[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:53:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่อง  (อ่าน 237184 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #100 เมื่อ: 08 มกราคม 2562 15:45:12 »



เหรียญเม็ดแตง วัดช้างให้
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีเพื่อนกับคนที่รู้จักกันถามเรื่องการที่จะห้อยพระเครื่องสักองค์ ควรจะหาพระเครื่องอะไรห้อยคอดี กลุ่มคนที่ถามก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องพระเครื่องนัก คำถามก็คือเขาอยากจะหาพระเครื่องห้อยคอแบบห้อยองค์เดียวหรือหาให้ลูกหลานห้อยสักองค์ น่าจะห้อยพระอะไรดี

ครับความจริงเรื่องนี้ก็แล้วแต่ใครจะชอบพระอะไร ก็ห้อยพระนั้นๆ แต่ถ้าจะถามผมโดยความเห็นส่วนตัวแล้วให้ห้อยองค์เดียว ผมก็จะห้อยพระหลวงปู่ทวดครับ ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมจะเลือกพระหลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสก หลายคนก็บอกว่าหายากและแพง ข้อนี้ก็แล้วแต่ว่าเราจะเลือกรุ่นไหน สภาพอย่างไร ถ้าจะหาเพื่อนำมาเป็นกำลังใจปกป้องคุ้มครองก็รุ่นไหนก็ได้ครับ สภาพก็แล้วแต่ว่าสวยหรือไม่ ถ้าหย่อนงามหน่อยราคาก็จะถูกลงมาต่างกันมาก

ยกตัวอย่างถ้ามีทุนทรัพย์มากก็หารุ่นแรกเนื้อว่าน พิมพ์อะไรก็ว่ากันไป หรือจะเป็นเหรียญรุ่นแรก พระรุ่นหลังเตารีด สนนราคาก็จะต่างกันตามพิมพ์และสภาพของพระ ส่วนผมชอบเหรียญเม็ดแตง เนื่องจากเป็นเหรียญขนาดเล็กน่ารัก เลี่ยมห้อยคอก็สวยงาม เหรียญเม็ดแตงก็มีการปลุกเสกอยู่ 2 ปี คือปี พ.ศ.2506 กับปี พ.ศ.2508 นอกจากนี้ในปัจจุบันก็ยังแยกบล็อกออกอีกมากมาย สนนราคาก็แตกต่างกันไป สนนราคาสวยๆ ก็ตั้งแต่หลักหมื่นกว่าๆ ถึงหลักแสน ตามรุ่นตามบล็อกและความสวย

ครับนอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญรุ่นที่ยังไม่แพงอีกหลายรุ่น เช่น เหรียญรุ่น 3-4 มีทั้งเหรียญรูปไข่และเสมา เนื้อเหรียญก็มีทั้งเนื้อทองแดงและอัลปาก้า สร้างประมาณปี พ.ศ.2503-2505 มีหลายบล็อก ก็มีสนนราคาแตกต่างกันไป ตั้งแต่หลักพันยันหลักหมื่น ถ้าสภาพสึกหน่อยก็ถูกหรือถูกมากก็มีตามสภาพ ผมเองก็เช่าหาทั้งสภาพสวยและสึกๆ เพื่อนบางคนว่าเช่าพระสึกๆ มาทำไม ไม่เช่าสวยๆ ไปเลยดีกว่า ผมเองไม่ได้เช่ามาเพื่อขายต่อ แต่เช่าเนื่องจากศรัทธาและเพื่อเป็นกำลังใจปกป้องคุ้มครอง จึงไม่ค่อยจำเป็นที่จะต้องหาสวยมากๆ เช่าพระสวยๆ นั้นดีแน่ครับ แต่ก็ต้องดูกำลังทรัพย์ที่พอจะเช่าได้ด้วย ผมเองถ้ามีโอกาสเช่าพระสวยๆ ก็เช่าเหมือนกันนะครับ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะเช่าได้ ณ เวลานั้นครับ

ก็มีเพื่อนถามว่าทำไมผมจึงเลือกพระหลวงปู่ทวด ผมก็บอกตามความคิดส่วนตัวว่า ผมเองศรัทธาในองค์หลวงปู่ มีความเชื่อมั่นว่า ถ้าเราประพฤติดีหลวงปู่ท่านก็จะช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งไม่ดีทั้งปวง แม้จะมีเรื่องร้ายแรงเท่าใด หลวงปู่ก็จะช่วยให้ผ่อนหนักเป็นเบาหรือแคล้วคลาดปลอดภัยได้ครับ และถ้าหาพระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิมปลุกเสกไม่ได้ ก็เป็นรุ่นใดก็ได้ครับ หรือจะเป็นของวัดอื่นๆ ก็ยังได้ ขอให้ระลึกถึงท่านอยู่เสมอ กระทำความดีละชั่ว ก็ได้ผลเหมือนกันหมดครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปเหรียญเม็ดแตง วัดช้างให้ ปี พ.ศ.2508 ทั้งด้านหน้าและด้านหลังมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





พระผง หลวงปู่ทองคำ สุวโจ
"หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม

เป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบันอายุ 91 ปี พรรษา 37

เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น ศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างจากหลวงปู่ฝั้น ด้วยความขยันพากเพียร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงลาสิกขาและกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ในปี 2561 ภายหลังย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์

มีโครงการจัดซื้อที่ดินถวายให้วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว ซึ่งเป็นวัดที่ท่านให้ความอุปถัมภ์มาโดยตลอด รวมทั้งทำนุบำรุงวัดในประเทศอีกหลายแห่ง แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

เนื่องจากหลวงปู่เป็นผู้มีมีความรู้ด้านพืชสมุนไพร ท่านจะนำความรู้ด้านสมุนไพร ช่วยบรรเทาอาการโรคเหล่านั้นให้ แต่มีปัญหาคือ สมุนไพรบางอย่างเริ่มหายาก หลวงปู่จึงมีโครงการที่จะจัดซื้อที่ดิน เพื่อปลูกสมุนไพรไว้รักษาโรคให้แก่ญาติโยม แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

คณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา ได้มีมติจัดสร้างวัตถุมงคล พระเนื้อผง ดวงโภคทรัพย์มหาเศรษฐีขึ้น สำหรับมวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ อาทิ เกศา จีวร ชานหมาก ผงกสิณไฟ หลวงปู่ทองคำ ผงงาช้าง ผงเก่าหลวงปู่หมุนวัดบ้านจาน เป็นต้น

ลักษณะของพระเนื้อผงดวงโภคทรัพย์มหาเศรษฐีรุ่นนี้ เป็นรูปไข่ขอบเกลียวเชือก

ด้านหน้าบริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทองคำ ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง

ด้านหลังจากด้านขวาของเหรียญขึ้นไปด้านบนวนลงไปด้านซ้ายเขียนว่า อาศรมสุวโจ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ ส่วนขอบด้านล่างเขียนว่า "โภคทรัพย์มหาเศรษฐี" บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อชานหมากฝังตะกรุดทองคำ 100 เหรียญ เนื้อผงใบลานฝังตะกรุดทองคำ-เงิน 500 เหรียญ เนื้อผงอิทธิเจฝังตะกรุดเงินสร้าง 3,000 เหรียญ เนื้อผงดำ สร้าง 2,000 พันเหรียญ เนื้อผงเทา 3,000 เหรียญ และเนื้อขาว 50,000 เหรียญ

ข่าวสดออนไลน์






พระสมเด็จ วัดระฆังฯ ที่สร้างโดยเจ้าประคุณพระ พุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
โอกาสนี้ ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ ที่สร้างโดยเจ้าประคุณพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งมีทั้งพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม และพระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม มาให้ชมเพื่อเป็นสิริมงคล และขอบารมีของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ช่วยคุ้มครองท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านครับ

1.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เกศทะลุซุ้ม
พระแม่พิมพ์นี้เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ ที่ครูบาอาจารย์รุ่นเก่านำมาตั้งชื่อของแม่พิมพ์ที่เห็นได้ชัดก็คือ เอกลักษณ์ของพระแม่พิมพ์นี้คือพระเกศขององค์พระที่ยาวทะลุเลยซุ้มครอบแก้วไปจรดกรอบแม่พิมพ์

2.พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เส้นแซมใต้ฐาน
แม่พิมพ์นี้เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์คือจะมีเส้นแซมที่อยู่ระหว่างใต้หน้าตักขององค์พระกับเส้นฐานชั้นบน และโดยเฉพาะองค์พระที่อยู่ในซุ้มครอบแก้วก็จะมีขนาดเขื่องกว่าแม่พิมพ์อื่นเล็กน้อย

3.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์
แม่พิมพ์นี้จะพบเห็นได้บ่อยกว่าแม่พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์อื่นๆ เอกลักษณ์ของพระแม่พิมพ์นี้ก็คือที่บริเวณช่วงกลางพระเกศจะมีรอยขยักป่องออกมาที่ด้านซ้ายขององค์พระ (ขวามือเรา) เพียงด้านเดียว ส่วนอีกด้านจะเป็นเส้นตรงเรียบๆ

4.พระสมเด็จ วัดระฆังฯพิมพ์ฐานแซม
แม่พิมพ์นี้เป็นแม่พิมพ์ใหญ่ของพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม เนื่องจากองค์พระในซุ้มครอบแก้วจะมีขนาดเขื่องกว่าแม่พิมพ์ฐานแซม แม่พิมพ์อื่นๆ เอกลักษณ์คือพระเกศจะสั้นและกว้างตั้งแต่โคนพระเกศและจะค่อยๆ เรียวแหลมขึ้นไปจรดขอบซุ้ม ครอบแก้ว

5.พิมพ์ทรงเจดีย์ พระสมเด็จวัดระฆังฯ
แม่พิมพ์นี้จะพบเห็นได้น้อย เป็นแม่พิมพ์ทรงเจดีย์ ที่สวยงาม เอกลักษณ์ของ แม่พิมพ์นี้พระเกศจะสวยงาม ตรงบริเวณกลางพระเกศจะมีขยักป่องออกทั้ง 2 ด้าน คล้ายทรงของเกศเปลวเพลิง และจะมีเส้นแซมอยู่ระหว่างใต้หน้าตักกับฐานชั้นบน ในสมัยก่อนบางท่านอาจจะนับแม่พิมพ์นี้ไปอยู่กับพระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตู

6.พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม
พระสมเด็จพิมพ์นี้เท่าที่พบจะมีแม่พิมพ์เดียว เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ก็คือพระเกศจะคล้ายมีมุ่นมวยผมที่โคนพระเกศ และตรงกลางพระเกศจะป่องออกทั้ง 2 ด้านมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม และปลายพระเกศจะไม่ยาวไปจรดซุ้ม องค์พระล่ำสัน ฐานก็จะหนาและมีเส้นแซมสองเส้น

7.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์อกวี
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์นี้ลำพระองค์ ของพระตั้งแต่หน้าอกจะกว้างแล้วจึงค่อยๆ เรียวลงมาจนถึงช่วงท้องที่อยู่เหนือมือที่ประสานกัน มองดูรูปทรงเป็น วีเชฟคล้ายกับตัวอักษรตัว V ในภาษาอังกฤษ

8.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์ อกกระบอก
เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์นี้ก็อยู่ที่ส่วนของลำพระองค์เช่นกัน คือหน้าอกขององค์พระจะลงมาตรง ไม่เรียว ไม่เว้า มองดูคล้ายรูปทรงกระบอก

9.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์พิมพ์เล็ก
แม่พิมพ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มของพิมพ์ทรงเจดีย์ แต่เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์นี้ก็คือะมีขนาดขององค์พระเล็กกว่าแม่พิมพ์อื่นๆ ของกลุ่มแม่พิมพ์ทรงเจดีย์

10.พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม
แม่พิมพ์นี้ องค์พระจะค่อนข้างชะลูด พระเกศเรียวยาวจรดซุ้ม หน้าตักแสดงการขัดสมาธิเพชรชัดเจน โดยหน้าตักจะคอดตรงกลาง คล้ายสากตำข้าวในสมัยโบราณ

แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





พระสีวลี เนื้อผงไม้ตะเคียน
พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ประธานคณะสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังภาคอีสาน พระปฏิบัติดีสืบสายธรรมจากหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จ.นครพนม

ทำให้ญาติโยมชาวมหาสารคามที่มีความเลื่อมใสศรัทธา ร่วมกันบริจาคที่ดินบริเวณ บ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พื้นที่กว่า 11 ไร่ คือ บริเวณที่ตั้งวัดป่าวังน้ำเย็นในปัจจุบัน มอบให้พระอาจารย์สุริยันต์ สร้างวัด

ซึ่งพระอาจารย์สุริยันต์ก็รับนิมนต์ โดยร่วมแรงร่วมใจกับญาติโยมและคณะศิษย์พัฒนาที่รกร้างว่างเปล่าผืนนี้ จนกลายสภาพเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง

ด้วยความศรัทธาที่ญาติโยมมีต่อพระอาจารย์สุริยันต์ ทำให้การพัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดป่าวังน้ำเย็นลุล่วงในเวลาอันรวดเร็ว อาทิ หอระฆัง ศาลาปฏิบัติธรรมไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างจากไม้เนื้อแข็งประกอบด้วยไม้แดง ไม้ประดู่ และตกแต่งด้วยไม้สักทอง อุโบสถไม้ซุง พระมหาเจดีย์ศรีมหาสารคาม เป็นต้น

จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม

สำหรับถาวรวัตถุที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและใกล้แล้วเสร็จคือพระอุโบสถไม้ ใช้งบ 100 ล้านบาท แต่ก็ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก

วัดป่าวังน้ำเย็นและคณะศิษย์ได้หารือกันและมีมติดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสีวลี เนื้อผงไม้ตะเคียน" วัตถุ ประสงค์เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างพระอุโบสถไม้ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งพระส่วนหนึ่งสำหรับแจกญาติโยมที่มาบริจาคทำบุญกับทางวัด

ด้านหน้าของวัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นภาพพระอรหันต์พระสีวลี ในท่าก้าวเดินมือขวาแบกกลดและสะพายอัฐบริขาร ด้านล่างเขียนว่า วัดป่าวังน้ำเย็น

ส่วนด้านหลังจากด้านขวาของเหรียญเขียนว่า พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ ส่วนด้านซ้ายเขียนว่า ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม บริเวณกลางเหรียญมีอักขระยันต์ ยันต์มหาปรารถนา พุทธคุณเด่นรอบด้าน ล่างสุดเป็นตัวเลข ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

จำนวนการสร้างประกอบด้วย ชุดกองบุญ สร้าง 2,561 ชุด บูชาชุดละ 100 บาท รับพระ 3 องค์ คือ เนื้อผงไม้ตะเคียนผสมจีวร เกศาพระอาจารย์สุริยันต์ ปิดทองคำแท้ พระเนื้อผงไม้ตะเคียน และพระเนื้อผงว่านแดงผสมไม้ตะเคียน มวลสารที่นำมาทำได้จากผงไม้ตะเคียนเสาไม้พระอุโบสถไม้วัดป่าวังน้ำเย็น

วัตถุมงคลรุ่นนี้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกในงานสวดมนต์ข้ามปีวัดป่าวังน้ำเย็น ในคืนวันที่ 31 ธ.ค.2561 พระอาจารย์สุริยันต์อธิษฐานจิตเดี่ยว 

ข่าวสดออนไลน์




พระปิดตาของหลวงปู่อินทร์ อินฺทโชโต
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งสร้างโดย พระครูอินทร์ อินฺทโชโต วัดสายชล ณ รังสี (วัดแหลมบน) หลวงปู่อินทร์ ประชาชนโดยทั่วไปอาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อของท่านนัก แต่ถ้าเป็นชาวแปดริ้วรุ่นเก่าๆ จะรู้จักท่านดีครับ ท่านได้สร้างพระเครื่องพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักไว้ พุทธคุณเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันครบเครื่องครับ

พระครูอินทร์ อินฺทโชโต (หลวงปู่อินทร์) วัดสายชล ณ รังสี ท่านมีเชื้อสายจีน เกิดที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตำบลจุกเฌอ เมื่อปี พ.ศ.2416 หลวงปู่ท่านกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เล็กๆ จึงได้มาอยู่ที่วัดสายชล ณ รังสี ซึ่งชาวบ้านมักเรียกว่า "วัดแหลมบน" ท่านเป็นศิษย์วัดของ พระครูคณานุกิจวิจารณ์ (ชื่น) หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า "หลวงปู่เฮ้ย" เนื่องจากท่านเรียกใครมักขึ้นต้นว่า "เฮ้ย" จนติดปาก หลวงปู่อินทร์เรียนหนังสืออยู่ที่วัดนี้ และอยู่จนอายุครบบวช หลวงปู่ชื่นท่านได้จัดการอุปสมบทให้หลวงปู่อินทร์ที่วัดแหลมบนนี้ โดยมี พระครูญาณรังษีมุนีวงษ์ (ทำ) เจ้าอาวาสวัดสัมปทวนนอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูคณานุกิจวิจารณ์ (ชื่น) วัดสายชลฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ประดิษฐ์ วัดสายชลฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดสายชลฯ ได้ศึกษาพระธรรมและสรรพวิทยาคมต่างๆ จาก พระครูญาณ ทำ และจากหลวงปู่ชื่น จนแตกฉาน ต่อมาในปี พ.ศ.2471 หลวงปู่อินทร์ได้รับนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากพระอาจารย์ประดิษฐ์

หลวงปู่อินทร์ท่านได้บูรณะและพัฒนาวัดสายชลฯ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองโดยลำดับ ได้ซ่อมแซมหมู่กุฏิสงฆ์ ทำถนนคอนกรีตในบริเวณวัด สร้างโรงเรียนประชาบาล และอื่นๆ ชาวบ้านต่างเคารพศรัทธาในตัวท่านมาก นอกจากนี้ท่านยังเชี่ยวชาญในด้านแพทย์แผนโบราณอีกด้วย เป็นที่กล่าวขวัญกันมาก โดยมีชาวบ้านต่างก็มาขอให้ท่านช่วยรักษาโรคต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะดึกดื่นค่อนคืนแค่ไหน เมื่อมีชาวบ้านมาขอให้ท่านช่วย ท่านก็จะช่วยเหลือตลอด จนหายดีเกือบทุกราย ปัจจุบันตำรายาของท่านยังคงรักษาอยู่ที่วัดสายชลฯ หลวงปู่อินทร์มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่เป็นพระเกจิอาจารย์ เช่น หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว พระครูศาสนกิจบริหาร (จ้อย จุลฺลปาโล) เป็นต้น นอกจากนี้ที่เป็นฆราวาสที่เป็นแพทย์แผนโบราณที่มีชื่อเสียงของแปดริ้วก็คือ คุณปู่แสวง มหารักษ์ เป็นต้น

หลวงปู่อินทร์ท่านครองวัดสายชลฯ มาจนถึงปี พ.ศ.2491 ท่านก็ได้มรณภาพ สิริอายุได้ 75 ปี พรรษาที่ 55

หลวงปู่อินทร์ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ เช่น ผ้าประเจียด ตะกรุด และพระเครื่อง เช่น พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและเนื้อตะกั่ว พระพุทธกวัก และนางกวัก เนื้อผงคลุกรัก ในส่วนพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักมี 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นกัน พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระปิดตาของหลวงปู่อินทร์ เนื้อผงคลุกรักจากนิตยสารพระท่าพระจันทร์มาให้ชมกันครับ 

ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





พระขุนแผนของหลวงพ่อแช่ม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีประชาชนเคารพนับถือมาก และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย วัตถุมงคลที่หลวงพ่อท่านสร้างไว้ก็เป็นที่นิยมและหายากในปัจจุบันครับ

หลวงพ่อแช่ม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2400 ที่ตำบลตาก้อง จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ ชื่น โยมมารดาชื่อ ใจ พอถึงวัยเรียน บิดามารดาจึงนำมาฝากเรียนกับพระอาจารย์จ้อย วัดดอนเจดีย์ และได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาหนังสือไทย-ขอม และวิทยาคม จนอายุครบบวช ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัด ตาก้อง โดยมี พระครูอุตรการบดี (ทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมถกิตติคุณ (กลั่น) วัดพระประโทนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ตุ่ม ซึ่งเป็นน้าของท่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อินทโชโต" เมื่อบวชแล้วท่านก็หมั่นศึกษาพระธรรมวินัย สามารถท่องบทสวดมนต์ต่างๆ ทั้งสวดเดินหน้าและถอยหลังได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้ท่านยังสนใจศึกษาวิปัสสนาธุระ และชอบออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ทั้งทางประเทศพม่า และกัมพูชา

หลวงพ่อแช่มได้ศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อกลั่น วัดพระประโทน พระอาจารย์ตุ่ม เป็นต้น หลวงพ่อแช่มมีพลังจิตสูง เคยมีคนมานิมนต์ท่านและนำรถมารับ ท่านกลับบอกว่า "ให้ไปก่อน เดี๋ยวข้าไปถึงก่อนเอ็ง" ปรากฏว่าท่านไปยืนรออยู่ก่อนจริงๆ ซึ่งเรื่องนี้ชาวบ้านในแถบนั้นรู้กันเป็นอย่างดี และเชื่อว่าท่านย่นระยะทางได้ เคยมีลูกศิษย์ถามท่านและอยากจะเรียนวิชานี้กับท่าน ท่านก็บอกว่า "เมื่อเราไปย่นเขา กลับมาวัดก็ต้องมาเดินจงกรมใช้หนี้เขานะ มันไม่ง่ายนักหรอกข้าจะบอกให้ พวกเอ็งรู้ไว้ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปย่นเข้า ที่ว่าจำเป็นก็คือ มันมีธุระด่วนต้องรีบไป"

และมีอยู่เรื่องหนึ่ง เคยมีคนมาขโมยมาลักม้าที่วัดของท่าน แต่พวกขโมยกลับจูงม้าออกจากวัดไม่ได้ เดินวนเวียนอยู่อย่างนั้น ต้องนำมาคืน ท่านก็ไม่ได้เอาเรื่อง และเทศน์สอนให้กลับใจ หลวงพ่อแช่มไม่ยึดติดกับยศศักดิ์ ท่านให้พระปลั่งเป็นเจ้าอาวาสวัดตาก้อง ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดธรรมดา

สหธรรมิกของหลวงพ่อแช่มก็คือ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เป็นต้น

ศิษยานุศิษย์ของท่านก็คือ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อลี วัดปากคลองบางครก เป็นต้น

หลวงพ่อแช่มเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครปฐมมาก วัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่มที่ท่านได้สร้างไว้ได้แก่ ตะกรุดโทน ตะกรุดสามกษัตริย์ พระผงผสมดินหน้าตะโพน ธง เสื้อยันต์ ผ้าประเจียดแดง ลูกสะกด ต่อมาครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา ปี พ.ศ.2484 ลูกศิษย์ขอให้หลวงพ่อออกเหรียญรูปท่าน ซึ่งท่านก็อนุญาต เป็นเหรียญด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อแช่มนั่งเต็มองค์ ยกมือขึ้นข้างหนึ่ง และนั่งทับปืนยาวไขว้กันอยู่ รูปทรงเหรียญเป็นรูปแบบพัดยศ มีขอบข้างเป็นขยัก 16 ขยัก เหรียญนี้มีอยู่ 2 พิมพ์คือพิมพ์หูเดียว และสองหู มีประสบการณ์มากมาย เด่นทางมหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด

หลวงพ่อแช่มมรณภาพในปี พ.ศ.2490 สิริอายุได้ 90 ปี

พระขุนแผนเนื้อดินหน้าตะโพนผสมผงของหลวงพ่อแช่ม พุทธคุณยอดเยี่ยม สนนราคายังไม่สูงนัก แต่ปัจจุบันเริ่มหายาก วันนี้ผมก็เลยนำรูปพระขุนแผนของหลวงพ่อแช่มมาให้ชมครับ

ชมรมพระเครื่องแทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #101 เมื่อ: 16 มกราคม 2562 13:58:51 »

.



หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อยอด อินทโชติ หรือพระครูประสุดสังฆกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองปลาหมอ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของจังหวัดสระบุรี พระรูปเหมือน รุ่นแรกของท่านได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดเบญจภาคีพระรูปเหมือน ปัจจุบันหายากมากและสนนราคาสูงมากเช่นกันครับ

หลวงพ่อยอดเกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.2400 ที่จังหวัดนครราชสีมา พออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทโดยมีพระอาจารย์อินทร วัดมะรุม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดมะรุม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์รอด วัดมะค่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อินทโชติ" ท่านได้ศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระจากพระอุปัชฌาย์จนแตกฉาน จึงได้เดินทางมาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่ วัดชนะสงคราม ท่านได้มีโอกาสรู้จักกับพระคณาจารย์ผู้โด่งดังแห่งเมืองพระนคร ศรีอยุธยา 2 รูปคือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม และหลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง ท่านได้ศึกษาวิทยาการต่างๆ อยู่หลายพรรษาแล้วจึงได้เดินทางสู่พระนครศรีอยุธยา โดยอยู่จำพรรษากับหลวงพ่อกลั่นระยะหนึ่ง หลังจากนั้นท่านจึงออกเดินทางต่อผ่านมาทางอำเภออุทัย อำเภอหนองแค ผ่านหมู่บ้านหนองปลาหมอ และ ณ ที่แห่งนั้นมีสำนักสงฆ์ร้างอยู่ ท่านจึงได้พัฒนาสร้างเป็นวัดขึ้นในปี พ.ศ.2432 จนเจริญรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้

หลวงพ่อยอดได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอธิการหมวด เป็นพระอุปัชฌาย์ จนถึงพระครูเจ้าคณะแขวงที่พระครูประสุดสังฆกิจ ท่านปกครองวัดหนองปลาหมอนานถึง 54 ปี จึงมรณภาพในปี พ.ศ.2486 สิริอายุได้ 86 ปี พรรษาที่ 63

วัตถุมงคลของหลวงพ่อยอดที่นิยมมี ตะกรุดโทน เหรียญรูปหลวงพ่อยอด พระรูปเหมือนรุ่นแรก สำหรับพระรูปเหมือนรุ่นแรกนั้นสร้างในปี พ.ศ.2487 ถึงแม้จะสร้างไม่ทันในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม คือสร้างหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้วหนึ่งปี โดยพระครูวิบูลย์คณานุสรณ์ (หลวงพ่อเฉื่อย) อดีตเจ้าอาวาสวัดสหมิตรมงคล ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อยอด มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมปลุกเสกด้วยเช่น หลวงพ่อคง วัดพุทไธศวรรย์ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน หลวงพ่อนาค วัดหนองสีดา หลวงพ่อเที่ยง วัดศาลาแดง เป็นต้น ที่ใต้ฐานพระรูปเหมือนหลวงพ่อยอดทุกองค์จะบรรจุผงอัฐิของหลวงพ่อยอดเอาไว้ แล้วอุดด้วยโลหะทองแดง

พระรูปเหมือนหลวงพ่อยอดมีพุทธคุณสูงและมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งอยู่คง แคล้วคลาด เมตตามหานิยมครบเครื่อง ปัจจุบันหายากมากสนนราคาสูงมากเช่นกันครับ วันนี้ผมได้นำรูปเหมือนหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ รุ่นแรกมาให้ ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  - ข่าวสดออนไลน์




พระกลีบบัว วัดลิงขบ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกลีบบัว วัดลิงขบ ของดีราคาถูก ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณสูง มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย แต่เนื่องด้วยจำนวนของพระที่พบมีมาก หาได้ไม่ยากนัก จึงทำให้สนนราคายังไม่สูง แต่ในเรื่องของพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมครับ

วัดลิงขบหรือวัดบวรมงคลเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเยื้องกับวัดราชาธิวาสฯ แต่เดิมเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกันมาก จึงทรงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวรามัญ มีวัดเป็นที่ทำบุญกันโดยลำพังตามประเพณีของตน สมเด็จกรมพระราชวังบรมมหาเสนานุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดลิงขบขึ้นเป็นพระอารามหลวง ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนธิเบศร์บวรทรงปฏิสังขรณ์ ทั้งพระราชทานนามใหม่ให้สมกับที่เป็นพระอารามหลวงว่า "วัดบวรมงคล"

ที่วัดแห่งนี้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เป็นแบบทรงลังกา ซึ่งอยู่มุมเขตด้านเหนือ ซึ่งสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในครั้งการปฏิสังขรณ์ และในเจดีย์องค์นี้ได้เกิดการชำรุด และมีพระพิมพ์กลีบบัวไหลลอดออกมาตามแนวอิฐที่ผุกร่อน เด็กๆ ในแถบนั้นก็เก็บเอามาให้พ่อแม่ดู และเกิดมีการซื้อ-ขายกันขึ้น ในที่สุดก็มีคนแอบเข้าไปขุดพระที่องค์เจดีย์ ทางวัดรู้ข่าวโดยพระญาณเวทีผู้ช่วยเจ้าอาวาส จึงได้ให้พระภิกษุไปสำรวจแต่ก็มีคนไปแอบขุดหาพระกันอีก พระสุมงคลมุนีเจ้าอาวาส จึงได้ติดต่อไปยังกรมการศาสนาและกรมศิลป์ว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้คงมีคนมาแอบขุดจนตัวเจดีย์พังแน่

ทางวัดจึงได้เปิดกรุเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2509 โดยมีทหารเรือจากเรือรบหลวงจันทบุรี มาช่วยในการเปิดกรุ จัดเวรยามเฝ้า การขุดได้ขุดตรงส่วนคอระฆัง พบพระบรมธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ทั้งชนิดเนื้อชิน และเนื้อดิน นอกจากนี้ยังพบพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จฯ และพระกลีบบัวที่เป็นเนื้อผงจำนวนเล็กน้อย (ไม่ระบุจำนวน) กับเครื่องรางและของมีค่าอีกจำนวนหนึ่ง และส่วนฐาน ได้พบพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผา บรรจุอยู่ในกระถางมังกร 4 ใบ ในส่วนของพระกลีบบัวเนื้อดินเผา มีจำนวนมากที่สุดกว่าพระพิมพ์อื่นๆ นับได้ประมาณเจ็ดหมื่นกว่าองค์ ทางวัดได้จัดพิธีฉลองสมโภชพระบรมธาตุ ตลอดจนพระพุทธรูปและพระเครื่อง 3 วัน

ทางวัดและคณะกรรมการได้เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าพระพิมพ์กลีบบัว ในราคาองค์ละ 30 บาท เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ที่ชำรุด พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดิน มีทั้งแบบดินละเอียดและเนื้อหยาบ พระส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของแร่ทรายเงินทรายทองปะปนอยู่เกือบทุกองค์ ผิวของพระบางองค์จะมีคราบรารักจับอยู่ที่ผิวของพระมากบ้างน้อยบ้าง ด้านหลังจะเป็นหลังเรียบและหลังเว้า มีรอยกดพิมพ์เป็นลายมือติดอยู่ด้านใต้องค์พระจะมีรูรอยไม้เสียบยกพระออกจากแม่พิมพ์ทุกองค์ มีพบบางองค์มีการลงรักน้ำเกลี้ยง และลงชาดมาแต่ในกรุ เข้าใจว่าพระเหล่านี้น่าจะเป็นพระคะแนน แต่ก็มีจำนวนน้อย พระบางองค์ที่ติดแม่พิมพ์ดีมีหน้ามีตาสวยงาม สนนราคาก็อาจจะสูงกว่าธรรมดานิดหน่อย

พระกรุนี้เมื่อมีผู้นำไปใช้ห้อยคอแล้วต่อมาเกิดมีประสบการณ์ ในด้านแคล้วคลาด และอยู่คงกันไม่น้อย ชาวบ้านในแถบนั้นต่างรู้กันดี ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก ทั่วๆ ไปอยู่ที่พันเศษๆ แล้วแต่ความสวยงามเป็นหลัก ถ้ามีหน้ามีตาก็แพงหน่อยครับ

วันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกลีบบัววัดลิงขบ เนื้อดินเผามาให้ชมกันด้วยครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  - ข่าวสดออนไลน์




เหรียญพระอู่ทองปางห้ามสมุทร
"พระครูอุทัยธรรมวิสุทธิ์" หรือ "หลวงพ่อวิโรจน์ กัมมสุทโธ" เจ้าคณะตำบลห้วยรอบ-ดอนกลอย และ เจ้าอาวาสวัดทุ่งพึ่งใหม่ ต.ทุ่งพึ่ง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี พระเถราจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

เป็นศิษย์สายตรงพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง หลวงพ่อผล จันทโณ วัดทุ่งพึ่ง (เก่า) และหลวงพ่อปลั่ง ฐิตวิริโย (พระอุปกิตธรรมสาร) วัดห้วยรอบ อดีตเจ้าคณะอำเภอหนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี มีนามเดิม วิโรจน์ กระต่ายขาว พื้นเพเป็นชาวอุทัยธานี เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 25 พ.ค.2497

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 14 ก.พ.2522 ณ พัทธสีมาวัดทุ่งพึ่งใหม่ ต.ทุ่งพึ่ง อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี โดยมี หลวงพ่อปลั่ง (พระอุปกิตธรรมสาร) วัดห้วยรอบ เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2526 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งพึ่งใหม่ "วัดทุ่งพึ่งใหม่" เดิมเป็นวัดร้าง เรียก "วัดหนองหญ้า" บริเวณเป็นป่ารกชัฏ ราวปี พ.ศ.2472 ชาวบ้านหนองพัง พร้อมใจกันพัฒนาบริเวณและจัดสร้างวัดขึ้นมาใหม่ ขนานนามว่า "วัดทุ่งพึ่งใหม่" เพราะมีวัดทุ่งพึ่งเก่าอยู่แล้ว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่วันที่ 2 ก.ย.2480 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ย้อนไปในปี พ.ศ.2537 จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญพระอู่ทองปางห้ามสมุทร" ไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อมอบสมนาคุณพุทธ ศาสนิกชน ตลอดจนคณะศิษยานุศิษย์ที่เข้านมัสการและร่วมทำบุญ

วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ ขอบเป็นลายกนกล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูน พระอู่ทองประทับยืนบนบัวคว่ำ บัวหงาย มือซ้าย-ขวา ยื่นไปข้างหน้า เป็นปางห้ามสมุทร

ส่วนด้านหลังเหรียญ มีขอบรอบ ตรงกลางมียันต์ "นะ หน้าทอง" ด้านข้างทั้งสองมีอักษรไทย "วัดทุ่งพึ่งใหม่ (หนองหญ้า) อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี รุ่น ๑ ๒๕๓๗"

วัตถุมงคลดังกล่าว เข้าพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต นาน 12 เดือน โดยหลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมณ์, หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี และหลวงพ่อปลั่ง วัดห้วยรอบ มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




พระสมเด็จทองเหลือง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
"พระธรรมมุนี" แห่งวัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี หรือ หลวงพ่อแพ เขมังกโร หนึ่งในพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสิงห์บุรี วัตถุมงคลล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหา

โดยเฉพาะ พระสมเด็จทองเหลือง ซึ่งจำลองแบบมาจากพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ท่านเคารพศรัทธาอย่างสูง

หลวงพ่อแพ เป็นชาวสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2448 ณ บ้านสวนกล้วย ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี

มารดาเสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน บิดาจึงยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของ นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา

พออายุ 11 ขวบ บิดามารดาบุญธรรมนำไปฝากที่สำนักอาจารย์ป้อม เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม และศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ

จนอายุได้ 16 ปี จึงกลับบ้านเกิดเพื่อบรรพชา ที่วัดพิกุลทอง มี พระอธิการพัน จันทสโร เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นเดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค นัยน์ตาเกิดอาการอักเสบ เจ็บปวดอย่างรุนแรง แพทย์แนะนำไม่ให้ใช้สายตาเพ่งอ่านหนังสือ เพราะอาจพิการได้ การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมจึงต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจ ใฝ่การศึกษาท่านจึงหันมาศึกษาด้านสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานที่สำนักพระครูภาวนา วัดพระเชตุพนฯ

เมื่ออายุครบ 21 ปี ในปี พ.ศ.2469 กลับมาอุปสมบท ณ วัดพิกุลทอง โดยมี พระมงคลทิพยมุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมังกโร" แล้วกลับไป จำพรรษาที่วัดชนะสงคราม ศึกษาด้านพระปริยัติธรรมขั้นสูง

จากนั้นได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ปรมาจารย์ชื่อดังยุคนั้น เพื่อเรียนวิชาอาคมจนแตกฉานเชี่ยวชาญ

พ.ศ.2473 พระอาจารย์หยด พวงมะสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ลาสิกขา ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ชาวบ้านพิกุลทองและจำปาทอง จึงนิมนต์ท่านให้รับตำแหน่งในปี พ.ศ.2474 ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 26 ปี

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมา สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ ในโอกาส รัชกาลที่ 9 เสด็จครองราชย์ครบ 50 ปี เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมมุนี

เป็นพระนักพัฒนาและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อพระบวรพุทธศาสนาอย่างเอนกอนันต์ และนับเป็นพระคณาจารย์รูปสำคัญของเมืองสิงห์บุรี ได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยาก

มรณภาพ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 สิริอายุ 94 ปี

หลวงพ่อแพ เริ่มสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 เพื่อแจกบรรดาลูกศิษย์ลูกหา รวมๆ แล้วไม่ต่ำกว่า 300 แบบพิมพ์ ทั้ง พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระปิดตา พระลีลาทุ่งเศรษฐี พระสีวลี พระสังกัจจายน์ พระขุนแผน พระผงรูปเหมือน นางกวัก ฯลฯ

การสร้างวัตถุมงคลของท่านนั้น ไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามเป็นหลัก หากแต่เน้นไปในเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลนั้นๆ โดยท่านจะพิถีพิถันในการปลุกเสก ทั้งวิชาอาคมและอำนาจจิต เพื่อให้เกิดความเข้มขลังแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง

สำหรับ "พระสมเด็จทองเหลือง" นั้น นับเป็น "พระสมเด็จรุ่นแรก" สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2494 สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูศรีพรหมโสภิต โดยจำลองแบบพิมพ์จากพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งท่านเคารพนับถืออย่างสูง จัดสร้างเป็นเนื้อทองเหลืองแบบเนื้อขันลงหิน มีลักษณะพิเศษคือ จะปรากฏเกล็ดทองทั่วองค์พระ พระสมเด็จทองเหลือง มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ลึกและพิมพ์ตื้น

ลักษณะเป็นพระเครื่องแบบหล่อโบราณ รูปทรงสี่เหลี่ยม ด้านหน้า เป็นรูปจำลององค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ เหนืออาสนะฐานบัว ภายในซุ้มครอบแก้ว มีฐานบัลลังก์รองรับ 2 ชั้น ระหว่างฐานทั้งสองจะมีเส้นฐานแซม พระพักตร์แบบผลมะตูม พระเกตุมาลาเป็นต่อม รัศมีเป็นดอกบัวตูม พระกรรณยาว พระอุระปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจนและยาวลงมาจดพระหัตถ์ ส่วน ด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์ตัวพุดซ้อนกัน 3 ตัว เรียกว่า "ยันต์พุดซ้อน" ใต้ยันต์เป็นอักขระขอม 3 ตัว อ่านว่า "ช ย"

"พระสมเด็จทองเหลือง หลวงพ่อแพ" นับเป็นพระเครื่องอันดับต้นๆ ของจังหวัดสิงห์บุรี ที่ทรงคุณค่าและครบครันในด้านของพุทธคุณ ถือเป็นวัตถุมงคลของหลวงพ่อแพที่ได้รับความนิยมสะสมมากรุ่นหนึ่งทีเดียวครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์




พระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดอนงค์
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเนื้อโลหะผสมชนิดหนึ่งที่นำมาสร้างวัตถุมงคลและเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว คือเนื้อโลหะเมฆสิทธิ์ ซึ่งเป็นโลหะผสมที่สร้างให้ถูกต้องตามตำรับโบราณนั้นยากมาก ในสมัยหลวงพ่อทับ วัดอนงคงคารามฯ ได้ผสมเนื้อโลหะชนิดนี้ขึ้น และนำมาสร้างวัตถุมงคลของท่าน ปัจจุบันหายากมากครับ

หลวงพ่อทับ เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.2389 มรณภาพในปี พ.ศ.2480 ประวัติของท่านไม่ได้มีบันทึกไว้ แต่จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกต่อกันมาว่า หลวงพ่อทับจำพรรษาอยู่ที่วัดอนงค์ เป็นพระลูกวัดในสมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) แต่มีพรรษาแก่กว่าสมเด็จฯ หลวงพ่อทับเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคม วิชาอีกอย่างหนึ่งคือท่านเชี่ยวชาญในด้านการผสมโลหะที่มีคุณวิเศษ หลวงพ่อทับได้คิดค้นพบการผสมโลหะจนเป็นเนื้อเมฆสิทธิ์ที่มีคุณวิเศษ เนื้อโลหะจะมีผิวเป็นประกายสีรุ้ง และสีตากุ้ง คุณวิเศษของโลหะคือเด่นทางด้านอยู่คง แคล้วคลาด และเสริมดวงกันดวงตก ว่ากันว่าการหลอมโลหะของหลวงพ่อทับต้องคุมไฟและแร่ธาตุด้วยคาถาและกระแสจิตที่สูงจึงจะสำเร็จ

วัตถุมงคลของหลวงพ่อทับที่ท่านได้สร้างไว้มีหลายอย่างเช่น พระพิมพ์ปางซ่อนหา พระปิดตา พระชัยวัฒน์ และลูกอม เป็นต้น หลวงพ่อทับมีความสนิทสนมกับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ในงานปลุกเสกของวัดสุทัศน์ ก็จะนิมนต์หลวงพ่อทับไปร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ก็มีความสนิทสนมกับหลวงพ่อทับ และเมื่อหลวงปู่ศุข มากรุงเทพฯ ก็จะมาพักที่วัดอนงค์เสมอ มีการแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กันตลอด

หลวงพ่อทับเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งในพระธรรมวินัย สมถะไม่สะสม พูดจาไพเราะ ใครมาพบท่านก็จะเลื่อมใสศรัทธา ท่านศึกษาวิชาหลอมโลหะและทดลองจนเชี่ยวชาญ จนได้โลหะธาตุกายสิทธิ์ที่เรียกกันว่า "เมฆสิทธิ์" ลูกศิษย์จึงขอให้ท่านสร้างพระและวัตถุมงคลให้เพื่อไว้คุ้มครองป้องกันตัว หลวงพ่อทับก็กรุณาสร้างให้ โดยสร้างเป็นพระหลายอย่าง ที่รู้จักกันมากก็คือพระพิมพ์ปางซ่อนหา และพระปิดตา ส่วนเครื่องรางของขลังก็จะเป็นลูกอม ซึ่งผู้ที่ได้รับไปก็จะมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย คนที่ดวงตกก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยพ้นเคราะห์ไปได้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว วัตถุมงคลเนื้อเมฆสิทธิ์ของหลวงพ่อทับจึงเป็นที่เสาะหากันมากมาตั้งแต่ในสมัยที่หลวงพ่อยังไม่มรณภาพ

ปัจจุบันนี้วัตถุมงคลเนื้อเมฆสิทธิ์ของหลวงพ่อทับ วัดอนงค์นั้นหายากมาก ของปลอมเลียนแบบมีมากมายหลากหลายฝีมือ แต่ก็ยังทำเนื้อโลหะได้ไม่เหมือน ทำได้ก็แค่คล้ายๆ การเช่าหาก็ต้องพึ่งพาผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเท่านั้นครับ พระปิดตาของหลวงพ่อทับมีทั้งแบบที่เป็นพระแต่งตะไบมาแต่เดิม และแบบไม่ได้แต่ง ด้านหลังก็มีทั้งหลังเรียบและหลังอูม ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา เนื้อเมฆสิทธิ์ พิมพ์แต่ง หลังเรียบ ของหลวงพ่อทับ วัดอนงค์ มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรก หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูภาวนากิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย) วัดธรรมศาลา ซึ่งคนส่วนใหญ่จะรู้จักเหรียญหล่อเนื้อทองเหลืองหน้าเสือ และเหรียญหล่อคอน้ำเต้าของท่านเป็นอย่างดี

หลวงพ่อน้อยเกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2426 โยมบิดาชื่อ แสง โยมมารดาชื่อ อ่อน เมื่อวัยเด็กโยมบิดามารดาก็นำไปฝากเรียนหนังสือไทยกับพระครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา และต่อมาเมื่ออายุได้ 15 ปี โยมบิดาก็ได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการชา เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือกเพื่อศึกษาต่อ จากนั้นจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และไปมากับวัดธรรมศาลาเป็นประจำ ต่อมาเมื่อบิดามารดาถึงวัยชรา หลวงพ่อน้อยจึงได้ลาสิกขามาอยู่ช่วยเหลือบิดามารดาประกอบอาชีพ ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อหลวงพ่อน้อยท่านอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2446 โดยมีพระอธิการทอง วัดละมุด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปริมานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์แสง วัดใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "อินฺทสโร" นับจากหลวงพ่อน้อยอุปสมบทแล้วท่านก็ปฏิบัติตาม พระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด และสนใจทางด้านวิปัสสนาธุระ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิทยาคมจากอาจารย์หลายท่าน ได้แก่ พระอธิการทอง วัดละมุด พระครูปริมานุรักษ์ พระครูทักษินานุกิจ แจ้ง พระสมุห์แสง โดยอาศัยที่หลวงพ่อน้อยท่านมีความรู้เรื่องอักษรขอมมาแต่เดิม และมีสมาธิที่แน่วแน่จึงศึกษาพุทธาคมได้ด้วยความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาใดก็สำเร็จไปทุกอย่าง

อุปนิสัยของหลวงพ่อน้อยท่านเป็นพระที่สงบเสงี่ยมสำรวมอยู่เป็นนิจ มักน้อยสันโดษมีเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ เป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่คนทั่วไป หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลเมื่อปี พ.ศ.2495 สร้างพระอุโบสถเมื่อปี พ.ศ.2501 สร้างสะพานคอนกรีตและถนนในปี พ.ศ.2502 สร้างอาคารโรงเรียนหลังที่ 2 ในปี พ.ศ.2505 สร้างฌาปนสถานในปี พ.ศ.2510 สร้างกุฏิสงฆ์ในปี พ.ศ.2511 สร้างหอระฆังในปี พ.ศ.2512 เป็นต้น

ในงานพุทธาภิเษกต่างๆ หลวงพ่อน้อยได้รับนิมนต์ให้ร่วมปลุกเสกด้วยแทบทุกครั้ง หลวงพ่อน้อยมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่เคารพเลื่อมใสของบุคคลทั่วไป แต่หลวงพ่อท่านก็ไม่ได้สร้างวัตถุมงคลของท่านเลย จนในปี พ.ศ.2494 ก็มีลูกศิษย์ของท่านได้มาขอให้หลวงพ่อน้อยสร้างเหรียญ เพื่อจะได้แจกเป็นที่ระลึกแก่ศิษย์ เป็นเหรียญปั๊มทรงเสมา ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ มีอักษรตัวนูนคำว่า หลวงพ่อน้อย ด้านหลังเป็นยันต์ นะปถมัง

เหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อ เหรียญที่รู้จักกันมากก็คือเหรียญหล่อหน้าเสือ และเหรียญหล่อคอน้ำเต้า ซึ่งนิยมกันมาก โดยเฉพาะเหรียญหล่อหน้าเสือ รุ่นแรก สนนราคาสูงมาก ที่เรียกกันว่า พิมพ์หน้าเสือก็เนื่องจากเมื่อทำเสร็จแล้วนำไปให้หลวงพ่อดู ท่านก็บอกว่าหน้าดุอย่างกับเสือ เลยเรียกเหรียญหล่อรุ่นแรกพิมพ์นี้กันว่าเหรียญหล่อหน้าเสือกันเรื่อยมาจนทุกวันนี้

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหน้าเสือรุ่นแรกมาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


   

เหรียญเสาร์ 5 หลวงพ่อเกษม
หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง พระเกจิผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น "เนื้อนาบุญที่ยิ่งใหญ่ในพระพุทธศาสนา" ตัวท่านนั้นเป็นเครือญาติสายตรงของตระกูล ณ ลำปาง แต่ครั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรหน้าไฟในงานศพที่วัดบุญยืน (วัดป่าดั๊ว) ที่ลำปางเพียงแค่ 7 วัน นับเป็นการสร้างพื้นฐานความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และปีพ.ศ.2470 จึงตัดสินใจบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง

ปีพ.ศ.2475 เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบุญยืน โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุตรวงศ์ธาดา หรือ พระครูปัญญาลิ้นทอง เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ เจ้าคณะอำเภอเมืองลำปาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระธรรมจินดานายก (อุ่นเรือน) เจ้าอาวาสวัดบุญยืน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม

มุ่งมั่นศึกษาภาษาบาลีเป็นพิเศษจนมีความชำนาญและคล่องแคล่ว ปีพ.ศ.2479 สอบนักธรรมเอกได้ แต่ด้วยการ "ลด ละ วาง" ของท่าน จึงปฏิเสธการเข้าสอบเปรียญ 3 ประโยค

นอกจากนี้ ยังสนใจในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นพิเศษ จึงฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง พระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี จากนั้นก็มุ่งเจริญวิปัสสนาและถือธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติ เพื่อบำเพ็ญภาวนาจาริกหาความวิเวก เว้นแต่ช่วงเข้าพรรษาท่านจะกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืน

เมื่อเจ้าอาวาสวัดบุญยืนมรณภาพ คณะสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันนิมนต์หลวงพ่อเกษมให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส

ต่อมาเมื่อภารกิจต่างๆ ของวัดเริ่มเบาบางลง จึงลาออกจากตำแหน่ง แต่ถูกคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ยับยั้ง จึงตัดสินใจหลบออกจากวัด บุญยืนเงียบๆ ในปีพ.ศ.2492

เริ่มธุดงค์เจริญวิปัสสนาไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ เช่น ป่าช้าของศาลาวังทาน ป่าช้าบนดอยแม่อาง ฯลฯ ก่อนที่จะปักหลักตั้งมั่นบำเพ็ญธรรมที่ป่าช้าประตูม้า ซึ่งก็คือ "สุสานไตรลักษณ์" ที่มีชื่อเสียงและเกียรติคุณขจรขจายจนถึงปัจจุบัน

วัตถุมงคลต่างๆ ที่หลวงพ่อสร้างและปลุกเสกจึงล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อีกทั้งทวีความทรงคุณค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา หนึ่งในนั้นคือ "เหรียญศิริมงคลเสาร์ 5" เหรียญที่ชาวลำปางหวงแหนมาก เป็นหนึ่งในหลายๆ เหรียญที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และเป็นเหรียญที่มีการทำเทียมมากที่สุดรุ่นหนึ่งด้วย

เหรียญศิริมงคลเสาร์ 5 จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกสมทบทุนสร้างศาลาเจ้าแม่สุชาดา เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2516 โดยหลังจากการปลุกเสกของหลวงพ่อเกษมที่สุสานไตรลักษณ์เป็นที่เรียบร้อย ท่านได้พูดกับบรรดาลูกศิษย์ที่มาร่วมพิธีว่า "ถ้าเอาไปใช้แล้วไม่ดี ให้เอามาคืนเฮา"

เหรียญดังกล่าวสร้างประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะเมื่อคราวเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 จนได้รับการเรียกขานว่า "เหรียญวีรชน" และด้วยรูปทรงของเหรียญเป็นรูประฆังคว่ำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เหรียญระฆัง"

เหรียญศิริมงคลเสาร์ 5 หรือเหรียญวีรชน หรือเหรียญระฆังหลวงพ่อเกษม ปี 2516 นี้มี 2 เนื้อ คือ เนื้อเงินและเนื้อทองแดง ทุกเนื้อจะมีจุดตำหนิเพื่อการพิจารณาดังนี้ ด้านหน้าจะมีเส้นรัศมีออกจากองค์หลวงพ่อ และแผ่ไปยังบริเวณข้างเหรียญ ส่วนด้านหลัง จะมีเส้นรัศมีแผ่ไปยังบริเวณข้างเหรียญ และที่ใต้ตัวนะ (เหนือยันต์แถวแรก) จะมีขนแมวคล้ายกอหญ้าแผ่ออก

นอกจากนี้จะแบ่งเป็นบล็อก (พิมพ์) ต่างๆ ตามการเล่นหาของชาวลำปางได้ 5 บล็อก คือ 1.บล็อกเสาอากาศ (พิมพ์นิยม) 2.บล็อกเขี้ยว 3.บล็อกสิบโท 4.บล็อกสิบโทมีเขี้ยว และ 5.บล็อกสายฝน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันของจุดตำหนิแม่พิมพ์ในแต่ละบล็อก

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง  ข่าวสดออนไลน์




เหรียญกฐินหลวงพ่อพร้า 61
"หลวงพ่อพร้า อัตตสันโต" หรือ "พระครูวิจิตรชยานุรักษ์" ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสรรคบุรี และ เจ้าอาวาสวัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เจ้าของสมญานาม "หลวงพ่อพร้า เจ้าตำรับน้ำมนต์บาทเดียว"

ปัจจุบัน สิริอายุ 96 ปี พรรษา 76

พื้นเพเป็นชาวชัยนาท เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พ.ค.2466 เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พ.ค.2486 ที่พัทธสีมา วัดโคกดอกไม้ โดยมีพระครูปัตย์ วัดสนามชัย เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ซึ่งเป็นหลวงลุงของท่าน รวมทั้งได้เรียนสรรพวิชามากมายจากหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม อีกด้วย

ด้วยความที่เมื่อท่านเยาว์วัย ท่านอยากเรียน แต่ไม่มีโอกาส เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานเอาไว้ว่า "....หากมีโอกาสได้บวช จะอุปถัมภ์การศึกษาแก่เด็กที่พ่อแม่ฐานะยากจน จะช่วยให้เต็มความสามารถ...."

