[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 เมษายน 2567 19:47:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นิงมะ กาจู สักยะ เกลุค วัชรยาน 4 สายสำคัญในธิเบต  (อ่าน 8772 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 ธันวาคม 2553 17:15:15 »



* ภาพ พระวัชรสัตว์

พระพุทธศาสนานิกายสำคัญในธิเบต


นิกายสำคัญ



นับตั้งแต่พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศธิเบตในสมัยศตวรรษที่ ๑๑๑๑ โดยส่วนใหญ่เป็นคำสอนที่ถ่ายทอดไปจากอาจารย์และโยคีชาวอินเดีย วรรณคดีพุทธศาสนาที่ธิเบตใช้เป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตล้วน มีการ ถ่ายทอดคำสอนอกเป็นหลายนิกายทั้งนิกายใหญ่และนิกายย่อย ในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะนิกายหลักที่สำคัญ ๔ นิกาย คือ นิงมะ กาจู สักยะ และเกลุค โดยเรียงลำดับจากความเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์เป็นหลัก บางครั้งจะพบคำว่า " ปะ " ต่อท้าย แปลว่า " เป็นของ " เช่น นิงมาปะ คือ ของนิกายนิงมะ ในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เติมคำว่า " ปะ " ไว้เพราะ ไม่มีความจำเป็น







Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2553 17:16:49 »



*ภาพ ท่านปัทมะสัมภวะ หรือ คุรุรินโปเช ปฐมาจารย์ ต้นสาย นิงมะ



นิกายนิงมะ


นิกายนิงมะอ้างว่าถือกำเนิดจากปฐมาจารย์ชาวอินเดีย คือ คุรุปัทมะสัม ภวะ ซึ่งเดินทางมาธิเบตตามคำเชิญของพระเจ้าตริซอง เดซัน ใน ค.ศ. ๘๑๗ เพื่อให้มาช่วยปราบภูติผีมารร้ายที่เป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ พุทธศาสนา ปัทมสัทมภวะไม่ใช่พระภิกษุแต่เป็นโยคีผู้ทรงความรู้โดย เฉพาะในสายของตันตระ นอกจากจะปราบภูติผีมารร้ายสำเร็จแล้ว ยัง ทำให้ภูติผีปีศาจทั้งหลายหันมานับถือพุทธศาสนาและช่วยปกป้องพระ ศาสนาอีกด้วย ชาวธิเบตโดยทั่วไปจึงเรียกอาจารย์คุรุปัทมสัมภวะด้วย ความยกย่องเทิดทูนว่า " คุรุริมโปเช " ซึ่งแปลได้ว่า " ท่านอาจารย์ผู้ประ เสริฐ " คุรุริมโปเชร่วมมือกับพระภิกษุศานติรักษิต ซึ่งได้เข้ามาเผยแผ่ พุทธศาสนาอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว ช่วยกันสร้างวัดสัมเย เป็นวัดในพุทธ ศาสนาวัดแรกในธิเบต และต่อมากลายเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาพุทธ ศาสนาที่สำคัญ และเป็นแหล่งแปลคัมภีร์สำคัญในวรรณคดีพุทธศาสนา ออกสู่ภาษาธิเบต


คุรุริมโปเชสอนคำสอนอย่างกว้างขวางในนิกายตันตระ และมีสานุศิษย์ ถึง ๒๕ คน ลูกศิษย์เหล่านี้ประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ จากอาจารย์ในหลายด้าน เช่น นัมเก นิงโป สามารถเดินทางไปตามลำ แสง ดันโดร เยเช ซอกยัล สามารถชุบชีวิตคนตายให้ฟื้น ไวโรจนะเก่ง ทางปัญญา นานัม เยเช เก่งในทางเหาะเหินเดินอากาศ คาวา เพลเซ่ สามารถอ่านความคิดของคนอื่น ญาน กุมาร เก่งในทางอิทธิฤทธิ์ เป็นต้น


ในเวลาเดียวกันนั้น อาจารย์ที่มีชื่อเสียงจากอินเดียก็เข้าเผยแผ่คำสอน ทางด้านตันตระในธิเบต เช่น ธรรมกีรติ วิมลมิตร เป็นต้น การถ่ายทอด คำสอน การฝึกปฏิบัติตันตระเป็นไปเฉพาะหมู่ศิษย์ใกล้ชิด และแม้มีการ แปลคัมภีร์ก็ทำกันอย่างลับ ๆ


คำสอนส่วนหนึ่งคุรุริมโปเชเห็นว่าลูกศิษย์ยังไม่พร้อม แทนที่จะสอน จึงแอบซ่อนคัมภีร์ไว้ จนกว่าลูกศิษย์จะได้พัฒนาระดับจิตและสติปัญญา เสียก่อน ทรัพย์สมบัติที่ซ่อนไว้เหล่านี้มีทั้งคัมภีร์ พระพุทธรูป รูปพระ โพธิสัตว์ อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีต่าง ๆ พร้อมมีคำสั่งกำกับถึงวิธีใช้ ฯลฯ ขณะนี้ปรากฏว่ามีอาจารย์ในนิกายนิงมะ จำนวนกว่า ๑oo คน ที่เริ่มเผย คำสอนเหล่านี้ นอกจากคำสอนทางตันตระ ก็ยังมีหลักคำสอนที่เรียกว่า " ซอกเช็น " ( มหาบารมี ) ซึ่งต้องถ่ายทอดจากอาจารย์โดยตรง เหล่านี้ นับเป็นคำสอนของนิกายนิงมะ


นิกายยิงมะแบ่งคำสอนในพุทธศาสนาออกเป็น นวยาน ( ยาน ๙ ) สาม ยานแรกเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิ สัตวยาน ยานทั้งสามนี้คือ ตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ปรากฏใน พระสูตร จากนั้นก็เป็น ตันตระสาม ได้แก่ กิริยาตันตระ เน้นในการ ปฏิบัติทางกายให้ถูกต้อง อุปตันตระ เป็นการทำสมาธิโดยการเพ่งใน พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตต์ และโยคะตันตระเป็นการพัฒนาพลังจิต ที่สอนโดยวัชรสัตว์ จากนั้นก็มาถึงตันตระขั้นสูงอีก ๓ ยาน คือ มหา โยคะ เน้นการปฏิบัติการละวางความยึดมั่นถือมั่น อนุโยคะ ฝึกการทำ สมาธิเป็นหนึ่งเดียวกับวัชรกาย เพื่อเข้าถึงความตระหนักรู้ชั้นรากฐาน และสุดท้าย คือ อติโยคะ พุ่งไปที่ขั้นสูงสุดของการปฏิบัติ เพื่อให้โยคี ได้ก้าวข้ามโลกียะตามคำสอนของสมันตภัทรพุทธะ


