[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 11:25:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไทม์แมชชีนของสมอง  (อ่าน 1525 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
wondermay
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 09 มกราคม 2554 17:15:52 »

การที่ เราตอบว่า “ไม่มีอะไร”
ในขณะที่เราดูเหมือน “กำลังทำบางสิ่งบางอย่างและเราก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลยสักอย่าง” (ดังเช่นพฤติกรรมของคนที่กำลังทำท่าใจลอยทั้งหลาย)
นั่นแปลว่าเราพึ่งสอบผ่านในวิชาตรรกะและเหตุผล แต่เราสอบตกในเรื่องวิทยาศาสตร์สมอง

วงจรมืด (dark network)

         การ ทำหน้าที่ของจิตใจของผู้คนบางอย่าง เช่น การนับเลขในใจ การคาดการณ์รูปร่าง และแยกแยะใบหน้า เหล่านี้เป็นต้น มีผลทำให้แต่ละส่วนของเซลล์ในสมองมีการทำงานแตกต่างกันด้วย
และเราสามารถมองเห็นการทำงานของสมองในขณะนั้นได้โดยทำการสแกนสมอง ภาพสแกนที่ปรากฏจะเห็นการทำงานของเซลล์สมองบริเวณเกรย์แมทเตอร์ (ซึ่งเป็นเซลล์สมองสีเทา มีงานวิจัย
ยืนยันแล้วสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับสติปัญญา โดยพบว่าบริเวณเซลล์สีเทาจะหนาขึ้นในระดับสติปัญญาที่สูงขึ้น) แสดงสีแยกให้เห็นเด่นชัดจากบริเวณอื่น บริเวณสมองส่วนแสดงสีสว่างในขณะที่
บริเวณอื่นที่แสดงสีมืด โดยส่วนที่มีความมืดนี้เราเรียกว่า วงจรมืด (dark network ซึ่งประกอบไปด้วยบริเวณสมองส่วนฟรอนตอล พารีอ์ตอล และมีเดียลเทมโพรอล) แต่ก่อนเข้าใจว่าส่วนที่กล่าวมานี้
ไม่ได้ทำงาน แต่เร็วๆนี้นักวิจัยสามารถยืนยันได้ว่าในขณะที่สมองส่วนอื่นๆทำงาน บริเวณวงจรมืด (ที่อาจจะเข้าใจว่าไม่ได้ทำงาน) ก็กำลังทำงานเช่นกัน ถ้าเราต้องการคำตอบที่ชัดเจนเพื่อดูการทำงาน
ก็ต้องทำการแสกนสมองด้วยเอฟเอ็มอาร์ไอ จะสามารถมองเห็นการทำงานของสมองส่วนวงจรมืดเป็นเหมือนรังผึ้ง ดูเผินๆจะเหมือนผึ้งในรังถูกแช่แข็งไว้เครือข่ายต่างๆตกอยู่ในความเงียบ มีความเป็นไปได้ว่า
เมื่อไรก็ตามที่ดูเหมือนว่าเราไม่ได้ทำอะไร แต่จริงๆแล้วอวัยวะบางส่วนกำลังทำบางสิ่งบางอย่างอย่างชัดเจน แล้วสิ่งนั้นคืออะไร

