[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 พฤษภาคม 2567 11:01:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'ตักศิลานคร' ของชมพูทวีปยุคโบราณ  (อ่าน 3882 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 เมษายน 2558 11:59:10 »

.



ตักศิลานคร
ศูนย์รวมศิลปะวิชาการของชาวชมพูทวีปยุคโบราณ

เปิดเอกสารของราชบัณฑิต พบคำตอบว่า ตักศิลา (อ่านว่า ตัก-กะ-สิ-ลา) เป็นชื่อนครหลวงของแคว้นคันธาระของอินเดียโบราณ อยู่ห่างจากกรุงอิสลามาบัดนครหลวงของปากีสถานในปัจจุบันไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐ กิโลเมตร เป็นนครศูนย์กลางการศึกษาศิลปะและวิทยาการแขนงต่างๆ ทั้งของพราหมณ์และของพุทธ แต่คงสร้างขึ้นหลังสมัยพุทธกาล เพราะไม่ปรากฏชื่อตักศิลาในพระไตรปิฎก

ส่วนในอรรถกถามักกล่าวอยู่บ่อยๆ ว่า ราชกุมาร บุตรพราหมณ์และบุตรของชนชั้นสูงจำนวนมากสำเร็จการศึกษาจากนครแห่งนี้ ส่วนในวรรณคดีไทยมักกล่าวว่า เจ้าชายทั้งหลายไปศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ ในสำนักตักศิลา ทั้งนี้ ภาษาไทยปัจจุบันจึงใช้คำว่า ตักศิลา ในความหมายว่า ศูนย์กลางการศึกษาด้านวิทยาการหรือด้านศิลปะ

ขณะที่วิกิพีเดียระบุว่า ตักศิลาเป็นชื่อเมืองอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปัญจาบ เป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปะวิชาการในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ที่มาเล่าเรียน บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ อาทิ พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ องคุลิมาล


     เมืองตักศิลาถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เป็นนครหลวง แห่งแคว้นคันธาระ ๑ ใน ๑๖ แคว้นของชมพูทวีป ที่สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแคว้นและรุ่งเรืองมานับพันปี ก่อนพุทธกาลมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักศิลาให้มีชื่อเสียงกิตติศัพท์ขจรขจาย พร้อมกับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ต่อมาตักศิลาตกอยู่ภายใต้อารยธรรมอีกมากมาย เช่น อารยธรรมกรีก โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอารยธรรมฮินดูอีกหลายราชวงศ์ แต่กระนั้นก็ยังแสดงความเจิดจรัสแห่งพระพุทธศาสนา กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ ๕ ชนชาติเฮพธาไลต์ (Hephthalite) ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายพระพุทธศาสนา เมืองตักศิลาพินาศสาบสูญแต่บัดนั้น

ปัจจุบัน ตักศิลาคงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น สถานที่สำคัญคือพิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่างๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึงซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และปฏิมากรรมศิลปะคันธาระจำนวนมาก รัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก

ด้านข้อมูลจากกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ ปวินท์ มินทอง เขียนไว้ว่า เมื่อเปิดตำราพุทธศาสนา เช่น ชาดกและพระสูตรต่างๆ หรือแม้แต่นิทานพื้นบ้าน คาดว่าชื่อเมืองตักศิลาน่าจะเป็นที่เคยผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง โดยเมืองดังกล่าวโดดเด่นในฐานะแหล่งศิลปวิทยาการของชมพูทวีปยุคโบราณ

ดังจะเห็นจากการที่มีบุคคลสำคัญในพุทธศาสนาหลายท่านเป็นบัณฑิตจากสถาบันแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ท่านชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนธิโกศล ผู้ปกครองแคว้นโกศล ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์อัครศาสนูปถัมภกของพุทธศาสนา หรือแม้แต่มหาโจรองคุลิมาล ผู้ซึ่งต่อมาดวงตาได้เห็นธรรมและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น

ชื่อเสียงในด้านนี้เองทำให้ตักศิลากลายเป็นเสมือนเมืองในตำนาน อย่างไรก็ดี เรื่องราวเมืองตักศิลาจะเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น หากได้รับรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาเมืองนี้เพิ่มขึ้น




ชื่อ ตักศิลา นั้น ปวินท์ มินทอง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ สืบค้นไว้ว่า มีผู้อธิบายไว้แตกต่างกัน เซอร์จอห์น มาร์แชล (Sir John Mashall) นักโบราณคดีชาวอังกฤษผู้มาขุดค้นพื้นที่บริเวณนี้ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๓ กล่าวว่า คำว่า ตักศิลา ซึ่งมีรูปภาษาบาลีว่า ตกฺกสิลา (Takkasila) และรูปสันสกฤตว่า ตกฺษศิลา (Takshashila) มีคำแปลตรงตัวว่า หินตัด ดังนั้นจึงน่าจะหมายถึงเมืองหินตัด    ขณะที่ ดร.อะหมัด ฮะซาน ดานี (Ahmad Hasan Dani) นักโบราณคดีชาวปากีสถานแย้งว่า คำทั้งสองแปลว่าเนินเขาอันเป็นที่อยู่ของตักษกะหรือตักกะ พญางูในปกรณัมฮินดู ได้เช่นกัน โดยโยงเข้ากับชื่อภาษาเปอร์เซียของเมืองนี้ว่า มาริกะลา หมายถึงป้อมบนเนินเขาพญางู ซึ่งคำแปลนี้สอดคล้องกับเรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตะที่กล่าวว่า พระเจ้าชนเมชัย พระปนัดดาของพระอรชุน หนึ่งในวีรบุรุษห้าพี่น้องปาณฑพในสงครามมหาภารตะ ได้จับพญางูตักษกะมาบูชายัญเพื่อล้างแค้นให้แก่ปาริกษิต พระราชบิดาที่ทรงต้องพิษของพญานาคจนสิ้นพระชนม์ จากนั้นได้เข้ายึดครองเมืองนี้โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อแต่อย่างใด