หกยานแรกสอดคล้องกับพุทธศาสนาแบบธิเบตนิกายอื่น ๆ เฉพาะ สามยานสุดท้าย เป็นลักษณะคำสอนและการปฏิบัติเฉพาะของนิงมะ
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2553 17:18:25 »



*กายรุ้ง หรือ ร่างประภัสสร ของลามะผู้สำเร็จ ขั้น ซอกเช็น มหาบารมี
 
ซอกเช็น ( มหาบารมี ) เป็นคำสอนและการปฏิบัติที่มีลักษณะเฉพาะ นิกายนี้ โดยไม่เป็นนักบวช ฆราวาสก็สามารถปฏิบัติและเข้าถึงได้โดย การสวดพระนามของคุรุริมโปเช ทุกวันที่ ๑o และวันที่ ๒๕ ของเดือน ตามปฏิธินจันทรคติ เป็นการถวายบูชา มีการเข้าเงียบ ( retreat ) เป็น เวลา ๓ ปี ๓ เดือน ตามลำพังหรือมีเพื่อนร่วมปฏิบัติด้วย

ตามประวัติศาสตร์ความเป็นมาของตันตระนั้น สืบทอดกันมา ๓ สาย สายหนึ่งตามที่พระพุทธองค์ทรงตั้งพระทัย หมายถึงคำสอนของพระ ธรรมกายของสมันตภัทรพุทธเจ้า ซึ่งนิกายนิงมะถือว่าพระองค์ทรงสอน ตัตระให้แก่ธรรมสภาของผู้ตรัสรู้แล้วทั้งหมด ซึ่งปรากฏจากพระธรรม กายของพระองค์ คำสอนในระดับนี้จึงสูงเกินกว่าระดับปุถุชนธรรมดา จะเข้าถึง

อีกสายหนึ่ง คือ สายของผู้ทรงความรู้ หมายถึง คำสอนจากสัมโภคกาย ที่มีรากฐานมาจากพระวัชรสัตว์และวัชรปานิ ซึ่งสืบสายทางมนุษย์ผ่าน การับดอร์เจ จากดินแดนของฑากินี สายนี้สืบทอดมาทางอาจารย์มัญชุศรี มิตร ศรีสิงหะ คุรุริมโปเช ญาณสูตร วิมลมิตร ไวโรจนะ ซึ่งนำคำสอน มาถ่ายทอดในธิเบต

อีกสายหนึ่ง เป็นสายกระซิบผ่านทางมนุษย์ เป็นสายคำสอนจากนิรมาณ กายที่มีรากฐานมาจากปัญจะธยานิพุทธะ ซึ่งสืบทอดมาทางอาจารย์ศรีสิงหะ คุรุริมโปเช เมื่อคุรุริมโปเชถ่ายทอดให้อาจารย์วิมลมิตร เป็นการเริ่มต้นสาย ของธิเบตสืบมาจนปัจจุบัน สายที่สามหรือสายสุดท้ายนี้ เป็นสายที่ใช้สอน คนทั่วไปมากที่สุด โดยสองสายแรกนั้นยังคงมีอยู่แต่เฉพาะในหมู่อาจารย์ ซอกเช็นชั้นสูงเท่านั้น

การสืบทอดวรรณคดีตันตระในนิกายนิงมะนั้น แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ สืบ ทอดทางวาจา ทางทรัพย์ ( หมายถึงสมบัติที่ซ่อนเร้นไว้ในศตวรรษที่ ๙ ) และการเห็นจากสมาธิ คำสอนที่สืบทอดทางวาจา เป็นคำสอนตันตระและ คัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับมหาโยคะตันตระ คัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับแวดวงของอนุ โยคะตันตระ และท้ายสุดอติโยคะหรือคัมภีร์ซอกเช็น

อาจารย์ที่ถ่ายทอดคำสอนลี้ลับที่อาจารย์ปัทมสัมภวะซ่อนไว้ตั้งแต่ศตวรรษ ที่ ๙ นั้น มีจำนวน ๑oo คนทีเดียว แต่ที่มีชื่อเสียงในศตวรรษต่าง ๆ มีดังนี้ ยอนรัล นีมะ โอเซอร์ ( ๑๑๒๔-๙๒ ) , คุรุ โชวัง ( ๑๒๑๒ - ๑๒๗o ) , ดอร์เจ ลิงปา ( ๑๓๔๖- ๑๔o๕ ) , ปัทมะ ลิงปา ( เกิด ๑๔o๕ ) , และจัมยัง เค็นเซ ( ๑๘๒o - ๑๘๙๒ ) ถือว่าเป็นปัญจะราชาแห่งขุมทรัพย์ คำสอนที่นำมาเปิด เผย เป็นคำสอนและการทำสมาธิที่เกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร การปฏิบัติของอาจารย์ปัทมสัมภวะ คำสอนของซอกเช็น คำสอนของวัชร กิละ รวมทั้งการแพทย์ และคำพยากรณ์ในอนาคต

ดังนั้น นอกจากคัมภีร์ที่เป็นมาตรฐานได้ กันจุร์และตันจุร์แล้วยังมีรวมคำ สอนทางตันตระของนิกายนิงมะอีกจำนวนนับแสนที่ได้รวบรวมในศตวรรษ ที่ ๑๓ โดยอาจารย์เทอร์ตัน รัตนะ ลิงปะ ( ๑๔o๓ - ๑๔๗๓ ) นอกจากนี้ยัง มีพนธ์ ๖o เล่มของอาจารย์ รินเซ็น เทอร์ซอด ซึ่งรวบรวมโดย กองทรุล ยอนเท็น กยัตโส ( ๑๘๑๓ - ๑๘๙๙ )

สำหรับสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของนิกายนิงมะก็คือ วัดสัมเยที่สร้างเสร็จใน ปี ๘๑o โดยพระภิกษุอาจารย์ศานติรักษิต และอาจารย์ปัทมสัมภวะ ภาย ใต้ราชานุเคราะห์ของพระเจ้าตริซองเดซัน หลังจากนั้นไม่มีการก่อสร้าง วัดขนาดใหญ่อีก จนกระทั่งศตวรรษที่ ๑๒ นิกายนิงมะเอง ไม่มีลักษณะ การจัดตั้งเป็นสถาบันเหมือนนิกายอื่น จึงพัฒนาเป็นสถาบันล่าช้ากว่าเพื่อน

วัดมินโดรลิงจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. ๑๖๗๖ โดยอาจารย์ริกซิน เทอร์ดัก ลิงปะ เป็นทั้งวัดและศูนย์การศึกษา ต่อมาสร้างดอร์เจดรักในธิเบตตอนกลาง เมื่อ ค.ศ. ๑๖๕๙ สร้างซอกเช็นในแคว้นคัมใน ค.ศ. ๑๖๘๕

เมื่อชาวธิเบตลี้ภัยออกนอกธิเบตได้สร้างวัดที่เป็นวิทยาลัยด้วยที่รัฐคาร์นา ตะกะในอินเดียใต้ วัดเวดอนกาซัลลิงในเมืองเดห์ราดูน เนจุงดรายังลิง ในธรัมศาลา อินเดียตอนเหนือ เป็นต้น

นิกายนี้ ขณะนี้มีอาจารย์ดิลโก เท็นเซ ริมโปเชเป็นหัวหน้าหรือผู้นำของ นิกาย และมีอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายคนที่สอนธรรมะในระดับนานาชาติ

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2553 17:20:05 »




นิกายกาจู

กาจูเป็นนิกายในพุทธศาสนาแบบธิเบตที่สำคัญนิกายหนึ่ง โดยมีรากฐาน ความเป็นมาจากสองแหล่ง ได้แก่ อาจารย์มาร์ปะโชคี โลโด ( ๑๑o๒ - ๑o๘๙ ) และทุงโป ญาลจอร์ ( ๙๗๘ - ๑o๗๙ ) อาจารย์มาร์ปะนั้น เป็น นักแปลที่มีชื่อเสียงที่สุดคหนึ่งของธิเบต ได้รับการฝึกฝนจาก ดรอกมีเยเช ( ๙๙๓ - ๑o๕o ) จากนั้นอาจารย์มาร์ปะได้เดินทางไปอินเดีย ๓ ครั้ง ไป เนปาล ๔ ครั้ง เพื่อแสวงหาพระธรรมได้ศึกษาโดยเป็นศิษย์ของอาจารย์ และโยคีจำนวนมาก ( ชาวธิเบตนนิยมพูดว่า ๑o๘ คน ) อาจารย์ที่สำคัญ คือ นโรปะและไมตรีปะ มาร์ปะได้รับคำสอนสายตันตระที่เรียกว่า สาย ทั้งสี่ ได้แก่ กายมายา การสืบทอดวิญญาณ( consciousness ) ความฝัน และแสงโอภาส รวมทั้งความร้อนภายใน โดยตรงจากอาจารย์นโรปะ ( ๑o๑๖ - ๑๑oo ) ซึ่งได้รับถ่ายทอดความรู้มาจากอาจารย์ติโลปะ ( ๘๙๙ - ๑o๑๖ ) อีกทอดหนึ่ง คำสอนนี้มาจากเหล่าคำสอนที่เป็นรากฐานความ รู้คือจากพระพุทธเจ้าวัชรธร

มาร์ปะสืบทอดสายความรู้นี้มายังธิเบตและถ่ายทอดให้ศิษย์เอกคือ มิลา เรปะ ( ๑o๔o -๑๑๒๓ ) ซึ่งถือกันว่าเป็นโยคีสายตันตระ ที่ประสบความ สำเร็จสูงส่ง เข้าถึงการรู้แจ้งภายในชีวิตนี้ มิลาเรปะรับผิดชอบในการ ถ่ายทอดทางสมาธิ ในขณะที่ลูกศิษย์คนอื่นเช่น ง็อกดชกุดอร์เจ เซอร์ตัน วังเก เมตัน เซ็นโป เป็นผู้สืบทอดคำสอนสายของมาร์ปะ นิกายกาจูจึง ได้รับถ่ายทอดทั้งสองสายคือ สายสมาธิและสายการฝึกฝนทางปรัชญา

ในหมู่ของศิษย์มิลาเรปะนั้น กัมโปปะ ( ๑o๘๔ - ๑๑๖๑ ) และเรชุงปะ ( ๑o๘๔ - ๑๑๖๑ ) นับเป็นศิษย์ที่มีชื่อเสียงที่สุด คนแรกได้รับการสืบ ทอดคำสอนและการปฏิบัติของมหามุทรา และโยคะทั้งหกของนโรปะ จากมิลาเรปะ และสานเข้าเป็นสายเดียวกัน เรียกว่าสายของดักโปกาจู ถือว่าเป็นสายแม่ของนิกายกาจูทั้งหลาย

นอกจากนี้กัมโปปะยังเป็นคนแรกที่สานมหามุทราของมิลาเรปะเข้ากับ การปฏิบัติของนิกายกาดัมปะ งานนิพนธ์ของกอมโปปะ ที่เรียกว่า " รัตน มาลาแห่งการรู้แจ้ง " ( Jewel Ornament of Liberation ) เป็นงานสำคัญ ในวรรณคดีของธิเบต กาจูมหามุทราต่อรวมเข้ากับนิกายเกลุก โดย ความสามารถของอาจารย์ลอบซังโชคี กยัลเซ็น ( ๑๕๗o - ๑๖๖๒ ) ซึ่งเป็นปันเช็นลามะองค์แรกเรียกว่า กาจูสายกานเด็น

ดักโปกาจู เป็นรากฐานให้เกิดนิกายย่อยต่อมาอีก ๔ นิกาย นำโดย สานุศิษย์ของกัมโปปะ ได้แก่

