[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 11:05:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชมอุโบสถเงินหลังแรกของโลก วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่  (อ่าน 7397 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 มีนาคม 2558 13:27:10 »

.


พระอุโบสถเงินวัดศรีสุพรรณ ตั้งอยู่ในย่าน "ถนนวัวลาย"
อันมีชื่อเสียงโด่งดังด้านการผลิตเครื่องเงินของจังหวัดเชียงใหม่


ชมอุโบสถเงินหลังแรกของโลก วัดศรีสุพรรณ
ถนนวัวลาย ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วัดศรีสุพรรณ เป็นวัดแห่งหนึ่งตั้งอยู่บนถนนวัวลาย ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักศิลาจารึกบนหินทรายแดง กล่าวถึง ประวัติวัดศรีสุพรรณ ไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๐๔๓  สมัยพระเจ้าเมืองแก้ว หรือ พระเจ้าพิลก ปนัดดาธิราช กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย ร่วมกับพระราชมารดาเจ้า  โดยโปรดฯ ให้ ขุนหลวงจ่าคำ นำพระพุทธรูป ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๔ ศอก ปางมารวิชัย เนื้อทองสัมฤทธิ์ ฝีมือช่างหลวงมาประดิษฐาน แล้วสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น เรียกชื่อว่า “ศรีสุพรรณอาราม”  ได้สร้างมหาวิหาร พระบรมธาตุเจดีย์ พระอุโบสถหลังเดิม โดยผูกพัทธสีมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๐๕๒ สำหรับประดิษฐานพระพุทธปาฏิหาริย์ (พระเจ้า ๕๐๐ ปี) และเป็นสถานที่ทำสังฆกรรมของสงฆ์  พร้อมทั้งสร้างศาสนสถานอื่นๆ แล้วมอบพื้นที่รอบกำแพงทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๒๐ วาให้แก่วัด และมอบข้าทาสไว้ดูแลวัดอีก ๒๐ ครอบครัว


ต่อมา อุโบสถหลังนี้ชำรุดทรุดโทรมลงจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม  ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ จึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยความร่วมมือของช่างเครื่องเงินล้านนา บ้านศรีสุพรรณ หรือเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นเรียกว่า สล่า  ผู้มีฝีมือยอดเยี่ยมทางด้านงานหัตถกรรมเครื่องเงิน ที่ได้รับการฝึกฝนถ่ายทอดศิลปะมาจากบรรพบุรุษสืบทอดต่อเนื่องกันตลอดมา ร่วมกันนฤมิตกรรมสร้างสรรค์ผลงานอย่างพิถีพิถัน ด้วยแรงศรัทธาอันแรงกล้าต่อบวรพุทธศาสนา จนก่อให้เกิดอุโบสถเงินแห่งแรกของโลก ณ ดินแดนล้านนา  ด้วยลวดลายพุทธศิลป์อันประณีตวิจิตรบรรจง แฝงปริศนาธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา และเรื่องราวความเป็นมาของชุมชน ลงบนแผ่นเงินบริสุทธิ์ แผ่นเงินผสมอะลูมิเนียม และวัสดุแทนเงิน ประดับตกแต่งพระอุโบสถตลอดทั้งหลังคา ผนังภายนอก-ภายใน ทั้งหลัง มีความงามอย่างบรรสานกันทั้งอารามและกับสภาพแวดล้อม และอาคารภายในวัด ไม่ว่าจะพระวิหาร หรือหอไตร ก็มีมัณฑนศิลป์  วิจิตรศิลป์ชั้นเลิศอันล้ำค่า  แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของทางเหนืออย่างน่าภาคภูมิใจ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะผดุงรักษาไว้ในส่วนหนึ่งของมรดกของชาติไทยสืบไป...kimleng.


