[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 03:48:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา  (อ่าน 1308 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5469


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2558 15:22:32 »



http://www.sookjaipic.com/images/3911895466_4.JPG
ความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา


ความเป็นมา
ของวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา


วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา เกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  ก่อนวันเข้าพรรษา ๑ วัน  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ  พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ เป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา

เมื่อจบพระธรรมเทศนา ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน เกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะ (๑ ใน ๕ ปัญจวัคคีย์) ว่า  “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา”  ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน  ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบทให้ด้วยพระดำรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุ มาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด”  ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ โกณฑัญญะ ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา และการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา

และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันเป็นวันวงล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และเป็นวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกอีกด้วย

อาสาฬหบูชา  คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬห ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๘ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ 

อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘  อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง

หลังจากสมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออก
เป็น ๔ ประเภท (บัว ๔ เหล่า*) คือ
๑.อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒.วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓.เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔.ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม
(*ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก ท่านยืนยันว่าในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงจำแนกบุคคลไว้ ๓ จำพวกเท่านั้น)

จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง ๒ ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ต่อมาได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้เรียกว่าธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมีอริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่
๑.ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๒.สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓.นิโรธ ความดับทุกข์
๔.มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา" หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเกิดปรากฏการณ์สำคัญๆ ในวันนี้ถึง ๔ ประการด้วยกันคือ
๑.เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
๒.เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
๓.เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
๔.เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะสาม หรือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ



แห่เทียนเข้าพรรษา สมัยรัชกาลที่ ๕ (ภาพ-หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา ถือเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘  เป็นเดือนที่ภิกษุสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา

ประเพณีวันทำบุญเข้าพรรษา ถือกันมาแต่โบราณครั้งพุทธกาล เพราะเป็นฤดูฝน เมื่อฝนตกเป็นการลำบากที่ภิกษุจะสัญจรไปมา ไม่ได้รับความสะดวก และบางครั้งพระภิกษุสงฆ์อาจเดินเข้าไปในเรือกสวนไร่นา เหยียบย่ำข้าวกล้า พืชผักของชาวบ้านได้รับความเสียหาย  ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำที่หรือเข้าพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ และในระหว่างเข้าพรรษา พระภิกษุสามเณรจะได้ถือโอกาสเล่าเรียนพระธรรมวินัยต่างๆ เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องดีงามและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ 

ในระหว่างเข้าพรรษาพระภิกษุสามเณรจะไปพักค้างคืนที่อื่นไม่ได้  การไปค้างคืนนอกวัดในระหว่างอยู่จำพรรษาของพระภิกษุสามเณรจะไปได้เมื่อมีเหตุจำเป็นด้วยสัตตาหกรณียะ* ได้ ๗ วัน ได้แก่
๑.ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้
๒.ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก
๓.ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น
๔.ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้
(* พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์  พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))

แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจจะลักษณะอนุโลมตามนี้ก็ไปค้างที่อื่นได้ และการไปในกรณีดังกล่าวต้องกลับมาภายใน ๗ วัน หมายความว่าไปได้ไม่เกิน ๗ วันนั่นเอง

มูลเหตุที่มีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์เข้าพรรษา
เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งพุทธกาลเมื่อพระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่เวฬุวันกลันทะกะนิวาปะสถาน ณ เมืองราชคฤห์ มีพระสงฆ์พวกหนึ่งเรียกว่า “ฉัพพัคคีย์” เที่ยวไปมาตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ไม่ได้หยุดพักเลย เมื่อคราวฝนตกแผ่นดินชุ่มด้วยน้ำฝน ก็เที่ยวเหยียบย่ำข้าวกล้าและหญ้าระบัดเขียว ทั้งสัตว์เล็กๆ เป็นอันตราย  ประชาชนทั่วไปต่างพากันติเตียนว่า แม้แต่พวกเดียรถีย์ปริพาชกเขายังหยุด ที่สุดแม้นกยังรู้จักทำรังอาศัยบนยอดไม้หลบหลีกฝน  แต่พระสมณะศากยะบุตรไฉนจึงเที่ยวอยู่ได้ทั้งสามฤดู เหยียบย่ำพืชผล และสัตว์เล็กๆ ให้เสียหายและล้มตายไปเป็นอันมากเช่นนี้  เมื่อภิกษุทั้งหลายได้ยินคำติเตียนเช่นนั้น จึงนำความมากราบทูลพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าจึงทรงให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน คือไม่อนุญาตให้เดินทางไปค้างแรมที่อื่น ๓ เดือน  ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  ซึ่งระยะเวลานี้เรียกว่า พรรษาแรก  แต่ถ้าภิกษุรูปใดไม่สามารถเข้าพรรษาได้ตามกำหนดดังกล่าว อาจเข้าพรรษาตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เป็นต้นไปจนครบ ๓ เดือนก็ได้ เรียกว่า พรรษาหลัง  ในระหว่างเข้าพรรษาให้พระภิกษุอยู่ในวัดแห่งเดียว ไม่อนุญาตให้ไปพักแรมที่อื่นตลอด ๓ เดือน  ถ้าพระภิกษุเที่ยวไปกลางพรรษา หรืออธิษฐานจำพรรษาแล้วอยู่ครบ ๓ เดือนไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฎ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ปกติไปได้ไม่เกิน ๗ วัน

