ เพิ่มอีกอย่างหนึ่ง
หมายถึงสิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึกในใจ เป็นเรื่องอดีต ปัจจุบัน
หรืออนาคตก็ได้ เกี่ยวกับวัตถุภายนอกหรือภายในก็ได้, เป็น
ของจริงหรือเป็นเพียงคิดฝันก็ได้ ซึ่งอาจให้เกิดเอร็ดอร่อย
ทางจิตในขณะที่รู้สึก เมื่อทารกเกิดมา ได้รู้รสของอารมณ์ทั้ง
6 นี้เป็นครั้งแรก ก็เกิดความยึดถือในอารมณ์นั้นขึ้น และ
ยึดถือยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ๆ มาจนกระทั้งบัดนี้ มีความยึดถือใน
สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่เช่นนั้นอย่างแน่นแฟ้น อย่าง
ที่เหลือวิสัยที่คนธรรมดาจะถอนได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็น
ปัญหาสำคัญ ที่เราจักต้องมีความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้อง
และประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องต่อสิ่งเหล่านั้น มิฉะนั้นความ
ยึดถือในกามนี้แหละ จะนำไปสู่ความพินาศฉิบหาย ขอให้
เราพิจารณาดูความพินาศฉิบหายของคนทั่ว ๆ ไปตามปรกติ
ก็จะมองเห็นว่า มีมูลมาจากความยึดมั่นถือมั่นใน กาม อย่าง...............................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:04:06 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:21:41 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


หนึ่งดังที่กล่าวมาแล้ว คำว่า กาม ในภาษาบาลี มีขอบ-
เขตกว้างขวางกว่าในภาษาไทย ซึ่งหมายถึงแต่ความรู้สึกใน
ทางเพศตรงข้ามอย่างเดียวถึงเพียงนี้
นักคิดแห่งยุคปัจจุบัน เช่นนักจิตวิทยาที่ชื่อ Sigmund
Freud ยอมเชื่อหรือยอมมีหลักว่า อะไรทุกอย่างที่มนุษย์ทำ
กันอยู่ในโลก ไม่ว่าอะไร ล้วนแต่มีมูลมาจากสิ่งที่เรียกว่า
กามารมณ์นี้ทั้งนั้น. ถ้ามองดูกันในแง่ที่เกี่ยวกับสัตว์โลกทั่ว
ไปแล้ว จะเห็นว่าข้อนี้เป็นความจริงถึงที่สุดจริง ๆ ด้วย
เพราะว่าคนเราจะรักกันก็มีมูลมาจากกามารมณ์ เราจะ
โกรธกัน เกลียดกัน อิจฉาริษยาฆ่าฟันกันหรือฆ่าตัวเองก็ตาม
ก็ต้องมีมูลมาจากกามารมณ์ เพราะว่าความโกรธความ
เกลียดนั้นจะต้องมาจากการที่ต่างฝ่ายต่างหวังในกามา-
รมณ์อันใดอันหนึ่ง แล้วมีประโยชน์อันขัดกันไม่ทางตรงก็ทาง
อ้อม ยิ่งคิดไปยิ่งจะเห็นได้ว่า การที่มนุษย์ต้องทำงานต้อง
ขวนขวายต่าง ๆ นานาประการ หรือทำอะไรก็ตาม เราอาจ
จะสืบสาวเรื่องราวไปจนพบว่ามีความอยากในสิ่งที่ตนใคร่จะ
ได้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมูลฐานอยู่ในส่วนลึกทั้งนั้น. ขอให้
พินิจคิดดูแม้แต่ว่าที่เราอุตส่าห์เล่าเรียนเพื่อประกอบอาชีพนี้
ก็ต้องมีมูลมาจากกามารมณ์ เพราะว่าเป็นไปเพื่อให้ได้ผล
จากอาชีพ แล้วก็ไปจัดหาความสบายในทางรูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะทั้งนั้น จะมีอะไรมากไปกว่านี้เล่า ! แม้แต่
เรื่องทำบุญให้ทานเพื่อไปสวรรค์ ก็เป็นการกล่าวว่ามีมูลมา....................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:04:45 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:33:06 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


จากความหวังในทางกามารมณ์ เพราะฉะนั้นอาตมาจึง
จำกัดความลงไปว่า เพียงเรื่องของโลก อย่าให้ก้าวก่ายไป
ถึงเรื่องของ โลกุตตระ เช่นการที่ออกบวช ทำความเพียรเพื่อ
ตัดกิเลสเสียให้สิ้น เราไม่ถือว่ามีมูลเพื่อจะให้ได้มาซึ่ง
กามารมณ์ เว้นแต่การกระทำของคนบางพวกหรือนักบวช
บางพวก ที่ทำเพื่อกามารมณ์ในโลกในภพสวรรค์ชั้นใดชั้น
หนึ่งนั้นก็มีเหมือนกัน แต่นั่นไม่ใช่ในพุทธศาสนา แต่ถึง
อย่างนั้นก็ตามเรายังมีทางที่จะกล่าวได้โดยอ้อมอีกว่า
เพราะเกลียดกลัวกามารมณ์ ซึ่งเป็นเครื่องครอบงำย่ำยีโลก
นั่นเอง เราจึงออกประพฤติพรหมจรรย์เพื่อหาวิธีที่จะอยู่เหนือ
อำนาจของกามารมณ์เหล่านี้เป็นต้น. นี้เรียกว่าการบวชนั้น
มีมูลจากกามารมณ์โดยอ้อม คือคนละแนว แต่รวมความ
แล้ว ก็อาจที่จะกล่าวว่า ความยุ่งยากปั่นป่วนของสัตว์ ของ
มนุษย์ ของโลกทั้งสิ้นนั้น มีมูลมาจากกามารมณ์ ได้อยู่
นั่นเองทำไมกามารมณ์จึงมีอำนาจร้ายกาจถึงเพียงนี้ ? ก็
เพราะเหตุว่า เพราะอำนาจของ กามุปาทาน คือความยึดมั่น
ถือมั่น ยึดติดอย่างเหนียวแน่นในกามตัวนี้เอง พระพุทธเจ้า
ท่านจึงตรัสไว้ในฐานะเป็นอุปาทานข้อต้นเป็นปัญหาเกี่ยว
กับโลกโดยตรงโลกจะตั้งอยู่หรือจะหมุนไป หรือจะ
แตกดับวินาศฉิบหาย หรือจะเป็นอะไรก็ตาม ย่อมมีมูล
มาจากกามุปาทานนี้โดยตรงและทั่วไป เราควรจะ...................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:05:40 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:36:02 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