ตั้งแต่บัดนั้นมา ท่านมุ่งปฏิบัติตนตามคำอธิษฐานของท่านมาโดยตลอด ด้วยการอุปถัมภ์เด็กๆ ที่ยากจน และทำนุบำรุงปูชนียสถานถาวรวัตถุภายในวัดจนรุ่งเรือง ตลอดจนช่วยเหลือสังคมส่วนรวมตลอดมา

ย้อนไปในปี พ.ศ.2561 หลวงพ่อพร้าได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง คือ เหรียญกฐินหลวงพ่อพร้า ปี 2561" เพื่อมอบสมนาคุณศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่ร่วมทำบุญ มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อสำริด, เนื้อทองแดง และเนื้อตะกั่ว ซึ่งงานทอดกฐิน ประจำปี 2561 วัดโคกดอกไม้ ได้ปัจจัยเกือบ 8 ล้าน โดยนำปัจจัย ดังกล่าว จัดสร้างมณฑปวัดโคกดอกไม้

หลวงพ่อพร้าเมตตาปลุกเสกเดี่ยวเป็นกรณีพิเศษ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูห่วงตัน ด้านหน้าเหรียญมีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงพ่อพร้านั่งสมาธิเต็มองค์ ใต้ขอบด้านบนมีอักขระขอม "อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ" กำกับด้วยอักษรไทย "พระครูวิจิตรชยานุรักษ์ หลวงพ่อพร้า"

ด้านหลังเหรียญมีขอบรอบ เช่นกัน ตรงกลางเป็นยันต์ห้า บรรจุอักขระขอม "อะ หัน ติ โก อุด ธัง อัด โธ นะ ชา ลี ติ นะ ผุด ผัด ผิด" กำกับด้วย "นะ โม พุท ธา ยะ" ส่วนด้านข้างทั้งสอง เป็นยันต์ "นะ คง" "นะ แคล้ว" ตอกโค้ดวัด และมีอักษรไทย "วัดโคกดอกไม้ จ.ชัยนาท ๒๕๖๑"

ปัจจุบัน มีเหลือบ้างเพียงเนื้อเดียว คือ เนื้อสำริด ติดต่อได้ที่วัดโคกดอกไม้

ที่มา ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #102 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2562 16:13:51 »

.



พระกริ่งหนองแสของหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ที่มีพุทธคุณเยี่ยมยอด สนนราคาไม่สูง ก็ต้องยกให้พระกริ่งของหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน ที่นักนิยมสะสมพระเครื่องมักจะเรียกว่า "พิมพ์กริ่งหนองแส วัดตลิ่งชัน" เนื่องจากนำแบบพิมพ์ของพระกริ่งหนองแสมาทำแบบพิมพ์ โดยการแนะนำของท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) และได้มอบชนวนพระกริ่งของวัดสุทัศน์ มาให้ด้วย

หลวงปู่กลีบเกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2419 ที่บ้านคลองชักพระ อ.ตลิ่งชัน กทม. โยมบิดาชื่อสิงห์ โยมมารดาชื่อห่วง ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดตลิ่งชัน โดยมี พระอธิการม่วง วัดเจ้ากรับ หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าวัดนายโรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมรเมธาจารย์ (เข้ม) วัดมหาธาตุ พระอาจารย์เทศ วัดกัลยาณมิตร เป็นพระกรรมวาจา จารย์ หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วได้ 3 พรรษา ก็ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์มาจำพรรษาที่วัดมหาธาตุเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม 1 พรรษา แล้วจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทัศน์ เพื่อศึกษาพระปริยัติและมูลกัจจายน์ และได้ศึกษากับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ด้วย จนถึงปี พ.ศ.2448 เจ้าอาวาสวัดตลิ่งชันว่างลง พระครูธรรมจริยาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดคฤหบดี ได้พิจารณาเห็นว่าพระภิกษุกลีบเป็นพระที่มีพรรษายุกาล และมีคุณสมบัติที่จะสั่งสอนพระภิกษุ สามเณรได้ จึงเสนอแต่งตั้งให้พระภิกษุกลีบมาเป็นเจ้าอาวาสวัดตลิ่งชันตั้งแต่นั้นมา

หลังจากที่ได้ครองวัดแล้วหลวงปู่ก็ยังคงแวะเวียนมาที่วัดสุทัศน์เสมอมา เนื่องจากท่านนับถือในองค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) มาก และต่อมาก็ได้มาสนิทสนมกับท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เป็นอย่างมาก หลวงปู่กลีบได้บริหารวัดตลิ่งชันจนเจริญขึ้นเป็นลำดับ จนถึงปี พ.ศ.2454 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล และในปี พ.ศ.2467 ท่านก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูทิวากรคุณ ตำแหน่งเจ้าคณะหมวด ในปี พ.ศ.2469 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ หลวงปู่กลีบมรณภาพในปีพ.ศ.2501 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

หลวงปู่กลีบได้สร้างวัตถุมงคลไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน โดยลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้ตัดเสื้อกั๊กบ้าง ผ้าประเจียดบ้าง มาขอให้ท่านลงอักขระให้ ท่านก็กรุณาลงให้ บ้างก็นำแผ่นโลหะมา ให้ท่านช่วยทำตะกรุดให้บ้าง ในครั้งนั้นปรากฏว่ามีผู้ได้รับประสบการณ์ถูกยิงไม่เข้า ต่อมาในปี พ.ศ.2479 หลวงปู่มีอายุครบ 60 ปี คณะศิษย์จึงขออนุญาตหลวงปู่จัดทำบุญแซยิด และได้สร้างเหรียญรูปท่าน และแหวนมงคล 8

ต่อมาในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่ก็ได้ปรึกษากับท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เรื่องหาปัจจัยสร้างมณฑปที่ยังค้างอยู่ ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) จึงได้แนะนำให้สร้างพระกริ่ง โดยใช้พิมพ์ของพระกริ่งหนองแสเป็นแบบ และได้กำหนดเอาวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2494 ทำพิธีหล่อ โดยใช้ชนวนพระกริ่งของวัดสุทัศน์ที่ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) มอบให้และทองชนวนของหลวงปู่กลีบมาเทหล่อหลังจากที่ทำพิธีที่วัดสุทัศน์เสร็จแล้ว หลวงปู่ก็ได้นำกลับมาปลุกเสกเดี่ยวอีกหนึ่งพรรษา จึงนำมาแจกในปี พ.ศ.2495 พระกริ่งรุ่นนี้หล่อตันแล้วจึงนำมาเจาะรูบรรจุเม็ดกริ่ง และอุดด้วยทองชนวน วรรณะออกสีเหลืองอมเขียว ผิวสีน้ำตาลอ่อน

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งหนองแสของหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน มาให้ชมกันครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




พระนางพญากรุโรงทอ พิมพ์ใหญ่มีหู และพิมพ์เล็กไม่มีหู
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดพิษณุโลกเป็นเมืองโบราณ เก่าแก่สืบต่อกันมายาวนาน วัดเก่าแก่ก็มีอยู่มากมาย และเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยถึงกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันก็ยังเป็นเมืองสำคัญทางการทหารอยู่ครับ พระเครื่องเก่าแก่ของจังหวัดนี้ ก็มีอยู่หลายกรุหลายวัด และมีชื่อเสียงมาก พระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก เป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงสุดในพระกรุที่มีชื่อว่า พระนางพญา และได้รับการ จัดให้มาอยู่ในพระชุดเบญจภาคี พระ ของกรุวัดนางพญาเองมีอยู่ด้วยกันหลาย พิมพ์ พระที่มีชื่อว่าพระนางพญาของจังหวัดพิษณุโลกก็มีอยู่หลายกรุ ค่านิยม ก็รองๆ กันมา วันนี้เรามาคุยกันถึง พระนางพญากรุวัดโพธิ์หรือที่ปัจจุบันมักเรียกว่า "กรุโรงทอ"

วัดโพธิ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ใต้โรงทอผ้าไทยลงมาเล็กน้อย ตรงข้ามกับบริเวณที่ตั้งของกรมทหาร โบราณสถานของวัดนี้ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่เป็นชิ้นเป็นอันอยู่เลย มีแต่ซากฐานของพระเจดีย์เป็นกองอิฐ ซึ่งบางแห่งก็เป็นเนินอิฐที่มีแต่พงหญ้าและเถาวัลย์ปกคลุมแทบมองไม่ออกว่าเป็นฐานเจดีย์ สิ่งที่เห็นเรียบร้อยเป็นของที่สร้างขึ้นใหม่ภายหลัง

พระเครื่องของกรุวัดโพธิ์ (โรงทอ) เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายก็เมื่อปีที่ทางการได้สร้างโรงทอผ้าไทย ได้มีการปรับพื้นที่บริเวณวัดโพธิ์ ได้มีการขุดพบพระเครื่องขึ้นที่บริเวณนี้ เช่น พระนางพญาเนื้อดินเผา พุทธลักษณะรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายคลึงกับพระนางพญา กรุวัดนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ พระนางพญากรุโรงทอ มีอยู่สองพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ มีหู และพิมพ์เล็กไม่มีหู นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ซุ้มเส้นคู่ เนื้อชิน และพระสกุลท่ามะปรางค์ เป็นต้น จากการพบพระเครื่อง เนื่องในการสร้างโรงทอผ้าไทยนี้เองจึงมีคนที่เรียก ชื่อพระกรุนี้ว่า "กรุโรงทอ" และในปัจจุบันมักเรียกพระกรุนี้ว่า "กรุโรงทอ" เป็นส่วนใหญ่ครับ

พระนางพญากรุโรงทอ เป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งเนื้อดินละเอียดและเนื้อหยาบ (แก่กรวด) จากพุทธลักษณะ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกันกับพระนางพญา กรุวัดนางพญา คือสร้างในยุคกรุงศรีอยุธยา พุทธคุณนั้นเฉกเช่นเดียวกับพระนางพญา กรุวัดนางพญา คือดีทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและโภคทรัพย์

ปัจจุบันพระนางพญา กรุโรงทอนี้ค่อนข้างหา แท้ๆ ยากเช่นกันครับ โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่มีหู เรื่องของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว ทั้งพิมพ์ใหญ่มีหู และพิมพ์เล็กไม่มีหูครับ พระนางพญา กรุโรงทอทั้งสองพิมพ์สนนราคาก็ค่อนข้างสูง แต่ราคาก็ยังย่อมเยากว่าของกรุวัดนางพญาครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญากรุโรงทอ ทั้งพิมพ์ใหญ่มีหู และพิมพ์เล็กไม่มีหู จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันด้วยครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




พระกริ่งไตรมาส หลวงปู่ทองคำ
หลวงปู่ทองคำ สุวโจ อาศรมสุวโจ จ.สุรินทร์ ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์

ร่วมกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม

สร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบัน อายุ 91 ปี พรรษา 37

เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้าน มะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงต้องลาสิกขาและกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ต่อมาในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ และหากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจ หลวงปู่ทองคำจะข้ามไปประเทศ สปป.ลาว เป็นประจำ เนื่องจากท่านให้ความอุปถัมภ์ วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว มาอย่างต่อเนื่อง

คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธา นำโดย "บอย สำโรงทาบ" มีโครงการที่จะสร้างอาศรมถวายหลวงปู่ขึ้นที่ประเทศ สปป.ลาว แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "พระกริ่งไตรมาสรวยทันตา"

พุทธศิลป์คล้ายกับพระกริ่งที่มีการจัดสร้างจากวัดทั่วไป แต่จุดสังเกตของพระกริ่งหลวงปู่ทองคำ รุ่นนี้ที่บริเวณใต้ก้นพระจะตอกโค้ดรูปหยดน้ำและอักษรตัว ท เป็นที่รู้กันว่านี่คือวัตถุมงคลของหลวงปู่ทองคำ และที่บริเวณบัลลังก์ด้านหลังจะมีอักขระยันต์ 5 ตัว พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จำนวนการสร้างประกอบด้วยเนื้อทองคำ 2 องค์ เนื้อทองคำก้นทองคำ 49 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้ผสมแร่ก้นเงิน 119 องค์ เนื้อเงินก้นเงิน 1,000 องค์ นวโลหะก้นเงิน 3,000 องค์ เนื้อทองผสมอุดผง 2 หมื่นองค์ เป็นต้น

ที่มา ข่าวสดออนไลน์





เหรียญพระธาตุพรหมมณี
"พระครูธรรมไตรสังวรกิจ" หรือ หลวงพ่อหอม รตินธโร เจ้าคณะตำบลกุสุมาลย์ และเจ้าอาวาสวัดไตรคามวสี ต.โพธิ์ไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

เป็นศิษย์สืบสายธรรม หลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส หรือ พระราชมงคลนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมภาคอีสาน

เป็นพระสายป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตรที่งดงาม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นที่เคารพศรัทธา

เกิดเมื่อวันที่ 1 มี.ค.2503 ที่บ้านอีกุด ต.โพธิ์ไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร มีนามเดิมว่า ผจญ ใบแสน

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชาเมื่อปี พ.ศ.2522 ที่วัดป่าสันติวาส (ปัจจุบันคือวัดป่าสันติกุสุมาลย์)

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.2524 ขณะมีอายุ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม มี พระราชสุทธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลปัญโญภาส (หลวงปู่คำดี ปัญโญภาส) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ปัจจุบันอายุ 59 ปี พรรษา 20

เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2561 ลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างถนนคอนกรีตภายในวัด เป็นเหรียญหล่อโบราณหลวงพ่อหอมรุ่นแรก

จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อเงิน 39 เหรียญ เนื้อชนวน 999 เหรียญ เนื้อสัตตะรุ้ง 999 เหรียญ และเนื้อทองแดงเถื่อน 509 เหรียญ รวม 2,546 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ใต้หูห่วงมีอักขระตัวธรรม 4 ตัว อ่านว่า มะ รุ คุ รุ เป็นหัวใจของคาถา ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงพ่อหอม ในท่านั่งขัดสมาธิเต็มองค์

ด้านล่างสุดสลักตัวเลขไทย ๒๕ ซึ่งเป็นนัมเบอร์เหรียญ ด้านซ้ายบริเวณอังสะเหนือหัวไหล่ของเหรียญตอกโค้ดตัว นะ ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้า ในวงล้อมดาว 8 แฉก หมายถึงพระอรหันต์ 8 ทิศ เหนือไหล่ขวาสลักคล้ายเปลวดวงอาทิตย์ ในวงล้อมสลักอักขระคำว่า หอม ซึ่งเป็นชื่อของหลวงพ่อ

ด้านหลังเหรียญ แบบเรียบ สลักตัวหนังสือนูนไล่กัน 5 บรรทัด อ่านว่า ที่ระฤก ร.ศ.๒๓๗ หลวงพ่อหอม รตินธโร วัดไตรคามวสี จ.สกลนคร

เหรียญรุ่นดังกล่าวประกอบพิธีพุทธาภิเษกนำฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2561 มีหลวงพ่อหอมนั่งอธิษฐานเดี่ยว และเสกวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2561 มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรวม 5 รูป นั่งอธิษฐานจิต

เป็นเหรียญใหม่ที่ใช้วิธีหล่อเหรียญแบบโบราณ ออกแบบได้ลงตัวสวยงาม เฉพาะเหรียญเงินไม่ธรรมดา

ปัจจุบันราคาพุ่งสูงเท่าตัว

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อคูณ
"หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ" เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา อมตเถราจารย์ดังแห่งเมืองย่าโม เป็นพระสงฆ์ในดวงใจของคนไทยทั่วประเทศ เปรียบประดุจผู้วิเศษและเทพเจ้าของชาวบ้าน เป็นพระดี มีวิชา มีเมตตา เกินบรรยาย ท่านสร้างวัด สร้างคน สร้างผลงานไว้มากมาย สร้างขวัญกำลังใจ และสร้างปาฏิหาริย์ให้กล่าวขวัญกันไม่รู้จบ กิตติคุณแห่งอำนาจบารมีของท่านรํ่าลือระบือไกลจนได้รับการขนานนามให้เป็น "เทพเจ้าแห่งที่ราบสูง"

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พ.ศ.2512 ออกที่วัดแจ้งนอก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เหรียญรุ่นแรกมีเนื้อเดียว คือ เนื้อทองแดง รมดำ โดยออกให้ประชาชนทำบุญบูชา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2512 เป็นที่ระลึกงานฉลองพระประธาน วัดแจ้งนอก จ.นครราชสีมา จำนวนสร้าง 10,000 เหรียญ

ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ ครึ่งองค์มีเนื้อเดียว คือ เนื้อทองแดงรมดำ

จำนวนเหรียญที่สร้างมีจำนวนไม่มากพอต่อความต้องการของประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงพ่อ จนมีบางคนที่ไม่ได้เหรียญรุ่นนี้ กล่าวหาว่าหลวงพ่อแจกให้เฉพาะคนรวย ไม่ให้คนจน ท่านจึงแก้ปัญหาโดยโยนเหรียญที่เหลือทั้งหมดลงสระนํ้าในวัด ใครอยากได้เหรียญให้ลงไปงมหากันเอาเอง เพื่อความเสมอภาค มีบางคนเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า "รุ่นโยนสระ" เหรียญส่วนใหญ่จึงมีรอยถลอกปอกผิวเหรียญ ซึ่งถือเป็นของธรรมดาสำหรับเหรียญรุ่นนี้

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อคูณครึ่งองค์ มีตัวอักษรล้อมรอบหลวงพ่อ โดยด้านบนเขียนว่า "พระอาจารย์คูณ ปริสุทฺโธ" ด้านล่างมีจุดคั่น 2 จุด เขียนว่า "วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา"

ด้านหลังเหรียญมีอักขระยันต์อยู่ตรงกลาง ล้อมด้วยตัวอักษรเขียนว่า "ที่ระลึกฉลองพระประธาน วัดแจ้งนอก ในเมืองนครราชสีมา ๙ ส.ค. ๑๒"

ปัจจุบันวงการพระเครื่องได้แยกบล็อกเหรียญปี 2512 นี้ออกเป็น 2 บล็อกย่อย คือบล็อกจมูกโด่ง และบล็อกจมูกบี้ โดยบล็อกจมูกโด่งจะได้รับความนิยมมากกว่า หากมีสภาพความสวยคมชัดพอๆ กัน เท่าที่พบเห็นมีทั้งแบบมีรอยจาร และไม่มีรอยจาร

ทุกวันนี้เหรียญรุ่นแรกนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้มีของปลอมเลียนแบบที่ทำได้อย่างเฉียบขาดออกมาเป็นจำนวนมาก ผู้ที่คิดจะเช่าหาต้องรอบคอบ พิจารณาตำหนิและธรรมชาติของเหรียญอย่างละเอียดลออที่สุด ด้านหลังเหรียญหูเหรียญจะมีครีบปลิ้นและรอยปั๊มกระแทก หากมีเม็ดผดผื่นอาจจะเป็นเหรียญเสริม หรือเหรียญปลอมก็ได้

บางเหรียญมีผู้นำไปให้หลวงพ่อลงเหล็กจารอักขระให้เป็นพิเศษ ช่วยเสริมให้ราคาเช่าบูชาสูงกว่าปกติพอสมควร เหรียญรุ่นนี้มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปลอดภัยเป็นเลิศ นับเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ ด้านพุทธคุณมากมายเหรียญหนึ่งของ หลวงพ่อคูณ

ความสนใจของนักสะสมเหรียญรุ่นนี้อยู่ที่ว่าเป็น "เหรียญรุ่นแรก" ของหลวงพ่อคูณ เหรียญสภาพสวยๆ รมดำเดิมๆ ทุกวันนี้ราคาเช่าหาบูชากันเป็นหลักล้านขึ้นถึงล้านปลายๆ เชื่อว่าในอนาคตเหรียญรุ่นนี้จะเป็นเหรียญหลักล้านยอดนิยมของวงการอย่างแน่นอนครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ ข่าวสดออนไลน์





หลวงพ่อทบ วัดเขาน้อย
หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ แห่งวัดเขาน้อย หรือชื่อเป็นทางการว่า "วัดพระพุทธบาทชนแดน" จ.เพชรบูรณ์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มากด้วยคุณวุฒิและพุทธาคมแกร่งกล้า นอกจากนั้นท่านยังเป็นพระนักพัฒนาและเผยแผ่พระพุทธศาสนากว้างไกลโด่งดังไปถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง

เกิดที่บ้านยางหัวลม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อปีพ.ศ.2424 บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 16 ปี ที่วัดช้างเผือก โดยมีพระอาจารย์สี เจ้าอาวาสวัดเป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน รวมทั้งวิทยาอาคมต่างๆ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทที่วัดศิลาโมง บ้านนายม อ.เมือง โดยพระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ธัมมปัญโญ" แล้วกลับไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือกดังเดิม

ศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและมนต์คาถาต่างๆ จากพระอาจารย์สีและพระอาจารย์ปาน ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อทรัพย์คาพันธ์ ที่ได้รับการกล่าวขวัญกันว่าเป็นผู้วิเศษและมีวาจาสิทธิ์จนเชี่ยวชาญ จากนั้นจึงออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อบำเพ็ญภาวนาและฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ระหว่างนั้นได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านคาถาอาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั้งประเทศพม่า ลาว และเขมร จนเป็นที่รู้จักและเคารพนับถือในด้านมนต์คาถาของบรรดาชาวเขมร

ท่านอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาโดยแท้ สร้างและพัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ท่านสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จถึง 16 หลัง จนมาถึงพระอุโบสถวัดช้างเผือกหลังที่ 17 แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จท่านก็มรณภาพเสียก่อนที่วัดช้างเผือก

ดังคำที่พระอาจารย์สีกล่าวกับท่านไว้ว่า "หากถึงวาระสุดท้ายขอให้กลับไปวัดช้างเผือก อย่าปล่อยให้ร้าง"

ก่อนท่านมรณภาพจึงได้ย้ำกับลูกศิษย์ลูกหาให้สร้างวิหารหรือมณฑปเพื่อเก็บศพเอาไว้ไม่ให้เผา มิฉะนั้นวัดช้างเผือกจะดำเนินการสู่ความเจริญรุ่งเรืองมิได้ สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นที่ พระครูวิชิตพัชราจารย์ พระครูสัญญาบัตรพัดยศ เจ้าคณะอำเภอชนแดน และสิ่งอัศจรรย์อีกสิ่งคือ ท่านมรณภาพในปีพ.ศ.2519 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 เช่นเดียวกับที่ท่านเกิด สิริอายุรวม 95 ปี

สร้างปาฏิหาริย์ต่างๆ ให้เป็นที่ปรากฏมากมาย อาทิ ถ่ายภาพไม่ติด ไฟดับ วาจาสิทธิ์ ฯลฯ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านเป็นที่รู้จักขจรไกลและเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนโดยถ้วนหน้า

วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของท่านจึงล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมวัตถุมงคลพระคณาจารย์อย่างกว้างขวาง ทั้งรูปหล่อโบราณ เสาร์ห้า รูปเหมือนลอยองค์ เสาร์ห้า (พิมพ์หัวไม้ขีด) รูปเหมือนบูชา ล็อกเกต ตะกรุดโทนถักเชือก ไปจนถึงลูกอมถักเชือก

เห็นชื่อชั้นแล้วบอกได้เลยว่าน่าสะสมมากเลยครับผม

ที่มา พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์  ข่าวสดออนไลน์




เหรียญมังกรคู่ หลวงพ่อบุญเลิศ
"หลวงพ่อบุญเลิศ สีลเตโช" เจ้าสำนักสงฆ์บุญเลิศ หมู่ 1 บ้านเนินกระถิน ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี พระเกจิอีกรูปหนึ่งที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

นอกจากนี้ มีความรู้ในการรักษาโรคกระดูกด้วยพืชสมุนไพรควบกับใช้วิทยาคม

ปัจจุบัน อายุ 62 ปี พรรษา 20

มีนามเดิม บุญเลิศ สกุลธะนู เกิดปี พ.ศ.2500 ที่บ้านหนองหว้า ม.2 ต.พยุห์ อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ

ย่างเข้าสู่ช่วงวัยหนุ่ม มีโอกาสเรียนรู้เรื่องยาสมุนไพรรักษากระดูกควบกับศึกษามนต์พิธี วิทยาคมต่างๆ จากอาจารย์ฆราวาสชาวเขมร

ใช้ชีวิตฆราวาสเป็นหมอธรรมหมอยาพื้นบ้านรักษาและช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก จนถึงปี 2543 จึงตัดสินใจหันหน้าเข้าหาพระธรรม เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดบ้านเปื่อย อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ โดยมี พระครู จันทโสตถิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมาได้ออกธุดงค์แสวงหาความหลุดพ้นตามรอยพระตถาคตไปตามป่าเขาลำเนาไพรทั่วประเทศ เคยจาริกแสวงบุญไปจนถึง จ.ปัตตานี

พ.ศ.2548 เดินธุดงค์มาที่ภูลำพญาเขตตำบลลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ได้รักษาชาวบ้านที่ป่วยจนหายเป็นปกติญาติโยมในพื้นที่เกิดเลื่อมใสศรัทธา ร่วมกันถวายที่ดินให้หลวงปู่สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นจนแล้วเสร็จ คือ สำนักสงฆ์บุญเลิศ ตั้งอยู่หมู่ 1 บ้านเนินกระถิน ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ในปัจจุบัน

เนื่องจากหลวงปู่มีความรู้ความชำนาญในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก ในแต่ละวันจึงมีญาติโยมที่เจ็บป่วยมาขอรับการรักษาจากท่านเป็นประจำ บางครั้งศาลาที่พักรองรับญาติโยมไม่เพียงพอ

คณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อบุญเลิศ นำโดย "อรุณ คนสร้างบุญ" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคู่รุ่นดีเลิศ" วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างศาลา สำหรับเป็นที่พักให้กับญาติโยมที่เจ็บไข้ได้ป่วยได้พักอาศัย

ลักษณะวัตถุมงคลรุ่นนี้ เป็นเหรียญมีหูไม่เจาะห่วง

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน ส่วนหัวมังกรจะชูกงล้อธรรมจักร

ส่วนด้านหลังบริเวณกลางเหรียญจะเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ด้านล่างเขียนว่า รุ่นดีเลิศ จากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายเขียนว่าหลวงพ่อบุญเลิศ สีลเตโช พ.ศ.๒๕๖๑ สำนักสงฆ์บุญเลิศ จ.สระบุรี

จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนสั่งจอง เนื้อเงิน 99 เหรียญ เนื้อนวะ 299 เหรียญ อัลปาก้า 399 เหรียญ เนื้อฝาบาตร 499 เหรียญ ทองแดงผิวรุ้ง 4,999 เหรียญ กะไหล่ทอง 199 เหรียญ ทองแดงผิวไฟ 1,000 เหรียญ

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




พระยอดธงหลวงพ่อเฟื่อง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์ที่ชาวดำเนินสะดวกเคารพนับถือมาก ก็คือ หลวงพ่อเฟื่อง วัดอมรญาติสมาคม ท่านได้สร้างพระยอดธงไว้และมีประสบการณ์มากมาย เป็นที่หวงแหนของชาวดำเนินสะดวกมาก ปัจจุบันหายากครับ

หลวงพ่อเฟื่อง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2420 โยมบิดาชื่อภู่ โยมมารดาชื่อมิ่ง ตอนเด็กท่านไม่ได้เรียนหนังสือ ต่อมาได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2440 ที่วัดโชติทายการาม โดยมี พระครูปรีชาวิหารกิจ (ช่วง) เจ้าอาวาสวัดโชติทายการามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองอยู่ วัดโชติทายการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการโต วัดไผ่ล้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากบวชแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดโชติทายการาม ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและฝึกพระกรรมฐานกับหลวงพ่อช่วง และท่านสามารถท่องพระปาติ โมกข์ได้ตั้งแต่พรรษาแรก แม้ท่านจะอ่านหนังสือไม่ออก

ต่อมาได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่ล้อม ได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ กับพระอธิการโตและสำเร็จอย่างรวดเร็ว หลวงพ่อเฟื่องได้ช่วยพระอธิการโตบูรณะพระอุโบสถของวัดไผ่ล้อมที่ชำรุดทรุดโทรม กุฏิ วิหารและศาลาการเปรียญจนสำเร็จ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก ครั้นต่อมาพระอธิการโตมรณภาพ ชาวบ้านจึงอาราธนาหลวงพ่อเฟื่องขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา

พอปี พ.ศ.2454 หลวงพ่อน้อยวัดอมรญาติฯ มรณภาพ ญาติโยมได้มาอาราธนาหลวงพ่อเฟื่องมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอมรญาติฯ ซึ่งเป็นวัดที่บ้านเกิดของท่านเอง ท่านจึงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอมรญาติสมาคม เมื่อมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอมรญาติฯ แล้วท่านก็ได้พัฒนาวัดและเน้นเรื่องการศึกษาเป็นพิเศษ ท่านได้สร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่เด็กในละแวกนั้นให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียน จนกระทั่งปี พ.ศ.2471 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลท่านัด ต่อมาในปี พ.ศ.2473 ก็ได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2492 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูอดุลสารธรรม หลวงพ่อเฟื่องเป็นที่รักเคารพของชาวดำเนินสะดวกมาก ท่านครองวัดมาจนถึงปี พ.ศ.2500 จึงมรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 81 ปี พรรษาที่ 61

ในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ลูกศิษย์และญาติโยมได้ขออนุญาตหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น รุ่นแรกสร้างเป็นพระยอดธง ซึ่งท่านได้พบแร่จากสระน้ำภายในวัดอมรญาติฯ ว่ากันว่าเป็นแร่ศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านเรียกกันว่า "แร่ปลาช่อน" บ้าง "แร่ปลาทอง" บ้าง หลวงพ่อเฟื่องได้นำแร่นี้มาเป็นส่วนผสมของพระยอดธง พระยอดธงได้มีการสร้างอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น รุ่นแรกสร้างประมาณปี พ.ศ.2470 รุ่น 2 สร้างประมาณปี พ.ศ.2481 ส่วนรุ่น 3 สร้างประมาณปี พ.ศ.2492 ได้รับความนิยมทั้ง 3 รุ่น มีประสบการณ์มากมาย ปัจจุบันค่อนข้างหายาก โดยเฉพาะรุ่นแรกใครมีก็จะหวงแหนเป็นพิเศษ นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญรูปท่านอีก 3 รุ่น ล้วนได้รับความนิยมและหายากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดธงรุ่นแรกของหลวงพ่อเฟื่อง เนื้อโลหะผสม ปี พ.ศ.2470 มาให้ชมครับ ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือสุดยอดพระคณาจารย์เมืองราชบุรี

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




พระวัดกลางนาคปรก
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราก็จะมาคุยกันถึงของดีราคาถูกกันอีก พระที่ว่าของดีราคาถูกและเป็นพระเก่าเสียด้วย ก็คือพระวัดจันทาราม แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดกลางตลาดพลู พระเครื่องของวัดนี้เป็นพระเนื้อชินตะกั่ว ลงรักปิดทอง พุทธคุณเด่นทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดยอดเยี่ยมครับ

วัดจันทารามหรือวัดกลางตลาดพลูนั้น ตั้งอยู่บนถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ กทม. เดิมเป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยก่อนเรียกว่า "วัดบางยี่เรือกลาง" แต่ชาวบ้านชอบเรียกสั้นๆ ว่า "วัดกลาง" ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาสุรเสนาได้บูรณะใหม่ และทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานนามว่า "วัดจันทาราม" ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

จากคำบอกเล่าของพระวิสุทธิศีลคุณ อดีตเจ้าอาวาส ว่าพระเครื่องของวัดกลางนี้ สร้างโดยอดีตเจ้าอาวาสรูปหนึ่งของวัด แต่ไม่มีบันทึกนามของท่าน เพียงแต่เรียกกันว่า พระอาจารย์เฒ่า เป็นผู้สร้างขึ้นตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 4 โดยติดพระไว้กับแผงไม้แล้วประดับไว้โดยรอบพระอุโบสถหลังเดิม พระทั้งหมดสร้างด้วยเนื้อชินตะกั่ว มีด้วยกันหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์พระประจำวัน และพิมพ์ต่างๆ ตามพุทธประวัติ ด้านหน้าลงรัก ปิดทอง ส่วนด้านหลังจะมีครั่งติดอยู่เพื่อยึดติดกับแผ่นกระดาน บางองค์มีรอยตะปูเจาะยึดติดกับแผ่นกระดาน

ต่อมาภายหลังได้มีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พระอุโบสถหลังเก่านี้จึงเปลี่ยนเป็นศาลาการเปรียญแทน และในปี พ.ศ.2485 ทางวัดได้รื้อศาลาการเปรียญหลังนี้เพื่อสร้างใหม่ ระหว่างที่รื้อถอนนั้น ได้มีผู้เข้ามาเก็บพระเครื่องเหล่านี้ไปบูชา และเกิดประสบการณ์ต่างๆ ชาวบ้านในแถบนั้นก็เข้ามาแกะเอาพระกันมากเข้าจนทางวัดต้องเก็บแผงพระเข้าไว้และใส่กุญแจ ต่อมาเมื่อทางการได้ออกหนังสือเวียนขอพระเครื่องจากพระอารามต่างๆ เพื่อเอาไปแจกแก่บรรดาทหารตำรวจที่เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีน พระวิสุทธิศีลคุณจึงนำพระเครื่องที่แกะออกจากแผงบรรจุถุงผ้าไปมอบให้ทางการส่วนหนึ่ง ปรากฏว่าในเวลาต่อมาจึงได้มีการเล่าขานถึงพุทธคุณของพระเครื่องวัดกลางว่าดีทางด้านแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพัน แต่พระเครื่องของวัดกลางก็ได้หมดไปจากวัดเสียแล้ว

เรื่องประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดนี้มีเรื่องเล่าต่างๆ มากมาย คนเก่าคนแก่ในแถบนั้นรู้เรื่องเป็นอย่างดี พระวัดกลางเป็นพระที่น่าเก็บเนื่องจากปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่แพง ราคาแค่พันเศษๆ เท่านั้น แถมบางครั้งอาจจะได้เพียงหลักร้อย สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องรักเก่าทองเก่าก็สามารถศึกษาจากรักทองของพระวัดกลางเปรียบเทียบเป็นครูได้เป็นอย่างดีครับ เรียกว่าเช่าพระองค์เดียวได้สองอย่างเลยครับ วันนี้ผมได้นำพระวัดกลางนาคปรกมาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กุมภาพันธ์ 2562 16:15:52 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #103 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2562 16:16:43 »

.


เหรียญตอก 1 หลวงปู่ทองคำ
"หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมท่านจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

ร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบัน อายุ 92 ปี พรรษา 38

เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น

ด้วยความจำเป็นบางประการ ท่านลาสิกขา และกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ในปี พ.ศ.2561 หลังย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรม สุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ หากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจ หลวงปู่ทองคำ จะข้ามไปประเทศ สปป. ลาว เป็นประจำ

เนื่องจากให้ความอุปถัมภ์วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว มาอย่างต่อเนื่องและเพื่อความสะดวก ขณะที่ท่านข้ามไปโปรดญาติโยมพำนักอยู่ที่ สปป.ลาว คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธา นำโดย "บอย สำโรงทาบ" จึงมีโครงการที่จะสร้างอาศรมถวายหลวงปู่ขึ้นที่ประเทศ สปป.ลาว แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

จึงจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญตอก 1 รวยทันตา" ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะรู

ด้านหน้าเหรียญ บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทองคำครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่หน้าอกซ้ายตอกเลข 1

ด้านหลังเหรียญ ที่ใต้หูเหรียญ เขียนคำว่า "หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" จากด้านขวาลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายมีตัวอักษร เขียนคำว่า "อาศรมสุวโจ ต.ศรีสุข อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์" บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเต่าและมีอักขระยันต์เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งมั่นคง อายุยืน และเรียกทรัพย์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ใต้อักขระยันต์มีตัวเลข ๙๑ เป็นอายุของหลวงปู่ทองคำ

จำนวนการสร้างประกอบด้วย เนื้อทองคำ 10 เหรียญ เนื้อทองคำหลังเรียบจารพระยาปากเข็ด 22 เหรียญ เนื้อทองใบใหญ่ 300 เหรียญ เนื้อตะกั่ว 1 พันเหรียญ และเนื้อทองแดง 1 หมื่นเหรียญ

อธิษฐานจิตเดี่ยวหลายครั้ง จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคตยาวไกลราคาเริ่มขยับขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา ข่าวสดออนไลน์




พระร่วงนั่งกรุม่วงค่อม พิมพ์เล็ก
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน อำเภอชัยบาดาลเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี และที่อำเภอนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ชุมชนหนึ่ง ซึ่งเก่าแก่ถึงสมัยทวารวดีมีการพบลูกปัดโบราณและโบราณวัตถุต่างๆ อยู่หลายยุค ตลอดจนพระเครื่อง ซึ่งพระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยก่อนก็คือ "พระร่วงนั่งกรุม่วงค่อม" ซึ่งเราจะมาคุยถึงกัน

ม่วงค่อมเป็นตำบลตำบลหนึ่งในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ชื่อเดิม "ม่วงขอม" เนื่องจากดินแดนแถบนี้เคยตกอยู่ในอาณานิคมของขอม แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนกันเป็น "ม่วงค่อม" ในปี พ.ศ.2516 ได้มีการขุดพบพระร่วงนั่งที่ม่วงค่อมแห่งนี้ และพบเป็นจำนวนมากพอสมควร

พระร่วงนั่ง กรุม่วงค่อม เป็นพระขนาดเล็กเหมาะแก่การนำมาเลี่ยมห้อยคอ พระที่พบนั้นเป็นพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ พระที่พบเป็นพระประทับนั่งปางสมาธิ สวมหมวกชีโบ มีกำไรแขน ศิลปะแบบลพบุรี จากพุทธศิลปะสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศิลปะลพบุรียุคปลายๆ พระพุทธลักษณะในแบบนี้สังคมพระเครื่องมักเรียกกันว่า "พระร่วง" แทบทั้งสิ้น สร้อยต่อท้ายว่าม่วงค่อมก็เพื่อให้ทราบว่าเป็นพระที่ขึ้นมาจากที่ใด จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกกันว่า "พระร่วงนั่งกรุม่วงค่อม" พิมพ์ของพระที่พบจะแยกออกได้เป็นพระพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์เล็กและพิมพ์ฐานสูง แต่พุทธลักษณะโดยรวมก็คล้ายคลึงกันมาก ผิดที่ขนาดลำพระองค์ของตัวองค์พระและฐานขององค์พระเท่านั้น ขนาดขององค์พระก็ไม่ต่างกันมากนัก คือมีขนาดฐานกว้างประมาณ 2 ซ.ม. สูงประมาณ 3.5 ซ.ม.

พระที่พบส่วนมากจะเป็นพระพิมพ์เล็ก ส่วนพิมพ์อื่นๆ นั้นพบน้อยกว่ามาก ที่จะพบทั่วๆ ไปในปัจจุบันก็มักจะเป็น พระพิมพ์เล็กแทบทั้งสิ้น และเนื้อเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ซึ่งพระกรุนี้จะมีสนิมแดงที่จัดมากสีจะแดงเข้มอมม่วง มีไขขาวปกคลุม พระที่ขึ้นจากกรุใหม่ๆ จะมีไขขาวปกคลุมผิวค่อนข้างมาก เมื่อนำมาล้าง ไขขาวออกแล้ว ผิวสนิมจะจัดมากและคลุมทั่วทั้งองค์พระ มีรอยรานของผิวสนิมแบบใยแมงมุมตามแบบฉบับของสนิมแดงแท้ ทำให้พิจารณาง่ายถึงอายุความเก่าของพระครับ

พระร่วงนั่งกรุม่วงค่อมนี้ เมื่อมีผู้นำไปใช้ห้อยคอก็เกิดประสบการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ จนเป็นที่กล่าวขวัญกันว่าเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด นับว่าเข้มขลังมากองค์หนึ่งเลยทีเดียวครับ ส่วนเรื่องสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับพระร่วงเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงอย่างอื่นๆ ในสมัยก่อนหลังจากแตกกรุออกมาซักสิบปีก็ยังหาไม่ยากนัก แต่ปัจจุบันก็ไม่ค่อยพบเห็นเช่นกันครับ ของปลอมแปลงมีออกมาเช่นกัน ต้องพิจารณาพิมพ์และผิวสนิมให้ดีครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระร่วงนั่งกรุม่วงค่อม พิมพ์เล็ก ซึ่งเป็นพิมพ์ที่พบเห็นกันมากที่สุดจาก หนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ

ที่มา ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #104 เมื่อ: 09 มีนาคม 2562 15:11:40 »

.


พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยโบราณการเลี่ยมพระห้อยคอนั้นยังไม่ค่อยมีร้านทำมากนัก ใครจะเลี่ยมพระก็ต้องไปร้านทองเลี่ยม เกาะขอบด้วยทองคำบ้าง เงินบ้าง นากบ้าง แต่ก็ต้องใช้เงินมากหน่อย ส่วนคนที่เบี้ยน้อยหอยน้อยก็จะนำพระมาถักเชือกบ้าง ถักลวดทองแดงบ้างหุ้มองค์พระไว้ ห่อไว้ในผ้าบ้างหรือเวลาจะไปไหนก็อมพระไว้ในปากบ้าง พระที่นิยมอมไว้ในปากสมัยก่อนก็น่าจะเป็น "พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า" มากที่สุด เนื่องจากเป็นพระเนื้อดินเผาขนาดเล็ก และพุทธคุณนั้นก็โดดเด่นมากทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ผมได้รับการบอกเล่าจากคนรุ่นเก่าๆ มาหลายคนต่างก็ยกย่องให้พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าว่าสุดยอด

ในสมัยก่อนตอนเป็นวัยรุ่นก็พยายามหาพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าเช่นกัน ขอเขาดูบ้างว่าเป็นอย่างไร ลักษณะไหน ครูพักลักจำบ้าง ก็เสาะหาไปเรื่อยๆ ขอเขาบ้าง เช่าหาบ้าง แต่ก็ยังไม่เคยได้พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าแท้ๆ เลย เป็นพระปลอมบ้างพระสร้างใหม่ๆ บ้าง แต่ก็ไม่ละความพยายาม ไปขอความรู้จากผู้ใหญ่ในสนามวัดมหาธาตุสนามหลวง ก็พอได้ดูพระแท้ๆ และผู้ใหญ่ท่านก็สอนให้จดจำทั้งพิมพ์และเนื้อพระ เอกลักษณ์ต่างๆ และยังได้รับความรู้เพิ่มอีกว่านอกจากพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าแล้วยังมีพระลักษณะคล้ายๆ กันอีก และก็เป็นพระกรุเดียวกันแต่พระพิมพ์นี้หายากกว่าเพราะพระที่พบในกรุจะมีพิมพ์นี้จำนวนน้อยกว่า พระที่ว่าคือ "พระพิจิตรเขี้ยวงู"

หมั่นไปหาผู้ใหญ่ในสนามพระบ่อยๆ ก็ได้ดูทั้ง "พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า" และ "พระพิจิตรเขี้ยวงู" ก็พอจะรู้ว่าพระทั้ง 2 แบบมีเนื้อแบบเดียวกัน ขนาดเดียวกัน แต่เป็นคนละพิมพ์กัน พระพิจิตรเขี้ยวงูจะมีองค์พระที่ผอมกว่าองค์พระมีลักษณะเรียวๆ กว่า พระเม็ดน้อยหน่านอกจากของจังหวัดพิจิตรแล้วก็ยังมีของจังหวัดกำแพงเพชรอีกด้วย แต่พิมพ์และเนื้อพระจะต่างกัน ของจังหวัดพิจิตรเนื้อพระมักจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด มีที่เป็นสีออกแดงบ้างแต่ก็พบน้อยมาก ของจังหวัดกำแพงเพชรมักจะเป็นเนื้อสีออกแดงและเนื้อออกจะออกทางพระของกำแพงเพชร

พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าของพิจิตรเนื้อดินจะละเอียดหนึกนุ่ม พระที่ผ่านการใช้ส่วนใหญ่จะดำเงาเป็นมัน พิมพ์ของพระที่ตื้นๆ พระพิจิตรเขี้ยวงูก็เช่นกันเนื้อดินแบบเดียวกัน และพิมพ์พระก็จะตื้นๆ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันพระทั้ง 2 พิมพ์หายากมาก ของปลอมเลียนแบบมีมากมายหลายฝีมือ และมีการปลอมกันมานานแล้ว แต่เนื้อพระจะทำไม่ได้เหมือนกัน แม้แต่พิมพ์ก็ถอดยาก เพราะพระแท้ๆ ก็มีพิมพ์ตื้นๆ จึงถอดยาก ถ้าแกะแม่พิมพ์ใหม่ยิ่งเพี้ยนใหญ่ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาดีๆ จดจำพิมพ์และเนื้อพระให้ได้เพราะเนื้อพระจะเป็นเอกลักษณ์ของพระกรุนี้

วันนี้ผมได้นำรูป "พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า" กรุท่าฉนวน จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




เหรียญแซยิด 60 หลวงพ่ออ๊อด  

"พระครูปลัดอิทธิพล ปธานิโก" หรือ "พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม" เจ้าอาวาสวัดสายไหม ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าตำรับวัตถุมงคลตะกรุดลูกปืน

ศึกษาวิชาด้านการทำตะกรุดมาจากพ่อรอด สุขแสงจันทร์ ฆราวาส เมื่อร่ำเรียนได้วิชาความรู้มาแล้ว จึงได้มาบวชเรียนอยู่ที่วัดสายไหม เป็นเวลากว่า 25 ปี ก่อนจะจัดสร้างปลุกเสกตะกรุดลูกปืนแจกจ่ายประชาชน

นอกจากนี้ ยังจัดสร้างวัตถุมงคลอีกหลายอย่าง อาทิ เหรียญเนื้อปลอกลูกปืน พระปิดตาเนื้อผงชุบรัก เหรียญเสมารุ่นเสาร์ ๕ ประกอบพิธีบวงสรวง พุทธาภิเษก และนั่งปรกอธิษฐานจิต ที่วัดสายไหม

ในปี พ.ศ.2562 จะมีอายุครบ 60 ปี หรือ 5 รอบ วัดสายไหมจึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก "เหรียญแซยิด 60 (5 รอบ)" เพื่อเป็นการฉลองครบรอบอายุวัฒนมงคล 60 ปี

ลักษณะเหรียญ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงสูง ขนาด 3 คูณ 2 เซนติเมตร

ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่ออ๊อด นั่งขัดสมาธิ ด้านขวามีคำว่า "แซยิด 60" หมายถึงครบรอบอายุ 60 ปี หรือ 5 รอบ ด้านซ้ายมีคำว่า "รุ่นเดียว" คำนี้ถือเป็นจุดเด่นของเหรียญรุ่นนี้เลยทีเดียว หมายถึง อายุ 60 ของแต่ละคนแต่ละท่าน จะมีแค่ครั้งเดียว ผ่านเลยไปแล้วก็ไม่เป็น 60 ปี หรือ 5 รอบได้ แฝงไปด้วยปริศนาทางธรรม ดังบทความที่หลวงพ่ออ๊อด ยกขึ้นมาเตือนสติลูกศิษย์และญาติโยมอยู่เสมอว่า "วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่หนอ" เป็นบทความย้ำเตือนสติให้ขวนขวายกระทำความดีในขณะที่เราและท่านทั้งหลายยังมีชีวิตอยู่ ด้านล่างเป็น พ.ศ.2562 หมายถึงปีที่ครบรอบหรือปีที่จัดสร้างนั้น บรรทัดล่างเป็นชื่อ หลวงพ่ออ๊อด พร้อมฉายา ปธานิโก

ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์ตรีนิสิงเห เป็นยันต์ที่มีพลังพุทธคุณ ด้วยยันต์ตรีนิสิงเห เป็นยันต์ครูใหญ่แห่งยันต์ทั้งปวง มีคุณทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ที่สำคัญยังช่วยหนุนนำดวงชะตามิให้ตกต่ำอีกด้วย โบราณใช้แขวนเรือนเวลาคลอดบุตรหรือเรือนผู้มีลูกอ่อน เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโรคภัยไข้เจ็บ ด้านล่างเป็นชื่อวัดสายไหม

สำหรับการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสมทบทุนสร้างวัดสายไหมแห่งที่ 2 อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่สร้างไปแล้วกว่าร้อยละ 30 สามารถสั่งจองได้แล้ว ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 25 ก.ค.2562

กำหนดประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันที่ 28 ก.ค.2562 เวลา 07.09 น. และรับวัตถุมงคล วันที่ 1 ส.ค.2562 เป็นต้นไป

จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ไว้ทั้งหมด 4 เนื้อ คือ ทองแดง, เนื้อเงิน, เนื้อนวะ และเนื้อทองคำ


ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหลวงปู่เต็ม  

หลวงปู่เต็ม ฐิตธัมโม หรือ "พระครูพิศิษฏ์วิหารคุณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านตำแย และอดีตเจ้าคณะตำบลนาสีนวนเขต 1 อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง สืบสายธรรมจากหลวงปู่ใบ ปุณโณ บูรพาจารย์รุ่นเก่าชื่อดัง

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2474 ณ บ้านตำแย ต.นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม อุปสมบท ณ วัดบ้านหนองอุ่ม ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ใบ ปุณโณ เจ้าอาวาสวัดบ้านตำแย ศึกษาสรรพวิชาทั้งกัมมัฏฐานและวิทยาคม

มรณภาพอย่างสงบ ในปี พ.ศ.2545 สิริอายุ 71 ปี พรรษา 51

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมเป็นสุดยอดปรารถนาของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์และนักสะสมนิยมพระเครื่อง คือ เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่เต็ม รุ่นแรกสร้างปี พ.ศ.2533

เหรียญนี้จัดสร้างขึ้นในวาระที่ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้า คณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูพิศิษฏ์วิหารคุณ

แจกคณะศิษย์ รวมทั้งแจกให้กับพุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมงานมุทิตาสักการะ รวมทั้งผู้บริจาคสมทบทุนสร้างสาธารณูปโภคสาธารณูปการในวัด

เป็นเหรียญรูปไข่ มีหู จัดสร้างเนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างประมาณ 5,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญยกขอบ จากด้านขวาโค้งลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านขวา เขียนคำว่า "พระครูพิศิษฏ์วิหารคุณ" ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เต็มครึ่งองค์ หันหน้าตรง

ด้านหลัง เริ่มจากด้านขวาของเหรียญโค้งขึ้นไปทางด้านซ้ายของเหรียญ เขียนคำว่า "วัดบ้านตำแย ต.นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม" ด้านล่างสุด เขียนว่า "พ.ศ.๒๕๓๓" เป็นปีพุทธศักราชที่สร้าง ส่วนตรงกลางเหรียญมียันต์อักขระ 3 แถว อ่านว่า "นะ มะ พะ ทะ นะ มะ อะ อุ นะ ชา ริ ติ" เป็นคาถาตั้งธาตุ

รุ่นนี้ หลวงปู่เต็มประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยว ภายในอุโบสถตลอดพรรษา

ยังพอหาเช่าได้ตามศูนย์พระเครื่องในอำเภอกันทรวิชัยและเมืองมหาสารคาม


ข่าวสดออนไลน์





เหรียญหลวงปู่นาม

พระครูสุวรรณศาสนคุณ พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมแห่งสุพรรณบุรี มีพลังจิตเข้มขลัง วิทยาคมแก่กล้า ชาวบ้านต่างเรียกขานนามท่านว่า "หลวงปู่นาม สาสปโชโต" หรือ พระอุปัชฌาย์นาม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดน้อยชมภู่ ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

