[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 09:03:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลิงหลอกเจ้า : โพธิสัตวมรรค  (อ่าน 3826 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 มกราคม 2554 16:47:24 »




โพธิสัตวมรรค


เราได้สนทนากันถึงสมาธิภาวนาแบหินยานที่เน้นความเรียบง่ายและความ เที่ยงตรงไปแล้ว จะเห็นได้ว่า หากเราปล่อยให้มีช่วงว่าง อันสิ่งทั้งหลาย จะเป็นอย่างที่มันเป็นได้แล้ว เราจะเริ่มชื่นชมกับความเรียบง่ายและเที่ยงตรง ในชีวิตของเราได้อย่างแจ่มใส นี้เป็นขั้นต้นของการบำเพ็ญสมาธิภาวนา เราเริ่มแทงตลอดสกนธ์ทั้งห้าได้ โดยขจัดความคิดฟุ้งซ่านที่ยิ่งเหยิง และ เร่งรีบ ทั้งเสียงซุบซิบที่ฟูฟ่องอยู่ในใจเราออกไป เมื่อทำได้ดังนี้ ขั้นต่อไป เราจะหันมาดูอารมณ์ของเราบ้าง


อาจเปรียบได้ว่า ความฟุ้งซ่านก็เป็นดั่งวงจรหมุนเวียนของโลหิตที่คอย หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อในระบบของเรา อันได้แก่ อารมณ์ความรู้สึก ( ธรรมา รมณ์ ) ความคิดจะคอยเชื่อมโยงและหล่อเลี้ยงอารมณ์เอาไว้เพื่อให้ชีวิต ปะจำวันของเราแล่นลิ่วไปด้วยเสียงซุบซิบภายในใจ อันมีอารมณ์สวยสด และรุนแรงระเบิดออกมาเป็นพัก ๆ ความคิดและอามณ์ทั้งหลายจะสำแดง ให้เห็นถึงทัศนะพื้นฐานที่เรามีต่อโลก ถึงวิธีที่เราสัมพันธ์กับโลก และช่วย สร้างรูปแบบของสภาพแวดล้อมขึ้นมา อันเป็นภูมิแห่งความฝันเฟื่องทั้งหลาย ที่เราดำรงชีวิตอยู่ " สภาพแวดล้อม " เหล่านี้คือภูมิหกนั่นเอง และแม้ภูมิ หนึ่ง ๆ จะกำหนดหมายลักษณะจิตใจของคน ๆ หนึ่ง แต่คน ๆ นั้นก็ยังประ สบกับอารมณ์ความรู้สึกอันเกี่ยวโยงกับภูมิอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน


ในอันที่จะแลเห็นภูมิเหล่าได้ เราต้องอาศัยวิธีมองที่กว้างไกลยิ่งขึ้น อัน เป็นวิปัศยาน ( วิปัสสนา ) ภาวนา เราไม่เพียงกำหนดรู้รายละอียดอันเที่ยง ตรงคมชัดของกิจกรรมทั้งหลาย หากกำหนดรู้สภาพการณ์ทั้งหมดด้วย วิปัศยานนี้รวมถึงการกำหนดรู้ที่ว่าง และบรรยากาศ อันความเที่ยงตรงนั้น เกิดขึ้น หากเราแลเห็นรายละเอียดอันเที่ยงตรงในกิจทั้งหลายได้ การกำ หนดรู้เช่นนี้จะก่อให้เกิดความว่างอย่างหนึ่งขึ้นมาด้วย การกำหนดรู้สภาพ การณ์โดยละเอียดก็เท่ากับกำหนดรู้ โดยกว้างด้วย การกระทำเป็นเช่นนี้จะ ทำให้การกำหนดรู้โดยกว้างปรากฏขึ้นคือ มหาวิปัศยาน ( วิปัสสนา ) ภาวนา อันได้แก่ การกำหนดรู้แบบแผนทั้งหมดยิ่งกว่าจะเจาะจงไปที่รายละเอียด เราเริ่มเห็นแบบแผนความฝันเฟื่องของเรา แทนที่จะไปจมอยู่กับมัน เราจะ พบได้ว่า เราไม่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับภาพฉายแห่งตัวตนของเรา และกำแพงที่ แยกจากเราจากภาพฉายเหล่านั้นก็ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เราสร้างขึ้นเอง ถึงตรง นี้ ปรัชญา ( ปัญญา ) จะเกิด คือญาณหยั่งรู้ธรรมชาติอันไร้แก่นสารของ อัตตา อันเป็นความรู้ชั้นโลกุตระ แวบหนึ่งที่ปรัชญาเกิดขึ้น เราจะผ่อนคลาย และตระหนักได้ว่าเราไม่ต้องอุ้มชูการดำรงอยู่ของอัตตาอีกต่อไป เราย่อม เปิดออกและมีความกรุณาได้ การแลเห็นวิถีทางที่จะจัดการกับภาพฉายแห่ง อัตตาของเราได้ดังนี้ ก่อให้เกิดสุขอย่างยิ่ง นี้นับเป็นโลกุตระภูมิแรกที่โพธิสัตว์ จะบรรรลุถึง เราเริ่มเข้าสู่โพธิสัตว์มรรคอันเป็นหนทางอย่างมหายาน เป็นทาง เปิด เป็นหนทางแห่งความอบอุ่นและการเปิด


ในการเจริญมหาวิปัศยานภาวนาระหว่างตัวเราและสิ่งอื่นย่อมมีเนื้อที่อัน กว้างขวาง เราจะตระหนักรู้ถึงเนื้อที่ระหว่างตัวเรากับสภาพการณ์ต่าง ๆ และทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้ในเนื้อที่นี้ จะไม่มีที่นั่นที่ ไม่ใช่เรื่อง ของความสัมพันธ์และไม่ใช่เรื่องของสงคราม กล่าวอีกนัยหนึ่งเราไม่ได้ ตีตราแนวคิดบัญญัติ ชื่อเสียงเรียงนาม หรือจำแนกแยกประเภทต่าง ๆ ให้แก่ประสบการณ์นั้น ๆ หากเราย่อมสัมผัสได้ถึงเนื้อที่อันเปิดออกใน ทุก ๆ สภาพการณ์ โดยนัยนี้ ความสำนึกจะรู้แจ้งเที่ยงตรงและครอบคลุม ยิ่ง
 
 
มหาวิปัศยานภาวนา ยังหมายถึงการปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นอยู่ตามที่มันเป็น เราเริ่มตระหนักได้ว่า เราไม่ต้องออกแรงพยายามอันใด เพราะสิ่งทั้งหลาย ก็เป็นตามที่มันเป็น เราไม่ต้องมองมันว่าเป็นอย่างนั้นเพราะมันเป็นเช่นนั้น อยู่แล้ว เพราะฉะนี้เราจึงเริ่มชื่นชมกับการเปิดและที่ว่าง เรามีที่ว่างที่จะขยับ ตัวได้ เราไม่ต้องพยายามกำหนดรู้ เพราะเราได้กำหนดรู้อยู่แล้ว ฉะนั้น มหาวิปัศยานจึงเป็นทางเปิด เป็นทางกว้างขวาง หนทางนี้อาศัยความพร้อม ที่จะเปิดใจ ปล่อยให้ตนเองตื่นขึ้น ปล่อยให้สัญชาติญาณของตนผุดขึ้น