พิจารณาให้มองเห็นชัดในตัวเราเองว่าเรามีกามุปาทานกัน
ย่างไร มาตั้งแต่เมื่อไหร่ และเหนียวแน่นเพียงไร และอยู่ใน
ลักษณะที่ออกจะเหลือวิสัยที่เราจะละเมิดได้จริง ๆ หรือไม่
ถ้าหากว่าเราไม่พึ่งสติปัญญาของพระพุทธเจ้าแล้ว เราจะ
สามารถละกามุปาทานกันได้อย่างไร ดูยังมืดมนมาก สิ่งนี้
แหละ คือสิ่งที่เรียกว่า กามุปาทาน อันจะตัดหรือละได้ด้วย
การประพฤติปฏิบัติในทางพุทธศาสนาชั้นสูง ไม่ใช่ชั้นศีล
ธรรม หรือจริยธรรมตามธรรมดา ถ้าว่ากันอย่างตามธรรมดา
หรือพื้น ๆ ทั่วไปอย่างโลก ๆ แล้ว กามุปาทานเสียอีก กลับ
จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างใหญ่หลวง ที่ว่ามีประโยชน์
หมายความว่าจะทำให้รักครอบครัว จะทำให้ขยันขันแข็งใน
การแสวงหาทรัพย์และชื่อเสียง ฯลฯ อะไรเหล่านี้เป็นต้น
ล้วนแต่มีมูลมาจากกามุปาทานอยู่ทั้งนั้น ถ้าจะเพ่งไปใน
ทางดีอย่างโลก ๆ ก็นับว่าเป็นกำลังอันหนึ่ง ซึ่งทำให้คนขยัน
ขันแข็ง แต่ถ้ามองกันในแง่ของธรรม จะรู้สึกว่าเป็นทางมา
แห่งความทุกข์ทรมานอันเร้นลับเพราะฉะนั้นในทางธรรม
กามุปาทานจึงเป็นสิ่งที่ต้องควบคุม หรือถึงกับเป็นสิ่งที่จะ
ต้องละในที่สุดเราละได้หรือยัง? เราจะละกันหรือยัง? นั่น
เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอแต่ให้เข้าใจไว้อย่างชัดเจนว่านี้แหละ
คือสิ่งที่พุทธศาสนามุ่งหมายจะให้ได้รับการควบคุมมุ่ง
หมายจะให้ละในที่สุด นับเป็นอุปาทานข้อแรก..............................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:06:33 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:44:17 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


ทิฏฐุปาทาน ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ คือความคิดความ
เห็น ซึ่งเป็นอุปาทานข้อที่สองนั้น ก็เป็นสิ่งที่พอจะมองเห็น
และเข้าใจได้ไม่ยากนักเหมือนกัน พอเราเกิดมาในโลก เรา
ก็ต้องได้รับการศึกษาอบรม ให้เกิดเป็นความเห็นชนิดที่เรียก
ว่า ทิฏฐิ คือความเห็นชนิดที่มีไว้สำหรับถือรั้นยึดมั่น ไม่ค่อย
ยอมใครง่าย ๆ นี้เรียกว่า ทิฏฐิ ความเห็นชนิดนี้ คนทุกคน
จะต้องยึดมั่นของตนด้วยกันทั้งนั้น อยู่ในลักษณะที่อาจจะ
จัดเป็นสัญชาตญาณ กล่าวอย่างนี้ก็ไม่ผิด ลักษณะที่ยึด
มั่นด้วยทิฏฐิความคิดเห็นของตนนี้ เป็นไปตามธรรมชาติ เรา
ไม่ติเตียนกันนัก และเป็นสิงที่ห้ามไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของ
ธรรมชาติแต่ถ้าเรามองให้ดี ก็จะเห็นเป็นโทษเป็นภัยที่
ร้ายกาจอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน คือไม่น้อยไปกว่ากามุปาทาน
ถ้าคนเรายึดมั่นในทิฏฐิความคิดความเห็นเดิม ๆ ของ
ตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นคนดื้อดึงโดยเด็ดขาดแล้ว ก็แปล
ว่าจะต้องได้รับความวินาศ เราจำเป็นที่จะต้องปรับปรุง
ทิฏฐิความคิดเห็นของเรานี้ให้ถูกยิ่ง ๆ ขึ้นให้ดีให้สูงยิ่งขึ้น.
แม้ว่าเราจะยังคงยึดถือทิฏฐิอยู่ก็ตาม เราจะต้องปรับปรุงให้
ดียิ่งขึ้น คือจากมิจฉาทิฏฐิ ให้ค่อย ๆ กลายมาเป็นสัมมา-
ทิฏฐิ และยิ่ง ๆ ขึ้น จนกลายเป็นสัมมาทิฏฐิถึงที่สุด ชนิดที่รู้
อริยสัจจ์ ดังที่อาตมาได้บรรยายแล้วแต่วันก่อน.
ทิฏฐิที่เป็นเหตุแห่งความถือรั้น มีมูลมาจากทาง
หลาย ๆ ทาง แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว มักจะเกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:07:09 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:47:01 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