๑. เซลปะกาจู ริเริ่มโดย ซางยูดักปะ ซอนดูดักปะ ( ๑๑๒๓-๑๑๙๓ )
๒. บารอม กาจู เริ่มต้นโดยบารอมทรมาวังจุก เป็นผู้สร้างวัดบารอม
ซึ่งเป็นที่มาของชื่อนิกาย
๓. ฟักดูกาจู เริ่มต้นโดยฟักโม ทรูปะ ดอร์เจ กยัลโป ( ๑๑๑o-๑๑๗o )
เป็นลูกศิษย์คนสำคัญของกัมโปปะ สามารถในการถ่ายทอด
คำสอน
มหามุทรา
และรู้แจ้ง ลูกศิษย์ของฟักโม ดูปะ อีกหลายคนก็ได้บรรลุ
ความรู้แจ้ง และก่อกำเนิดนิกายย่อยอีกหลายนิกาย
๔. กรรมะกาจูเริ่มต้นโดยกรรมะปะคนแรก คือ ดุสุม เค็นปะ ( ๑๑๑o
-๑๑๙๓ ) นิกายนี้สืบทอดมาได้จนทุกวันนี้ เพราะมีการสืบทอดผู้นำโดย
การอวตาร กรรมะปะองค์ที่ ๓ รันจุงดอร์เจ ( ๑๒๘๔-๑๓๓๙ ) และ
กรรมะปะองค์ที่ ๘ คือ มิกโย ดอร์เจ ( ๑๕o๗ - ๑๕๕๔ ) ล่าสุดเป็น
องค์ที่ ๑๖ คือ รันจุง ริกปเป กาจุ หลังจากที่อพยพออกมาอยู่ใน
ประเทศอินเดีย แล้วได้ก่อตั้งศูนย์กลางเป็นทั้งวัดและมหาวิทยาลัย
ที่รุมเท็กในเมืองสิกขิม มีสาขาย่อยในต่างประเทศนับร้อย


เฉพาะในนฟักดูกาจู มีนิกายย่อยแตกมาอีก ๘ นิกาย แต่ที่สำคัญและยัง รอดมาจนถึงทุกวันนี้มี ๓ นิกาย คือนิกายดรุกปะ มีจำนวนสาวกมากที่สุด ตามมาด้วยนิกายดรีกุง ส่วนิกายอื่นนั้น มีการปฏิบัติและคำสอนบางประการ ที่ยังถ่ายทอดมาแต่กลืนเข้าไปในนิกายอื่น

อีกนิกายหนึ่งซึ่งเป็นนิกายเก่าของกาจูเองคือ ชังปะกาจู ตั้งขึ้นโดยอาจารย์ ดุงโปร์ญาลจอร์ ( ๙๗๘-๑o๗๙ ) เกิดจากความไม่พอใจการปฏิบัติของบอน และซอกเช็น จึงเดินทางไปเนปาลและได้พบกับอาจารย์สุมติ ได้ฝีกฝนการ แปลจากจากอาจารย์คนนี้ ต่อมาจึงเดินทางไปประเทศอินเดีย ได้ศึกษาเล่า เรียนอยู่กับอาจารย์และโยคีต่าง ๆ ถึง ๑๕o คน จนชำนาญทั้งหลักธรรมเปิด เผยและรหัสัย รวมทั้งการปกิบัติสมาธิด้วย อาจารย์คนสำคัญ ได้แก่ สุขสิทธะ ราหุลคุปต์ และ นิคุมะ ภรรยาของนโรปะ นอกจากจะรับการถ่ายทอดคำ สอนจากอาจารย์ที่เป็นมนุษย์แล้ว ยังเล่าเรียนจากฑากินีด้วย เมื่อกลับมาธิเบต บวชเป็นพระภิกษุในิกายกดัมปะกับอาจารย์ลังรีถังปะ

ต่อมาได้สร้างวัดซางซอง ที่เมืองเยรูซางในธิเบตตอนกลางต้องตรงกับ คำพยากรณ์ของฑากินี ในสมัยโบราณมีวัดที่ขึ้นอยู่กับนิกายนี้จำนวนนับ ร้อย ในการสืบทอดต่อมา ยูตัน รินเซ็นดรุป ได้รับการถ่ายทอดความรู้ ทางคุยหสมาชตันตระจากเซอร์ตัน วังวิดอร์เจและสืบทอดต่อมาจถึงสอง ขะปะ

นิกายซางปะกาจูเน้นการบูชา มหากาล จักรสัมภวะ เหวัชระ มหามายา คุยหสมาช หลัก ๖ ประการของนิคุมะ มหามุทรา และ ฯลฯ อาจารย์ หลักผู้สอนความรู้เหล่านี้คือ กาลูริมโปเช ( ๑๙o๕ - ๑๙๘๙ ) เป็นอาจารย์ ชั้นนำของกาจูในศตวรรษนี้แม้ว่ากาจูจะมีนิกายย่อยมากมาย แต่หลักคำ สอน มีรากฐานในมหามุทรา โยคะทั้ง ๖ ของนโรปะ ความแตกต่างระหว่าง นิกายย่อยเพียงอยู่ที่วิธีการสอนที่ต่างกันไปในแต่ละอาจารย์


มหามุทรา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของนิกายกาจูสามารถอธิบายได้ตาม พระสูตรและตันตระ คำสอนทั้งสองแบบต่างเน้นความเเข้าใจโดยตรง และอย่างถ่องแท้ธรรมชาติที่แท้จริงของจิต วิธีการอธิบายมหามุทราของ แต่ละนิกาย โดยทั่วไปจะเน้นเหมือนกันที่พื้นฐาน มรรควิถีและผล

การปฏิบัติทางตันตระที่มีลักษณะเฉพาะของนิกายกาจู คือ โยคะทั้ง ๖ ของนโรปะ จักรสัมภวะ และมหากาล ในบริบทของการปฏิบัติทางตัน ตระนั้น การนำมหามุทรามาใช้ซับซ้อนและพัฒนาไปลึกซึ้งกว่านิกายอื่น