ในบทก่อน เราพูดถึงการปล่อยให้มีที่ว่างจึงสามารถสื่อสารเชื่อมโยง แต่ การปฏิบัติเช่นนั้น ยังต้องอาศัยความตั้งใจและการควบคุมตนเองอยู่มาก แต่เมื่อเราเจริญมหาวิปัศยานภาวนา เราไม่ต้องควบคุมตัวเราให้สื่อสาร ไม่ต้องตั้งใจที่จะทิ้งช่วงว่างหรือตั้งใจที่จะรอคอย แต่อาจกล่าวได้ว่าเรา สามารถสื่อสารและเปิดเนื้อที่ออก โดยไม่ต้องกำหนดความตั้งใจ สามารถ ปล่อยวางอย่างไรกังวล และไม่ต้องไปครอบครองการปล่อยวางว่าเป็น ของเรา ว่าเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น เพียงแต่เปิดออกและปล่อยวาง และไม่ เป็นเจ้าเข้าเจ้าของ ครั้นทำได้เช่นนี้แล้ว คุณลักษณ์ที่เป็นไปเองโดยธรรม ชาติ ของสภาวะที่ตื่นอยู่ จะผุดขึ้นมาเอง

ในพระสูตร ที่มีกล่าวถึง บุคคลผู้พร้อมเต็มที่ที่จะเปิด ( อุคฆฏิตัญญู ) บุคคลผู้กำลังพร้อมที่จะเปิด ( วิปจิตัญญู ) และบุคคลที่มีศักยภาพในอัน ที่จะเปิด ( เนยยะ ) บุคคลผู้มีศักยภาพอยู่นี้ คือผู้รู้จักใช้วิจารณญาณ และ สนใจในประเด็นขั้นต้น หากยังไม่ปล่อยให้มีที่ว่างพอที่สัญชาตญาณดัง กล่าวจะผุดขึ้นมาได้ส่วนบุคคลผู้กำลังพร้อมที่จะเปิดใจนั้น เขาเฝ้าระวัง ตัวเองจนเกินกว่าเหตุ ฝ่ายบุคคลที่พร้อมเต็มที่ที่จะเปิด บุคคลเหล่านี้ ย่อมได้เคยสดับคำเร้นลับ คำเล่าลือว่า " ตถาคต " แล้ว ซึ่งคำนี้ย่อมหมาย ถึงบุคคลผู้กระทำได้แล้ว บุคคลผู้ข้ามได้แล้ว นั่นเป็นทางเปิด หนทางนี้ เป็นไปได้ เป็นหนทางของตถาคต ฉะนั้น ขอเพียงแต่เปิดออกโดยไม่ ต้องพิจารณาว่า อย่างไร เมื่อไร หรือทำไม มันเป็นสิ่งหมดจดได้เกิดขึ้น แล้วแก่บุคคลผู้หนึ่ง แล้วทำไมจะเกิดกับเธอไม่ได้เล่า ทำไมเธอจึงแบ่ง แยกระหว่าง " ฉัน " กับตถาคตเล่า


" ตถาคต " แปลว่า " ผู้ถึงแล้วซึ่งตถาตา " ซึ่งก็คือ " ตามที่มันเป็น " รวม ความว่า ผู้ถึงแล้วซึ่งสภาวะ " ตามที่มันเป็น " กล่าวอีกนัยหนึ่ง ตถาคต ในฐานะแนวคิด เป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้น ที่บอกให้เรา รู้ว่า มีผู้กระทำได้แล้วมีผู้ประสบได้แล้ว สัญชาตญาณนี้ได้บันดาลใจคน บางคนแล้วคือสัญชาตญาณแห่งการตื่น แห่งการเปิด แห่งความสงบเย็น ที่รุ่งเรืองด้วยปัญญา
 
 
หนทางแห่งโพธิสัตว์ นั้น เป็นไปเพื่อบุคคลผู้แกล้วกล้าและเชื่อมั่นในธรรม ชาติแห่งตถาคต ว่าเป็นจริงและทรงพลังทั้งประดิษฐานอยู่ในตนเองแล้วด้วย บุคคลผู้ตื่นขึ้นด้วยความคิดว่า " ตถาคต " จึงอยู่บนโพธิสัตว์มรรค อันเป็น หนทางแห่งนักรบผู้แกล้วกล้า ผู้ไว้ใจในศักยภาพของตน ว่าอาจบรรลุจุด หมายปลายทางได้อย่างหมดจด เป็นผู้ไว้ใจในธรรมชาติแห่งพุทธะ คำว่า " โพธิสัตว์ " แปลว่า " บุคคลผู้แกล้วกล้าถึงขนาดที่จะเดินไปบนหนทางแห่ง โพธิ " " โพธิ " แปลว่า " ตื่น " " ภาวะที่ตื่น " ที่ไม่ได้หมายความว่า โพธิสัตว์ จะต้องเป็นผู้ตื่นอย่างหมดจดแล้ว เป็นแต่เขาพร้อมที่จะดำเนินไปตามมรรคา ของผู้ตื่นแล้ว


มรรคสายนี้ประกอบด้วยโลกุตรธรรมที่ประชุมกันโดยธรรมชาติ คือ เมตตา ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา องค์คุณเหล่านี้รวมเรียกว่า " ปารมิตาหก " " ปาราม " นั้นแปลว่า " อีกด้านหนึ่ง " หรือ " อีกฝั่งหนึ่ง " " ริมฝั่งน้ำข้าง หนึ่ง " และ " อิต " แปลว่า " มาถึง " " ปารมิตา " แปลว่า " ถึงซึ่งฝั่งกระโน้น " ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากิจของโพธิสัตว์จะต้องประกอบด้วยทัศนียภาพคือความเข้าใจ ที่พ้นไปจากการยึดตัวตนเป็นศูนย์กลาง โพธิสัตว์หาได้พยายามเป็นคนดีหรือ โอบอ้อมอารีไม่ แต่เขาย่อมทรงไว้ซึ่งความกรุณาอยู่โดยธรรมชาติแล้ว

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 16:50:51 »




ทาน


ผู้คนมักเข้าใจทานกันอย่างผิด ๆ ว่าเป็นการโอบอ้อมอารีต่อคนที่ต่ำกว่าตน ในทำนองที่คนบางคนประสบทุกข์ได้ยาก แล้วคุณผู้อยู่ในฐานะที่สูงส่งกว่า สามารถช่วยเหลือเขาได้ นี่เป็นวิธีที่ง่ายในการปรามาสผู้อื่น แต่ในกรณีของ พระโพธิสัตว์ ทานหาได้แบ่งแยกผู้คนอย่างนั้นไม่ หากเป็นสิ่งที่เข้มแข็ง ทรง พลังเป็นการสื่อสาร


