[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 02:21:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พลังแห่งกรุณาคือการเยียวยาสูงสุด ( ผู้เขียน ลามะโซปะ ริมโปเช )  (อ่าน 1419 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มกราคม 2554 09:32:46 »




คำนิยม 


หนังสือเล่มนี้มิใช่เป็นเรื่องของการเยียวยารักษาความเจ็บป่วยทางกายเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาที่ลึกซึ้งกว้างไกลกว่านั้น ได้แก่การเยียวยาความเจ็บป่วยทางจิต รวมถึงการขจัดความทุกข์ทางใจ ความเจ็บป่วยทางกายอาจเกิดขึ้นกับเรานาน ๆ ครั้ง แต่ความทุกข์ทางใจนั้นเกิดขึ้นกับเราเป็นนิจ หนังสือเล่มนี้จึงมิได้เหมาะแก่ผู้ป่วยเท่านั้น หากยังเป็นประโยชน์แก่เราทุกคนด้วยแม้จะยังไม่มีโรคภัยไข้เจ็บก็ตาม

โอสถนั้นมีหลายชนิด แต่โอสถสำคัญที่ผู้คนยุคนี้มักมองข้ามไปคือ ธรรมโอสถ โดยเฉพาะเมตตากรุณา หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่าเมตตากรุณานั้นมีอานุภาพอย่างยิ่งในการเยียวยารักษาทั้งทางกายและใจ เมตตากรุณาดังกล่าวมิได้หมายถึงเมตตากรุณาของผู้รักษา (และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือเท่านั้น) หากยังรวมถึงเมตตากรุณาในใจเราด้วย

ผู้เขียนได้ย้ำว่า จิตที่เป็นอกุศล โดยเฉพาะความเห็นแก่ตัว เป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์ทั้งปวงไม่ว่าทางกายหรือทางใจ ดังนั้นการบำเพ็ญเมตตาภาวนา อาทิ การแผ่เมตตาจิตให้แก่สรรพสัตว์ การไถ่ชีวิตสัตว์ รวมทั้งการน้อมรับความทุกข์ของผู้อื่นมาไว้ที่ตัวเรา และถือว่าเรากำลังแบกรับความทุกข์แทนสรรพสัตว์นั้น จึงเป็นวิธีการเยียวยาความทุกข์ทั้งกายและใจที่ทรงพลานุภาพ

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ มิได้อยู่ที่เทคนิคหรือวิธีการเยียวยา (ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมากและอิงพิธีกรรมที่คนไทยไม่คุ้นเคย) แต่อยู่ที่มุมมองต่อความเจ็บป่วยโดยโยงไปถึงทัศนคติต่อชีวิต และการใช้ความเจ็บป่วย(และความทุกข์ชนิดอื่น ๆ รวมทั้งความตาย) มาเป็นอุบายในการเปิดใจให้เราลดละความเห็นแก่ตัว และนึกถึงประโยชน์สุขของสรรพชีวิต จนละวางความยึดติดถือมั่นในตัวตน อันเป็นหนทางสู่ความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง ด้วยวิธีการดังกล่าว (ซึ่งพุทธศาสนาเรียกว่าอุปายโกศล) หลายคนจึงมิเพียงหายป่วยจากโรคร้ายเท่านั้น แต่ชีวิตจิตใจยังมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความทุกข์น้อยลง และเอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมโลกมากขึ้น มองในแง่นี้ความเจ็บป่วยและความทุกข์ทั้งปวง(รวมถึงสิ่งที่มิพึงปรารถนา เช่น ศัตรู คำตำหนิ) จึงมิใช่สิ่งเลวร้ายในตัวเอง หากยังมีประโยชน์ในการบ่มเพาะให้เราเกิดปัญญาและกรุณา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราพึงน้อมรับ แทนที่จะปฏิเสธผลักไส ซึ่งมีแต่จะทำให้เราทุกข์ยิ่งกว่าเดิม