หรือลัทธิศาสนาเป็นส่วนใหญ่เมื่อ.......................................
กล่าวดังนี้ ก็พอจะเข้าใจกันได้ว่า สิ่งใดที่เราเห็นว่า ถูกที่สุด
หรือดีที่สุด สิ่งนั้นเราก็จะยึดถือมากที่สุด ความยึดมั่น ถือ
มั่นเกี่ยวกับทิฏฐิ จึงมักจะต้องตกไปตามขนบธรรมเนียม
ประเพณี หรือลัทธิศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีไว้แสดงถึงสิ่งที่ถือว่า
ดีที่สุดส่วนที่จะมีทิฏฐิดื้อรั้นเป็นของส่วนตัวเองล้วน ๆ นั้น
ยังไม่เท่าไร ยังไม่มากมายเท่ากับที่งอกงามมาจากขนบธรรม-
เนียมประเพณีหรือศาสนา ที่ค่อยๆ อบรมสะสมกันมากขึ้นๆ
ยังมีข้อที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก ทิฏฐิต่าง ๆ นี้ ยังเกี่ยวกับความ
ไม่รู้ที่เรียกว่า อวิชชา เมื่อมีความไม่รู้ ก็มีความเข้าใจเอาเอง
ตามอำนาจกิเลสพื้นฐาน ว่าสิ่งที่น่ารัก สิ่งนี้น่ายึดถือ สิ่งนี้
เที่ยงแท้ถาวร สิ่งนี้เป็นความสุข สิ่งนี้เป็นตัวเป็นตนแทนที่
จะเห็นว่าสังขารเหล่านั้นเป็นของปฏิกูล เป็นมายา เป็นอนิจ
จัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้เป็นต้น กระทั่งว่าอะไร ๆ ที่ตนเคย
สำคัญมั่นหมาย เคยเข้าใจมาแล้วละก็ ต้องเป็นของถูก ไม่
ยอมให้เป็นของผิด เป็นผู้ไม่ยอมผิด ทั้ง ๆ ที่บางทีก็เห็นอยู่
ว่าผิด แต่ก็ยอมให้ไม่ได้ เพราะยังสงวนทิฏฐิ ความเห็นอันนี้
ไว้เรื่อย ความเป็นผู้ที่ดื้อดึงซึ่งหน้าอย่างนี้ นับว่าเป็นอุปสรรค
หรือศัตรูของคนเราอย่างยิ่งมันจะทำให้เราไม่สามารถ
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
ลัทธิแห่งความคิดความเห็น หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา
หรือลัทธิกายอื่น ๆ ที่จะเป็นไปในทางที่ดีขึ้นปัญหานี้ ย่อม................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:07:40 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:50:10 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


จะเกิดแก่บุคคลผู้ถือลัทธิศาสนาหรือลัทธิอะไรก็ตามที่ยังต่ำ
อยู่ทั้ง ๆ ที่ตัวเห็นว่าต่ำก็เปลี่ยนไม่ได้ เพราะถือว่าเสียว่า
เป็นของที่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยถือกันมาบ้าง หรือ
ไม่มีเหตุผลอะไรสำหรับแก้ตัวขึ้นมาจริง ๆ ก็ถือเสียเพียงว่า
มันเป็นสิ่งที่เคยถือมาอย่างนี้ก็ดีแล้ว ดังนี้เป็นต้น เพราะ
เหตุนี้เอง จึงถือว่า ทิฏฐิเป็นกิเลสตัวร้ายกาจ เป็นสิ่งที่น่า
อันตรายที่สุดอย่างหนึ่งซึ่งจะถือเป็นของเล็กน้อยไม่ได้จะ
ต้องพยายามอย่างยิ่ง ให้หน่าย ให้จางและให้หลุดถอนสีลัพพตุปาทาน
อันเป็นข้อที่สามนั้น หมายถึงความ...............................................................
ถือมั่นในการประพฤติกระทำ ที่เคยประพฤติกระทำสืบ
ปรัมปรากันมาอย่างไร้เหตุผล หรือที่ถือว่าเป็นการ
ประพฤติกระทำที่นิยมกันว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์แล้วก็ยึดถือไว้
ในฐานะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ไม่
ยอมสละคืนคนไทยเราทั่วไป ก็มีสิ่งที่เรียกว่า สีลัพพตะ
หรือ ศีลพรต ในที่นี้กันไม่น้อยกว่าชนชาติอื่นเหมือนกัน, มี
การถือเครื่องรางของขลังและลัทธิพิธีเคล็ดลับต่าง ๆ เช่นว่า
ตื่นขึ้นมา บางคนจะต้องเสกน้ำล้างหน้าจะถ่ายอุจจาระ
เป็นต้น ก็ต้องมีเคล็ดอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นจะต้องผินหน้าทิศ
นั้นทิศนี้จะบริโภคอาหารหรือจะนอน ก็ต้องมีเคล็ดอย่าง
นั้นอย่างนี้ มีการเชื่อผีสางเทวดา ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สัตว์ศักดิ์
สิทธิ์เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องของคนโบราณ แม้แต่คนสมัย
ปัจจุบันนี้ก็ยังมีสิ่งที่ตัวยึดถือ หรือมีความยึดถือในทำนองนี้................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:08:14 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:53:13 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


