[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 12:11:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue) (ผู้ดูแล: มดเอ๊ก)


.:::

อำนาจของการฟังอย่างลึกซึ้ง : สิ่งที่ควรปฏิบัติในวงสนทนาแบบ Dialogue

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อำนาจของการฟังอย่างลึกซึ้ง : สิ่งที่ควรปฏิบัติในวงสนทนาแบบ Dialogue  (อ่าน 10966 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 ธันวาคม 2553 20:55:56 »




อำนาจของการฟังอย่างลึกซึ้ง

สิ่งที่ควรปฏิบัติในวงสนทนาแบบ Dialogue
 



1).ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังให้ได้ยิน


อวัยวะคู่หนึ่งที่เรานำไปใช้ในการปฏิสัมพันธ์ โต้ตอบกับคนรอบข้างมากที่สุดคือ ปาก กับ หู ของเรานั่นเองครับ ปาก ทำหน้าที่ผลิตเสียงพูด หรือ ภาษา ในขณะที่ หู ทำหน้าที่รับฟัง และช่วยประมวลผล ยืนยันสิ่งที่เราพูดออกไปว่ามีความถูกต้อง ตรงกับใจที่เราต้องการสื่อออกไปหรือไม่  โดยธรรมชาติ คนจึงฟังเสียงของตนเองตลอดเวลา 


กระบวนการฟังเสียงของตนเองเรียกว่า  reflexive audio-evaluation หรือ การรับฟังแบบสะท้อนกลับในตัวเอง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเกือบพร้อมๆกัน ปากกับหูจึงต้องทำงานร่วมกันตลอดเวลา คนที่หูหนวกมาแต่กำเนิดจึงพูดไม่ได้แม้จะมีอวัยวะในการออกเสียงครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนคนอื่น เพราะไม่มีหูทำหน้าที่เป็น ‘self-reflection’ เสียงของตนเองได้ 


แต่การที่เรามีปากเพียงหนึ่งปาก แต่มีหูถึงสองข้างนั้น แสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติออกแบบเพื่อให้เรามาฟัง มากกว่าให้เราพูด ธรรมชาติอาจจะต้องการให้เรามีสติกับคำพูดของตนเองมากขึ้น

ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์เพื่อใช้ในการสัมผัสกับมนุษย์โดยเฉพาะ ลองนึกภาพดูนะครับว่า คนที่พูดว่า”พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก แล้วก็ตกทางทิศตะวันตก” หรือ “น้ำค้างร่วงหล่นลงบนใบหญ้า” เขาจะใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไรเพราะสิ่งที่เขาพูดออกไปไม่ได้เกี่ยวข้องกับใครบนโลกใบนี้เลย


ภาษาที่คนปกติธรรมดาพูดออกไปจึงต้องมีลักษณะอาการของการบ่งชี้ (diexis) อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในตัวของมันเอง เช่น บ่งชี้ถึงคน (person diexis) บ่งชี้ถึงสถานที่ (space diexis) และบ่งชี้ถึงเวลา (time diexis) เช่น คำพูดที่ว่า “คืนพรุ่งนี้ผมจะกลับไปหาครอบครัวที่ต่างจังหวัด” เป็นตัวอย่างของถ้อยคำที่บอกลักษณะการบ่งชี้ได้อย่างครบถ้วน คนฟังก็ฟังรู้เรื่องว่า “ผม” จะทำอะไร เกี่ยวข้องกับใคร ที่ไหน ในวันรุ่งขึ้น


เพราะเรานำคำพูดของไปพัวพันกับคนอื่นตลอดเวลา คำพูดของเราจึงสามารถกระตุกความรู้สึกของคนอื่นได้หลายแบบ เช่นทำให้คนอื่นยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ ดีใจ เสียใจ โกรธแค้น นิ่งเงียบ อยากตอบโต้ หรือเฉยๆ ฯลฯ เพราะในขณะที่พูด เราไม่สามารถทำตัวให้ปลอดจากทัศนะใดๆได้ สิ่งที่เราเชื่อ สิ่งที่เราอยากให้เป็น หรือไม่อยากให้เป็น ชอบหรือไม่ชอบ มักจะเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในคำพูดของเราเสมอ สิ่งที่เราพูดออกไปจึงเกิดจากการตีความหรือการให้ความหมายของเราเองทั้งสิ้น แล้วเราก็เชื่อว่าสิ่งนั้นว่า เป็น “ความรู้” เราเก็บมันไว้ที่ฐานคติ (presupposition) และคลังของความทรงจำ (memory) แล้วก็มันนำออกมาใช้ในการ “ตัดสิน” สิ่งที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง และเมื่อเราไปสัมพันธ์กับคนอื่นๆ