การสื่อสารจะต้องไปพ้นจากความกลัดกลุ้ม มิฉะนั้น มันจะประหนึ่งทำเป็น ทองไม่รู้ร้อน ทั้ง ๆ ที่กำลังรุ่มร้อน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ภายนอก จะ เสียดแทงเข้ามาในการพยายามสื่อสารของเรา ประหนึ่งว่าหนามยอก และเมื่อ เรามามัวแต่ห่วงกังวลกับการขจัดปัดเป่าหนามแหลมที่มารบกวนอยู่นี้ การ สื่อสารของเราก็จะถูกปิดกั้น


การสื่อสารจะต้องเป็นดั่งรัศมีอันเจิดจ้า เป็นทั้งการรับและการแลกเปลี่ยน แต่ถ้ายังมีความกลัดกลุ้มอยู่ เราจะไม่สามารถแลกเปลี่ยน แต่ถ้ายังมีความ กลัดกลุ้มอยู่ เราจะไม่สามารถแลเห็นคุณลักษณ์อันว่างโปร่ง ของสิ่งที่กำลัง มาหาเรา ของสิ่งที่เป็นตัวกลางการสื่อสาร ได้อย่างเหมาะเหม็ง ชัดเจนและ แจ่มใส ความกลัดกลุ้มของเราจะปิดประตู ไม่รับรู้โลกภายนอก โดยบอก ว่า " ไม่เอาล่ะนี่มันทำให้ฉันกลัดกลุ้มเหลือกำลังไปให้พ้น " ทัศนะแบบนี้ ตรงข้ามกับทานอย่างสิ้นเชิง

 
ฉะนั้น โพธิสัตว์จึงต้องสัมผัสถึงการสื่อสารแห่งทานได้อย่างหมดจด ไป พ้นจากความกลัดกลุ้มและการปกป้องตัวเอง มิฉะนั้น เมื่อใดที่หนามแหลม กำลังจะยอกเรา เราจะรู้สึกว่าถูกคุกคาม แล้วเราจะต้องปกป้องตัวเอง เรา ต่างพากันวิ่งหนีจากโอกาสอันมากมาย ที่เราจะสื่อสารได้ เราไม่กล้าพอที่จะ เหลือบมองฝั่งกระโน้น เรามัวแต่หันไปมองข้างหลังและพยายามหลบหนี


ทาน เป็นความเต็มใจที่จะให้ ที่จะเปิด โดยไม่ต้องอาศัยแรงกระตุ้นทาง คุณธรรม ทางศาสนา หรือทางปรัชญาใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่กระทำสิ่งซึ่ง เป็นที่ต้องการในแต่ละสภาพการณ์ โดยไม่กังวลว่าจะได้รับผลตอบแทน อย่างไร การเปิดอาจจะเกิดขึ้นกลางทางหลวงแผ่นดินก็ได้ เราไม่กลัวเมฆ หมอกหรือ ฝุ่นผง หรือราคะโทสะของใครจะมาทับถมเรา เราเพียงแต่เปิด ยอมคลายตัวเองอย่างสิ้นเชิงและสละให้ นี่หมายความว่าเราไม่ได้ตัดสิน ไม่ได้ประเมิน หากเราพยายามตัดสินใจหรือประเมินประสบการณ์ของเรา หากเราพยายามกำหนดว่า จะเปิดสักเท่าใด จะปิดสักเท่าใด การเปิดก็จะไม่ มีความหมายกระไรเลย และ ทาน ก็เป็นสิ่งไร้ประโยชน์ การกระทำของเา จะไปไม่พ้นจากสิ่งอันใดได้ และหาได้เป็นกิจแห่งโพธิสัตว์ไม่


นัยแห่งโลกุตรมรรคนั้น อยู่ที่การมองพ้นไปจากยี่ห้อหรือตราประทับที่ จำกัด บัญญัติทางความคิดที่จำกัด และการสู้รบปรบมือในใจระหว่าง นี่ ที่ตรงข้ามกับ นั่น โดยทั่วไปเมื่อเรามองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราไม่ปล่อยให้ตัว มองมันอย่างถ่องแท้ หากเรามักจะมองเห็นแต่สิ่งนั้นในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง ยิ่งกว่าจะแลเห็นสิ่งนั้นตามที่มันเป็น แล้วเราก็อิ่มอกอิ่มใจ ว่าเราได้สร้าง มุมมองของเราเอง แล้วเราก็วิพากษ์วิจารณ์ ตัดสิน ยอมรับหรือปฏิเสธ สิ่งนั้น ๆ แต่ไม่ได้มีการสื่อสารที่แท้จริงเกิดขึ้นเลย


ดังนั้น ท่านจึงเป็นการสละทุกสิ่งที่คุณมีอยู่ สิ่งที่คุณกระทำจะต้องเปิด เผยและเปลือยเปล่าอย่างหมดเปลือก มันไม่ใช่เรื่องของคุณที่จะไปตัดสิน แต่เป็นเรื่องของผู้รับเองที่จะกำหนดท่าทีในการรับ ถ้าผู้รับเขาไม่พร้อม ที่จะรับทานจากคุณ เขาก็ไม่รับ ถ้าเขาพร้อม เขาจะมารับไป นี้เป็นกิจที่ ไร้อัตตาของพระโพธิสัตว์ โพธิสัตว์จะไม่คอยสำนึกรู้ว่า " ฉันจะเปิด ให้กับใครดี " โพธิสัตว์ไม่เลือกฝักเลือกฝ่าย พูดอย่างให้เห็นภาพพจน์ โพธิสัตว์นั้นเป็นเหมือนซากศพ ปล่อยให้ใคเขาจ้องมองและตัดสินคุณ ไปเถิด เราจะจัดการกับคุณอย่างไรก็ได้ กิจอันสูงส่งดังนี้ กิจอันหมดจด เยี่ยงนี้แล ที่เป็นกิจอันมิได้ถือเอาข้อตัดสินทางปรัชญาหรือศาสนา หรือ อาการคุยเขื่องอันใดไว้เลย เพราะฉะนี้ มันจึงเป็นโลกุตตรกิจ เป็นปารมิตา เป็นกิจอันงดงาม




ศีล
 
 
เมื่อพูดถึงศีล เราก็ต้องมองด้วยหลักการเดียวกัน นั่นคือศีลใช่การที่เรา เอาตัวเองไปผูกมัดกับกฏหรือแบบแผนตายตัวอันใดไม่ เพราะว่าหาก โพธิสัตว์เป็นผู้ไร้อัตตาอย่างสิ้นเชิง เป็นบุคคลผู้เปิดอย่างโจ่งแจ้ง เขา ก็จะกระทำการอันสอดคล้องกับการเปิดนั้น และไม่ต้องทำตามกฏเกณฑ์ ใด ๆ เขาเพียงแต่หล่นลงสู่แผนเท่านั้น ที่โพธิสัตว์จะทำร้ายใครนั้น เป็น สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเขาทรงไว้ซึ่งทานแล้ว เขาได้เปิดตัวเองแล้วอย่าง สิ้นเชิง และไม่แบ่งแยกให้แตกต่างระหว่าง นี่ กับ นั่น เขาเพียงแต่ประ พฤติให้สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นอยู่ ในสายตาของคนอื่น ๆ หากเขาเฝ้าสัง เกตโพธิสัตว์อยู่ จะเห็นว่าโพธิสัตว์ทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องถูกเวลา เสมอ แต่ถ้าเราจะพยายามเลียนแบบเขา นั้นเป็นสิ่งที่เป็นเป็นไปไม่ได้ เพราะจิตใจของเขานั้นเที่ยงตรงยิ่ง แนวแน่จนเขาไม่เคยทำอะไรพลาด เลย เขาไม่ต้องประสบกับปัญหาที่ไม่เคยคาดฝัน ไม่เคยก่อความวุ่นวาย ในทางทำลายเลย เขาเพียงแต่หลุ่นสู่แบบแผนได้อย่างเหมาะเจาะ แม้จะ ดูยุ่งเหยิงนั้น แต่สามารถจัดแจงได้อย่างดี พูดอย่างง่าย ๆ ก็คือโพธิสัตว์ สามารถข้ามน้ำได้ โดยไม่ต้องตกสู่ระลอกคลื่นเลย