ท่านมีนามเดิมว่า นาม ไม่ทราบนามสกุล เกิดเมื่อปี พ.ศ.2464 เป็นชาวเมืองสุพรรณบุรีโดยกำเนิด สำหรับประวัติชื่อโยมบิดา-มารดา และประวัติในวัยเด็ก ไม่สามารถสืบค้นได้ แม้กระทั่งตัวหลวงปู่เองก็จำเหตุการณ์ในช่วงวัยเด็กไม่ค่อยได้

เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านกร่าง มีพระเมธีธรรมสาร (ไสว) วัดบ้านกร่าง เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นยอดพระเกจิที่ชาวเมืองสุพรรณบุรีให้ความเลื่อมใสศรัทธา ท่านเป็นคนเงียบ ไม่พูด ไม่คุย แต่ชาวเมืองสุพรรณทราบดีว่า พระรูปนี้เป็นยอดพระเกจิที่เข้มขลังขนานแท้ ท่านสืบพุทธคุณสายลุ่มแม่น้ำท่าจีนและสายสุพรรณฯมาอย่างครบถ้วนรุ่นแรก ได้รับความนิยม เป็นสุดยอดปรารถนา มีลักษณะรูปทรงคล้ายดอกไม้ มีหู เนื้อทองแดง

ด้านหน้าเหรียญ มีรูปหลวงปู่นามนั่งเต็มองค์ขัดสมาธิ ยกขอบเหรียญสูง ในพื้นที่ว่างสลักรูปยันต์โดยไม่มีที่ว่างเลย ยันต์ทั้งหมดเป็นยันต์ครูใน 5 สายวิชา ที่ท่านสืบทอดมา คือ

ด้านหลังเหรียญ มีอักขระยันต์กำกับไว้เต็มพื้นที่ ด้านล่างใต้ยันต์ เขียนข้อความว่า "วัดน้อยชมภู่" ทั้งนี้ อักขระยันต์ที่ปรากฏทั้งด้านหน้า-หลังเหรียญ ประกอบด้วย

1.อักขระยันต์สายสมเด็จโต วัดระฆัง ลงปถมัง อานุภาพของยันต์ปถมังหนักไปทางด้านอิทธิฤทธิ์ อยู่ยงคงกระพันชาตรี สะกดทั้งมนุษย์และสัตว์ให้ตกอยู่ในอำนาจ และเป็นกำบังล่องหนหายตัว

2.สายหลวงพ่อเนียม วัดน้อย "ยันต์ต่ออายุ" ให้ยืนยาว แก้โรคภัยเวรภัย

3.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว "ยันต์เฑาะว์ มหาพรหม" (พุทธคุณสำเร็จดังปรารถนา)

4.หลวงพ่อ เฒ่าวัดค้างคาว "ยันต์ค่ายกลถอดรูป" (จักรกรณี) ป้องกัน โชคลาภ ค้าขาย

5.หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า "ยันต์ปฐมองค์ 8" เรียกลาภเข้ามา 8 ทิศ

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเพียง5,160 เหรียญ มีโค้ดกำกับ ถือเป็นเหรียญที่มีความงดงามและมีอนาคต


ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหลวงปู่ขาว

หลวงปู่ขาว ปัญญาวุฑโฒ หรือ "พระครูปัญญาวุฒิวิชัย" เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งสารคาม เป็นศิษย์สืบสายธรรมพระครูวิชัยกันทรารักษ์

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2466 ที่บ้านคันธารราษฎร์ จ.มหาสารคาม เมื่ออายุครบบวชได้ เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสุวรรณมงคล โดยมีพระครูวิชัยกันทรารักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคมจากพระครูวิชัยกันทรารักษ์ ไม่ว่าจะเป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี กันบ้านกันเมือง นอกจากนี้ ยังศึกษาไสยเวทเพิ่มเติมจากพ่อธรรมบัว บ้านหนองโก ทำให้ท่านมีวิทยาคมที่เข้มขลัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวอำเภอกันทรวิชัย

ปัจจุบันสิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย และเจ้าอาวาสวัดพุทธมงคล ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

กล่าวกันว่า งานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในจังหวัดมหาสารคาม จะต้องนำวัตถุมงคลมาให้หลวงปู่อธิษฐานจิตปลุกเสกให้ หรือนิมนต์หลวงปู่ร่วมพิธีทุกงาน

วัตถุมงคลสร้างไว้เพียงรุ่นเดียว ถือเป็นสุดยอดปรารถนา คือ เหรียญกลมรูปเหมือนหลวงปู่ขาว รุ่นเมตตา วัดพุทธมงคล พ.ศ.2551 จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสอายุวัฒนมงคล 85 ปี

มอบให้ศิษยานุศิษย์ รวมทั้งแจกให้กับผู้ที่มาร่วมงานมุทิตาจิต เป็นเหรียญทรงกลม มีหูห่วง เนื้อทองแดงรมดำ จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ขาว ครึ่งองค์ จากด้านซ้ายของเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนวนลงไปทางด้านขวา เขียนว่า "หลวงปู่ขาว วัดพุทธมงคล อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม"

ด้านหลังเหรียญ บริเวณใต้ห่วงเขียนว่า "รุ่นเมตตา" บริเวณกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระ นะโม พุทธายะ เป็นยันต์ที่มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และจากขอบเหรียญด้านซ้ายวนลงมาด้านล่างวกขึ้นไปด้านขวา เขียนว่า "อายุวัฒนมงคล ๘๕ ปี ๓๑ ม.ค.๕๑" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ถึงแม้จะเป็นเหรียญใหม่ จัดสร้างได้เพียงแค่ปีเศษก็ตาม แต่ผู้ที่มีเหรียญหลวงปู่ขาวในครอบครอง ต่างมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย สามารถผ่อนหนักเป็นเบา

ส่งผลให้เป็นเหรียญที่มีอนาคตไกล กระแสเริ่มแรง ต่างเริ่มเช่าหาเก็บกันไว้ ทำให้เริ่มหายากขึ้น


ข่าวสดออนไลน์




พระกริ่งนิรันตรายรุ่นแรก หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต

"พระนิรันตราย" นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง และได้มีการจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้งพระบูชา พระกริ่ง พระพิมพ์ และเหรียญ

"วัดเขาตาเงาะอุดมพร" อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ โดย หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต จึงดำริจัดสร้างพระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เพื่อเป็นปูชนียวัตถุอนุสรณ์มอบเป็นปฏิการคุณ แด่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์อารามแห่งนี้ ซึ่งจะมีพิธีพุทธาภิเษกประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นี้

รายการจัดสร้างพระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) ประกอบด้วย พระบูชาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และขนาด 1 นิ้ว (ตั้งหน้ารถ)

พระกริ่งนิรันตราย จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงินก้นทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองสัมฤทธิ์ เนื้อทองระฆังโบราณ เนื้อทองแดงผิวรุ้ง และชุดกรรมการอุปถัมภ์ การจัดสร้างจำนวนจำกัด วัตถุมงคลมีโค้ดและหมายเลขทุกองค์

ติดต่อสั่งจองวัตถุมงคลได้ที่วัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ โทร.09-3540-2444 และศูนย์วัตถุมงคลวัดยานนาวา กรุงเทพฯ โทร.08-4899-9541, 08-9341-8111, 08-8288-9111

สําหรับพระนิรันตราย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีการค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ในราวปี พ.ศ.2399 นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาล

โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (ทำบุญตรุษ), พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ

ตามประวัติการค้นพบกล่าวไว้ว่า ในครั้งนั้นเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 74 หรือ พ.ศ.2399 กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อนายยัง ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิประมาณ 3 เส้น ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง จึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ

คำว่า "นิรันตราย" อันหมายถึง ปราศจากอันตรายนิรันดร์ นั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 พระราชทานพระนาม สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2403 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ได้สร้างปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป แต่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า

พระองค์มีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไป แต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง จึงมีพระราชดำริให้เจ้าพนักงานหล่อพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระพุทธรูปองค์ใน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดี ไว้อีกชั้นหนึ่ง พระราชทานพระนามว่า "พระนิรันตราย" และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ไว้คู่กัน

ในปี พ.ศ.2411 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกัน เป็นเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมแสดงพระพุทธคุณจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูป พระมหามงกุฎ ตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ จำนวน 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ พระราชทานนามว่า "พระนิรันตราย" เช่นกัน

เพื่อจะพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันทำกะไหล่ทอง พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นายช่างทำกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตจำนวน 18 วัด ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก ประกอบด้วย วัดราชาธิวาส, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดเทพศิรินทราวาส, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดบรมนิวาส,วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดโสมนัสวิหาร,วัดบุรณศิริมาตยาราม, วัดราชผาติการาม, วัดปทุมวนาราม, วัดสัมพันธวงศ์, วัดเครือวัลย์, วัดบุปผาราม, วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี, วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี, วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จ.พระนครศรีอยุธยา และวัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้นทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละ 1 องค์

ปัจจุบัน "พระนิรันตรายองค์จริง" ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง


ข่าวสดออนไลน์




รูปหล่อหลวงปู่ปัน

หลวงปู่ปัน สัมปันนธัมโม วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม บ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ปัจจุบัน สิริอายุ 80 ปี พรรษา 20

มีนามเดิม ปัน คำวงศ์ เกิดปี พ.ศ.2482 ที่บ้านหนองบัว ต.นางาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่อุโบสถวัดในหมู่บ้านอยู่ได้ประมาณ 10 พรรษา ลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว

ขณะใช้ชีวิตฆราวาสมีโอกาสรับใช้อุปัฏฐาก "หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต" วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ผาง

จนถึงปี 2542 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึงเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ อุปสมบท ณ อุโบสถวัดชัยชุมพล (ธรรมยุต) อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ โดยมีพระครูอรรถธรรมโสภณ หรือหลวงปู่แหล่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ตามวัดป่าหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อาทิ วัดเขาบอระเพ็ด, วัดใหม่สุวรรณโณ จ.สระบุรี, วัดโนนสว่าง จ.บุรีรัมย์, วัดป่าพัฒนาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ในปี 2560 บรรดาญาติโยมบ้านขามป้อม ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ได้กราบนิมนต์หลวงปู่ ให้มาจำพรรษาที่วัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม หลวงปู่พิจารณาแล้วเห็นว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบ ภายในอุดมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมยิ่งนัก ท่านจึงรับนิมนต์ปฏิบัติศาสนกิจอยู่วัดแห่งนี้

เนื่องจากวัดเทพนิมิตจันทร์แสงวนาราม เป็นวัดที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร ถาวรวัตถุภายในวัดก็ยังไม่มี บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ปัน นำโดย "ศุภกิจ พิสมัย" และ "พ.อ.อำนาจ ชนะชาญชัย" มีมติร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ปัน รุ่น 1

เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิให้หลวงปู่จำพรรษา และพัฒนาสาธารณูปโภค ภายในวัด

วัตถุมงคลรุ่นนี้ เป็นแบบหล่อเบ้าทุบ เป็นรูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่ปัน นั่งวิปัสสนาบนฐานภูเขา สำหรับจำนวนการสร้างประกอบด้วย

1.เนื้อทองคำสร้างไม่เกิน 9 องค์ 2.ชุดกรรมการ รับพระ 7 องค์ สร้างจำนวน 168 ชุด 3.เนื้อเงินนำฤกษ์ 499 องค์ 4.เนื้อนวะดินไทยโบราณนำฤกษ์ตะกรุดทองคำ 499 องค์ 5.นวะปลอกผิวกลับดำ 499 องค์ 6.เนื้อทองชนวนพระเก่า 999 องค์ 6.เนื้อทองแดงเถื่อนผสมชนวน 2,999 องค์ เป็นต้น

หากเช่าทุกรายการจะสมนาคุณเนื้อเหล็กน้ำพี้ฝังตะกรุดทองคำ 1 องค์ และเนื้อทองแดงเถื่อนชุบ 3 เค จำนวน 1 องค์

ติดต่อโทร.06-2653-2899, 08-3095-1110


ข่าวสดออนไลน์




พระกริ่งใหญ่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ณ ปัจจุบันนี้มีการหลอกขายหรือให้เช่าพระเครื่องปลอมเยอะมาก โดยมีวิธีการในการหลอกลวงที่แยบยลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลอมแปลงที่ใกล้เคียงกับพระแท้ๆ มากขึ้นจนเกือบเหมือนของจริงมากขึ้น นอกจากนี้กลุ่มมิจฉาชีพก็จะมีการเล่านิทานประกอบการขายได้อย่างน่าเชื่อถือ และมีทีมงานละครประกอบด้วย ปัจจุบันก็มีผู้ที่ถูกหลอกอยู่หลายรายครับ

เนื่องจากมีผู้ที่นำพระเครื่องมาขอออกใบรับรองพระแท้ที่สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยบางท่าน ได้นำเรื่องมาร้องเรียนและขอความช่วยเหลือหรือขอคำแนะนำอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากพระเครื่องที่เขานำมาขอออกใบรับรองนั้น เป็นพระไม่แท้ สิ่งที่ได้รับฟังมา

โดยส่วนใหญ่ก็จะได้รับการยืนยันจากผู้ขายว่าเป็นพระแท้ บางรายยังแอบอ้างชื่อเจ้าของเดิมเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงหรือเป็นเซียนพระที่มีชื่อเสียงในสังคม แต่พอสืบความไปยังต้นเรื่องก็ปรากฏว่า บุคคลที่เขาอ้างถึงไม่รู้เรื่องด้วยเลย พอสอบถามผู้ซื้อว่าคุณได้ซื้อมาจากเจ้าตัวเองเลยหรือเปล่า ก็ปรากฏว่าไม่ใช่ แต่ผู้ที่นำมาขายอ้างถึงและยืนยัน ผู้ซื้อก็ดูพระไม่เป็น เพียงแต่ศึกษาในเบื้องต้นว่า พระแบบนั้นแบบนี้หน้าตาลักษณะเป็นอย่างไรเท่านั้น และพระปลอมที่เขานำมาขายก็มีการแอบอ้างที่มาที่ไปจนน่าเชื่อถือ บางรายยังมีใบประกาศนียบัตรผ่านการประกวดงานใหญ่ๆ มาแล้ว หรือมีใบรับรองพระแท้จากสถาบันต่างๆ พอนำมาตรวจสอบปรากฏว่าเป็นพระปลอม แถมใบประกาศฯและใบรับรองก็ยังเป็นของปลอมอีกต่างหาก

บางรายก็มาขอให้ทางสมาคมช่วยเป็นตัวกลาง เรียกให้ผู้ที่ขายพระปลอมนำเงินมาคืน ครับเรื่องในส่วนนี้ทางสมาคมก็ไม่มีอำนาจทางกฎหมายที่จะดำเนินการได้แต่อย่างใด ผู้เสียหายต้องไปติดต่อกับผู้ขายเอง ถ้าเขาไม่ยอมคืนเงินก็คงต้องไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ขายเองครับโดยอาจจะอ้างการพิสูจน์แล้วว่า พระที่ขายไม่ตรงกับที่เขาบอกขาย ถ้าจะให้ดีก็นำพระองค์นั้นๆ ไปเสนอขายตามศูนย์พระมาตรฐานหลายๆ ร้าน และควรให้มีพยานในการเสนอขายด้วยว่าไม่มีใครรับซื้อเลย เนื่องจากพระแท้ซึ่งอยู่ในความนิยมเช่นพระยอดนิยมต่างๆ นั้น จะมีมูลค่ารองรับอยู่เสมอ ส่วนมูลค่าต่างๆ นั้นอาจจะไม่เท่ากันนักแต่ก็ควรจะมีมูลค่ารองรับอยู่ครับ ส่วนพระปลอมนั้น ถ้าเอาเข้าไปเสนอขายในศูนย์พระมาตรฐานเขาจะไม่ซื้อเลย ก็เท่ากับว่าไม่มีมูลค่ารองรับ สิ่งเหล่านี้เป็นการพิสูจน์ได้โดยไม่ต้องมาเถียงกันว่าอย่างนั้นแท้อย่างนี้เก๊ ซึ่งก็เถียงกันไม่จบ แต่มูลค่ารองรับนั้นจบและเป็นมาตรฐานของสังคมพระเครื่องครับ

ปัจจุบันก็พบผู้ที่เข้ามาในสังคมพระรุ่นใหม่ๆ บางท่านก็เข้ามาเพราะชื่นชอบ เพราะศรัทธาในพระเครื่อง บ้างก็เข้ามาเนื่องจากจะเริ่มทำเป็นอาชีพ โดยเฉพาะผู้ที่จะเริ่มเข้ามาทำเป็นอาชีพก็อาจจะโดนหลอกจากพวกมิจฉาชีพได้บ้างซึ่งก็เป็นธรรมดา ผู้ที่เข้ามาเป็นเซียนพระหรือผู้เข้ามาเพื่อประกอบอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องนั้น ต่างคนก็เคยโดนพระเก๊มาทั้งนั้น นั่นเป็นเรื่องจริง แต่เขาก็ศึกษาและเพิ่มทักษะจากประสบการณ์ จนเป็นผู้ชำนาญการในเวลาต่อมา ส่วนคนดีคนเลวนั้นก็มีได้ทุกอาชีพ บางคนเก่งแต่เลวก็มีครับ และคนดีด้วยเก่งด้วยก็มีครับ จะคบใครเชื่อใจใครก็ควรจะต้องค่อยๆ คบหาและดูภูมิหลังเขาหน่อยครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระเครื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เขียน แต่เป็นพระกริ่งใหญ่จากประเทศจีนแท้ๆ สวยๆ มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นปาฏิหาริย์ EOD

หน่วยเก็บกู้และตรวจสอบวัตถุระเบิด หรือ EOD (Explosive Ordnance Disposal) มีหน้าที่หลัก คือ ตรวจสอบ เก็บกู้ หรือ ทำลายวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุระเบิดทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์วางระเบิดสะเทือนขวัญตามสถานที่ต่างๆ อย่างไม่กลัวอันตราย

ด้วยเหตุนี้ ขวัญและกำลังใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบุคลากรในหน่วยงาน จึงมีการจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อนำรายได้เป็นทุนจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัย โดยขอความอนุเคราะห์จากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมตตาอนุญาตให้จัดสร้างและร่วมพิธีปลุกเสก

เมื่อปี พ.ศ.2557 คณะศิษย์หน่วยทำลายและเก็บกู้วัตถุระเบิด EOD อโณทัย จังหวัดปัตตานี โดยมี พ.อ.ทวีศักดิ์ จันทราสินธุ์ เป็นประธาน ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) รุ่นปาฏิหาริย์ EOD ปี 2557 ประกอบด้วย เหรียญรูปไข่ พิมพ์ครึ่งองค์, เหรียญเสมา พิมพ์เต็มองค์ และรูปเหมือนปั๊มปาฏิหาริย์

วัตถุประสงค์หลัก เพื่อนำรายได้ถวายหลวงพ่อคูณจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินถวายวัดบุไผ่ (บ้านไร่ 2) อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เพื่อโครงการสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อคูณองค์ใหญ่ที่สุดในโลก และเพื่อมอบเป็นทุนในการก่อตั้งกองทุนช่วยเหลือนักทำลายและเก็บกู้วัตถุระเบิด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ในครั้งนั้นคณะศิษย์หลวงพ่อคูณ ผู้จัดสร้างรุ่นปาฏิหาริย์ EOD ได้ประกาศงานบุญเปิดรับบริจาค 2,000 บาท เพื่อซื้อแว่นตากันสะเก็ดระเบิดให้กับเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด EOD ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผู้ร่วมบุญได้รับพระชุดหลวงพ่อคูณ ปาฏิหาริย์ EOD เนื้อมหาชนวนแจกทหาร 3 พิมพ์ คือ เหรียญเสมา เหรียญรูปไข่ และรูปเหมือนปั๊ม จัดสร้างเพียงพิมพ์ละ 999 องค์ ปรากฏว่าด้วยบุญบารมีของหลวงพ่อคูณ ทำให้คณะศิษย์ช่วยกันระดมทุนหาเงินได้เกือบ 6 แสนบาท ซื้อแว่นตากันระเบิดได้จำนวน 316 ชุด ส่งมอบให้ทหารตำรวจหน่วย EOD เป็นผลสำเร็จ

ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกวาระแรก เมื่อวันที่ 14 ก.พ.2557 (วันมาฆบูชา) ณ อุโบสถวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โดยหลวงพ่อคูณ เมตตาจุดเทียนชัยในพิธีพุทธาภิเษก ที่วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และอธิษฐานจิตร่วมกับพระเกจิคณาจารย์ดัง

จากนั้น ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกวาระที่ 2 วันที่ 8 มี.ค.2557 ณ พระอุโบสถวัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา และทำลายบล็อก

เหรียญรูปไข่หลวงพ่อคูณ-รุ่นปาฏิหาริย์ EOD มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อคูณครึ่งองค์หันหน้าตรง หลับตา ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ใต้ยันต์ เขียนคำว่า "ปาฏิหาริย์" ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า "พระเทพวิทยาคม หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่"

วัตถุมงคลหลวงพ่อคูณ รุ่นปาฏิหาริย์ EOD เป็นรุ่นที่ถูกบรรจุเข้าทำเนียบรุ่นวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ พร้อมหนังสือประกาศรับรองรุ่นอย่างเป็นทางการ โดย พล.ต.ต.มหัคฆพันธ์ สุรคุปต์ ประธานกรรมการวัดบ้านไร่ ลงนามรับรอง และได้รับการบรรจุเข้ารายการประกวดพระเครื่องของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ตลอดปี 2559-2560

นับเป็นรุ่นประวัติศาสตร์ของวัตถุมงคลหลวงพ่อคูณที่ได้ให้ความอนุเคราะห์กับหน่วย
EOD

ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #105 เมื่อ: 09 มีนาคม 2562 15:14:19 »

.


พระกริ่งพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม เป็นพระกริ่งของหลวงพ่อคูณที่มีพิธีกรรมการสร้างดีมาก และเป็นพระกริ่งรุ่นเดียวของหลวงพ่อคูณที่เทหล่อในวัดบ้านไร่ทุกองค์ ตั้งแต่เริ่มจนถึงองค์สุดท้ายและพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดบ้านไร่

ทางคณะกรรมการวัดบ้านไร่โดยคณะศิษยานุศิษย์นำโดย นายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานอำนวยการกิตติมศักดิ์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานที่ปรึกษา ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี ประธานอำนวยการ เป็นต้น มีดำริที่จะสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคมขึ้น วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อหาทุนเบื้องต้นในการก่อสร้างวิหารเทพวิทยาคม (วิหารวิสุทธปัญญา)

การดำเนินการ ฤกษ์เททองวันพฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 15 นาฬิกา 09 นาที ซึ่งเป็นราชาแห่งฤกษ์ เป็นวันที่เหมาะในการจัดสร้างวัตถุมงคล ซึ่งจะมีความศักดิ์สิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์ในตัว อันหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ความสำเร็จและเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ในการหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การสร้างพระของหลวงพ่อคูณ ซึ่งได้กระทำอย่างยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ โดยทุกขั้นตอนได้ดำเนินการ แบบโบราณตำรับการหล่อพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ และเน้นเรื่องพิธีกรรมในการลงเลขยันต์ในแผ่นโลหะตามตำราเก่าแก่ซึ่งปรากฏขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน)

ฤกษ์เททองพระกริ่งเทพวิทยาคม ตรงกับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 โดยที่หลวงพ่อคูณมาเป็นประธานในพิธีและเททอง เบ้าแรกด้วยตัวเอง พิธีมหาพุทธาภิเษก 9 วัน ในวันเสาร์ ที่ 23 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 กรรมวิธีการหล่อทั้งหมดดำเนินการภายในวัดบ้านไร่โดยตลอดมิได้นำไปดำเนินการนอกวัดแต่อย่างไรทั้งสิ้น ในการเททองหล่อพระกริ่งทุกครั้งที่มีการเททองหล่อตลอดระยะเวลาเดือนเศษ จะมีพระสงฆ์สวดชยันโตระหว่างเททองทุกครั้ง และมีหลายครั้งที่หลวงพ่อคูณได้ลงร่วมอธิษฐานจิตตอนเททองด้วย

สำหรับพิธีมหาพุทธาภิเษกพระทั้งหมดได้ทำติดต่อกัน 9 วัน ภายใน โบสถ์วัดบ้านไร่ หลวงพ่อคูณได้เป็นผู้จุดเทียนชัยในพิธีมหาพุทธาภิเษก วันแรก และได้ร่วมนั่งอธิษฐานจิตด้วย

พระกริ่งและพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม มีการสร้างแบบเนื้อทองคำเทหล่อเบ้าดินไทย เนื้อทองคำหล่อแบบเบ้าเหวี่ยง พระกริ่งพระชัยวัฒน์เนื้อนวโลหะหล่อแบบดินไทย และพระกริ่งพระชัยวัฒน์เนื้อนวโลหะหล่อเบ้าเหวี่ยง ทุกองค์มีโค้ดและหมายเลขกำกับและมีบัตรสมาร์ตการ์ดกำกับทุกองค์

พระกริ่งพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคมของหลวงพ่อคูณ เป็นพระที่พิธีการสร้างทุกขั้นตอนอยู่ภายในวัดบ้านไร่ และถูกต้องตามตำรับโบราณทุกขั้นตอน จึงเป็นพระกริ่งพระชัยวัฒน์ที่น่าบูชาเป็นอย่างยิ่งครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งพระชัยวัฒน์เทพวิทยาคม เนื้อนวโลหะหล่อแบบเบ้าเหวี่ยงมาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




เหรียญสิงห์ 1 หลวงปู่สิงห์

หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร หรือ พระครูสิริสุขวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุข และเจ้าคณะตำบลศรีสุข เขต 1 ต.ศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

ปัจจุบัน สิริอายุ 94 ปี พรรษา 73 พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคม วัตรปฏิบัติของท่านเสมอต้นเสมอปลาย จึงอยู่ในศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาอย่างยาวนาน

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่สิงห์ จัดสร้างออกมาหลายรุ่น และในแต่ละรุ่นได้รับความนิยมในพื้นที่รวมทั้งจากบรรดาศิษยานุศิษย์ ทำให้ราคาเช่าหาวัตถุมงคลของหลวงปู่กระแสแรงขึ้นแทบทุกรุ่น

ในปี 2561 เนื่องในวาระที่หลวงปู่สิงห์ สิริอายุวัฒนะ 93 ปี คณะศิษยานุศิษย์จัดงานมุทิตาสักการะขึ้น และจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญมงคลสิงห์ 1 เพื่อนำรายได้สมทบทุนพัฒนาสาธารณูปโภค รวมทั้งถวายหลวงปู่ เพื่อบำรุงธาตุขันธ์หลวงปู่ยามที่เกิดอาพาธเจ็บป่วย

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหู ไม่เจาะห่วง

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ที่พื้นเหรียญจะตอกโค้ดและหมายเลขกำกับ

ด้านหลัง บริเวณใต้ห่วงมีตัวอักษร เขียนว่า ที่ระฤกทำบุญครบรอบ ๙๓ ปี จากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนว่า หลวงปู่สิงห์ คมฺภีโร หรือ พระครูสิริสุขวัฒน์ วัดศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ๙ พ.ย.๒๕๖๑ เป็นวันครบรอบวันเกิดหลวงปู่ บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จำนวนการสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย เนื้อทองคำสร้าง 5 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำสร้าง 11 เหรียญ เนื้อเงินลงยาคละสี สร้าง 29 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า 190 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ 399 เหรียญ

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นในคืนวันที่ 30 พ.ย. 2561 ภายในกุฏิกลางน้ำที่จำวัดหลวงปู่ สำหรับพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรก อาทิ หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร, พระอาจารย์เขียว สุเมโธ วัดโพธิ์สามต้น, พระอาจารย์มนูญชัย วัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา เป็นต้น

หลังเสร็จสิ้นพิธี เปิดให้ผู้ที่มาร่วมพิธีเช่าบูชา ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม

จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นที่น่าสนใจ

ติดต่อวัดศรีสุข หรือศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคามบางแห่ง


ข่าวสดออนไลน์




เหรียญรุ่นแรกปี 2492 หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ฉะเชิงเทรา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ ฉะเชิงเทรา ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ทั้งเหรียญและตะกรุด แต่ก็ค่อนข้างหายากสักหน่อย เนื่องจากมีจำนวนไม่มากนัก อีกอย่างที่ทุกวันนี้ยังมีผู้คนไปขอกันเสมอก็คือน้ำมนต์ที่หน้ารูปเหมือนของท่านที่วัดสามกอครับ

หลวงพ่อเสือ ท่านเป็นชาวเมืองชลบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2421 ที่บ้านข้างวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

โยมบิดาชื่อแสวง โยมมารดาชื่อเปลี่ยน ตอนที่ท่านยังเด็กๆ อยู่นั้นได้รับการศึกษาอักษรสมัยที่วัดหลวง พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดหลวง เมื่อท่านบวชเป็นเณรได้ 2 พรรษา ก็ได้ติดตามพระอาจารย์ไปธุดงค์ และได้คาถาบทหนึ่งคือ "โอมหัง วันโท นะโมพุทธายะ" ท่านก็หมั่นฝึกภาวนาระหว่างทำสมาธิเสมอ เมื่ออายุครบบวช ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดบางกรูด อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ท่านบวชได้ 5 พรรษา ก็ได้ลาสิกขาบทกลับมายังบ้านเกิด

ได้อุปสมบทครั้งที่ 2 ที่วัดสนามจันทร์โดยมีหลวงพ่อแย้ม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อคำเป็นพระคู่สวด ได้นามฉายาว่า "วิรุฬหผโล" เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบางกรูดอยู่ 2-3 พรรษา ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปนมัสการพระพุทธชินราช แล้วธุดงค์ต่อไปยังประเทศพม่า ระหว่างทางได้พบกับพระอาจารย์พม่ารูปหนึ่ง นามว่า พระอาจารย์โชติ กะธัมมจริยะ อยู่ที่วัดโชติการาม ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอยู่ระยะหนึ่ง

ต่อมาได้ธุดงค์ต่อมาจนถึงถ้ำเชียงดาว ท่านก็อยู่จำพรรษาอีก 3 พรรษา แล้วได้ออกธุดงค์ไปดอยปุย อยู่กับชาวเขาที่นั่นอีกหลายพรรษา กระทั่งมีอายุได้ 45 ปี (พ.ศ.2466) จึงเดินทางกลับมาถึงบริเวณที่เป็นวัดสามกอ ท่านก็ได้พักปักกลด ณ ที่แห่งนั้น ชาวบ้านแถบนั้นก็ได้มาฟังท่านเทศน์และเกิดความเลื่อมใส จึงนิมนต์ขอให้พักอยู่ต่อ และได้สร้างกุฏิให้ ท่านก็ได้โปรดญาติโยมโดยได้จำพรรษาอยู่ตรงที่เป็นวัดสามกอ ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่มีความทุกข์ร้อน เจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ มาโดยตลอด จนชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น จนเป็นวัดสามกอ ในทุกวันนี้

หลวงพ่อเสือจะอยู่บนกุฏิโล่งๆ ไม่มีห้องน้ำ และไม่เคยมีใครเห็นท่านสรงน้ำเลย แต่พอตอนเย็นจะได้ยินเสียงซู่ๆ เหมือนกับฝนตกในกุฏิของท่านเสมอ จนศิษย์สงสัย จึงคอยสังเกตดู ก็เห็นหลวงพ่อเสือยืนอยู่ที่นอกชานและตัวเปียก โดยไม่เห็นว่าท่านตักน้ำอาบเลย ทำให้ศิษย์สงสัยว่าท่านได้เรียกน้ำมาอาบได้โดยไม่ต้องเดินไปอาบที่ในคลองเลย ทุกๆ ปี

เมื่อถึงวันเกิดของท่าน คณะศิษย์จะทำพิธีสรงน้ำถวายท่านและเป็นที่สังเกตได้ เมื่อหลวงพ่อลงมาจากกุฏิเพื่อรอรับการสรงน้ำจะมีฝนตกทุกครั้ง หลวงพ่อเสือเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก พอถึงเดือนธันวาคมปี พ.ศ.2498 ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ว่าให้ไปตามช่างถ่ายรูปมาถ่ายรูปท่าน และท่านก็ได้เทศน์ให้ฟังเป็นครั้งสุดท้าย โดยท่านได้บอกว่าจะละสังขารภายใน 3-5 วันนี้ และต่อมาท่านก็ได้บอกกับหลวงตาเผยว่า อีก 2 วันนี้ห้ามรบกวน ท่านไม่ต้องการสิ่งใดอีกแล้ว อีก 2 วันค่อยเปิดดู แล้วก็เดินเข้ากุฏิปิดประตู

ต่อมาอีก 2 วันตรงกับวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2498 บรรดาศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือท่านที่เฝ้าอยู่หน้ากุฏิหลวงพ่อเสือ ก็ได้เปิดห้องดูตามที่ ได้สั่งเสียไว้ ก็พบว่าท่านนอนตะแคงขวา ห่มผ้าจีวรสังฆาฏิเรียบร้อย ตรงหน้าของท่านมีหนังสือเขียนไว้ว่า "เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา" ใบหน้าของหลวงพ่อเหมือนคนนอนหลับ แต่ท่านได้ละสังขารไปแล้ว และขณะนั้นก็ได้เกิดเสียงฟ้าร้องฟ้าคะนองอากาศมืดครึ้ม ฝนเทลงมาประมาณ 15 นาทีก็หยุดลง

หลวงพ่อเสือท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ หนังหน้าผากเสือ เหรียญรูปท่าน 3 รุ่น รุ่นแรกสร้างในงานทำบุญฉลองอายุครบ 70 ปี หลวงพ่อในปี พ.ศ. 2492 รุ่น 2 สร้างเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาวัดแก้วศิลาราม พ.ศ. 2493 รุ่น 3 สร้างแจกในวันทำบุญวันเกิดปี 2495

น้ำมนต์ของหลวงพ่อเสือนั้นศักดิ์สิทธิ์มากมีคนมาขอกันมาก ขอให้รักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเพื่อเป็นสิริมงคลต่างๆ ก็ตาม อธิษฐานขอเอาตามประสงค์ หลวงพ่อเสือท่านได้ทำน้ำมนต์ไว้ให้

โดยได้สั่งไว้ว่า ใครปรารถนาน้ำมนต์ ก็ขออธิษฐานในสิ่งปรารถนา โดยไม่ผิดศีลธรรม หลังจากนั้นเมื่อได้น้ำมนต์ไปแล้วก็ให้ตักน้ำฝนที่สะอาดเทกลับคืนให้ปริมาณเท่าๆ กับที่ตักไปให้เท่าเดิม จึงสังเกตได้ว่า น้ำมนต์ของท่านจนทุกวันนี้จะมีอยู่ในบาตรหน้ารูปเหมือนหล่อของท่านเสมอไม่มีขาด และก็มีคนไปขออธิษฐานตลอดมาจนทุกวันนี้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกปี 2492 มาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




พระกริ่งบาเก็งท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์)วัดสุทัศน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน โดยส่วนตัวผมเองนั้นไม่ได้ศึกษาเรื่องพระกริ่งมากนัก แต่ก็ชื่นชอบเป็นบางรุ่น เช่น สนใจพระกริ่งบาเก็งรุ่นที่ 1 ที่ท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างไว้ได้และตั้งชื่อว่า "พระกริ่งหลักชัย" เป็นนิมิตมงคล พระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างขึ้นโดยนำพระกริ่งบาเก็งนอกของข้าราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่งมาถอดพิมพ์โดยช่างหรัส พัฒนางกูล เพื่อนำมาเป็นแบบพิมพ์หุ่นเทียนของพระกริ่งรุ่นนี้

พระกริ่งบาเก็ง รุ่น 1 ประกอบพิธี ณ บริเวณพระอุโบสถวัดสุทัศน์ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2487 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม ในการสร้างครั้งนี้สมเด็จพระสังฆราชแพ ได้ประทานแผ่นทองลงอักขระยันต์ที่ท่านทรงจารและปลุกเสกด้วยพระองค์เองเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังมีชนวนทองของพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ที่สะสมไว้จากพิธีครั้งก่อนๆ ทั้งของสมเด็จพระสังฆราชแพ และของท่านเจ้าคุณศรีฯ เอง เงินกลมตรายันต์จำนวนมาก เพื่อมาเททองหล่อองค์พระ เนื้อพระกริ่งรุ่นนี้จึงออกขาวอมเทา แต่ถ้าขัดพระลงไปอีกชั้นหนึ่งจะเห็นเนื้อในออกแดงอมชมพูคล้ายเนื้อนาก ถ้าทิ้งไว้ผิวจะกลับดำอมเทามีกระแสเงินประปราย

พระกริ่งรุ่นนี้เมื่อเทหล่อเสร็จช่างประจำวัดจะนำมาเกลาผิวพอให้ดูเรียบร้อยเท่านั้น ไม่ได้แต่งจนสวยงามเป็นพิเศษแต่อย่างใด จึงถือว่าเป็นพระที่อยู่ในลักษณะเดิม (ไม่แต่ง) พระกริ่งรุ่นนี้รายละเอียดของเม็ดพระศกจะไม่ติดชัด เนื่องจากหุ่นเทียนเป็นการทอดแบบจากพระกริ่งบาเก็งนอกมา ซึ่งรายละเอียดของเม็ดพระศกก็จะไม่ค่อยคมชัดมาแต่เดิม ดังนั้นพระกริ่งบาเก็ง รุ่น 1 ของท่านเจ้าคุณศรีฯ ซึ่งไม่ได้มีการแต่งเม็ดพระศกจึงไม่ค่อยชัด จำนวนการสร้างพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 มี 162 องค์

พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งแบบกริ่งในตัว อุดบรรจุกริ่ง 2 รู ที่ด้านหลังใกล้บัวเม็ดสุดท้ายทั้ง 2 ข้าง และส่วนใหญ่จะมีการตอกโค้ด มีทั้งแบบไม่มีไส้(โค้ดเล็ก) และแบบมีไส้ ในตำแหน่งใต้ข้อศอกขวาด้านหลัง บางองค์ท่านเจ้าคุณศรีฯ จะจารอักขระพุดซ้อนที่ใต้ฐานด้วยตัวท่านเอง เข้าใจว่าท่านที่ได้รับไปนำมาให้ท่านเจ้าคุณลงเหล็กจารให้อีกทีหนึ่ง ในส่วนพระบางองค์ที่ไม่มีการตอกโค้ดหรือลงเหล็กจารก็มี เรื่องนี้ไม่ใช่ข้อยุติ การพิจารณาต้องดูที่พิมพ์และกระแสเนื้อ เป็นหลัก

พระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 เมื่อแจกหมดไปแล้วลูกศิษย์ที่ยังไม่ได้รับก็มาขอให้ท่านเจ้าคุณสร้างเพิ่มเติมขึ้นอีก ท่านก็กรุณาสร้างขึ้นอีกครั้งในปีเดียวกันเป็นพระกริ่ง บาเก็งรุ่น 2 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2487 โดยใช้แม่พิมพ์เดียวกัน เนื้อหาก็ใกล้เคียงกันมากเพราะใช้ทองชนวนที่เหลือจากการเทรุ่น 1 มาเท ผิวกลับดำอมเทาเช่นเดียวกัน เอาแว่นขยายส่องดูก็เป็นประกายเงินเช่นเดียวกัน และก็ไม่ได้ตกแต่งเช่นเดียวกับพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 การอุดบรรจุกริ่งก็แบบเดียวกับพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 บางองค์มีการตอกโค้ด และลงเหล็กจารเช่นเดียวกับรุ่น 1 แต่บางองค์ก็ไม่มี จำนวนการสร้าง 202 องค์

เรื่องพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 กับรุ่น 2 จะคล้ายกันมากแทบจะแยกกันไม่ออก แล้วจะแยกแยะกันอย่างไร สำหรับผู้ที่ชำนาญการเขาแยกได้อยู่แล้วครับ ทีนี้ผมจะนำมาบอกว่าเขาแยกกันออกได้อย่างไรง่ายๆ และชัดเจนครับ พระกริ่งบาเก็งรุ่นที่สร้างในครั้งที่ 2 นี้ ช่างเขาได้ปาดหุ่นเทียนใต้ฐานด้านหลังไว้ เพื่อให้แยกแยะได้ง่าย เป็นการปาดในพิมพ์ ให้สังเกตที่ใต้ฐานบริเวณขอบด้านหลังจะเห็นได้ชัดว่าพระกริ่งบาเก็งรุ่น 2 จะมีการปาดฐานเป็นรอยเว้าเข้าไปเล็กน้อยพอมองเห็นได้ชัดครับ ดังในรูปที่ผมได้นำมาลงทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และก้นครับ

สำหรับพระกริ่งบาเก็งของท่านเจ้าคุณศรีฯ ท่านยังสร้างต่อมาอีก เป็นพระกริ่งบาเก็งรุ่นที่ 3 รุ่นที่ 4 และรุ่นที่ 5 ส่วนในรุ่นอื่นๆ นั้นแยกกันได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นพระกริ่งรุ่น 3 ที่มีการแต่งสวยทุกองค์ หรือพระกริ่งรุ่น 4 ที่มีเนื้อออกไปทางอมเหลือง หรือพระกริ่งบาเก็ง 5 เฉพาะรุ่นนี้การบรรจุกริ่งด้วยการปะก้นด้วยทองฝาบาตร ซึ่งก็สามารถแยกออกได้ง่ายว่าเป็นรุ่นใด

ครับ ก็มีพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 กับรุ่น 2 นี่แหละครับที่คล้ายกันมาก แต่ก็สามารถแยกออกได้เช่นกัน ตามที่ผมเล่ามาครับ ในครั้งแรกๆ ที่ผมศึกษาพระกริ่งบาเก็งรุ่น 1 อยู่ก็งงอยู่เหมือนกันว่าเขาแยกออกได้อย่างไร เรื่องนี้ในสมัยก่อนเขาก็ไม่บอกกันง่ายๆ ครับ จนผู้ใหญ่ท่านได้ชี้แนะให้ดูจึงเข้าใจ และนำมาเล่าสู่กันฟังครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




รูปหล่อหลวงปู่ทองคำ

"หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่ พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับหลวงปู่อาศัยปฏิบัติธรรม

ด้วยความที่หลวงปู่มีวัตรปฏิบัติที่สมถะเรียบง่าย อาศรมแห่งนี้จึงถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

หากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจ หลวงปู่ทองคำจะข้ามไปประเทศ สปป. ลาว เป็นประจำ เนื่องจากท่านให้ความอุปถัมภ์วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว มาอย่างต่อเนื่อง

เพื่อความสะดวกขณะที่ข้ามไปโปรดญาติโยมพำนักอยู่ที่ สปป.ลาว คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ นำโดย "บอย สำโรงทาบ" จึงมีโครงการที่ จะสร้างอาศรมถวายหลวงปู่ ที่ประเทศ สปป.ลาว และจัดสร้างวัตถุมงคล "รูปหล่อหลวงปู่ทองคำ รุ่นไตรมาสรวยทันตา" พุทธศิลป์ออกแบบ ได้สวยงามลงตัวมากลักษณะเป็นรูปเหมือนของหลวงปู่นั่งในท่าวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่บนฐานเขียง

ด้านหน้าฐานเขียนว่า หลวงปู่ทองคำ

ด้านหลังที่บริเวณฐานเขียนว่าอาศรมสุวโจ จ.สุรินทร์ และที่ใต้ฐานจะตอกโค้ดกำกับทุกองค์

จำนวนการสร้าง ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 22 องค์ เนื้อเงิน 350 องค์ เนื้อทองโบราณอุดผง 400 องค์ เนื้อตะกั่วอุดผง 1,000 องค์ เนื้อทองทิพย์รมดำ 3,000 องค์

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่ทองคำ อธิษฐานจิตเดี่ยวหลายครั้ง

ติดต่อโทร.06-1795-7556


ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหล่อ หลวงปู่รอด วัดสามไถ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในบรรดาเหรียญหล่อของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เหรียญหลวงปู่รอด วัดสามไถ เป็นเหรียญหล่อที่หายากและมีสนนราคาสูง เนื่องจากมีจำนวนการสร้างน้อย และชาวบ้านหวงแหนกันมาก มีเรื่องกล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเหรียญนี้กันมากถึงพุทธคุณที่เด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด

ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากซักหน่อย หลวงปู่รอดเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดาชื่อ แม่เฒ่ากา เมื่ออายุได้ 7 ขวบ โยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดง ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน

เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้าศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถมรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่รอดเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัด ต้องมาปลงอาบัติกับท่านทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดี จะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรม และจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลก (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา

ในปี พ.ศ. 2467 หลวงปู่รอดได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอมละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืนในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75

เหรียญหล่อของหลวงปู่รอดวัดสามไถนี้ ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากมากครับ สนนราคาหลักแสนบาท พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปถ่ายหลวงปู่รอด และเหรียญหล่อของท่าน จากหนังสือตามรอยสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




พระพิจิตร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าองค์เล็กๆ ที่มีเรื่องราวเล่าขานกันมากในสมัยผมยังเป็นเด็กจนถึงตอนเป็นวัยรุ่น ก็สนใจและชอบฟังเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้หลักผู้ใหญ่เขาคุยกันและเล่าให้ฟังถึงความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับความอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ซึ่งก็มีเรื่องในสมัยสงครามโลกที่ทหารไทยถูกทหารญี่ปุ่นยิงแต่ไม่เข้าเพราะอมพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าอยู่ในปาก เรื่องราวต่างๆ ล้วนเป็นการยืนยันถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า ทำให้พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าหายากใครมี ต่างก็หวงแหน ทำให้มีสนนราคามูลค่าสูง

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า เป็นพระเครื่องเนื้อชินเงินองค์เล็กมาก เป็นพระที่ขุดพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดสำคัญของเมืองพิจิตร สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าที่พบมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์แขนกลม พิมพ์แขนหักศอก และพิมพ์ไม่มีฐาน เป็นต้น นอกจากนี้ในกรุนี้ก็ยังมีพระเครื่องขนาดเล็กอีกหลายพิมพ์ เช่น พระนาคปรกพิจิตร พระพิจิตรสามเหลี่ยม หรือที่เรียกว่า พิจิตรหน้าวัง ที่เป็นเนื้อดินก็พบพระพิจิตรผงดำ เป็นต้น

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเป็นพระที่มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นทรงรีๆ แบนๆ คล้ายกับเม็ดข้าวเม่า จึงได้ชื่อเรียกนี้มาแต่โบราณ พุทธลักษณะของพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า เนื่องจากขนาดขององค์พระเล็กมาก จึงแสดงเป็นเส้นสายลายเส้นเท่านั้นแต่ก็คมชัดทุกองค์ แสดงเป็นพระเศียร พระเกศ ลำพระองค์ แสดงเป็นปางสมาธิบนฐานหมอน และพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่านี้มักจะมีเกศเอียงไปทางขวาขององค์พระ นักนิยมพระเครื่องในสมัยก่อนบางท่านก็จะเรียกพระพิจิตรเกศคดบ้างก็มี

ด้านหลังของพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าจะ เป็นลักษณะลายผ้าหยาบๆ ถ้าเป็นลายผ้า ละเอียดๆ ละก็น่าจะไม่ใช่ครับ สำหรับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเท่าที่พบมีอยู่เนื้อเดียวคือ เนื้อชินเงิน บางองค์ก็พบที่แก่ตะกั่วก็มีบ้าง พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเท่าที่พบจะบางมากไม่หนาอย่างพระทั่วๆ ไป ส่วนมากที่พบพระจะมีรอยระเบิดที่ผิวเป็นส่วนมาก หรือแตกปริตามขอบข้างเสียเป็นส่วนใหญ่ ผิวส่วนมากจะออกสีดำคล้ำๆ แบบสนิมตีนกา

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่ามีพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีชื่อเสียงโด่งดังมาช้านาน สมัยโบราณนิยมใช้อมใส่ปากเวลาไปไหนมาไหนแบบเดียวกับพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า จึงทำให้พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่านั้นชำรุดสูญหายไปมาก ปัจจุบันจึงไม่ค่อยพบเห็นพระแท้ๆ กันเลย หายากมากจริงๆ ครับ

พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเป็นพระประเภทที่เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว พระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่มีขนาดเล็กแบบเดียวกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าก็มี เช่น พระพิจิตรสามเหลี่ยมหน้าวัง พระนาคปรกกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุก็มีขนาดเล็กเช่นกัน ขนาดใกล้เคียงกับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า และจัดเป็นพระชุดจิ๋วแต่แจ๋วของเมืองพิจิตรเช่นกันครับ แต่พระทั้งหมดทุกแบบนั้นหาของแท้ๆ ยากจริงๆ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว เนื่องเป็นพระที่มีความนิยมมากมาแต่อดีต จึงมีพระเลียนแบบทุกยุคทุกสมัย จะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังกันหน่อย ต้องศึกษาหรือเช่ากับผู้ที่ไว้วางใจได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าทั้งพิมพ์แขนกลมและพิมพ์แขนหักศอก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




ล็อกเกตหลวงปู่เบ้า

หลวงปู่เบ้า จัตตมโล เจ้าอาวาสวัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ พระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคมที่เข้มขลัง ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั้งในและนอกพื้นที่มากพอสมควร

ปัจจุบัน สิริอายุ 96 ปี พรรษา 28

มีนามเดิม เบ้า สัตยาคุณ เกิดปี พ.ศ.2465 พื้นเพเป็นชาวบ้านโพนงาม ต.บัวแดง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดในหมู่บ้าน แต่หลังจากที่ท่านอุปสมบทได้ประมาณ 9 พรรษา ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาออกมาช่วยครอบครัวทำมาหากิน

ใช้ชีวิตฆราวาสมาจนถึงปี 2533 เมื่อหมดภาระทางครอบครัว จึง ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ อุโบสถวัดอัมพวัน ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ โดยมีเจ้าอธิการสุวรรณ สิริปุญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นมาตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากวัดบ้านโนนมาลัย ยังเป็นวัดที่ยังขาดแคลนถาวรวัตถุที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติศาสนกิจหลายรายการ อาทิ กุฏิที่หลวงปู่เบ้า มีสภาพที่ทรุดโทรม บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ นำโดย "แท็กสกล พระใหม่" ได้ขออนุญาต จัดสร้างวัตถุมงคลล็อกเกตรุ่นแรก เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นล็อกเกต รูปไข่

ด้านหน้าล็อกเกต เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ด้าน ล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่เบ้า "จตฺตมโล"

ด้านหลังล็อกเกต อุดวัตถุมงคลหลายอย่าง อาทิ ชานหมาก เกศา จีวร หลวงปู่เบ้า น้ำมนต์เทียนชัย ตะกรุด และพระธาตุเหล็กไหล เป็นต้น จำนวนการสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย ฉากทองตะกรุดทองคำ 29 เหรียญ ฉากทองตะกรุดเงิน 99 เหรียญ ฉากขาวตะกรุดทอง และตะกรุดทองทิพย์ 399 เหรียญ พุทธคุณวัตถุมงคลรุ่นนี้เด่นในทุกด้าน

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในศาลาการเปรียญวัดโนนมาลัย พระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่เบ้า จัตตมโล จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ขำ เกสาโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่ที โชติปัญโญ ที่พักสงฆ์บ้านกระต่ายด่อน จ.ศรีษะเกษ เป็นต้น พระเกจิทุกรูปล้วนมีพุทธาคมที่เข้มขลัง มีพลังใจที่แก่กล้า จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง

ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์ร่วมทำบุญ ติดต่อได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร.06-1492-9499


ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #106 เมื่อ: 09 มีนาคม 2562 15:16:37 »

.


พระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี เป็นพระร่วงยืนเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และเป็นพระร่วงยอดนิยมเช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน เป็นพระที่ได้รับความนิยมมากมาตั้งแต่สมัยก่อน ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากมาก

ลพบุรีเป็นแหล่งชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบต่อมายาวนาน สถาปัตยกรรมที่พบมากที่สุดก็จะเป็นสถาปัตยกรรมสมัยลพบุรี (ขอม) ซึ่งพบอยู่หลายแห่ง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นวัดสำคัญของลพบุรี มีการสร้างมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจและปกครองดินแดนแถบนี้ ตัวองค์พระปรางค์ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อๆ มาหลายครั้งจนถึงสมัยอาณาจักรอยุธยา รูปแบบภายนอกที่เห็นก็จะมีการดัดแปลงไปบ้างตามยุคสมัยที่บูรณปฏิสังขรณ์ในช่วงนั้นๆ

การพบพระในกรุองค์พระปรางค์ก็เนื่อง จากมีผู้เข้าไปลักลอบขุดกรุ และได้พบพระเครื่องพระบูชาจำนวนมากมาย การขุดครั้งแรกก็ประมาณปี พ.ศ.2440 พระเครื่องที่ โด่งดังมากๆ ในสมัยนั้นก็คือพระร่วงยืนหลังลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน นอกจากนี้ก็ยังพบพระเครื่องพิมพ์อื่นๆ อีกมากมาย ทั้งพระแผงขนาดเขื่องด้วย ต่อมาก็มีการแอบเข้าไปขุดอีกหลายครั้ง และในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุก็ยังมีกรุอื่นๆ อีกหลายกรุที่พบพระเครื่องต่างๆ อีกหลายครั้ง

พระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่าที่พบมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพระพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่จะนิยมมากและมีผู้รู้จักมากกว่า พระร่วงพิมพ์ใหญ่จะมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงหลังรางปืนที่ถูกขุดพบภายหลังที่ศรีสัชนาลัยมาก แต่ด้านหลังจะผิดกันที่เป็นแบบหลังลายผ้า และเป็นร่องรางปืน พระร่วงของลพบุรีจะเป็นแบบหลังลายผ้า และจะเป็นลายผ้าแบบหยาบๆ พระที่พบส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงแทบทั้งสิ้น และมีไขขาวปกคลุมผิวสนิมอยู่บางๆ สีสนิมก็จะออกแดงเข้มอมดำอมส้มจัดสลับกันไปปกคลุมอยู่ทั่วทั้งองค์พระ และจะเห็นร่องรอยการแตกปริของสนิมเป็นเส้นบางๆ คล้ายใยแมงมุมปรากฏอยู่ตามองค์พระแสดงถึงความเก่าแก่ของสนิมที่ขึ้นสลับซับซ้อนกันตามกาลเวลา จำนวนพระที่พบก็ไม่มากนัก ยิ่งพระที่สมบูรณ์ไม่ชำรุดยิ่งน้อยกว่ามาก

พระร่วงยืนหลังลายผ้า ถ้าพูดถึงในด้านศิลปะแล้วก็เป็นศิลปะแบบขอม สันนิษฐานว่าน่าเป็นศิลปะขอมแบบบายนหรืออาจจะสูงกว่านั้นเล็กน้อย องค์พระประทับยืนอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์ดูเคร่งขรึม พระเศียรทรงเทริดจีโบ จีวรห่มคลุม มีรัดประคดเด่นชัด ประทับยืนปางประทานพรยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ (อก) พระหัตถ์ซ้ายปล่อยห้อยลงมาด้านล่างแนบตามลำพระองค์และหงายพระหัตถ์ออกด้านหน้า แท่นที่ประทับยืนจะเป็นแบบฐานเขียง เอกลักษณ์ด้านหลังพระทุกองค์จะเห็นด้านหลังมีรอยลายผ้าหยาบๆ อยู่ทุกองค์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่นำมาเรียกหาเป็นชื่อเฉพาะกันต่อมา ถ้าได้ยินคำว่าพระร่วงหลังลายผ้าก็จะรู้กันทันทีว่าเป็นพระร่วงยืนกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

คนในสมัยก่อนนิยมนำมาเลี่ยมห้อยคอกันมาก ว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด และอำนาจบารมี เสริมส่งให้เจริญก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง ในสมัยปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยเห็นใครห้อยพระร่วงหลังลายผ้ากันนัก เนื่องจากองค์พระมีขนาดเขื่อง ห้อยคอก็คงห้อยได้องค์เดียว และอีกอย่างหนึ่งก็คือหาพระแท้ๆ ยากมาก สนนราคาก็สูงมาก ใครมีก็จะหวงแหนและเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีไม่ค่อยนำออกมาให้ใครชมสักเท่าไรนักครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี ทั้งด้านหน้าและด้านหลังจากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




พระนาคปรกใบมะขาม และสร้อยตะกรุดประคำคาบ ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ วัดท้ายตลาด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดท้ายตลาด ฝั่งธนฯ กทม. เป็นวัดที่มีความสำคัญและมีพระเครื่องอันโด่งดังหลายยุค เช่น พระเนื้อผงผสมใบลานที่บรรจุไว้ในกรุองค์พระเจดีย์ พระปรกใบมะขามของท่านเจ้าคุณสนิท นอกจากนี้ก็ยังมีตะกรุดทองคำชุด 19 ดอก ซึ่งเรียกกันว่า "สร้อยตะกรุดประคำคาบ" ซึ่งนิยมเสาะแสวงหา และหาได้ยากยิ่งครับ

วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีนามเดิมว่า วัดท้ายตลาด ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนนามพระอาราม เป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" พอมาถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับ พระอารามอื่นๆ อีก และทรงเปลี่ยนนามเป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านก็มักเรียกกันจนติดปากว่า "วัดท้ายตลาด"

วัดท้ายตลาดมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นสถานการศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) สมัยที่ยังเป็น พระพุทธโฆษาจารย์ ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายอักษรรัชกาลที่ 4 ต่อมาเมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) มรณภาพ รัชกาลที่ 3 โปรดให้หล่อรูปพร้อมกับหล่อพระรูป สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัดเรียกกันว่า "หอสมเด็จ"

ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ (เงิน เขมจารี) อดีตเจ้าอาวาส วัดท้ายตลาด เกิดที่เมืองพระตะบอง เมื่อปี พ.ศ.2396 ท่านมีความสนิทสนมกับพระยาคทาธร ธรณินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ต่อมาท่านจึงย้ายมาอยู่ที่วัดท้ายตลาด เจ้าคุณสนิทนอกจากจะเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมแล้ว ยังมีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณด้วย และได้ช่วยรักษาชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น ชาวบ้านต่างเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก และช่วยบูรณปฏิสังขรณ์วัดท้ายตลาดตลอดมา

ท่านเจ้าคุณสนิท มรณภาพราวปี พ.ศ.2463 สิริอายุได้ 68 ปี

ท่านเจ้าคุณสนิทได้สร้างวัตถุมงคลไว้และมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ที่รู้จักกันดีก็คือ พระปรกใบมะขาม ซึ่งถือกันว่าเป็นอันดับ 1 ของพระปรกใบมะขาม ปัจจุบันหายากมาก นอกจากนี้วัตถุมงคลที่หายากมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ สร้อยตะกรุดประคำคาบ ซึ่งแทบไม่ได้พบเห็นกันเลย ผู้ที่ได้รับมักเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น ตะกรุดสร้อยประคำคาบ จะเป็นตะกรุดทองคำพวงจำนวน 19 ดอก พร้อมด้วยลูกประคำทองคำคั่นระหว่างดอกตะกรุด และสร้อยทองคำสวมคอร้อยตะกรุดไว้ในสมัยโบราณเรียกว่า "สร้อยตะกรุดประคำคาบ" ปัจจุบันนับว่าหายากมากที่สุด และนิยมมาก แต่ก็แทบจะไม่เคยได้เห็นของแท้กันเลย พุทธคุณของพระนาคปรกใบมะขามและสร้อยตะกรุดประคำคาบเด่นทางด้านแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพัน ปกป้องคุ้มครองป้องกันภัย ปัจจุบันหาของแท้ยากมาก สนนราคาก็สูงมาก เวลาจะเช่าควรตรวจสอบให้ดีๆ ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ วัดท้ายตลาด พระนาคปรกใบมะขาม และสร้อยตะกรุดประคำคาบของท่านเจ้าคุณสนิท จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




เหรียญพระอาจารย์บัวลม

"พระอาจารย์บัวลม สิริธัมมรังสี" เจ้าอธิการวัดพุทธมีชัยยาราม บ้านดอนเซง นครไกสอนพมวิหาร แขวงสุวรรณเขต ประเทศ สปป.ลาว นอกจากนั้นท่านยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะนครไกสอนพมวิหาร

ปัจจุบันสิริอายุ 39 ปี พรรษา 19

เป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติดี เสมอต้นเสมอปลาย

เกิดปีพ.ศ.2523 ที่บ้านท่าเมืองแขก เมืองสารวัน แขวงสารวัน ประเทศสปป.ลาว บิดา-มารดาชื่อ นายจารสุนทร และนางจันไทย สุวรรณเสน

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์เข้าพิธีอุปสมบทที่พระอุโบสถวัดบ้านท่าเมืองเก่า โดยมีพระอาจารย์บุญมี เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้มาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดพระธาตุโพนเมืองไซภูทอง แขวงสุวรรณเขต 5 พรรษา มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม จนถึงปี พ.ศ.2550 จึงย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพุทธมีชัยยาราม จนถึงปัจจุบัน

ถึงแม้ท่านอายุและพรรษาน้อย จึงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังนี้ 1.เจ้าคณะนครไกสอนพมวิหาร 2.หัวหน้ากรรมาธิการสาธารณูปการนครไกสอนพมวิหาร 3.คณะกรรมการแนวลาวสร้างชาตินครไกสอนพมวิหาร 4.รองหัวหน้าที่ทำการนครไกสอนพมวิหาร และ 5.เจ้าอธิการวัดพุทธมีชัยยาราม

นอกจากจะเป็นพระนักพัฒนาแล้ว ยังเป็นพระเกจิอาจารย์ ศึกษาจากพระอาจารย์หลายท่าน

เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับการนิมนต์มาร่วมพิธีสวดนพเคราะห์ ที่วัดป่าบ้านดินดำ ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม

สำหรับวัตถุมงคลเคยสร้างในปี พ.ศ.2559 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนท่านครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ด้านขวาของเหรียญวนขึ้นไปด้านซ้ายเขียนว่า พระอาจารย์ซาน้อย ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิเดชสารวัน ล่างสุดเขียนว่า วัดพุทธมีชัย

ด้านหลังบริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์นะโมพุทธายะ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ล่างสุดเขียนว่า พ.ศ.2559 เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

จำนวนการสร้างรวม 1,000 เหรียญ แยกเป็นเนื้อทองแดง 500 เหรียญ เนื้อเงิน 250 เหรียญ เนื้อว่าน 250 เหรียญ

ล่าสุด วัดพุทธมีชัยมีโครงการจัดสร้างพระธาตุพุทธมีชัย เพื่อฉลองการตรัสรู้ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และบรรจุอัฐิธาตุของพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของ สปป.ลาว เป็นต้น แต่ต้องใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า 15 ล้านบาท จึงนำเหรียญรุ่นนี้เปิดให้พุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญสร้างพระธาตุ

หากมีโอกาสข้ามไปที่นครไกสอนพมวิหาร แขวงสุวรรณเขต ประเทศสปป.ลาว อย่าลืมแวะทำบุญสร้างพระธาตุกับทางวัดพุทธมีชัย


ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงพ่อห้อง วัดช่องลม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์ของจังหวัดราชบุรีที่โด่งดังมากๆ รูปหนึ่ง ก็คือ หลวงพ่อห้อง วัดช่องลม ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ชาวราชบุรีเคารพนับถือมาก และท่านก็ได้อนุญาตให้ศิษย์สร้างเหรียญหล่อและเหรียญปั๊มขึ้น ปัจจุบันหายากมากและสนนราคาสูง

พระครูอินทเขมาจารย์ หรือที่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่าหลวงพ่อห้อง ท่านเกิดที่บ้านตำบลหน้าเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2388 โยมบิดาชื่อ แสง โยมมารดาชื่อ นาค ครั้นเมื่อท่านอายุครบบวช ตรงกับปี พ.ศ. 2509 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี โดยมีพระอธิการวัดช่องลมเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมเสนา (จันทร์) วัดพญาไม้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพระครูอินทเขมา (เรือง) วัดท้ายเมือง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านอายุได้ 36 ปี พรรษาที่ 15 ในปี พ.ศ. 2424 ท่านพระครูอินทเขมา (เรือง) ได้เห็นถึงความอุตสาหะวิริยะหมั่นเพียร และเอาใจใส่ในธุระของการศาสนา จึงได้แต่งตั้งท่านให้เป็นพระปลัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 หลวงพ่อห้องท่านก็ได้พระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูอินทเขมา ตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2455 ท่านก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2461

หลวงพ่อห้องเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีจริยวัตรที่น่าเลื่อมใส ท่านได้ช่วยระงับอธิกรณ์น้อยใหญ่ และบริหารคณะสงฆ์ด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ท่านยังได้บำรุงพระพุทธศาสนาโดยการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดช่องลมให้เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ สำหรับวัดอื่นๆ ภายในจังหวัดราชบุรี ท่านก็อนุเคราะห์ช่วยเหลือตามกำลังและสติปัญญา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัดต่างๆ ในจังหวัดราชบุรี ในปีหนึ่งๆ จะมีผู้มาขออุปสมบทกับท่านเป็นจำนวนมาก ท่านปฏิบัติหน้าที่โดยมิขาดตกบกพร่อง แม้ในปีหลังๆ ที่ท่านได้อาพาธใกล้มรณภาพ ก็ยังมีผู้ปรารถนาจะให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์มานิมนต์ท่านๆ ก็รับหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ให้

ในปี พ.ศ. 2469 ราวต้นเดือนพฤษภาคม หลวงพ่อก็เริ่มอาพาธหนักขึ้น นายแพทย์มาเยียวยารักษาท่าน ก็แนะนำให้ท่านฉันอาหารในเวลาเย็นเพื่อจะได้ช่วยให้อาการดีขึ้น แต่ด้วยท่านเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านไม่ยอมฉันอาหารเย็นเลย ท่านบอกกับลูกศิษย์ที่เฝ้าดูแลท่านว่า "ถึงแม้จะถึงชีวิตก็จะไม่ขอล่วงพระธรรมวินัยแม้แต่เพียงเล็กน้อยก็จะไม่ยอม" ในที่สุดการอาพาธในครั้งนั้นก็เป็นวาระสุดท้ายในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ท่านก็ทำสมาธิมรณภาพในเวลาตี 4 กับ 55 นาที สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 61

ในปี พ.ศ.2465 หลวงพ่อห้องได้อนุญาตให้สร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านตามที่คณะศิษย์ได้ขออนุญาต โดยมีทั้งเหรียญหล่อและเหรียญปั๊ม เป็นรูปท่านนั่งสมาธิเต็มองค์ทั้งสองแบบ ส่วนเหรียญปั๊มด้านหน้ามีอักษรไทยเขียนว่า "ว,ช,ล," อันหมายถึงวัดช่องลม เหรียญนี้เป็นเหรียญนิยมของจังหวัดราชบุรี และมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันหาของแท้ๆ ยากครับ สนนราคาค่อนข้างสูง

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญยอดนิยมของจังหวัดราชบุรี คือเหรียญหลวงพ่อห้อง วัดช่องลม ทั้งเหรียญหล่อและเหรียญปั๊ม จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





เหรียญปั๊มและเหรียญหล่อรุ่นแซยิด หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากของจังหวัดสมุทรสาคร วัตถุมงคลของท่านก็ได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนโดยทั่วๆ ไป

หลวงปู่รอด ท่านเป็นชาวปทุมธานี มีเชื้อสายรามัญ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อ ทองดี โยมมารดาชื่อ เกษร เมื่อตอนที่ท่านเด็กๆ ท่านมีร่างกายอ่อนแอ ขี้โรค บิดา-มารดาจึงได้นำท่านไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมของพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน ซึ่งท่านเป็นพระเถระที่มีเชื้อสายรามัญ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวรามัญในสมัยนั้น

หลังจากที่บิดา-มารดาของหลวงปู่รอดได้ยกท่านให้แก่พระอุปัชฌาย์แคแล้ว ปรากฏว่าหลวงปู่รอดท่านก็เป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายหายจากโรคภัยนานา พระอุปัชฌาย์แคจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "รอด" ตั้งแต่บัดนั้นมา

พอท่านอายุได้ 12 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางน้ำวน โดยมีพระอุปัชฌาย์แค เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "พุทธสณฺโฑ"

เมื่ออุปสมบทก็ได้ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์และศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์แค หลวงปู่รอดเป็นพระที่รักสงบ มุ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วิชาที่เรียนกับพระอุปัชฌาย์แคคือ เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี วิชาทำธงไม่ให้ฝนตก และป้องกันฟ้าผ่า วิชาเสกของหนักให้เบาดั่งปุยนุ่น ฯลฯ

นอกจากท่านจะเรียนวิทยาคมแล้ว ท่านก็ยังเรียนวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย จนเป็นที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่พระอุปัชฌาย์แคมรณภาพ ท่านก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากจะพัฒนาวัดของท่านแล้วท่านยังช่วยเหลือวัดอื่นๆ อีกด้วย เรื่องของการศึกษาท่านก็ได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมและสร้างโรงเรียนประชาบาลให้เด็กๆ ในแถบนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนชื่อ "โรงเรียนรอดพิทยาคม"

ในปี พ.ศ.2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน ปี พ.ศ.2447 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางโทรัด ปี พ.ศ.2452 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2482 ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นประทวน และเป็นกรรมการศึกษา หลวงปู่รอดมรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

หลวงปู่รอดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิทยาคมมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญ หล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น สำหรับเหรียญปั๊มเหรียญหล่อรุ่นแซยิด สร้างในปี พ.ศ.2477 นั้นเป็นเหรียญรุ่นที่นิยมอย่างมาก หายากสวยๆ สนนราคาอยู่ที่หลักแสน และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญปั๊มและเหรียญหล่อรุ่นแซยิดมา
ให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์




เหรียญข้าวหลามตัดหลวงพ่อพัฒน์

หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียง เป็นศิษย์พุทธาคมหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำสาคร, หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล และหลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ

เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2489 ณ อุโบสถวัดสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงพ่อยอด) วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการชั้ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม เริ่มเรียนนักธรรมชั้นตรีและชั้นโทไปได้สักระยะ โดยระหว่างนั้น หลวงพ่อเดิมได้ไปสร้างเสนาสนะและอุโบสถอยู่ที่วัดอินทราราม จึงไปเรียนพุทธาคมด้วย

เมื่อพบกับหลวงพ่อเดิมที่วัดอินทราราม หลวงพ่อเดิมเริ่มถ่ายสรรพวิชา ทั้งกัมมัฏฐานและพุทธาคม โดยให้หลวงพ่อพัฒน์ไปจำวัดอยู่ที่วัดเขาแก้วกับหลวงพ่อกัน

ด้วยขณะนั้นวัดอินทรารามกำลังซ่อมสร้างเสนาสนะอยู่ จึงไม่สะดวกในการพำนักจำพรรษา จึงต้องเดินไปเช้าเย็นกลับระหว่างวัดทั้งสอง เรียนวิชาอยู่เกือบสองพรรษาจึงจบ

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม ย้ายมาพัฒนาวัดธารทหาร (ห้วยด้วน) เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ชาวหนองบัว ตราบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

วัตถุมงคลล่าสุดของหลวงพ่อพัฒน์ คือ "รุ่นวางศิลาฤกษ์" ที่ท่านอนุญาตให้คณะกรรมการวัดห้วยด้วน จัดสร้างเพื่อนำรายได้สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ รูปแบบเป็นพระขุนแผน-กุมารทอง สะท้อนแสง, รูปหล่อโบราณ รวยข้ามปี และเหรียญข้าวหลามตัด หลังพระพรหมสี่หน้า โดยท่านเมตตาปลุกเสกนำฤกษ์ ค่ำของคืนวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 ตามตำราโบราณ และวัตถุมงคลรุ่นนี้ บรรจุมวลสารศักดิ์สิทธิ์หลายชนิดจากพระเกจิชื่อดังทั่วประเทศ

สำหรับลักษณะเหรียญข้าวหลามตัด-หลวงพ่อพัฒน์ หลังพระพรหมสี่หน้า

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อพัฒน์เต็มองค์นั่งขัดสมาธิ รอบรูปเหมือน เขียนคำว่า "วัดห้วยด้วน" "นครสวรรค์" "หลวงพ่อพัฒน์-วางศิลาฤกษ์"

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปเศียรพระพรหมสี่หน้า

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันอังคารที่ 25 ธ.ค.2561 เวลา 09.09 น. โดยมีนายเสมอ งิ้วงาม หรือ "ป๋อง สุพรรณ" เซียนพระชื่อดัง ประธานฝ่ายฆราวาส

สอบถามโทร.08-6103-8283, 08-6211-6953


ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #107 เมื่อ: 11 เมษายน 2562 10:48:26 »

.



พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ (หลวงปู่เข็ม) วัดม่วง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ (พระอุปัชฌาย์เข็ม) วัดม่วง จังหวัดราชบุรี พระเกจิอาจารย์เก่าแก่ที่ชาวราชบุรีให้ความเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง ท่านได้อนุญาตให้สร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งปัจจุบันหายากมากครับ

วัดม่วงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีหลักฐานจารึกเป็นอักษรมอญระบุไว้ ชุมชนชาวบ้านม่วงในสมัยก่อนนั้นคนส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาวมอญ และมีคนไทย คนจีน คนลาวอาศัยอยู่ปะปนกัน ปัจจุบันยังเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมชาวมอญ และมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านม่วง เป็นแหล่งค้นคว้ารวบรวมประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่นชาวมอญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีคัมภีร์จารึกภาษามอญ โบราณวัตถุ เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่บ่งบอกถึงมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจครับ

พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ หรือ พระอุปัชฌาย์เข็ม ประวัติของท่านเท่าที่สืบค้นได้ว่า ท่านเป็นคนชาวบ้านม่วง เชื้อสายมอญ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2389 ได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุได้ 13 ปี และเมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดม่วง ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญในทางวิปัสสนากรรมฐาน และท่านได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดม่วง ซึ่งชาวบ้านทั้งมอญ ลาว ไทย จีน ต่างก็เคารพศรัทธาในตัวท่านมาก ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ก็มีคนมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ทั้งคนต่างจังหวัดก็มาขอบวชกับท่านมากมาย รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงก็ยังมาขอบวชกับท่านด้วย ถึงขนาดต้องอุปสมบทหมู่ เนื่องจากในแต่ละปีจะมีคนมาขอบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก นอกจากมาขอบวชแล้วก็ยังมีพระภิกษุที่บวชตามประเพณีจากที่ต่างๆ มาขอสึกกับท่าน ในตอนออกพรรษาอีกมากเช่นกัน

ในปี พ.ศ.2440 หลวงปู่เข็มจึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็น พระครูไชยคีรีศรีสวัสดิ์ ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดม่วงก็เจริญรุ่งเรืองมาก ได้มีการสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กำแพงวัด และโรงเรียน ทำให้วัดบ้านม่วงเป็นศูนย์กลางการเรียนการศึกษาพระธรรมในสมัยนั้น มีพระอาจารย์แปลบาลี มอญ และจารหนังสือไว้อย่างมากมาย หลวงปู่เข็ม เป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูง ใครจะมานิมนต์ท่านไปไหนท่านก็ไม่เคยขัดศรัทธา เป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จมาที่วัดม่วง และพระราชทานไตรแพรถวายแก่หลวงปู่เข็มด้วย

หลวงปู่เข็มยังมีวิชาแพทย์แผนโบราณ ช่วยเหลือชาวบ้านอยู่ตลอด ว่ากันว่ายาลูกกลอนของท่านศักดิ์สิทธิ์นักรักษาโรคได้หลายอย่าง หลวงปู่เข็มเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก ท่านจะทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยขาด ภายในวัดจะมีสัตว์ต่างๆ มาอาศัยบารมีของหลวงปู่อยู่มากมาย

ในปี พ.ศ.2464 ได้มีการสร้างพระอุโบสถหลังที่เห็นในปัจจุบัน หลวงปู่เข็มได้ออกเหรียญรูปท่านแจกให้เป็นที่ระลึกในการสร้างพระอุโบสถ มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ปัจจุบันก็หาชมได้ยาก ท้องถิ่นเขาหวงกันมากครับ หลวงปู่เข็มมรณภาพในปี พ.ศ.2476 สิริอายุได้ 87 ปี พรรษาที่ 66

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





พระคงลำพูน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องของการพิจารณาพระเครื่องนั้นๆ ว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ มีหลักเกณฑ์สำคัญอยู่ 3 ข้อ คือ

1.เรื่องรายละเอียดของแม่พิมพ์และร่องรอยของธรรมชาติจากการผลิต

2.เรื่องเนื้อหาขององค์พระ (วัสดุที่นำมาสร้างพระ)

3.ธรรมชาติความเก่าตามอายุการสร้าง

การพิจารณามีความสำคัญทั้ง 3 ข้อ การวิเคราะห์ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้เลยครับ มีบางท่านกล่าวว่า เรื่องพิมพ์ไม่มีความสำคัญไม่ต้องจำ หัดดูเนื้อคราบผิวก็พอนั้นเป็นการเข้าใจที่ผิดและจะนำมาซึ่งความผิดพลาดได้ง่ายมาก

วันนี้ผมจะพูดถึงเพียงเรื่องพิมพ์หรือรายละเอียดของแม่พิมพ์มีความสำคัญอย่างไร พระเครื่องหรือพระพิมพ์นั้น เป็นการผลิตขึ้นมาจากแม่พิมพ์ ดังนั้นสิ่งที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกันก็ต้องมีรายละเอียดที่เหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเส้นริ้วรอยต่างๆ มิติความลึกตื้นก็จะเหมือนกันหมด เพราะเกิดขึ้นจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน และไม่ว่าสิ่งผลิตใดๆ ก็ตามที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน ก็จะมีรายละเอียดเหมือนกัน เช่น เหรียญกษาปณ์ หรือธนบัตร รุ่นเดียวกันและมีแม่พิมพ์ตัวเดียวกันก็จะเหมือนกันทั้งหมด ไม่เช่นนั้นเหรียญกษาปณ์หรือธนบัตรก็จะพิสูจน์ไม่ได้เลยว่าเก๊หรือแท้ สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาก่อนข้ออื่นๆ ก็คือ รายละเอียดของพิมพ์เนื่องจากเป็นสิ่งแรกๆ ที่เราจะเห็นก่อนสิ่งอื่นๆ และเห็นได้ด้วยตาเปล่า เอาล่ะผมขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ เช่น มีฝาแฝดอยู่คู่หนึ่ง คุณจะจดจำได้อย่างไรว่าคนไหนเป็นคนไหน แน่นอนครับเราก็จะจดจำสิ่งแตกต่างของคนหนึ่งว่าคนนี้ชื่ออะไร ก็เท่ากับว่าเราจดจำพิมพ์หรือตำหนิที่แตกต่าง ไม่ต้องไปเอาแว่นขยายไปส่องดูเนื้อผิวของคนคนนั้นก่อนจึงจะบอกได้ว่าคนไหนชื่ออะไร ตรรกะง่ายๆ และเป็นหลักความจริงไม่ใช่เพ้อฝันครับ

การพิจารณาพระแท้หรือไม่ สิ่งแรกที่เราเห็นก็คือรายละเอียดของพิมพ์ และก็เป็นสิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาก่อนว่าถูกต้องหรือไม่ ก่อนที่จะรู้ว่าถูกต้องหรือไม่ก็ต้องศึกษาเรื่องของรายละเอียดของแม่พิมพ์เสียก่อน ต้องจดจำให้ได้ทุกมิติ พูดแบบนี้บางท่านก็อาจจะคิดว่ายาก แต่ความเป็นจริงถ้าเราศึกษาอย่างถูกต้องและศึกษาทีละพิมพ์ก็จะจดจำได้ไม่ยากนัก ข้อสำคัญต้องยึดหลักความเป็นจริงไม่ใช่จินตนาการเอาเอง ถ้าเรากำลังพิจารณาพระเครื่ององค์นั้นอยู่ และพระองค์นั้นรายละเอียดผิดแปลกจากพระแท้ๆ ที่เขาเล่นหากันโดยที่มีมูลค่ารองรับ คือมีพิมพ์ที่แตกต่างออกไป สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก็ผิดเสียแล้ว ข้อที่ 2 ที่ 3 ก็ไม่ต้องไปพิจารณาต่อให้เสียเวลาครับ เพราะสิ่งแรกที่ต้องทำให้ถูกต้องก็ผิดเสียแล้ว ถ้าพิจารณาต่อในข้อต่อๆ ไปก็ต้องผิดทั้งหมดครับ พระที่ผลิตหรือขึ้นรูปจากแม่พิมพ์อันเดียวกันก็ต้องเหมือนกัน แต่ถ้ายังไม่เหมือนก็ไม่ต้องดูต่อให้เสียเวลาครับ

ทีนี้ถ้าถามว่า พระเครื่องที่เป็นพิมพ์เดียวกันจะมีแม่พิมพ์อันเดียวกันหรือไม่ ถ้าต้องผลิตจำนวนมากๆ ครับเรื่องนี้ก็ต้องศึกษาให้รู้ก่อนว่า การสร้างแม่พิมพ์ของแต่ละยุคสมัยนั้นเขาทำออกมาอย่างไร เช่น พระกรุเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไปนั้นเขาสร้างแม่พิมพ์อย่างไร เรื่องนี้มีประวัติบันทึกไว้ และมีการค้นพบแม่พิมพ์พระต่างๆ ตั้งแต่ในสมัยตอนเปิดกรุ ไม่ว่าจะเป็นที่กรมศิลปากรหรือพวกที่ลักลอบขุด โดยจะพบแม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์พระเครื่องนั้นอยู่ในกรุด้วย ซึ่งคนโบราณเขาก็จะบรรจุไว้ในกรุพร้อมๆ กับพระเครื่องนั่นแหละ จะพบมากพบน้อยก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของกรุว่าถูกทำลายทรุดโทรมไปมากแค่ไหน เรื่องของตัวแม่พิมพ์นั้นนักขุดก็จะไม่ค่อยสนใจเท่าไร เพราะขายไม่ได้ และไม่ค่อยมีใครสนใจที่จะเก็บรักษาไว้ นอกจากนักประวัติศาสตร์จึงจะเห็นความสำคัญเก็บรักษาและบันทึกไว้ ถ้าถามว่าแม่พิมพ์ที่ถูกขุดพบนั้นจะนำมาสร้างพระชนิดนั้นได้อีกหรือไม่และเหมือนกันหรือไม่ ก็ตอบว่า นำมาผลิตได้แต่จะไม่เหมือนเดิม เนื่องจากว่าแม่พิมพ์นั้นๆ จะชำรุดไปตามกาลเวลา หรือสึกหรอไปตามกาลเวลาจึงนำมาผลิตใหม่ไม่เหมือนเดิมครับ เรื่องนี้ถ้าจะให้อธิบายก็ต้องใช้เนื้อที่หน้ากระดาษมาก ไว้จะเล่าเหตุผลให้ฟังในครั้งต่อไปครับ

ทีนี้ผมขอยกตัวอย่างพระคงลำพูนซึ่งมีการพบพระจำนวนมาก เขาสร้างพระอย่างไรถ้าแม่พิมพ์มีอันเดียว ครับเรื่องนี้ก็ต้องศึกษากันว่าเขาทำอย่างไร ในสมัยโบราณนั้น เขาจะทำแม่พิมพ์โดยการแกะตัวแม่พิมพ์เป็นแบบตัวผู้คือแกะเป็นแบบองค์พระตามที่เราเห็นเลยอันเดียว โดยอาจจะแกะจากหินละเอียดหรือจากไม้ก็ได้ จากนั้นก็จะสร้างแม่พิมพ์ที่เป็นดินเผาขึ้น โดยการนำดินเหนียวมาถอดพิมพ์จากตัวแม่ซึ่งเป็นแบบตัวผู้ ก็จะได้แม่พิมพ์ตัวเมียที่กลับด้านกัน โดยกดทำแม่พิมพ์ได้จำนวนหลายๆ ตัวเท่าความต้องการ จากนั้นก็นำแม่พิมพ์ที่ได้นั้นไปเผา เพื่อให้กลายเป็นแม่พิมพ์ดินเผา เพื่อนำมากดพิมพ์พระจริงๆ ต่อไป ซึ่งก็จะสร้างจำนวนมากๆ ได้ ดังนั้นพระที่ได้มาก็จะมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนๆ กันหมด เนื่องจากทุกองค์เกิดมาจากแม่พิมพ์ตัวผู้อันเดียวกัน เรื่องแม่พิมพ์ดินเผาที่ผมยกตัวอย่างมานี้เขาทำเป็นแม่พิมพ์ดินเผาก็เพราะเขาจะสร้างพระเครื่องชนิดเนื้อดินเผา ส่วนแม่พิมพ์ที่ทำพระเนื้อโลหะก็จะเป็นอีกแบบ แต่ก็จะสร้างแม่พิมพ์ตัวผู้ก่อนเช่นเดียวกัน เพียงแต่วัสดุและกรรมวิธีที่ทำเป็นแม่พิมพ์ตัวเมียก็จะแตกต่างกันและใช้โลหะพวกโลหะผสมแทน พระเครื่องหรือพระพิมพ์ตั้งแต่สมัยอยุธยาและเก่าขึ้นไปนั้นทำแม่พิมพ์แบบนี้ทั้งสิ้น พระเครื่องที่ผลิตขึ้นมาจากแม่พิมพ์จึงมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนกันหมด เรื่องนี้จึงเป็นสาระสำคัญอันดับแรกที่ต้องพิจารณา ส่วนเรื่องของเนื้อพระก็คือวัสดุที่นำมาสร้างเป็นองค์พระก็สำคัญ ที่ต้องพิจารณาในอันดับต่อไปจนถึงเรื่องธรรมชาติความเก่าขององค์พระ ทุกอย่างสำคัญหมดทุกข้อขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้

ถ้ามีคนสอนว่าให้ศึกษาเนื้อพระเพียงอย่างเดียวอย่างอื่นไม่ต้องศึกษา ก็ให้นึกไว้ได้เลยว่า คนผู้นั้นไม่รู้จริง หรือไม่ก็กำลังจะพาเราไปหลงทาง และจะไม่มีวันที่จะสามารถพิจารณาพระเครื่องว่าแท้หรือไม่ได้เลย มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าศึกษาเนื้อพระเพียงอย่างเดียวก็พอ เพราะเหมือนกับเรียนทางลัดได้ เพราะดูเนื้อเป็นแล้วก็ดูพระเป็นทุกอย่าง ก็เตรียมตัวโดนหลอกหรือโดนต้มและทำใจไว้ได้เลยครับ

การศึกษาเรื่องแม่พิมพ์นั้นไม่ได้ยากเย็นแสนเข็ญนักหรอกครับ เพียงแต่มีความสนใจและตั้งใจจริงเท่านั้น ก็สามารถศึกษาได้ง่ายและไม่สับสนครับ เนื้อที่หมดพอดีเดี๋ยวจะไปรบกวนเนื้อที่เขียนของคนอื่น แล้วจะเขียนถึงวิธีศึกษาเรื่องพิมพ์ในครั้งต่อไปนะครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระคงลำพูนมาให้ดูเปรียบเทียบเล่นๆ ว่าพระแท้เขามีรายละเอียดแม่พิมพ์เหมือนกันทุกมิติหรือไม่ครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





เหรียญหลวงปู่เสือ

หลวงปู่เสือ สุวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดคงคาเลิงใต้ ต.เลิงใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัด สืบสายธรรมจากหลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ วัดใต้โกสุม อ.โกสุมพิสัย

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2461 ที่เชียงส่ง ต.เลิงใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคามเข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดบ้านเชียงส่ง มีหลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย มูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม อักษรธรรม และศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่ศรีธรรมศาสน์

มรณภาพอย่างสงบ ในปี พ.ศ.2538 สิริอายุ 77 ปี พรรษา 54

วัตถุมงคลจัดสร้างออกมาหลายรุ่น แต่ที่ได้รับความนิยม คือ เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่เสือ สร้างปี พ.ศ.2529

รุ่นนี้ วัดคงคาเลิงใต้ จัดสร้างขึ้นในวาระที่หลวงปู่เสือ สิริอายุครบ 69 ปี แจกคณะศิษยานุศิษย์ รวมทั้งประชาชนที่เข้าร่วมงานมุทิตาสักการะ เป็นเหรียญทองแดงรมดำ มีหูห่วง จำนวนการสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ

ด้านหน้า ยกขอบเป็นเกลียว จากด้านขวาของเหรียญมีอักขระโค้งขึ้นไปด้านบนวน ลงไปทางขอบเหรียญด้านซ้าย อ่านว่า "อิ หัง ทะ โร เก ทิ นัง" เป็นยันต์คงกระพันชาตรี และด้านขวาของเหรียญ มีตัวอักษรไทยโค้งลงไปด้านล่างวกขึ้นไปด้านซ้าย เขียนคำว่า "หลวงพ่อปลัดเสือ สุวณฺโณ" บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เสือเต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิ

ด้านหลัง เป็นยันต์อักขระพระเจ้าห้าพระองค์ นะโม พุทธายะ มียันต์อุณาโลมปิดด้านบน 3 ตัว ด้านขวาของเหรียญมีตัวอักษรไทยโค้งลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนคำว่า "วัดคงคาเลิงใต้ อ.โกสุม จ.มหาสารคาม"

หลวงปู่เสือประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยว ภายในอุโบสถตลอดพรรษา จึงการันตีได้ในความเข้มขลังยิ่ง

กล่าวกันว่า ผู้ที่มีเหรียญรุ่นนี้ห้อยคอพกติดตัวล้วนเคยมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย บางรายบูชาแล้วได้โชคลาภเป็นประจำ

จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่อีกเหรียญหนึ่งของอำเภอโกสุมพิสัย อีกทั้งเป็นเหรียญ ที่ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก เหรียญสวย จะอยู่หลักร้อยปลาย สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยต้น


ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหลวงปู่ผาง

หลวงปู่ผาง สิริสุทโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดน้อยดวงสิทธิ์บูรพาราม ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง

เกิดประมาณ ปี พ.ศ.2420 ที่บ้านท่าสองคอน ต.ท่าสองคอน ช่วงวัยหนุ่ม เป็นนักเลงตีรันฟันแทง เมื่ออายุ 33 ปี เข้าพิธีอุปสมบท

ต่อมา ญาติโยมนิมนต์ท่านให้จำพรรษาอยู่ที่วัดน้อยดวงสิทธิ์บูรพาราม จวบจนวาระสุดท้าย

มรณภาพในปี พ.ศ.2495 สิริอายุ 75 ปี พรรษา 42

สำหรับวัตถุมงคลที่โด่งดังเป็นสุดยอดปรารถนา ในช่วงที่หลวงปู่ผางยังมีชีวิต คือ ผ้ายันต์เสาร์ห้า ท่านทำแจกญาติโยมที่มาร่วมทำบุญที่วัด จำนวนการสร้างไม่แน่นอน

แต่หลังจากมรณภาพนานกว่า 25 ปี ในปี พ.ศ.2520 วัดน้อยดวงสิทธิ์บูรพาราม มีโครงการที่จะพัฒนาเสนาสนะภายในวัด แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนหนึ่ง จึงได้จัดสร้าง "เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ผาง"

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดง ด้านหน้าเหรียญ ยกขอบเป็นเกลียวเชือก มีรูปหลวงปู่ผางนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ในท่ากัมมัฏฐาน มีข้อความจากด้านซ้ายโค้งไปตามขอบเหรียญถึงด้านขวาเขียนว่า หลวงปู่ผาง สิริสุทฺโธ วัดน้อยดวงสิทธิ์ บ้านท่าสองคอน ใต้ฐานเขียนว่า จ.มหาสารคาม ๒๕๒๐

ด้านหลัง เป็นยันต์ตรีนิสิงเห 4 ทิศ เขียนว่า สุขโต อุททังอะโท โทอุททังอัตะ เป็นคาถาหัวใจพระพุทธเจ้า ด้านล่างเขียนคำว่า รุ่น ๑

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก มีการตั้งปะรำพิธีบวงสรวงอัญเชิญดวงวิญญาณหลวงปู่ผาง ให้ลงมาอธิษฐานจิตเหรียญรูปเหมือนของท่านประกอบพิธีพุทธาภิเษกตลอดคืน

ส่วนจำนวนการสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ เปิดให้บูชาเหรียญละ 9 บาท

จัดเป็นเหรียญดังอีกเหรียญหนึ่งของเมืองมหาสารคาม ได้รับความนิยมในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก


ข่าวสดออนไลน์




เหรียญหมุนเงิน-ทอง หลวงปู่ขำ

หลวงปู่ขำ เกสโร หรือ "พระครูโสภณสราธิการ" เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พระเถระที่อายุพรรษามากที่สุดรูปหนึ่ง

ปัจจุบัน สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71

เกิดที่บ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์ อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านค้อ มีหลวงปู่รอด พรหมสโร วัดหนองกุง อ.นาเชือก เป็นพระอุปัชฌาย์

ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เนาว์ ยโสธโร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง

พ.ศ.2512 หลวงปู่เนาว์อาพาธหนัก จึงได้สั่งให้ญาติโยมไปนิมนต์ท่านกลับมา จำพรรษาที่วัดบ้านหนองแดง และท่านก็รับนิมนต์กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้

หลังหลวงปู่เนาว์มรณภาพ ได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง เรื่อยมาตราบจนปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2561 สมาคมกีฬาจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย สาขาจังหวัดมหาสารคาม ชมรมพระเครื่องจังหวัดมหาสารคาม ได้ร่วมกันจัดงานประกวดพระเครื่องพระบูชา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

เพื่อหาเงินพัฒนาการกีฬาของจังหวัด

คณะกรรม การจัดงานมีมติจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ขำ วัดหนองแดง รุ่นหมุนเงิน-หมุนทอง ลักษณะเป็นเหรียญกลมมีหู ไม่เจาะรู

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ขำห่มจีวรเฉียงครึ่งตัว ที่พื้นเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขกำกับ ล่างสุดเขียนว่าหลวงปู่ขำ เกสาโร

ด้านหลัง ใต้หูเหรียญเขียนว่าหมุนเงิน หมุนทอง บริเวณกลางเหรียญมีถุงเงินถุงทองพร้อมอักขระยันต์กำกับพุทธคุณเด่นทุกด้าน ด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไป ด้านซ้ายเขียนว่า วัดหนองแดง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ๒๕๖๑ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

เนื้อทองคำ สร้างตามสั่งจอง เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 752 เหรียญ เงินลงยาคละสี 99 เหรียญ เป็นต้น และเนื้อนวะหน้ากากเงิน 3,333 เหรียญ

ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก โดยมีพระเทพสิทธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ประธานฝ่ายสงฆ์จุดเทียนชัย พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีอธิษฐานจิตล้วนมีชื่อเสียง อาทิ หลวงปู่ลุน วัดป่าเรไรย์ จ.มหาสารคาม, หลวงปู่ขำ วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่บาล อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่อุดมทรัพย์ จ.ศรีสะเกษ เป็นต้น

ติดต่อวัดหนองแดง หรือศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคามบางแห่ง


ข่าวสดออนไลน์




พระเนื้อผงกรุวัดสามปลื้ม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดสามปลื้ม พระเนื้อผงเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่ขุดพบเมื่อครั้งรื้อถอนองค์พระเจดีย์ที่ชำรุดภายในวัด ในสมัยก่อนมีความนิยมมาก และมีประสบการณ์ต่างๆ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ปัจจุบันกลับไม่ค่อยมีการพูดถึงกันนัก

วัดสามปลื้ม หรือชื่อเป็นทางการก็คือ วัดจักรวรรดิราชาวาส ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร วัดนี้เดิมชื่อว่า วัดสามปลื้มเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ.2362 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)ได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด และได้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์จากวัดราษฎร์บูรณะ วัดพระเชตุพนฯ และวัดอื่นๆ มาจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ต่อมาเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้น้อมเกล้าฯ ถวายวัดสามปลื้มแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เป็นพระอารามหลวงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดจักรวรรดิราชาวาส" แต่ชาวบ้านก็ยังมักเรียกกันว่า วัดสามปลื้มกันจนติดปาก

สาเหตุที่มีการพบพระเครื่องต่างๆ ของวัดสามปลื้มนั้น ก็เนื่องจากองค์พระเจดีย์ต่างๆ ที่เคยมีอยู่ภายในวัดหลายองค์ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และมีการรื้อถอนองค์พระเจดีย์เก่าที่ชำรุดพังทลายลงเพื่อขยายเนื้อที่มาทำประโยชน์ในด้านอื่นๆ แทน และก็มีการรื้อถอนกันอยู่หลายครั้ง จากการรื้อถอนองค์พระเจดีย์ก็ได้พบพระเครื่องพระพุทธรูปต่างๆ มากมาย มีทั้งพระโคนสมอ พระเนื้อชินพระพุทธรูปไม้แกะ ซึ่งก็มีอยู่หลายยุคหลายสมัย แต่มีพระเจดีย์อยู่องค์หนึ่ง พบพระเครื่องเนื้อผงสีขาว ซึ่งเป็นพระเครื่องที่นิยมกันมากและมีชื่อเสียงมากก็คือ พระเครื่องเนื้อผงสีขาว ที่ต่อมาเรียกกันว่าพระวัดสามปลื้ม จำนวนพระที่พบมีจำนวนมากเป็นหมื่นองค์ ในครั้งแรกๆ ก็ไม่ค่อยได้มีคนสนใจเท่าไรนัก พระเครื่องที่พบทางวัดก็ยังไม่ได้นำไปเก็บรักษาไว้เพียงแต่กองไว้ที่ลานวัด ก็มีคนหยิบพระไปเรื่อยๆ จนพระเริ่มงวดลง ทางวัดจึงนำพระไปเก็บรักษาไว้ในกุฏิ แต่ก็ยังมีผู้ที่มาขอจากท่านเจ้าอาวาสเสมอๆ จนพระหมดไปในที่สุด พระเครื่องที่มีผู้ได้รับไปนั้นต่อมาเกิดมีประสบการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน จึงเป็นที่นิยมและเสาะหากันมากในสมัยนั้น

พระเนื้อผงกรุวัดสามปลื้มนั้นใครเป็นผู้สร้าง เท่าที่สืบค้นดูก็พอจะทราบว่า พระเครื่องเนื้อผงวัดสามปลื้มนั้นสร้างในประมาณปี พ.ศ.2414-15 ซึ่งคณะกุฏิของวัดสามปลื้มเป็นผู้สร้างขึ้น ในขณะนั้นคณะกุฏิของวัดสามปลื้ม มีชื่อโด่งดังมากในด้านวิปัสสนากรรมฐาน และมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอยู่หลายรูป ได้แก่ พระธรรมานุกูล (ด้วง) ท่านเจ้าอาวาส พระอาจารย์พรหม พระอาจารย์ช้าง และพระอาจารย์อื่นๆ อีกหลายรูป ได้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์ทรงต่างๆ และได้บรรจุไว้องค์พระเจดีย์ ซึ่งต่อมาได้มีการขุดพบและเป็นที่นิยมและเรียกกันว่า "พระวัดสามปลื้ม" พระกรุนี้มีอยู่หลายพิมพ์ และที่นิยมมากที่สุดก็คือพิมพ์เศียรโล้น ซึ่งมีพบจำนวนน้อย พระพิมพ์เศียรแหลม พระพิมพ์ห้าเหลี่ยม พระพิมพ์บัวฟันปลา พระพิมพ์สามเหลี่ยม เป็นต้น

พระส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผงสีขาว มีลงรักปิดทองมาแต่ในกรุ องค์พระขนาดค่อนข้างเขื่อง เนื้อของพระจะไม่แกร่งนัก ค่อนข้างแตกเปราะได้ง่าย ด้วยเหตุนี้กระมังต่อมาจึงเกิดชำรุดเสียหายไปมาก ปัจจุบันพระกรุนี้หาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน และพุทธคุณก็โดดเด่นทางด้านแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ควรค่าแก่การอนุรักษ์ครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระวัดสามปลื้ม พิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่มาให้ชมครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





พระปรกใบมะขาม หลวงปู่ใจวัดเสด็จ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปรกใบมะขาม ที่จัดอยู่ในเบญจภาคีของพระปรกใบมะขามนั้น มีพระปรกใบมะขามชนิดเดียวที่เป็นเนื้อเมฆพัด คือ พระปรกใบมะขามพิมพ์เล็กของหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จังหวัดสมุทรสงคราม หลวงปู่ใจได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมในการสร้างตะกรุดลูกอมจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี และท่านได้รับคำชมจากหลวงปู่ยิ้มว่า สามารถเพ่งไส้เทียนให้ขาดได้รวดเร็วกว่าตอนที่ท่านเริ่มเรียนเสียอีก

หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2405 ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อขำ โยมมารดาชื่อหุ่น ต่อเมื่ออายุได้ 15 ปี บิดามารดาได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ ตำบลเมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นบ้านเดิมของบิดา และเมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางเกาะเทพศักดิ์ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา โดยมีพระอุปัชฌาย์จุ้ย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อินฺทสุวณฺโณ"

เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะเทพศักดิ์ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ต่อมามีโยมอิ่มกับโยมอ่อน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่านได้ถวายที่ดินจำนวน 3 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา ให้กับพระสมุห์แพ เจ้าอธิการวัดใหญ่ยายเงิน (วัดราษฎร์บูรณะ) ซึ่งเป็นฐานานุกรมของ พระครูวิมลเกียรติ (เกลี้ยง) วัดบางสะแก เพื่อให้สร้างวัด ต่อมาพระสมุห์แพป่วยหนัก ไม่สามารถจะดำเนินการให้เป็นไปตามประสงค์ของนางอิ่มได้ จึงได้มอบโฉนดที่ดินแปลงนั้นให้กับขุนศรีโยธามาตย์ภักดีกับหมื่นชำนาญ ให้นำไปให้ทานวัดใดวันหนึ่งเพื่อดำเนินการต่อไป ขุนศรีโยธามาตย์กับหมื่นชำนาญจึงได้นำมามอบให้กับพระอุปัชฌาย์จุ้ยให้ดำเนินการต่อไป

ต่อมามีผู้บริจาคทรัพย์ร่วมอีก พระอุปัชฌาย์จุ้ยจึงได้ซื้อเรือนไม้หนึ่งหลังมาปลูกสร้างเป็นกุฏิ และสร้างวัดในปี พ.ศ.2434 และพระอุปัชฌาย์จุ้ยก็ได้มอบให้พระภิกษุใจมาเป็นผู้ปกครอง พร้อมด้วยพระภิกษุอีก 4 รูป ในตอนนั้นมีกุฏิอยู่ 2 หลัง ชื่อว่า "วัดใหม่ยายอิ่ม" และหลวงปู่ใจได้รับการแต่งตั้งจาก พระครูวิมลเกียรติ์ (ป้าน) วัดเมืองใหม่ เจ้าคณะเมืองราชบุรี ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอธิการปกครองวัด หลวงปู่ใจได้พัฒนาจนวัดมีความเจริญรุ่งเรือง

ต่อมาได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประทานนามวัดใหม่ว่า "วัดเสด็จ"

หลวงปู่ใจได้รับสมณศักดิ์ดังต่อไปนี้ ปี พ.ศ.2458 เป็นผู้รั้งเจ้าคณะแขวงบางคณที ปี พ.ศ.2460 เป็นเจ้าคณะแขวงบางคณทีและได้รับพระราชทานสัญญาบัตร มีพระราชทินนามว่า "พระครูสิทธิสาร" พ.ศ.2469 เป็นเจ้าคณะแขวงอัมพวา พ.ศ.2495 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระสุทธิสารวุฒาจารย์ พ.ศ.2504 ได้รับพระ ราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระราชมงคลวุฒาจารย์ เจ้าคุณชั้นราช หลวงปู่ใจวัดเสด็จ ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ปี พ.ศ.2505 สิริอายุได้ 100 ปี พรรษาที่ 78

หลวงปู่ใจได้ศึกษาวิทยาคมจาก หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี หลวงปู่แจ้ง วัดประดู่ หลวงพ่อพ่วง วัดปากสมุทร หลวงพ่อปลัดทิม วัดเมืองใหม่ เป็นต้น

ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัด พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ พระเมฆพัด พิมพ์ซุ้มประตู พระพุทธชินราช พระหล่อเนื้อโลหะผสมปางประจำวัน เหรียญพระประจำวัน ผ้ายันต์ ตะกรุดลูกอมร้อยไหมเจ็ดสี มีเนื้อทองคำ นาก และเนื้อเงิน ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา ตะกรุดสามกษัตริย์ ฯลฯ

พระปรกใบมะขาม เนื้อเมฆพัด ของหลวงปู่ใจที่นิยมกันมากคือพระปรกใบมะขามพิมพ์เล็ก ซึ่งจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีพระปรกใบมะขาม วันนี้ผมจึงนำรูปพระปรกใบมะขามพิมพ์เล็กมาให้ชมกันครับ ปัจจุบันหายากมาก


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





เหรียญพระมาลัยหลวงปู่ทองคำ

หลวงปู่ทองคำ สุวโจ เดิมจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่ พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใส ศรัทธา ร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับหลวงปู่ อาศัยปฏิบัติธรรม

ด้วยความที่หลวงปู่มีวัตรปฏิบัติที่สมถะเรียบง่าย อาศรมแห่งนี้จึงถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียวเปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบัน อายุ 92 ปี พรรษา 38 เกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะอยู่กับพระอาจารย์ฝั้นก็ศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่ฝั้น ด้วยความขยันพากเพียร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงลาสิกขา และกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ภายหลังหลวงปู่ทองคำ ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ หากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจ หลวงปู่ทองคำ จะข้ามไปประเทศ สปป. ลาว เป็นประจำ เนื่องจากท่านให้ความอุปถัมภ์วัดโนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว

เนื่องจากในปี 2562 หลวงปู่ทองคำ สิริอายุ 92 ปี คณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ร่วมกันจัดงานมุทิตาสักการะฉลองอายุวัฒนมงคล 92 ปี หลวงปู่ทองคำ ระหว่างวันที่ 11-12 เม.ย.2562 ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ นอกจากนี้ ยังมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญพระมาลัย

วัตถุมงคลเหรียญพระมาลัย มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ด้านหน้าเป็นรูปพระมาลัย อัครสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ที่มีอิทธิฤทธิ์โปรดสัตว์ในนรก เพื่อแสดงธรรมช่วยปลดปล่อยสัตว์นรกให้ไปเกิดในสุคติยภูมิ

ด้านหลังเหรียญจะเรียบมีรอยจารอักขระยันต์ลายมือหลวงปู่ทองคำ พร้อมกับตอกโค้ดและหมายเลขเลียงลำดับทุกองค์

จำนวนการสร้างประกอบด้วย เนื้อทองคำ สร้าง 9 องค์ เนื้อเงินหลังแผ่นทองคำพระยา 300 องค์ เนื้อทองทิพย์ สร้าง 1,000 องค์ เนื้อผงสร้าง 10,000 องค์ และยังมีพระบูชาพระมาลัย ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว สร้าง 200 องค์

ในส่วนของการประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 11 เม.ย.2562 ภายในงานฉลองอายุวัฒนมงคล 92 ปี

โดยหลวงปู่ทองคำ จะนั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว ด้วยความที่ท่านมีพลังจิตที่แก่กล้า ประกอบกับเจตนาการสร้างที่บริสุทธิ์ จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง หลังเสร็จพิธีมีการแจกวัตถุมงคล


ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #108 เมื่อ: 11 เมษายน 2562 10:50:21 »

.