เช่น เรานำเอาความรู้ ความคิดที่เห็นว่าดี หรือถูกต้อง ออกมาเสนอแนะ ชักจูง โน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตาม หรือนำไปตอบโต้กับสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราเชื่อ จนเกิดการโต้เถียงเพื่อเอาชนะ และในขณะเดียวกันอาจทำให้ผู้อื่นขาดความเป็นอิสระ เกิดความรู้สึกต่อต้าน


การโต้เถียงเพื่อเอาชนะคะคานซึ่งกันและกัน เป็นอันตรายอย่างหนึ่งของการระดมความคิดแบบสร้างสรรค์ เพราะความคิดที่ชนะอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีที่สุด เพราะเป็นความคิดของผู้มีอำนาจ หรือความคิดแบบพวกมากลากไป ในขณะที่ความคิดบางอย่างอาจเป็นความคิดที่ดี แต่ที่ถูกกดทับเพราะเป็นความคิดของคนไร้อำนาจ เป็นคนกลุ่มเล็กๆที่ไม่เห็นด้วยกับเรา  การโต้เถียงเพื่อเอาชนะ จึงอาจเป็นการทำลายความคิดที่ดีๆอย่างน่าเสียดาย

เราต้องการปริมณฑล (space) แบบใหม่ ที่คนทุกคนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างอิสระ ไม่ถูกความสัมพันธ์เชิงอำนาจกดทับจนดิ้นไม่ออก หรือเต็มไปด้วยพิธีการ ลำดับขั้นตอนแบบหยุมหยิมจนกระทั่งไม่สามารถนำเอาพลังจินตนาการของแต่ละคนออกมาใช้

ผู้ที่เข้ามาอยู่ปริมณฑลของการพูดคุยแบบใหม่ จะต้องเปิดตัวเองรับฟัง ปล่อยให้ความคิดทุกความคิดเข้ามาอยู่ในตัวเราโดยไม่ต่อต้าน ไม่มีการตัดสินผิด ถูก เมื่อประตูใจเปิด ทุกความคิดจะไหลเข้าหากันตามธรรมชาติ เหมือนน้ำจากที่ต่างๆไหลเข้าหากัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ เกิดความหมายใหม่ร่วมกัน (shared meaning) พร้อมกับเกิดการยกระดับของปัญญา (intuition) สามารถมองปัญหา หรือปรากฏการณ์ด้วยสายตาใหม่ และอาจจะพบทางออก

การพูดคุยภายใต้ธรรมเนียม ‘dialogue’ จึงเป็นการเปิดใจรับฟังอย่างไม่มีเงื่อนไข  ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังให้ได้ยินฟังโดยไม่มีการสรุป หรือการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้ฟัง  แต่ฟังให้ได้ยินทั้งเสียงของตนเอง และเสียงของผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ตั้งสติ พิจารณาความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตัวเอง  ฟังเสียงตัวเองขณะโต้ตอบกับสิ่งที่เข้ามากระทบ ว่าเพราะเหตุใดเราจึงมีปฏิกิริยาออกไปเช่นนั้น การพิจารณากลับไปกลับมา อาจจะทำให้เราพบคำตอบบางอย่าง และมีความคิดใหม่ๆเกิดขึ้น


คำพูดของเรา คือคำพูดของคนอื่น คำพูดของคนอื่นก็คือคำพูดของเรา เสียงของเรา ก็คือเสียงของคนอื่น เสียงของคนอื่นก็คือเสียงของเรา ฟังให้ได้ยิน แล้วเราจะเข้าใจข้อความเหล่านี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2553 20:58:24 »




2).มีความเป็นอิสระ ผ่อนคลาย


ไม่มีความจำเป็นต้องเตรียมหาเหตุผลมาชี้แจงเพื่อเป็นเกราะป้องกันตนเอง เพราะในวงสนทนาแบบนี้จะไม่มีใครมาใช้คำพูดโจมตีเรา ทุกคนคือกัลยาณมิตร ที่ปรารถนาดีต่อกัน ต่างคนต่างปรารถนาให้คนอื่นรับฟังแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่มีวาระอื่นๆแอบแฝง  แต่ละคนจะควบคุมตัวเองไม่ปล่อยคำพูดออกมาแบบขาดสติ แต่หากมีคนคิดและทำจริงๆ ก็ปล่อยไป และเขาจะรู้สึกเป็นทุกข์เอง เพราะสิ่งที่พูด จะย้อนกลับเข้าหาตัวเองหมด