เป็นได้ว่าพญางูตักษกะที่อ้างถึงในมหาภารตะ แท้จริงแล้วคือกษัตริย์ของชนเผ่าฏากะ ซึ่งเป็นชนเผ่าบูชางูใหญ่ที่อาศัยอยู่ในแถบรัฐปัญจาบของอินเดียและมณฑลปัญจาบของปากีสถานมาตั้งแต่โบราณ และการถูกจับบูชายัญน่าจะหมายถึงการที่ชนเผ่านี้พ่ายแพ้และถูกกำจัดโดยนักรบชนเผ่าอินโด-อารยันที่อพยพจากเอเชียกลางเข้ามาในอนุทวีปตั้งแต่ช่วง ๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ดังนั้น ชนเผ่านี้จึงน่าจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างเมืองนี้ขึ้นก่อนจะมีการสร้างเพิ่มเติมโดยชนกลุ่มอื่นในยุคต่อมา

ตักศิลาตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม กล่าวคือ ตั้งอยู่ในหุบเขาแม่น้ำฮาโรซึ่งมีลำธารสาขากระจายอยู่จำนวนมาก ทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกันก็ตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำสินธุมากพอที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประจำปี เมืองนี้ยังตั้งอยู่บนจุดตัดของเส้นทางการค้า ๓ เส้นได้แก่ ๑. เส้นทางด้านทิศเหนือ เชื่อมแคว้นคันธาระกับแคว้นมคธ  ๒. เส้นทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เชื่อมเอเชียตะวันตกกับอนุทวีป ผ่านแคว้นบัคเตรีย กปิศะ ปุษกลาวตี  และ ๓. เส้นทางด้านแม่น้ำสินธุ เชื่อมเอเชียกลางด้านตะวันออกและมณฑลซินเจียงของจีนเข้ากับอนุทวีป ผ่านทางช่องเขาคุนเจราบเรื่อยลงมาทางหุบเขาศรีนครในแคชเมียร์ของอินเดีย มันเซห์รา และหุบเขาหริปุระในปากีสถาน


    จากสภาพดังกล่าว รวมถึงการที่ตั้งอยู่ในแคว้นคันธาระซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าชายแดนด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป ตักศิลาได้รับอานิสงส์จากความสำคัญของแคว้นไปด้วย ส่งเสริมให้เมืองนี้กลายเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของอินเดียช่วงประมาณศตวรรษที่ ๖ ก่อนคริสต์ศักราช ดังจะเห็นจากการที่พระไตรปิฎกกล่าวถึงบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากเมืองนี้อยู่หลายท่าน

การศึกษาในตักศิลาและแหล่งการศึกษาอื่นๆ ในอินเดียสมัยโบราณ เป็นการฝากตัวเข้าไปอยู่กับสำนักอาจารย์ต่างๆ จนกว่าจะจบหลักสูตร ซึ่งผู้ที่เข้ามาเรียนเป็นลูกหลานของครอบครัววรรณะสูงที่ร่ำรวย วิชาที่เปิดสอนก็เป็นวิชาระดับสูง คือพระเวททั้งสี่และศิลปะ ๑๘ ประการ ได้แก่ อักษรศาสตร์ นิติศาสตร์  นิรุกติศาสตร์ (กำเนิดและวิวัฒนาการของคำ)  ฉันทศาสตร์ (วการประพันธ์)  รัฐศาสตร์  ยุทธศาสตร์  ศาสนศาสตร์  โหราศาสตร์  ชโยติศาสตร์ หรือดาราศาสตร์  คณิตศาสตร์  คันธัพพศาสตร์ (ดนตรีและนาฏศิลป์)  เหตุศาสตร์ (หลักการใช้เหตุผล)  เวชศาสตร์ (ยาและการแพทย์)  สัตวศาสตร์ (ศึกษาลักษณะของสัตว์)  วาณิชยศาสตร์ (หลักการค้า)  ภูมิศาสตร์  โยคศาสตร์ (กลศาสตร์)  และมายาศาสตร์ (กลอุบายการรบ) สำหรับจำนวนนักศึกษาของแต่ละสำนักจะขึ้นอยู่กับความมีชื่อเสียงของอาจารย์เจ้าสำนักนั้นๆ





ที่มา (ข้อมูล-ภาพ): หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กันยายน 2558 10:03:09 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.416 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 7 ชั่วโมงที่แล้ว