[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 ธันวาคม 2567 17:45:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า:  1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ  (อ่าน 28490 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 14:45:07 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT4.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


พระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อ ปัญญานันท ได้เทศนาสั่งสอนธรรมไว้

ณ.วัดชลประทานรังฤษฎิ์ ปากเกร็ด นนทบรีปีพุทธศักราช 2529

ญาติโยม พุทธบริษัททั้งหลาย.................................................

รัก
ณ.บัดนี้ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการฟัง ตามสมควรแก่เวลา..........................
การศึกษาเรื่องธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ที่เรายอมรับว่า เป็นเพราะว่าการเดินทางก็จะขลุกขลัก บางทีอาจจะหลงไป เสียเวลาเสียมากมายก่ายกอง ไม่อาจจะไปถึงจุดหมายปลายทางนั้นได้ แต่ถ้าหากว่าเรารู้ทางดี การเดินทางก็ไม่ขัดข้อง เป็นไปด้วยความสะดวกสบาย ทุกประการ จึงเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องศึกษา เพื่อให้รู้ว่าทางที่เราจะเดิน ด้วยการปฏิบัติทางกาย ทางวาจา ทางใจ นั้นเป็นอะไรบ้าง มีสภาพอย่างไร ควรจะเดินด้วยวิธีใด จุดหมายที่เราไปถึงนั้นมี สภาพอย่างไร เป็นเรื่องที่ควรจะได้ทำความเข้าใจกันก่อน เพราะฉะนั้นในหลักทางพระพุทธศาสนา จึง ได้วางหลักไว้สามตอน คือ ปริยัติ หมายถึงการศึกษาเล่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 17:48:23 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
 
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #21 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:14:14 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


(:SLE:)นานเขาก็บอก เดินนาน ยืนนาน เขาก็บอก ยืนนานแล้ว ปวดแข้งแล้ว เราก็ต้องนั่งให้เขาหน่อย ถ้านั่งนานๆ เขาก็ว่าพอแล้ว ลุกขึ้นยืนหน่อย วิ่งเสียหน่อย อิริยาบถมันต้องสม่ำเสมอ ร่างกายมัน ก็เป็นปกติ นี่บางคนนั่งมาก โดยเฉพาะคนที่ชอบเล่นไพ่ นั่งเอาจริงๆ มันไม่ สมดุลย์มันก็เกิดปัญหา มี ความทุกข์ทางร่างกาย  เรื่องอย่างนี้มันลำบากถ้าเราไม่รู้เรื่องของมัน  ถ้าเราปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามธรรมชาติของร่างกาย สิ่งทั้งหลายก็จะเรียบร้อย เพราะหน้าที่มีอยู่
นอกจากหน้าที่ เรามีหน้าที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้อยู่ด้วยกัน ต่อคนที่เกี่ยวข้อง ต่อการงานประเภทต่างๆ ต่อชาติต่อพระศาสนา ต่อสิ่งที่เรามีส่วนได้รับประโยชน์ เราก็ต้องทำสิ่งนั้น ๆ ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องมีความสำนึกอยู่ในใจเสมอว่า เวลานี้ฉันมีหน้าที่อะไร ฉันควรจะปฏิบัติต่อหน้าที่นั้นอย่างไร และควรจะทำโดยวิธีใด จะต้องคิดอยู่ตลอดเวลา พอถึงเวลานั้น เราก็ทำตามหน้าที่ เมื่อทำอะไรทุกอย่างไปตามหน้าที่ ทุกอย่างมันก็เรียบร้อย ไม่เกิดการ หงุดหงิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:49:14 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #22 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:15:46 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