และโดยเฉพาะก็มักจะเป็นของที่เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม
ประเพณี หรือลัทธิศาสนานั่นเองใจความสำคัญของเรื่องสีสัพพตุปาทานนี้อยู่ตรง
ที่ว่าเป็นระเบียบวิธีประพฤติปฏิบัติที่ทำไปโดยไร้เหตุผล โดย
ไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผล โดยไม่อาศัยเหตุผล คงมีแต่ความ
ยึดมั่นถือมั่น แต่ตามตัวหนังสืออย่างเดียวบ้างในฐานะที่
เป็นของที่เคยทำแล้ว ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงบ้าง. แม้แต่ที่เป็น
พุทธบริษัทเป็นอุบาสกอุบาสิกาแท้ ๆ ก็ยังมีของอย่างนี้ ยึด
มั่นถือมั่นกันไว้คนละอย่างสองอย่าง แม้ที่เป็นพระภิกษุ
สงฆ์ ก็ยังยึดมั่นอะไรบางสิ่งบางอย่างหรือหลาย ๆ อย่าง ใน
ทำนองนี้ ซึ่งเป็นตัวศีลวัตร หรือศีลพรต ชนิดที่ยึดถือไว้ด้วย
อุปาทาน โดยเฉพาะลัทธิศาสนาต่าง ๆ ที่ถือพระเป็นเจ้า ถือ
เทวดา ถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำนองนั้นด้วยแล้ว จะต้องมีการถือ
ชนิดนั้นมากอย่างยิ่ง สำหรับพุทธศาสนาเราไม่สู้จะมีมาก
เหมือนอย่างนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็มีไม่น้อย ข้อนี้เป็นได้โดย
เหตุที่ว่าเมื่อมาประพฤติศีล หรือธรรมะข้อใดข้อหนึ่ง แล้วไม่
ทราบความมุ่งหมายไม่คำนึงถึงเหตุผล ได้แต่ลงสันนิษฐาน
เอาเสียว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เมื่อลงไปปฏิบัติของศักดิ์สิทธิ์
แล้ว ย่อมต้องได้รับผลดีเอง ฉะนั้น.........คนเหล่านี้จึงสมาทานศีล
หรือประพฤติธรรมะ แต่เพียงตามแบบฉบับ ตามตัวอักษร
ตามประเพณี ตามตัวอย่าง ที่สืบปรัมปรากันมาเท่านั้น, ไม่
เข้าถึงเหตุผลของสิ่งนั้น ๆ แต่เพราะอาศัยการประพฤติ......................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:08:50 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 10:56:09 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


กระทำมาจนชินการยึดถือจึงเหนียวแน่นเป็นอุปาทานชนิด
ที่แก้ไขยากด้วยเหตุนี้แหละ การที่ใครจะเปลี่ยนจากลัทธิ
หนึ่งไปสู่อีกลัทธิหนึ่ง หรือเปลี่ยนจากศาสนาหนึ่ง ไปสู่
ศาสนาหนึ่งนั้น จึงเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำได้ เพราะอำนาจของ
ศีลวัตรที่ตนประพฤติปฏิบัติสมาทานอยู่ด้วยความยึดถือ
หลายวัน หลายเดือน หลายปี หลายสิบปี จนแน่นแฟ้น
เปลี่ยนไม่ได้อันนี้เรียกว่า อุปาทาน ในการประพฤติปฏิบัติ
ที่เคยกระทำสืบ ๆ กันมาอย่างผิด ๆ หรืองมงาย ต่างจาก
อุปาทานข้อที่สองข้างต้นซึ่งหมายถึงการถือในตัวทิฏฐิ หรือ
ความคิดความเห็นที่ผิด ส่วนข้อนี้เป็นการยึดถือในตัวการปฏิบัติ
หรือการกระทำทางภายนอกแม้การประพฤติวิปัสสนากรรมฐาน
สมถกรรมฐานอย่างที่ประพฤติ ๆ กันอยู่ก็ตาม ถ้าหากว่าทำไปด้วยความ
ไม่รู้เหตุผลต้นปลาย ไม่รู้ความมุ่งหมายอันแท้จริง เหล่านี้
แล้ว ก็ต้องเป็นการทำไปด้วยอำนาจสีลัพพตุปาทานนี้ทั้งนั้น
การกระทำทางศาสนาของคนสองพวก ที่ดูภายนอก
เหมือนกันนั่นแหละจะกลายเป็นว่าพวกหนึ่ง กำลังทำอยู่
ด้วยอำนาจสีลัพพตปรามาส เป็นความโง่เขลาชนิดหนึ่ง
ไป เพราะความยึดถือเหนียวแน่นในทางขลังและศักดิ์
สิทธิ์ชนิดหนึ่ง โดยไม่ต้องสงสัย. แม้ที่สุดแต่เราจะรักษา
ศีลจะเป็นศีลห้าหรือศีลแปด ศีลสิบ หรือศีลอะไรก็ตาม ถ้า
รักษาโดยคิดว่าเราจะเป็นผู้ขลังผู้ศักดิ์สิทธิ์ จะมีอำนาจวิเศษ................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:09:37 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 11:00:13 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


