เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« เมื่อ: 10 มีนาคม 2553 22:15:47 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2553 11:17:34 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 มีนาคม 2553 23:29:43 » |
|
 ภาพกะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย 1. ความตาย คือ อะไร ?
ความตาย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความตาย เป็นสถานะการสิ้นสุดของการมีชีวิตของสิ่งมีชีวิต สาเหตุของการตายมีได้หลากหลาย เช่น ตกเป็นเหยื่อจากการถูกล่า
โรคระบาด ขาดสารอาหาร อุบัติเหตุ ฆาตกรรม การฆ่าตัวตาย สงคราม การประหารชีวิต ฯลฯ
แนวคิดในเรื่องความตายของประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ การตายจากโรคภัยไข้เจ็บ ความแก่ชรา
ความตายเกี่ยวข้องอย่างมากกับวัฒนธรรมของมนุษย์ และเป็นส่วนสำคัญในหลาย ความเชื่อทางศาสนา
ส่วนนิยามของความตายในทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้มี การอธิบายที่ซับซ้อนมากขึ้น 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มิถุนายน 2553 20:48:45 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 มีนาคม 2553 23:42:31 » |
|
ภาพทหารเสียชีวิตจากสงครามการแข่งขัน การคัดเลือกโดยธรรมชาติ และการสูญพันธุ์ การตายเป็นกระบวนการสำคัญของ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากได้ มีความเสี่ยงที่จะตายสูง หรือขยายพันธุ์ได้น้อย ทำให้ยีนส์ของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์นั้นๆ ลดจำนวนลง ซึ่งยีนส์ที่อ่อนแอจะนำไปสู่การลดจำนวนลงอย่างมาก ของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้นๆ อันนำไปสู่การสูญพันธุ์ในที่สุด ซึ่งความสามารถในการแพร่พันธุ์มีบทบาทอย่างมาก ในการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตที่อายุสั้นแต่สามารถแพร่พันธุ์ได้มาก มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์น้อยกว่า สิ่งมีชีวิตที่อายุยืนแต่ขยายพันธุ์ได้น้อย
การสูญพันธุ์ คือ การหยุดชะงักของการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์นั้นๆ และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตจะลดลง ช่วงเวลาของการสูญพันธุ์มักหมายถึง สิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายของสปีชีส์นั้นตาย ซึ่งความสามารถในการแพร่พันธุ์อาจสูญไปก่อนที่สูญพันธุ์ก็ได้ แต่เนื่องจากว่าสิ่งมีชีวิตนั้นมีจำนวนที่มาก และขนาดค่อนข้างกว้าง การจะระบุว่าสิ่งมีชีวิตใดสูญพันธุ์แล้ว อาจมีความผิดพลาดได้ ในบางกรณีมีการพบสิ่งมีชีวิตที่ประกาศว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว หลังจากที่มันไม่พบเห็นมาเป็นเวลานาน
วิวัฒนาการทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ ซึ่งสามารถเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่า ส่วนสายพันธุ์ที่อ่อนแอจะไม่สามมารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้ ต้องสูญพันธุ์ไป อย่างเช่น ยีราฟกับต้นไม้ที่เป็นอาหารของมัน ต้นไม้วิวัฒนาการตัวเองให้สูงขึ้น และมีหนามแหลมคม เพื่อป้องกันการถูกกินจากยีราฟ ในขณะเดียวกันยีราฟส่วนหนึ่งวิวัฒนาการตัวเอง ให้มีคอที่ยาวขึ้นและมีลิ้นที่ยาวหลบหลีกหนามได้ กระบวนการวิวัฒนาการนี้เกิดขึ้นอย่างยาวนาน สิ่งมีชีวิตที่พัฒนาแปลกแยกออกไปจากรูปแบบเดิม เรียกว่า การกลายพันธุ์ (mutation) ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับสิ่งมีชีวิต ยีราฟสายพันธุ์คอยาวจะได้เปรียบ ในการกินต้นไม้พันธุ์นี้ ส่วนยีราฟสายพันธุ์คอสั้นที่เสียเปรียบจะเริ่มลดจำนวนลง เมื่อกระบวนการนี้ผ่านไปเป็นเวลานานๆ ต้นไม้ยิ่งสูงขึ้น ยีราฟสายพันธุ์คอยาวยิ่งยืดคอตาม ส่วนยีราฟคอสั้นก็ลดจำนวนลงจนสูญพันธุ์ในที่สุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 00:38:09 » |
|
การตายระดับเซลล์
อะพอพโทซิส (Apoptosis) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เสียหายเกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อไวรัส อยู่ในสภาวะขาดสารอาหารอย่างหนัก
DNA เสียหายจากกัมมันตภาพรังสี หรือสารมีพิษ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะไปกระตุ้น กระบวนการอะพอพโทซิสให้เริ่มทำงาน กระบวนการอะพอพโทซิสอาจเกิดขึ้นได้เองจากภายในเซลล์
หรือจากเนื้อเยื่อโดยรอบ หรือจากส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน กระบวนการอะพอพโทซิสจะไปทำลาย เซลล์ที่เสียหาย เพื่อป้องกันการดูดสารอาหารของเซลล์นั้นๆ
