[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 01:01:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อานุภาพพระพุทธมนต์  (อ่าน 6856 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 16:23:24 »




อานุภาพพระพุทธมนต์
ผศ.ประพันธ์ กุลวินิจฉัย

การสวดมนต์หรือเจริญพุทธมนต์

เป็นพิธีกรรมที่พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติเป็นกิจวัตรมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
แต่ในประเทศไทยนั้นพุทธศาสนิกชนไทยมีศรัทธาเชื่อมั่นในพิธีนี้มากเพราะถือว่าทำให้เกิดศิริมงคลแก่ชีวิต
และครอบครัว ถ้าพูดถึงความเป็นมาของการสวดมนต์แล้วมีตำนานกล่าวขานไว้หลายตำนาน ดังจะนำมากล่าวต่อไป

แต่ปราชญ์ได้แบ่งการสวดมนต์ของพระภิกษุสงงฆ์ไว้ ๒ แบบ คือ

๑. สวดเพื่อรักษาสืบทอดพระศาสนา

ผู้ที่ฟังพระสวดมนต์เมื่อฟังแล้วรู้สึกอัศจรรย์และศรัทธาเพราะสามารถจำบาลีได้และสวดได้ยาวนานโดยพร้อมเพร
ียงกัน แต่ถ้าย้อนไปดูตามประวัติแล้ว พระอรหันตสาวก เช่นพระมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ
และพระอานนท์เถระ สามารถสวดสาธยาย พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ทั้ง ๘๔,๐๐๐
พระธรรมขันธ์ ครั้งปฐมสังคายนา และสามารถจำสืบทอดกันมาเรียกว่า มุขปาฐะ
นับว่าในยุคพระอริยสงฆ์มีความทรงจำเป็นเลิศและสืบเนื่องกันมานับพันปี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 16:30:05 »


๒. สวดสาธยาย เพื่อคุ้มครองป้องกันรักษา ภยันตรายเรียกว่าการ “สวดพระปริตร”
ในยุคสมมติสงฆ์ต่อมานั้นการสวดมนต์ย่อลงให้สั้นเพื่อให้เหมาะสมกับเวลา

และสืบทอดกันมาแต่ละสำนักก็มีบทสวดมนต์เป็นของตนเอง ยิ่งมีการสวดมนต์แบบนิกายต่าง ๆ
ก็ยิ่งมีมากผสมผสานกับศาสนาต่างๆโดยเฉพาะศาสนาฮินดูก็มีอิทธิพลต่อการแข่งขันกัน

เพื่อแย่งศาสนิกจึงไม่เป็นเอกภาพ

ต่อมาคณะสงฆ์ในประเทศศรีลังกาเห็นว่าพระปริตรนั้นยังมีประโยชน์ต่อจิตใจของพุทธศาสนิกชนอยู่
จึงได้จัดให้เป็นหมวดหมู่ขึ้นมาให้ใกล้เคียงครั้งพุทธกาลมากที่สุด

โดยเริ่มแรกนั้นได้ช่วยกันค้นหาในพระไตรปิฎก เลือกเอาพระสูตรต่าง ๆและปาฐะ
พระคาถาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย อันมีตำนานอ้างว่า เกิดขึ้นด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ

นำมาเป็นบทสวดมนต์

เช่นรัตนสูตรซึ่งมีตำนานว่าพระอานนท์เคยถือคุณพระรัตนตรัยระงับโรคระบาดอันเกิดแต่อดอยาก
ที่เมืองเวลาลีเป็นต้น จนแพร่หลายเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนในลังกาทวีป
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 16:36:21 »


[๑]จนมาถึง พ.ศ. ๙๐๐ พระเถระทั้งหลาย มีพระเรวัตตเถระเป็นประธานช่วยกันสำรวจพระปริตรต่าง ๆ
เรียบเรียงไว้ เป็นคัมภีร์ เรียกว่า “ภาณวาร”

สันนิษฐานว่าเป็นตำราสำหรับพระสงฆ์ท่องจำและสวดพระปริตรให้เป็นแบบแผนอันเดียวกัน
เมื่อเกิดมีคัมภีร์ภาณวารอันรวบรวมพระพุทธมนต์ทุกอย่างอยู่ในนั้น

ก็เป็นธรรมดาที่คนทั้งหลายจะปรารถนาให้พระสงฆ์ สวดพระพุทธมนต์ตลอดทั้งคัมภีร์ภาณวาร ในเมื่อทำพิธีสำคัญ
แต่คัมภีร์ภาณวารยืดยาวมีพระปริตรต่าง ๆถึง ๒๒ เรื่อง จัดได้เป็น ๔ ภาค

กว่าจะสวดตลอดเป็นเวลานานกว่าครึ่งวัน จึงต้องคิดหาวิธีสวดภาณวารขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ คิดนิมนต์คณะสงฆ์
ให้ผลัดกันสวดคราวละ ๔ รูปและบางที่จะมีพระเถระผู้เชียวชาญนั่งกำกับตรวจทานด้วยอีกรูปหนึ่ง

