[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 02:27:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรรม  (อ่าน 1349 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 สิงหาคม 2558 08:07:30 »




กรรม

คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาล เช่น ดลบันดาลให้เกิดภัย ดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ เป็นต้น แต่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงว่า คนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกเพราะกรรม ก็เปลี่ยนให้คนมากลัวกรรมกันอีก เช่นเดียวกับที่เคยกลัวผู้ดลบันดาล เมื่อคิดถึงก็คิดเห็นไปคล้ายกับเป็นตัวทุกข์มืดๆ อะไรอย่างหนึ่งที่น่าสะพรึงกลัว ผู้เงือดเงื้อจะลงโทษ กรรมจึงคล้ายผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ เมื่อได้ดีมีสุขก็กลับกล่าวว่าเป็นบุญบารมี กรรมจึงไม่มาเกี่ยวในทางดีตามความเข้าใจของคนทั่วไปนอกจากนี้ คนจะทำอะไรในปัจจุบันก็ไม่ได้นึกถึงกรรม เพราะเห็นว่ากรรมไม่เกี่ยว กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว ที่คอยจะให้ทุกข์เมื่อไรก็ไม่รู้ ซึ่งไม่สามารถจะป้องกันได้เท่านั้น ดูก็เป็นเคราะห์กรรมของกรรมยิ่งนักที่ถูกคนเข้าใจไปเช่นนี้

อันที่จริงพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเข้าใจในกรรมเช่นนี้ไม่ ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรมหรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน

“กรรม”คือ กาลอะไรทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกเวลา ประกอบด้วยเจตนา คือ ความจงใจ ทุกคนจะทำอะไร จะพูดอะไรจะคิดอะไร ย่อมมีเจตนาคือความจงใจนำอยู่ก่อนเสมอ และในวันหนึ่งก็ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องพูดอย่างนั้นอย่างนี้ ไปตามที่ตนเองจงใจจะพูด จะทำ จะคิด นี่แหละคือกรรม

วันหนึ่งๆ จึงทำกรรมมากมายหลายอย่าง หลีกกรรมไม่พ้น พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรม  หลักใหญ่ก็มุ่งให้พิจารณาให้รู้จักปัจจุบันกรรมของตนนี้แหละว่า “อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรไม่ควร เพื่อที่จะได้เว้นกรรมที่ชั่วที่ไม่ควร เพื่อที่จะทำกรรมที่ดีที่ควร“  และพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า “บุคคลสามารถจะละกรรมที่ชั่วทำกรรมที่ดีได้”  จึงได้ตรัสสอนไว้ให้ละกรรมที่ชั่ว ทำกรรมที่ดี ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่ตรัสสอนไว้ และการละกรรมชั่วทำกรรมดีถ้าให้เกิดโทษทุกข์ ก็จะไม่ตรัสไว้อย่างนี้ แต่เพราะให้เกิดประโยชน์สุข จึงตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระพุทธโอวาทนี้แสดงว่า คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา สัจจาธิษฐาน เป็นต้น อันเป็นส่วนจิตและศีล อันหมายถึง ตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ควรทำในขอบเขตอันควรที่ว่า คนมีอำนาจเหนือกรรมปัจจุบัน ด้วยการควบคุมจิตเจตนาให้เว้นหรือทำกรรมอะไรก็ได้นั้น ถ้าพูดเพียงเท่านี้ก็ดูไม่มีปัญหา แต่ถ้าพูดถึงกรรมอดีตที่จะส่งผลให้ในปัจจุบัน ก็เกิดปัญหาขึ้นอีกสำหรับผู้ที่เชื่อในอดีตชาติว่า กรรมที่ให้ในอดีตชาติจะส่งผลให้ในชาตินี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จึงกลัวอำนาจของกรรมอดีต เหมือนอย่างกลัวอำนาจมืดที่จะมาทำร้ายเอาแน่

ในเรื่องนี้พระพุทธศาสนาแสดงไว้อย่างไรสมควรจะพิจารณา
ประการแรก พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเป็นทายาทรับผลกรรมที่ตนได้ทำไว้แล้ว ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาข้อมาติกา คือแม่บท ไม่มีผิดเหมือนอย่างที่คำโบรารณว่า “กำปั้นทุบดิน” แต่ยังมีกฎประกอบอีกหลายข้อเหมือนอย่างดินที่ทุบนั้น

ยังมีปัญหาต่อไปอีกหลายข้อว่า ดินที่ตรงไหน เป็นต้น เมื่อกล่าวว่าดินแล้วก็คลุมไปทั้งโลก คำว่ากรรมก็ฉันนั้นคลุมไปทั้งหมดเพราะคนทุกคนทำกรรมต่างๆ ซับซ้อนกันมากมายเหลือเกิน กรรมอันไหนจะให้ผลเมื่อไร จึงมีกฎแบ่งกรรมออกไปอีก สรุปลงว่า กรรมหนักหรือกรรมที่ทำบ่อยๆ ให้ผลก่อนกรรมที่เบากว่า หรือที่ทำไม่บ่อยนัก คนเรานั้นทำมาทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จึงมีสุขบ้างทุกบ้างสลับกันไป ผู้ที่มีสุขมากก็เพราะกรรมหนักหรือกรรมที่ทำบ่อยๆ ฝ่ายดีกำลังให้ผล ผู้ที่มีทุกข์มากก็ตรงกันข้าม และในปัจจุบันนี้ใครก็ตามมีความไม่ประมาท ประกอบกรรมที่ดีอย่างหนักหรือบ่อยๆ กรรมดังกล่าวนี้จะสนองผลให้ก่อน กรรมชั่วในอดีตหากได้ทำไว้ ถ้าเบากว่าก็ไม่มีโอกาสให้ผล

ฉะนั้น ผู้ที่ทำกรรมดีมากอยู่เสมอๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีต หากจะมีกุศลของตัวจะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบไป และถ้าแผ่เมตตาจิตอยู่เนืองๆ ก็จะระงับคู่เวรในอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน

ทั้งเมื่อได้ดำเนินในมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้าเพื่อความสิ้นทุกข์ ก็จะดำเนินเข้าสู่ทางที่พ้นจากกรรมเวรทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ตัณหาเป็นกรรม สมุทัยคือ เหตุให้เกิดกรรม มรรคเป็นทางดับกรรม ฉะนั้น จึงไม่ต้องกลัวอดีต แต่ให้ระวังปัจจุบันกรรม และระวังใจ ตั้งใจให้มั่นไว้ในธรรม ธรรมก็จะรักษาให้มีความสวัสดีทุกาลทุกสถาน”


จาก
“พระพุทธศาสนา และการนับถือพระพุทธศาสนา”
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ-สังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.284 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 กันยายน 2566 00:43:07