อะไรขึ้นมา เพราะการรักษาศีลนั้นแล้ว ก็กลายเป็นสีลัพพต-
ปรามาส ซึ่งทำไปโดยอำนาจสีลัพพตุปาทานนี้ทั้งนั้นไม่จำ
ต้องกล่าวถึงการประพฤติวัตรแปลก ๆ ของพวกเดียรถีย์
ภายนอกพุทธศาสนาเลย ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องระมัดระวังให้
มาก ในการที่จะประพฤติปฏิบัติตามหลักของธรรมะหรือ
ของศาสนาที่ถูกต้องนั้น มันจะต้องเป็นการถูกต้องไปตั้งแต่
ทิฏฐิความคิดความเห็น และความพอใจในผลของการ
ปฏิบัติที่มีเหตุผล ในการทำลายกิเลสไปตั้งแต่ต้นทีเดียว
ความประพฤติปฏิบัตินั้น จึงจะไม่เป็นไปเพื่อความยึดถือด้วย
อุปาทานที่เหนียวแน่น นอกลู่นอกทางยิ่งขึ้น.
อีกอย่างหนึ่ง ยังมีสิ่งที่ควรจะมองด้วยเหมือนกัน ว่า
เราทุกคนมีอะไรที่เราถือรั้นเหนียวแน่นอยู่ในทางการกระทำ
หรือประพฤติ ในฐานะที่เป็นลัทธิชนิดหนึ่ง ซึ่งเราถือเสียว่าอยู่
เหนือเหตุผลที่จะพิสูจน์ อาตมาอยากจะยืนยันว่า ข้อนี้เป็น
ทางที่จะทำให้เราตกหลุมพราง ของสีลัพพตุปาทานข้อนี้โดย
ไม่รู้สึกตัว และเป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน ทั้งคนสมัยเก่า
ทั้งคนสมัยใหม่หรือคนสมัยใหม่เจี๊ยบก็ตาม. ขอให้พิจารณา
ดูเถอะว่า เรากำลังเชื่อ กำลังพอใจ กำลังยึดถือ ในระเบียบ
แห่งการประพฤติ การกระทำ อย่างหนึ่งอย่างใดของตน
อย่างเหนียวแน่น อย่างที่ใคร ๆ จะมาง้างไม่ได้ทีเดียว ดังนี้
ด้วยกันทุกคน หากแต่ว่ามันแตกต่างกันเป็นหลาย ๆ อย่าง
เป็นคน ๆ ไปเท่านั้น คนเรามามัวหลงใหลอยู่ในสิ่ง ๆ นี้กัน....................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:10:06 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 11:03:38 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


เสียจึงเป็นเหตุให้ติดเหนียวแน่นอยู่ในสิ่งที่ตนเคยถือรั้น
ผิด ๆ มาแต่เดิม เป็นทางไม่ให้ก้าวหน้าไปในทางสูงของจิตใจ
จิตใจยังคงถูกหุ้มห่อให้มืดมิดอยู่ด้วยอุปาทานข้อที่สามนี้ตลอดเวลา
อัตตวาทุปาทาน อันเป็นอุปาทานข้อสุดท้ายนี้
แปลว่าความยึดมั่นด้วยวาทะตัวตนท่านใช้คำว่า ยึดมั่น
ด้วยวาทะ คือคำพูดว่าตัวตน แต่ที่จริงไม่ใช่คำพูด มันเป็น
ความยึดถือในใจหรือถ้าจะพูดก็เป็นใจพูด คือใจพูดข้างใน
ว่านี้มันตัวตนความยึดถือว่าตัวว่าตนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ
อย่างยิ่งเท่า ๆ กับที่เป็นสิ่งเร้นลับอย่างยิ่ง ถ้าจะกล่าวให้
กว้างออกไปอีก ก็กล่าวได้ว่า เป็นตัวสัญชาตญาณโดยตรงความรู้สึกที่มี
ประจำอยู่ในชีวิตจิตใจของสิ่งที่มีชีวิตนั้น
ย่อมจะมีความรู้สึกในข้อที่ว่า เราเป็นเรา หรือเราเป็น
ตัวตนของเราอยู่ดังนี้เสมอไป อย่างที่จะช่วยไม่ได้
เพราะเหตุว่าความรู้สึกอันนี้แหละ เป็นสัญชาตญาณชั้น
มูลฐานที่สุด ของสิ่งที่มีชีวิต และเป็นสัญชาตญาณมูลฐาน
ของสัญชาตญาณอื่น ๆ สัญชาตญาณอื่น ๆ ในที่นี้ ก็เช่น
สัญชาตญาณเพื่อจะหาอาหาร กินอาหาร เพื่อให้มีความ
เจริญงอกงามใหญ่โต รวมทั้งสัญชาตญาณเพื่อต่อสู้อันตราย
เพื่อจะหลบหนีอันตราย หรือว่าสัญชาตญาณที่จะสืบพันธุ์
เอาไว้ไม่ให้สาบสูญ และสัญชาตญาณอื่น ๆ อีกมากแต่
ว่าสัญชาตญาณทั้งหมดนั้น ต้องอาศัยอยู่บนสัญชาตญาณ.....................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:10:43 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 11:07:32 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