(:LIP:)ขลุกขลัก หน้าที่จึงเป็นธรรมะประการหนึ่ง ที่เราละเลยไม่ได้ แต่จะต้องเอาใจใส่ ปฏิบัติอยู่ตลอดเวลานี้ประการหนึ่ง เรียกว่า หน้าที่
เมื่อเราได้ทำอะไร ตามหน้าที่เสร็จแล้ว ผลจะต้องเกิดขึ้นแก่เรา เขาเรียกว่า การกระทำกับ ผลนั้นคู่กัน กิริยากับปฏิกิริยามันคู่กัน กรรมกับผลนั้นคู่กันเหมือนกัน ไม่ว่าอะไรถ้ามีการเคลื่อนไหวมีการกระทำ ผลมันก็เกิดขึ้น เมื่อเรามีการเคลื่อนไหวปฏิบัติหน้าที่ ผลมันก็เกิดขึ้นแก่เรา ผลที่เกิดขึ้นแก่เรานั้นก็เป็นธรรมะประเภทหนึ่ง เขาเรียกว่า วิบาก หรือวิปากธรรม หมายถึงผลอันเกิดขึ้นจากหน้าที่ที่เราได้ปฏิบัติลงไป ตามฐานะของการลงทุนของสิ่งที่เราทำ ทำมากผลมันก็มาก ทำน้อยผลมันก็น้อยตามสมควร จะคล้ายๆ กับ เรายืนตรงนี้ แล้วเราขว้างลูกบอลล์ไปที่ฝา ถ้าขว้างแรงมันก็กระดอนกลับแรง ถ้าขว้างเบามันก็กระดอนกลับแต่เพียงเบา ๆ ทำอะไรมันก็ต้องมีผลทั้งนั้น เพราะฉะนั้นจึงมีหลักตายตัวว่า ทำอย่างใดได้อย่างนั้น หว่านพืชชนิดใดได้ผลอย่างนั้น ทำดีได้ดี ทำชั่ว เครียด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:49:49 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #23 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:16:45 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


ได้ชั่ว เราจะหนีจากผลที่เรากระทำไว้ไม่ได้เป็นอันขาด อันผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเรานั่นแหละ ก็เป็นตัวธรรมะอย่างหนึ่งเหมือนกัน สรุปความว่า ธรรมะ ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในสมัยโบราณ มาจนถึงกาลบัดนี้ มีความหมายเป็นสี่ประการ คือเรียกว่า ธรรมชาติ ระเบียบกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ หน้าที่ และผลอันเกิดขึ้นจากหน้าที่ นี่คือคำว่า ธรรม ทั่วไป แต่ว่าในภาษาไทยเรานั้น เรามีคำพูดพิเศษอยู่อันหนึ่ง เรามักจะพูดว่า พระธรรม ถ้าเราพูดว่า พระธรรม ให้เข้าใจว่าหมายถึงหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คู่กันกับพระพุทธ พระสงฆ์ พระธรรม เรา ใส่พระเข้าไปข้างหน้าถือว่าเป็นเกียรติ์ เป็นของสูง แต่ว่าพูดว่า ธรรมะเฉยๆ มันก็หมายถึงสิ่งสี่ประ การดังที่กล่าวมา แต่ถ้าใส่พระเข้าไปข้างหน้า ก็ให้หมายถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราเรียกว่าพระธรรม พระธรรมก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องศึกษา ต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้เกิดความรู้ในเรื่องนั้นถูกต้อง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:50:22 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #24 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:17:47 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


(:6:)ทีนี้พระธรรมในทางพระพุทธศาสนานั้น มีลักษณะอย่างไร ก็มีลักษณะหกประการ ดังที่เราสวดมนต์ กันเช้าๆ เวลามาที่โรงเรียนนี้ เราสวดว่า สวากขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว คือสอนไว้ดีแล้ว ที่พระองค์เอามาสอนไว้ดีนั้น เอามาอย่างไรเอามาจากการคิดค้น การศึกษา พระผู้มีพระภาคของเรานั้น ถ้าพูดภาษาสมัยใหม่ๆ ก็เรียกว่า นักค้นคว้าชั้นหนึ่งทีเดียว ค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับชีวิตจิตใจ เกี่ยวกับเรื่องความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ แต่ว่าก่อนค้นคว้าเรื่องนี้ พระองค์ก็ไปเที่ยวศึกษาในสำนักครูบาอาจารย์ต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในประเทศอินเดียในสมัยนั้น ในยุคนั้นมากมาย เพราะประเทศอินเดีย ถ้าพูดกันไปแล้ว ก็เรียกว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา มีอาจารย์มีครู มีความคิดเห็นต่างๆ กันตั้งมากมายหลายลัทธิ
ที่ใหญ่  (:4:)ๆ ก็มีประมาณเจ็ด แปดลัทธิทีเดียว แล้วก็มีผู้ตั้งมีผู้สอน มีหลักคำสอนที่แตกต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ เอามา ตาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:51:44 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #25 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:18:52 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