เหรียญวางศิลาฤกษ์พระเจดีย์

พระครูจันทสิริธร หรือ "หลวงพ่อสารันต์ จันทูปโม" เจ้าอาวาสวัดดงน้อย ต.กกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี

ปัจจุบัน สิริอายุ 72 ปี พรรษา 52

มีนามเดิมว่า สารันต์ เนียมสุริยะ เกิดเมื่อวันที่ 14 ต.ค.2490 ที่บ้านปราสาท ต.ปราสาท อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

พ.ศ.2510 อุปสมบทที่วัดบรมนิเวศ แขวงเมืองพระตะบอง มี พระพุทธโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์

พระพุทธโชโต พาท่านไปฝากไว้กับสมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระสังฆราชประเทศกัมพูชา และพำนักรับใช้อยู่ที่ วัดอุนาลอม กรุงพนมเปญ

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระเลขานุการ สมเด็จพระสังฆราช แห่งกัมพูชา

ในราวปี พ.ศ.2518 ประเทศกัมพูชาเกิดสงคราม หลวงพ่อสารันต์ตัดสินใจเก็บเครื่องอัฐบริขารมุ่งหน้าสู่แผ่นดินไทยที่วัดปราสาท อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุไทยที่วัดปราสาท มี พระครูสถิตธรรมสาส์น (หลวงพ่อแถม) เป็นพระอุปัชฌาย์

จำพรรษาอยู่ที่วัดปราสาทระยะหนึ่ง ก็ออกธุดงค์ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร, หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จ.อุบลราชธานี, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ และครูบาพรหมจักรักษา วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน

ต่อมาธุดงค์ผ่านมาถึงบ้านดงน้อย ปักกลดพำนักอยู่ระยะหนึ่ง ชาวบ้านดงน้อยเห็นวัตรปฏิบัติของท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา พร้อมใจอาราธนาให้พำนักอยู่ที่วัดดงน้อย ต.กกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี

พ.ศ.2522 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ขณะนั้นวัดดงน้อยอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม

ใช้ความรู้ ความสามารถ ด้านมนต์วิชาที่ร่ำเรียนมาสงเคราะห์ญาติโยมอย่างเต็มความสามารถ จนเกิดพลังศรัทธาช่วยพัฒนาวัดจนมีความเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ

ล่าสุด ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนาม "พระครูจันทสิริธร"

วันที่ 6 พ.ย.2547 จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญวางศิลาฤกษ์องค์พระเจดีย์ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติเขาเตียน ต.วังเพลิง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

ลักษณะเป็นเหรียญกลม (ใหญ่) ไม่มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ มีขอบรอบ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงพ่อสารันต์ นั่งสมาธิเต็มองค์ มีอักขระขอมพระคาถา "อิ ติ ปิ โส" ล้อมรอบ ที่ขอบเหรียญมีอักขระขอมรอบเหรียญ "นะ โม พุท ธา ยะ นะ มะ พะ ทะ จะ พะ กะ สะ อะ มะ ทะ มะ อะ อุ อิ สะหวา สุ สะ ทา โสต ถี ภะ วัน ตุ เม" และมีอักษรไทย "หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย ตำบลกกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี

ด้านหลังเหรียญ มีขอบรอบ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปนูนองค์พระเจดีย์ ด้านล่างมีอักษรไทย "งานวางศิลาฤกษ์ องค์พระเจดีย์ ณ ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติเขาเตียน" มีอักขระขอมรอบองค์พระเจดีย์ "อิ ติ ปา ระ มี ตา ติง สา อิ ติ โพ ธิมะ นุ ปัด โต" ส่วนรอบขอบเหรียญมีอักขระขอม "พระคาถาบารมีสิบทัศ"

เป็นวัตถุมงคลเด่นอีกชุด ที่น่าหาเช่าบูชา


ข่าวสดออนไลน์





พระกริ่งอรหัง วัดราชาฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกริ่งรุ่นเก่าๆ พิธีกรรมการสร้างดี แต่สนนราคาไม่สูงนัก พอที่จะไขว่คว้ามาเช่าหาบูชากันได้ เข้ากับเศรษฐกิจในยุคนี้กันดีกว่านะครับ ในอนาคตราคาน่าจะขยับขึ้นไปกว่าปัจจุบันแน่นอนครับ พระกริ่งที่ผมจะพูดถึงก็คือพระกริ่งอรหัง วัดราชาธิวาสวรมหาวิหาร บางท่านจะยังคงไม่ทราบว่าที่วัดราชาฯนั้นก็เคยมีการสร้างพระกริ่งไว้รุ่นหนึ่งนะครับ เอาล่ะมารู้จักกับพระกริ่ง วัดราชาฯ กันครับ

วัดราชาฯ นี้เป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยโบราณ เดิมมีชื่อว่าวัดสมอราย และเป็นวัดที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์วัดหนึ่ง กล่าว คือวัดราชาฯเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งที่ทรงพระผนวช และเมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชก็ได้ประทับอยู่ ณ วัดราชาฯแห่งนี้ สืบต่อมาพระองค์จึงเสด็จจากวัดราชาฯไปครองวัดบวรนิเวศฯ

ในราวปี พ.ศ.2492-2493 พระศาสน์โสภณ (ปลอด) อถฺการี ได้ดำริจัดสร้างพระกริ่งขึ้นและท่านได้ขึ้นไปเมืองเหนือ เพื่อรวบรวมพระพุทธรูปบูชาที่ชำรุดแตกหัก ได้มาเป็นจำนวนมากจากกรุต่างๆ ในภาคเหนือ มีสุโขทัย สวรรคโลก กำแพงเพชร เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นเนื้อหลัก นอกจากนั้นก็ยังมีแผ่นทอง แผ่นเงินจารอักขระถูกต้องตามตำราดั้งเดิมทุกประการ ส่วนพิธีกรรมนั้นก็เพียบพร้อมทั้งพิธีพุทธ พิธีพราหมณ์ รูปแบบของพระกริ่งก็ใช้การถอดแบบของพระกริ่งปวเรศองค์ของวัดบวรฯ เป็นต้นแบบ แต่ช่างในสมัยนั้นถอดแบบออกมาไม่ค่อยคมชัด จึงทำให้พระกริ่งอรหัง วัดราชาฯ ไม่ค่อยสวยงามนัก จำนวนการสร้างประมาณ 1,000 องค์เท่านั้น ในครั้งที่วัดนำออกมาให้เช่าบูชา ราคาองค์ละ 1,000 บาท ซึ่งในสมัยนั้นนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างจะสูงมากทีเดียวครับ

การเทพระกริ่งอรหัง วัดราชาฯนั้นเป็นการเทแบบหล่อตันทั้งองค์ แล้วจึงนำมาเจาะด้วยสว่าน บรรจุเม็ดกริ่งทีหลัง แล้วจึงอุดก้นด้วยทองฉนวน (แบบที่เรียกว่าบรรจุเม็ดกริ่งนอก) ถ้าพลิกดูที่ใต้ฐานจะเห็นรอยอุดเป็นจุดวงกลม และมีตัวตอก ตอกคำว่า "อรหัง" เป็นอักษรขอม แบบตัวบรรจง เส้นตัวตอกจะลึกคมชัด ถือเป็นโค้ดได้เลยทีเดียวครับ เนื้อของพระกริ่งอรหัง วัดราชาฯนี้ จะออกไปทางเนื้อสัมฤทธิ์ คล้ายกับเนื้อพระบูชาเชียงแสนสิงห์สาม ผิวออกไปทางสีน้ำตาล ถ้าใช้ถูกสัมผัสจะมีจุดดำเป็นหย่อมๆ และผิวค่อนข้างคล้ำ

รูปทรงรายละเอียดของพระกริ่งอรหัง วัดราชาฯ อาจจะดูไม่ค่อยสวยงามนัก แต่เป็นพระกริ่งที่มีเนื้อหาดี เนื่องจากใช้เนื้อพระบูชาเก่าๆ ที่แตกหักชำรุดมาเป็นเนื้อหลักในการผสมเนื้อ พิธีกรรมการสร้างนั้นก็ดี ถูกต้องตามตำราทุกประการ แถมยังเป็นพระกริ่งที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ การปลอมแปลงก็ยังมีไม่มากนักและฝีมือการทำปลอมยังไม่ค่อยดี สามารถแยกแยะได้ไม่ยากนักอีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่แพง และยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนักเช่นกัน ส่วนพุทธคุณนั้นก็ยอดเยี่ยมในทุกๆ ด้านครับ ในวันนี้ก็ได้นำรูปมาให้ชมกันครับ


ชมรมพระเครื่อง   แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์





พระสมเด็จหลวงพ่อเหมียน

"วัดโบสถ์เทพนิมิต" หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในนาม "วัดโคกกระดี่" ตั้งอยู่บ้านโคกกระดี่ หมู่ที่ 6 ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

จากคำปรารภและการจดบันทึกของ พระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) วัดจันเสน อดีตเจ้าคณะอำเภอตาคลี จ.นครสวรรค์ เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ความว่า...."วัดโบสถ์เทพนิมิต (โคกกระดี่) ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมานานแล้วแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนแถบนี้ อายุของวัดประมาณพันกว่าปี ซึ่งเท่ากับวัดจันเสนเมืองโบราณ" ทั้งนี้ ชาวบ้านได้เข้าไปหักร้างถางป่าก็พบโบสถ์ ปัจจุบันเหลือแต่ฐานทำด้วยศิลาแลง ใบสีมาทำด้วยหิน มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ด้วย องค์พระเป็นสีดำ ชาวบ้านพากันเรียกว่า "หลวงพ่อดำ"

หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางสะดุ้งมาร เนื้อหินทรายดำ หน้าตักกว้าง 30 นิ้ว เดิมประดิษฐานบนแท่นพระอุโบสถหลังเก่าที่ทำด้วยศิลาแลง เนื่องจากพระพุทธรูปถูกปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง ไม่มีหลังคาคลุมเป็นเวลานาน บางส่วนจึงชำรุดแตกหัก ซึ่งได้ซ่อมแซมและประดิษฐานไว้ในวิหาร ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา

พ.ศ.2561 พระครูนิมิตสันตยากร (บุญฤทธิ์ สันตจิตโต) เจ้าคณะตำบลหัวหวายเขต 2 เจ้าอาวาสวัดโบสถ์เทพนิมิต(โคกกระดี่) รูปปัจจุบัน ที่ชาวบ้านเรียกขาน หลวงพ่อเหมียน ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" เพื่อมอบให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์ จำนวน 299 องค์ พร้อมปลุกเสกเดี่ยว

พระครูนิมิตสันตยากร หรือ หลวงพ่อเหมียน เป็นศิษย์เอกสายตรงหลวงพ่อประยุทธ วัดคีรีล้อม, หลวงพ่อปลอด วัดหนองหม้อ และหลวงพ่อนงค์ วัดสว่างวงษ์ ก่อนหลวงพ่อเหมียนจะมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ออกธุดงควัตรมา 8 ปี

ปัจจุบัน สิริอายุ 52 ปี พรรษา 28

มวลสารที่นำมาผสมเป็นวัตถุมงคล "พระสมเด็จหลวงพ่อเหมียน" ชุดนี้ มี ผงว่านจำปาสัก, ผงพญากาสัก, ผงงาช้าง, ผงอิทธิเจ, ผงชานหมากหลวงพ่อกวย, ผงหลังคาโบสถ์ 299 โบสถ์, ผงพระสมเด็จเก่า, ผงแป้งหลวงพ่อโม, ผงเหล็กไหลน้ำหลวงพ่อปลอด, ผงธูปหลวงพ่อดำ, น้ำหอม 9 กลิ่น และแร่เหล็กน้ำพี้

หลวงพ่อเหมียนปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส (3 เดือน) ท่านผสมผงด้วยตัวท่านเอง และมอบให้พระเริงฤทธิ์ ปัญญธัมโม (พระพี่ชาย) เป็นผู้ปั๊มเพียงท่านเดียว

ลักษณะด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปนูนพระพุทธนั่งสมาธิ มีซุ้มหวายครอบ ประทับนั่งบนแท่น 3 ชั้น ส่วนด้านหลังเรียบ ฝังแร่เหล็กไหลน้ำหลวงพ่อปลอด จำนวน 3 เม็ด


ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #109 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2562 14:46:33 »

.


เหรียญเมตตา หลวงปู่แขม
"พระครูสุวรรณธรรมาการ" หรือ "หลวงปู่เเขม จารุวัณโณ" เจ้าอาวาสวัดจันทราวาส อ.โคกโพธิ์ไชย จ.ขอนแก่น เป็นพระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 87 ปี พรรษา 67

เกิดที่บ้านแก้งคร้อ ต.แก้งคร้อ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ นามเดิม นายเเขม ตาปราบ เกิดวันที่ 10 ก.ย. 2475

พ.ศ.2496 เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดสระทอง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยมีพระอธิการฟั่น จันทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ไปจำพรรษาปฏิบัติธรรมที่วัดโพธิ์กลาง ต.กุดเค้า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น มุมานะศึกษาเล่าเรียนสอบได้นักธรรมชั้นโท-เอก ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังได้เดินทางเข้ามาศึกษาที่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ โดยมี พระมหาโชดก ญาณสิทธิ อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นอาจารย์สอน

ให้ความสนใจฝากตัวศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป อาทิ หลวงปู่จูม จ.ชัยภูมิ, หลวงปู่หล่ม พรหมโชโต วัดทุ่งสว่าง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

วัตรปฏิบัติคือ การออกธุดงค์ตั้งแต่ปี 2499 ส่วนมากท่านจะเดินจาก จ.ขอนแก่น ไปตามป่าเขาในเขต จ.ชัยภูมิ จ.นครราชสีมา จนถึงปี 2518 เมื่ออายุมากขึ้นและมีตำแหน่งทางปกครอง จึงไม่ค่อยมีเวลาที่จะออกธุดงควัตรอีก

ต่อมา ท่านมาจำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดจันทราวาส ตราบจนปัจจุบัน

ลำดับสมณศักดิ์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสุธรรมาการ

ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์เเต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะอำเภอมัญจาคีรี และเป็นเจ้าคณะอำเภอโคกโพธิ์ไชยด้วย

ในปี พ.ศ.2562 หลวงปู่แขม อายุย่าง 88 ปี คณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา นำโดย "อรุณ คนสร้างบุญ" ได้ขออนุญาตหลวงปู่แขม จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญเมตตา ๘๘" วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างเมรุให้แล้วเสร็จ ตามวัตถุประสงค์ของวัด

ลักษณะเป็นเหรียญ มีหู ไม่เจาะห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แขม ห่มจีวรเฉียงครึ่งองค์ ด้านบนใต้ห่วงมีตัวอักษรเขียนคำว่า เมตตา

ด้านหลัง บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน จากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย เขียนคำว่า หลวงปู่เเขม จารุวณฺโณ วัดจันทราวาส อ.โคกโพธิ์ไชย จ.ขอนแก่น

จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนสั่งจอง เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ เนื้อนวะ 111 อัลปาก้า 222 เหรียญ ทองแดงผิวไฟ 1,999 เหรียญ เนื้อเงิน 88 เหรียญ นวะหน้ากากเงิน 88 เหรียญ เนื้อเงินลงยาคละสี 39 เหรียญ เป็นต้น

พิธีพุทธาภิเษก เดือนพฤษภาคม 2562 โดยหลวงปู่แขม นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว  
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



พระขุนแผนสะกดทัพ หลวงปู่ทองคำ
"หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมท่านจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับหลวงปู่อาศัยปฏิบัติธรรม

ด้วยความที่หลวงปู่มีวัตรปฏิบัติที่สมถะเรียบง่าย อาศรมแห่งนี้จึงถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียว เปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 38

หลวงปู่ทองคำเกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบ สักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับ พระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ ฝั้น สามเณรทองคำศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่ฝั้นด้วยความขยันพากเพียร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงลาสิกขา และกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ภายหลังหลวงปู่ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์

เนื่องจากในปี พ.ศ.2562 สิริอายุ 92 ปี คณะศิษย์รวมทั้งผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาร่วมจัดงานมุทิตาสักการะฉลองอายุวัฒนมงคล 92 ปี หลวงปู่ทองคำ ระหว่างวันที่ 11-12 เม.ย.2562 ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ นอกจากนี้ ยังมีมติจัดสร้างวัตถุมงคลพระขุนแผนสะกดทัพ

วัตถุมงคลมีลักษณะเป็นพระเนื้อผงพิมพ์ 5 เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ปางสมาธิ ประทับนั่งอยู่ในซุ้ม 5 เหลี่ยม พระหัตถ์สองข้างจับที่ด้ามดาบ

ด้านหลังจากซ้ายด้านบนวนไปด้านขวาเขียนว่า ขุนแผนสะกดทัพ ล.ป.ทองคำ สุวโจ จากด้านซ้ายลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านขวาเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปท้าวเวสสุวัณ และล่างสุดเป็นรูปถุงเงินถุงทอง 2 ถุง พร้อมตัวอักษรเขียนว่า อาศรมสุวโจ

สร้างเนื้อตะกั่ว 100 องค์ เนื้อผงปถมังโลกีฝังตะกรุดทองคำ 100 องค์ เนื้อผงใบลานตะกรุดเงิน 500 องค์ เนื้อผงใบลานโรยพลอยเสก 1,000 องค์ เนื้อผงน้ำมันฝังปรกใบมะขาม 300 องค์ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 11 เม.ย.2562 ภายในงานฉลองอายุวัฒนมงคล โดยหลวงปู่ทองคำจะนั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญพระปรางค์หลังเรียบ
พี่น้องชาววัดอรุณ โดยนายอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ หรือ วิทย์ วัดอรุณ บิ๊กบอสบริษัท กะฉ่อน ดอทคอม และ นายวันชัย ลาภวิไลพงศ์ หรือ โต วัดอรุณ ประธานเหยี่ยวเวหา บก.เขต 7 พร้อมด้วยชุมชนชาววัดอรุณ ร่วมจัดสร้าง "เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี" ใหญ่ที่สุดในรอบ 250 ปี

พร้อมทั้ง จัดงานบวงสรวงและพิธีมหาพุทธา-มหาเทวาภิเษก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2561

พิธีดังกล่าวจัดอย่างยิ่งใหญ่ที่ชุมชนชาววัดอรุณ คณะผู้จัดสร้างยังสร้าง "เหรียญพระปรางค์วัดอรุณแบบหลังเรียบ รุ่นกรุงธนบุรี" ไว้จำนวนหนึ่ง เป็นเหรียญที่ระลึกสำหรับ ผู้ศรัทธาในพระองค์ท่าน ที่มาร่วมบุญร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเทิดพระเกียรติองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ

เหรียญพระปรางค์หลังเรียบ รุ่นกรุงธนบุรี เป็นเหรียญพิเศษที่คณะผู้สร้างสื่อความหมายองค์พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สัญลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ ไม่มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ด้านล่าง เขียนคำว่า "กรุงธนบุรี"

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเขียนคำว่า "ที่ระฤก งานสมโภชกรุงธนบุรีครบรอบ ๒๕๐ ปี" ด้านล่างเขียนคำว่า "๒๔ พ.ย.๖๑"

เหรียญดังกล่าวประกอบพิธีบวงสรวงอย่างยิ่งใหญ่ถูกต้องตามประเพณีโบราณ หน้าองค์พระปรางค์ด้านทิศตะวันออก และประกอบพิธีมหาพุทธา-เทวาภิเษก ภายในโบสถ์น้อย โดยพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมจำนวน 10 รูป อาทิ พระมหาสุรศักดิ์ อติสักโข เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อเล็ก สุธัมมปัญโญ เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อตี๋ ขันติโก เจ้าอาวาสวัดหูช้าง จ.นนทบุรี, หลวงพ่อแป๊ะ ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ จ.นครปฐม เป็นต้น

เหรียญพระปรางค์วัดอรุณหลังเรียบ รุ่นกรุงธนบุรี เป็นเหรียญชุดพิเศษจัดสร้างขึ้นเพียง 2 เนื้อ คือ

1.เหรียญเนื้อเงิน (ข้างเลื่อย) จัดสร้างจำนวน 19 เหรียญ (ทุกเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกเหรียญตามจำนวนการสร้าง) เปิดให้ร่วมบุญบูชาในราคา 4,000 บาท โดยจะได้รับเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี เนื้อทองแดงธรรมดาเพิ่มฟรี จำนวน 4 เหรียญ

2.เนื้อทองแดง (ไม่ตัดปีก) จัดสร้างจำนวน 300 เหรียญ (ทุกเหรียญตอกโค้ดและหมายเลขกำกับตามจำนวนการสร้าง) เปิดให้ร่วมบุญบูชาในราคา 1,000 บาท โดยจะได้รับเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี เนื้อทองแดงธรรมดาเพิ่มฟรี จำนวน 1 เหรียญ

รายได้โดยไม่หักค่าใช้จ่าย เพื่อสมทบทุนในการจัดงานแห่องค์พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ประจำปี 2562 ในวันอังคารที่ 16 เม.ย.2562 ผู้มีจิตศรัทธาสามารถติดต่อร่วมทำบุญได้ที่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ปากซอยวังเดิม 3 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม.10600
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญเจริญพร หลวงปู่เบ้า จัตตมโล
หลวงปู่เบ้า จัตตมโล เจ้าอาวาสวัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ พระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคม เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 97 ปี พรรษา 29

มีนามเดิม เบ้า สัตยาคุณ เกิดปี พ.ศ.2465 พื้นเพเป็นชาวบ้านโพนงาม ต.บัวแดง อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดในหมู่บ้าน ที่อุโบสถวัดอัมพวัน ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ โดยมีเจ้าอธิการสุวรรณ สิริปุญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นมาตราบจนปัจจุบัน

ด้วยความที่ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเสมอต้นเสมอปลาย หลวงปู่เบ้า เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว แต่ละวันจะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม และประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เนื่องจากวัดบ้านโนนมาลัย ยังเป็นวัดที่ยังขาดแคลนถาวรวัตถุ อาทิ กุฏิที่หลวงปู่เบ้า มีสภาพที่ทรุดโทรม

คณะศิษยานุศิษย์และผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ นำโดย "แท็กสกล พระใหม่" ได้ขออนุญาต จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญเจริญพร หลวงปู่เบ้า" เพื่อหารายได้สมทบทุนบูรณะ

เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะรู

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ห่มจีวรเฉียง เต็มองค์นั่งท่าวิปัสสนากัมมัฏฐาน ด้านบนสุดเขียนว่า เจริญพร ส่วนด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่เบ้า จตฺตมโล และมีรูปเสือสองตัวในท่ากระโจนล่าเหยื่อหันหน้าเข้าหากัน

ด้านหลังเหรียญ จากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายมีตัวอักษร เขียนว่า วัดบ้านโนนมาลัย ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ๒๕๖๒ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง ส่วนที่บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน

เหรียญรุ่นนี้ จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 19 เหรียญ เนื้อเงินลงยาสีแดง 59 เหรียญ เนื้อเงินบริสุทธิ์ 99 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 250 เหรียญ อัลปาก้าลงยา 500 เหรียญ

พิธีพุทธาภิเษกเตรียมจัดขึ้นภายในศาลาการเปรียญวัดโนนมาลัย ช่วงปลายเดือนเมษายน 2562
[/size] เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์


 
ระวังบัตรรับรองพระแท้มีการทำปลอม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ช่วงนี้ได้รับการขอช่วยให้ตรวจสอบใบรับรองพระแท้ของสมาคม ผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยมาหลายรายที่ส่งมาให้ช่วยตรวจสอบ ซึ่งเมื่อดูรูปพระที่อยู่ในบัตรรับรองพระแท้นั้นก็เป็นพระปลอม และเมื่อตรวจสอบดูจากฐานข้อมูลของสมาคมแล้วก็พบว่าบัตรรับรองพระแท้ใบนั้นๆ เป็นบัตรปลอม เนื่องจากบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมนั้นจะมีการจัดเก็บรายละเอียดไว้ในฐานข้อมูลของสมาคมทุกใบและสามารถตรวจสอบได้ครับ

เรื่องบัตรรับรองพระแท้ และใบประกาศนียบัตรงานประกวดนั้น ผมเคยได้แจ้งให้ทราบมาแล้วว่า มีการทำปลอมกันมากและทำกันมานานแล้ว โดยเฉพาะใบประกาศ ในส่วนของบัตรรับรองพระแท้นั้นก็มีทำกันในระยะหลังๆ และในปัจจุบันมีการทำกันมากขึ้น ซึ่งก็ได้รับการร้องเรียนและขอให้ตรวจสอบ ก็พบว่ามีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยนั้นได้รับความเชื่อถือ จึงมีผู้ทำบัตรปลอมกันมากขึ้น เพื่อที่จะหลอกขายพระปลอมโดยอ้างอิงบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมในการประกอบการขาย ซึ่งคนเลวก็ย่อมคิดหาวิธีเลวๆ มาหลอกให้หลงเชื่อตลอดมา

 เรื่องบัตรรับรองพระแท้นั้นก็มิใช่จะมีแต่ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเพียงอย่างเดียว ก็ยังมีของสถาบันอื่นๆ อีกมาก แต่ปัจจุบันบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมได้รับการเชื่อถือและยอมรับในสังคมอย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศไทยเองและชาวต่างชาติ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศจีน เป็นต้น ดังนั้น จึงมีการทำปลอมบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยกันมากขึ้น

ผมจึงอยากฝากเตือนผู้ที่พบเห็นหรือจะเช่าพระที่มีบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมให้ตรวจสอบดูให้ดีเสียก่อนว่าเป็นบัตรแท้หรือไม่ โดยท่านสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองง่ายๆ คือเข้าไปที่เว็บของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย (www.Samakomphra.com) เข้าไปที่หน้าแรก แล้วให้สังเกตดูด้านบนสุดจะมีช่องให้เลือก ก็เลือกที่เมนูกดเลือกก็จะพบรายการต่างๆ ให้ดูที่ด้านขวามือสุด จะเป็นค้นหาในประกาศ/ใบรับรอง แล้วให้กดเลือกที่ใบรับรอง(การ์ด) ก็จะเห็นช่องให้กรอกหมายเลขบัตร ท่านก็กรอกหมายเลขบัตร ซึ่งจะปรากฏอยู่ที่ใต้รูปภาพพระ กรอกเสร็จก็ให้กดที่รูปแว่นขยาย ถ้าเป็นบัตรรับรองพระแท้ของจริงก็จะปรากฏรูปภาพบัตรตัวจริง พร้อมรายละเอียดของบัตร แต่ถ้ากดดูแล้วไม่มีอะไรขึ้นมาเลย หรือรูปพระและรายละเอียดไม่ตรงกับบัตรที่ท่านเห็นก็ให้รู้ได้เลยว่าเป็นบัตรปลอม และถ้าบัตรปลอมแล้วพระจะแท้ไหมครับ? ท่านสามารถตรวจสอบด้วยตัวท่านเองง่ายๆ แค่นี้ครับ หรือถ้าท่านยังไม่มั่นใจก็สามารถนำบัตรนั้นมาที่สมาคมเพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบให้ได้เลยครับ จากการที่มีผู้นำบัตรมาให้ช่วยตรวจสอบให้ ก็พบว่าเป็นบัตรปลอมหลายรายครับ

ครับปัจจุบันก็มีผู้ที่ขายพระปลอมแล้วทำบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมปลอมประกอบการขายเพื่อหลอกลวงขายพระปลอมมากขึ้น และมีผู้ทำอยู่หลายราย เนื่องจากเราพบว่าบัตรปลอมนั้นมีอยู่หลายฝีมือหลายสำนัก นอกจากนี้ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งคือ มีกลุ่มบุคคลที่ขายพระปลอมไม่พอใจสมาคมที่ไปขัดขวางการหลอกลวงขายพระปลอมของกลุ่มพวกเขา เนื่องจากมีคนที่เขาขายปลอมไปให้แล้วนำพระมาขอตรวจสอบออกใบรับรองที่สมาคม และความจริงก็ปรากฏว่าเป็นพระปลอม จึงเกิดการคืนพระและดำเนินคดีกันอยู่หลายราย จึงเกิดความไม่พอใจสมาคม และทำปลอมบัตรรับรองพระแท้ขึ้น เพื่อดิสเครดิต(discredit) สมาคม ซึ่งก็มีการพบเห็นการแสดงความคิดเห็นอยู่ใน โซเชี่ยลอยู่บ่อยว่า พระปลอมแต่มีบัตรรับรองพระแท้ของสมาคม ถ้าท่านพบเห็นพระพร้อมบัตรรับรองพระแท้ของสมาคมก็สามารถตรวจสอบดูได้ด้วยตัวท่านเองว่าบัตรรับรองพระแท้นั้นๆ เป็นบัตรปลอมหรือบัตรจริงครับ

ครับก็แจ้งเตือนกันนะครับว่าอย่าเพิ่งเชื่อว่าพระพร้อมบัตรรับรองพระแท้ (โดยเฉพาะของสมาคม) ที่ท่านเห็นนั้นเป็นบัตรจริง ควรตรวจสอบก่อนด้วยตัวท่านเองง่ายๆ ตามที่บอกมาครับ พร้อมกันนี้ผมได้นำตัวอย่างบัตรรับรองพระแท้ของปลอมที่มีผู้นำมาตรวจสอบที่สมาคมมาให้ดูด้วยครับ
ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์



เหรียญมนต์พระยาปากเข็ด หลวงปู่ทองคำ สุวโจ
หลวงปู่ทองคำ สุวโจ" เดิมจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักสงฆ์วังงูเหลือม ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ในปี 2561 ย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมสุวโจ บ้านหนองเกราะ ต.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ จวบจนปัจจุบัน

หลวงปู่พร้อมญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาร่วมใจกันก่อสร้างอาศรมแห่งนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับหลวงปู่อาศัยปฏิบัติธรรม

ด้วยความที่มีวัตรปฏิบัติที่สมถะเรียบง่าย อาศรมแห่งนี้จึงถูกสร้างเป็นเพียงโรงเรือนชั้นเดียว เปิดโล่ง 3 ด้าน ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เพียงใช้ประโยชน์กันแดดกันฝนเท่านั้น

ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 38

หลวงปู่ทองคำเกิดเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2472 ที่บ้านมะโม ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

อายุ 16 ปี บรรพชาที่วัดบ้านคำครั่ง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น นอกจากจะมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยยังสนใจวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเดินทางไปกราบสักการะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น สามเณรทองคำศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่ฝั้น ด้วยความขยันพากเพียร

ด้วยความจำเป็นบางประการจึงลาสิกขาออกไป และกลับมาอุปสมบทในปี 2523 อีกครั้ง ที่อุโบสถวัดราชพิสัย ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม

ภายหลังย้ายมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรม สุวโจ บ้านหนองเกราะ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ หากช่วงใดว่างจากการปฏิบัติศาสนกิจหลวงปู่ทองคำจะข้ามไปประเทศ สปป.ลาว เป็นประจำ เนื่องจากท่านให้ความอุปถัมภ์วัด โนนไซ เมืองเฟือง สปป.ลาว

เพื่อความสะดวกขณะที่ท่านข้ามไปโปรดญาติโยมพำนักอยู่ที่ สปป.ลาว คณะศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทองคำ นำโดย "บอย สำโรงทาบ" มีโครงการสร้างอาศรมถวายหลวงปู่ขึ้นที่ประเทศ สปป.ลาว รวมทั้งจัดหารถยนต์ เพื่อความสะดวกเดินทางช่วงที่ได้รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยม แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

จึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมนต์พระยาปากเข็ด"

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทองคำ ห่มจีวรเฉียง นั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่ทองคำ สุวโจ ที่บริเวณใต้ห่วง ด้านล่างสุดและบริเวณผิวเหรียญจะมีอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน

ด้านหลังยกขอบผิวเหรียญจะมีอักขระยันต์และภาพหนุมาน 8 กร พร้อมอาวุธคู่กาย

จำนวนการสร้างประกอบด้วย เนื้อทองคำ 99 เหรียญ เนื้อตะกั่ว 99 เหรียญ เนื้อเงิน 1,000 เหรียญ เนื้อทองแดง-3K 20,000 เหรียญ เนื้อกะไหล่ทองสร้าง 30,000 เหรียญ เนื้อผิวไฟสร้าง 50,000 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่ทองคำอธิษฐานจิตเดี่ยวรวม 5 ครั้ง
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



พระชัยวัฒน์ หม่อมมิตร
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระชัยวัฒน์ที่ผมจะพูดถึงในวันนี้บางท่านอาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อนี้นัก เนื่องจากเป็นพระชัยวัฒน์ที่นักสะสมพระเครื่องมักจะเรียกกันอย่างติดปากว่า "พระชัยวัฒน์หม่อมมิตร" จนใครๆ ก็อาจจะนึกว่า ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี ท่านเป็นผู้สร้างไว้ ในวันนี้จึงนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังครับ

เรื่องมีอยู่ว่า กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2406 ในเจ้าจอมมารดาบัว ทรงมีพระประสงค์จะสร้างพระขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ 65 องค์ เจ้าจอมมารดาบัว 63 องค์ ของผู้สร้างเอง 57 องค์ พระพุทธคุณ 108 องค์ พระอรหันต์ 80 องค์ รวมเป็น 373 องค์ ในครั้งนั้นได้กราบทูลอาราธนา สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ซึ่งขณะนั้นพระองค์ทรงครองสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี เป็นประธานเททองหล่อและพุทธาภิเษกที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม โดยเริ่มพิธีเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2461

ในพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นได้ทำในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพเป็นประธาน และอาราธนาพระเถระที่ร่วมใน

พิธี เช่น พระเขมาภิมุขธรรม พระญาณสังวร พระเทพสุธี พระราชโมลี พระวิสุทธิสมาจารย์ พระธรรมธราจารย์ (นวม) ภายหลังได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดอนงค์ พระราชสุธี พระสนิทสมณคุณ ต่อมาได้สมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ ครองวัดท้ายตลาด พระมหาเทียบ พระมหาทอง พระปิฎกโกศล (อยู่) ภายหลังได้สมณศักดิ์ที่สมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศฯ พระครูวิสุทธิ์สารภาณ พระมหาโต๊ะ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) นอกจากนี้ยังได้อารธนาพระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า มาร่วมพิธีปลุกเสกและจารอักขระที่ใต้ฐานพระทุกองค์ เป็นพระนามพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้า และพระนามซึ่งถวายเป็นพิเศษเฉพาะอีกด้วยโดยไม่ซ้ำกัน หลังจากที่หลวงปู่ศุขจารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงให้ช่างแกะทับลายเส้นอักขระทุกองค์ แต่ละองค์มีพระนามและคำแปลไม่ซ้ำกัน

พระชัยวัฒน์ที่สร้างในครั้งนี้ นับได้ว่าเข้มขลังมาก ในสมัยแรกๆ นั้นยังไม่ค่อยมีใครทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระชัยวัฒน์รุ่นนี้มากนัก ต่อมาภายหลังหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี ที่ผู้คุ้นเคยมักจะเรียกท่านว่า "หม่อมมิตร" ได้รับพระชัยวัฒน์ที่ได้ตกทอดมาส่วนหนึ่งออกมาแจกจ่ายให้แก่ญาติมิตร และบอกกับผู้ที่ได้รับแจกว่า เป็นพระวัดสุทัศน์เท่านั้น ผู้ที่ได้รับแจกพระไป ต่างก็เรียกว่า "พระชัยวัฒน์หม่อมมิตร" ตามชื่อผู้มอบให้ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกพระชัยวัฒน์รุ่นนี้ครับ

พระชัยวัฒน์หม่อมมิตรนี้ เชื่อกันว่ามีพระพุทธคุณในการป้องกันคุณไสยสิ่งชั่วร้ายและมนต์ดำทั้งปวงได้อย่างวิเศษ ผู้ครอบครองจะมีสิริมงคล ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองครับ และในวันนี้ผมก็นำรูปพระชัยวัฒนหม่อมมิตรมาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



มาตรฐานพระแท้ พระปลอม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปัญหาเรื่องพระแท้พระปลอมความจริงมีมานานแล้ว เพียงแต่เรื่องราวต่างๆ อาจจะไม่ค่อยมีการพูดถึงกว้างขวางนัก แต่ในปัจจุบันการสื่อสารทันสมัยและกว้างขวางขึ้นมาก จึงมีการพูดถึงกันมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากยิ่งขึ้นในสังคมโซเชียลฯ ก็มีอย่างมากมายว่าแบบไหนแท้แบบไหนเก๊ มีหลากหลายความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เนื่องจากการหลอกขายพระปลอมมีการพัฒนากันอย่างมีรูปแบบและเป็นขบวนการเป็นก๊กเป็นเหล่า แล้วเราจะเลือกเชื่อได้อย่างไรว่ากลุ่มไหนน่าเชื่อถือจะได้ไม่ถูกหลอก

ครับ เรื่องพระเครื่องพระบูชานั้น มีทั้งพระแท้และพระปลอม ซึ่งก็มีมานานมากแล้ว เป็นร้อยๆ ปี บางท่านอาจจะไม่เชื่อว่ามีการทำพระปลอมมาเป็นร้อยปีแล้ว เมื่อมีการทำพระปลอมก็มีการหลอกลวงขายพระปลอมแน่นอน ถ้าถามว่าเมื่อก่อนพระเครื่องไม่ได้มีความนิยมซื้อ-ขายกัน จะมีการทำปลอมรึ? ถ้าคิดแบบนั้นก็เข้าใจผิดครับ

ผมขอยกตัวอย่าง เรื่องพระสมเด็จวัดระฆังฯ ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มีการทำปลอมครั้งแรกตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2416 นับถึงเดี๋ยวนี้ก็ร้อยกว่าปีมาแล้ว เรื่องนี้มีการบันทึกไว้ด้วย เนื่องจากเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2415 หลังจากนั้นก็แค่ปีเดียว เกิดการระบาดของโรคอหิวาตกโรค ที่ในสมัยก่อนเรียกว่า "โรคป่วง" มีการบันทึกว่าเป็นปีระกาป่วงใหญ่ มีผู้คนล้มตายกันมาก ยูกยาสมัยใหม่ก็หายากเป็นยาของฝรั่ง ซึ่งมีราคาแพงมาก ชาวบ้านทั่วไปก็ต้องพึ่งพายาแผนโบราณ หายบ้างตายบ้าง

ชาวบ้านแถวบางกอกน้อยที่เคยได้รับพระสมเด็จฯ ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็หวังพึ่งบารมีเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยนำพระสมเด็จมาแช่น้ำเพื่อทำน้ำมนต์ดื่มกิน ปรากฏว่าหายท้องร่วงกันทั่วทุกคน

ข่าวเล่าลือเรื่องพระสมเด็จฯ ทำน้ำมนต์ดื่มกินหายป่วยได้แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว มีผู้คนเข้ามาเสาะหาพระสมเด็จวัดระฆังกันมาก ว่ากันว่ามีการขอเช่าถึงองค์ละ 1 บาท ในสมัยนั้นนับว่ามีราคาสูงพอสมควร แต่ก็มีผู้คนอยากได้ไว้บูชาและหวังพึ่งบารมีเจ้าประคุณสมเด็จฯ กันมาก จำนวนพระก็มีไม่พอกับความต้องการ บางบ้านที่มีเขาก็ ไม่ให้เช่า จึงเกิดเป็นราคาขึ้นและก็มีการให้ ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ จนมีคนหัวใสทำพระสมเด็จปลอมออกให้เช่าตั้งแต่สมัยนั้น

มีคนที่จำได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระไว้ในองค์พระเจดีย์วัดบางขุนพรหม และก็หาวิธีนำพระออกมา จึงเกิดการตกพระกันขึ้น โดยการนำเชือกยาวๆ มาทำเป็นปมที่ปลายด้านหนึ่ง เอาดินเหนียวหรือไม่ก็ยางไม้มาพอกไว้ที่ด้านปม และนำไม้ไผ่มาทะลวงปล่องให้ทะลุสอดเชือกเข้าไป แล้วนำไปสอดเข้าไปในรูระบายอากาศขององค์พระเจดีย์ ปล่อยเชือกให้ตกลงไปในห้องกรุ แล้วสาวเชือกขึ้นมาบางครั้งก็มีพระติดปลายเชือกขึ้นมา บางครั้งก็ไม่ได้ และจะมีคนมารับเช่าอยู่ทุกวัน มีการแอบเจาะองค์พระเจดีย์ก็มีอยู่หลายครั้ง ทางวัดเองก็ห้ามปรามไม่อยู่ จนต้องเปิดกรุเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2500 และนำพระออกให้เช่าเพื่อนำปัจจัยมาบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหม ในที่สุด ในปีนั้นพระสมเด็จบางขุนพรหมก็ราคาองค์ละ 1-3 พันบาทแล้ว ส่วนพระสมเด็จวัดระฆังก็องค์ละเป็นหมื่น ที่ผมเล่ามาย่อๆ นี้ก็เพื่อให้เห็นว่า พระเครื่องนั้นมีราคามานานแล้ว และเมื่อมีราคาก็มีคนที่ทำปลอมเพื่อหลอกขายให้ได้เงินกันมานานแล้วเช่นกัน

เอาล่ะมาถึงเรื่องพระแท้พระปลอมเอามาตรฐานอะไรมาชี้วัดความแท้ปลอม เอาเฉพาะเรื่องพระสมเด็จของวัดระฆังและวัดบางขุนพรหมก็มีกลุ่มที่ตั้งตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญมากมายหลายกลุ่มหลายชมรม มีทั้งที่อ้างหลักฐานต่างๆ ตามหลักของตน มีทั้งการทำเป็นหนังสือตำรับตำรา มีการอบรมกันทุกเดือน มีกลุ่มคนที่อ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ของกลุ่มเข้ามาให้ความรู้อบรมต่างๆ บางกลุ่มก็มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์อ้างว่าสามารถตรวจสอบอายุวัตถุได้ มีการออกใบรับรองต่างๆ ก็แล้วแต่กลุ่มซึ่งมีมากมายหลายแบบ และเขาก็เป็นกลุ่มก้อนของเขาเอง และก็มีที่กล่าวหาว่ากันไปมาว่าแบบนี้ถูกแบบนั้นผิดก็ว่ากันไป ทีนี้เรื่องพระแท้พระปลอมนั้นก็ยังไม่มีในส่วนของทางราชการเข้ามารับรองมาตรฐานว่าแบบไหนถูกหรือผิดอย่างไร ก็ถกเถียงกันไปไม่สิ้นสุด

ในส่วนกลุ่มใหญ่ที่เขาเล่นหาซื้อขายกันนั้น เขาก็จะมีมาตรฐานของเขาที่จะเหมือนๆ กันหมด ซึ่งก็มีมานานแล้วสืบต่อความรู้ในการพิสูจน์เก๊-แท้กันต่อๆ มา และที่แน่นอนอีกอย่างหนึ่งก็คือมีมูลค่ารองรับ สามารถซื้อ-ขายได้เงินสดทันที ถ้ามีพระสมเด็จวัดระฆังแท้ไม่ว่าพิมพ์ไหน เอาไปขายได้ทุกศูนย์พระใหญ่ๆ ทุกที่ มีคนขอซื้อแน่นอน ไม่ว่าคุณจะเป็นใครและไม่ต้องรู้จักใคร ถ้าพระแท้ถูกต้องตามมาตรฐานเขาขอซื้อคุณแน่ เพราะเซียนพระที่มีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องนั้น เขาก็มีราคาซื้อเข้าและราคาขายออก ซึ่งก็มีกำไรส่วนต่างของเขาเป็นอาชีพของเขา ก็เหมือนกับการซื้อ-ขายสินค้าทั่วๆ ไป ส่วนเรื่องราคาที่จะซื้อขายจบกันที่ราคาใดก็ตกลงกันเองครับ

ในส่วนตัวผมนั้นเล่นหาศึกษาสะสมมาก็ตั้งแต่สมัยสนามวัดมหาธาตุมาสนามท่าพระจันทร์ จนถึงศูนย์พระในห้าง ก็ลองผิดลองถูกมานาน สูญเสียเงินผิดๆ ไปก็มากจนหาวิธีที่คิดว่าถูกต้องที่สุดคือ เล่นหาแบบมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับพระเครื่องต่างๆ ที่เล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนำมาให้เซียนเช่าต่อ ก็ไม่ผิดหวังได้ส่วนต่างอยู่มากโข พอชดเชยในส่วนที่ศึกษาผิดทางได้ และยังพอที่จะใช้ในชีวิตยามแก่เฒ่าได้ ผมเองก็โชคดีที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องที่เล่นหาแบบมาตรฐานมีมูลค่ารองรับสั่งสอนชี้แนะให้ และผมก็ยึดแนวทางนี้ที่คิดว่าถูกต้องที่สุด

สำหรับท่านผู้อ่านก็เลือกวิถีทางการศึกษาเชื่อถือเอาว่าจะเล่นหาแบบใด เอาแบบที่มีมูลค่ารองรับหรือแบบไหน ถ้าแบบที่มีมูลค่ารองรับนั้นก็พิสูจน์ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นพระอะไรที่เขานิยมเล่นหากันอยู่ลองเอาไปขายตามศูนย์พระใหญ่ๆ ดู เขารับซื้อหรือไม่ก็รู้ได้ทันทีครับ แต่ถ้าแบบอื่นๆ นั้นก็ลองเอาไปขายให้กับกลุ่มที่ท่านเอาพระมาจากเขาก็จะรู้ได้ทันทีว่าถูกหรือผิดอย่างไรครับ เลือกเอาแบบที่เราสบายใจดีที่สุดครับ แต่ก็อย่าไปโทษใครเพราะเราเลือกเองครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ แบบมาตรฐาน มีมูลค่ารองรับองค์ละหลายๆ ล้าน มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กรกฎาคม 2562 14:48:58 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #110 เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2562 14:50:14 »

.


