[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 ธันวาคม 2567 07:52:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรรม ชำระล้างได้อย่างไร ?  (อ่าน 2689 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sati
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 7
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 169


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2554 10:16:53 »



พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)"


๓) กรรม ชำระล้างได้อย่างไร ? หน้า ๑๔๓-๑๔๖


มีพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษนี้ทำกรรมไว้อย่างไร ๆ เขาย่อมได้เสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ”
เมื่อเป็นอย่างที่กล่าวนี้ การครองชีวิตประเสริฐ(พรหมจรรย์) ก็มีไม่ได้ (คือไม่มีประโยชน์อะไร) เป็นอันมองไม่เห็นช่องทางที่จะทำความสิ้นทุกข์ให้สำเร็จได้เลย”

“แต่ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษนี้ทำกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนาอย่างไร ๆ เขาย่อมได้เสวยวิบากของกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นอย่างที่กล่าวนี้ การครองชีวิตประเสริฐ(พรหมจรรย์) จึงมีได้ (คือสำเร็จประโยชน์) เป็นอันเห็นช่องทางที่จะทำความสิ้นทุกข์ให้สำเร็จได้

“ภิกษุทั้งหลาย สำหรับบางคน กรรมชั่วที่ทำไว้เพียงเล็กน้อย ก็นำเขาไปนรกได้
แต่สำหรับบางคนกรรมชั่วที่ทำไว้เล็กน้อยอย่างเดียวนั่นแหละ ให้ผลแค่ในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแต่ที่มาก ๆ เท่านั้น”

“คนประเภทไหน กรรมชั่วที่ทำไว้เพียงเล็กน้อย ก็นำเขาไปนรกได้? คือ คนบางคนเป็นผู้ไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้อบรมปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพเล็ก มีปรกติอยู่เป็นทุกข์เพราะวิบากเล็ก ๆ น้อย ๆ บุคคลประเภทนี้ กรรมชั่วที่ทำไว้เพียงเล็กน้อย ก็นำเขาไปนรกได้ (เหมือนใส่ก้อนเกลือในขันน้ำน้อย)”

“คนประเภทไหน กรรมชั่วที่ทำไว้เล็กน้อยอย่างเดียวกันนั่นแหละ ให้ผลแค่ในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแค่ที่มาก ๆ เท่านั้น? คือ คนบางคนเป็นผู้ได้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญามีคุณไม่น้อย เป็นมหาตมะ มีธรรมเครื่องอยู่หาประมาณมิได้สำหรับบุคคลประเภทนี้ กรรมชั่วที่ทำไว้เล็กน้อยเช่นเดียวกันนั้นแหละ ให้ผลแค่ในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปราฏด้วย ปรากฏแต่ที่มาก ๆ เท่านั้น (เหมือนใส่ก้อนเกลือในแม่น้ำ)

“ดูกรนายคามณี ศาสดาบางท่าน มีวาทะ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า.....
ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด
ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด
ผู้ประพฤติกาเมสุมิจฉาจาร ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด
ผู้ที่พูดเท็จต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมดสาวกที่เสื่อมใสในศาสดานั้น คิดว่า “ศาสดาของเรามีวาทะ มีทิฏฐิว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด” เขาจึงได้ทิฏฐิขึ้นมาว่า “สัตว์ที่เราฆ่าไปแล้วก็มี เราก็ต้องไปอบาย ตกนรกด้วย เขาไม่ละวาจานั้นไม่สละทิฏฐินั้นเสีย ก็ย่อมอยู่ในนรกเหมือนถูกจับมาใส่ไว้...”

“ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก….พระองค์ทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาต...อทินนาทาน...กาเมสุมิจฉาจาร...มุสาวาท โดยเอนกปริยาย และตรัสว่า

“ท่านทั้งหลายจงงดเว้นเสียเถิดจากปาณาติบาต... อทินนาทาน...กาเมสุมิจฉาจาร...มุสาวาท” สาวกมีความเสื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาต ฯลฯ โดยอเนกปริยายและตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงงดเว้นเสียเถิดจากปาณาติบาต ฯลฯ “ก็สัตว์ที่เราฆ่าเสียแล้วมีมากถึงขนาดนั้น ๆ การที่เราฆ่าสัตว์ไปเสียมาก ๆ ถึงขนาดนั้น ๆ ไม่ดี ไม่งามเลย เราจะกลายเป็นผู้เดือนร้อนใจเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัยแท้และเราก็จักไม่ชื่อว่าไม่ได้กระทำกรรมชั่ว” เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปาณาติบาตนั้นเสีย และเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วยเป็นอันว่า เขาละกรรมชั่วนั้นได้ด้วยการกระทำอย่างนี้.......”

“เขาละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ละมุสาวาท...ปิสุณาวาจา... ผรุสวาจา.... สัมผัปปลาปะ...อภิชฌา....พยาบาท....มิจฉาทิฏฐิ แล้วเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิเขาผู้เป็นอริยสาวก มีใจปราศจากอภิชฌา(ความละโมบ) ปราศจากพยาบาท(ความคิดเบียดเบียน) ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น อยู่ด้วยใจที่ประกอบด้วยเมตตาปกแผ่ไปทิศ ๑... ทิศ ๒... ทิศ ๓....ทิศ ๔ ครบถ้วน ทั้งสูง ต่ำ กว้างขวาง ทั่วทั้งโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ยิ่งใหญ่ ไม่มีประมาณไร้เวร ไร้พยาบาท ฯลฯ เมื่อเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ทำให้มากอย่างนี้ กรรมใดที่ทำไว้พอประมาณ กรรมนั้นจักไม่เหลือ จะไม่คงอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น.....

พุทธพจน์ในข้อ ๓ นี้ นำมาแสดงไว้เพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผลของกรรม ให้มีการศึกษาโดยละเอียด เป็นการป้องกันไม่ให้ลงความเห็นตัดสินความหมายและเนื้อหาของหลักกรรมง่ายเกินไป แต่ก็ยังเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถนำมารวมไว้ได้ทั้งหมด เพราะจะกินเนื้อที่มากเกินไป


**************************************************************************************
 
 
ที่มา : หนังสือเรื่องกรรมตามนัยแห่งพุทธธรรม เว็ป http://www.watnyanaves.net/ธรรมนิพนธ์ 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

โปรดงดแสดงความคิดเห็นที่ไม่สร้างสรรค์ ขาดเมตตาธรรม ส่อเสียด ดูหมิ่น สร้างความแตกแยกให้แก่สังคมหรือกระทบกระทั่งต่อสถาบันอันเป็นที่เคารพ กระทบต่อความมั่นคงของชาติ และขัดต่อกฎหมาย....และอย่าลืมว่าเราเป็นคนไทย โปรดใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยยนะคะ....
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7865


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 8.0.552.237 Chrome 8.0.552.237


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2554 18:57:30 »

ขอบคุณ อ.สติ ครับ

ท่าน ป.อ. นี่สุดยอดปราชญ์โดยแท้ครับ

แตกฉาน

อธิบายให้หลาย ๆ อย่างง่ายขึ้น ให้เข้าใจได้กับคนทุกระดับ

ชอบอ่านงานของท่าน ป.อ. มากครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.211 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 20:17:20