คำตอบคือ อาจเป็นไปได้ว่าไทม์แมชชีนของสมองกำลังทำงานหรือไม่

         โดย ปกติแล้ว ในขณะที่คนเรามีความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบสิ่งใด ร่างกายของคนเราจะขยับเพื่อตอบสนองต่อสิ่งนั้นด้วยความเร็วในอัตราวินาทีต่อ วินาที แต่จิตใจของคนเรานั้น สามารถเดินทาง
ทะลุเวลาได้ในทุกช่องทางและทุกความเร็วของการสื่อสาร ความสามารถบางอย่างของคนเรานั้น ให้เราลองหลับตาและจินตนาการถึงความสนุกในการแข่งขันฟุตบอลนัดที่เราเป็นแฟน พันธ์แท้ ในวันหยุด
สุดสัปดาห์ที่จะถึง หรือทบทวนความทรงจำอันลิงโลดที่เกิดขึ้นในคืนก่อนวันหยุดเทศกาลปีใหม่หรือ วันหยุดเทศกาลอื่นใด คงพอจะต่อภาพจิ๊กซอออกถึงศักยภาพของการทำหน้าที่ของสมองมนุษย์ ซึ่งถือเป็นพรสวรรค์ที่ยอดยิ่งในกลุ่มอาณาจักรสัตว์ด้วยกัน สมองของคนเรามีการทำงานเหมือนเครื่องไทม์แมชชีนที่มหัศจรรย์ มีความสามารถเดินทางไปในที่แห่งใดก็ได้ รวมถึงความเป็นอัจริยภาพในการจัดลำดับกาลเวลา
ที่จะเดินทางตามความต้องการที่ จะไป ในทางตรงข้ามถ้าเครื่องไทม์แมชชีนเครื่องนี้ของเรามีปัญหาไม่ว่าจะเป็น จากความเจ็บป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม อุบัติเหตุทางสมอง เราคงจะประสบปัญหาอย่างใหญ่หลวง
ในการจินตนาการภาพดังที่กล่าวมาได้ การอุดตันของเส้นใยประสาทที่เหมือนเน็ทเวิร์คขนาดใหญ่จะสร้างปัญหาให้กับ ความจำในวันวานและความนึกฝันในอนาคตอย่างมากมายมหาศาลทีเดียว

การเดินทางอย่างน่าอัศจรรย์ ไปอนาคต... กลับอดีต...ได้อย่างไร้ขีดจำกัด.....

         ทำไม วิวัฒนาการการสร้างสมองของคนเราจึงมีการเดินทางอย่างน่าอัศจรรย์ คำตอบอาจจะเป็นเพราะประสบการณ์เลวร้ายบางอย่างที่สูญเสียไป การเผชิญโลกภายนอกที่เต็มไปด้วยอันตราย
ซึ่งบางครั้งประสบการณ์เล็กๆน้อยในอดีตบางอย่างก็เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ในวัยเด็กที่เราถูกห้ามว่า “อย่าจับเตาร้อน” หรือเรื่องอะไรเล็กๆน้อยๆที่พ่อแม่ห้ามโดยที่ไม่ทราบเหตุผลนั้น
เมื่อกาลเวลาผ่านไปเราก็สามารถเรียนรู้ว่าความร้อนของหม้อนั้นมันทำอันตราย ให้กับเรา เราจะหาวิธีป้องกัน เป็นต้น การเรียนรู้ใหม่ของคนเราอาจจะถูกจ่ายไปสำหรับประสบการณ์ครั้งเดียวหรือหลายๆ ครั้ง
ก็ได้ การเดินทางไปมาระหว่างอดีตกับปัจจุบันของสมองทำให้คนเราสามารถทบทวนเรื่อง ราวต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์การเรียนรู้ใหม่ทีหลังได้ เหมือนซื้อตั๋วเครื่องเดียวดูหนังได้หลายรอบนั่นเอง

         เมื่อ ไรก็ตามที่เราอยู่ในเหตุการณ์วุ่นวายบางอย่าง เช่น การอยู่ท่ามกลางกลุ่มเด็กๆ หรือจราจรที่ติดขัดสับสนวุ่นวาย วงจรมืดในสมองของเราก็จะตกอยู่ในความเงียบ แต่ในทันทีที่เราต้องเข้าไป
เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ยุ่งเหยิงเหล่านั้น วงจรมืดในสมองก็จะตื่นตัวและทำงานทันที ขณะเดียวกันก็เริ่มเดินทางไปในอดีตและปัจจุบัน เส้นใยประสาทที่เหมือนเน็ทเวิร์คขนาดใหญ่ในสมองจะมีการเชื่อมต่อกัน
เกิดเป็นโครงสร้างการประสานงานขนานใหญ่ เพื่อหาทางออกว่าเราจะทำอะไรได้บ้างในการปลดปล่อยตัวเราให้เป็นอิสระจากความ วุ่นวายรอบตัวนั้น