;Dสอนกันอยู่ทั่วๆ ไป ในแง่การปฏิบัติก็เหมือนกัน มีการปฏิบัติกันในรูปต่าง ๆ หลายแบบหลายอย่าง พระองค์ออกบวชใหม่ๆ ยัง ไม่เข้าใจชัดในเรื่องอย่างนี้ ก็ต้องไปเที่ยวทดสอบศึกษา ทดลองในสำนักอาจารย์ต่าง ๆ เหล่านั้น เกือบจะทุกแห่ง เพราะว่าใช้เวลาตั้งหกปี ที่ไปเที่ยวศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ ทดสอบ  ในสำนักนั้น ๆ เมื่อได้ทดสอบอย่างชนิดที่เรียกว่า เอาจริงเอาจัง จนครูบาอาจารย์เจ้าสำนักนั้นยกย่องว่า เป็นคนจริงคนหนึ่ง ทำอะไรก็ทำได้อย่างเก่งกาจ เสมอด้วยเราผู้เป็นอาจารย์แล้ว แต่พระองค์ก็ไม่พอ พระทัย ในสิ่งที่อาจารย์นั้นชมว่าดี เพราะพระองค์รู้ด้วยตนเองว่า มันยังไม่ถึงที่สุด คือยังไม่หมดทุกข์นั่นเอง ยังมีความทุกข์อยู่ยังมีปัญหาอยู่ ยังสะสางไม่หมด เลยลาอาจารย์นั้นไป เที่ยวไปในสำนักอื่นอีก มีอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่อาจารย์นั้นเขาคิดเขาค้นกัน ก็ลองไปทำอีก กระทำเสียทั่ว เรียกว่า มีอาจารย์เท่าใดก็ไปทดสอบมาทั้งนั้น ผลที่สุดก็มาสู่ที่ที่พระองค์ได้ตรัสรู้ ที่ต้นโพธิ์ แล้วก็มานั่งสงบจิตปฏิบัติกันในแนวใหม่ ผล เลือดพุ่ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:52:21 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #26 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:20:02 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


(:7:)ที่สุดก็ได้พบความจริง ที่เราเรียกว่าพระธรรม ค้นพบพระธรรม ค้นพบด้วยความเพียร ด้วยความอดทนด้วย ความตั้งใจ อันนี้เป็นเครื่องประกอบอย่างสำคัญ ทำให้พระองค์ได้ค้นพบสิ่งนั้น รัก
เมื่อค้นพบสิ่งนั้นแล้ว น้ำพระทัย สงบ สะอาด สว่าง ไม่มีความทุกข์อันเป็นปัญหาใดๆ เกิดขึ้นในใจต่อ ไปพระองค์ก็ได้พูดออกมาว่า ฉันรู้แล้ว ทุกข์หมดแล้วการเกิดในคราวนี้เป็นครั้งสุดท้าย ไม่ต้องมีการ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวงจรของกิเลสต่อไป นี่เรียกว่า ได้ค้นพบความจริง และได้พบทุกข์ด้วยพระองค์เอง พบแล้วทดลองพระองค์เองก่อน เห็นว่าใช้ได้ดีจริงๆ เพราะฉะนั้นคำสอนที่เรากล่าวว่า สวาขาโต พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ที่ว่าดีหมายความว่า ด้วยดี เป็นประโยชน์ด้วยและเป็นทางที่จะปฏิบัติให้ ถึงความพ้นทุกข์ได้ด้วย จึงเรียกว่าเป็นของดีจริง ถ้าดีแต่ว่ามันไม่มีประโยชน์มักก็ใช่ไม่ได้ ประโยชน์กับดี มันต้องคู่กัน แล้วธรรมของพระผู้มีพระภาคนี้ดีตลอดกาล ดีอยู่ทุกหนทุกแห่งดีแก่ทุกคน ที่จะนำไปใช้ หงุดหงิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:53:06 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #27 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:21:05 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


 เครียด เครียด เครียด
(:SY:)เป็น หลักปฏิบัติ จึงได้ชื่อว่า เราสรรเสริญหลักคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อาทิกัลยาณัง แปลว่า ไพเราะ ในเบื้องต้น มัชเฌกัลยาณัง ไพเราะในท่ามกลาง ปริโยสานกัลยาณัง ไพเราะในที่สุด ไพเราะในเบื้องต้นคือ ว่า ดีงามในเบื้องต้น ในขั้นปฏิบัติขั้นศีล ไพเราะในท่ามกลาง เรียกว่าในขั้นสมาธิ ไพเราะขั้นสูงสุดก็ เรียกว่า ในขั้นปัญญา ที่จะทำให้เราพ้นไปจากความทุกข์ความเดือดร้อนได้ อันนี้เป็นหลักแรกที่เราได้สวดกันอยู่ว่า ดีจริง
แต่ว่าความดีจริงๆ ของพระธรรมนั้น ถ้ามันดีอยู่ในหนังสือมันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เหมือนกับยาดีอยู่ในขวด มันไม่ได้เรื่องอะไร เราต้องเอายานั้นมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเรา ให้มันเป็น สันทิฏฐิโก ตัว ที่สองที่ว่า สันทิฏฐิโก หมายความว่า เห็นด้วยตัวเอง ได้ชิมรสนั้นด้วยตัวเอง เขาบอกว่า "เกลือเค็ม" เราเพียงแต่รับรู้ว่ามันเค็ม น้ำตาลหวาน บรเพ็ดขม เรารู้ แต่ว่าเรายังไม่รู้ว่า มันเค็มอย่างไร หวานอย่างไร ?ขมอย่างไร ? ก็ ลัลลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:54:21 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #28 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:22:01 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