ประเพณีให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา คือ อยู่ในวัดแห่งเดียว ไปค้างที่ไหนไม่ได้ ๓ เดือน จึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การทำบุญเข้าพรรษา
เมื่อถึงวันทำบุญเข้าพรรษา ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาต่างก็จัดอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ ไปถวายพระสงฆ์ บางคนก็นำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ มีไตรจีวร ตั่งเตียง ยารักษาโรค ผ้าห่มนอน ตะเกียง ธูปเทียน เป็นต้น ไปถวาย โดยเฉพาะของใช้ให้แสงสว่าง เช่น เทียน ตะเกียงน้ำมัน เป็นต้น ชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเชื่อว่าการถวายทานแสงสว่างแด่พระภิกษุสงฆ์จะได้อานิสงส์แรง ทำให้ได้ตาทิพย์และปัญญาดี

เทียนพรรษา
ก่อนวันเข้าพรรษา ทางวัดจะเที่ยวบอกบุญชาวบ้านขอให้ไปหาขี้ผึ้งมาหล่อเป็นเทียน โดยจัดทำเป็นเล่มหรือแท่งขนาดใหญ่ และทำเป็นต้น เรียกว่า ต้นเทียน มีการประดับประดาอย่างสวยงาม พอถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ก็พากันแห่ไปถวายวัด บางแห่งแบ่งการหล่อเทียนออกเป็นคณะ มีการฟ้อนรำ และการละเล่นพื้นเมืองประกอบ สนุกสานเฮฮากัน  เมื่อไปถึงวัดก็มีการทำพิธีถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝนและบริวารอื่นๆ  แด่พระภิกษุสามเณร และมีการฟังเทศน์ด้วย บางแห่งชาวบ้านชายหญิงสวดบทธรรมเป็นทำนองสรภัญญะ เริ่มแต่อาราธนาศีล อาราธนาธรรม ตลอดจนบทเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติ และพรรณนาถึงคุณของผู้มีอุปการคุณ ซึ่งมีท่วงทำนองไพเราะจับใจมาก ทำให้ผู้สวดและผู้ฟังมีจิตใจสงบสุข

ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าอาบน้ำฝน คือผ้าที่พระภิกษุใช้นุ่งอาบน้ำ คืออนุโลมตามสีจีวร ขนาดยาว ๔ ศอก ๑ กระเบียด กว้าง ๑  ศอก ๑ คืบ ๑ กระเบียด ๒ อนุกระเบียด ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงกลางเดือน ๘ เป็นเวลาที่พระภิกษุแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ผู้มีศรัทธาอาจถวายผ้าอาบน้ำฝนได้ตามกำหนดนี้ แต่โดยมากนิยมถวายกันในวันเพ็ญเดือนแปด

มูลเหตุที่มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
สมัยก่อน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน คือเท่านั้น คือมีอุตราสงค์หรือจีวร (ผ้าห่ม)  อัตราวาสกหรือสบง (ผ้านุ่ง)  และสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อน)   ครั้นถึงฤดูฝนพระภิกษุบางรูปจะอาบน้ำฝนไม่มีผ้าจะนุ่งอาบ จึงเปลือยกายอาบน้ำฝน วันหนึ่ง นางวิสาขาใช้สาวใช้ไปวัดขณะฝนตก สาวใช้เห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน จึงกลับมาเล่าให้นางวิสาขาฟัง  นางวิสาขาจึงกราบทูลพระพุทธเจ้าขอถวายผ้าอาบน้ำฝน พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุใช้ผ้าอาบน้ำฝน และถือเป็นวัตรปฏิบัติตั้งแต่นั้นมา

คำถวายเทียนและผ้าอาบน้ำฝนมีดังต่อไปนี้
คำถวายเทียน
อิมานิ มะยัง ภันเต ปะทีปัง สะปะริวารัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต  ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปะทีปัง สะปะริวารัง ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเทียนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเทียน และบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน เทอญ.

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
อิมานิ มะยัง ภันเต วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ  สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต  ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.451 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 16 มกราคม 2567 06:00:36