ในการฝึกฝนของพระภิกษุในวัดกาจู มีการศึกษาเรื่องปัญญาบารมี มาธยมิก การรับรู้ที่ถูกต้อง พระวินัย และปรากฏการณ์วิทยา เช่นเดียวกับนิกายอื่น ยกเว้นในแต่ละนิกาย มีวินับและอรรถกถาที่จะทำความเข้าใจในคัมภีร์เดิมที่ มาจากอินเดียแตกต่างกันไป


บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2553 17:21:44 »


* มหาสิทธา วิรูปปะ ปฐมาจารย์ นิกายสักยะ





สักยะ



ความเป็นมาในตอนแรกเริ่มของนิกายสักยะผูกพันอยู่กับ " คอน " ซึ่งเป็น ตระกูลขุนนางโบราณ การสืบสายตระกูลนี้ ตกทอดโดยมิขาดสายจนถึง ทุกวันนี้ นับจากคอน คอนจ็อก เจลโป ( ๙๙๒-๑o๗๒ ) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง นิกายสักยะ

ถ้านับทางหลักคำสอนแล้วนิกายนี้มีรากคำสอนมาจากโยคีชาวอินเดียชื่อ วิรูปะ โดยถ่ายทอดคำสอนผ่านมาทางคายธร ดรอกมีสักเยเช ( ๙๙๒ - ๑๑o๒ ) เดินทางไปอินเดียและได้รับคำสอนในเรื่องกาลจักร มรรควิถี และผล จากอาจารย์ใประเทศอินเดียหลายคน ต่อมาคอนก่อนจ็อกเจลโป ลูกศิษย์เอกของเขาได้สร้างวัดขึ้นในแคว้นซัง อยู่ในธิเบตตอนกลาง ใช้ชื่อ ว่า สักยะ หรือวัดดินสีเทา นิกายนี้เลยได้ชื่อตามชื่อวัด ต่อมาสาเช็นกุงก้า นิงโป บุตรของคอน คอนจ็อก เจลโป ( ๑o๙๒ - ๑๑๕๘ ) เป็นคนที่มีทั้ง ความสามารถเป็นเลิศและบรรลุภาวะจิตระดับสูง เป็นผู้รับทอดทั้งคำสอน สายพระสูตรและตันตระของอาจารย์นาคารชุนและวิรูปะ

สาเช็นกุงก้านิงโป มีบุตร ๔ คน คนนที่สองชื่อ โสนัมเชโม ( ๑๑๔๒ - ๑๑๘๒ ) เป็นนักวิชาการที่ทรงความรู้ตั้งแต่อายุเพียง ๑๖ ปี ได้รับนิมิตร หลายประการในการบำเพ็ญสมาธิ และมีลูกศิษย์สืบทอดหลายคน ลูกศิษย์ คนหนึ่ง ชื่อเจตสุนดักปะเจลเซ็น ( ๑๑๔๗ - ๑๒๑๖ ) เป็นฆราวาสที่รักษา ศีลพรหมจรรย์ และแสดงว่ามีความพัฒนาทางจิตวิญญาณตั้งแต่ในวัยเด็ก เมื่ออายุเพียง ๑๑ ขวบ แสดงธรรมสอนเหวัชระเป็นครั้งแรก


สานุศิษย์คสำคัญของเจ็ตสุน ดักปะ เจลเซ็น เป็นหลานชายของเขาเอง คือ สักยะบัณฑิต บุตรชายชายของสักยะบัณฑิตกุงก้าเจลเซ็น ( ๑๑๘๒ - ๑๒๕๑ ) สักยะบัณฑิตศึกษาปรัชญาทั้งอของพุทธและของระบบอื่น รวมทั้งตรรกศาสตร์ สันสกฤต โคล ฉันท์ โหราศาสตร์และศิลปะกับ อาจารย์ชาวอินเดีย เนปาล แคชเมียร์ และธิเบต มีความรู้ความชำนาญใน วิชาการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เมื่ออายุ ๒๗ ปี หลังจากที่ได้พบกับ ศากยะศรีภัทรบัณฑิตชาวแคชเมียร์ ต่อมาได้รับกรบรรพชาอุปสมบทเป็น พระภิกษุ และรักษาวินัยโดยเคร่งครัดสม่ำเสมอ งานของท่านก็ยังได้รับ ความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้


ค.ศ. ๑๒๔๔ โกดันข่าน หลานปู่ของเจ้ากิสข่าน ประทับใจเกียรติยศชื่อ เสียงของสักยะบัณฑิต จึงได้นิมนต์ให้ไปเผยแผ่คำสอนในมองโกเลีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยต่อมา ฟักปะหลานชายของสักยะ บัณฑิตได้ประดิษฐ์อักษรขึ้นมาใหม่เพื่อใช้เขียนภาษามองโกเลีย กุบไลข่าน ประทับใจในผลงาน จึงประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ของมองโกเลีย และมอบให้ฟักปะมีอำนาจปกครองดูแล ๓ แคว้นใน ธิเบต นับว่าฟักปะเป็นคนแรกในปะวัติศาสตร์ธิเบตที่มีอำนาจทั้งศาสนา และการเมืองดูแลธิเบตอย่างเป็นเอกภาพ สักยะปกครองธิเบตสืบทอด กัมานานกว่า ๑oo ปี

ต่อมา ติชริ กุงโจ ( ๑๒๙๙- ๑๓๒๗ ) หลานชาย ( ลูกของน้องชาย ) ของ สักยะบัณฑิตสืบทอดตระกูลเป็น ๔ สาย แต่มีเพียง ๒ สาย ที่ยังคงสืบ ทอดมาได้ คือ ตระกูล ลาคัง และดูโซ ในศตวรรษที่ ๑๕ ตระกูลดูโซ แยกพระราชวังเป็น ๒ แห่ง คือ ดอลมา โฟดรัง และฟุนซอก โฟดรัง ผู้สืบทอดทั้สองสายในปัจจุบัน คือ สักยะตรีเซ็น นาวังกุงกะ เต็กเซ็น ริมโปเช ( เกิด ค.ศ. ๑๙๔๕ ) เป็นผู้นำนิกายสักยะ อยู่ในเดห์ราดุน ประเทศ อินเดีย อีกสายหนึ่งคือ ดักเซ็น ริมโปเช ผู้ก่อตั้งสักยะเต็กเซ็นโชลิงใน สหรัฐอเมริกา การสืบทอดตำแหน่งผู้นำ ถือตามสายโลหิต มาตั้งแต่สมัย คอน คอนช็อก เจลโป และตามประเพณีแล้วจะสลับกันระหว่าง ๒ ตระกูล สักยะดักตรีเป็นผู้ครองบัลลังก์คที่ ๔๑ ของสักยะ