เหรียญหลวงปู่ถิน
หลวงปู่ถิน สารานุโม หรือ พระครูนิเทศธรรมโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดงเมืองน้อย ต.ดงเมือง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2459 ที่บ้านดงเมืองน้อย อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม

เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดทอง นพคุณ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม โดยมี พระครูจันทรศรีตรคุณ พระเกจิชื่อดังของภาคอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมา ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจาก หลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม วัดบ้านเหล่า อ.พยัคฆภูมิพิสัย

ทั้งนี้ วัตถุมงคลได้รับการจัดสร้างออกมาเพียงไม่กี่รุ่น แต่ที่ได้รับความนิยม คือ เหรียญหลวงปู่ถิน จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2520 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาฝังอุโบสถวัดดงเมืองน้อย

เหรียญรุ่นนี้ วัดดงเมืองน้อย มอบให้ผู้ที่ร่วมบริจาคทำบุญที่วัด เป็นเหรียญกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และทองแดงรมดำ จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ ที่สร้างจำนวนมากเพื่อให้พอแจกจ่ายญาติโยมที่มาร่วมงานบุญจากทุกสารทิศ

เป็นเหรียญกลมยกขอบมีหูห่วง

ด้านหน้า มีลายกนกที่สวยงาม ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ถินครึ่งองค์ บริเวณใต้รูปเหมือนเขียนว่า หลวงพ่อพระครูนิเทศธรรมโกศล

ด้านหลัง จากด้านขวาโค้งขึ้นไปทางด้านซ้ายเขียนว่า ที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิต วัดดงเมืองน้อย และจากด้านขวาโค้งลงไปทางด้านล่าง วนขึ้นไปทางด้านซ้าย เขียนว่า ต.ดงเมือง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม บริเวณกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระพระเจ้าห้าพระองค์ นะโม พุทธายะ ด้านบน ปิดด้วยอุณาโลมสามตัว เป็นยันต์ที่มีพุทธคุณเด่นทุกด้าน ทั้งแคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม ค้าขาย ฯลฯ

เป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่หลวงปู่ได้อธิษฐานจิตประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยว ภายในกุฏิตลอดพรรษา

จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่ อีกเหรียญหนึ่งของ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ได้รับความนิยมในพื้นที่มาโดยตลอด

สำหรับราคาเช่าบูชา เหรียญสวย จะอยู่หลักพันต้น สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยปลาย
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงปู่แพงตา เขมิโย
หลวงปู่แพงตา เขมิโย หรือ พระครูภาวนาภิรัต อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่วีรธรรม บ.ดอนดู่ ต.กุดตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีความรู้ด้านยาสมุนไพร

อายุรุ่นราวคราวเดียวกันแต่แก่พรรษากว่า ทั้งชักชวนให้หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังภาคอีสาน วัดพระธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก ออกบวช

ศึกษาการปฏิบัติธรรมจากพระวงษ์ พระอุปัชฌาย์ และขอคำแนะนำจากพระอาจารย์ศรีทัตถ์ ที่วัดพระธาตุท่าอุเทน ก่อนเดินทางไปสู่ภูเขาควายในฝั่งลาว ปฏิบัติธรรมร่วม 3 เดือน ก่อนกลับไปนั่งสมาธิผจญกลลวง ผีสางนางไม้ในถ้ำจำปาของภูเขาควายอีกนาน 3 เดือน

กลับมาจำพรรษาปฏิสังขรณ์สร้างวัดหลายแห่งได้ 7 ปี ก่อนอาพาธด้วยโรคเบาหวาน กระทั่งวาระสุดท้ายเกิดปวดท้องรุนแรง แต่กว่าจะรู้ว่าไส้ติ่งอักเสบอาการก็อ่อนระโหยโรยแรง จนในเวลา 13.00 น. วันที่ 12 ส.ค.2535 ได้มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 78 ปี พรรษา 57

ทิ้งวัตถุมงคลไว้ 3 รุ่น หนึ่งในนั้นเป็นเหรียญหลวงปู่แพงตา รุ่นแรก พ.ศ.2516

พระมหาวินิตย์ ทันตจิตโต หลานชายซึ่งจำพรรษาที่วัดไทยแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อนำเงินรายได้สมทบสร้างศาลาการเปรียญวัดประดู่วีรธรรม

เป็นเหรียญอาร์มมีหูห่วง มีเนื้อกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และทองแดงรมดำ สร้างชนิดละ 10,000 เหรียญ

ด้านหน้ามีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ สันขอบเส้นนูนสองชั้น ด้านล่างสลักชื่อ "หลวงพ่อแพงตา เขมิโย"

ด้านหลังตีเส้นขอบล้อมเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์ป้องกันภยันตราย ด้านล่างระบุ "วัดประดู่วีระธรรม ๑ ธ.ค. ๒๕๑๖"

เฉพาะเหรียญทองแดงรมดำรุ่นนี้ปั๊มพิมพ์ 2 ครั้ง เนื่องจากไม่เพียงพอให้เช่าบูชาและแจกจ่ายลูกศิษย์ที่ มาทำบุญ สังเกตให้ดีพิมพ์บล็อก 2 ใบหน้าหลวงปู่จะแก่กว่า

หลวงปู่แพงตาประกอบพิธีปลุกเสกในอุโบสถ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านคงกระพัน เฉพาะเหรียญทองแดงรมดำบล็อกแรกสภาพสวยๆ ราคาพุ่งสูงมาก

ปัจจุบันนักสะสมนิยมเก็บและพบเห็นค่อนข้างน้อย
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า "วัดบ้านแหลม" เป็นวัดสำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน ของหลวงพ่อวัดบ้านแหลม พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง และเคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ไม่ว่าใครที่ได้ไปเที่ยวจังหวัดสมุทรสงครามก็จะแวะไปกราบสักการะหลวงพ่อวัดบ้านแหลมเพื่อเป็นสิริมงคล

วัดบ้านแหลม เดิมชื่อ "วัดศรีจำปา" เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ.2307 ได้มีชาวบ้านบ้านแหลมเพชรบุรีได้อพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณนี้ และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านแหลม" ตามชื่อของตนในเมืองเพชร และช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา ต่อมาก็เรียกวัดนี้ว่า "วัดบ้านแหลม"

ชาวบ้านแหลมเองมีอาชีพประมงออกทะเลหาปลา อยู่มาวันหนึ่งไปล้อมอวนจับปลาที่ปากอ่าวแม่กลองเกิดติดได้พระพุทธรูปมา 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร แต่บาตรหายไปในทะเล อีกองค์เป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ชาวบ้านแหลมได้แบ่งให้ญาติชาวบางตะบูนไป หลังจากนั้นชาวบางตะบูนได้นำไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเพชรบุรี ส่วนพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรนั้น ในครั้งแรกจะนำไปประดิษฐานที่วัดใหญ่ ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปริมแม่น้ำแม่กลอง เนื่องจากวัดศรีจำปานั้นร่วงโรย แต่เมื่อนำพระพุทธรูปไปวัดใหญ่ก็ไม่สามารถนำไปได้ เพราะเกิดพายุใหญ่รุนแรงมาก ต้องนำกลับมาไว้ที่วัดศรีจำปา จึงได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาให้สวยงามดีขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดบ้านแหลม" และเรียกพระพุทธรูปองค์นั้นว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"

ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดบ้านแหลม ก็ช่วยให้วัดบ้านแหลมเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2416 ได้เกิดโรคระบาดใหญ่ ที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า "โรคห่า" (โรคอหิวาตกโรค) มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก แม้ในกรุงเทพฯ และที่แม่กลองเองก็เช่นกัน ในครั้งนั้นท่านเจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณได้ฝันไปว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลมมาเข้าฝันบอกคาถากันโรคห่าให้หนึ่งบท ให้ไปดูที่พระหัตถ์ของหลวงพ่อในโบสถ์ พอเช้าขึ้นมาท่านเจ้าคุณจึงได้ไปดูที่พระหัตถ์หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ปรากฏว่าที่พระหัตถ์ขวามี อักขระว่า "นะ มะ ระ อะ" พระหัตถ์ซ้ายว่า "นะ เท วะ อะ" ท่านเจ้าคุณสนิทฯ จึงได้ทำน้ำมนต์โดยใช้พระคาถานั้น และได้แจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านนำไปอาบกิน ปรากฏว่าอาการป่วยไข้หายได้อย่างอัศจรรย์ และโรคอหิวาตกโรคก็สงบลง ความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องนี้ก็เลื่องลือไปทั่ว

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม นับว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป ไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ต่างก็มากราบไหว้สักการะกันไม่ขาดสายจนทุกวันนี้ มาขอให้ท่านช่วยในเรื่องต่างๆ มากมาย เมื่อสำเร็จแล้วก็มาแก้บนกันมาก ซึ่งจะเห็นได้ทุกวันครับ

วัตถุมงคลรูปหลวงวัดพ่อบ้านแหลมนั้นมีการสร้างกันมาอยู่โดยตลอด รุ่นแรกนั้นสร้างเป็นเหรียญหล่อโบราณในปี พ.ศ.2459 ต่อมาในปี พ.ศ.2460 ได้มีการสร้างเป็นแบบเหรียญปั๊มอีก 2 บล็อก คือ บล็อกหน้าเหลี่ยม และบล็อกหน้ากลม ทั้งเหรียญหล่อและเหรียญปั๊มรุ่นแรกนี้ถือเป็นรุ่นนิยม มูลค่าหลักแสนในปัจจุบันครับ ด้านหลังเหรียญปั๊ม มีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "รูปปฏิมากอนคุณพ่อวัดบ้านแหลม" และต่อมาก็มีสร้างในรุ่นต่อๆ มาอีกหลายรุ่นจนทุกวันนี้

ในวันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อวัดบ้านแหลมปี พ.ศ.2459 และรูปเหรียญปั๊มปี พ.ศ.2460 พิมพ์หน้าเหลี่ยม (นิยม) มาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระนาคปรกกรุพะงั่ว
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนาคปรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นพระกรุก็ต้องยกให้พระนาคปรก กรุพะงั่ว ที่เป็นพระเนื้อชินเงินที่มีความเข้มข้นด้วยศิลปะขอม ในสมัยก่อนนั้นเป็นพระนาคปรกเนื้อชินเงินที่มีความนิยมสูง มีความหายาก พระนาคปรกพะงั่วนี้มีพบที่สมบูรณ์จำนวนน้อย ส่วนมากที่พบจะชำรุดผุกร่อนเสียเป็นส่วนใหญ่

พระนาคปรกกรุพะงั่ว หรือบางท่านเรียกว่า พระปรกพะงั่ว ความจริงไม่ได้ขุดพบที่กรุหรือเจดีย์วัดพะงั่วแต่อย่างไร แต่พบที่กรุวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เรียกกันว่ากรุพะงั่วเนื่องจากวัดแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 1 หรือขุนหลวงพะงั่ว ราวปี พ.ศ.1917 ก็เลยเรียกกันว่าเป็น "กรุพะงั่ว" วัดมหาธาตุพระนครศรีอยุธยา ความจริงเป็นวัดเก่าแก่มาก่อนหน้านั้น สันนิษฐานว่าคงเป็นวัดมาตั้งแต่สมัยลพบุรี และต่อมาได้รับการบูรณะในสมัยขุนหลวงพะงั่วอีกครั้ง พระของกรุนี้ที่พบจึงมีพระที่พบอยู่ 2 ศิลปะ และเนื้อหาที่มีความเก่าแก่อยู่ถึง 2 ยุค เช่นพระที่พบเป็นศิลปะอยุธยาจะมีคราบปรอทจับขาวทุกองค์ เช่น พระซุ้มคอระฆัง พระซุ้มเรือนแก้วต่างๆ ส่วนพระนาคปรก และพระอู่ทองคางเครานั้นไม่พบคราบปรอทเลย และเนื้อหาก็เป็นเนื้อชินเงินคนละแบบกัน ศิลปะก็เป็นคนละอย่างกัน พระปรกพะงั่วและพระอู่ทองคางเคราเป็นศิลปะแบบลพบุรี ถ้าจะสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งก็คือ พระปรกพะงั่วและพระอู่ทองคางเคราเป็นพระที่นำมาจากกรุในลพบุรี และนำมาบรรจุไว้ก็อาจจะเป็นได้

พระปรกพะงั่ว องค์พระเป็นพระปางนาคปรกที่เป็นศิลปะแบบลพบุรีชัดเจน เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงินที่มีผิวออกดำจัดและมีสนิมเกล็ดกระดี่เกาะกินผิวพระ ในสมัยก่อนมักจะเรียกสนิมชนิดนี้ว่าสนิมตีนกา องค์พระส่วนใหญ่จะมีสนิมกินปริร้าวอยู่ทั่วองค์ พระที่พบจึงชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ พระที่พบมีพบอยู่ 3 พิมพ์คือ พระพิมพ์ใหญ่ ซึ่งมีขนาดเขื่อง สูงประมาณ 7 ซ.ม. กว้างประมาณ 4 ซ.ม. พระพิมพ์กลางก็ย่อมลงมาหน่อย สูงประมาณ 6 ซ.ม. กว้างประมาณ 3 ซ.ม. และพระพิมพ์เล็ก สูงประมาณ 5 ซ.ม. กว้างประมาณ 2.7 ซ.ม. ซึ่งก็ยังเป็นพระที่มีขนาดเขื่อง

การแตกกรุของพระกรุนี้ก็เนื่องจากพวกลักลอบขุดกรุได้พระไปจำนวนหนึ่ง ทางกรมศิลปากรจึงบูรณะและเปิดกรุเป็นทางการ พร้อมๆ กับกรุวัดราชบูรณะเพื่อนำพระออกมาจากกรุและมีการเปิดให้ประชาชนเช่าบูชาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร (สนามหลวง) เพื่อนำเงินมาบูรณะโบราณสถานต่อไป พระปรกพะงั่วนั้นมีความนิยมมาแต่อดีต พุทธคุณว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด มีประสบการณ์มามากอยู่ และเป็นพระประจำวันคนที่เกิดวันเสาร์

ปัจจุบันพระปรกพะงั่วแท้ๆ หาชมยาก เนื่องจากพระที่สมบูรณ์มีจำนวนน้อยตั้งแต่ออกจากกรุ ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดีๆ ของปลอมทำร่องรอยการแตกปริได้ไม่เหมือนนักครับ โดยเฉพาะผิวเกล็ดกระดี่ก็ยังทำไม่ค่อยเหมือน อีกอย่างหนึ่งก็คือ พระชำรุดอุดซ่อม เนื่องจากพระสมบูรณ์มีน้อยจึงมีผู้ที่นำพระชำรุดมาซ่อมแล้วขายออกโดยไม่ได้บอกผู้ที่เช่า เรื่องนี้ก็ต้องตรวจสอบดูให้ดี แต่ก็ยังดีที่เป็นพระแท้ แต่ซื้อผิดราคาไปหน่อย โดยซื้อในราคาพระสมบูรณ์ แต่ได้พระซ่อมไปครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปรกพะงั่วทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่า มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์



คนเขียนเรื่องพระเครื่องดูพระเป็นไหม?
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เขียนเรื่องพระเครื่องมานานบางทีก็ไม่รู้จะคุยเรื่องอะไร บางทีก็เขียนซ้ำไปซ้ำมา วันนี้ก็มาคุยกันเรื่อยเปื่อยเรื่องทั่วๆ ไปก็แล้วกันนะครับ พอดีวันก่อนผมได้เข้าไปพูดคุยในวงสนทนาที่ศูนย์พระเครื่องใหญ่แห่งหนึ่งตามประสาคนชอบพระเครื่อง ได้มีการพูดถึงคนที่เขียนเรื่องพระเครื่องว่าส่วนใหญ่ดูพระไม่เป็น อืมก็ถูกนะเพราะคนเขียนเรื่องพระเครื่องส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่เซียนพระ และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง

คนที่ได้รับขนานนามว่าเซียนนั้นก็จะเป็นผู้ที่มีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง เพราะเขาประกอบอาชีพนี้จึงต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านพระเครื่องในสายของเขา และเขาก็ ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ต้องตัดสินใจในการซื้อพระเครื่องที่มีคนนำมาขายให้ด้วยตัวเองว่าใช่หรือไม่ อีกทั้งประเมินราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผิด-ถูกก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง เขาจึงต้องเป็นผู้ชำนาญการในด้านพระเครื่อง ในส่วนของผู้ที่เขียนเรื่องพระเครื่องส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่นิยมชมชอบพระเครื่อง แต่ก็ไม่ได้ประกอบอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่องโดยตรง บ้างก็ทำเป็นงานอดิเรกหรืออาชีพเสริมเท่านั้น อ้าวแล้วที่เขาเขียนนั้นจะเชื่อถือได้หรือ? ครับผู้ที่เขียนเรื่องพระเครื่องนั้นส่วนใหญ่ก็อย่างที่บอกว่าเป็นผู้ที่นิยมชมชอบพระเครื่องเท่านั้น หรือเป็นนักสะสม ส่วนใหญ่ก็จะเขียนเรื่องประวัติของพระสงฆ์บ้าง เรื่องพระกรุบ้าง โดยค้นคว้าหาประวัติข้อมูลมาเขียน จึงไม่ใช่ ผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาพระเครื่อง แต่ก็อาจจะพอพิจารณาได้บ้างเท่านั้น แต่ในสมัยก่อนก็มีผู้เขียนเรื่องพระเครื่องที่เชี่ยวชาญอยู่หลายท่านที่สามารถพิจารณาแท้ไม่แท้ได้ และก็ไม่ได้เป็นเซียนหรือมีอาชีพซื้อ-ขายพระ เช่น อ.ตรียัมปวาย อ.สมศักดิ์ จวงสวัสดิ์ เป็นต้น แต่ท่านก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาพระเครื่องเป็นที่ยอมรับในสังคมพระเครื่อง และก็มีผู้ใช้สิ่งที่ท่านเขียนมาเป็นตำราศึกษา ส่วนเซียนที่มีอาชีพซื้อขาย-พระก็มีที่เขียนเรื่องพระเครื่อง เช่น อ.เภา ศะกุนตะสุต ปรมาจารย์เหรียญพระเกจิอาจารย์ที่ทุกคนยกย่องและยอมรับ และก็มีนิรนามที่เขียนเรื่องพระเบญจภาคีโดยเฉพาะพระสมเด็จฯ ที่เขียนลงในอาณาจักรพระเครื่อง แต่ท่านไม่ยอมให้ลงชื่อของท่าน พี่เปี๊ยก ปรีชา เอี่ยมธรรม บ.ก.จึงตั้งนามปากกาว่า "นิรนาม" และหลายๆ คนก็นำสิ่งที่ท่านเขียนมาเป็นตำราในการศึกษาโดยที่ไม่รู้ว่าท่านเป็นใคร อ.ประจำ อู่อรุณ ก็เคยทำหนังสือพระเครื่อง

ครับผู้ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องพระเครื่องความจริงก็มีที่ดูพระเป็นอยู่บ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้นิยมศึกษาและสะสมพระเครื่องเท่านั้น ไม่ใช่เซียนพระที่มีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง หรือเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญแต่อย่างใด ตัวผมเองก็พูดได้อย่างภาคภูมิใจว่า "ผมดูพระไม่เป็นครับ" หลายๆ ท่านร้องอ้าว แล้วที่เขียนหรือตอบปัญหาพระเครื่องล่ะ ครับที่ตอบปัญหาพระเครื่องนั้นผมก็นำรูปพระที่ท่านส่งมาถามไปให้เซียนเขาดูให้ อาศัยที่รู้จักเซียนหลายคน และก็พอรู้ว่าใครชำนาญพระเครื่องด้านใด และพอจะสนิทสนมที่จะสอบถามได้ ก็นำรูปไปถามเขาให้เท่านั้นครับ ในส่วนของเรื่องราวของพระเครื่องพระเกจิอาจารย์ก็ค้นคว้าสอบถามจากหลายๆ แหล่งรวบรวมแล้วนำมาเขียน ซึ่งก็ผ่านการกลั่นกรองว่าถูกต้องดีแล้วจึงนำมาเขียนครับ

บางทีก็มีหลายท่านนึกว่าผมเป็น ผู้ชำนาญในการพิจารณาพระเครื่อง ซึ่งความจริงดูพระไม่เป็นครับ แค่พอมีหลักในการดูและก็พอซื้อพระเองได้เท่านั้น เคยมีคนที่คุ้นเคยกันและเป็นนักนิยมพระเครื่องถามผมว่าดูพระอะไรเป็น ผมก็ตอบตามตรงว่าดูพระไม่เป็นครับ แค่พอซื้อเป็นเท่านั้นครับ จริงๆ นะครับ ถ้าเราพอมีหลักในการพิจารณาและใช้เหตุผลในการพิจารณา เข้าหาความรู้ต่างๆ จากเซียน ก็จะได้ ความรู้ และรู้ว่าทำไมเขาจึงตัดสินใจซื้อพระองค์นั้นๆ เขาใช้หลักอะไรในการพิจารณา ศึกษาจากเซียนคนนั้นทีคนนี้ทีก็พอจะมีความรู้เอาตัวรอดได้ครับ แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้ชำนาญการ หรือเป็นเซียนนะครับ และถ้าเราซื้อหาสะสมพระเครื่องมาถูกหลักการสากลนิยมแล้วเราก็จะได้พระแท้ๆ ที่เขานิยมกันและมีมูลค่ารองรับ ไม่แน่นะครับคนเราวันหนึ่งก็อาจจะมีเรื่องจำเป็นที่จะต้องใช้เงินด่วนขึ้นมา ก็เอาพระที่สะสมไว้ไปขายให้พวกเซียน เขาก็ซื้อนะครับ ยิ่งพระที่เราซื้อมานานหลายๆ ปี ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาด้วย บางท่านถามว่าจะคุ้มกับค่าเงินเฟ้อรวมดอกเบี้ยธนาคารไหม ก็ต้องบอกว่าคุ้ม ถ้าเงินที่ซื้อมาเป็นเงินเย็นและคิดว่าเป็นเงินออม แต่ก็ต้องซื้ออย่างถูกต้องและมีสตินะครับ

ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง เมื่อประมาณปี พ.ศ.สองพันห้าร้อยสิบกว่าๆ มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเช่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ องค์สวยองค์ดังของสังคมพระเครื่อง ในราคาสี่แสนกว่าบาท เป็นข่าวดังในสังคมพระเครื่องเวลานั้น ซึ่งพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่วัดระฆังฯ สวยๆ ทั่วไปในช่วงนั้นราคาประมาณแสนกว่าบาท หรือสองแสนกว่าบาท ในปัจจุบันมีคนประเมินพระองค์นี้ไว้ที่ไม่ต่ำกว่าหกสิบล้านบาท และมีคนรอเช่าอยู่หลายคน แต่เจ้าของยังหวงอยู่ ถามว่ามูลค่าเพิ่มคุ้มกับเงินเฟ้อบวกดอกเบี้ยธนาคารหรือไม่ ลองคำนวณดูนะครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม องค์สวยที่สุดของสังคมพระเครื่องฯ มาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กรกฎาคม 2562 14:55:03 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #111 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2562 16:14:50 »


เหรียญหลวงปู่แสง รุ่นแรก
พระครูอุดมรังสี หรือหลวงปู่แสง จันทวังโส อดีต เจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็น สหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม อีกด้วย

ชาติภูมิมีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 89

เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2561 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา นำโดย เต้ พัทยา และ โค้ก สกลนคร ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญหลวงปู่แสงรุ่นแรก เพื่อสร้างกุฏิให้ใหม่ เนื่องจากหลังเดิมชำรุดผุพัง

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทอง 29 เหรียญ, เนื้อเงิน 107 เหรียญ, เนื้อทองแดง 2,561 เหรียญ, เนื้อลองพิมพ์ 3 เหรียญ และเนื้อทองแดงหน้าทอง รวม 2,718 เหรียญ

นอกจากนี้ ยังมีพระผงรุ่นแรก ตะกรุดเงิน 107 เหรียญ, ตะกรุดทองคำ 107 เหรียญ ผงหว่านพุทธคุณ 2561 เหรียญ รวม 2,777 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญมีขอบเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ คล้องลูกประคำ เหนืออังสะสลักตัวเลขไทย ๑๕๔๘ ซึ่งเป็นนัมเบอร์ของเหรียญ ใต้รอบขอบเหรียญสลักคำว่า หลวงปู่แสง จันฺทวํโส

ด้านหลังเหรียญมีขอบเส้นสันนูน ใต้หูห่วงสลักคำว่า รุ่นแรก มุมขวาใกล้ตัว ก มีอักขระยันต์ตอกโค้ดตัวนะกำกับไว้ ถัดลงมามีอักขระ 5 บรรทัด ซึ่งเป็นยันต์คาถารวมคาถา บรรทัดถัดมาสลักคำว่า อายุ ๑๐๗ ปี จาก วงรอบขอบเหรียญบรรทัดล่างสุด มีดอกจันคั่นหน้าสลัก คำว่า วัดโพธิ์ชัย ต.ก้านเหลือง จ.นครพนม ๒๕๖๑ ปิดท้ายด้วยดอกจัน

เหรียญรุ่นดังกล่าวปลุกเสก 9 วาระ โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงปู่ฮก รตินธโร วัดราษฎร์เรืองสุข จ.ชลบุรี, หลวงปู่สอ ขันติโก วัดโพธิ์ศรี จ.นครพนม, หลวงปู่แสง จันฺทวํโส วัดโพธิ์ชัย จ.นครพนม, หลวงปู่แก้ว สุจิณโณ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า จ.สกลนคร, หลวงปู่คำพันธ์ จารุวัณโณ วัดหนองบัวสร้าง จ.สกลนคร, หลวงปู่แหวน ทยาลุโก จ.สกลนคร, หลวงปู่หอม รตินธโร จ.สกลนคร, หลวงพ่ออุ่นใจ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และหลวงพ่อสาคร มนุญโญ จ.ระยอง

ออกแบบได้ลงตัว พุทธศิลป์งดงาม และพุทธคุณครบครัน โดยเฉพาะเหรียญเนื้อทองแดงสภาพสวยๆ ราคาพุ่งสูงมาก
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



พระอู่ทองเพชรบูรณ์
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดศรีสะอาด เพชรบูรณ์ เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อไร มีการแตกกรุของพระเครื่องชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า "พระอู่ทอง เพชรบูรณ์" เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก คาดว่าจำนวนพระที่ขึ้นมาจากกรุนั้นคงมีจำนวนไม่มากนัก

เมืองเพชรบูรณ์เป็นแหล่งชุมชนมาแต่เดิม มีการขุดพบเมืองศรีเทพ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่มีโบราณสถานเก่าแก่ อายุถึงสมัยทวารวดีตอนปลายจนถึงสมัยลพบุรี ต่อมาในสมัยสุโขทัยก็เป็นเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง จนถึงกรุงศรีอยุธยาสมัยพระบรมไตรโลกนาถมีเหตุการณ์รบพุ่งกับล้านนาและล้านช้างอยู่เสมอ จึงโปรดให้ทำนุบำรุงเมืองเพชรบูรณ์เป็นการใหญ่ทั้งการบ้านการเมืองและศาสนา เพื่อตั้งเมืองเพชรบูรณ์เป็นเมืองหน้าด่าน ดังจะเห็นได้ว่ามีการขุดพบพระเครื่องที่เป็นศิลปะอยุธยาอยู่หลายกรุ เช่น ที่วัดมหาธาตุ และที่วัดศรีสะอาดก็ได้พบพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วคือพระอู่ทองเพชรบูรณ์ เป็นพระปางมารวิชัย ประทับบนฐานเขียง ขนาดกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. สูงประมาณ 4 ซ.ม. พระเกศปลีคล้ายดอกบัวตูม พระศกแบบหนามขนุน พระกรรณยาวจรด พระอังสา พระพักตร์กลมป้อม พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ติดชัด เนื้อของพระเป็นเนื้อชินตะกั่ว สนิมแดง มีคราบไขขาวและสนิมแดง

ศิลปะองค์พระนั้นเป็นแบบศิลปะสมัยอยุธยา เช่นเดียวกับพระเครื่องส่วนใหญ่ที่ขุดพบในจังหวัดเพชรบูรณ์ พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางคุ้มครองป้องกันภัย ร่มเย็นเป็นสุข โชคลาภ ปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก อาจจะเป็นเพราะพระที่พบในกรุมีจำนวนน้อย จึงไม่ค่อยมีใครพูดถึง ทำให้มีผู้รู้จักไม่มากเท่ากับพระเปิดโลก ซุ้มเรือนแก้วหรือพระร่มโพธิ์เพชรบูรณ์ แต่พระอู่ทองเพชรบูรณ์ก็เป็นพระกรุที่สำคัญของจังหวัดนี้เช่นกัน ในสมัยก่อนเป็นพระที่คนเพชรบูรณ์หวงแหนกันมากเช่นกันครับ และจะน่าเสียดายมากถ้าจะลืมเลือนกันไปโดยไม่พูดถึงกันเลย

วันนี้ผมจึงนำพระอู่ทอง กรุวัดศรีสะอาด มาพูดถึง เพื่อที่จะได้อนุรักษ์กันไว้ไม่ให้เลือนหายไปกับกาลเวลา และได้นำรูปพระอู่ทองเพชรบูรณ์ มาให้ชมกันครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระลีลากำแพงศอก
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระลีลากำแพงศอกเป็นพระพิมพ์ปางลีลาขนาดใหญ่ เนื้อชินเงิน ซึ่งมีขนาดใหญ่สูงเกือบเท่าศอกของเรา จึงมักเรียกกันติดปากว่า พระลีลากำแพงศอก มีการขุดพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นแห่งแรก ต่อมาก็มีการขุดพบที่กรุวัดชุมสงฆ์สุพรรณบุรีอีก ด้วย พุทธคุณนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ส่วนใหญ่ก็มักจะทำแท่นบูชาไว้ที่บ้าน ว่ากันว่าบ้านของผู้ที่มีพระลีลากำแพงศอกบูชาไว้ที่บ้านจะปลอดภัยจากอัคคีภัยได้

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ของจังหวัดสุพรรณบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทอง (รามาธิบดีที่ 1) ราว พ.ศ.1857-1912 ชาวบ้านมักเรียกว่า "วัดพระธาตุ" ตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และมีพระปรางค์องค์ใหญ่ตั้งอยู่ ที่พระปรางค์แห่งนี้มีการถูกลักลอบขุดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 ต่อมาทางการจึงเปิดกรุขึ้นเพื่อนำพระบูชาและพระเครื่องสิ่งของมีค่าออกจากกรุ เพื่อมิให้พวกลักลอบขุดเข้ามาขุดทำลายโบราณสถานแห่งนี้อีก และบูรณะให้อยู่ในสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

กรุพระที่พบในองค์พระปรางค์แห่งนี้เป็นกรุใหญ่ที่สำคัญ มีการพบพระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากมหาศาล พระเครื่องที่สำคัญคือพระผงสุพรรณ และอื่นอีกมากมาย มีการพบลานเงินลานทองที่จารึกมูลเหตุในการสร้างพระ และอุปเท่ห์การใช้บูชาต่างๆ พระเครื่องที่พบมีทั้งที่เป็นพระเนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน ส่วนพระเครื่องที่พบจะเป็นศิลปะแบบอู่ทองเป็นส่วนใหญ่ มีพระที่พบเป็นพระศิลปะสุโขทัยปะปนอยู่ด้วย เช่น พระลีลากำแพงศอก พระลีลากำแพงคืบ เป็นต้น เข้าใจว่าเป็นพระที่อยู่ในยุคสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งอาจจะทำพระเครื่องมาร่วมทำกุศลในการสร้างองค์พระปรางค์ หรือส่งช่างมาช่วยร่วมสร้างพระเครื่องด้วย พระลีลากำแพงศอกจึงมีพุทธลักษณะเป็นศิลปะแบบสุโขทัยที่งดงาม พระปางลีลาที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี มีพบอยู่หลายขนาด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีขนาดสูงราวๆ ศอกหนึ่ง จึงเรียกกันว่าพระกำแพงศอกหรือลีลากำแพงศอก ส่วนที่มีขนาดย่อมกว่าหน่อยสูงราวๆ คืบก็เรียกว่า ลีลากำแพงคืบ และขนาดเล็กก็เรียกกันว่า ลีลากำแพงนิ้วไล่เรียงกันลงมา พระลีลาที่มีศิลปะแบบสุโขทัยนั้นจะพบเป็นพระลีลากำแพงศอก และพระลีลากำแพงคืบ ส่วนพระลีลากำแพงนิ้วจะเป็นศิลปะแบบอู่ทองหรือแบบของสุพรรณโดยเฉพาะ พระลีลากำแพงศอกและพระลีลากำแพงคืบยังมีการพบที่กรุวัดราชบูรณะอยุธยาอีกอยู่บ้าง แต่ที่พบพระลีลากำแพงศอกจำนวนมากนั้นจะพบอยู่ที่กรุวัดศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี และของกรุวัดชุมนุมสงฆ์สุพรรณบุรี

พระลีลากำแพงศอกเป็นพระที่หายากมากมาแต่ในสมัยก่อนแล้ว ยิ่งในปัจจุบันยิ่งหาพระแท้ๆ ยากมากๆ มีราคาสูงมากและหาพระที่สมบูรณ์นั้นยิ่งหายากมาก ในสมัยก่อนคนที่มีพระลีลากำแพงศอกทำแท่นบูชาไว้ที่บ้าน ปรากฏว่ามีเหตุเพลิงไหม้ในละแวกนั้น และบ้านที่มีพระบูชากำแพงศอกบูชาไว้ไม่ไหม้เลย ทั้งๆ ที่บ้านที่อยู่โดยรอบไฟไหม้หมดเว้นไว้เฉพาะบ้านที่มีพระลีลากำแพงศอกบูชาไว้เท่านั้น เป็นที่เล่าขานกันต่อมา และก็มีเหตุเพลิงไหม้อีกหลายที่ บ้านที่มีพระลีลากำแพงศอกไฟก็ไม่ไหม้เช่นกัน จึงเป็นที่กล่าวขานถึงกันมากว่าเป็นพระกันไฟ และเสาะหากันอย่างกว้างขวาง แต่ก็หายากเพราะบ้านใครมีก็ไม่ยอมขาย สนนราคาจึงสูงมากจนปัจจุบันก็ยิ่งหายากมาก

วันนี้ผมได้นำรูปพระลีลากำแพงศอกทั้งด้านหน้าและด้านหลังจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระราหูหลวงพ่อคัมภีร์
"หลวงพ่อคัมภีร์ จิตตสาโร" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "พระอาจารย์แห้ง" เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลย์ ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธา ทั้งในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียง

เป็นศิษย์เอกสายตรงหลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต

ปัจจุบัน สิริอายุ 54 ปี พรรษา 30

มีนามเดิมว่า เลิศ เพ็ชรหมัด เชื้อสายไทยทรงดำ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ก.ย.2508 ปีมะเส็ง ที่บ้านแหลมทอง ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์

อายุ 12 ปี บรรพชาที่วัดศรีสวรรค์สังฆาราม(วัดถือน้ำ) ขณะเป็นสามเณรได้ติดตามรับใช้หลวงพ่อสมควร เรียนอักขระขอม-บาลี และวิทยาคม พร้อมติดตามไปสร้างวัดเขาพระยาพายเรือ อ.ลานสัก และวัดเขาหินเทิน อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี

อายุครบ 24 ปี อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 ก.ค.2532 ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำโพใต้ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มี พระครูนิยุตวีรวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์

วันที่ 25 ธ.ค.2560 พระราชอุทัยโสภณ เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งพระใบฎีกาคัมภีร์ จิตตสาโร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลย์ จ.อุทัยธานี

ย้อนไปในปี พ.ศ.2554 หลวงพ่อคัมภีร์ (แห้ง) วัดป่าเลไลย์ ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "พระราหูกะลาตาเดียว" จำนวน 84 องค์

ลักษณะใช้กะลามะพร้าวตาเดียวมาแกะเป็นรูปพระราหูอมจันทร์อันหนึ่ง และแกะเป็นพระราหูอมพระอาทิตย์อันหนึ่ง ลงอักขระสุริยประภาที่พระอาทิตย์ และลงอักขระจันทรประภาที่พระจันทร์

พระราหูกะลาตาเดียวหลวงพ่อคัมภีร์ แกะกะลา และจารด้วยมือท่านเอง พร้อมเสกเดี่ยววันเสาร์ห้า จารนอก-ใน แล้วเอามาประกบกัน

นับเป็นวัตถุมงคลชิ้นเอกของท่านที่หายาก จัดสร้างน้อย  
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงปู่สิงห์ รุ่นแรก
หลวงปู่สิงห์ พรหมโชโต หรือ พระครูสุทธิพรหมโชติ อดีตรองเจ้าคณะตำบลศรีสงคราม เจ้าอาวาสวัดวิชัย บ้านหนองบาท้าว หมู่ 2 ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เป็นที่เลื่อมใสเคารพศรัทธาของชาวลุ่มแม่น้ำสงคราม ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 95 ปี พรรษา 69

เป็นศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน จ.นครพนม และพระบาทโพนฉันที่ฝั่งลาว ที่ลือลั่นด้านวิทยาคม

เป็นศิษย์หลวงปู่ญาคูสุ หรือ พระครูพิทักษ์อุดมพร ศิษย์ผู้น้องหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย แห่งวัดท่าดอกแก้วเหนือ อ.ท่าอุเทน

ในเดือนมีนาคม 2562 คณะลูกศิษย์ อ.โพนสวรรค์ โดย เทพ ประทาน ได้ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหลวงปู่สิงห์ พรหมโชโต รุ่นแรก เพื่อรวบรวมปัจจัยจัดซื้อที่ดินวัดเพิ่มเนื้อ ที่ 3 ไร่ ไว้สร้างพระธาตุศรีวิชัย และบูรณะเสนาสนะในวัด

ลักษณะเป็นเหรียญรูปปีกผีเสื้อ หูเชื่อม ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 3 เหรียญ เนื้อเงิน 195 เหรียญ เนื้อลงยาแดง 199 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า 333 เหรียญ (ชุดกรรมการ) เนื้อทองแดงผิวไฟไม่ตัดปีก 333 เหรียญ (ชุดกรรมการ) และเนื้อทองแดง 2562 เหรียญ รวม 3,625 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญมีขอบเส้นสันนูนรอบตัวเหรียญตามส่วนโค้งเว้า ใต้หูเชื่อมสลัก คำว่า รุ่นแรก ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์คล้องวัตถุมงคลขุนแผน ของบูรพาจารย์ ข้างใบหูด้านขวามีเลข ๑ นัมเบอร์ของเหรียญ ใบหูด้านขวาตอกโค้ดคำว่า ปู่สิงห์ รอบขอบเหรียญด้านล่างสลักคำว่า หลวงปู่สิงห์ พรหฺมโชโต

ด้านหลังเหรียญมีเส้นสันนูนขอบหน้ารอบเหรียญ ใต้หูเชื่อมสลักยันต์พญาไก่แก้วเรียกทรัพย์ มีคาถานะโมพุทธายะ ซึ่งเป็นคาถาหัวใจของพระพุทธเจ้าไขว้กันกำกับไว้ ถัดลงมาสลักคำว่า อายุ ๙๕ พรรษา ๖๙ ตามด้วยคำว่า วัดวิชัย บ้านหนองบาท้าว อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม และเลข ๒๕๖๒

เหรียญรุ่นนี้หลวงปู่สิงห์นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวที่ศาลาการเปรียญของวัด เมื่อเวลา 09.09 น. วันที่ 29 มี.ค.2562 ที่ผ่านมา มีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูปนั่งปรก
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาวัดชีว์ประเสริฐ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องของวัดชีว์ประเสริฐ จังหวัดเพชรบุรีกันครับ พระเครื่องของวัดนี้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังนั้นเป็นพระที่หลวงปู่บุญท่านเป็นผู้สร้างไว้ครับ

วัดชีว์ประเสริฐตั้งอยู่ริมถนนมาตยสวงศ์ ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี แต่เดิมมีชื่อว่า "วัดชีปเกิด" ต่อมาเมื่อสมัยพระครูรัตนรังษี(หลวงพ่อชิน) เป็นเจ้าอาวาสได้ปรารภถึงชื่อวัดว่าไม่สามารถอธิบายความหมายได้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดชีว์ประเสริฐ" ซึ่งหมายความถึงชีวิตที่ดีงาม วัดชีว์ประเสริฐสร้างมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ฝีมือการก่อสร้างนั้นเป็นฝีมือของช่างสกุลเมืองเพชรในยุคต้นกรุงฯ ฝากฝีมือได้สวยงาม

พระปลัดบุญ วัดชีว์ประเสริฐ ท่านเป็นชาวเมืองเพชร เกิดในราวปี พ.ศ.2380 เมื่ออายุครบอุปสมบทก็ได้อุปสมบทที่วัดป้อม สืบไม่ได้ว่าท่านผู้ใดเป็นพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป้อม ต่อมาวัดชีว์ประเสริฐขาดเจ้าอาวาส ทางคณะสงฆ์จึงได้ส่งหลวงปู่บุญจากวัดป้อมมาเป็นเจ้าอาวาส ประมาณปี พ.ศ. 2420 เมื่อท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้พัฒนาวัดชีว์ประเสริฐโดยได้สร้างพระอุโบสถในปี พ.ศ.2425 และได้สร้างเสนาสนะต่างๆ จนวัดชีว์ประเสริฐเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ หลวงปู่บุญมรณภาพในราวปี พ.ศ.2450 สิริอายุได้ 70 ปี

หลวงปูบุญได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่างเช่น ตะกรุดโทน มีสองขนาดคือขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ประสบการณ์ของเจ้าของตะกรุดคือยิงไม่ออก จนโด่งดังไปทั่วเพชรบุรี มีคนที่ได้ตะกรุดจากหลวงพ่อไปและใช้ติดตัวตลอด วันหนึ่งเขาได้อาบน้ำในแม่น้ำเพชร สายตะกรุดเกิดขาดตะกรุดจมน้ำหายไป จึงเกิดความเสียดาย ขึ้นจากน้ำแล้วรีบไปหาหลวงปู่ที่วัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนักเพื่อจะขอตะกรุดใหม่ เมื่อไปถึงยังไม่ได้พูดอะไร หลวงปู่ก็ส่งตะกรุดให้ ซึ่งเป็นตะกรุดดอกเดิมที่หลุดหายไปขณะอาบน้ำและยังเปียกน้ำอยู่เลย

นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระเครื่องไว้ 3 แบบ คือพระผงสามเหลี่ยมสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณ แล้วเคลือบรักไว้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ ด้านหลังเป็นยันต์นะ พระกลีบบัว สร้างด้วยเนื้อผงผสมว่านคลุกรัก มีสามพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ ด้านหน้าเป็นพระพุทธ ขัดสมาธิเพชร ด้านหลังไม่มียันต์แต่เป็นรอยกาบหมาก พิมพ์กลางค่อนข้างชะลูดกว่าพิมพ์ใหญ่ ด้านหน้าคล้ายกัน ด้านหลังเป็นยันต์ นะ อะ และยันต์ใบพัด พิมพ์เล็กด้านหน้าคล้ายกัน ด้านหลังเป็นยันต์นะ พระปิดตาของหลวงปู่บุญนับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุด คนสมัยก่อนมักเรียกว่าพระปิดตาวัดชีปเกิด เป็นพระเนื้อผงผสมว่านคลุกรัก ลักษณะเป็นพระนั่งขัดสมาธิเพชร ยกมือปิดหน้าสองข้าง ด้านหลังอูมเล็กน้อย มียันต์นะ อยู่ตรงกลาง พระทั้งหมดของหลวงปู่บุญมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะพระปิดตา เด่นทางด้านเมตตามหานิยม และเป็นที่นิยมกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ปัจจุบันหาดูยาก ทั้งตะกรุดและพระเครื่องของท่านครับ

ในวันนี้ผมจึงนำรูปพระปิดตาของหลวงปู่บุญ วัดชีว์ประเสริฐ ของดีเมืองเพชรมาให้ชมกันครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




เหรียญย้อนยุค หลวงปู่สาธุ์
"หลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่า ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม พระเกจิชื่อดัง สืบสายธรรมจากพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว อ.พยัคฆภูมิพิสัย อดีตบูรพาจารย์ผู้เชี่ยวชาญไสยเวทสายเขมร

มีนามเดิมว่า สาธุ์ สรรพสอน เกิดในปี พ.ศ.2421 ที่บ้านข่อย อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ครอบครัวอพยพมาปักหลักทำมาหากินอยู่ที่บ้านเหล่า

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านแก่นท้าว โดยมีพระครูสีหราช วัดบ้าน แก่นท้าว เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัด ต่อมาได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ที่สำนักเรียนวัดบ้านแก่นท้าว และขอฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากพระครูสีหราช บูรพาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมสายเขมร ควบคู่กับการศึกษามูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม ไทยน้อย อักษรลาว ทำให้มีความรู้ทางด้านอักขระโบราณเพิ่มขึ้นอีกแขนง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2515 สิริอายุ 93 ปี พรรษา 72

หลังจากมรณภาพไปแล้ว เมื่อถึงวันที่ 19-20 มี.ค.ของทุกปี วัดและคณะศิษยานุศิษย์จะจัดงานน้อมรำลึกเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา

ดังเช่นเมื่อวันที่ 19-20 มี.ค.2562 วัดบ้านเหล่า นำโดย พระอธิการบุญถม อภิวังโส รักษาการเจ้าอาวาส และคณะกรรมการวัด จัดงานรำลึก 140 ปีชาตกาล หลวงปู่สาธุ์ พร้อมจัดสร้างเหรียญที่ระลึก ย้อนยุครุ่นแรก มหาบารมี เพื่อหาทุนทรัพย์สร้างอุโบสถ

เหรียญรุ่นนี้จำลองแบบมาจากเหรียญรูปเหมือนทรงเสมารุ่นแรก พ.ศ.2509

ด้านหน้าเหรียญ พิมพ์เป็นรูปเหมือนหลวงปู่สาธุ์ครึ่งองค์ มีตัวอักษรที่ใต้ขอบด้านบนว่า "รุ่น ๑" และตัวอักษรโค้งไปตามขอบเหรียญจากขวาไปซ้าย ความว่า "หลวงพ่อสาธุ์ สุขธมฺโม วัดบ้านเหล่า ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม"

ด้านหลังของเหรียญจะเป็นยันต์ 5 และมีตัวเลขบอกวันเดือนปีที่สร้าง คือ "๑ มกราคม ๒๕๐๙" ที่ระฤก ครบ 140 ปีชาตกาล ด้านหลังแทบทุกเหรียญจะปรากฏรอยจารอักขระ นะ มะ พะ ทะ นะ มะ อะ อุ แต่บางเหรียญก็ไม่มีจาร เนื่องจากนำเหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญที่มีรอยจารไปทำบล็อก

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อเงินลงยา สร้าง 9 เหรียญ บูชา 2,000 บาท เนื้อเงินบริสุทธิ์สร้าง 47 เหรียญบูชา 1,800 บาท ทองแดงไม่ตัดปีกสร้าง 72 เหรียญบูชา 499 บาท เนื้อตะกั่วสร้าง 140 เหรียญ บูชา 299 บาท เนื้อทองแดงผิวรุ่งสร้าง 93 เหรียญบูชา 399 บาท เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่ศาลาสุขธัมโม วัดบ้านเหล่า พระเกจิอาจารย์เข้าร่วมพิธีอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง อ.นาเชือก, หลวงพ่อณรงค์ สาโม วัดมงคลนิมิต เป็นต้น
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



(ซ้าย) เหรียญโภคทรัพย์  (ขวา) เหรียญรุ่นแรก
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเส็ง พุทธปาลิโต วัดประจันตคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งในสมัยสงครามโลกผู้ที่มีวัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์ในด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน เป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนในละแวกปราจีนบุรีเป็นอย่างมาก

หลวงพ่อเส็งเกิดเมื่อปี พ.ศ.2440 ที่บ้านเมืองใหม่ ประจันตคาม โยมบิดาชื่อ ขุนปราบพลการ (เคน) โยมมารดาชื่อ ทองสี เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2460 ที่วัดทัพช้าง มีพระครูพิพัฒน์ปัจจันตเขต (สิงห์) เจ้าคณะแขวงเป็นพระอุปัชฌาย์ศึกษาพระธรรมวินัยจบนักธรรมเอกจนถึงปี พ.ศ. 2475 ท่านจึงย้ายไปเป็นครูสอนพระปริยัติที่วัดท่าเรือ พ.ศ.2480 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสและพระครูปลัด ฐานานุกรมของพระครูพิพัฒน์ปัจจันตเขต ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นเจ้าคณะตำบลประจันตคาม ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิมลศีลาจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดประจันตคาม หลวงพ่อเส็งมรณภาพในปี พ.ศ. 2507 สิริอายุได้ 67 ปี 47 พรรษา

หลวงพ่อเส็งได้ศึกษาวิทยาคมมาจากหลวงพ่อพุก วัดพระยาทำ และหลวงปู่สิงห์ วัดบ้านโนน ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นที่เคารพของชาวบ้าน พุทธาคมของท่านเป็นที่เลื่องลือมาก ท่านมีวิชาโภคทรัพย์ เล่ากันว่าทุกครั้งที่ทางวัดประจันตคามจะมีงานหรือจำเป็นต้องหาทุนทรัพย์เพื่อบูรณะวัดวาอาราม หลวงพ่อเส็งไม่เคยบอกบุญที่ไหน แต่จะให้ลูกศิษย์นำเอาธงสีวลีไปปักไว้ที่ต้นพิกุลใหญ่ใกล้พระอุโบสถ จากนั้นท่านก็จะจุดธูปนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ แล้วท่านก็จะมาบริกรรมคาถาใต้ต้นพิกุล เมื่อธูปหมดท่านก็จะจุดธูปดอกใหม่อีก และเมื่อควันธูปลอยไปทางใดก็จะมีคนจากทิศนั้นแห่กันมาทำบุญถวายปัจจัยและสิ่งของเป็นจำนวนมาก จนทำให้มีคนมาทำบุญแน่นทุกงานและมีปัจจัยและสิ่งของมาก่อสร้างจนสำเร็จทุกครั้ง

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเส็ง เป็นเหรียญที่ลูกศิษย์ของหลวงพ่อขออนุญาตสร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญวันเกิดของท่าน ในปี พ.ศ.2485 เหรียญรุ่นแรกเป็นเหรียญทรงเสมา มีเนื้อทองแดง และเนื้อเงิน แต่เนื้อเงินมีจำนวนน้อยมาก เหรียญรุ่นนี้มีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน ส่วนเหรียญอีกรุ่นที่มีผู้นิยมมากเช่นกันคือเหรียญโภคทรัพย์ เป็นเหรียญกลมรูปนางกวัก สร้างในปี พ.ศ.2499 เนื่องในงานปลูกต้นโพธิ์ตรัสรู้พันธุ์พุทธคยา มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง (เนื้อเงินมีน้อยหายาก) เหรียญนี้เป็นเหรียญนิยมอีกเหรียญหนึ่งที่เสาะหากันมาก ผู้บูชาเหรียญโภคทรัพย์ต่างก็ทำมาค้าขายดีร่ำรวย ปัจจุบันหายากทั้ง 2 รุ่น สนนราคาสูง

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก และเหรียญโภคทรัพย์ของหลวงปู่เส็ง วัดประจันตคามมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กรกฎาคม 2562 16:16:41 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #112 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2562 16:23:26 »


พระเนื้อผงวัดวิเวกวนาราม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องที่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้อธิษฐานจิตไว้ และเป็นพระเครื่องที่น่าใช้บูชามากอย่างหนึ่ง ของท่านเจ้าคุณนรฯ เจตนาการสร้างดีบริสุทธิ์ พระที่ผมกล่าวมานี้ก็คือพระผงวัดวิเวกวนาราม อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา ครับ

พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ชุดนี้ จัดสร้างโดยคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์ เพื่อไว้สมนาคุณแก่ ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดวิเวกวนาราม ซึ่งคุณลุงแก้วเป็นไวยาวัจกรอยู่ เรื่องมีอยู่ว่า ในต้นปี พ.ศ.2511 คุณลุงแก้ว พร้อมด้วยบุตรคือ นายแพทย์สุพจน์และปลัดอำเภอเชาว์ ศิริรัตน์ ได้เดินทางมากราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ณ อุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ โดยกราบเรียนว่า ศาลาการเปรียญของวัดวิเวกวนาราม บัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่สามารถจะบูรณะได้ และได้ปรึกษาคุณแม่แปลก มารดาว่าจะดำเนินการก่อสร้างใหม่ ศาลาการเปรียญแห่งนี้เป็นที่อาศัยเรียนของเด็กๆ ในละแวกนั้น โดยคุณลุงแก้วได้กราบเรียนว่าจะนำผงพระที่แตกหักและเกสรดอกไม้นำมาบด แล้วจะนำมาให้ท่านช่วยอธิษฐานจิตให้ เพื่อจะได้นำไปแจกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในการก่อสร้างศาลาการเปรียญ ถ้าเหลือก็จะนำไปบรรจุไว้ที่ฐานชุกชีในพระอุโบสถ ปัจจัยทุกบาททุกสตางค์จะนำเข้าวัดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย

ในขณะที่คุณลุงแก้วกำลังบอกเล่านั้น ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านนั่งขัดสมาธิหลับตานิ่งอยู่ประมาณ 15 นาที ท่านจึงลืมตาแล้วบอกว่า "อย่านำพระไปบรรจุใต้ฐานพระประธานเลย เพราะจะทำให้พระประธานเดือดร้อนภายหลัง เพราะถ้าพระชุดนี้เกิดมีชื่อเสียงก็อาจจะทำให้ไปลักลอบขุดทำลายได้ ถ้าจะให้ดีโยมสร้างพระชุดนี้เสร็จก็นำไปแจกจ่ายให้กับผู้มีศรัทธาให้หมดจะดีกว่า" พร้อมกันนี้ท่านก็ได้แนะนำคุณลุงแก้วว่า "เมื่อนำผงมาจะให้อธิษฐานจิตละก็ ให้นำมาไว้ที่ระหว่างฐานชุกชีพระประธานภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์ เพื่อจะได้ให้หลวงพ่อภายในพระอุโบสถ และพระภิกษุ-สามเณร ที่ลงทำวัตรสวดมนต์ จะได้ช่วยกันปลุกเสกให้อีกด้วย"

หลังจากนั้นคุณลุงแก้วพร้อมทั้งบุตรชายทั้งสองจึงได้ไปกราบเรียนท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ และได้บอกว่าจะนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ภายในพระอุโบสถเพื่อให้ท่านเจ้าคุณนรฯ และพระภิกษุสามเณรภายในวัดปลุกเสก 1 ไตรมาส พร้อมทั้งได้กราบเรียนว่าจะนำบุตรชายคือ นายเชาว์มาอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทร์ด้วยในปี พ.ศ.2511 หลังจากที่คุณลุงแก้วนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ที่ในพระอุโบสถแล้ว สังเกตเห็นว่าหลังจากพระภิกษุ-สามเณรทำวัตรเสร็จแล้ว ท่านเจ้าคุณนรฯ จะนั่งเพ่งไปยังโหลแก้วที่บรรจุผงนานประมาณ 5 นาที ทุกวันจนครบไตรมาส เมื่อออกพรรษาแล้วคุณลุงแก้วจึงได้มากราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่าจะมารับผงไปจัดสร้างพระ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะนำพระมาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตให้อีกครั้ง แต่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้ตอบปฏิเสธไปว่า ผงชุดนี้สำเร็จแล้วเป็นผงวิเศษ เมื่อนำไปสร้างพระแล้วจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ใกล้วัดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องหอบพะรุงพะรังมาถึงนี่ เพราะสมัยนั้นการไปมาไม่สะดวกต้องมาทางเรือเท่านั้น

เมื่อคุณลุงแก้วกลับไปถึงตลาดบางน้ำเปรี้ยว ก็สั่งให้นายแพทย์สุพจน์ ติดต่อช่างแกะแม่พิมพ์ แต่ทางหมอสุพจน์มีงานมากจึงยังไม่ได้ติดต่อช่าง จนคุณลุงแก้วรอแม่พิมพ์ไม่ไหว จึงได้ให้ลูกชายอีกคนที่เป็นทันตแพทย์อยู่ในตลาดคลองสิบหกใช้ยางทำพิมพ์ฟัน มาถอดพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้าน เพื่อทำแม่พิมพ์ โดยคุณลุงแก้วได้ผสมผงและพิมพ์พระเองอยู่ที่บ้าน พอถึงปลายๆ ปีพ.ศ.2512 นายแพทย์สุพจน์ ได้ไปกราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ท่าน ก็ได้บอกกับหมอสุพจน์ว่า ช่วยไปบอกโยมแก้วด้วยว่า "ผงที่นำไปสร้างพระขอให้ระมัดระวังด้วย อย่าให้ตกหล่นลงในที่ต่ำ เพราะจะบาป คือผงสำเร็จแล้ว" หมอสุพจน์ได้ฟังก็ประหลาดใจ เนื่องจากตนเองก็ยังไม่ได้ไปติดต่อแกะแม่พิมพ์ให้ พอถึงวันอาทิตย์หมอสุพจน์จึงได้เดินทางกลับมาบ้านที่คลองสิบหก จึงได้รู้ว่าบิดาได้พิมพ์พระขึ้นไว้จำนวนมาก และได้เล่าให้บิดาฟังว่าท่านเจ้าคุณนรฯ เตือนมาอย่างนี้ เมื่อคุณลุงแก้วได้ฟังก็พยายามนั่งทบทวนว่าตนนำผงไปตกหล่นที่ไหนบ้าง แต่ก็นึกไม่ออกและพยายามหาพระพิมพ์ว่าตกหล่นอยู่ที่ใดบ้าง จึงได้ชวนลูกชายที่เป็นทันตแพทย์คุ้ยหาพระตามท่อระบายน้ำด้านหลังบ้าน จึงพบว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ ได้ตกอยู่ในท่อน้ำครำ 1 องค์