 
หากเราเปิดอย่างสิ้นเชิง โดยไม่ต้องเฝ้าดูตัวเองเลย หากเปิดอย่างสิ้นเชิง และสื่อสารกับสภาพการณ์ทั้งหลายตามที่มันเป็น ดังนี้ การกระทำของ เราจะบริสุทธิ์ อุดม และสูงส่ง แต่ถ้าเราพยายามทำให้การกระทำของเรา บริสุทธิ์ นั่นจะกลับเป็นเรื่องเหลวไหล แม้มันจะบริสุทธิ์เพียงใดมันก็ยัง เหลวไหลและชาด้านอยู่ดี ในกรณีของโพธิสัตว์ การกระทำทั้งหลายของ เขา กลับไหลรี่ หาชาด้านอย่างใดไม่ ทุกสิ่งทุกอย่างเหมาะเจาะกับฐานะ ของมัน ราวกับคนนที่ได้มาศึกษาสภาพการณ์ทั้งหมดหลายปีล่วงหน้ามา แล้ว โพธิสัตว์ไม่ต้องมัวคิดวางแผน เขาเพียงแต่สื่อสาร เขาเริ่มจากเมตตา แห่งการเปิดแล้วหล่นสู่แบบแผนของสภาพการณ์ การกระทำของโพธิสัตว์ มักเป็นที่เปรียบเปรยกับการย่างก้าวของช้าง ช้างนั้นไม่รีบร้อนเพียงแต่ย่าง ไปในป่าอย่างช้า ๆ แต่มั่นคง ทีละก้าว ๆ มันย่างเท้าไปเรื่อย ๆ โดยไม่หก ล้มหรือผิดพลาด แต่ละก้าวนั้นแน่นอนและหนักแน่น



ขันติ
 
 
กิจอีกประการหนึ่งของโพธิสัตว์ก็คือ ขันติ อันที่จริงจะแบ่งกิจโพธิสัตว์ ออกเป็นส่วน ๆ จากกัน หาได้ไม่ กิจอันหนึ่งจะโยงไปสู่กิจอีกอันหนึ่ง และรวมเข้าด้วยกัน ฉะนั้น ขันติ จึงมิใช่การพยายามบังคับควบคุมตัวเอง หรือการพยายามเป็นคนขยันขันแข็ง พยายามเป็นผู้มีน้ำอดน้ำทนอย่างยิ่ง ยวดโดยไม่คำนึงถึงความอ่อนแอทางกายหรือใจของตน ฝืนไปฝืนมาจน ตกลงมาตายสนิท แต่ขันติหมายรวมถึง มรรควิธีอันช่ำชอง ดุจเดียวกับ ศีลและทาน


ขันติ จะไม่คาดหวังอะไรทั้งสิ้น ถ้าเราไม่คาดหวังอะไร เราก็ไม่ต้องกระ สับกระส่าย อย่างไรก็ตาม ในชีวิตของเราโดยทั่วไป เรามักคาดหวังมาก มาย เราจึงผลักดันตนเอง การกระทำเช่นนี้ต้องอิงอาศัยแรงกระตุ้นอยู่มาก เราจะพบบางสิ่งบางอย่างที่สวยสดและน่าตื่นเต้น เราจะถูกผลักไสกลับมา ยิ่งเราผลักดันไปข้างหน้าแรงเพียงใด เราก็จะถูกผลักไสกลับมาแรงเพียง นั้น เพราะแรงกระตุ้นนั้นเป็นเพียงแรงขับเคลื่อนที่ปราศจากปัญญาญาณ การกระทำจากแรงกระตุ้นนั้นเป็นดั่งบุคคลที่วิ่งไปอย่างไม่ลืมหูลืมตา ดั่ง คนตาบอดพยายามไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของตน แต่การกระทำของ โพธิสัตว์จะไม่เร่งเร้าปฏิกิริยาแบบนั้น โพธิสัตว์จะเอาตัวเองเข้าร่วมกับ สถานการณ์ได้ทุกประการ เพราะเขาไม่ได้ปรารถนาสิ่งใด หรือลุ่มหลงใน สิ่งใด พละกำลังของขันติมิได้อยู่ที่แรงกระตุ้นที่สุกงอม หรืออะไรทำนอง นั้น แต่เป็นดั่งการย่างก้าวของช้าง ที่ ช้า มั่นคง และต่อเนื่อง


ขันติยังเป็นการสัมผัสกับที่ว่าง ผู้ทรงไว้ซึ่งขันติ ย่อมไม่หวั่นเกรงสภาพ การณ์ใหม่ ๆ เพราะไม่มีอะไรที่จะทำให้โพธิสัตว์แปลกใจไปได้ อะไรก็ ตามที่เข้ามา ไม่ว่ามันจะยุ่งเหยิง ทำลายล้าง สร้างสรรค์ น่าชวนเชิญหรือ น้อมนำ โพธิสัตว์ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ตื่นตระหนก เพราะเขาย่อมแลเห็น ที่ว่างในระหว่างสภาพการณ์กับตัวเขา เมื่อเรากำหนดรู้ในที่ว่างระหว่าง สภาพการณ์กับตัวเราได้แล้ว อะไร ๆ ก็ย่อมเกิดขึ้นในที่ว่างนั้นได้ อะไร ก็ตามที่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในท่ามกลางที่ว่างนั้นได้ ไม่มี " ที่นี่ " หรือ " ที่นั่น " ในแง่ของความสัมพันธ์หรือการสู้รบ ฉะนั้น ขันติ จึงหมาย ความว่า เราได้สัมพันธ์ภาพกับโลกอย่างต่อเนื่องแล้ว โดยที่ไม่ต้องต่อสู้ กับสิ่งใดเลย
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 16:53:06 »