ผู้นำที่เป็นหลักของสักยะที่ผ่านมา ได้แก่ สาเซ็น กุงกะ นิงโป ( ๑๙o๒ - ๑๑๕๘ ) โสนัม เซโม (๑๑๔๒ - ๑๑๘๒) ดักปะ เจลเซ่น( ๑๑๔๗-๑๒๑๖) และโดรกอน โชกยัล ฟักปะ ( ๑๒๓๕-๑๒๘o ) ถือเป็นปัญจะสังฆราชของ นิกายสักยะ จากนั้นก็มีอาจารย์ ที่ชำนาญและนำพามาซึ่งการพัฒนานิกาย สักยะอีก ๖ คน รวมเรียกว่าอลังการทั้ง ๖ ได้แก่ งอเซ็น กุงกะ ซังโป และซองปะ กุงกะ นัมกยัล ซึ่งมีชื่อเสียงในทางตันตระ โครัม โสนัม เซ็งเก และสักยะ โชเด็น ได้จัดระบบการศึกษาตรรกศาสตร์ให้กับนิกายสักยะด้วย

เช่นเดียวกับนิกายอื่น ๆ นิกายสักยะเองก็แตกแยกย่อยเป็นนิกายเล็ก ๆ อีก หลายนิกาย แต่คำสอนและการปฏิบัติที่เป็นแก่นของสักยะคือ ลัมเดร มรรควิถีและผล ซึ่งในท้ายที่สุดจะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ เหวัชระ ในมรรควิถี และผลที่กล่าวถึงนั้น ได้สานรวมทั้งฝ่ายพระสูตรและตันตระทั้งที่เปิดเผย และรหัสนัย คำสอนในมรรควิถีและผล มีรากฐานมาจากคำสอนของ อาจารย์ชาวอินเดียชื่อ วิรูปะ อวรูติ คยธร และศากยมิตร คนหลังนี้เป็น ศิษย์ของอาจารย์นาคารชุน ดรอกมี นักแปลชาวธิเบตได้ถ่ายทอดคำสอน เหล่านี้สืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย


ในสมัยของมูเช็น เซ็มปะ ซังโป คอนช็อก เจลเซ่น ศิษย์ของ งอเซ็น กุงกะ ซังโป ( ๑๓๘๒-๑๔๕๗ ) การสืบทอดมรรควิถีและผล ไม่สามารถ จะแยกออกได้จากสังสารวัฏและพระนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติ ไม่สามารถเข้าถึงพระนิพพานโดยการละทิ้งสังสารวัฏได้ เพราะจิตนั้น มีรากฐานอยู่ในทั้งสังสารวัฏและพระนิพพาน หากยังมืดมัวอยู่ก็เป็น สังสารวัฏ เมื่อเป็นอิสระจากอุปสรรคอาสวะกิเลสก็เป็นพระนิพพาน ความจริงก็คือบุคคลจะต้องฝึกฝนในการทำสมาธิ เพื่อให้เข้าใจถ่องแท้ ในลักษณะความสัมพันธ์ของสังสารวัฏกับพระนิพพาน

ในวัดมหาลัยของสักยะมีการศึกษาคัมภีร์หลัก ๑๘ อย่างคือ ปัญญาบารมี พระวินัย มาธยมิกทรรศนะ ปรากฏการณ์วิทยา ตรรกศาสตร์ และทฤษฎี ความรู้ รวมทั้งอรรถกถาเฉพาะนิกายที่อาจารย์สำคัญของนิกายอธิบาย ไว้เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว พระภิกษุนักศึกษาจะได้รับปริญญา คาชิปะ คาชุปะ และรับจัมปะ ตามขีดขั้นของการศึกษา การปฏิบัติทางตันตระที่นิกาย สักยะถือเป็นหลักคือ เหวัชระ จักสัมภวะ ตันตระและมหากาล


ในประเทศธิเบต นิกายสักยะมีวัดอยู่ทั่วไปทั้งในธิเบตตอนกลางในแคว้น คัม อัมโด ปัจจุบันนี้ หลังจากที่อพยพมาอยู่ในประเทศ อินเดีย นิกาย สักยะได้ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่ ตามชื่อวัดเดิมในธิเบต เช่น เซเช่นเทนไป คัตซัล ในราชปูร์ อุตตรประเทศ นังกูร อีวัมชาดรูป คาร์เจลิงในเมืองบีร์ ทางตอนเหนือของอินเดีย เซเช่นโทงัก โชลิง ในมุนกอด ในอินเดียใต้ นังกูร อีวัม โชเด็น ในเมืองเดห์ราดูน อุตตรประเทศ รวมทั้งตาชิรับเท็น ลิง ใประเทศเนปาล


บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2553 17:23:55 »


* องค์กลาง ท่านสองขะปะ ปฐมาจารย์ นิกาย เกลุก ( นิกายหมวกเหลือง)
 


เกลุก

นิกายเกลุกพัฒนามาจากนิกายกดัมที่อาจารย์อตีษะ วางรากฐานไว้แต่เดิม และจัดเป็นนรูปแบบชัดเจนโดยอาจารย์สองขะปะ ( ๑๓๕๗ - ๑๔๑๙ ) อาจารย์สองขะปะเกิดที่เมืองสองขะ ในแคว้นอัมโด รับศีลอุบาสกตั้งแต่ อายุ ๓ ขวบ จากอาจารย์รอลเปดอร์เจกรรมะปะองค์ที่ ๔ กุงกะ นิงโป ต่อมาท่านอายุได้ ๗ ขวบ บรรพชาเป็นสามเณร รับศีลจากอุปัชฌาย์ โชเจ ทอนดุบ รินเซ็นและได้รับฉายาว่า ลอบซัง ดรักปะ แม้ในวัยเยาว์ ได้รับคำสอนและพิธีอภิเษกของเหรุกะ ยมันตกะ และเหวัชระ สามารถ สามารถท่องจำพระคัมภีร์ เช่น พระนามของพระมัญชุศรี ได้ทั้งหมด