ด้านข้างพระอุโบสถประดับตกแต่งด้วยแผ่นเงินแกะสลัก
เล่าเรื่องราววิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชนล้านนา ที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ





ด้านหลังอุโบสถ ประดับตกแต่งด้วยแผ่นเงินแกะสลัก ลวดลายวิจิตรงดงาม






"ศรัทธาพญานาค"
เชิงบันไดขึ้นอุโบสถ เป็นรูปเทพพนม (ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ)



ลำตัวเทพพนม คล้ายพญานาค ประดับเกล็ดแกะสลักอ่อนช้อย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มีนาคม 2558 16:25:44 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 มีนาคม 2558 14:35:55 »

.




แผ่นป้ายหน้าอุโบสถ
จารึกข้อความ "ขออภัย สุภาพสตรีห้ามเข้า
Women are not allowed entering Ordination hall’s area"

 
หลายท่านเกิดข้อกังขา มีธรรมเนียมหรือเหตุผลใดหนอ?
จึงห้ามสุภาพสตรีเข้าบริเวณอุโบสถของชนชาวล้านนาหรือชนชาวอีสาน
(ผู้โพสท์พบที่วัดในจังหวัดหนองคายและจังหวัดอุดรธานี)
เรื่องนี้มีคำตอบจากแผ่นป้ายจารึกของวัดศรีสุพรรณ ว่า

ใต้ฐานอุโบสถ เขตพัทธสีมา (ภายในกำแพงแก้ว)
ฝังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของมีค่า คาถาอาคม และเครื่องรางของขลังไว้กว่า ๕๐๐ ปี
อาจก่อให้เกิดความเสื่อมแก่สถานที่หรือตัวสุภาพสตรีเอง
ตามจารีตล้านนา จึงห้ามสุภาพสตรีขึ้นอุโบสถหลังนี้


ส่วนในเรื่อง "เขตพัทสีมา" ที่เป็นเขตแดนสำหรับพระสงฆ์ร่วมทำสังฆกรรมตามพระวินัย มีคำอธิบายของ พระเดชพระคุณ ท่านพระครูอดุลสีลกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดธาตุคำ เจ้าคณะตำบลหายยา อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  ท่านได้เมตตาเล่าไว้อย่างละเอียดดังนี้

วัดศรีสุพรรณ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมานานกว่า ๕๐๐ ปี มีหลักศิลาจารึกที่บันทึกประวัติความเป็นมาของวัดไว้เป็นหลักฐานที่สำคัญ ซึ่งได้ระบุว่าวัดศรีสุพรรณอารามได้ทำการผูกพัทธสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๒

สีมา แปลว่า เขตแดน  เขตบ้านเมืองเรียก ขอบขัณฑสีมา สำหรับสงฆ์การกำหนดเขตสีมาเพื่อเป็นที่ให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมนั้นมีหลายลักษณะ เช่น กำหนดโดยเอาครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน เรียก คามสีมา รวมหลายๆ หมู่บ้าน เป็นแคว้นหรือเขต เรียก นิคามสีมา หรือ นครสีมา ซึ่งมีสีมาเหล่านี้จัดเป็น “อพัทธสีมา” คือเป็นสีมาที่ไม่กำหนดเขตแน่นอน และเอาเขตของบ้านเมืองเป็นเกณฑ์ ไม่มีการกำหนดเขตโดยความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์  สำหรับ “พัทธสีมา” แปลว่า แดนที่ผูก คือ สงฆ์พร้อมเพรียงกันกำหนดแดนอย่างแน่นอนให้มีความกว้างและยาวตามแต่จะกำหนด และมีการหมายเขตแดนไว้เป็นสำคัญ เรียกว่า “นิมิต” ซึ่งในบาลีกำหนดให้ใช้สิ่งต่างๆ เช่น ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ ใช้เป็นนิมิตกำหนดเขตแดนได้ทั้งนั้น ในปัจจุบันใช้ศิลา (หิน) เป็นหลักเพราะมั่นคงกว่าอย่างอื่น