วิริยะ
 
 
วิริยะคือพลัง เป็นพลังชนิดที่นำเราเข้าสู่สภาพการณ์อย่างฉับพลัน โดย ที่เราจะไม่พลาดโอกาส ไม่พลาดจังหวะ กล่าวอีกนัยหนึ่ง มันคือ ความ เบิกบาน เป็นพลังที่แสนเบิกบาน ( ฉันทะ ) ดั่งที่ศานติเทวะได้ชี้ไว้ใน คัมภีร์ โพธิสัตว์ - จารยวัตร พลังนี้เป็นความเบิกบานยิ่งกว่าจะเป็นพลัง ที่เราต้องขยันขันแข็งเพราะเรารู้สึกว่าเราต้องทำเช่นนั้น มันเป็นพลังอัน เบิกบานเพราะเราได้ทุ่มเทความสนใจทั้งหมด ให้แก่แบบแผนอันสร้าง สรรค์แห่งชีวิตของเรา ( จิตตะ ) ทานจะเปิดชีวิตทั้งหมดของเราออกโดย มีศีลเป็นเร่ง ขันติจะเข้าเสริมกำลัง ครั้นแล้วก็มาถึงระดับที่เป็นความ ความเบิกบาน เราจะไม่แลเห็นสภาพการณ์ว่าน่าใส่ใจ หรือน่าเหนื่อย หน่ายอีกต่อไป เพราะความเห็นของโพธิสัตว์ที่มีต่อชีวิตนั้น เป็นการ เปิดใจ เป็นความน่าสนใจที่ไม่จืดจาง ( วิมังสา ) เขาไม่เคยประเมินค่า แม้นั่นจะไม่ได้หมายความว่าเขาจะว่างเปล่าโดยสิ้นเชิง ที่กล่าวข้างต้นนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาได้ซึมซาบเข้าไปแล้วใน " จิตสำนึกขั้นสูง " " สมาธิขั้สูงสุด " จนเขาจำแนกไม่ได้ว่า ไหนกลางคืน ไหนกลางวัน นี่อาหารเช้า นี่มื้อเพล และก็ไม่ได้หมายความว่าใจของเขาจะพร่ามัว หรือขุ่นข้อง แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เขากลับแลเห็นคำศัพท์และคุณค่าที่ บัญญัติขึ้นทั้งหลายได้ ตามที่มันเป็น และยังไปพ้นบัญญัติและการประ เมินค่าเหล่านั้นได้ด้วย เขาแลเห็นว่าความแตกต่างเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราพากันสร้างขึ้นนี้ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน เขามองสภาพการณ์ต่าง ๆ ด้วยสายตาที่กว้างไกล และเพราะเหตุนี้ เขาจึงสามารถหยิบเอาความ น่าสนใจที่มีอยู่ในชีวิตออกมาได้มากมาย ตามที่มันเป็นอยู่ ด้วยเหตุนี้ โพธิสัตว์จึงไม่ดิ้นรนทะยานอยากเลย เขาเพียงแต่ดำรงชีวิตอยู่


เมื่อเขาเข้าสู่โพธิสัตว์มรรค เขาจะต้องตั้งสัจจาธิษฐานไว้ว่า หากสัตว์ ทั้งหลายยังไม่เข้าถึงการตรัสรู้คือพุทธภาวะเพียงใด เขาก็ยังไม่บรรลุ พระนิพพานเพียงนั้น ด้วยการเริ่มที่อริยกิจแห่งการให้ การเปิด การยอม พลี เขาจะดำเนินมรรควิถีของตนต่อไป หยิบเอาความน่าสนใจที่มีอยู่ มหาศาลในสภาพชีวิตประจำวันโดยไม่เบื่อหน่ายในการกระทำการร่วม กับชีวิตแม้แต่น้อย นี้แลเป็นวิริยะ เป็นการพากเพียรอย่างเบิกบานใจ พลังจะมีอยู่อย่างมหาศาล ในเมื่อเราได้สละละความพยายามที่จะตรัสรู้ เสีย ในเมื่อเรามีเวลาที่จะดำรงชีวิตอย่างแท้จริง ในเมื่อเราไปพ้นจาก ความรีบเร่งร้อนรน


แต่น่าแปลก ที่แม้เขาจะตั้งสัจจาธิษฐานเยี่ยงนั้น เขากลับไม่เคยสูญเสีย เวลา แม้แต่วินาทีเดียว เพราะเขาเที่ยงตรงและแม่นยำยิ่ง เขาจะดำเนิน ชีวิตอย่างประณีตและเต็มเปี่ยมโดยสม่ำเสมอ และผลก็คือ ก่อนที่เขาจะ รู้ตัวด้วยว่าเขาือยู่ไหน เขาก็ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้ กรุณาและปัญญาจะระ เบิดออกมาอย่างแท้จริง หนุนพลังให้แก่วิริยะและศรัทธาของเขา หาก เราไม่เคยเหนื่อยหน่ายต่อสภาพการณ์แล้ว พลังของเราเป็นสิ่งเบิกบาน ใจยิ่ง ถ้าเราเปิดอย่างสิ้นเชิง ตื่นขึ้นต่อชีวิตอย่างหมดจด ชีวิตจะไม่มี ชั่วขณะใดที่น่าเบื่อหน่ายเลย นี้แลวิริยะ


สมาธิ
 
 
สมาธิ หรือ ธยาน ( ฌาน ) มีสองแบบ แบบแรกคือ ธยานของโพธิสัตว์ อันเกิดแต่พลังแห่งกรุณาคุณ ทำให้เขาตื่นอยู่อย่างกว้างไกล ตามศัพท์ ธยานแปลว่า " การกำหนดรู้ " การอยู่ในสภาวะที่ " ตื่น " แต่นี่มิได้หมาย ถึงเพียงสมาธิตามรูปแบบเท่านั้น โพธิสัตว์ไม่ได้แสวงหาจิตตกภวังค์ ปีติสุข หรือการซึมซาบ ( เอกัคคตา ) เขาเพียงแต่กำหนดรู้สภาพการณ์ ของชีวิตตามที่มันเป็น เขากำหนดรู้สมาธิอันต่อเนื่องด้วยทาน ศีล ขันติ และวิริยะ เป็นความรู้สึก " ตื่น " อย่างต่อเนื่อง


ธยาน อีกแบบหนึ่ง เป็นธยานแบบเทวภูมิ ชนิดที่อาศัยการเพ่ง ความต่าง กันนั้นอยู่ที่ว่า สมาธิของโพธิสัตว์ มิได้อยู่ที่การอิงอาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้ เขาจะจัดการกับสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันอยู่ตามปกติ เขาไม่ได้สร้าง ศูนย์รวมอันใดขึ้นในสมาธิของเขา ไม่ได้เฝ้าดูตัวเองกระทำการหรือทำ สมาธิ ฉะนั้นการกระทำของเขาจึงเป็นสมาธิอยู่เสมอ และสมาธิของเขา ก็เป็นการกระทำอยู่เสมอ