หรือป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์ที่ติดเชื้อ ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการป้องกันมะเร็ง
ถ้าเซลล์ไม่มีกระบวนการอะพอพโทซิส เซลล์ทีผิดปกติจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่องๆ จนกลายเป็นเนื้องอก (tumour)
กระบวนการอะพอพโทซิสจึงมีส่วนสำคัญ ในการควบคุมสมดุลของร่างกาย การตายของเซลล์ต้องสัมพันธ์ กับการเพิ่มจำนวนของเซลล์ เซลล์ที่ติดเชื้อหรือผิดปกติจะต้องถูกแทนที่ด้วยเซลล์ใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 00:51:38 » |
|
การชันสูตรศพ
การชันสูตรพลิกศพ (Autopsy) เป็นกระบวนการทางการแพทย์ ที่จะสำรวจศพของมนุษย์เพื่อหาสาเหตุการตายที่แท้จริง โดยจะระบุเหตุผลของสาเหตุการตาย ซึ่งจะต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ การชันสูตรมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในการสืบสวนเกี่ยวกับคดีฆาตกรรม หรือการพิสูจน์ศพที่มีการตายที่ผิดปกติ หรือสงสัยว่าตายอย่างผิดปกติ เพราะการตายหลายสาเหตุ ถูกจัดฉากให้ดูเหมือนการตายตามธรรมชาติ หรือภาวะโรคประประจำตัว แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นการฆาตกรรม
การชันสูตรยังเป็นการยืนยันการตาย อันมีสาเหตุมาจากการรักษาที่ผิดพลาดของแพทย์ได้อีกด้วย ในกรณีที่แพทย์ประมาทเลินเล่อ เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หากไม่มีการชันสูตรศพ ก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นความผิดของแพทย์ผู้รักษา การชันสูตรสามารถเปิดเผยถึงเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิด ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์อีกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 01:12:39 » |
|
การพลีชีพ มาทีร์ (martyr) หมายถึง พวกที่ยอมพลีชีพหรือ ทนการทรมานเพื่อความเชื่อของตน ซึ่งในความหมายนี้จะแตกต่างกันไปตามความเชื่อ สำหรับพวกคริสเตียน มาทีร์จะหมายถึงผู้บริสุทธิที่ถูกล่าสังหาร ในช่วงสมัยจักรวรรดิโรมันพวกนี้ไม่ได้ยอมพลีชีพแต่ถูกประหารชีวิต ส่วนในความเชื่อของมุสลิม มาทีร์จะหมายรวมไปถึงผู้ที่ยอมตายเพื่อดินแดนศักดิสิทธิ์
มาทีร์ในปัจจุบัน อาจจะมาจากความเชื่อที่ถูกฝักลึก แม้ว่าจะเป็นความเชื่อที่ผิดในสายตาคนอื่น อย่างเช่น ลัทธิการก่อการร้ายสากล นักรบอัลไกด้าจัดได้ว่าเป็นมาทีร์เช่นกัน และสามารถแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของตน เป็นที่ประจักษ์ชัดและเป็นภัยคุกคามของโลก ในรูปแบบใหม่มาแล้ว อันได้แก่ ระเบิดพลีชีพ นักรบพลีชีพ ฯลฯ เหตุการณ์การก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุด ที่ทำให้มีการตายอย่างมากเหตุการหนึ่ง คือ วิกฤตการณ์ 9/11 มีต่อค่ะ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มีนาคม 2553 01:16:39 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sometime
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 08:31:06 » |
|
 Of Death... ว่าด้วย ความตาย
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มีนาคม 2553 08:36:23 โดย บางครั้ง »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 12:54:35 » |
|
โทษประหารชีวิต การประหารชีวิต (Death Penalty) เป็นโทษที่มีมาช้านานในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมอาชญากรรม หรือคู่แข่งทางการเมือง หรือควบคุมการเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่สั่นคลอนอำนาจของผู้นำ โดยใช้ความรุนแรงเป็นมาตรการสำคัญในการรักษาอำนาจ ในประเทศที่กำลังพัฒนาจะยังพบเห็นมาตรการนี้ใช้อยู่
แต่บางประเทศก็ใช้เฉพาะช่วงเวลาคับขัน เช่น ในภาวะสงคราม แต่ละประเทศกำหนดโทษที่มีความรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิตต่างกันไป เฃ่น จีน ถือว่าการค้ามนุษย์เป็นคอรัปชั่นที่ไม่สามารถให้อภัยได้ มีโทษถึงประหารชีวิต ในบางประเทศ สำหรับทหารแล้ว การหนีทหาร หรือความหวาดกลัว หรือขัดขืนคำสั่งผู้บังคับบัญชา อาจมีโทษถึงประหารชีวิตได้เช่นกัน
ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้ว เริ่มที่จะทำการลดการใช้โทษประหารชีวิตลง เพราะเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน และการประหารชีวิตมักเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ และบ่อยครั้งที่มีการประหารชีวิตผู้บริสุทธ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 13:04:50 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2554 16:21:53 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 13:34:02 » |
|
2. ทำไมจึงต้องตาย ? 3. ความตาย ตายที่ไหน ? 4. ความตายเริ่มต้นเมื่อไร ?