สู้ สู้ สู้ สู้ สู้ สู้

(:BYE:)เรียกว่า ยังไม่เป็น สันทิฏฐิโก เพราะไม่เห็นชัดด้วยตนเอง เพียงแต่รู้ทางหูมันยังใช้ไม่ได้ รู้ทางตาก็ยังใช้ไม่ได้ รู้ทางจมูกก็ยังใช้ไม่ได้ มันต้องรู้ด้วยใจ ไปสัมผัสกับสิ่งนั้นจริง ๆ เป็นคุณค่าเกิดขึ้นทางใจจริง ๆ เพราะฉะนั้น การที่จะให้เป็น สันทิฏฐิโก นั้น ไม่ใช่เพียงแต่เรียกเฉย ๆ เป็น ปริยัตติเ ท่านั้น แต่ต้องลงมือทดสอบด้วยการเอามาปฏิบัติ ด้วยตัวเองของเราเอง สมมติว่าพระผู้มีพระภาค ท่านสอนว่า โลภ โกรธ หลง นี้ไม่ดี ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงดี โลภ โกรธ หลงเป็นฝ่ายอกุศล ไม่ โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงเป็นฝ่ายกุศล เรารู้ทางปริยัติ รู้ทางหนังสือที่เราท่องไว้ เช่นเราไปท่องหนังสือว่า อกุศล รากเหง้าของความชั่วคือ โลภ โกรธ หลง กุศลมูล รากเหง้า ของความดีก็คือ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่ หลง เพียงเท่านั้นไม่ได้ แต่เราจะต้องคอยกำหนดใจของเรา ว่าความโลภมันเกิดขึ้นแล้วสภาพจิตใจเป็นอย่างไร แล้วสังเกตดูว่า การพูดด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นอย่างไร การกระทำด้วยอำนาจโกรธ หลงนั้นเป็น หลับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:55:35 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #29 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:22:48 »

 ลัลลา ลัลลา ลัลลา ลัลลา ลัลลา
http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


(:BR:)เรียกว่า ยังไม่เป็น สันทิฏฐิโก เพราะไม่เห็นชัดด้วยตนเอง เพียงแต่รู้ทางหูมันยังใช้ไม่ได้ รู้ทางตาก็ยังใช้ไม่ได้ รู้ทางจมูกก็ยังใช้ไม่ได้ มันต้องรู้ด้วยใจ ไปสัมผัสกับสิ่งนั้นจริง ๆ เป็นคุณค่าเกิดขึ้นทางใจจริง ๆ เพราะฉะนั้น การที่จะให้เป็น สันทิฏฐิโก นั้น ไม่ใช่เพียงแต่เรียกเฉย ๆ เป็น ปริยัตติเ ท่านั้น แต่ต้องลงมือทดสอบด้วยการเอามาปฏิบัติ ด้วยตัวเองของเราเอง สมมติว่าพระผู้มีพระภาค ท่านสอนว่า โลภ โกรธ หลง นี้ไม่ดี ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงดี โลภ โกรธ หลงเป็นฝ่ายอกุศล ไม่ โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงเป็นฝ่ายกุศล เรารู้ทางปริยัติ รู้ทางหนังสือที่เราท่องไว้ เช่นเราไปท่องหนังสือว่า อกุศล รากเหง้าของความชั่วคือ โลภ โกรธ หลง กุศลมูล รากเหง้า ของความดีก็คือ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่ หลง เพียงเท่านั้นไม่ได้ แต่เราจะต้องคอยกำหนดใจของเรา ว่าความโลภมันเกิดขึ้นแล้วสภาพจิตใจเป็นอย่างไร แล้วสังเกตดูว่า การพูดด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นอย่างไร การกระทำด้วยอำนาจโกรธ หลงนั้นเป็น หลับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:56:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #30 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:23:45 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ



อย่างไร แล้วผลมันจะเกิดเป็นอะไรต่อมา อย่างนี้จะต้องศึกษาด้วยตัวเองด้วย การกำหนดจากการกระทำของเราเอง คนเรามีการกระทำอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จิตใจนี้ไม่ได้อยู่นิ่งแต่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวไปในทางอกุศลบ้าง ในทางฝ่ายกุศลบ้าง
เพราะฉะนั้น เราจึงต้องมีหน้าที่ที่จะต้องคอยกำหนดว่า เวลาใดจิตมันตกไปในฝ่ายอกุศล ฝ่ายมืด ฝ่ายดำเราก็สังเกตว่า สภาพจิตใจเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เห็นความแตกต่างระหว่างดีกับชั่ว ระหว่างมืดกับสว่าง ระหว่างความสุขกับความทุกข์ ที่มันเกิดขึ้นเป็นประสบการณ์ในจิตใจของเรา เราจะต้องคอยกำหนดอย่างนั้น เราจะเห็นเองด้วยตัวของเรา เห็นว่าเวลาโลภนี่ร้อนอกร้อนใจ เวลาโกรธมันก็ร้อนอกร้อนใจ เวลามืดบอดนี่มองอะไรไม่เห็น ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร พอมันเกิดอารมณ์ขึ้นมาแล้วฆ่าคนได้ทันที ฆ่าคนตายสองสามคนก็ได้ เผาบ้านให้วอดวายไปก็ยังได้ เพราะมันเกิดความมืดไม่รู้ว่าตัวคิดอะไร ตัวพูดอะไร ตัวทำอะไร อย่างนั้นเขาเรียกว่า ลืมตัวลืมตน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 16:57:42 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #31 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:24:44 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


เครียด เครียด เครียด เครียด
(:CHILL:)ไม่รู้ว่าตนคือใคร?ตนคิดอะไร?ตนพูดอะไร?ตนทำอะไร?นั่นคือผลประจักษ์ ที่เกิดขึ้นในตัวของบุคคลนั้น อันนี้เราจะศึกษาจากการกระทำของคนอื่นก็ได้ แล้วก็เอาไปวิเคราะห์ว่า ที่ทำเช่นนั้นเพราะอะไร ที่ไปฆ่าคนนั่นเพราะอะไร ไปลักของเขาเพราะอะไร ไปประพฤติล่วงเกินความรักความใคร่นี่ เพราะอะไร ไปพูดโกหกหลอกลวงเขา เพราะอะไร ไปสูบฝิ่น กินกัญชา ค้าเฮโร - อิน นี่เพราะอะไร? เอามาแยกแยะ พิจารณาในสิ่งเหล่านั้น เมื่อเราพิจารณาก็มองเห็นว่าเพราะเจ้าโลภ เจ้าโกรธ เจ้าหลง มันเกิดขึ้นในใจเรา มันจะเราให้เสียผู้เสียคน เราก็ระวังมันไว้ไม่เกิดขึ้นในใจ ของเราเป็นอันขาด
ส่วนในด้านฝ่ายดี สมมุติว่าเราไปนั่งภาวนาเพื่อทำจิตใจให้สงบ สมมติว่ากำหนดใจเข้าออก เราก็ ไปนั่งกำหนดลมหายใจเข้าออกในที่เงียบ ๆ ทำไป ๆ ถ้าเรารู้สึกใจสงบ สบาย คือว่างจากอะไร ๆ รู้สึกว่า ตัวเบาโปร่ง เราก็เห็นเองด้วยตัวของเราเอง ว่าสิ่งนั้นที่ทำลงไปแล้วมันเป็นอย่างไร อย่างนี้เรียกว่า สันทิฏฐิโก ผู้ศึกษาก็ได้ด้วย โกรธ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 17:19:17 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #32 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:25:35 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ

 
อ๊ากก อ๊ากก อ๊ากก อ๊ากก อ๊ากก

(:BYE:)ตนเองผู้ปฎิบัติก็รู้ได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าเราไม่ศึกษาไม่ปฏิบัติ เราก็ไม่มีสัน ทิฎฐิโก คือไม่ประจักแก่ใจ ไม่เห็นชัดด้วยตนเอง ตามเขาว่ามีภูเขาหิมาลัย เราก็รับว่ามันมี เขาว่ามี ดอยอินทนนท์ ก็ว่ามันมีอยู่เท่านั้นเอง ยังไม่เคยได้ขึ้นสักหน่อย ไม่เคยเห็น ดอยสุเทพ สักหน่อย หรือไม่เคยเห็นทะเล สมมุติว่าคนทางเหนือไม่เคยเห็นทะเลนี่ ว่าหน้าเป็นอย่างไร แปลว่า ไม่เกิดประจักษ์แก่ใจ ต่อเมื่อสิ่งใดสิ่งนั้นมันเกิดขึ้นในตัวเรา ก็เป็นเรื่องประจักษ์แก่ตัวเรา เช่นว่า คุณค่าทางความสงบหรือ ความดับทุกข์ได้ ที่เราเรียกกันว่า พระนิพพาน มันจะเกิดขึ้นในตัวผู้ปฏิบัติ และตัวผู้นั่นแหละจะเห็นด้วยตนเอง ไม่ต้องให้ใครไปบอกว่า คุณนี่บรรลุพระนิพพานแล้ว นั่นมันเขาว่า เราไม่ได้เห็นเอง เราต้องรู้ของเราเอง ว่าใจสงบ มันเยือกเย็น เห็นอะไรมันก็เฉย ๆ ไม่มีความโลภ อยากได้ไม่มีความโกรธ ใครเขา มาด่าเราคำสองคำเราเฉย ๆ เราเป็นคนไม่น้อยใจ ไม่ริษยา ไม่อะไรต่ออะไร คนเราบางทีมัน ก็เกิด ความน้อยอกน้อยใจในเรื่องนั้นใน แหวะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 17:21:09 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #33 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:26:47 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


 สู้ สู้ สู้ สู้ สู้ สู้
เรื่องนี้ความน้อยใจมันเกิดจากอะไร เกิดจากความอยากได้นั่นแหละ เราอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี่แล้วเราไม่ได้ แล้วคนอื่นเขาได้ เช่นว่าคนอยู่กันสองคน แล้วก็มีบุคคลที่สามที่จะให้อะไรๆ คนที่ให้นั้นให้อีกคนหนึ่งอีกคนหนึ่งไม่ได้ คนที่ได้เขาก็สบายใจว่ากูได้ คนที่ไม่ได้ก็เกิดความน้อยใจว่า กูไม่ได้ ผู้ใหญ่นี่เกิดลำเอียงรักไม่เท่ากันนี่มันเกิดความน้อยใจ พอเกิดความน้อยใจก็เกิดความริษยาขึ้นมาทีเดียว แหมมันดีกว่ากูอ้ายนี่ ต้องหาทางทำลายกันตัดรอนกันต่อไป มันยุ่งตรงนี้ มันเป็นปัญหา
เราต้องคอยสังเกตว่า ตัวนี้เกิดขึ้นแล้วมันไม่ดี มนุษย์เรานี่ต้องคอยรู้ว่าอะไรมันเป็นกิเลส อะไรไม่ใช่ ความสงบกับความวุ่นวาย มันต่างกันอย่างไร?ความร้อนกับความเย็นที่เกิดขึ้นในใจ ต่างกันอย่างไร ความมืดกับความสว่าง มันเกิดขึ้นในใจแล้ว มันต่างกันอย่างไร ต้องคอยกำหนดไว้บ่อย ๆ ทีนี้เมื่อกำหนดไว้ แล้วกำหนดรู้ มันเป็น สันทิฏฐิโก เรื่องนั้นแล้ว เราก็ต้องคอยดูตัวเราว่าอะไรมันเกิดขึ้น แล้วเรารู้ว่าอ้ายนี่ ไม่ดีเช่นว่าโลภเกิดขึ้นไม่ดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 17:22:52 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7865


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 15:33:06 »

สาธุอีกรอบครับ ตามอ่านตลอดเลยครับ
เนื้อหาดี

 เย้ เย้ เย้

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #35 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 16:21:23 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


(:SL:)ออกไปทำไมมายุ่งกับฉันอีกเล่า ความโกรธเกิดขึ้นเราก็รู้ว่าไม่ดี เราก็คอยบังคับควบคุม ไม่ให้โกรธมันลุกลามต่อไป ไม่ให้เกิดความหลงไม่ให้เกิดความริษยา ไม่ให้เกิด ความพยาบาท ไม่ให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในเรื่องอะไรๆ ต่างๆ ปัญหาในหมู่มนุษย์มันมาจากเรื่องอย่างนี้ ความน้อยเนื้อต่ำใจ แล้วก็เกิดการเทียบเคียง ระหว่างเรากับเขา แล้วก็เกิดความรู้สึกว่า มันเก่งกว่าเรา ทีนี้มันก็น้อยใจ ถ้ารู้สึกว่าเราเก่งกว่าเขา ก็เกิดการดูหมิ่นถิ่นแคลนคนผู้นั้นเข้าไปอีก แล้วมันยุ่งทั้งนั้น อย่าเอาตัวเราเข้าไปเทียบกับใคร ๆ ในด้านที่ให้ยุ่งใจ แต่ให้เรานึกว่า ฉันมีหน้าที่ของฉันต่าง คนต่างก็มีเส้นของตัว มีเลนของตัว แล้วก็ขับไปตามเลนก็แล้วกัน อย่าไปเที่ยวขับไปให้ผิดเลน แล้วมันจะไปเบียดไปชนกัน เกิดเป็นปัญหา สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนขึ้น ด้วยประการต่างๆ ถ้าเราทำอย่างนี้มันก็ (:-_-:)ไม่ยุ่งแล้วเรื่องไม่ยุ่งอย่างนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีประจักษ์ แก่ตัวของเราเองว่า อะไรเกิดขึ้น อะไรตั้งอยู่ และสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันให้ผลอย่างไร?เรารู้ชัด  สลึมสลือ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 17:24:10 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #36 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 16:23:01 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ

เครียด เครียด อ๊ากก อ๊ากก
(:SL:)กิเลสเกิดแล้วมันเป็นอย่างไร กิเลสดับแล้วมันเป็นอย่างไร พอเรารู้ชัดในสภาพอย่างนั้นแล้ว จิตใจก็สบายขึ้น เรารู้เท่าทันต่อสิ่งที่มากระทบ ไม่ให้มันเกิดขึ้น ในใจของเรานี้ประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง คนเราบางทีมักจะปล่อยให้ไปคิดในเรื่องที่ไม่จำเป็น เช่นมีอะไรที่มักจะปล่อย ให้ไปคิดในเรื่องที่ไม่จำเป็น เช่นมีอะไรเกิดขึ้นแล้วก็เก็บมาคิดมานึกอยู่ จนกระทั่งนอนไม่หลับ อย่างนี้ก็มี อันนี้ ควรจะแก้ไขให้ได้ แก้ไขด้วยการถามตัวเองว่า คิดอะไร มีปัญหาอะไร ทำไมจึงต้องคิดด้วยความวิตกกังวลอย่างนั้น เรื่องนี้มันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป แล้วทำไมเราไม่ยอมให้มันดับไปเสีย เราเอามาคิดเพราะอะไร ค้นให้พบสมมุติฐานของมัน ว่ามันเพราะอะไร เพราะอะไรก็อยู่ในตัวเรานั่นแหละ ไม่ไปอยู่ที่ไหน ค้นไป พบไป พอพบเข้ามันก็เป็นสันทิฏฐิโก ขึ้นมา รู้ได้ด้วยตนเอง แล้วเราก็ไม่ปล่อยให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นแก่เราต่อ ไป ให้เราถือเป็นหลักไว้ในใจว่า การคิดการพูดการกระทำสิ่งใดทั้งหมด เป็น แหวะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 17:25:30 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #37 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 16:24:17 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


 กลัว เศร้า เหนื่อย สู้ อ๊ากก
(:SL:)ประสบการณ์ในชีวิตของเรา เป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษา จะต้องทำความเข้าใจไว้ ถ้าสิ่งใดเป็นเรื่องไม่ดี เราก็ไม่ควรจะให้เกิดขึ้น อีก แต่ถ้าเรื่องใดเป็นเรื่องดีทำอีกก็ไม่เป็นไร แต่ถึงทำความดีก็มีอยู่อีกเรื่องหนึ่ง ที่ควรจะสังวรก็คือว่า อย่าติดในความดี ทำดีเพื่อความดี แต่อย่าไปติดอยู่ในความดีนั้น เพราะการติดมันก็เป็นทุกข์เหมือนกัน แต่ ถ้าเป็นคนธรรมดาก็ติดดีไว้ก่อน แต่นาน ๆ ไปดีก็ไม่เอาแล้ว เราทำตามหน้าที่ของเรา ไม่เอาทั้งสองอย่าง ดีก็ไม่เอา ชั่วก็ไม่เอา นี่จิตใจมันค่อยสูงขึ้น ปราณีตขึ้น พอถึงขั้นพระอริยะเจ้าเขาเรียกว่า ลอยบาปลอยบุญ คือบุญก็ท่านไม่เอา บาปก็ท่านไม่เอา อย่างนั้นจิตใจมันสบาย ไม่เอาด้วยความคิดในใจ ไม่ต้องไปพูดกับใครว่า ผมไม่เอาบุญไม่เอาบาปแล้ว ถ้าพูดอย่างนั้นมันก็ยังเอาอยู่นั่นแหละ คือต้องการเอาอย่าง ไร พูดให้คนอื่นรู้ รู้ว่าตัวมีความคิดอย่างนั้น ไม่ต้องแสดงออก คนที่มีความซาบซึ้งในธรรมะไม่ต้องแสดงออกให้คนอื่นรู้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องอวดให้มันอยู่ในใจ เป็นสุขสงบอยู่ในใจ ยิ้มระรื่นอยู่ อกหัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 17:26:35 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #38 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 16:25:55 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