ปรัชญา
 
 
ปรัชญา ( ปัญญา ) คือ " ความรู้ " ตามคติเดิมนั้น มักให้สัญลักษณ์แก่ปรัชญา เป็นดั่งดาบสองคมที่คมกริบ ในอันที่จะตัดความสับสนทั้งหลายออกไป แม้ โพธิสัตว์จะบำเพ็ญปารมิตาทั้งห้ามาอย่างพร้อมมูลก็ตาม แต่หากขาดปรัชญา การกระทำอื่น ๆ จะไม่สมบูรณ ในพระสูตรกล่าวไว้ว่า ปารมิตาทั้งห้าคือ แม่น้ำห้าสาย อันไหลไปสู่มหาสมุทร คือ ปรัชญา และยังมีที่กล่าวอีกว่า จักรวารทิน หรือจักรพรรดิแห่งสากลจักรวาล ย่อมออกรบในตำแหน่งแม่ทัพ แห่งกองทัพทั้งสี่ ถ้าขาดจักรพรรดิคอยนำทัพ กองทัพจะปราศจากทิศทาง กล่าวอีกนัยหนึ่ง ปรัชญาคือความรู้อันเป็นแบบแผนพื้นฐาน ที่กุศลธรรมอื่น จะตามมาและละลายรวมกันเข้า เป็นสิ่งที่ตัดบัญญัติทั้งหลายของโพธิสัตว์กิจ ออกเสีย ไม่ว่าจะเป็น ทาน ศีล หรือประการที่เหลือ โพธิสัตว์อาจจะประ กอบกิจของคนได้อย่างช่ำชองและเหมาะสม แต่ถ้าขาดความรู้เสียแล้ว ถ้า ปราศจากดาบที่จะใช้ตัดความลังเลสงสัย ( วิจิกิจฉา ) ทั้งหลายออกไปแล้ว กิจของเขาจะไม่อยู่ในขั้นโลกุตตระได้เลย ฉะนั้น ปรัชญาจึงเป็นความรู้ เป็นดวงตาที่เห็นรอบ อันตรงกันข้ามกับอาการของอัตตาที่คอยจับจ้องตัว เองกระทำสิ่งต่าง ๆ


โพธิสัตว์จะแปลงผู้เฝ้าดูหรืออัตตาให้เป็นความรู้อันจำแนกแจกแจง คือ ปรัชญา ปารมิตา " ปร " แปลว่า " ยิ่ง " " ชญ " แปลว่า " รู้ " คือ ความรู้ อันยิ่ง หมดจด แม่นยำ ซึ่งแลเห็นได้ทั่วถึง ( บาลี : " ป " กับ " อญญา " ) ความสำนึกรู้ที่ติดอยู่กับ " นี่ " และ " นั่น " จะถูกตัดผ่านอันจะก่อให้เกิด ความรู้สองนัย นัยหนึ่งคือปรัชญาที่รู้ อีกนัยหนึ่งคือปรัชญาที่เห็น


ปรัชญาที่รู้จะจัดแจงกับธรรมารมณ์ทั้งหลาย เป็นการตัดผ่านธรรมารมณ์ อันสับสนอันได้แก่ ทัศนะทั้งหลายที่เรามีต่อตัวเอง ฉะนั้น จึงเป็นการ เปิดเผยถึงสิ่งที่เราเป็น ปรัชญาที่เห็นคือการไปพ้นจากบัญญัติทั้งหลาย ที่มีต่อโลก แลเห็นสภาพการณ์ตามที่มันเป็น ฉะนั้น ปรัชญาที่เห็นจึงเป็น การพิจารณาถึงการจัดแจงสภาพการณ์ทั้งหลายด้วยวิธีที่ได้สมดุลที่สุด ปรัชญาเป็นการตัดผ่านความสำนึกรู้ที่แบ่งแยกแม้น้อยนิด ระหว่าง " นั่น " กับ " นี่ " ได้อย่างสิ้นเชิง นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมดาบจึงมีสองคม เพราะ มันไม่ได้ตัดแต่ทาง " นี้ " แต่ตัดทางนั้นด้วย " นั้น " ด้วยโพธิสัตว์จะไม่ ต้องกลัดกลุ้มอีกต่อไป เพราะได้ไปพ้นจากการแบ่งแยกระหว่าง " นี่ " กับ " นั่น " แล้ว เขาจึงเพียงแต่แล่นไปผ่านสภาพการณ์ทั้งหลายไป โดย ไม่ต้องหันกลับไปตรวจสอบ เพราะเหตุนี้ ปารมิตาหก จึงอิงอาศัยกัน
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 มกราคม 2554 16:59:17 »




ถาม : สมาธิภาวนา ตามความหมายของท่านนั้น เป็นเพียงการใส่ใจสิ่ง ที่เรากระทำอยู่ เป็นการเจริญสติอยู่เสมอ ใช่หรือไม่
 
 
ตอบ : ธยาน อันเป็นปารมิตาที่ห้า เป็นเพียงการกำหนดรู้อย่างมีสติ แต่ ธยานหรือปารมิตาอื่น ๆ ไม่อาจอยู่โดด ๆ ได้ หากปราชจากปรัชญาหรือ ความรู้ในขั้นโลกุตตระ ปรัชญาจะแปลงวิธีปฏิบัติกำหนดรู้ให้เป็นความ กระจ่างแจ้งในอีกแง่มุมหนึ่ง ให้เป็นสิ่งที่มีความหมายมากกว่าการเพ่ง เฉย ๆ ชนิดที่คุมจิตใจให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ อาศัย ปรัชญา สมาธิภาวนาจะเป็นการกำหนดรู้สภาพรอบข้างทั้งหมดในสภาพ การณ์หนึ่ง ๆ และปรัชญายังให้ผลในด้านความเที่ยงตรงและการเปิด ด้วยเช่นกัน คุณจะมีสติกำหนดรู้อยู่ทุกขณะ ทุกก้าว ทุกอิริยาบท และ ความเที่ยงตรงอันนี้ ความเรียบง่ายอันนี้ จะแผ่ขยายออกไปสู่การกำหนด รู้สภาพการณ์รอบข้างทั้งมวล สมาธิภาวนาจึงหาใช่การจดจ่ออยู่แต่สิ่งใด สิ่งหนึ่งไม่ หากหมายถึงการตื่นขึ้นต่อสภาพการณ์ทั้งหมดและรวมทั้ง การสัมผัสถึงความเรียบง่ายของเหตุการณ์นั้น ๆ สมาธิภาวนาไม่ได้เป็น เพียงการฝึกกำหนดรู้แต่ถ่ายเดียว คุณจะไม่พัฒนาญาณหยั่งรู้ที่จำเป็น ต่อการขยายการปฏิบัติของคุณออกไป แต่คุณจะต้องเปลี่ยนการกำหนดรู้ จากสิ่งหนึ่ง ไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง


การเจริญปรัชญานั้นเป็นดั่งการหัดเดิน แรกเริ่มคุณจะต้องหัดกำหนดรู้ที่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วเริ่มพัฒนาการกำหนดรู้นั้นให้เป็นสองสิ่ง แล้ว สาม สี่ ห้า หก เรื่อยไป จนที่สุดถ้าคุณต้องการเดินให้ดี คุณจะต้องหัดขยาย การกำหนดรู้ของคุณออกไป จนรวมเอาสภาพการณ์ทั้งหมดที่คุณอยู่ด้วยนั้น เข้าไว้ จนเกิดการกำหนดรู้ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นในสภาพการณ์เดียวกัน ที่จะ ทำให้เป็นเช่นนี้ คุณจะต้องไม่อิงอาศัยอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วคุณจะกำ หนดรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้