5. เตรียมตัวที่จะตาย หรือ พบความตายอย่างไร ? 6. ทำอย่างไร จึงจะตายได้อย่างสงบ และ มีสุคติ (ดุสิตบุรี เขตวงบุญพิเศษ อาณาเขตพระโพธิสัตว์)
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2553 10:22:46 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 14:23:59 » |
|
ปฏิจจสมุปบาท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น
การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์หรือหัวข้อ 12 ดังนี้ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 14:33:53 » |
|
อนุโลม-ปฏิโลม
การเทศนาปฏิจจสมุปบาท ดังแสดงไปแล้วข้างต้น เรียกว่า อนุโลมเทศนา หากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น จากผลไปหาเหตุปัจจัย เช่น
ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชาเป็นปัจจัย
ดังนี้เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา
ลำดับแห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับทุกข์
ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะดับ ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่)
ชาติ จะดับไปได้เพราะดับ ภพ (การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ) ภพ จะดับไปได้เพราะดับ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ)
อุปาทาน จะดับไปได้เพราะดับ ตัณหา (ความอยาก) ตัณหา จะดับไปได้เพราะดับ เวทนา (ความรู้สึกในทางทุกข์หรือสุข)
เวทนา จะดับไปได้เพราะดับ ผัสสะ (การสัมผัสด้วยประสาทต่าง ๆ) ผัสสะ จะดับไปได้เพราะดับ อายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
อายตนะ จะดับไปได้เพราะดับ นามรูป (ร่างกายและจิตใจ) นามรูป จะดับไปได้เพราะดับ วิญญาณ (การรับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
วิญญาณ จะดับไปได้เพราะดับ สังขาร (การนึกคิดหรือการทำงานของสมองเพื่อปรุงแต่ง) สังขาร จะดับไปได้เพราะดับ อวิชชา (ความโน้มเอียงไปคลุกเคล้ากิเลสด้วยความเขลา) Of Death... ว่าด้วย ความตาย
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มิถุนายน 2553 05:47:49 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #14 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 14:35:59 » |
|
สมุทยวาร-นิโรธวาร
การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นการแสดงให้เห็น ความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจจ์ข้อที่สอง (สมุทัยสัจจ์) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทที่แสดงแบบนี้เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท
(ดังแสดงสองตัวอย่างที่ผ่านไป เป็น อนุโลมเทศนา และ ปฏิโลมเทศนา ของอนุโลมปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับ)
การแสดงตรงกันข้ามกับข้างต้นนี้ เรียกว่า นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจจ์ข้อที่สาม (นิโรธสัจจ์) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย สืบทอดกันไป เช่น
เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติ ดับชรามรณะ(จึงดับ) ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
ดังนี้เรียกว่า อนุโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท
ส่วนปฏิโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรามรณะเป็นต้น ดับเพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ Of Death... ว่าด้วย ความตาย
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2553 04:42:40 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
 Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
 Windows XP
เวบเบราเซอร์:
 MS Internet Explorer 8.0
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: 11 มีนาคม 2553 14:50:39 » |
|
อิทัปปัจจยตา ธรรมนิยาม ปัจจยาการ
ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา(ภาวะที่มีอันนี้ๆเป็นปัจจัย) ธรรมนิยาม(ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา กฎธรรมชาติ) และปัจจยาการ(อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน)
ข้อความอ้างอิง
จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ...
ดูกรอานนท์เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ

จาก ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
(ภิกฺขเว ยา ตตฺร ตถตา อวิตถตา อนฺญญถตา อิทปฺปจฺจยตา อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท)
(ถ้าเขียนทับศัพท์จะได้ว่า -ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา หลักอิทัปปัจจยตา ดังพรรณนามาฉะนี้แล เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท)
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤษภาคม 2553 18:37:01 โดย เงาฝัน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
กำลังโหลด...