ดังนั้น แต่ละคนควรทำตัวตามสบาย ไม่ต้องแย่งชิงโอกาสในการพูด หรือพูดแบบกระหืดกระหอบเพราะกลัวจะไม่ได้พูด ถ้าหากความคิดมันผ่านเข้ามา ให้ตั้งสติ เรียบเรียงคำพูดให้กระชับ แล้วพูดออกไปแบบชัดถ้อยชัดคำ คำถามไม่จำเป็นต้องตอบ เพราะคำถามส่วนใหญ่เป็นคำตอบอยู่ในตัวของมันเอง สิ่งที่เราอยากพูด อาจไม่จำเป็นต้องพูด เพราะคนอื่นพูดออกไปแล้ว


หลีกเลี่ยงการนำตนเองไปผูกติดกับเป้าหมาย ว่ากระบวนการต้องได้ผลอย่างโน้น อย่างนี้ แต่จะต้องเอาใจจดจ่ออยู่กับกระบวนการที่กำลังเป็นไปในขณะปัจจุบัน ความคิด ปัญญาเป็นของธรรมชาติ บังคับให้เกิดไม่ได้ จะเกิดมันก็เกิด จะมาก็มา จะไปก็ไป ผลของกระบวนการ dialogue เรียกว่าเป็น process determinism ซึ่งแปลว่ากระบวนการที่ถูกต้องก็คือ “ผล”ในตัวของมันเอง และเมื่อมีกระบวนการที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่อยากได้ เช่น ความคิด ปัญญาก็จะเกิดขึ้น ไม่ควรบีบบังคับเพื่อให้ได้ผล โดยไม่ใส่ใจต่อกระบวนการ

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2553 20:58:53 »




3).เท่าเทียมกัน ไม่มีผู้นำ ผู้ตาม


วงสนทนาแบบ dialogue จะถือว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกันหมด ไม่มีประธาน ไม่มีการลงมติตัดสินใจ ไม่ปล่อยให้ความแตกต่างทางด้าน เพศ อายุ สถานะ ศักดิ์ศรีหรือตำแหน่งเข้ามามีบทบาทในการครอบงำบรรยากาศของการสนทนา ไม่ทำให้คนรู้สึกว่าตนเองต้องถูกกดทับ จนขาดความรู้สึกเป็นอิสระ  เราจะต้องถอดถอนสิ่งเหล่านี้ออกให้หมด เพื่อมิให้กลายเป็นสิ่งกีดขวางการรับฟัง และเป็นภาระให้เราต้องออกมาพูดปกป้อง ตอบโต้ อันเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง และทำให้บรรยากาศการสนทนาต้องเสียไป และก่อความทุกข์ให้แก่ตัวเราเอง

พึงระลึกเสมอว่า dialogue ไม่ใช่การพูดโต้แย้งแบบวิภาษวิธี (dialectical conversation) ซึ่งเป็นการต่อสู้กันทางความคิด และถือว่า ความคิดที่แข็งแรงที่สุด มีผู้สนับสนุนมากที่สุดคือผู้ชนะ แต่ dialogue ยอมรับว่าความคิดทุกความคิด มีความสำคัญเท่าเทียมกัน และไม่ว่าจะเป็นความคิดของใคร ก็จะได้รับการเชื้อเชิญให้ซึมซาบเข้ามาอยู่ในตัวตน (tacit infrastructure) ของเรา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ เกิดความหมายใหม่ จินตนาการใหม่ ที่ทุกคนรับรู้และเป็นเจ้าของร่วมกัน


http://www.oknation.net/blog/Thaidialogue/2007/05/11/entry-4

http://cedars.hku.hk/NewsLetter/apr09/images/dialogue%20cover.JPG
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2553 09:43:45 »

ขอบคุณครับ อ.มด
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
Dialogue คิดลงสู่ใจ...ไหลเป็นปัญญา
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 2 5424 กระทู้ล่าสุด 04 พฤศจิกายน 2553 04:51:58
โดย มดเอ๊ก
“สุนทรียสนทนา” (dialogue) ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ สร้างสรรค์
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 4 5228 กระทู้ล่าสุด 04 พฤศจิกายน 2553 05:09:26
โดย มดเอ๊ก
บนวิถีแห่ง Dialogue
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 2605 กระทู้ล่าสุด 04 พฤศจิกายน 2553 05:15:16
โดย มดเอ๊ก
สุนทรียสนทนา (dialogue): ศาสตร์และศิลป์ของการหันหน้าเข้าหากัน
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 3457 กระทู้ล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2553 08:57:41
โดย มดเอ๊ก
Dialogue : The Monkey King 2 ตอน ศึกราชาวานรพิชิตมาร ( กับ อ.วรภัทร์ )
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 2119 กระทู้ล่าสุด 05 กรกฎาคม 2559 14:59:29
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.402 วินาที กับ 35 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มีนาคม 2567 22:38:43