สองขะปะ เดินทางไปกว้างไกลเพื่อแสวงหาความรู้และศึกษาเล่าเรียน อยู่กับอาจารย์ในนิกายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในขณะนั้น เริ่มต้นจากอาจารย์เซ็นงะ โชกบี เจลโป โดยได้รับคำสอนเกี่ยวกับจิตตรัสรู้และมหามุทรา เรียนการ แพทย์จากอาจารย์ คอนช็อก จับ ที่ดรีกุง ที่เนถัง เดวาจัน ได้เรียนพระ คัมภีร์เพื่อความเข้าใจที่แจ่มชัด และปัญญาบารมี มีความเชี่ยวชาญตรรก- วิภาษ( Ornament for Clear Realization )จนเป็นที่เรื่องลือในความสามารถ นอกจากนั้นยังเดินทางไปวัดสักยะเพื่อศึกษาพระวินัย ปรากฏการณ์วิทยา การรับรู้ที่ถูกต้อง มาธยมิกและคุยหสมาช กับลามะ เช่น คาซิปะโลเซล และเร็นคะวะ นอกจากนั้นยังได้รับถ่ายทอดคำสอนของนโรปะ กาลจักร มหามุทรา มรรควิถีและผล จักรสัมภวะ และถ่ายทอดคำสอนเหล่านี้ให้ สานุศิษย์ที่ต่อมากลายเป็นนิกายเกลุก

นอกจากศึกษาเล่าเรียนแล้ว สองขะปะฝึกปฏิบัติสมาธิเป็นเวลายาวนาน บางครั้งเข้าเงียบนานถึง ๔ ปี ในช่วงนั้นมีสานุศิษย์ใกล้ชิดปฏิบัติอยู่ด้วย ๘ คน เป็นที่เลื่องลือว่าสองขะปะสามารถติดต่อโดยเฉพาะกับพระมัญชุศรี โพธิสัตต์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตต์ฝ่ายปัญญา สามารถไต่ถามความรู้ ซึ่งเป็น จุดที่ละเอียดอ่อนในคำสอนได้

สองขะปะได้เล่าเรียนกับอาจารย์ต่าง ๆ โดยไม่จำกัดนิกายกว่า ๑oo คน นอกจากศึกษาเล่าเรียนก็ยังฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย จากนั้นทำการสอน แก่สานุศิษย์อย่างแพร่หลายในธิเบตตอนกลางและภาคตะวันออก ที่ สำคัญสองขะปะ เขียนตำราและคัมภีร์ต่าง ๆ ไว้ถึง ๑๘ เล่ม กว่า ๑oo หัวข้อ เกี่ยวข้องกับคำสอนในพุทธศาสนาและอรรถกถาอธิบายขยาย ข้อธรรมะที่ยากแก่การเข้าใจ ทั้งในฝ่ายพระสูตรและตันตระ

สานุศิษย์ของสองขะปะเป็นแรงสำคัญในการวางรากฐานก่อตั้งนิกายเกลุก ในบรรดาสานุศิษย์เหล่านี้ที่สำคัญ ได้แก่ เจลซับธรรมะ รินเช่ ( ๑๓๖๔ - ๑๔๓๒ ) เคดรุป เกเล็ค เพลซัง( ๑๓๙๑ - ๑๔๗๔ ) จัมยังโชเจ ตาชิ เพลเด็น ( ๑๓๗๙ - ๑๔๔๙ ) จัมเช่น โชเจ สักยะเยชิ เจเชรับซังเซ็งเก และกุงกะทอน ดรุป ( ๑๓๔๕ - ๑๔๓๕ )

สองขะปะมีอายุถึง ๖o พรรษา จึงมรณภาพได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดกานเด็น ให้แก่เจลซับเจ นับเป็นการเริ่มประเพณีการสืบทอดสายของ นิกายเกลุกมาจนถึงบัดนี้

วัดเกลุกที่สำคัญในธิเบต ที่ควรกล่าวถึงในที่นี้ คือวัดกานเด็น ซึ่งก่อตั้งโดย สองขะปะเอง ใน ค.ศ. ๑๔o๙ มีวิทยาลัย ๒ แห่งคือ ชาเซ่กับจังเซ่ ดังนั้น วัดกานเด็นจึงเป็นทั้งวัดและศูนย์การศึกษาของพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุ นิกายเกลุก

ต่อมา จัมยังโชเจ ตาชิ เพลเด็น สานุศิษย์คนสำคัญของสองขะปะ ได้ก่อ ตั้งวัดดรีบุงขึ้นใน ค.ศ. ๑๔๑๖ สมัยแรกมีถึง ๗ สาขา ต่อมายุบรวมเหลือ ๔ สาขาหลัก ได้แก่ โลเซลิง โคมัง เดยัง และงักปะ ในจำนวนนี้มีเพียง ๒ วิทยาลัยที่ยังคงเหลือสืบทอดมาจนปัจจุบัน คือ ดรีบุงกับโคมัง

สานุศิษย์ที่สำคัญอีกคนหนึ่งคือ จัมเซ่นโชเจ สักยะ เยชิ สร้างวัดเซระขึ้น ใน ค.ศ. ๑๔๑๙ เดิมมี ๕ วิทยาลัย ต่อมารวมเหลือ ๒ คือ เซระเจกับเซระเม เช่นเดียวกับ กยัลวา เก็นเด็น ดรุป ทะไลลามะองค์ที่ ๑ ได้ก่อตั้งวัดตาชิ ลุนโปขึ้นในเมืองชิกัตเส ใน ค.ศ. ๑๔๔๗ ต่อมากลายเป็นวัดประจำตำ แหน่งปันเช็นลามะสืบต่อมาจนถึงศตวรรษนี้ เดิมวัดนี้มีวิทยาลัย ๔ แห่ง เหมือนกัน