แห่งการรู้สึกยึดถือว่าตัวเรามันต้องมีตัวเราหรือมีความ
ยึดถือว่าตัวเราเสียก่อน มันจึงจะไม่อยากตาย มันจึงจะ
อยากหาอาหารมาเลี้ยงร่างกาย มันจึงอยากจะต่อสู้เพื่อเอา
ตัวรอด หรือไม่ให้ได้รับอันตราย มันจึงอยากจะสืบพันธุ์ของ
มันไว้แล้วกัน ว่า ถ้าปราศจากความรู้สึกยึดถือว่าตัวตนแล้ว
มันจะมีชีวิตมาไม่ได้ คือมันจะไม่แสวงหาอาหาร มันจะไม่
หลบหลีกอันตราย มันจะไม่สืบพันธุ์ ดังนี้เป็นต้น. ครั้นมีชีวิต
มาได้ถึงบัดนี้ ก็หมายความว่ามีสัญชาตญาณแห่งความยึด
ถือตัวตนนี่แหละเป็นมูลฐาน แต่พร้อมกันนั้น พร้อมกันที
เดียว พร้อมกันไปในตัวนั่นเอง มันก็เป็นสิ่งให้เกิดความทุกข์
ในการแสวงหาอาหาร ในการต่อสู้ ในการสืบพันธุ์ หรือใน
การทำอะไรทุก ๆ อย่าง ซึ่งต้องอาศัยความอยาก คือกิเลส
ตัณหา เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มันเป็นมูลฐานแห่ง
ความทุกข์ทั้งปวงด้วย ข้อนี้มีพระบาลีที่พระพุทธเจ้าได้
ตรัสไว้เป็นใจความว่า ถ้าเราจะพูดกันโดยสรุปความให้
สั้นที่สุดแล้ว ก็พูดว่า สิ่งต่าง ๆ ที่มีอุปาทานยึดครองอยู่นั่นแหละ เป็นตัวความทุกข์ หรือเป็นมูลเหตุของ
มันจะเป็นสัญชาตญาณใด ๆ ก็ตาม ก็ต้องอาศัยอยู่บนสัญชาตญาณที่เป็นมูลฐาน คือสัญชาตญาณที่เป็นความ
รู้สึกยึดถือว่ามีตัวตนนี่เองความยึดถือว่ามีตัวตนจึงเกิดเป็น
สิ่งที่จะต้องมีประจำอยู่ในสิ่งทุกสิ่งที่มีชีวิต ถ้าไม่อย่างนั้น
แล้วมันจะมีชีวิตรอดมาไม่ไดขอให้เข้าใจสั้น ๆ อย่างนี้ก็.................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:11:28 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 11:11:32 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


ความทุกข์หรือให้สั้นกว่านั้นอีกก็ว่าร่างกายและจิตใจที่
มีอุปาทานเข้าไปยึดถือหรือครอบครองอยู่นั่นแหละ เป็นตัว
ความทุกข์ ดังนี้........เมื่อเป็นดังนี้ เรามองเห็นได้พร้อม ๆ กัน
ไปในคราวเดียวกันว่า อุปาทานข้อนี้ เป็นมูลกำเนิดของ
ชีวิตด้วย เป็นมูลกำเนิดของความทุกข์ด้วย พร้อมกัน
หรือเคียงคู่กันมา และคำที่ว่า ชีวิตคือความทุกข์ ความ
ทุกข์คือชีวิตยิ่งกว่านั้น ยังมีคำกล่าวในพระพุทธศาสนา ซึ่งกล่าว
ในฐานะเป็นอุปมาว่า ผู้ที่จะเอาตัวรอดจากความทุกข์ให้ได้
นั้น ให้ฆ่าพ่อฆ่าแม่เสีย ที่ว่าฆ่าพ่อฆ่าแม่ ในที่นี้นั้น ก็
หมายถึง ฆ่าอุปาทาน หรือ ฆ่าอวิชชา อันเป็นมูลเหตุของ
ตัณหาและอุปาทานนี้เอง หมายความว่าถ้าดับอุปาทานที่
ยึดถือว่าตัวตนเสียได้ ก็จะหมดความทุกข์ ชีวิตก็จะถึงที่สุด
แห่งความทุกข์ หมายความว่าจะไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
อีกต่อไป จะหมดเหตุหมดปัจจัยที่จะปรุงแต่งให้มีภพมีชาติ
เกิดใหม่อีกต่อไปชาติที่เป็นอยู่ในบัดนี้ จะเป็นชาติสุดท้าย
ขึ้นมาทันที การที่เรารู้จักมูลกำเนิดของชีวิต หรือของ
ความทุกข์นี้น่าจะถือว่าเป็นการรู้ในสิ่งที่ลึกซึ้งที่สุด หรือนี้
ท่านหมายความกันถึงข้อนี้เอง หรือมีข้อ
เท็จจริงอยู่ตรงนี้เอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องศึกษาดูให้ดี
ยิ่งกว่านั้น ยังมีคำกล่าวในพระพุทธศาสนาซึ่งกล่าว.........................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:12:13 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 11:14:19 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