(เหมือนอย่างภาณวารที่ไทยเราใช้เป็นแบบอยู่ทุกวันนี้)มีหลักฐานว่าชาวลังกานับถือคัมภีร์ภาณวารมาก
จึงมีพระมหาเถระองค์หนึ่งนามว่า พระอโนมทัสสีแต่งอัฏฐกถาอธิบายคุณภาณวาร ขึ้นอีกคัมภีร์หนึ่ง

ให้ชื่อว่า สารัตถสมุจจัย เป็นคัมภีร์จำนวนหนังสือถึง ๓๓ ผูก ใบลาน(แปลเป็นภาษาไทยเมื่อรัชกาลที่ ๓
และหอพระสมุดได้จัดพิมพ์แล้ว) ก็ในพงศาวดารลังกาว่ามีพระอโนมทัสสี เป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง

อยู่ในรัชกาลพระเจ้าบัณฑิตปรกมพาหุ ซึ่งเสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๙ ถ้าเป็นองค์เดียวกันก็เป็นหลักฐาน
อีกอย่างหนึ่งว่า คัมภีร์ภาณวารเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ๑๘๐๙ บางทีก่อนนั้นหลายร้อยปี
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 16:42:27 »


เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน

เจ็ดตำนานสิบสองตำนานหรืออีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “ปริตร”
ปริตรหรือปริตต์ที่พระสงฆ์ไทยเราใช้สวดกันอยู่ปัจจุบัน คำว่า ปริตร หรือ “ปริตต”

แปลว่าคุ้มครอง,ป้องกัน, รักษา หรือเครื่องคุ้มครองป้องกัน
ในประวัติความเป็นมาก็ได้กล่าวแล้วในเรื่องภาณวารและสารัตถสมุจจัย

ซึ่งกลายมาเป็นคัมภีร์อีกคัมภีร์หนึ่งเรียกว่า “ราชปริตร” สันนิษฐานว่าเกิดขึ้น
เพราะพระราชประสงค์ของพระเจ้าแผ่นดินในลังกาทวีป

ด้วยการสวดแบบเดิมนั้นกินเวลามากจึงมาหาวิธีที่จะให้สั้นลงซึ่งบางที่งานหลวง
หรืองานพระราชพิธีนั้นต้องการให้มีการสวดมนต์ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่พระนคร และบ้านเมือง

ดังนั้นพระสงฆ์จึงเลือกพระปริตรต่าง ๆ ที่มีในภาณวารเป็นหลักและเพิ่มคาถา
ที่นิยมเห็นว่า นิยมกันมาก ๆ มาสวดกันกลายมาเป็นราชปริตร ดังกล่าว เพื่อใช้ในงานหลวง

เรื่องราชปริตรเป็นที่นิยมกันแพร่หลายไปทั่วถึงแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่า
ต่างก็พากันใช้ตามแบบอย่างพิธีหลวงสืบมา จนกลายมาเป็น ๒ ตำนาน

คือ “จุลปริตร”(เจ็ดตำนาน) และ “มหาปริตร”(สิบสองตำนาน)

มีข้อสันนิษฐานว่าในครั้งโบราณมานิยมสวดเจ็ดตำนานมากกว่า สำหรับสิบสองตำนานนั้น
มักจะสวดกันในงานใหญ่ ๆ หรืองานหลวง ดังนั้น จึงขอจัดเป็นหมวดหมู่ให้ดู ดังนี้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 16:51:43 »


[๒] เจ็ดตำนาน(จุลปริตร) สิบสองตำนาน(มหาปริตร)

๑. มงคลสูตร      ๑. มงคลสูตร

๒. รัตนปริตร       ๒. รัตนปริตร

๓. กรณียเมตตสูตรหรืปริตร      ๓. กรณียเมตตสูตรหรือปริตร

๔. ขันธปริตร      ๔. ขันธปริตร

๕. โมรปริตร       ๕. โมรปริตร

๖. ธชัคคปริตร     ๖. วัฏฏกปริตร

๗. อาฏานาฏิยปริตร      ๗. ธชัคคปริตร

(บางครั้งใช้อังคุลิมาลปริตรแทน)

๘. อาฏานาฏิยปริตร

๙. อังคุลิมาลปริตร

๑๐. โพชฌังคปริตร

๑๑. อภยปริตร

๑๒. ชยปริตร
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 17:00:26 »


ภาษาบาลีเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์

สาเหตุที่ใช้ภาษาบาลีเป็นบทสวดพระปริตร เนื่องจากชาวพุทธมีความเชื่อว่า “ภาษาบาลีหรือมคธ”
เป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ สามารถสวดเพื่อให้เกิดอานุภาพคุ้มครอง ปกป้อง รักษา

เนื่องจากในบทพระปริตรนั้นนอกจากเป็นพุทธพจน์แล้ว
ยังมีคาถาของบรรดาเทวดาที่เป็นสัมมาทิฏฐ์  ผูกเป็นคาถาแล้วนำมาถวายพระพุทธเจ้า