เมื่อสร้างพระเสร็จคุณลุงแก้ว ได้นำพระบรรจุในถุงแป้งมันได้ 5 ถุง และนำมาเข้าพิธี 5 ธันวาคม พ.ศ.2513 ที่วัดเทพฯ เมื่อเสร็จพิธีได้เอาไว้ที่วัดเทพฯ 2 ถุง พระชุดนี้มีด้วยกันหลายพิมพ์เป็นแบบพระสมเด็จก็หลายพิมพ์ ที่ด้านหลังมีทั้งแบบหลังยันต์จม หลังยันต์นูน หลังยันต์ปั้นหมึกและหลังเรียบ พระส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์แบบสมเด็จ นอกจากนี้ก็ยังมีแบบพระพุทธโสธร พระปิดตา และรูปเหมือนใบโพธิ์ เป็นต้น ส่วนผสมของพระชุดนี้ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก ที่ได้มาเมื่อคราวเปิดกรุ พระสมเด็จวัดสามปลื้มแตกหักได้มาประมาณครึ่งปี๊บ ได้รับมอบจากท่านพระครูประสิทธิ์สมณการ เจ้าคณะ 8 วัดสามปลื้ม ผงตะไบชนวนกริ่งท่านเจ้ามา พระรูปเหมือนสมเด็จกรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ 2 องค์ รุ่นปีพ.ศ.2485 ที่ชำรุดแตกหัก พระเครื่องเนื้อดินเผาที่ชำรุด จากกรุอยุธยา ผงซ่อนตัวของหลวงปู่จัน วัดท่าลาดชานหมากหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ สีผึ้งและแป้งปลุกเสกของหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว แป้งดินสอพองที่นำไปให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต ใบโพธิ์จากต้นข้างโบสถวัดเทพฯ ใบโพธิ์ที่วัดโสธรและทองคำเปลวที่ปิดองค์หลวงพ่อโสธร ขี้ธูปบูชาในพระอุโบสถวัดโสธร ผ้ายันต์จากคณาจารย์ต่างๆ เผาผสมดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย ว่าน 108 ชนิดและเกสรดอกไม้บูชาพระจากที่บูชาหลายแห่ง

จะเห็นว่าพระเนื้อผงของวัดวิเวการามแห่งนี้ถึงแม้ว่ารูปทรงจะไม่สวยงามมากนัก แต่สร้างด้วยจิตบริสุทธิ์ และท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็อธิษฐานจิตให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนานถึง 1 พรรษา นับว่านานที่สุดของท่านเลยก็ว่าได้ ผมว่าพระชุดนี้น่าจะเป็นพระที่บูชาห้อยติดตัวมากที่สุด ปัจจุบันก็หายากแล้วครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระผงวัดวิเวกฯ พิมพ์ต่างๆ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญเมตตาบารมี หลวงปู่สอ
หลวงปู่สอ ขันติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี บ้านบะหว้า หมู่ 10 ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ยังดำรงชีวิตยืนยาว 114 ปี 6 แผ่นดิน

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโณ พระเกจิชื่อดังวิทยาคมเข้มขลัง ผู้นำในการสร้างพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน ในฝั่งลาว

เป็นพระเกจิที่มีอายุยืนยาวรูปหนึ่งของภาคอีสาน ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ แม้อายุจะล่วงมาถึง 114 ปีแล้ว แต่สายตายังมองเห็นชัด หูได้ยินปกติ ฉันเนื้อปลา และกล้วยวันละ 1 ลูก

ในปี พ.ศ.2561 นายชินพงษ์ กุลยะ กับนายสุพัฒน์ มณีรัตน์ ลูกศิษย์ใน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นเมตตาบารมี วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนบูรณะเสนาสนะ รวมทั้งไว้เป็นกองทุนรักษาหลวงปู่ในยามอาพาธ

เหรียญดังกล่าว จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อสามกษัตริย์เงินหน้าทองคำหลังนาก 29 เหรียญ เนื้อเงินลงยา 299 เหรียญ เนื้อเงิน 399 เหรียญ เหรียญเกรียวเชือกเนื้อเงิน 114 เหรียญ เนื้อชนวนสอดไส้ทองทิพย์ 114 เหรียญ เนื้อชนวนมวลสาร 282 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า 1,999 เหรียญ เนื้อทองฝาบาตร 1,999 เหรียญ เนื้อทองแดง 4,999 เหรียญ

นอกจากนี้ ยังมีเนื้อทองฝาบาตร, เนื้อทองฝาบาตรลงยาเขียวแดง, น้ำเงิน, น้ำเงินแดง, เนื้อตะกั่ว ชนิดละ 499 เหรียญ (ชุดกรรมการ) เนื้ออัลปาก้าไส้ทองทิพย์, เนื้อทองทิพย์ไส้อัลปาก้า แจกศูนย์จองและผู้มาร่วมพิธี 1,998 เหรียญ, เหรียญตัดเชือกเกลียวเนื้อทองแดงแจกในพิธี 999 เหรียญ และเหรียญนำฤกษ์เนื้อลงยา, ลายธงชาติ, ทองฝาบาตรลงยาอีก 15 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญอาร์ม หูเชื่อม

ด้านหน้ามีเส้นสันนูนรอบขอบเหรียญตามส่วนโค้งเว้า ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่หันหน้าไปทางขวา มีเกลียวเชือกล้อมรอบในวงกลมรูปไข่อีกชั้น ใต้รอบขอบเหรียญในวงกลมรูปไข่สลักคำว่า หลวงปู่สอ ขันติโก นอกวงกลมทรงไข่สลักอักขระ 4 ตัวกำกับไว้

ด้านหลังใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสือคำว่า เมตตา บารมี มีอักขระคั่นกลาง ถัดลงมามีอักขระยันต์ 2 บรรทัด ซึ่งเป็นยันต์พระพุทธเจ้าเมตตา ใต้อักขระสลักเลขไทย ๖๔๕ นัมเบอร์ของเหรียญ บรรทัดต่อมา สลัก อายุ 113 ปี ด้านข้างตอกโค้ด คล้าย ถุงเงิน บรรทัดสุดท้ายสลักตัวหนังสือคำว่า วัดโพธิ์ศรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ๒๕๖๑

เหรียญรุ่นนี้ เสก 2 วาระ จากนั้นให้หลวงปู่สออธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ที่ศาลาการเปรียญของวัด ระหว่างวันที่ 1-31 ส.ค.2561 นานเป็นเวลา 33 วัน มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน

แม้เป็นเหรียญใหม่ พุทธศิลป์ออกแบบลงตัวงดงาม เป็นเหรียญอีกรุ่นที่กำลังมาแรง
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



รูปพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาที่หลวงปู่เอี่ยมวัดหนังได้สร้างไว้นั้น ส่วนใหญ่ที่รู้จักและนิยมกันมากจะเป็นพระเนื้อโลหะเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีพระปิดตาเนื้อผงที่หลวงปู่เอี่ยมสร้างไว้เช่นกัน แต่ก็มีจำนวนไม่มากนักจึงพบเห็นกันน้อย เช่น พระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตก พระปิดตาพิมพ์สังฆาฏิ ทั้ง 2 พิมพ์นี้จะเป็นพระเนื้อผงคลุกรัก ส่วนที่เป็นเนื้อผงเลยก็มี เช่น พระปิดตาผงหัวบานเย็น

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็น จะทำเป็นแบบพระปิดตาทวาร คล้ายๆ กับพระพิมพ์นะหัวเข่า (ครึ่งซีก) ว่ากันว่าหลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นตั้งแต่ท่านยังอยู่ที่วัดโคนอนแล้ว สร้างแต่ละครั้งจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากผงหัวบานเย็นนั้นมีจำนวนจำกัด พอหลวงปู่ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนัง ก็ยังมีญาติโยมมาขอพระเนื้อผงหัวบานเย็นอีกเรื่อยๆ หลวงปู่จึงได้ปลูกต้นหัวบานเย็นอีกที่วัดหนัง การปลูกต้นว่านหัวบานเย็นนั้น หลวงปู่จะปลูกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 คือวันเข้าพรรษา น้ำที่ใช้รดต้นหัวบานเย็นนั้นหลวงปู่จะเสกน้ำที่ใช้รดทุกครั้ง ทำทุกวันจนถึงวันออกพรรษา หลวงปู่จึงจะให้ขุดเอาหัวมาล้างน้ำ แล้วจึงฝานเป็นแว่นบางๆ นำมาตากแดดจนแห้งสนิท จากนั้นก็นำมาบดจนเป็นผง แล้วจึงนำมาผสมกับผงวิเศษ "นะปถมัง" ที่หลวงปู่ทำเอาไว้ในระหว่างพรรษา นำมาปั้นเป็นก้อนแล้วจึงนำไปกดพิมพ์ แล้วหลวงปู่ก็จะนำไปปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง จึงนำมาแจกให้แก่ลูกศิษย์

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นมีการสร้างอยู่หลายครั้ง แต่ละครั้งสร้างได้จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากหัวบานเย็นที่หลวงปู่ปลูกไว้มีจำนวนจำกัด จำนวนจึงไม่มากเท่ากับประเภทเนื้อโลหะ สีของพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นเท่าที่พบจะมีสีขาวหม่นๆ สีดำ และสีอมแดงก็มี แต่เนื้อสีขาวจะนิยมมากกว่า เข้าใจว่าสร้างในยุคแรกๆ น่าจะเป็นเนื้อผงสีขาว

พุทธคุณนั้น เด่นทางด้านคุ้มครองป้องกันภัย ทั้งแคล้วคลาด อยู่คง และเมตตามหานิยม จะเห็นได้ว่าพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นนั้นดียอดเยี่ยมมาตั้งแต่เริ่มปลูกจนนำมาบดเป็นผงแล้ว อีกทั้งผงปถมังที่หลวงปู่เขียนเสกไว้อีก หลวงปู่จะปั้นเป็นแท่งดินสอเขียนไปเสกไปบนแผ่นกระดานชนวนลงทับลงถมซ้ำอีกหลายครั้ง จนสำเร็จผงปถมัง หลังจากทำเป็นองค์พระแล้วหลวงปู่ก็จะปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจึงแจกออกไป ผู้ที่ได้รับไปนั้นมีประสบการณ์มากมาย คนเฒ่าคนแก่แถบตลาดพลูทราบดี และหวงแหนพระปิดตาผงหัวบานเย็นมาก แต่จำนวนพระก็มีน้อย เท่าที่พบจะมีอยู่ 2 พิมพ์ คือ พิมพ์มีปีก และพิมพ์ตัดชิด

พระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นของหลวงปู่เอี่ยมคนจะรู้จักน้อย และหายาก ของปลอมมีมากและทำกันมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาให้ดีๆ ครับ สำหรับราคาพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นจะไม่สูงเท่าประเภทเนื้อโลหะ แต่ก็หายาก คนรุ่นเก่าจะเก็บกันเงียบหมด องค์พระก็เล็กกะทัดรัด ขนาดกว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7 ซ.ม.

รูปพระปิดตาเนื้อผงหัวบานเย็นทั้ง 2 พิมพ์ แบบมีปีก และแบบตัดชิด
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



รูปหล่อหลวงปู่สาธุ์
"หลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่า ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม พระเกจิชื่อดังในพื้นที่และภาคอีสานสืบสายธรรมจากพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว อ.พยัคฆภูมิพิสัย

มีนามเดิมว่า สาธุ์ สรรพสอน เกิดในปี พ.ศ.2421 ที่บ้านข่อย อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ครอบครัวอพยพมาปักหลักทำมาหากินอยู่ที่บ้านเหล่า

อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านแก่นท้าว โดยมีพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัด ต่อมาขอฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากพระครูสีหราช บูรพาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมสายเขมร ควบคู่กับการศึกษามูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม ไทยน้อย อักษรลาว ทำให้มีความรู้ทางด้านอักขระโบราณเพิ่มขึ้นอีกแขนง

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2515 สิริอายุ 93 ปี พรรษา 72

หลังจากมรณภาพไปแล้ว เมื่อถึงวันที่ 19-20 มี.ค.ของทุกปี จะมีการจัดงานน้อมรำลึกถึง เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา

ดังเช่นเมื่อวันที่ 19-20 มี.ค.2562 วัดบ้านเหล่า พร้อมพุทธศาสนิกชนและคณะศิษยานุศิษย์ นำโดย พระอธิการบุญถม อภิวังโส รักษาการเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัด ได้จัดงานรำลึก 140 ปี ชาตกาล หลวงปู่สาธุ์

พร้อมกับจัดสร้างวัตถุมงคล รูปหล่อรูปเหมือน เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงบารมี และหาทุนทรัพย์สร้างอุโบสถวัดบ้านเหล่า ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

รูปหล่อรุ่นนี้ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่สาธุ์ นั่งวิปัสสนาบนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยม ที่ด้านล่างหน้าฐานมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่สาธุ์ สุขธัมโม ด้านหลังที่ฐานเขียนว่า วัดบ้านเหล่า จ.มหาสารคาม บริเวณอังสะตอกโค้ดหมายเลขเรียงลำดับทุกองค์

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อเงินยวงสร้าง 100 องค์ เนื้อทองเหลือง สร้าง 200 องค์ ด้านพุทธคุณเด่นรอบด้าน

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่ศาลาสุขธัมโม วัดบ้านเหล่า พระเกจิอาจารย์เข้าร่วมพิธีอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง อ.นาเชือก, หลวงพ่อณรงค์ สาโม วัดมงคลนิมิต เป็นต้น
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินสนิมแดงของสุพรรณฯ นั้นมีอยู่มากมายหลายกรุ กรุที่มีสนิมแดงจัดสวยงามก็มีกรุบ้านหัวเกาะ ที่พบอยู่หลายพิมพ์ทั้งที่แบบพระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา และพิมพ์ซุ้มปรางค์

จุดเด่นของพระกรุนี้ก็คือส่วนใหญ่จะมีสนิมแดงจับทั่วทั้งองค์พระ และสีของสนิมจะออกแดงจัด คนที่ชมชอบพระเนื้อชินสนิมแดงจะชอบเนื้อสนิมแบบนี้มาก ปัจจุบันพระกรุนี้ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

บ้านหัวเกาะ ตั้งอยู่ที่ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ในอาณาบริเวณบ้านของนายฉั่ง มีเนินดินเตี้ยๆ อยู่เนินหนึ่ง และเนินดินนี้ก็มีทรายปะปนอยู่ ลูกของนายฉั่งตั้งใจจะขุดดินมาถมคอกม้า เมื่อขุดดินไปก็เจอแผ่นอิฐอยู่ประปราย ก็เกิดความสงสัย

เนื่องจากในจังหวัดสุพรรณฯ นั้นมักจะมีการพบพระที่บริเวณเนินดินที่มีทรายและแผ่นอิฐปนอยู่หลายแห่งหลายที่ วันรุ่งขึ้นจึงวางแผนการขุดในตอนกลางคืน ก็พบพระจริงๆ มีพระบูชาเนื้อสัมฤทธิ์ศิลปะลพบุรีหนึ่งองค์ และพบพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงอยู่ในโอ่งจำนวนมาก จึงนำพระขึ้นมาเก็บไว้และทยอยนำไปให้เช่าในตลาดจนทางการรู้ข่าวจึงเข้าไปขุดสำรวจต่อ ก็พบแต่ไหเล็กๆ และหินบดยาเท่านั้น ส่วนพระเครื่องนั้นมีการขายต่อกันไปจนหมดแล้ว

พระกรุบ้านหัวเกาะเท่าที่พบมีแต่พระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเท่านั้น มีพิมพ์ต่างๆ มากมาย เช่น พระร่วงยืนพิมพ์ยาว และพระร่วงยืนพิมพ์ต้อ พระร่วงนั่งปางมารวิชัย พระซุ้มนครโกษา พระซุ้มปรางค์ เป็นต้น จำนวนพระที่พบมากที่สุดคือพระซุ้มนครโกษา และพระร่วงยืนพิมพ์ต้อ ส่วนพระร่วงยืนยาวและพระร่วงนั่งปางมารวิชัยมีจำนวนน้อย ยิ่งพระพิมพ์ซุ้มปรางค์นั้นพบเพียง 3 องค์เท่านั้น

เนื้อของพระร่วงกรุนี้เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และสนิมของพระกรุนี้จะมีไขขาวปกคลุมอยู่ไม่หนานัก เมื่อล้างไขขาวออก ก็จะพบสนิมแดงจัดทั่วทั้งองค์ มีทั้งแดงสด แดงอมน้ำตาล แดงอมส้ม พระบางองค์สนิมแดงกินเข้าไปจนแทบไม่มีเนื้อตะกั่วเหลืออยู่เลย พระแบบนี้จะเปราะแตกหักง่าย ในสมัยก่อนพระกรุนี้เขาจะล้างไขขาวออกจนเกือบหมดจนเห็นแต่สนิมแดง แล้วก็เอาสำลีปัดเบาๆ ก็จะขึ้นมันวาวสวยงาม

พระกรุบ้านหัวเกาะที่เราพบเห็นกันบ่อยก็จะเป็นพระร่วงพิมพ์ต้อ และพระพิมพ์ซุ้มนครโกษาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระร่วงนั่งทั้งพิมพ์สมาธิและพิมพ์มารวิชัยนานๆ จะได้เห็นทีหนึ่ง เนื่องจากจำนวนพระมีน้อยกว่ามาก ศิลปะของพระกรุนี้เป็นพระศิลปะแบบอู่ทองยุคต้น (อู่ทองสุวรรณภูมิ) ที่มีอิทธิพลของศิลปะขอมปะปนอยู่

พุทธคุณของพระกรุนี้จะเด่นทางด้านอยู่คง และแคล้วคลาด มีประสบการณ์จากผู้ที่ห้อยบูชามากหลายราย ชาวสุพรรณฯ ทราบดี

วันนี้ผมได้นำรูปพระกรุบ้านหัวเกาะ พิมพ์พระร่วงยืนต้อ พระร่วงนั่งปางมารวิชัย และพระร่วงนั่งปางสมาธิ พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระสรงน้ำ วัดเทพศิรินทร์
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จวัดเทพศิรินทร์กัน ก็คือพระสมเด็จสรงน้ำท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ญาณวรเถระ ในงานสรงน้ำเจ้าประคุณสมเด็จในปี พ.ศ.2484 วาระนี้ท่านพระธัมธัชมุนีได้ดำริจัดสร้างพระผงสมเด็จสรงน้ำขึ้น เพื่อแจกเป็นพระของขวัญแด่สัทธิวิหารริอันเตวาสิก และท่านที่คุ้นเคยให้ความเคารพนับถือที่มาร่วมทำบุญกุศล ฉลองชนมายุในครั้งนั้น

ในพิธีพุทธา ภิเษกพระผงสมเด็จสรงน้ำในครั้งนี้ ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้รับอาราธนาให้เป็นพระอาจารย์ร่วมเข้าพิธีปลุกเสกเป็นครั้งแรก ซึ่งท่านเจ้าคุณนรฯ หวังแสดงกตัญญุตาต่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปรากฏว่าในการปลุกเสกครั้งนั้นท่านเจ้าคุณนรฯ ได้บริกรรมอธิษฐานจิตเนิ่นนานเป็นพิเศษ พระสมเด็จสรงน้ำ สร้างเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งปางสมาธิ สถิตอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว ที่ด้านหลังมีอักขระขอมความว่า อะ อุ มะ หมายถึงพระรัตนตรัย คือแก้วสามประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อักขระบรรทัดสุดท้ายคือ พะ ฆะ อะ เป็นพระนามย่อของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

พระเดชพระคุณพระธัมธัชมุนีได้ขวนขวายหาผงที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้นว่า ผงสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ผงพระวัดสามปลื้ม และไม้จันทน์แดง จันทน์หอม ได้นำไปให้คุณหมอชิต นภาสรรพ เจ้าของยานัตถุ์หมอมี ใช้เครื่องบดยาบดจนละเอียดแล้วนำไปผสมกับผงวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เมตตาลงอักขระโดยดินสอพองโบราณในห้องพระ แล้วลบใส่โถเอาไว้ นำมาผสมกับผงวิเศษต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ยังได้นำเส้นเกศาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผสมลงไปอีกด้วย

พระสมเด็จฯ สรงน้ำรุ่นแรกนี้ เป็นพระเนื้อผงขาวอมเหลือง ปรากฏมีคราบสีน้ำตาลจับอยู่บนผิวทั้งหน้าและหลังทั่วไป เนื่องจากพระทั้งหมดได้มีการนำองค์พระลงแช่ในน้ำย้อมแห(ยางมะเกลือ) เพื่อให้รักษาเนื้อพระ พระสมเด็จสรงน้ำรุ่นแรกนี้สร้างจำนวน 30,000 องค์ และยังมีพระคะแนนแบบสองหน้าอีก 500 องค์ พระรุ่นนี้ได้สร้างแจกในงานสรงน้ำของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงมักเรียกขานกันว่า "พระสมเด็จสรงน้ำ"

นอกจากรุ่นนี้แล้วก็ยังมีการสร้างต่อมาอีกครั้งในคราวแจกสงครามเกาหลี ปี พ.ศ.2493 พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ทรงกราบเรียนพระธัมธัชมุนี เพื่อขอพระผงสมเด็จรุ่นสรงน้ำ เพื่อไปแจกแก่ทหารที่จะเดินทางไปสู่สมรภูมิในครั้งนั้น แต่พระสมเด็จสรงน้ำรุ่นแรกหมดเสียแล้ว จึงได้จัดสร้างขึ้นมาใหม่โดยใช้มวลสารและสิ่งผสมแบบเดิม สร้างขึ้นจำนวน 8,000 องค์ พระสมเด็จรุ่นเกาหลีนี้ ท่านเจ้าคุณนรฯ ก็ได้รับอาราธนาอีกเป็นครั้งที่ 2 และท่าน เจ้าคุณนรฯ ท่านก็ได้ปลุกเสกอยู่นานเป็นพิเศษเช่นเดิม โดยทำพิธีนั่งปลุกเสกอยู่องค์เดียวจนถึง 4 ทุ่มเศษ พระสมเด็จรุ่นเกาหลีนี้ ใช้พิมพ์เดียวกันกับรุ่นแรก ข้อแตกต่างอยู่ที่รุ่นเกาหลีไม่ได้แช่น้ำยาย้อมแห พระจะขาวผ่องไม่ปรากฏคราบสีน้ำตาลเช่นรุ่นแรกครับ

พระสมเด็จสรงน้ำในปัจจุบันหายากแล้วครับ พุทธคุณคุ้มครองป้องกันภัยทุกประการ และเมตตามหานิยม ความเจริญก้าวหน้า ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จสรงน้ำ รุ่นแรก วัดเทพศิรินทร์ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญมังกรคู่ หลวงปู่สิริ
หลวงปู่สิริ สิริวัฒโน วัดตาล ต.บางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พระเกจิอีกรูปหนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย ปัจจุบันสิริอายุ 80 ปี พรรษา 58

นามเดิม สิริ แก้วกาญจน์ เป็นคนไทยเชื้อสายรามัญ เกิดเมื่อวันที่ 2 พ.ค.2484 ที่บ้านบางตะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

อายุ 14 ปี นำไปบรรพชา และเมื่ออายุ 20 ปี พ.ศ.2504 เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดตาล โดยมีพระอริยธัชเถระ วัดสวนมะม่วง จ.ปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สิริวัฑฒโน

นอกจากจะมุมานะศึกษาพระธรรมวินัย ยังให้ความสนใจด้านพุทธาคม จึงได้กราบขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอริยธัชเถระ ซึ่งเป็นลูกศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ด้วยวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเสมอต้นเสมอปลาย จึงมีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก

เนื่องจากในวันที่ 2 พ.ค.2562 เป็นวันคล้ายวันเกิด ครบรอบอายุ 80 ปี คณะศิษยานุศิษย์นำโดย "ก้องบารมีคุณแม่บุญเรือน" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคู่ รุ่นสิริสมบัติ"

เพื่อเป็นที่ระลึกครบรอบอายุ 80 ปี และนำรายได้ถวายเพื่อรักษาธาตุขันธ์ยามท่านเจ็บป่วย รวมทั้งใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ

เป็นเหรียญมีหู ไม่เจาะห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียงด้านล่างเขียนว่าหลวงพ่อสิริ ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน เหนือหัวมังกรจะเป็นกงล้อธรรมจักร

ด้านหลัง บริเวณกลางเหรียญจะเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน และมีตัวเลข ๙ ที่ด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านซ้ายมีตัวอักษรเขียนว่า ที่ระลึกฉลองอายุวัฒนมงคล ๘๐ ปี รุ่นศิริสมบัติ ๒ พ.ค.๒๕๖๒

วัตถุมงคลรุ่นนี้ จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ สร้าง 19 เหรียญ เนื้อเงิน สร้าง 199 เหรียญ เนื้อนวโลหะ สร้าง 499 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ สร้าง 9,999 เหรียญ เนื้อตะกั่ว ไม่ตัดปีก สร้าง 19 เหรียญ เนื้อตะกั่วหลังเรียบจาร สร้าง 9 เหรียญ เป็นต้น

โดยประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัด พระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันที่ 12 พ.ค.2562 มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่สิริ สิริวัฒโน วัดตาล จ.นนทบุรี, หลวงปู่ทองคำ สุวโจ อาศรมสุวโจ จ.สุรินทร์, หลวงปู่อุดมทรัพย์ สำนักสงฆ์เวฬุวัน จ.ศรีสะเกษ, พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (อิฏฐ์ ภัททจาโร) วัดจุฬามณี และพระครูไพศาลกิจจาภรณ์ (สุรเดช สุรเตโช) วัดจุฬามณี เป็นต้น
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



 เหรียญมังกรมหาเศรษฐี หลวงปู่ถนอม
พระครูสิริโพธาภิวัฒน์ หรือ หลวงปู่ถนอม จันทวโร รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ บ้านขามเตี้ยใหญ่ หมู่ 12, 15 ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ เป็นศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย หรือ พระครูสันธานพนมเขต วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

ด้วยเป็นคนใฝ่รู้จึงไปร่ำเรียนสรรพวิชา และเวทมนตร์คาถาต่างๆ จากหลวงปู่สนธิ์ นาน 7 ปีจนช่ำชอง

ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 79 ปี พรรษา 59 อยู่อย่างเรียบง่าย พอเพียงสมถะ ถ่อมเนื้อถ่อมตน

ในเดือน เม.ย.2562 คณะลูกศิษย์ใน อ.โพนสวรรค์ ที่เลื่อมใสศรัทธา ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหลวงปู่ถนอม รุ่นมังกรมหาเศรษฐี

วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมปัจจัยจัดซื้อที่ดินหน้าวัดเป็นธรณีสงฆ์ และบำรุงเสนาสนะ

เหรียญรุ่นนี้ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 9 เหรียญ (รวมชุดเนื้อชนวนปลอกลูกปืน) เนื้อเงินบริสุทธิ์ 80 เหรียญ เนื้ออัลปาก้าลงยาลายธงธาติ, เนื้อทองทิพย์ลงยาแดง, ฟ้า, เขียว ชนิดละ 333 เหรียญ และเนื้อทองฝาบาตร 555 เหรียญ

นอกจากนี้ ยังมีพระกริ่งรุ่นแรก เนื้อทองคำ, เนื้อเงินบริสุทธิ์, เนื้อทองวาสนา 1,107 องค์ และพระยอดขุนพล ผงโสฬสมหาพรหม นำฤกษ์, เนื้อผงดำ และเนื้อสีชานหมาก 1,209 องค์

ด้านหน้า รูปทรงคล้ายหน้ามังกร หูเชื่อม รอบขอบเหรียญตามส่วนโค้งเว้า มีลายคล้ายเชือกเกลียวล้อมรอบ ใต้หูเชื่อมมีสัญลักษณ์เสมาธรรมจักร ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ข้างขอบเหรียญทั้งสองข้างมีรูปมังกรเกี้ยวหางขดโค้ง อยู่ใต้จีวร

ด้านหลัง มีเส้นสันนูนหนาตามส่วนโค้งเว้า ใต้หูเชื่อมสลักคำว่า มหาเศรษฐี ถัดลงมามีอักขระนับได้ 7 บรรทัด ใต้อักขระยันต์สลักคำว่า หลวงปู่ถนอม จันทวโร บรรทัดถัดมาสลักคำว่า วัดขามเตี้ยใหญ่ จ.นครพนม ส่วนบรรทัดสุดท้ายสลักตัวเลขไทย ๒๕๖๒ บริเวณอักขระบรรทัดที่ 3-4 มุมซ้ายตอกโค้ดตัว ถ (ถนอมทรัพย์) และอักษรย่อชื่อหลวงปู่ ส่วนที่บริเวณอักขระบรรทัดสุดท้ายมุมขวา ตอกโค้ดเป็นอักษรภาษาจีนอ่านว่า ฟู่ หมายถึงร่ำรวย

เหรียญรุ่นดังกล่าว ปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถ เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2562 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะปลุกเสกน้ำพุทธมนต์เป็นทักษิณาวัตร สักพักหมุนกลับเป็นอุตราวัตร

สร้างความฮือฮาให้วงการพอสมควร
 เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์

n.21-5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กรกฎาคม 2562 16:26:26 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #113 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2562 10:48:19 »



พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรนั้นเป็นที่นิยมมากมีอยู่หลายแบบ ทั้งแบบยืนและแบบนั่ง

โดยเฉพาะพระเครื่องที่เป็นเนื้อดินเผาจะมีเอกลักษณ์ของเนื้อที่หนึกนุ่ม พิมพ์ของพระก็สวยงามศิลปะแบบสุโขทัยหมวดกำแพงเพชรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พระเครื่องแบบหนึ่งคือพระซุ้มกอในภายหลังได้รับการจัดชุดให้อยู่ในพระชุดเบญจภาคี ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากเสนอราคาก็สูงมากเช่นกัน กำแพงซุ้มกอเป็นพระเครื่องที่ค้นพบในบริเวณทุ่งเศรษฐี พบอยู่หลายกรุ และมีแบบพิมพ์ต่างๆ กันไปคือ

กำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มี 2 แบบ คือพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่แบบมีกระหนก และพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่แบบไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง พิมพ์กำแพงซุ้มกอ พิมพ์เล็กและพิมพ์ขนมเปี๊ยะ พระกำแพงซุ้มกอ ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเนื้อดินเผาและเป็นเนื้อที่นิยมที่สุด ส่วนที่เป็นเนื้อชินเงินก็มีบ้างแต่พบน้อยมากเพราะผุกร่อนชำรุดเสียตั้งแต่อยู่ในกรุ นอกจากนี้ตามบันทึกก็ยังพบที่เป็น เนื้อว่านอีกด้วย แต่ก็แทบไม่พบเห็นเลยในปัจุบัน

เนื่องจากเข้าใจว่าพระส่วนใหญ่ถูกทำลายสูญหายไปเสียหมดเนื่องจากพระของกำแพงเพชรที่เป็นเนื้อว่านนั้นมักจะมีแผ่นเงินแผ่นทองหุ้มไว้ด้านหน้าของพระเมื่อตอนที่ขุดพบนั้นผู้ขุดจะลอกเอาแผ่นเงินแผ่นทองออกไปขายเสียจึงทำให้องค์พระชำรุดแตกหักไปเสียหมด

ที่สันนิษฐานว่ามีพระว่านหน้าทองนั้นก็เนื่องจากมีการพบลานทองจารึกไว้ว่ามีพระว่านหน้าเงินหน้าทองอยู่ด้วย แต่ก็แทบไม่พบเห็นกันเลย ส่วนใหญ่ที่พบก็จะเป็นพระที่ทำปลอมเลียนแบบแทบทั้งสิ้น ที่เคยพบพระนางกำแพง และพระลีลาเม็ดขนุนที่เป็นเนื้อว่านนั้นเคยพบ แต่หน้าทองนั้นถูกลอกออกหมดแล้ว เอาเป็นว่าพระว่านหน้าเงินหน้าทองก็มี แต่คงหาพระแท้ๆ ยาก โดยส่วนใหญ่สังคมพระเครื่องให้ความสนใจเฉพาะพระเนื้อดินเผา ซึ่งก็หายากเช่นกัน

พระกำแพงซุ้มกอไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็หายากทั้งสิ้น และก็มีราคาสูงทุกพิมพ์ ยิ่งถ้าเป็นพระพิมพ์ใหญ่แล้วสวยๆ มูลค่ารับรองราคาหลักล้านครับ พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระปางสมาธิ รูปทรงกรอบภายนอกนั้นเขาตัดขอบโค้งตามซุ้ม มองดูคล้ายตัวอักษรกอไก่ จึงมีชื่อเรียกกันมาอย่างนั้นตั้งแต่สมัยโบราณ ส่วนจะแยกเป็นพิมพ์อะไร ใหญ่ กลาง ขนมเปี๊ยะ หรือไม่มีกระหนกก็ว่ากันไปตามรายละเอียดและขนาดเป็นหลักพิมพ์เล็กที่มีปีกเป็นขอบกลมๆ คล้ายรูปขนมเปี๊ยะก็เรียกกันว่าพิมพ์ขนมเปี๊ยะไปเลย

พระกำแพงซุ้มกอหรือไม่ว่าจะเป็นพระอะไรที่สร้างโดยแม่พิมพ์ก็ต้องพิจารณารายละเอียดของแม่พิมพ์ทั้งสิ้น เพราะเป็นพระเกิดขึ้นจากแม่พิมพ์ที่ว่าไม่ต้องไปดูพิมพ์นั้นก็เป็นการเข้าป่าเข้ารกพงเสียตั้งแต่เริ่มต้น หลักการของการพิจารณาพระเครื่อง(พระพิมพ์) นั้น เมื่อเข้าสร้างโดยใช้แม่พิมพ์กดขึ้นพิมพ์แล้วไม่ต้องจำหรือสนใจแม่พิมพ์ก็เพี้ยนตั้งแต่เริ่ม เพราะสิ่งแรกที่ต้องศึกษาและพิจารณานั่นก็คือแม่พิมพ์ พระหรือสิ่งของอะไรก็ได้ที่สร้างขึ้นจากแม่พิมพ์อันเดียวกันก็จะต้องมีรายละเอียดเหมือนกันหมด

การศึกษาเรื่องพระเครื่องนั้น แม่พิมพ์เป็นสิ่งแรกที่ต้องศึกษา ต่อมาก็ต้องศึกษาขบวนการผลิต ก็จะมีเนื้อวัสดุที่เขานำมาทำกรรมวิธีต่างๆของการผลิต เช่น พระเนื้อดินเผา ก็ต้องศึกษาให้รู้ว่า เขาเผาด้วยกรรมวิธีใด เผาไฟแก่ ไฟอ่อน ถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไร ก็ศึกษาดูซิว่า พระในกรุเดียวกันยุคเดียวกัน บริเวณใกล้ๆ กันเขามีเนื้อหาผิวพระคล้ายๆ กันหรือไม่ แล้วก็ศึกษาให้รู้ว่าการเผาไฟแบบต่างๆ นั้นจะให้ผลผลิตออกมาแบบใดบ้าง ธรรมชาติของการผลิตก็ต้องดูเช่น ด้านหน้าด้านหลังของขอบ จะปรากฏร่องรอยธรรมชาติให้เห็นว่าในสมัยนั้นๆเขาสร้างอย่างไรก็จะทิ้งร่องรอยให้เห็นสิ่งเหล่านี้ที่สำคัญทั้งสิ้นทั้งการศึกษาก็ต้องเคยเห็นพระแบบเดียวกันหลายๆ องค์ ก็จะเข้าใจ ได้ต่อมาก็เรื่องธรรมชาติความเก่า หมายถึง อายุของพระ ซึ่งก็มีการศึกษาไว้มากมายทั้งของทางกรมศิลปากรเองหรือที่อื่นๆ ดูซิว่าจะประมาณการสร้างอยู่ในยุคใด ประมาณปี พ.ศ.ที่สร้าง ก็จะรู้ถึงอายุของพระเครื่องนั้นๆ สภาพกายวิภาคของกรุที่พบพระ เช่นสภาพของกรุสมบูรณ์หรือผุพังแค่ไหน สภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นหน้าน้ำน้ำท่วมไหมหรืออยู่ในที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง

สิ่งเหล่านี้นำมาประมวลดูว่าความเสื่อมของวัสดุที่นำมาสร้างนั้นจะต้องเสื่อมโทรมตามธรรมชาติอย่างไร ถ้าจะพูดถึงบริเวณทุ่งเศรษฐีแล้ว สภาพภูมิประเทศในสมัยก่อนนั้นเป็นทุ่ง ซึ่งเมื่อเวลาหน้าน้ำหลาก น้ำก็จะท่วมไหลผ่านไปลงแม่น้ำปิง คนในสมัยก่อนเขาเรียกที่นาบริเวณนี้ว่านาน้ำลาด หมายถึงเวลาหน้าน้ำหลากมากๆ ก็จะถูกน้ำท่วมผ่านไป

พื้นดินบริเวณนี้ก็จะมีดินตะกอนทับถมกัน ดินก็จะค่อนข้างละเอียด ในสมัยโบราณที่จะสร้างพระสันนิษฐานว่าเขาก็เอาดินที่บริเวณใกล้ๆ วัดนั่นแหละมานวดกดพิมพ์พระ เรื่องธรรมชาติของดินบริเวณกรุนั้นถ้าศึกษาดูก็จะได้ความรู้อีกอย่างคือ ดินกรุที่จับอยู่ที่ผิวพระที่เรียกว่าดินกรุนั้นไปด้วย

ต่อมาก็จะเห็นว่า ทำไมพระกำแพงกรุบริเวณทุ่งเศรษฐีมักจะมีราดำจับอยู่ ก็อย่างที่บอกสภาพภูมิศาสตร์นั้นมีน้ำท่วมถึงในหน้าน้ำหลาก ภายในกรุก็มีความชื้นก่อให้เกิดเชื้อรา เมื่อถึงหน้าแล้ง ความร้อนและแห้งก็ทำให้ราแห้งตาย เป็นแบบนี้ทับถมกันมาตามกาลเวลา จึงปรากฏคราบดำๆ ที่เราเห็นอยู่บนผิวพระกรุทุ่งเศรษฐี ทุกอย่างมีเหตุผลจึงนำมาเป็นสิ่งพิจารณาความแท้-เก๊ ส่วนพระในจังหวัดเดียวกันที่อยู่ทางฝั่งตัวจังหวัด มักจะเป็นที่ดอน ผิวดินก็เป็นดินปนทรายคนละแบบกับฝั่งทุ่งเศรษฐี การศึกษาผิวและเนื้อพระดินเผาของทั้ง 2 ฝั่งก็จะต่างกัน แม้แต่พระเนื้อชินเงินของทั้ง 2 ฝั่ง ผิวของพระก็แตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศเช่นกัน แม้จะสร้างในยุคสมัยเดียวกันก็ตาม

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกระหนกนั้นก็ต้องศึกษาลวดลายของกระหนก เส้นสายต่างๆ ให้ดีจำให้ได้ กลีบบัวแต่ละกลีบ องค์พระซอกลึกตื้นต่างๆ จำให้แม่น เพราะพระที่เกิดจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกันย่อมต้องมีรายละเอียดที่เหมือนกัน มีมิติเหมือนกัน ผิดกันไม่ได้ถ้าผิดก็คือเก๊ ไม่ต้องไปดูเนื้อดูธรรมชาติความเก่าต่อไปให้เสียเวลา บางคนบอกว่าให้ศึกษาธรรมชาติความเก่าอย่างเดียวพอ ก็บอกได้เลยว่า การศึกษาธรรมชาติความเก่านั้นยากที่สุด การศึกษาเรื่องแม่พิมพ์นั้นง่ายที่สุด รองลงมาก็คือเนื้อวัสดุ ยากที่สุดคือธรรมชาติความเก่า ธรรมชาติความเก่า คือความเสื่อมสภาพตามอายุขัยและสภาพแวดล้อม ไม่ใช่พระที่สกปรกมีขี้ดินติด

เรื่องคราบราดำก็เช่นกัน คราบแท้หรือคราบเก๊ ของปลอมเขาก็ทำได้นะ แต่ถ้าศึกษาจนเข้าใจก็จะแยกได้หรือการที่จะสามารถแยกเก๊-แท้ได้นั้นก็ต้องใช้การศึกษาฝึกฝนจนชำนาญ ขอยกตัวอย่างเช่นไม่ใช่ศึกษาเนื้อพระดินเผา โดยศึกษาแต่เนื้ออย่างเดียวแล้วจะเป็น ดูพระเสียได้ทั้งหมด ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น พระแต่ละพิมพ์แต่ละอย่างก็ต้องศึกษาทีละอย่างจนเข้าใจ จึงจะเป็นผู้ที่แยกแท้-เก๊ได้ เขาจึงเรียกว่าผู้ชำนาญการเนื่องจากต้องใช้การฝึกฝนอย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นเป็นตอนจนเชี่ยวชาญเท่านั้น

บางคนแย้งว่าพระแต่ละอย่างสร้างตั้งเยอะตั้งแยะมีแม่พิมพ์ตัวเดียวจะทำได้อย่างไรผมเคยพูดเรื่องนี้มาแล้วว่าเขาทำอย่างไร ยังคงไม่พูดถึงอีกนะเจ็บคอ ลองไปศึกษาดู ตัวแม่พิมพ์พระที่กรมศิลปากรเขาขุดได้ในกรุต่างๆ จึงรู้และเข้าใจศึกษากันต่อมาว่าเขาทำแม่พิมพ์กันอย่างไรในสมัยโบราณ ว่าจะพูดแต่พระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็เลยไปเยอะ เนื่องจากเห็นว่ามีการพูดถึงการพิจารณาพระเครื่องไม่ต้องดูแม่พิมพ์ก็เลยพูดซะหน่อย ครับวันนี้ก็เอาเท่านี้ก่อนก็แล้วกันนะครับและผมก็ได้นำรูปพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกระหนกมาให้ชมครับ สังเกตรายละเอียดแม่พิมพ์และมิติดูนะครับ ถ้าไม่ใช่แบบนี้ ก็ไม่มีมูลค่ารองรับครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระรูปเหมือนหลวงพ่อแฉ่ง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องพระกริ่งกันอีกซักองค์ครับ คือพระกริ่งของหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี ซึ่งพระของท่านนั้นเป็นพระที่เข้มขลังพุทธคุณสูงมาก แต่สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนัก และยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนักครับ

วัดบางพังเป็นวัดเก่าแก่ โดยชาวบ้านสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เหตุที่ชื่อวัดบางพังก็เนื่องจากวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดบางพัง" ชื่อเป็นทางการชื่อว่า "วัดศรีรัตนาราม" เจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือหลวงพ่อแฉ่ง

หลวงพ่อแฉ่งเกิดที่ปากเกร็ด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2428 โยมบิดาชื่อสิน โยมมารดาชื่อขลิบ ตอนเด็กๆ ท่านเป็นคนที่มีลักษณะดีผิวพรรณงาม บิดาจึงตั้งชื่อว่า แฉ่ง ในปี พ.ศ.2443 บิดา-มารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสลักเหนือ 1 พรรษา ก็สึกออกมาช่วยบิดา-มารดาทำงานเป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว ท่านเป็นคนขยัน รักสงบไม่ค่อยสุงสิงกับใคร

ต่อมามีเหตุให้ท่านต้องไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วก็อุปสมบทที่วัดทางเหนือ หนีความวุ่นวายจากโลกภายนอก พอบวชแล้วท่านก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเรียนพุทธาคมจากพระอาจารย์อีกหลายองค์ จากนั้นท่านก็ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ในป่าเขาลำเนาไพรแถบภาคเหนือ ภาคอีสาน เลยเข้าไปถึงประเทศลาว เขมร พม่า ท่านธุดงค์นานถึง 15 ปี จึงย้อนกลับมาภูมิลำเนาเดิมที่บ้านวัดสลักเหนือ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางพัง ชาวบ้านในแถบนั้นจำท่านแทบไม่ได้

วัดบางพังขณะนั้นมีพระอธิการเจริญเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งอยู่ในวัยชรามาก บริหารงานภายในวัดไม่ไหว เสนาสนะต่างๆ ชำรุดมาก จึงเป็นภาระของหลวงพ่อแฉ่งรับภาระบูรณปฏิสังขรณ์อย่างแข็งขัน ร่วมกับชาวบ้านในแถบนั้น จนวัดเจริญขึ้น ด้วยชาวบ้านศรัทธาในตัวหลวงพ่อแฉ่ง ครั้นหลวงพ่อเจริญมรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้ออกหนังสือแต่งตั้งให้หลวงพ่อแฉ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน เป็นที่ยินดีของชาวบ้าน เนื่องจากท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเสมอมา วิชาอาคมต่างๆ ที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากการออกธุดงค์ ได้นำมาช่วยชาวบ้านที่ถูกของ ถูกคุณไสยต่างๆ ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณ ท่านก็มีความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง ช่วยรักษาโรคให้ชาวบ้านหายไปทุกราย น้ำมนต์ของท่านก็ขลังนัก ดื่ม อาบ พรม เป็นสิริมงคลรักษาโรคภัยได้

สำหรับวัตถุมงคลท่านก็ได้สร้างไว้มาก เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เชือกคาดเอว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ บาตรน้ำมนต์ ฯลฯ วัตถุมงคลของหลวงพ่อแฉ่งมีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีนมาแล้ว จนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก และในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงพ่อแฉ่งได้รับนิมนต์ให้ร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงพ่อแฉ่งมรณภาพในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2500 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

พระรูปเหมือนหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง รุ่นแรกสร้างราวปี พ.ศ.2490 เป็นพระสร้างแบบหล่อโบราณ ก้นอุดผงและสีผึ้งปัจจุบันหายาก จึงนำรูปมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



รูปหล่อเบ้าทุบ หลวงปู่แสง
พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตในวัย 108 ปี พรรษา 89

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบทที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

ต่อมากลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง

นอกจากจะเป็นผู้มีพุทธาคมที่เข้มขลัง ยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากัมมัฏฐานสายหลวงปู่เสาร์, หลวงปู่มั่น, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่แสง มีการจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจ

เนื่องจากมีอายุ 108 ปี คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "เอ้ พัทยา" มีโครงการหาปัจจัยเป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์หลวงปู่ จึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "รูปหล่อเบ้าทุบ รุ่นแรก สรงน้ำ 62" เพื่อหาปัจจัยสมทบเข้ากองทุน

วัตถุมงคลรุ่นนี้ พุทธศิลป์สวยงาม ออกแบบเป็นรูปหลวงปู่แสงนั่งท่ากัมมัฏฐานบนฐานภูเขา ที่ฐานด้านหน้าเขียนว่า หลวงปู่แสง

ด้านหลังมีตัวอักษรเขียนที่ฐานว่า สรงน้ำ ๖๒ ที่ใต้ก้นพระอุดด้วยวัตถุมงคลหลายอย่าง อาทิ จีวร ผ้าประคด อังสะ เกศา เล็บ ใบลานจารอักขระ พระหลวงปู่ทวด ปี 2506 วัดประสาทฯ ว่านยาและแผ่นทองคำหลวงปู่บุญหลาย เป็นต้น

จำนวนการสร้าง เนื้อทองคำ 11 องค์ เนื้อเงิน 199 องค์ เนื้อนวะ 399 องค์ เนื้อเทาหล่อดินไทย 199 องค์ เป็นต้น

ใช้กรรมวิธีหล่อแบบเบ้าทุบโบราณ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ คือ วันที่ 18 ก.พ. วันที่ 4 มี.ค. และวันที่ 12 เม.ย.2562 พระเกจิที่อธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่บุญหลาย จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่พรชัย จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่สี จ.มุกดาหาร เป็นต้น
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญมังกรฯ หลวงพ่อตี๋
พระครูอุทัยบวรกิจ หรือ หลวงพ่อตี๋ ปวโร เจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ต.ดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นศิษย์ของหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง พระเกจิดังต้นตำรับยันต์พลิกชะตาและยันต์โสฬสมงคล

ปัจจุบัน สิริอายุ 75 ปี พรรษา 39

มีนามเดิมว่า เหลียงเช็ง แซ่เซียว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ธ.ค.2487 ที่บ้านคลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

อายุ 15 ปี บรรพชาที่วัดสะพานสูง โดยมี เจ้าคุณกุหลาบ วัดสว่างอารมณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคมกับ หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นาน 5 พรรษา ก่อนลาสิกขาออกมาประกอบอาชีพ

ครั้นอายุ 36 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดท่าเกวียน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2523 มีเจ้าอธิการอำนวย อติเมโธ วัดท้องคุ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคมจากหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง อีกครั้ง เขียนอักขระขอม การลงยันต์นะ 16 พระองค์ และยันต์โสฬสมงคล จนมีความชำนาญ

พ.ศ.2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ต.ดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี และฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ เจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส พระเกจิดังเมืองอุทัยธานี

ด้านวัตถุมงคลหลวงพ่อตี๋ จัดสร้างเป็นครั้งคราว แต่ทุกรุ่นได้รับความนิยมจากสาธุชนทั่วไปยิ่ง ท่านเคยปรารภว่า "ของดีไม่ต้องโฆษณา ถ้าเขาศรัทธาก็มาหาเอง"

การสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่น ส่วนใหญ่ท่านใช้ยันต์ นะ 16 พระองค์ และยันต์โสฬสมงคล เป็นหลัก และที่สำคัญท่านเป็นเจ้าตำรับยันต์พลิกชะตา ที่ทำให้เหตุร้ายกลายเป็นดีได้อย่างน่าอัศจรรย์

พ.ศ.2560 หลวงพ่อตี๋ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ย้ายไปเป็นพระลูกวัด วัดดอนเนรมิต อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

และปี พ.ศ.2561 ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรคะนองฤทธิ์ รุ่นแรก" หารายได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุวัดดอนเนรมิต

ลักษณะเป็นเหรียญ หูห่วงตัน ด้านหน้ามีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูน หลวงพ่อตี๋ ครึ่งองค์ ด้านข้างทั้งสอง เป็นรูปมังกรคู่ เหนือศีรษะมีรูปนูน "กงจักร"

ส่วนด้านหลัง มีขอบรอบ ตรงกลางเป็น "ยันต์ นะ 16 พระองค์" หรือ "ยันต์ พลิกชะตา" เหนือยันต์มีอักษรไทย "มั่งมีศรีสุข" ใต้ยันต์มีอักษรไทย "พระครูอุทัยบวรกิจ (หลวงปู่ตี๋ ปวโร) วัดดอนเนรมิต จ.ชัยนาท ๒๕๖๑"

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก มีพระเกจิอาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน, หลวงพ่อจักษ์ วัดชุ้ง, หลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม, หลวงพ่อกำจัด วัดป่าสัก, หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ, หลวงพ่อชู วัดทัพชุมพล, พระอาจารย์เดี่ยว วัดอินทราราม และหลวงพ่อตี๋ วัดดอนเนรมิต
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของเมืองสมุทรสงคราม รูปหนึ่งคือหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีความเข้มขลังในด้านวิทยาคม ลูกศิษย์ของท่านที่เป็นพระเกจิอาจารย์ก็มีชื่อเสียงโด่งดังมากหลายรูป เช่น หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงปู่นาค วัดหัวหิน หลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิตย์ เป็นต้น

ประวัติของหลวงพ่อตาด ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นทางการแต่ก็มีการถ่ายทอดโดยการบอกเล่าต่อๆ กันมา ดังนั้นชีวประวัติของท่านจึงไม่ค่อยละเอียดมากนัก แต่ก็พอจะรวบรวมได้ดังนี้ หลวง อตาดเป็นชาวเบิกไพล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อุปสมบทเมื่ออายุได้ 20 ปี บริบูรณ์ ที่วัดบ้านเกิดของท่าน หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้เรียนพระธรรมวินัย ท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆ จนจบ แล้วก็ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระ และวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์จนกล้าแกร่ง จึงได้ออกธุดงค์ ได้ศึกษาวิชาต่างๆ กับพระอาจารย์ที่ท่านพบในป่ามากมาย ท่านธุดงค์อยู่หลายพรรษา จนมาถึงแม่น้ำแม่กลอง มุ่งเข้ามาทางแคล้วอ้อม มาหยุดพักจำพรรษาอยู่วัดบางวันทอง ในปีพ.ศ.2438 ซึ่งวัดบางวันทองเป็นสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร เนื่องจากเป็นวัดร้างรกรุงรัง เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ในสมัยนั้นยังไม่มีบ้านผู้คนมาอาศัยอยู่มากนัก ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดบางวันทองจนเจริญรุ่งเรืองกลับมาอีกครั้ง