ถาม : หากเรามีความขัดแย้งกับคนอื่น จนความสัมพันธ์เป็นไปอย่างขัด เขิน เราจะทำอย่างไร
 
 
ตอบ : ถ้าคุณต้องการสื่อสาร ซึ่งก็คือ ทาน อันเข้มแข็ง คุณจะต้องใช้ปรัชญา คือ ความรู้มาค้นให้พบว่า เพราะเหตุใด คุณจึงสื่อสารไม่ได้ บางที่การสื่อ สารของคุณอาจจะเป็นไปในทางเดียว บางทีคุณอาจไม่เต็มใจรับการสื่อสาร จากอีกฝ่ายกระมัง บางทีคุณอาจจะมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะสื่อสาร จนทุ่มกำลังทั้งหมดมาใช้ในการสื่อสาร อันเป็นเหตุให้เขม็งเกลียว เป็นการ ทับถมคนที่คุณกำลังสื่อสารด้วย และเขาไม่อาจสื่อสารกลับมาหาคุณได้ คุณ อาจทำเช่นนั้นด้วยความปรารถนาดีก็เป็นไปได้ แต่เราจะต้องระวังระไวต่อ สถานการณ์ทั้งหมด ยิ่งกว่าจะถนัดแต่โยนอะไรใส่คนอื่น เราจะต้องหัดมอง จากทัศนะของฝ่ายตรงข้ามด้วย เหนือสิ่งอื่นใด เราจะต้องรู้จักใช้ที่ว่างและ การเปิด อันแท้จริง แรงผลักดันที่อยากเปลี่ยนให้คนอื่นคิดเหมือนกับเรานั้น เป็นเรื่องที่ยากจะต้าน เราจึงมักเป็นเช่นนี้อยู่บ่อย ๆ แต่เราจะต้องระมัดระวัง ไม่ให้มันหนักข้อจนเกินไป และหนทางเดียวที่จะทำเช่นนี้ได้ ก็คือการรู้จัก ใช้ที่ว่างและการเปิด


ถาม : อะไรที่ทำให้เราละความพยายามอยากได้
 
 
ตอบ : การค้นพบความจริง ว่าคุณไม่อาจเป็นโพธิสัตว์ได้หากคุณยังไม่ละ ความต้องการที่จะเป็นอะไรต่อมิอะไรทิ้งเสีย ซึ่งก็ไม่ใช่การเล่นเกมกับตัว เอง คุณเพียงแต่ต้องยอมจำนน ต้องเปิดอย่างแท้จริง เมื่อคุณเห็นได้ว่าจะ ยอมคลายได้ฉันใด จะเกิดแรงบันดาลใจให้คุณก้าวต่อไป เมื่อคุณได้ประ สบกับการตรัสรู้น้อย ๆ ในใจแม้จะเพียงในเสี้ยววินาทีหนึ่ง นั่นจะสร้าง ความต้องการและความพากเพียรที่จะก้าวต่อไปในมรรคได้อย่างมหันต์ แล้วเราจะเริ่มตระหนักว่า การที่จะก้าวไปข้างหน้าได้ เรายังต้องละทิ้ง ความคิดเกี่ยวกับการก้าวไปข้างหน้าเสียด้วย โพธิสัตว์มรรคนั้นมีอยู่ ๑o ลำดับขั้นและแบ่งเป็น ๕ สาย ถึงขั้นสุดท้าย คุณจะฉุกคิดได้ว่า คุณ กำลังจะให้กำเนิดแก่ภาวะการตรัสรู้ได้ คุณกำลังจะแผล็บเข้าไปได้ แต่ แล้วกลับมีบางอย่างดึงคุณกลับมา คุณจะตระหนักได้ว่า สิ่งเดียวที่ยังดึง คุณกลับมาก็คือความพยายาม คุณจะต้องเลิกพยายาม นั่นเป็นสมาธิดั่ง วัชระ เป็นการถอดถอนอย่างสิ้นเชิงซากของความทะยานอยากทั้งปวง


ถาม : โดยทั่วไป การไม่ใส่ใจมักเป็นความเฉื่อยชาด้วย ถ้าเราไม่ได้ใส่ใจ กับอะไรเลย อย่างที่โพธิสัตว์กระทำ เราจะมิเป็นท่อนไม้ไปหรือ
 
 
ตอบ : การไม่ใส่ใจ ไม่ได้หมายความว่า เราจะกลายเป็นหิน หรือแมงกระ พรุน หากยังมีพลังอยู่ แต่ในสายตาของคนใส่ใจ พอประสบกับความอยาก หรือความขัดเคือง เราจะไม่แสดงออก แต่พยายามควบคุมตนให้สงบ เรา จะไม่แสดงออก ถ้าเราทำเช่นนั้นไปไม่ได้ เราจะรู้สึกตกต่ำ อึดอัดใจเหมือน ถูกหักหลัง นี่นับเป็นการมองพลังด้านเดียว


พลังคือวิริยะ หาใช่แสดงออกมาในแง่คุมสถานการณ์อยู่หรือไม่อยู่ล้วน ๆ ไม่ แต่ยังมีพลังที่ไปไกลกว่านั้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความรักหรือความเกลียด พลังเยี่ยงนี้เป็นพลังแห่งความเที่ยงตรง คมชัด ที่มองทะลุสภาพการณ์ได้ แจ่มแจ้ง มีพลังบางประเภทที่เกิดแต่ความรู้ เกิดเป็นระลอก ๆ ชนิดที่เรา ไม่ยอมปล่อยให้ตนเองประสบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะเจาะ เรามักมองว่า ถ้าพลังนั้นไม่กระเจิดกระเจิงอย่างทำลายล้าง เราก็ต้องพยายามควบคุมมัน ไว้ แต่ยังมีพลังที่เหนือกว่านั้น เป็นพลังชนิดที่จะไม่เหนื่อยหน่ายแม้แต่ ขณะหนึ่ง หากคุณสามารถสัมผัสความเป็นจริงได้ตามที่มันเป็น พลังจะ ประทุขึ้นอยู่ตลอดเวลา ที่อยู่เหนือความหลง ไม่รู้จริงและจิตใจพื้น ๆ ที่ มองอะไรแง่เดียว


ถาม : แต่เราจะรู้จักจังหวะและวิธีใช้พลังได้อย่างไร
 
 
ตอบ : ถ้าคุณเห็นสภาพการณ์ได้อย่างแจ่มชัด กว่าที่เคยเป็นมา ถ้าคุณแล เห็นมันได้ตามที่มันเป็น คุณจะรู้จักจังหวะและวิธีใช้พลังได้เอง ก่อนหน้า นี้ คุณมักจะประทับตราความเห็นของคุณที่มีต่อความจริง ให้กับชีวิต ยิ่ง กว่าจะแลเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่มันเป็น ฉะนั้น เมื่อคุณเลิกทำเช่นนี้ได้ คุณ จะเห็นสภาพการณ์ตามที่เป็น ทำให้คุณสื่อสารกับมันได้อย่างเหมาะเจาะ และเต็มเปี่ยม คุณไม่ต้องบังคับตัวคุณให้ทำอะไรเลย จะเกิดการหมุนเวียน อย่างต่อเนื่อง เป็นการร่ายรำไปเรื่อย ๆ ประดุจดั่งอาทิตย์ฉายแสงและพืช พันธุ์ก็เจริญเติบโตขึ้น อาทิตย์ไม่ได้ปรารถนาจะสร้างพืชพันธุ์ขึ้น พืชพันธุ์ เพียงแต่นี้ ปฏิกิริยาต่อแสงอาทิตย์ แล้วสภาพการณ์ก็พัฒนาไปโดยธรรม- ชาติ