         การ เรียนรู้ของสัตว์โดยทั่วไปได้จากการประสบการณ์ซ้ำๆและความผิดพลาด แต่ในสัตว์ที่ฉลาดกว่าจะเรียนรู้จากความผิดพลาดน้อยครั้งกว่าสัตว์ทั่วไป การเดินทางผ่านเวลาของสมองของคนเรา
เปรียบเสมือนกับเครื่องไทม์แมชชีน ที่พาเราไปไปในอดีตและอนาคตได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งการเดินทางไปในอดีตจะต้องใช้ประสบการณ์เพียงครั้งเดียวก็เกิดการเรียน รู้ได้ แต่การเดินทางไปในอนาคต
ของคนเราอาจจะต้องใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ทั้งหมด ความสามารถและทักษะบางอย่างของเรา สามารถเรียนรู้ได้โดยที่เราอาจจะไม่ได้ลงมือปฏิบัติ เช่น การฝันและจินตนาการว่าเราไปด่าเจ้านายและ
เราถูกทำโทษ นั่นก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรบางอย่างโดยที่เราไม่ต้องทำจริง เป็นเพียงความฝันก็สร้างให้เกิดการเรียนรู้เป็นประสบการณ์ได้ วงจรมืดในสมองจะไม่นำพาเราเดินทางไปอนาคตถ้าเรื่องดังกล่าวนั้น
ไม่ได้มีเรา เกี่ยวข้องอยู่ เช่น หุ้นจะขึ้นลงอย่างไร หรือ ฮิลลารี คลินตัน จะชนะเลือกตั้งหรือไม่ วงจรมืดจะตกอยู่ในความเงียบ ยกเว้นว่าเรื่องที่กล่าวมาทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกับเราเท่านั้น

คำถามที่ว่า วงจรมืดในสมองนี้ทำงานบ่อยเท่าไร

         คำ ตอบนี้นักวิทยาศาสตร์สมองแนะนำว่า ก็ต้องดูว่าเราใช้เวลาจากความปัจจุบันไปมากน้อยเท่าไร (สั้นๆก็คือเราใช้เวลาไปกับการใจลอยนั้นเท่าไรในแต่ละเหตุการณ์) คนเราโดยทั่วไปมักไม่ได้จดจำ
ว่าเราใช้เวลาใจลอยกี่ครั้งในแต่ละวันและแต่ละ ครั้งกี่นาที สิ่งแวดล้อมบางอย่างเช่น เสียงเด็กร้อง เสียงสุนัขเห่า หรือเสียงโทรศัพท์ เหล่านี้จะเป็นตัวดึงเครื่องไทม์แมชชีนให้กลับมาเป็นตัวของตัวเองในแต่ละ
ครั้ง

กล่าวโดยสรุป

         วงจร มืดเป็นเหมืนกับเครื่องไทม์แมชชีนของสมอง ที่จะนำพาเราให้สามารถเดินผ่านกาลเวลาไปในอดีตและปัจจุบันได้ เป็นความสามารถของคนเราที่มองเห็นได้จากการสามารถคิดทบทวนเรื่องเรา
ต่างๆ ที่เรามีประสบการณ์และเกี่ยวข้องด้วย (ความทรงจำของเราในอดีต) เป็นเหมือนกับการกระตุ้นให้กับวงจรมืดในสมองทำงาน สิ่งที่สังเกตเห็นได้จากภายนอกก็คือ การที่คนเราทำใจลอยๆเหมือนไม่ได้
คิดอะไรนั่นแหละ สมองของเขาเหล่านั้นโดยเฉพาะวงจรมืดกำลังทำงานอย่างเต็มที่นั่นเอง


ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 20:06:54 »

โอ้...

โอ้โห เนื้อหาดีมากเลยวอนเด้อ

ความรู้ชั้นเยี่ยมเลย
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ไทม์แมชชีนของสมอง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.296 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 21 ชั่วโมงที่แล้ว