เลือดพุ่ง เลือดพุ่ง เลือดพุ่ง เลือดพุ่ง เลือดพุ่ง
(:SL:)ข้างใน ไม่ต้องแสดงให้ใครรู้ว่า เราเป็นอะไรก็ได้ ถ้ายิ่งแสดงออกไปก็เป็นเรื่องโอ้อวด ทีนี้อวดแล้วเขาไม่สนใจ กลับ น้อยเนื้อต่ำใจอีก เรื่องอื่นมันจะเกิดตามมา เพราะฉะนั้นมันลำบากจึงต้องแก้ด้วยปัญญา
อีกอันหนึ่ง อกาลิโก เป็นสิ่งให้ผลไม่จำกัดเวลา คือ เรื่องผลที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ มันให้ เรื่อยไปเหมือนกับเราลงน้ำ ลงเมื่อไหร่มันก็เปียกเมื่อนั้น มันเรื่องธรรมดา ธรรมของพระพุทธเจ้าที่เป็น หลักปฏิบัติคือไม่จำกัดกาลเวลา เช่นว่าการบรรลุมรรคผล เรามักจะเข้าใจเขวไปตามคำของคนโบราณ เขา พูดไว้ว่า เวลานั้นจะไม่มีพระอรหันต์ พระอนาคามี พระโสดาบัน อะไรๆ ก็ว่าไปอย่างนั้น อันนี้ พวกพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ต้องการจะทำลายพระพุทธศาสนา เขาเรียกว่า บ่อนทำลายทางจิตใจ เอาความเชื่อประเภทนี้ใส่ลงไปในจิตใจของชาวพุทธ ชาวพุทธก็มีความเชื่อว่า เป็นสิ่งที่จะเป็นไปได้ แล้วก็ไม่คิดแก้ไขความเสื่อมโทรมทางพระศาสนา ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นก็มักจะพูดว่า มันปลายศาสนาก็อย่างนั้นแหละ เมื่อก่อนนี้ กลอกตา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 17:27:19 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #39 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2552 16:28:33 »

http://i191.photobucket.com/albums/z119/bee_99/HUT9.jpg
ฟังธรรม - ต้องฟัง - ให้ถึงธรรม แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ


เครียด เครียด เครียด เครียด เครียด เครียด เครียด เครียด เครียด
ได้ยินบ่อย ๆ เราไม่เอา ค่อย ๆ เปลื้องความรู้สึกนึกคิดไปโดย (:SL:)ลำดับ ๆ ความคิดความเห็นค่อยดีขึ้น เพราะเราเข้าใจในเรื่องนั้นถูกต้องขึ้น เป็น สันทิฏฐิโก อย่างแท้จริงสำหรับวันนี้ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ก่อน
ชีวิตของแต่ละท่านก็ผ่านมาตั้งแต่เด็กจนถึงขณะนี้
ก่อนจะถึงวัยนี้ ก็ไม่รู้ว่าถึงวัยนี้ในลักษณะใด
สำหรับพรุ่งนี้ก็มืดสนิท ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดบ้างแน่นอนถ้าศึกษาพระธรรมก็จะเริ่มเข้าใจทุกอย่างตรงตามความเป็นจริงรู้เหตุของความทุกข์ สุข จนกระทั่งสามารถที่จะดับเหตุของความทุกข์ - สุขนั้น -ได้ตามพระธรรม
นี่คือ...............ประโยชน์ของการฟังพระธรรมแล้วค่อย ๆ เข้าใจขึ้น
สลึมสลือ


บัดนี้ก็สมควรแก่เวลาแล้วจึงขอยุติเพียงเท่านี้

เอ้า.........นั่งสมาธิด้วยอาการสงบแล้วแผ่เมตตาเป็นเวลา 5 นาที

 รัก
แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
รัก

สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพพะยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

ธรรมบรรยายนี้ถอดเทปออกมาเมื่อปี 2529

<a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" target="_blank">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma</a>
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2552 18:01:14 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7865


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #40 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2553 23:23:58 »

กระทู้นี้กำลังจะครบรอบ 1 ปี (นับจากวันที่ตั้ง) ในอีกครึ่งชั่วโมงข้างหน้านี้

วันเวลาผ่านไปแสนไว

แต่ความรู้สึกในใจยังเหมือนเดิม

 ขำ ขำ ขำ ขำ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.129 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 18 พฤศจิกายน 2567 01:26:05