เพื่อให้พระสงฆ์ได้เรียนกันแล้วนำไปสวดสาธยายเป็นการป้องกันนภยันตรายให้พระภิกษุสงฆ์
ผู้บำเพ็ญสมณธรรมมิให้มีเภทภัยมารบกวน

ยกตัวอย่าง เช่น คาถาของท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร ชื่อ อาฏานาฏิยปริตร (ภาณยักษ์)
คาถาท้าวสักกะ  ยานิธ ภูตานิ…..ฯลฯ จากรัตนปริตร และจากธชัคคปริตร เช่นตอน อิติปิ โส ภควา… เป็นต้น

นับว่ามีคาถาจากเทวดาทั้งหลายนำทูลถวายพระพุทธองค์เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนามิให้ถูกย่ำยี

และอีกอย่างหนึ่ง ภาษามคธ ถือกันว่า เป็นมูลภาษา
หมายถึงภาษาดั้งเดิมเพราะเป็นภาษาที่   เสฏฐบุคคล ๔ จำพวก  ใช้พูด ได้แก่

 ๑ อาทิกัปปิกบุคคลคือคนที่เกิดต้นกัปป์
 ๒. พรหม เทวดาชั้นเทวภูมิ
๓. อสุตาลาปบุคคล คือ คนที่ยังไม่เคยได้ฟังภาษาใด ๆมาเลย
๔. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสเป็นภาษามคธทั้งสิ้น

ดังพระบาลีอ้างอิงนี้ ว่า

[๓]สา มาคธี มูลภาสา นรา ยายทิกัปปิกา
พฺรหฺมาโณ จสฺสุตาลาปา สมฺพุทธา จาปิ ภาสเร.
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 17:29:40 »


การฟังพระเจริญพระพุทธมนต์

โบราณาจารย์ ให้ความเห็นว่า
การฟังพระสวดมนต์หากเป็นภาษาบาลีจะดีกว่าแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาต่าง ๆ
เพราะการฟังพระสวดนั้นจะก่อให้เกิดสมาธิในการฟัง ทำให้มีใจจดจ่ออยู่กับบทสวด
จากพระสงฆ์
และ ศรัทธาเชื่อว่านี่คือ พุทธพจน์

อย่างไรก็ตามการฟังสวดมนต์จะเป็นภาษาบาลีหรือสวดมนต์แปลก็ตามย่อมมีอานิสงส์
ก่อให้เกิดผลดีติดตัวไปทั้งภพนี้และภพหน้า นอกจากนั้นยังได้รับอานุภาพจากพุทธมนต์

คุ้มครอง ปกป้องรักษาให้มีสวัสดิมงคลแก่ชีวิต เพราะปุถุชนนั้นในการดำเนินชีวิตให้อยู่รอดไปแต่ละวัน
ย่อมต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้อยู่บนโลกนี้ได้อย่างทัดเทียมผู้อื่น

มีการแข่งขันกันทุกรูปแบบตามแต่กิเลสจะพาไป การทำกรรมจึงเลี่ยงไม่ได้ทั้งที่เจตนาและไม่เจตนา
เพราะฉะนั้นจึงต้องมีศาสนาเป็นเครื่องคอยเตือนสติมิให้ถลำลึกไปมาก

พิธีกรรมของพระสงฆ์เป็นด่านแรกที่ทำให้ผู้ที่ยังไม่รู้จักศาสนามีโอกาสได้เข้ามาเห็นธรรมะ
โดยมีพิธีกรรมเป็นเครื่องชักนำ

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้กล่าวถึงเทวดา
ในบทสวดมนต์ต่างๆมักจะกล่าวถึงเทวดาเสมอ

แม้แต่ยักษ์ก็ถือว่าเป็นเทพเช่น ท้าวกุเวร ก็ถือว่าเป็นเทพ ที่คอยปกป้องพระพุทธศาสนา
จนพุทธศาสนิกชนที่เห็นความสำคัญปั้นรูปยักษ์ไว้ตามวัดวาอารามเช่นยักษ์วัดโพธิ์ ยักษ์วัดแจ้งเป็นต้น


อ้างอิง

[๑] ตำนานประปริตร หอสมุดแห่งชาติ หน้า ๕-๖
[๒] ธนิต อยู่โพธิ์ อานุภาพพระปริตร หน้า ๑๔
[๓] เสนาะ ผดุงฉัตร ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดีบาลี

 ยิ้ม  http://www.mcu.ac.th/En/articlecontent_desc.php?article_id=224&articlegroup_id=65


ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 17:31:04 »

http://img218.imageshack.us/img218/7941/38757e596cc7e58f4b9e3a8wp3.gif
อานุภาพพระพุทธมนต์


ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม


(:LOVE:)ภาพของ เจ๊ เงาฝัน สวยจังเลย รัก


大悲咒(道證法師梵音教學)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 มีนาคม 2553 17:33:18 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.261 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มีนาคม 2567 20:22:33