ในสมัยโบราณ การฝังนิมิต (ศิลา) ไม่ใช้หินกลม ใช้หินเป็นแท่ง มีทั้งทำเป็นสี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม และแบบใบเสมา คือ เป็นแผ่นหิน ดังจะเห็นที่เป็นแปดเหลี่ยม ที่อุโบสถวัดเจ็ดยอด วัดพระสิงห์ และที่เป็นแบบใบเสมาที่วัดศรีสุพรรณนี้

ในกรณีที่วัดบางวัดมีหินเสาสีมาเป็นนิมิตมีแห่งละ ๒ เสา หรือสองใบนั้น เนื่องจากในเมืองใหญ่ๆ มีพระสงฆ์อยู่หลายนิกาย ในเมืองเชียงใหม่ที่โดดเด่นก็มี ๒ นิกาย คือ นิกายลังกาวงศ์สวนดอก และนิกายลังกาวงศ์ป่าแดง  ซึ่งต่างก็อ้างว่านิกายของตนปฏิบัติถูกต้องตามพระวินัย  ต่างก็รังเกียจที่จะใช้สีมาที่อีกนิกายหนึ่งทำการผูกไว้  จึงเป็นเหตุให้มีการผูกสีมาซ้ำ เมื่อฝ่ายใดผูก ก็ฝังหินสีมาเป็นนิมิตไว้  นิกายใดไม่ชอบใจก็สวดถอนพื้นที่แล้วผูกใหม่ ฝังหินเสมาลงไปอีกทำให้แต่ละที่จึงมีเสาสีมาหรือใบสีมาซ้อนกัน  ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายถึงเรื่องนี้ไว้ในตำนานพุทธเจดีย์ที่ทรงนิพนธ์  เหตุนี้ที่วัดศรีสุพรรณก็มีลักษณะหินสีมาซ้อนกัน ๒ ใบดังกล่าว



สีมาที่วัดศรีสุพรรณ ลักษณะซ้อนกัน ๒ ใบ

มีสีมาอีกชนิดหนึ่งเรียก อุทกุกเขปสีมา  (อ่าน อุ-ทะ-กุก-เข-ปะ-สี-มา)  เป็นสีมาที่ทำบนน้ำโดยผูกแพ หรือทำโรงอุโบสถอยู่กลางน้ำ ให้ไกลจากฝั่ง โดยวักน้ำสาดไปไม่ถึงแพหรือโรงอุโบสถนั้น  น้ำที่ทรงอนุญาตให้ทำอุทกุกเขปสีมานั้น มี ๓ อย่าง คือ แม่น้ำ ทะเล ชาตะสระ (หนองน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ)  แม่น้ำต้องเป็นแม่น้ำที่ไหลและไม่แห้งตลอดฤดูฝน ๔ เดือน  ทะเลต้องไกลจากฝั่งที่น้ำทะเลแห้งลงไปจนสุดในเวลาน้ำลง และสระที่เกิดขึ้นโดยไม่มีคนขุดแต่ง จะทำสังฆกรรมในน่านน้ำ ๓ ชนิดนี้ต้องทำบนเรือหรือแพ อันผูกกับหลักในน้ำหรือทอดสมอก็ได้ ห้ามทำในเรือแพขณะกำลังวิ่ง แต่นิกายลังกาวงศ์นับถือว่าสีมาน้ำบริสุทธิ์กว่าพัทธสีมา แต่ยากในเวลาจะทำสังฆกรรม เพราะต้องทำสิ่งกำหนดเขตสีมาทุกครั้ง

สำหรับโรงอุโบสถนั้นสร้างขึ้นไว้ในเขตพัทธสีมาย่อมทำด้วยความประณีตงดงาม วิจิตรบรรจงตามความประสาทะศรัทธาในล้านนา ให้ความสำคัญต่อวิหารมากกว่าอุโบสถ จึงพากันสร้างวิหารใหญ่แต่สร้างอุโบสถเล็ก และสร้างวิหารให้สวยงามประณีตวิจิตรศิลป์มากกว่าอุโบสถหลายเท่า  เพราะประโยชน์จากการใช้ต่างกัน โดยอุโบสถมักใช้แต่พระสงฆ์ในการทำสังฆกรรม แต่วิหารใช้ร่วมกันทั้งพระสงฆ์และชาวบ้าน อุโบสถล้านนาจึงไม่ค่อยใหญ่โตโอ่อ่า พอจุพระสงฆ์ได้ถึง ๒๑ รูปก็ใช้ได้แล้ว ที่ต้องกำหนดไว้ให้จุได้ ๒๑ รูปนั้นโดยเหตุสังฆกรรมบางอย่างใช้พระสงฆ์ ๒๑ รูปจึงจะครบองค์สงฆ์