ถาม : อย่างเป็นไปเองหรือ
 
ตอบ : อย่างเป็นไปเอง ฉะนั้น จึงเที่ยงตรง ดั่งพืชพันธุ์เจริญงอกงามเป็น วิทยาศาสตร์ และตรงเป้า การกระทำของคุณจะเที่ยงตรงอย่างไม่จบสิ้น เพราะมันล้วนเป็นไปเอง


ถาม : สภาพการณ์จะเรียกร้องให้ก้าวร้าวได้หรือไม่
 
 
ตอบ : คิดว่าไม่ ที่เราก้าวร้าว เพราะเราพยายามปกป้องตนเอง ถ้าสภาพ การณ์กอปรด้วยคุณลักษณ์ที่เป็นปัจจุบัน เที่ยงตรง มันจะไม่หลุดมือไป ดอก เพราะเหตุนี้ จึงไม่ต้องบังคับควบคุม ไม่ต้องปกป้องตัวเอง

ถาม : แล้วในกรณีที่พระเยซูขับไล่พวกเจ้าหนี้หน้าโบสถ์ล่ะ
 
 
ตอบ : ผมว่านั้นไม่ได้เป็นการก้าวร้าว นั่นเป็นการกระทำที่ตรงต่อความ เป็นจริง เป็นการกระทำที่งดงาม มันเกิดขึ้นเพราะพระองค์เห็นสภาพ การณ์ได้อย่างเที่ยงตรงโดยไม่ต้องเฝ้าดูตัวเอง หรือพยายามเป็นวีรบุรุษ เราต้องกระทำเยี่ยงนั้น

ถาม : เราจะเปลี่ยนสภาพจิตจากที่เฉื่อย และเลยตามเลย มาเป็นสภาพจิต ที่กระฉับกระเฉง แยกแยะได้ดี ได้อย่างไร
 
ตอบ : ผมคิดว่า ประเด็นสำคัญอยู่ที่เราจะต้องมองมันด้วยวิธีอันต่างออก ไปอย่างสิ้นเชิง ความจริงผมเห็นว่าเราไม่ได้แลเห็นชีวิตประจำวันของเรา ได้อย่างเที่ยงตรง และคมชัด ดังที่เราเข้าใจดอก แต่เรามักสับสน เพราะ เราไม่ได้สิ่งเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เราทำอย่างไร แต่ใจของเราถูกอีกหลาย ร้อยอย่างครอบครองอยู่ ซึ่งทำให้พร่ามัวอย่างร้ายกาจ เราจะต้องเข้าหา ชีวิตประจำวันด้วยลักษณะที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ เราจะต้อง ปล่อยให้ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น เป็นญาณที่แลเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น แรก ทีเดียวญาณนี้อาจจะพร่ามัว เป็นเพียงการเห็นแวบหนึ่ง ช่างริบหรี่เสียจริง เมื่อเปรียบกับความสับสนอันมือมนอนธกาล แต่เมื่อญาณนี้คล่องแคล่ว และลึกซึ้งยิ่งขึ้นความพร่ามัวจะถูกผลักออกไป ถูกละลายออกจนหมดสิ้น

ถาม : การเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น ต้องอาศัยความเข้าใจในตัวผู้เห็น ด้วยหรือไม่
 
 ตอบ : แน่นอน นี่เป็นจุดหนึ่งที่น่าสนใจมาก คุณจะต้องอยู่ตรงดินแดนที่ ปราศจากผู้คน จึงจะเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นได้ การแลเห็นสิ่งทั้ง หลายตามที่มันเป็นได้ ต้องอาศัยการก้าวกระโดด เพราะเมื่อเราก้าวกระ โดดนั้น เราจะต้องมีตัวตนของเรากับระยะทางที่เราจะต้องก้าวกระโดด ฉะนั้น คุณจะแลเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นได้ก็ในเมื่อไม่ได้เมืองจากที่ ใดที่หนึ่ง อุปมาดั่ง เราย่อมรู้รสของลิ้นของเราไม่ได้ ขอให้ลองใคร่ครวญ ดู

ถาม : ที่ท่านพูดว่า จะแลเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นได้ก็ในเมื่อไม่ได้ มองจากที่ใดที่หนึ่ง แต่ในคัมภีร์พุทธก็ยังมีพุทธพจน์ว่าด้วยการข้ามฝั่ง น้ำ ท่านช่วยอธิบายได้ไหม
 
 
ตอบ : มันดูเหมือนคำพูดที่ขัดกันเอง ดั่งการไม่ได้ก้าวกระโดดจากที่ไหน พุทธพจน์เอ่ยถึงการข้ามฝั่งน้ำ เป็นของแน่ แต่คุณจะถึงฝั่งตรงข้ามได้ ก็ต่อ เมื่อคุณเห็นจริงได้ว่า ไม่มีฝั่งตรงข้ามอยู่ดอก พูดอีกนัยหนึ่ง เราเดินทาง สู่อมฤตนคร อันเป็นฝั่งตรงข้ามนั้น เราจะไปถึงได้ก้ต่อเมื่อเราเห็นจริงได้ ว่า แท้ที่จริงแล้วเราอยู่นี่นั่นมาตลอดเวลาทีเดียว ฟัง ๆ ดูขัดกันอยู่นะ
 
 
- จาก ลิงหลอกเจ้า โดย ท่านวัชรจารย์ ตรุงปะ รินโปเช -
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2554 08:48:04 »




ยิ้ม  อายจัง  ยิ้ม

อนุโมทนาสาธุนะคะ คุณมด ขอบพระคุณค่ะ...



บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ลิงหลอกเจ้า : ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ( โดย เชอเกรียม ตรุงปะ )
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 3 11250 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2553 19:52:13
โดย มดเอ๊ก
ลิงหลอกเจ้า : อริยสัจสี่
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 2 2807 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2554 08:45:00
โดย เงาฝัน
ลิงหลอกเจ้า : ศูนยตา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 3 3299 กระทู้ล่าสุด 04 มีนาคม 2554 19:52:04
โดย เงาฝัน
ลิงหลอกเจ้า : ปรัชญา และ กรุณา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 2 2521 กระทู้ล่าสุด 14 มกราคม 2554 10:25:11
โดย เจ้าทึ่ม
ลิงหลอกเจ้า ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ (น่าอ่านทั้ง 2 ฉบับ)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2575 กระทู้ล่าสุด 02 พฤศจิกายน 2560 05:17:10
โดย monopoly6688
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.42 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 02:43:16