สำหรับชาวพุทธที่คุ้นกับพุทธภาษิตว่า “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วที่ใจ” หนังสือเล่มนี้ย่อมย้ำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของใจอันได้แก่ความรู้สึกนึกคิด อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงความเจ็บป่วยทางกายแล้ว พุทธศาสนาแบบเถรวาทมิได้มองว่ามีสาเหตุมาจากอกุศลกรรมในจิตใจประการเดียวเท่านั้น หากยังสามารถเกิดจากเหตุปัจจัยอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ดังพระสารีบุตรเคยจำแนกว่า สมุฏฐานของโรคนั้นมีมากมาย อาทิ ดี เสมหะ ลม ฤดูแปรปรวน การบริหารไม่สม่ำเสมอ ความเพียรเกินกำลัง ผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ฯลฯ ดังนั้นในการเยียวยารักษาโรคจึงควรคำนึงถึงเหตุปัจจัยเฉพาะกรณีด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ไม่ควรเหมารวมให้เป็นเรื่องของกรรม(เก่า)เสียหมด อย่างไรก็ตามจิตที่เป็นกุศล โดยเฉพาะจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา นึกถึงประโยชน์สุขของผู้อื่นยิ่งกว่าความทุกข์ของตนเอง ย่อมช่วยเยียวยากายและใจให้ดีขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

ท่านลามะโซปะ ริมโปเช ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์และแนวคิดของท่านด้วยภาษาและขนบของพุทธศาสนานิกายวัชรยาน ซึ่งคนไทยอาจไม่คุ้นเคย แต่หากจับสารัตถะได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตและจิตใจของตนเอง แต่ในเวลาเดียวกันก็พึงตระหนักว่าคัมภีร์หรือเรื่องราวในพุทธศาสนาที่ท่านผู้เขียนได้อ้างอิงนั้น มีบางส่วนที่ไม่ตรงกับของฝ่ายเถรวาท จึงขอให้ตราไว้ว่าส่วนนั้น ๆ เป็นทัศนะจากฝ่ายวัชรยานหรือทัศนะส่วนตัวของท่านผู้เขียน

หนังสือเล่มนี้หากอ่านแล้วนำไปปฏิบัติ ไม่ว่าท่านจะป่วยหรือไม่ก็ตาม เชื่อแน่ว่าเมตตากรุณาในใจท่านจะเจริญงอกงาม และหากถึงคราวต้องประสบกับความเจ็บป่วยหรือความพลัดพรากสูญเสีย เมตตากรุณาดังกล่าวจะบรรเทาความทุกข์หรือแปรให้กลายเป็นความสุข อีกทั้งยังสามารถเพิ่มพูนปัญญาให้มากขึ้น จนเห็นชัดว่าความทุกข์นั้นเป็นธรรมดาโลก เพียงแค่ยอมรับมันตามที่เป็นจริง ใจก็ไม่เป็นทุกข์อีกต่อไป

พระไพศาล วิสาโล
๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๓

http://www.visalo.org/prefaces/palangYeawya.htm

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ฝันเห็นเสือ (จาก “การเห็นทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2852 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2553 18:47:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
การละวางจากตัวตน โดย ท่านกุงกา ซังโป ริมโปเช
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2174 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2553 18:50:10
โดย หมีงงในพงหญ้า
ปาฐกถาธรรม ศิลปะแห่งการอยู่และการตาย โดย ท่านโซเกียล ริมโปเช
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 1861 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2559 21:38:00
โดย มดเอ๊ก
พิธีมนตราภิเษกเพื่อให้มีอายุยืนยาว(พระอาจารย์ลาตรี เคนโปเกเช ญีมาทรักปา ริมโปเช)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 965 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2559 00:49:27
โดย มดเอ๊ก
การเจริญปัญญาแบบทิเบต โดย พระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเช
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1137 กระทู้ล่าสุด 06 กรกฎาคม 2559 13:20:28
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.292 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 มกราคม 2567 14:18:54