คำว่า “สีมา” ที่แปลว่า เขตแดน นั้นตามลักษณะภาษาบาลีจัดเป็นเพศหญิง เพราะเป็นอาการันต์ในอิตถีลิงค์ การที่สีมาเป็นเพศหญิงนี่เอง จึงทำให้การสร้างอุโบสถทำอย่างพิถีพิถัน ประณีตวิจิตรบรรจง งดงามราวกับวิมานปราสาทของทวยเทพในสรวงสวรรค์ เพราะเพศหญิงเป็นเพศที่รักสวยรักงาม ชอบประดับตกแต่งร่างกายให้น่าดูชม เหมือนกับอุโบสถ สีมาก็ต้องประดับตกแต่งสวยงาม สรรสร้างศิลป์สืบสานไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและดำรงไว้ซึ่งศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและของชาติ

มีคนกล่าวว่าผู้หญิงถ้าจะงามต้องมีงอน คือ สะบัดสะบิ้งทำกิริยาท่าทีชะมดชม้ายชายตาจึงจะงาม  ความงอนของผู้หญิงท่านมีเพียงแสนงอนเท่านั้น แต่ความงอนของสีมาอุโบสถมีมากกว่าแสนงอน โดยเฉพาะอุโบสถของวัดศรีสุพรรณมีเป็นล้านงอน จะเห็นได้จากการตกแต่งเป็นศิลปะที่มีความวิจิตรบรรจง เพริศพริ้งเพริดแพร้ว เลื่อนไหลไหวพลิ้ว ราวกับจะปลิวไปตามลม ถ้าหาทำแบบแข็งทื่อๆ ก็จะดูไม่งาม ที่งดงามเพราะความงอนอ่อนไหวแห่งศิลปะบวกกับอารมณ์ศิลป์ของช่าง เพราะทุกคนทุกฝ่ายได้ร่วมแรงร่วมใจทุ่มเทพลังกาย พลังทรัพย์ พลังจิต พลังความคิด อันล้ำค่าให้เกิดเป็นพลังบุญ พลังบารมี ที่ก่อให้เกิดพุทธศิลป์อันสูงค่าหาประมาณมิได้ ที่จะสืบสานไว้เป็นมรดกแห่งแผ่นดินล้านนาตลอดไป






พระเจ้าเจ็ดตื้อ องค์พระประธานในอุโบสถเงิน
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๔ ศอก เนื้อทองสัมฤทธิ์ ฝีมือช่างหลวง
มีตำนานเล่าขานสืบกันมาว่า พระประธานองค์นี้ แสดงพุทธปาฏิหาริย์ลงสรงน้ำในสระข้างอุโบสถอยู่เป็นประจำ
ประทานความสำเร็จสมปรารถนาสำหรับผู้มาอธิษฐานจิตกราบไหว้อยู่เนืองนิตย์
เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านศรีสุพรรณ และประชาชนทั่วไปตลอดมา















สล่าเครื่องเงิน ช่างแกะลายในอุโบสถเงินวัดศรีสุพรรณ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มีนาคม 2558 17:18:28 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 31 มีนาคม 2558 15:32:01 »

.