ที่ควรรู้ที่สุด เพราะว่าเป็นทางที่ทำให้เราสามารถกำจัด
ความทุกข์ได้เด็ดขาดหมดจดสิ้นเชิงถึงที่สุดข้อนี้เราอยาก
จะอวดว่าเป็นวิชาความรู้เฉพาะของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่
อาจจะหาพบได้ในศาสนาอื่นที่มีอยู่ในโลกนี้ เท่าที่หลักฐาน
ยืนยันอยู่ในปัจจุบันนี้ ฉะนั้น..........อาตมาจึงย้ำในข้อนี้ในฐานะที่
เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนาเรา ขอให้ท่านนัก
ศึกษาตั้งใจกำหนดจดจำเอาไปศึกษาพินิจพิจารณาให้
ละเอียดสุขุมเป็นพิเศษวิธีปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวกับอุปาทาน ให้เป็นประ-
โยชน์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น จะต้องอาศัยการที่
เรารู้จักตัวอุปาทาน โดยเฉพาะอัตตวาทุปาทาน ข้อสุดท้าย
นี้ ให้มากเป็นอย่างยิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งขึ้นไปอีก ก็
ในแง่ที่อาตมาได้กล่าวแล้ว ว่าเป็นมูลฐานของสิ่งที่เรียกว่า
ชีวิต หรือของสิ่งมีชีวิต และเป็นสิ่งที่มีอยู่เอง เป็นอยู่เอง, มี
ประจำอยู่เสร็จแล้วในตัว โดยไม่ต้องสอนอะไรกันอีก
ตัวอย่างเช่นเด็กเล็ก ๆ พอเกิดมาจากครรภ์มารดา หรือว่าลูก
สัตว์เล็ก ๆ พอเกิดมาจากท้องแม่ ก็มีสัญชาตญาณอันนี้มา
ด้วยเสร็จ เราจะเห็นได้ว่าลูกสัตว์เล็ก ๆ เช่นลูกแมว รู้จักขู่
ฟ่อ ๆ ในเมื่อเราเข้าไปใกล้มัน ซึ่งเป็นสัญชาตญาณแห่งการ
ต่อสู้ป้องกันตัวเอง สัญชาตญาณในการรู้จักอยากอาหาร
รู้จักแสวงหาอาหาร รู้จักทำอะไร ๆ ที่เข้าข้างตัว ก็เป็นอย่าง
เดียวกันยิ่งกว่านั้น อัตตวาทุปาทานนี้ ยังเป็นไปมาก...............................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:12:45 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 11:16:46 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


จนถึงกับว่าเป็นความรู้สึกที่อยู่เหนือเหตุผล คือไม่ต้อง
อาศัยเหตุผล อาศัยแต่ความรู้สึกที่รู้สึกอยู่แล้วในจิตใจ
เท่านั้นยกตัวอย่างเช่นเด็กเล็ก ๆ เขาเดินเซไป เผอิญศีรษะ
ไปกระทบเข้ากับประตู เจ็บ แล้วก็ร้องไห้ พี่เลี้ยงหรือมารดา
ก็แก้ได้โดยวิธีที่ไปตีประตูแก้แค้นแทนให้เด็กนั้นก็หาย
โกรธหรือหายร้องไห้ ดังนี้เป็นต้น อาการอันนี้ติดมาจน
กระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ยังโกรธสิ่งที่ไม่มีชีวิตไม่มีวิญญาณ
เหล่านั้นได้อยู่เหมือนกันเราจะเห็นคนโต ๆ ในขนาดพวก
เรานี้ขว้างปาวัตถุสิ่งของนั่นนี่ ลงไปด้วยความโกรธ ในฐานะ
ที่โกรธราวกับว่าสิ่งของนั้นเป็นบุคคลอีกคนหนึ่ง ที่ไม่ทำตาม
ความประสงค์ของตน หรือสิ่งของนั้นมีเจตนาที่จะขัดขวาง
ตน ดังนี้เป็นต้น ขอให้พิจารณาถึงข้อที่เด็ก ๆ บางทีก็เตะ
ประตู ตีประตู ตีอะไรต่อมิอะไร ที่ไม่มีชีวิตวิญญาณด้วย
ความโกรธ แม้ที่สุดแต่สิ่งที่ไม่มีชีวิตวิญญาณ ถ้าเผอิญมัน
กระดุกกระดิกได้ เช่นเครื่องจักรของนาฬิกาที่กำลังเดินอยู่
เป็นต้น ก็จะเผลอรู้สึกว่าสิ่งนั้นมีชีวิตวิญญาณขึ้นมาทันที
เพราะเหตุที่มีอุปาทานว่า มีอะไรที่เป็นตัวตนอยู่
ประจำอยู่ในสิ่งทั้งหลาย และอุปาทานนั้นก็สิงประจำอยู่ใน
จิตในใจของคนทุกคน ฉะนั้นเราจึงสู้ไม่ได้หรือช่วยไม่ได้ แก้
ไม่ไหว ในการที่จะป้องกันมิให้อุปาทานในข้อนี้ แสดง
อิทธิพลอะไรออกมามันย่อมมีอิทธิพลในกากรกระทำทุกสิ่ง
ทุกอย่างของคนเราเรามีทางทำได้อย่างเดียว คือจะ....................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:13:55 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 11:19:35 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


ควบคุมมันไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จนกว่าจะเจริญ
ด้วยวิชาความรู้ในทางธรรมมากขึ้น ในภายหลัง เราจึงจะ
สามารถควบคุมมันได้ถึงที่สุด หรืออาจจะเรียกได้อีกโวหาร
หนึ่งว่า ตัดให้เด็ดขาดลงไปด้วยหลักวิธีที่ทางพุทธศาสนา
สอนไว้ จนเราชนะสัญชาตญาณข้อนี้ ถ้ายังเป็นคนธรรมดา
คือเป็นปุถุชนแล้ว ย่อมไม่มีทางที่จะเอาชนะสัญชาตญาณ
ข้อนี้ได้เลย แม้จะเป็นพระอริยเจ้า ก็มีแต่พระอริยเจ้าอันดับ
สุดท้ายที่สุด คือพระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเอาชนะสัญชาต
ญาณข้อนี้ได้ เราต้องเข้าใจไว้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อย
เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นปัญหาของสิ่งที่มีชีวิตทั่ว ๆ ไป
ทั้งหมดทั้งสิ้น ถ้าเราต้องการจะเป็นพุทธบริษัทเต็มตัว คือ
ให้ได้รับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาโดยครบถ้วนแล้ว ก็
จำเป็นจะต้องศึกษาเรื่องนี้ และเอาชนะอุปาทานข้อนี้ให้ได้
ให้มากที่สุด เราก็จะได้รับประโยชน์เต็ม ตามที่พระพุทธ
ศาสนามีให้เรา และเราก็จะเป็นพุทธบริษัทแท้
แม้ในขั้นที่เรายังละไม่ได้ ยังตัดไม่ได้นี้ อาตมาก็ยังขอ
ยืนยันว่าอุปาทานทั้งหมดนี้ ยังเป็นสิ่งที่ควรศึกษา พินิจ
พิจารณาอย่างละเอียดสุขุม และทำการควบคุมมันให้ดีที่สุด
เท่าที่จะทำได้ นั่นแหละ เพราะเราจึงจะค่อย ๆ เป็นอิสระ
แก่ตัวเราเอง คือเป็นอิสระแก่กิเลส แต่เราใช้คำว่าเป็นอิสระ
แก่ตัวเราเอง. ในการที่เราจะปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ของเราให้
ถูกต้องตรงตามอุดมคติของเรา ยกตัวอย่างเช่นบรรดาท่าน................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:14:33 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: 07 มีนาคม 2553 11:23:08 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
อุปทาน 4


http://img187.imageshack.us/img187/452/045f33e1e9b0ff282efc20eid4.gif
อุปทาน 4


ทั้งหลายเหล่านี้ ที่จะออกไปเป็นตุลาการประจำศาลอย่าง
น้อยที่สุด ท่านก็ต้องมีหลักหรืออุดมคติในข้อที่ว่าจะไม่
ลำเอียงด้วยอคติทั้ง 4 แต่ว่าเพียงความรู้หรือความตั้งใจว่า
จะไม่ลำเอียงด้วยอคติทั้งสี่ในขณะที่เราควบคุมอุปทานข้อนี้
ไม่ได้เสียเลยนั้นอคติ ไม่ลำเอียง จะเป็นของง่ายที่สุด ทั้งจะเป็นของสบาย
ที่สุดด้วย และเราจะไม่ต้องเสียใจภายหลังเมื่อเราปฏิบัติ
หน้าที่ของเราได้บริสุทธิ์ผุดผ่องตามอุดมคติแล้ว เราก็มีแต่
ความสุขใจแท้จริงตลอดไปถ้าเราปฏิบัติไม่ได้เพราะว่าเรา
สู้มันไม่ได้ ควบคุมมันไว้ไม่ได้ เราก็ต้องเสียใจภายหลังเป็น
ธรรมดา และเป็นทางมาแห่งการเสื่อมเสียอย่างอื่นสืบไปอีก
ไม่มีที่สิ้นสุดการที่เรารู้จักมูลฐานของสิ่งที่เป็นปัญหาประจำวัน
ของเรานั้นนับเป็นกุศล หรือความฉลาดถึงที่สุด อาตมาจึง
รบเร้าท่านนักศึกษาทั้งหลายให้สนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ
โดยเฉพาะก็คือเรื่องอุปาทานทั้งสี่ อันเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็น
ว่า ทั้ง ๆ ที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นสิ่งที่ไม่น่ายึดถือ - ไม่น่า
จะเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ หรือจะเป็นสิ่งที่ทำได้
ยากที่สุด. การที่เราจะไม่มีอคติขึ้นมาเฉย ๆ ง่าย ๆ นั้น ไม่ได้
แน่นั่นเป็นสิ่งที่มีได้ยาก หรือเป็นสิ่งที่เหลือวิสัยแต่ถ้า
หากว่าเราได้ศึกษารู้จักกิเลสตัณหาอุปาทาน หรืออัตตวาทุ -
ปาทานข้อนี้โดยเฉพาะ ให้แจ่มแจ้งที่สุด และทำให้อยู่ใน
ความควบคุมของเราให้มากที่สุดแล้ว การที่จะเป็นคนไม่มี.................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2553 12:15:05 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.306 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 17 กันยายน 2567 08:37:43