กุยเม ซึ่งเป็นวิทยาลัยตันตริกขั้นต้น ก่อตั้งขึ้นโดย เจเช รับ เซ็งเก ใน ค.ศ. ๑๔๔o และกุยโต วิทยาลัยตันตริกขั้นสูง ก่อตั้งขึ้นโดย กยูเช่น กุงกะ ทอนดุป ใน ค.ศ. ๑๔๗๔ ในช่วงที่รุ่งเรือง วัดเหล่านี้มีพระภิกษุ ทั้งพระนักศึกษาและพระทั่วไปอยู่แห่งละ ๕,ooo รูป เฉพาะในวิทยา ลัยตันตระ แต่ละแห่งมีพระนักศึกษาไม่น้อยกว่าแห่งละ ๕oo รูป บรรดาชายชาวธิเบตจะเดินทางจากทั้ง ๓ แคว้นของธิเบตเพื่อที่จะเข้า มาศึกษาในมหาวิทยาลัยของวัดหลักที่เป็นศูนย์การศึกษาทั้ง ๓ แห่งคือ กานเด็น ดรีบุงและเซระ

นิกายเกลุก เป็นนิกายที่มุ่งเน้นในด้านความเคร่งครัดของการปฏิบัติพระ วินัย ถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการศึกษาและปฏิบัติพุทธศาสนา ผลที่ตามมาก็คือ ลามะส่วนใหญ่ของนิกายเกลุกจะเป็นพระภิกษุและ อาจารย์ที่มีชื่อเสียง ที่เป็นฆราวาสน้อยมาก นอกจากนั้นนิกายเกลุก ถือว่าการศึกษาอย่างเป็นวิชาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการฝึกสมาธิ ดังนั้นจึงเน้นการสอนทั้งในด้านพระสูตรและตันตระ และวิธีการสอน จะเน้นออกมาทางการวิเคราะห์ โดยผ่านการฝึกฝนตามตรรกวิภาษ

โดยทั่วไปแล้วหลักสูตรการศึกษาของนิกายเกลุกครอบคลุมหัวข้อใหญ่ ๕ แขนง คือ ปัญญาบารมี ปรัชญามาธยมิก การรับรู้ที่ถูกต้อง ปรากฏ การณ์วิทยา และพระวินัย การศึกษาทั้ง ๕ แขนงนี้ จะเป็นไปอย่างเคร่ง ครัด เป็นระบบโดยวิภาษวิธี ใช้ทั้งตำราของอินเดียและอรรถกถาของ ธิเบตประกอบ จะมีคัมภีร์อรรถกถาที่ใช้เฉพาะของนิกาย เมื่อจบการ ศึกษาและการอบรมดังกล่าวแล้ว พระภิกษุจะได้รับปริญญาเป็น ๓ ระดับ คือ เกเช่ โดรัมปะ ซอกรัมปะ และลารัมปะ ที่สูงสุดคือ เกเช่ ลารัมปะ ( เทียบเท่าปริญญาเอก )

หลังจากนั้น เกเช่อาจจะฝึกฝนต่อกับวิทยาลัยตันตระ หรืออาจจะกลับ ไปวัดต้นสังกัด เพื่อสอนพระภิกษุรุ่นใหม่ต่อไป หรือเลือกที่จะหันไป ปฏิบัติสมาธิเฉพาะตน พระภิกษุที่เรียนจบเป็นเกเช่ จะได้รับการยกย่อง สมควรแก่การเคารพ

นิกายนี้ แม้หลังจากอพยพออกมาจากธิเบตแล้ว ก็ยังมีความกระตือรือ ร้นในการพยายามสานต่องานในการให้การศึกษาพระพุทธศาสนาแก่ พระภิกษุ วัดสำคัญที่เป็นวัดหลักของนิกายนี้ คือ วัดกานเด็น เซระ และดรีบุง ตาชิลุนโป และกุยเม วิทยาลัยตันตระ ก็ได้มาจัดตั้งใหม่ใน อินเดียทั้งหมด ส่วนหนึ่งของความมั่นคงของนิกายนี้สืบเนื่องมาจาก นิกายนี้ได้ปกครองประเทศธิเบตสืบต่อกันมากว่าสองศตวรรษ องค์ ทะไลลามะซึ่งเป็นประมุขของประเทศก็เป็นพระภิกษุในนิกายนี้ แม้ พระองค์จะทรงให้การสนับสนุนนิกายอื่น ๆ โดยปราศจากอคติ แต่ การที่พระองค์เองเป็นเกลุก บรรดาวัดต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ พระตำหนัก ที่ธรัมศาลา ซึ่งเป็นศูนย์การบริหารงานของรัฐบาลธิเบตพลัดถิ่นก็ล้วน เป็นเกลุกทั้งสิ้น

ความสำคัญของตำแหน่งทะไลลามะ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญประการ หนึ่งของนิกายเกลุก ในบทนี้พยายามให้ภาพกว้าง ๆ ของนิกายสำคัญ ทั้ง ๔ นิกายในพุทธศาสนาแบบธิเบต


- จาก พระพุทธศาสนาแบบธิเบต - - โดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ -


http://www.tairomdham.net/index.php/topic,839.0.html
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 8.0.552.215 Chrome 8.0.552.215


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2553 23:05:22 »

ขอบคุณครับ

ไม่ค่อยได้อ่านแนว ๆ นี้เท่าไหร่

แต่ภาพสวยงามมากเลยครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ต้นไม้สายธรรม (Lineage Tree) แห่ง พุทธตันตระ หรือ วัชรยาน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 3024 กระทู้ล่าสุด 02 เมษายน 2557 10:00:11
โดย มดเอ๊ก
วัชรยาน วิปัสสนา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 8668 กระทู้ล่าสุด 17 กรกฎาคม 2557 12:27:43
โดย มดเอ๊ก
ชม ธรรมลีลา การสวดมนตรา ระบำหน้ากกาก แบบ วัชรยาน ธิเบต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1106 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 05:47:13
โดย มดเอ๊ก
วิถีพุทธะ แห่ง วัชรยาน
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2337 กระทู้ล่าสุด 06 กรกฎาคม 2559 23:45:52
โดย มดเอ๊ก
ประสบการณ์บนเส้นทาง “วัชรยาน ในโลกตะวันตก”
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1170 กระทู้ล่าสุด 07 สิงหาคม 2559 02:51:15
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.44 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 มีนาคม 2567 05:04:14