พระประธานประจำวิหาร วัดศรีสุพรรณ




พระวิหาร สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ
สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๓๔๒ สมัยพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์  
ฐานก่ออิฐถือปูน หลังคาลดชั้น ด้านหน้า ๔ ชั้น ด้านหลัง ๒ ชั้น


โครงสร้างหน้าต่างไม้ ประดับรูปยักษ์ปูนปั้นติดกระจกสี ท่าแบกรับน้ำหนัก




ดอกไม้ ธูป เทียน(รูปดอกกุหลาบในครอบแก้ว)  สำหรับบูชาพระรัตนตรัย


พระบรมธาตุเจดีย์ ศิลปะแบบล้านนา ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สามสิบหก ก่ออิฐถือปูน
ทรงระฆังกลม แปดชั้นแปดเหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานดอกบัวคว่ำบัวหงาย  ของวัดศรีสุพรรณ
สันนิษฐานว่าสร้างสมัยเดียวกับพระวิหาร




หอไตร อยู่ติดกับอุโบสถเงิน สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ อายุประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ
ตกแต่งด้วยงานไม้แกะสลัก ปิดทองคำเปลว ประดับแก้วอังวะเป็นพื้นลาย
ชั้นบนเป็นห้องเก็บพระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลาน ฯลฯ


องค์พระพิฆเนศ ปางทรงเครื่องล้านนา ชาวบ้านเรียกว่าองค์พระพิฆเนศทันใจ
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๐๒๕ เมตร สูง ๑.๕๐เมตร
สร้างเสร็จและประกอบพิธีเทวาภิเษก ภายใน ๑ วัน ๑ คืน ประดิษฐานบนแท่นขันครูหลวง
เป็นบรมครูของช่างสิบหมู่ล้านนา และผู้มีจิตศรัทธากราบไหว้สักการบูชา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มีนาคม 2558 15:39:35 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5444


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 31 มีนาคม 2558 16:22:32 »

.

นอกจากดังกล่าวไว้ข้างต้นแล้ว
วัดศรีสุพรรณยังมีศูนย์ศึกษาศิลปะไทยโบราณสล่าสิบหมู่ล้านนา
มีครูสล่าฝีมือดี ที่อุทิศเวลาคอยสอนการแกะสลักทำเครื่องเงินแก่ผู้สนใจทั่วไป
เมื่อเข้ามาในบริเวณวัดก็จะได้เห็นพระ เณร ชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่
เข้ามาฝึกฝนเรียนรู้ศิลปะหัตถกรรมการตีเครื่องเงินที่สืบทอดมาแต่โบราณ





















หลอมชัน (ถ้าจำไม่ผิด) เพื่อทำฐานหรือแท่นวาง (หุ้ม) แผ่นเงิน


(หุ้ม) แผ่นเงินบนฐานที่หลอมด้วยชัน เพื่อแกะสลักดุนลายนูนสูง


อุปกรณ์เครื่องแกะสลักเงิน




กำไลเงิน ฝีมือช่างวัดศรีสุพรรณ วงนี้สวมใส่ไว้ตลอดเวลา
ซื้อมาในราคาประมาณ 1,500 บาท - ชั่งขายตามน้ำหนัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 เมษายน 2558 07:02:14 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วัดฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่ กับตำนานพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์)
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 6189 กระทู้ล่าสุด 28 กันยายน 2555 12:29:09
โดย Kimleng
วัดโลกโมฬี Wat Lokmolee เชียงใหม่ : วัดโบราณที่มีความงดงามแบบล้านนา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 3247 กระทู้ล่าสุด 14 มกราคม 2556 16:25:40
โดย Kimleng
ถ้ำเชียงดาว จ.เชียงใหม่ : สัปปายะของอริยสงฆ์ กับประสบการณ์ลี้ลับของหลวงปู่แหวนฯ
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 2 11316 กระทู้ล่าสุด 14 มิถุนายน 2556 19:10:22
โดย nazhours
สักการะพระพุทธสิหิงค์ จ.เชียงใหม่ (พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ 1 ใน 3 องค์ของเมืองไทย)
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 5627 กระทู้ล่าสุด 24 ธันวาคม 2564 14:41:21
โดย Kimleng
ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร ป่าดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1150 กระทู้ล่าสุด 23 พฤศจิกายน 2560 12:12:33
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.314 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 เมษายน 2567 12:32:13