เมื่อหลังจากออกพรรษาแล้วหลวงพ่อตาดก็จะออกธุดงค์อยู่เสมอ ได้ไปเจอสมุนไพรต่างๆ มากมาย ก็นำกลับมาไว้ที่วัด เพื่อทำเป็นยาแผนโบราณช่วยรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านและประชาชนโดยทั่วไป ที่มาให้ท่านรักษาโรคให้ ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆ มาหา ท่านก็ยินดีช่วยเหลือปัดเป่าให้คลายทุกข์ร้อนไปได้เสมอ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านและประชาชนทั่วไป ท่านได้เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้แก่ชาวบ้านมากมาย แม้ในจังหวัดใกล้เคียงก็ยังพาบุตรหลานมาบวชกับท่าน หลวงพ่อตาด มรณภาพในปี พ.ศ.2459 ด้วยโรคชรา คณะศิษย์และประชาชนจึงได้ปรึกษากันว่าจะตั้งศพของท่านไว้ที่กุฏิ เพื่อบำเพ็ญกุศลถวายจนครบ 1 ปี แล้วจะได้ถวายเพลิงท่าน

ศิษย์ผู้หนึ่งชื่อ นายพุก ได้ร่วมปรึกษากับศิษย์คนอื่นๆ พร้อมใจกันทำเหรียญรูปท่านเพื่อไว้เป็นที่ระลึก ในงานถวายเพลิงของท่าน โดยมีนายพุกเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ และบุตรช่วยกันสร้าง มีทั้งหมดประมาณ 1,200 เหรียญ มีสามชนิด เนื้อทองคำประมาณ 50 เหรียญ สำหรับผู้สั่งจอง เนื้อเงินประมาณ 200 เหรียญ นอกนั้นเป็นเหรียญเนื้อสัมฤทธิ์ทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จได้ให้พระเกจิอาจารย์ปลุกเสก ได้แก่ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อคง วัดศรัทธาราษฎร์ หลวงพ่อคง วัดแก้วเจริญ หลวงพ่อปลั่ง วัดเพลง หลวงพ่อตุย วัดปราโมทย์ เป็นต้น ปัจจุบันนับว่าเหรียญของท่านหาดูได้ยากครับ นับว่าเป็นเหรียญเก่าแก่เหรียญหนึ่งของแม่กลอง วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมครับ  
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระท่ามะปรางกำแพงเพชร
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระท่ามะปรางเป็นพระเครื่องที่มีสร้างอยู่หลายจังหวัด หลายวัด หลายกรุ และเป็นพระเครื่องแบบเดียว ที่มีการสร้างไว้มากมายหลายวัด หลายจังหวัด พิมพ์ของพระก็มีเอกลักษณ์ของแต่ละกรุ แต่ก็เป็นรูปแบบเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ประทับบนฐานกลีบบัวเล็บช้าง

พระท่ามะปรางตามที่เราเห็นนั้นของจังหวัดพิษณุโลกมีการพบก่อนกรุอื่นๆ และมีอยู่หลายวัด เช่น กรุวัดท่ามะปราง (เงี้ยวทิ้งปืน) กรุเจดีย์ยอดทอง กรุวัดสะตือ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กรุวัดอรัญญิก สุโขทัย พบที่กรุวัดเจดีย์สูง กรุวัดเขาพนมเพลิง สุพรรณบุรี พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และกรุวัดสำปะซิว ที่จังหวัดกำแพงเพชรพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย วัดกะโลทัย เป็นต้น มีการพบทั้งที่เป็นเนื้อชินเงิน และเนื้อดินเผา พระท่ามะปรางทุกกรุเป็นพระที่นิยมทั้งสิ้น บางกรุก็นิยมเนื้อดินเผามากกว่า บางกรุก็นิยมเนื้อชินเงินมากกว่า

พระท่ามะปรางค์ที่เราพบอยู่หลายจังหวัดและหลายกรุนั้น สันนิษฐานว่าในสมัยสุโขทัยพระพิมพ์นี้คงจะเป็นพระที่มีความนิยมมากจึงมีการสร้างบรรจุไว้หลายที่ หลายจังหวัด พระท่ามะปรางของจังหวัดกำแพงเพชรก็มีพบทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน แต่จะนิยมเนื้อชินเงินมากกว่า ศิลปะของพระท่ามะปรางจังหวัดกำแพงเพชรจะได้รับคำยกย่องว่างดงามมาก ในสมัยก่อนจะหวงแหนกันมาก เชื่อว่าพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาด

ปัจุบันพระท่ามะปรางของจังหวัดกำแพงเพชรหายากมาก ของปลอมก็มีกันมานานแล้วเช่นกัน เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาให้ดีๆ ต้องสังเกตรายระเอียดแม่พิมพ์ให้ดี เพราะพระปลอมยังทำรายระเอียดแม่พิมพ์ได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เรื่องเนื้อพระคราบสนิม และผิวของพระปลอมก็ยังมีพิรุธอยู่มาก เพียงศึกษาให้ดีและไม่ประมาทก็ยังจะพอจับได้อยู่ครับ

การพิจารณาพระเครื่องในปัจจุบันต้องละเอียดถี่ถ้วน เพราะคนที่ทำพระปลอมนั้นเขาก็พัฒนาฝีมือขึ้นเรื่อยๆ ละเลยสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย การพิจารณาพระเครื่องว่าใช่หรือไม่ใช่ สิ่งแรกที่ตาเห็นสัมผัสได้ก็คือพิมพ์นี่แหละครับ ถ้าข้อแรกไม่ผ่านก็ไม่ต้องไปดูอะไรให้เสียเวลาครับ ข้อต่อไปก็ต้องดูเนื้อวัสดุที่นำมาสร้างพระ เช่นเนื้อชินเงินกรุนั้นกรุนี้มีเอกลักษณ์อย่างไร ผิวพระเป็นอย่างไร คราบกรุรวมทั้งสนิม ด้านหลังเป็นอย่างไร ขอบเป็นอย่างไร ความเก่าถูกต้องหรือไม่ ทุกอย่างต้องถูกต้องทั้งหมด ถึงจะใช่ ละเลยไม่ได้เลยครับ คนที่ทำพระปลอมเขาก็พยายามทุกอย่างที่จะหลอกเราให้ได้ เพราะถ้าหลอกเราไม่ได้เขาก็ไม่ได้เงิน

ดังนั้นเขาก็พยายามให้ใกล้เคียงมากที่สุด แต่ทำอย่างไรก็ไม่เหมือนของแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ได้ครับ เพราะกรรมวิธีการสร้าง ธรรมชาติความเก่าและแม่พิมพ์ที่เขาทำใหม่หรือถอดพิมพ์ออกมายังไงก็เป็นของปลอมอยู่ดี ทำได้เพียงใกล้เคียง เราก็ต้องศึกษารายละเอียดให้ถูกต้องแม่นยำ จำให้ได้ เพราะหลักสำคัญข้อแรกก็คือพิมพ์ของพระ ของแท้พิสูจน์ไม่ยากแค่มีมูลค่ารองรับหรือไม่ ถ้าไม่มีมูลค่ารองรับก็คงตัดสินใจเอาเองนะครับ เลือกชื้อเอาตามความพอใจของเราเองเป็นสิทธิ์ของเรา แต่ก็ต้องยอมรับกติกาของสังคมด้วยนะครับ ปัจจุบันมักมีการสร้างนิทาน(story) ประกอบเป็นเรื่องเป็นราว ความจริงนิทานพวกนี้ก็มีมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว จะเล่นพระที่มีมูลค่ารองรับหรือเล่นพระที่ไม่มีมูลค่ารองรับชอบแบบไหนก็เลือกเอาครับ

วันนี้ผมนำรูปพระท่ามะปราง กำแพงเพชร เนื้อชินเงินแท้ๆ ที่มีมูลค่ารองรับ จากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กรกฎาคม 2562 10:51:29 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #114 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2562 10:58:47 »



เล่นพระคนละตำรา
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ความเชื่อความศรัทธานั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นสิทธิ์ส่วนตัวของบุคคลนั้นๆ ในหัวข้อเล่นพระคนละตำราที่ผมขึ้นหัวข้อไว้ก็จะกล่าวถึงความเชื่อว่าพระนั้นๆ แบบนี้เป็นพระแท้ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ซึ่งก็มีมานานแล้ว ซึ่งก็เป็นธรรมดาในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และต่างก็มีกลุ่มของตนเองบ้าง คิดเห็นอยู่คนเดียวบ้างก็ว่ากันไปซุบซิบนินทากันบ้างก็อยู่เงียบๆ เพียงกลุ่มของตน มาในยุคปัจจุบัน การสื่อสารไร้พรมแดน เรื่องซุบซิบก็ดังขึ้นมาหลากหลายความคิดเห็น แต่ถ้าเรื่องความเชื่อของแต่ละคนและตนยอมรับ และไม่โวยวายด่าว่าคนอื่นๆ หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

ในปัจจุบันเรื่องพระเครื่องที่มีมูลค่าสูงๆ เช่น พระยอดนิยมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระเบญจภาคี พระเนื้อชินยอดนิยม พระกริ่งยอดนิยม พระเหรียญคณาจารย์ยอดนิยม พระผงยอดนิยม พระเนื้อดินยอดนิยม พระรูปเหมือนยอดนิยม ฯลฯ พระต่างๆ เหล่านี้ต่างก็มีราคาสูงมีคนต้องการอยู่มาก และก็เป็นธรรมดาก็มีคนที่เล่นหาต่างตำรากัน มีความเชื่อในการพิจารณาต่างกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระชุดเบญจภาคีก็มีผู้ที่มีความคิดเห็นในการพิจารณาต่างกัน ยิ่งพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านได้สร้างไว้ก็มีความคิดเห็นต่างกันมากมาย บ้างก็อ้างตำราที่ตนเชื่อหรือค้นคว้าหามาได้ บ้างก็อ้างวิทยาศาสตร์หาค่าความเก่าของวัตถุที่ตนเองอ้างอิง บ้างก็ใช้น้ำยามาพิสูจน์ บ้างก็จับพลังนั่งทางใน ก็ว่ากันไปตามความเชื่อของตน จริงไม่จริงก็ว่ากันไปตามกลุ่มของตน ปัจจุบันมีการจับกลุ่มกันเป็นเรื่องเป็นราวเป็นชมรม ก็ว่ากันไม่ได้เพราะเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลที่จะเลือกเชื่อ

ทีนี้ในสังคมพระเครื่องนั้นก็มีกลุ่มของผู้ที่เล่นหาเชื่อกันต่อมาตามผู้หลักผู้ใหญ่ที่เล่นหากันมาแต่อดีต โดยมีมูลค่าราคารองรับมีตำราอ้างอิงของเขา ซึ่งกลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มใหญ่และเล่นหามีหลักเหมือนๆ กันมายาวนาน และมูลค่าก็สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพระสมเด็จที่เชื่อว่าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตสร้างไว้มีอยู่แค่ 3 วัด คือ วัดระฆังฯ วัดบางขุนพรหม วัดไชโยฯ มีรูปแบบของพิมพ์ตามที่กำหนด เนื้อหาตามที่กำหนด

ตามหลักฐานตำราบันทึกที่เขาเชื่อโดยบริสุทธิ์ว่าแบบนี้จริง พระตามรูปแบบนี้ก็มีมูลค่ารองรับ และก็มีหลงเหลืออยู่น้อย มูลค่าก็สูงขึ้นตามกาลเวลา ยิ่งปัจจุบันก็สูงมากๆ แม้มีเงินเช่าก็ไม่แน่ บางครั้งก็ยังหาที่ถูกต้องตามหลักของสังคมกลุ่มนี้ไม่ได้

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอื่นๆ อีกมากมายหลายกลุ่ม โดยส่วนใหญ่ก็จะมีตำราความเชื่อแตกต่างจากกลุ่มแรกที่เล่นมีมูลค่ารองรับ ก็แล้วแต่การค้นคว้าของแต่ละกลุ่ม บ้างก็เล่นหาพระสมเด็จพิมพ์แปลกๆ อ้างว่าเป็นพระพิมพ์พิเศษ บ้างก็มีสมเด็จฝังเพชรพลอย บ้างก็มีฝังก้างปลา โดยอ้างว่าเจ้าประคุณสมเด็จฉันอาหารแล้วเกิดรู้สึกอร่อย ก็จะคายทิ้ง เช่น ปลาก็คายเอาก้างปลามาฝังไว้ที่ด้านหลังพระสมเด็จ เป็นต้น ด้านหลังมีอักษรเขียนว่า ขรัวโตบ้าง อะไรต่างๆ เหล่านี้ แบบที่เป็นพระสมเด็จธรรมดาๆ แต่แบบพิมพ์แตกต่างจากกลุ่มที่เล่นหามีมูลค่ารองรับอีกก็มาก มีการทำหนังสือเป็นตำราเผยแพร่ก็มี ก็ว่ากันไปต่างๆ นานา แบบที่จับพลังนั่งทางในว่าแท้หรือไม่ มีพลังหรือไม่สร้างเมื่อไรก็มีอีก ก็ว่ากันไปตามความเชื่อของแต่ละบุคคลไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ทีนี้ก็มีบางกลุ่มที่เล่นหาตามตำราความเชื่อของตน นำพระสมเด็จหรือพระเครื่องของตนมาให้กลุ่มที่เล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับเช่าหา พูดง่ายๆ ก็คือนำมาขายนั่นแหละแล้วเขาไม่เช่าไว้ ก็เกิดความไม่พอใจ ก็ออกมาตำหนิว่ากล่าวต่างๆ ในสังคมโซเชี่ยล ว่าพระคนอื่นเก๊ทั้งหมด พระของพวกมันแท้

อ้าวก็เขาไม่เช่าหรือไม่ซื้อก็เป็นสิทธิ์ของเขา เงินของเขาจะว่ากันได้อย่างไร ก็เขาเชื่อและเล่นหาตามหลักของเขา ถ้าเชื่อว่าของเราดีแท้ก็เก็บไว้ก่อน หาคนเช่าต่อไปที่มีความเชื่อเหมือนๆ กันก็หมดเรื่อง แต่ก็นั่นแหละครับในสนามพระหรือศูนย์พระก็เหมือนแหล่งเงินสด ถ้ามีพระแท้ยอดนิยมก็สามารถแลกเงินสดได้เลยทันทีที่ตกลงราคากันได้

คำว่า"เก๊"นี่มันก็แสลงใจนัก มันบาดลึกเข้าไปในหัวใจเสียจริง พระของปู่ พระของพ่อ จะเอามาขายแลกเงินกลับกลายเป็นไม่แท้ ผิดหวังที่จะได้เงิน บางครั้งก็ด่าคนที่จะเอาไปขายให้ว่า"เกิดทันหรือ จึงรู้ว่าแท้ไม่แท้" เศร้าครับ ในสมัยก่อนมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่สอนผมดูพระ บอกว่าให้ใช้คำว่า "ไม่ใช่"แทนคำว่า "เก๊" เออก็พอได้ค่อยผ่อนคลายความรู้สึกหน่อย ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ตามความเชื่อของเราว่าถูกต้อง

แต่ก็นั่นแหละครับ ก็ยังไม่พอใจอยู่ดีเพราะต้องการที่จะขายให้เราซื้อไว้ ถ้าไม่ซื้อก็ไม่พอใจอยู่ดี การศึกษาเรื่องพระเครื่องนั้นก็มีหลากหลายตำรา จะเลือกหาตำราใดก็สุดแต่ความเชื่อเถอะครับ แต่จะบังคับให้คนอื่นเชื่อตามนั้นคงไม่ถูกต้องนัก ส่วนผมเลือกที่จะเชื่อแบบที่มีมูลค่ารองรับตามมาตรฐานของสังคมผู้นิยมพระเครื่อง สิ่งที่ทำให้ผมเชื่อก็เนื่องจากได้พิสูจน์ด้วยตัวเองว่า ถ้าเล่นหาตามนี้วันไหนที่อยากจะใช้เงินแล้วนำพระไปขายก็ยังได้เงินจากเซียน แถมเผลอๆ ก็ยังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย ไม่ใช่แบบแท้อยู่คนเดียวหรือกลุ่มเดียว พอจะขายก็ไม่มีใครซื้อแม้จะเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันเชื่อเหมือนกัน ตำราเดียวกันก็ตาม ตอนแรกก็ดูว่าแท้ใช่ แต่พอจะขายให้ก็อ้างโน่นอ้างนี่ ยังไม่มีเงินบ้างไรบ้างก็ว่ากันไป พูดมาซะเยอะก็นึกเสียว่าคุยกันไปเรื่อยๆ ก็แล้วกันนะครับ

วันนี้ขอนำรูป พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูมแท้ตามมาตรฐานมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ พระแบบนี้ถ้ามีแล้วจะขาย ก็รับเงินสดไปเลยครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหมานเงินหมานทอง
"พระครูอุดมรังสี" หรือ "หลวงปู่แสง จันทวังโส" แห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 87

มีนามเดิมว่า แสงวงศ์ วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ในวัยเยาว์ใช้ชีวิตตามประสาเด็กชนบททั่วไป ขณะอายุ 7 ขวบ บวชเป็นสามเณรหน้าไฟ อุทิศส่วนกุศลให้ตา ที่วัดศรีสำราญจิต บ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม มีพระอินทร์ เจ้าอาวาสวัดศรีสำราญจิต เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเจ้าอาวาสรูปนี้ ท่านไม่ยอมให้สึก

กระทั่งอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์

มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ อีกทั้งยังได้เล่าเรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม

อยู่รับใช้อุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์เป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ไปที่ จ.ขอนแก่น จ.ร้อยเอ็ด แล้ววกมาที่ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี นานกว่า 7 เดือน

หลังกลับจากธุดงค์สู่มาตุภูมิ จำพรรษาที่วัดบ้านเกิด ในช่วงที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ชุกชุม

แม้อายุล่วงเลยมากว่า 107 ปี แต่สายตาท่านยังดี ปล่อยวางไม่ยึดติดกับวัตถุใดๆ และไม่แสวงความสุขสบาย

วัตถุมงคล จัดสร้าง 6-7 รุ่น อาทิ พระปิดตา รุ่นแรก, พระขุนแผนแสนสะท้าน รุ่นแรก และเหรียญเสมา รุ่นมหาสมปรารถนา ฯลฯ

ล่าสุด คณะศิษย์สายสกลนคร นำโดย นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ, ป้อม สกลนคร, หนุ่มเสก สกลนคร, สุชานนท์ ศิริพงศ์สิน และ ชาติ สกลนคร ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญ "รุ่นหมานเงินหมานทอง" เพื่อนำ รายได้สมทบกองทุนหลวงปู่แสง และสมทบทุนปรับปรุงห้องน้ำวัดโพธิ์ชัยเพื่อเป็นสาธารณสมบัติสืบต่อไป ซึ่งคำว่า "หมาน" เป็นภาษาอีสาน หมายถึง โชคดี, รวย

รูปแบบเหรียญขวัญถุง พิมพ์กลม มี 3 บล็อก คือ บล็อก A ประคำ 19 เม็ด หูขีด (บล็อกทองคำ) มีประมาณ 1,999 องค์ บล็อก B ประคำ 19 เม็ด บล็อก C ไม่มีประคำ มีประมาณ 1,999 องค์

จัดสร้างหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ, เนื้อเงินลงยาราชาวดีเนื้อ 3K เนื้อสัตโลหะ, เนื้อปลอกลูกปืน, เนื้อนวะลงยาเสือสมิง, เนื้อทองแดงผิวรุ้ง ฯลฯ

ลักษณะเป็นเหรียญกลม มีหูห่วงตัน ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่แสงครึ่งองค์ หันหน้าตรง ด้านล่างเขียนคำว่า "หลวงปู่แสง"

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปถุงเงิน ตรงกลางถุงเป็นรูปมังกร ขอบเหรียญด้านบน เขียนคำว่า "หมานเงินหมานทอง โคตรเศรษฐี" ขอบเหรียญด้านล่าง เขียนคำว่า "วัดโพธิ์ชัย จังหวัดนครพนม พ.ศ.๒๕๖๒"

ทุกเหรียญมีเลขและตอกโค้ดกำกับชัดเจน
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



พระสมเด็จญาครูท่านอ่อนสี
"หลวงปู่อัญญาถ่านอ่อนสี" หรือ "ญาครูท่านอ่อนสี" วัดบ้านด่าน เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พระสงฆ์วัตรปฏิบัติดี อยู่ในศรัทธาของพุทธศาสนิกชน 2 ฝั่งลำน้ำโขงมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันสิริอายุ 116 ปี พรรษา 95

นามเดิม นายอ่อนสี แก้วพิทัก เกิดเมื่อปี พ.ศ.2446 ชาติภูมิท่านเป็นคนไทย เกิดที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อสมัยยังเด็กครอบครัวย้ายข้ามไปอยู่เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดในเมืองไชพูทอง พ.ศ.2466 ไปจำพรรษาอยู่วัดบ้านด่าน ศึกษาพระธรรมวินัยรวม ทั้งร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัด ซึ่งท่านสืบสายธรรมจากจากสายสมเด็จลุนแห่งเมืองนครจำปาสัก จนแตกฉาน

นอกจากมีวิทยาคมที่เข้มขลัง ยังเป็นพระนักพัฒนามีวัดหลายแห่งทั้งใน สปป.ลาวและในฝั่งประเทศไทย

ขณะนี้ วัดบ้านขอนแก่น มีโครงการก่อสร้าง "พระมหาเจดีศรีแก่นนคร" แต่ยังคงขาดแคลนปัจจัยเป็นจำนวนมาก คณะญาติโยมชาวบ้านขอนแก่น และคณะศิษย์ นำโดย "แจ๊ค บารมีหลวงปู่จาม" หรือ นายอนุสรณ์ คนเพียร ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล "พระสมเด็จแก้วผิว มหาเศรษฐี รุ่นแรก" สมทบทุนก่อสร้าง

ลักษณะเป็นพระเนื้อผงรูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางนั่งสมาธิอยู่ในซุ้มครอบแก้ว

ด้านหลังมีตัวอักษรนูนข้อความว่า รุ่นแรก ญาคูถ่านอ่อนสี ๑๑๖ ปี พร้อมอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน

จำนวนการสร้าง ประกอบด้วย 1.เนื้อดำนำฤกษ์.สร้าง 116 องค์ 2.เนื้อผงลายเสือสร้าง 1,000 องค์ และ 3.เนื้อขาวน้ำตาลรวมสร้าง 10,000 องค์

มวลสารที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ อาทิ เกศาหลวงปู่อ่อนสี, เกศาหลวงปู่สอ, เกศาหลวงปู่ข้าวแห้ง, เกศาหลวงปู่สรวง, เกศาหลวงปู่หมุน เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดบ้านขอนแก่น เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2562 ที่ผ่านมา พระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย หลวงปู่อัญญาถ่านอ่อนสี, หลวงปู่สี อภิรโส, หลวงปู่ขาน อินทปัญโญ และหลวงปูเส็ง
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาพิชัย
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาพิชัยเป็นพระปิดตารุ่นเก่าที่สันนิษฐานกันว่าเป็นพระที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประวัติความเป็นมาก็ยังไม่มีหลักฐานบันทึกหรือการพบที่กรุพระเจดีย์ของวัดใด เนื่องจากพบกระจัดกระจายพร้อมกับพระกริ่งคลองตะเคียน บริเวณโคนดินตามทุ่งนาแถวคลองตะเคียน และบริเวณที่พบนั้นก็ยังพบเศษอิฐเก่าปะปนในบริเวณนั้นด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดเก่าเล็กๆ ที่เสื่อมสภาพลง ภายหลังจากการเสียกรุงครั้งที่สอง พระทั้งสองแบบนี้มีเนื้อหาและลักษณะการจารที่องค์พระแบบเดียวกัน จึงทำให้สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้างน่าจะเป็นคนเดียวกันและสร้างในคราวเดียวกัน

ก็มีคำถามอยู่เรื่องหนึ่งว่าทำไมจึงตั้งชื่อพระปิดตาแบบนี้ว่าพระปิดตาพิชัย ทำไมไม่ตั้งชื่อว่าพระปิดตาคลองตะเคียน หรือพระยาพิชัยดาบหักมีส่วนในการสร้างพระไว้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบกับพม่า แต่พระกริ่งคลองตะเคียนทำไมไม่ตั้งชื่อว่าพระกริ่งพิชัยด้วยเล่า เรื่องนี้ก็คงต้องค้นคว้าศึกษาต่อไปนะครับ

เราลองมาดูประวัติของพระยาพิชัยดาบหักโดยย่อกันสักหน่อยนะครับ ท่านเป็นชาวพิชัยโดยกำเนิด ซึ่งท่านได้รับราชการ กู้ชาติ สร้างวีรกรรมอย่างห้าวหาญในการกอบกู้อิสรภาพฐานะทหารเอกคู่พระทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี จนมีความดีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองพิชัย

ครั้นถึงปี พ.ศ.2314 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพิ่งเสด็จศึกทางด้านเขมรลงมาใหม่ๆ กองทัพพม่าที่ตั้งอยู่เชียงใหม่ได้รุกดินแดนทางเหนือลงมาอีกครั้ง จนถึงกับต้องล้อมเมืองพิชัยเอาไว้ (เมืองพิชัยคือเมืองอุตรดิตถ์ปัจจุบัน) พระยาพิชัยได้จัดการป้องกันเมืองอย่างเต็มความสามารถ และเจ้าพระยาสุรสีห์ ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ได้ยกกองทัพขึ้นไปช่วยการรบในครั้งนั้น ไทยกับพม่าได้ต่อสู้โรมรันกันถึงขั้นตะลุมบอน กองทัพพม่ามิอาจจะทนทานได้ก็แตกทัพกลับไป พระยาพิชัยได้รบอย่างสุดกำลังด้วยดาบสองมือ ได้ห้ำหันบั่นคอข้าศึกเสียเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งดาบในมือขวาถึงกับหักสะบั้น จึงได้รับสมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" เป็นเกียรติประวัติสืบมา ด้วยคุณความดีและวีรกรรมของท่านชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงพร้อมใจกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัย ดาบหักขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้จดจำสืบต่อไป และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2513

จะเป็นด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณของท่าน ซึ่งเป็นนักรบที่กล้าหาญกรำศึกมาอย่างโชกโชน มีน้ำใจเด็ดเดี่ยว ซึ่งการรบพุ่งในสมัยนั้นถึงขั้นประชิดตัวดวลกันด้วยดาบเข้าทำนองมึงทีกูที ในสมัยก่อนเมื่อทำการศึกก็ต้องรบประชิดติดตัวกัน จะอาศัยกำลังฝีมือแต่ประการเดียวเห็นทีจะเอาตัวรอดยาก เข้าทำนองสาดน้ำรดกันย่อมจะต้องเปียกมากหรือเปียกน้อยด้วยกันทั้งคู่ แต่ท่านพระยาพิชัยท่านก็ปลอดภัยมาโดยตลอด นอกจากท่านจะมีฝีมือเพลงดาบแล้วท่านก็ยังมีวิชาดีหนังเหนียวเป็นเยี่ยมเช่นกัน แต่ท่านจะอยู่คงด้วยคาถาหรือเครื่องรางอันใดนั้นคงไม่ทราบ

มีพระเครื่องปิดตาของอยุธยาแบบหนึ่ง ที่คนรุ่นเก่าๆ ต่างขนานนามว่า "พระปิดตาพิชัย" สันนิษฐานว่าเมื่อมีผู้พบพระเครื่องชนิดนี้ และมีประสบการณ์ทางด้านอยู่คงอย่างมากจนเป็นที่ประจักษ์ กล่าวขวัญเล่าลือกันไปทั่ว จนถึงกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ ท่านยังกล่าวว่า ท่านเองก็ยังเห็นกับตา และยกย่องพระกริ่งคลองตะเคียนและพระปิดตาพิชัยว่าเชื่อถือได้จริง ด้วยสาเหตุนี้กระมังคนโบราณจึงนำชื่อพระยาพิชัยมาเป็นเกียรติในการตั้งชื่อพระเครื่องชนิดนี้ว่า "พระปิดตาพิชัย"

พระปิดตาพิชัยนั้นเนื้อหาและองค์พระมีการจารลงอักขระเลขยันต์แบบเดียวกับพระกริ่งคลองตะเคียน และมีการพบอยู่ในบริเวณเดียวกัน ผมเคยสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ของอยุธยา ซึ่งในตอนนั้นท่านยังมีชีวิตอยู่และท่านก็เป็นคนพื้นที่แถบคลองตะเคียน ได้บอกว่าพระกริ่งคลองตะเคียนพร้อมกับพระปิดตาพิชัยถูกพบแถวโคกดินเล็กๆ และมีเศษอิฐกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ สันนิษฐานว่าโคกดินแห่งนี้คงเป็นวัดเล็กๆ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา และถูกทำลายเสื่อมสภาพลงกลายเป็นวัดร้างหลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 พระกริ่งคลองตะเคียนและพระปิดตาพิชัยประวัติความเป็นมาถึง ผู้สร้างยังไม่ชัดเจนนัก และชื่อของวัดคือวัดอะไรก็ยังไม่ปรากฏ จึงมักจะเรียกพระที่เป็นพระกริ่งเนื้อดินเผาเป็นพระกริ่งคลองตะเคียนตามสถานที่ที่พบพระ และพระปิดตาก็เรียกกันว่าพระปิดตาพิชัย ตามที่เรียกหากันในปัจจุบัน แต่ประสบการณ์ที่ประจักษ์นั้นแน่นอนนัก เป็นที่ยอมรับกันทั่วหน้าครับว่าเด่นทางอยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ พระปิดตาพิชัยมีทั้งที่เป็นแบบหน้าเดียว สองหน้า สามหน้า และสี่หน้าครับ สีโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นสีดำ ที่เป็นสีเขียวมอย และสีออกน้ำตาลแดงก็มีบ้าง แต่พบน้อยครับ

พระปิดตาพิชัยในปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ แต่พระแท้ๆ ก็หาไม่ง่ายนัก วันนี้ผมก็เลยนำรูปพระปิดตาพิชัยมาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



 เหรียญคุ้มบารมี 6 แผ่นดิน หลวงปู่สอ วัดโพธิ์ศรี
หลวงปู่สอ ขันติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี บ้านบะหว้า หมู่ 10 ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ยังดำรงชีวิตยืนยาว 114 ปี ครองสมณเพศอยู่คู่ 6 แผ่นดิน

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเกจิชื่อดังวิทยาคมเข้มขลัง ผู้นำในการสร้างพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน ในฝั่งลาว

ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ แม้อายุจะล่วงมาถึง 114 ปีแล้ว แต่สายตายังมองเห็นชัด หูได้ยินปกติ ฉันเนื้อปลา และกล้วยวันละ 1 ลูก

ในปีพ.ศ.2561 ลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาใน อ.โพนสวรรค์ "เทพ ประทาน" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหลวงปู่สอ รุ่นคุ้มบารมี 6 แผ่นดิน เพื่อสมทบทุนรักษาหลวงปู่ในยามอาพาธ โดยการถวายเงิน 2.2 แสนบาทเข้ากองทุนดังกล่าว

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 2 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำ 29 เหรียญ, เนื้อเงิน 113 เหรียญ, เนื้อนวะ 113 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า 311 เหรียญ, เนื้อ 3 กษัตริย์ 999 เหรียญ, เนื้อทองแดงลงยาสีแดง สีฟ้า ทองแดงซาติน ชนิดละ 333 เหรียญ, เนื้อทองแดงมันปู 2,561 เหรียญ

นอกจากนี้ ยังมีชุดของขวัญรับพระ 3 เหรียญ มีเนื้อทองแดงฝาบาตรลงยาแดง ฟ้า และน้ำเงิน รวม 200 เหรียญ เนื้อสัตตะลงยา แจกศูนย์จอง กรรมการ และผู้ร่วมงานรวม 1,300 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่หูเชื่อม รอบขอบเหรียญตามรูปทรงวงรีมีเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ บริเวณอังสะมีเลข ๖ ไทยสลักไว้ มีความหมาย คือ 6 แผ่นดิน ด้านล่างเหรียญเขียนคำว่า หลวงปู่สอ ขันติโก

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมเขียนคำว่า คุ้มบารมี 6 แผ่นดิน ปิดหัวท้ายด้วยดอกจัน ถัดลงมาเป็นยันต์พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ซึ่งเป็นยันต์หัวใจพระพุทธเจ้า ใต้ยันต์ดังกล่าวมีอักขระยันต์เรียกทรัพย์กำกับไว้ บรรทัดที่ 4 สลักคำว่า อายุ 113 ปี บรรทัดสุดท้ายเขียนคำว่า วัดโพธิ์ศรี จังหวัดนครพนม

หลวงปู่สอเป็นประธานและนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2561

เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่นำเหรียญเนื้อชุดทองคำรวม 3 เหรียญ ไปบรรจุไว้ภายในองค์พระธาตุพนม ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์

เพื่อขอบารมีปกป้องคุ้มครองผู้ที่มีสะสมไว้และคล้องติดตัว
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญพระแก้ววัดเหนือ
"วัดมหาชัย" เดิมชาวมหาสารคาม เรียกว่า "วัดเหนือ" เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ทางทิศเหนือน้ำ โดยถือเอาทางน้ำไหลเป็นเครื่องหมาย นับเป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญที่สุดวัดหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม สร้างโดยพระเจริญราชเดช หรือท้าวมหาชัย (กวด) ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ.2409

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2473 จนถึงปี พ.ศ.2482 ทางรัฐบาลออกรัฐนิยมให้เปลี่ยนชื่อวัดทุกวัดในประเทศไทย วัดเหนือ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดมหาชัย ตามชื่อพระเจริญราชเดช หรือท้าวมหาชัย

ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2527

วัดมหาชัย จึงเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ด้วยภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่รวบรวมโบราณวัตถุ และเอกสารโบราณ เช่น คัมภีร์ใบลาน จารึกอักษรธรรม อักษรลาว อักษรไทยใหญ่ ไทยน้อย อักษรขอม มีเก็บรักษาไว้ที่แห่งนี้นับ 10 ตู้

เมื่อครั้งที่ พระสารคามมุนี (สาร พุทธสโร) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ได้ปกครองวัดมหาชัย ในปี พ.ศ.2471 ได้ร่วมกับพุทธศาสนิกชน จัดสร้างอุโบสถ แต่ภายในอุโบสถยังขาดพระประธาน

ต่อมาในปี พ.ศ.2473 จัดสร้างพระประธาน พร้อมด้วยพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร ครั้งนี้ต้องใช้ทุนทรัพย์พอสมควร จึงได้จัดสร้างเหรียญพระพุทธ เพื่อมอบเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมก่อสร้างพระประธานในครั้งนี้

พระสารคามมุนีเดินทางด้วยตัวเองลงไปจ้างโรงงานที่กรุงเทพฯ เป็นผู้ออกแบบเหรียญ มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ห่วงเชื่อม จำนวนการจัดสร้าง 500 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ ยกขอบ 2 ชั้น ตรงกลางเหรียญเป็นรูปพระพุทธนั่งสมาธิทรงเครื่อง พุทธศิลป์คล้ายจำลองจากพระแก้วมรกตวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประทับนั่งบนบัลลังก์กลีบบัว

ด้านหลังเหรียญ ยกขอบมีตัวอักษรเขียนไว้รวม 5 แถว ว่า "ที่ระฎกในงานสร้างพระประธานวัดเหนือจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.๒๔๗๓"

เหรียญรุ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นเหรียญกะไหล่เงิน มีกะไหล่ทองบ้าง แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด และเนื่องจากการผสมโลหะไม่ได้สัดส่วน ทำให้เหรียญที่ปั๊มออกมาส่วนใหญ่มีรอยร้าวรอยราน

สำหรับพิธีพุทธาภิเษก วัดมหาชัยได้ประกอบพิธียิ่งใหญ่ มีพระเกจิคณาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรก ล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในพื้นที่มหาสารคาม และภาคอีสาน เช่น หลวงปู่รอด จ.อุบลราชธานี, หลวงปู่อ้วน ติสโร, หลวงปู่โม่ง วัดโพธิ์ศรี, หลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก เป็นต้น

วัดมหาชัยได้มอบเป็นที่ระลึกญาติโยมที่ร่วมทำบุญไปจำนวนหนึ่ง เนื่องจากพุทธศิลป์คล้ายจำลองมาจากพระแก้วมรกตเหรียญนี้จึงถูกเรียกชื่อว่า"เหรียญพระแก้ววัดมหาชัย"

เหรียญดังกล่าวจัดอยู่ในทำเนียบเหรียญที่หายากของเมืองมหาสารคาม แต่การเช่าหาควรใช้วิจารณญาณพิจารณาให้ถี่ถ้วน ด้วยมีเหรียญปลอมระบาดออกมาจำนวนมาก สิ่งที่น่าสังเกต คือ เหรียญแท้ ผิวเหรียญจะพรุน มีรอยร้าว สีผิวเหรียญเป็นสีเงินหม่น

หากเป็นเหรียญที่ผิวตึงและเนื้อทองแดง ของเก๊แน่นอน
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์



เก็บพระอะไรดีมีบวก
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีเพื่อนๆ ผู้นิยมพระเครื่องสอบถามว่า ช่วงเศรษฐกิจไม่ค่อยดีระยะนี้ ถ้าจะเก็บพระเครื่องจะเก็บพระอะไรดี ครับผู้นิยมพระเครื่องส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกเก็บพระที่ตัวเองชอบและศรัทธาและก็เป็นความจริงอยู่เองที่มักจะคิดถึงมูลค่าเพิ่มไปด้วย ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับความนิยมในสังคมพระเครื่อง

ในช่วงนี้ก็ต้องยอมรับว่าภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ก็มีบางท่านที่ยังพอมีกำลังที่จะเช่าหาพระเครื่องเก็บไว้ จะด้วยความศรัทธาหรืออะไรก็ตาม ส่วนใหญ่ก็มักจะคิดถึงเรื่องค่านิยมในพระเครื่องนั้นๆ ในอนาคตด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของปัจจุบัน สภาพการตลาดซื้อ-ขายพระเครื่องในช่วงนี้ก็ซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจ มูลค่าของพระเครื่องถ้าเปรียบเทียบกับในช่วงปี พ.ศ.2556 โดยทั่วไปมูลค่าจะลดลงมาอยู่พอสมควร เฉลี่ยน่าจะประมาณ 30-40% ประเภทพระกรุต่างๆ ช่วงนี้ก็แทบจะไม่ค่อยมีคนถามหากันเลย ส่วนพระเกจิอาจารย์ยุคกลางๆ ก็ยังพอไปได้ พระที่ติดลมบนไม่เปลี่ยนแปลงก็คือพระชุดเบญจภาคี พระเหรียญยอดนิยม พระกริ่งยอดนิยม พระรูปเหมือนยอดนิยม พระปิดตายอดนิยม ก็คือพระยอดนิยมทั้งหมดระดับหนึ่งในห้าอันดับราคาก็ยังไม่ตก

ส่วนพระเกจิอาจารย์ยุคกลางๆ ที่น่าสนใจ และเป็นพระที่น่าเก็บเวลานี้ในส่วนตัวผมว่าน่าเก็บพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ที่ปลุกเสกทันพระอาจารย์ทิม พระหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี โดยเฉพาะประเภทพระปิดตาเนื้อผงของท่านทุกรุ่น และพระหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ทุกรุ่น ช่วงนี้น่าเก็บเนื่องจากราคาพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นที่ทันพระอาจารย์ทิม ราคาลดลงจากช่วงปี พ.ศ.2556 ลงมาประมาณ 30-40% และพระของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ก็ลงมาประมาณ 30% ส่วนพระหลวงปู่โต๊ะราคาไม่ลดลง ในพระปิดตาหลวงปู่โต๊ะรุ่นรองๆ เช่น พระปิดตายันต์ดวงเล็ก พระปิดตามหาเสน่ห์ พระปิดตาหลังเต่า พระปิดตาปลดนี้เนื้อผงใบลานและอื่นๆ แนวโน้มราคาจะสูงขึ้น

พระเครื่องที่ผมบอกมา 3 วัด ถ้าคิดที่จะเก็บช่วงนี้ก็น่าจะเก็บ เพราะสนนราคาก็ยังคงตัวอยู่ประมาณนี้ และแนวโน้มระยะยาว สักอีก 3-4 ปี ราคาน่าจะสูงขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ทั้ง 3 หลวงปู่ก็เป็นพระที่มีผู้ศรัทธามากทั่วประเทศ พระเครื่องของท่านมีประสบการณ์มาก ถ้าปัญหาเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นสนนราคาก็น่าจะเริ่มดีดตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอน ที่ผมพูดเช่นนี้ก็เหมือนกับพุทธพาณิชย์ ก็ต้องยอมรับว่าประมาณนั้นครับ ซึ่งเป็นความจริงในปัจจุบันว่านอกจากความศรัทธาแล้ว ผู้ที่นิยมพระเครื่องส่วนใหญ่ก็จะคิดถึงมูลค่าเพิ่มไปด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เพื่อการค้า แต่ก็ต้องยอมรับว่า ถ้าจะหาพระเครื่องมาบูชาก็ต้องใช้เงินเช่าหามาแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเช่าหามาจากวัดเลยก็ตาม ดังนั้นถ้าเราจะหาพระเครื่องที่เราชอบและศรัทธา ถ้าเป็นพระเครื่องที่ออกจากวัดมานานแล้วก็ต้องไปเช่าหาจากเซียนพระทั้งสิ้น และก็แน่นอนว่าก็ต้องใช้เงินแลกมาทั้งนั้น ความจริงอย่างหนึ่งก็คือ พระเครื่องแท้ๆ นั้นย่อมมีราคารองรับอยู่ด้วย

ถ้าเราเก็บพระหรือเช่าหาพระเครื่องมาเก็บ หรือบูชาห้อยคอไว้ เมื่อวันเวลาผ่านไปนานเข้าหลายๆ ปีหรือเป็นสิบปี ก็ย่อมมีมูลค่าเพิ่ม และเป็นมรดกให้ลูกหลานต่อไป ซึ่งก็มีมูลค่ารองรับอยู่ถ้าคิดจะขายออกเมื่อมีเหตุผลจำเป็นในเวลานั้นๆ หรือบางท่านก็คิดจะเก็บไว้เหมือนกับเงินฝากประเภทหนึ่ง ก็จะคิดถึงมูลค่าเพิ่มด้วยกัน ทั้งนั้น และเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงไม่ต้องไปดัดจริตว่าเป็นพุทธพาณิชย์อะไรหรอก ความจริงก็คือความจริง เมื่อมีมูลค่ารองรับอยู่แล้ว

ผมมีเพื่อนและคนรู้จักอยู่หลายคนที่ชื่นชอบและเก็บพระหลักๆ อยู่พอสมควร แต่บางคนมีภรรยานับถือศาสนาที่ต่างกัน ลูกๆ ก็นับถือศาสนาตามแม่ของเขา พออายุมากขึ้นจะมอบพระเครื่องที่เก็บสะสมไว้ให้ลูกๆ ก็ไม่มีใครเอาเนื่องจากเขานับถือคนละศาสนา ก็มีมาปรึกษาและออกพระเครื่องเหล่านั้นไป ผลก็คือพระที่เขาเก็บไว้หลายปีนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากเสียอีก บางคนลูกๆ ก็ไม่นิยมพระเครื่องอะไรนัก ก็นำพระที่สะสมไว้หลายสิบปีมาออกให้เช่า เพื่อนำเงินไปให้ลูกแทน ก็ได้มูลค่าเพิ่มมากเช่นกัน เป็นเรื่องจริงที่ผมได้รู้เห็นมา

บางคนชีวิตพลิกผันธุรกิจไม่ดี หรือมีเหตุจำเป็นบางประการ ก็นำพระที่เก็บสะสมไว้มาออกให้เช่าก็ได้มูลค่าช่วยให้บรรเทาเบาลงได้ บางคนพอแก่ตัวก็นำพระเครื่องที่สะสมไว้มาออกให้เช่าบูชายังพอมีเงินใช้สอยได้เมื่อยามแก่เฒ่าไม่ต้องไปรบกวนใคร ดีกว่าเอาเงินไปเล่นการพนันเที่ยวเตร่ตามสถานบันเทิงหมดเปลืองไปโดยใช่เหตุ

ครับถ้าเราเก็บพระเครื่องที่ถูกต้องไว้ อย่างไรก็ตามก็มีมูลค่ารองรับอยู่ดี จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและค่าความนิยมในเวลานั้น ไม่สูญเปล่าแน่นอน ผู้ที่ชอบสะสมพระเครื่องก็ได้ทั้งความสุขใจ ได้รับความสบายใจที่มีคุณพระคุ้มครอง และยังมีมูลค่ารองรับ ถ้าเก็บพระที่ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมที่มีมูลค่ารองรับ ขออย่างเดียวอย่าไปหลงทางเก็บพระที่ไม่มีมูลค่ารองรับประเภทพระเก๊ไว้ก็แล้วกัน เพราะเมื่อยามจำเป็นจะไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินมาช่วยเหลือเราได้ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พิมพ์หลังเตารีดเล็ก พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี รุ่นมหาเสน่ห์ และพระผงพรายกุมาร พิมพ์เล็ก หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

n.21-5/ p350.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กรกฎาคม 2562 11:00:54 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #115 เมื่อ: 22 กันยายน 2562 12:31:38 »

.



พระกริ่งมงคลมหาเศรษฐี

"พระครูอุทัยบวรกิจ" หรือ "หลวงพ่อตี๋ ปวโร" วัดดอนเนรมิต ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวัตรปฏิบัติดี เป็นศิษย์ของหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง พระเกจิดังต้นตำรับยันต์พลิกชะตาและยันต์โสฬสมงคล

ปัจจุบัน สิริอายุ 75 ปี พรรษา 39

มีนามเดิมว่า เหลียงเช็ง แซ่เซียว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ธ.ค.2487 ที่บ้านคลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

อายุ 15 ปี บรรพชาที่วัดสะพานสูง ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคมกับหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นาน 5 พรรษา ก่อนลาสิกขาออกมาประกอบอาชีพ

ครั้นอายุ 36 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดท่าเกวียน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2523 มีเจ้าอธิการอำนวย อติเมโธ วัดท้องคุ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นศึกษาพระปริยัติธรรมและวิทยาคมจากหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง อีกครั้ง เขียนอักขระขอม การลงยันต์นะ 16 พระองค์ และยันต์โสฬสมงคล จนมีความชำนาญ

พ.ศ.2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ต.ดอนขวาง อ.เมือง จ.อุทัยธานี และฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ เจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส พระเกจิดังเมืองอุทัยธานี

ด้านวัตถุมงคลทุกรุ่นได้รับความนิยม จากสาธุชนทั่วไปยิ่ง ท่านเคยปรารภว่า "ของดีไม่ต้องโฆษณา ถ้าเขาศรัทธาก็มาหาเอง"

การสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่น ส่วนใหญ่ท่านใช้ยันต์ นะ 16 พระองค์ และยันต์โสฬสมงคล เป็นหลัก และที่สำคัญท่านเป็นเจ้าตำรับยันต์พลิกชะตา ที่ทำให้เหตุร้ายกลายเป็นดีได้อย่างน่าอัศจรรย์

พ.ศ.2560 ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ย้ายไปจำพรรษาที่วัดดอนเนรมิต จ.ชัยนาท

ในปี พ.ศ.2562 จัดสร้างวัตถุมงคล "พระกริ่งมงคลมหาเศรษฐี รุ่นแรก" เพื่อหารายได้สมทบบูรณะวัด

ลักษณะเป็นพระกริ่งลอยองค์ทรงเครื่อง ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำ บัวหงาย ด้านหลังตอกโค้ด วัดระฆัง มีหมายเลขไทยกำกับองค์พระ และมีอักษรไทย "ต" ที่ฐาน

การจัดสร้างพระกริ่งมงคลมหาเศรษฐี จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน ก้นทองคำ 9 องค์, เนื้อเงิน ก้นเงิน 80 องค์ เท่านั้น

หลวงพ่อตี๋ อธิษฐานจิต ปลุกเสกเดี่ยวแล้วนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กทม. เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2562 มีพระเกจิเข้าร่วมพิธี 9 รูป อาทิ หลวงพ่อตี๋ วัดดอนเนรมิต, หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียง, หลวงพ่อทอง วัดบ้านไร่, หลวงพ่อประกาศิต วัดหลักสาม, พระครูปืน วัดลาดชะโด เป็นต้น
  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงปู่คาร

หลวงปู่คาร คันธิโย อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ไชย อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ศรีทัตถ์ ญาณสัมปันโน ผู้ก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทน

อีกทั้งเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม และหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล วัดป่าบ้านคุ้ม จ.อุบลราชธานี

เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 7 ต.ค.2424 ที่หมู่ 3 อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2445 ที่วัดโพธิ์ไชย โดยมีอาญาทน วัดโพนแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์

ละสังขารด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2520 สิริอายุ 96 ปี พรรษา 75

ทั้งนี้ ก่อนที่หลวงปู่คาร จะมรณภาพ คณะศิษย์ได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น ตั้งใจให้ท่านไว้แจกญาติโยมเป็นที่ระลึกในวันครบรอบคล้ายวันเกิด 97 ปี

เป็นเหรียญหลวงปู่คารรุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ แต่ไม่ทราบจำนวนที่จัดสร้างแน่ชัด ลักษณะเป็นเหรียญอาร์มรูปทรงคล้ายโล่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ ยกขอบเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่คาร ครึ่งองค์หันหน้าไปทางซ้าย ด้านล่างสลัก ตัวหนังสือนูนคำว่า "หลวงปู่คาร คนฺธีโญ" บรรทัดล่างถัดมาเขียนคำว่า "ครบรอบ ๙๗ ปี"

ด้านหลังเหรียญ มีเส้นสันขอบบางรอบเหรียญ ตรงกลางเหรียญมียันต์น้ำเต้าหรือยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ในวงเส้นคล้ายวงกลม 5 วงภายใน สลักอักขระคำว่า "นะโม พุทธายะ" ถัดลงมาสลักตัวหนังสือนูน 2 บรรทัด "วัดโพธิ์ชัย อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม"

เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่สนธิ์ เขมปัญโญ แห่งวัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม ซึ่งเป็นลูกศิษย์นั่งภาวนาจิตปลุกเสกเดี่ยวภายในอุโบสถเป็นเวลาหนึ่งไตรมาส

ปัจจุบัน เป็นเหรียญหายากพอสมควร และเป็นที่กล่าวขวัญมากในขณะนี้
  ข่าวสดออนไลน์



พระขุนแผนใบพุทรา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นวัดที่มีกรุพระเครื่องที่สำคัญคือพระขุนแผนเคลือบ ที่หายากมากและสนนราคาสูงมาก แต่นอกจากพระขุนแผนเคลือบแก้ว ที่กรุนี้ก็ยังมีพระขุนแผนอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจและสร้างในคราวเดียวกัน แต่มีจำนวนที่พบมากกว่า และยังพอหาได้ง่ายกว่าพระขุนแผนเคลือบ คือพระขุนแผนใบพุทรา

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมเป็นวัดในเขตอรัญวาสี ชื่อวัดป่าแก้ว ในสมัยแผ่นดินสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช เป็นที่จำพรรษาของสมเด็จพระนพรัตน์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในระยะแรกๆ ของแผ่นดินนี้เกิดสงครามอยู่หลายครั้ง ซึ่งกองทัพพม่าได้ถูกส่งให้มาปราบอาณาจักรไทย และสงครามครั้งสุดท้ายที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือสงครามยุทธหัตถี ซึ่งครั้งนั้นพม่าได้ยกกองทัพมามากมายเพื่อเผด็จศึกให้ได้ สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงยกทัพไทยออกต่อสู้ โดยยกทัพไปสกัดทัพพม่า การรบพุ่งเป็นไปอย่างดุเดือด ระหว่างฝ่ายรุกรานมีกำลังพลที่เหนือกว่า กับฝ่ายที่รบเพื่อปกป้องแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนทั้งๆ ที่มีกำลังน้อยกว่ามาก การรบที่ห้าวหาญของคนไทยที่มีใจรักแผ่นดิน และด้วยพระบารมีของพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์จึงทำให้ไทยได้เป็นไทยสืบต่อมา

สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2134 มีการทำยุทธหัตถี ซึ่งถือว่าเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ระหว่างกษัตริย์กับกษัตริย์ โดยการต่อสู้บนหลังช้าง ในการรบครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงได้รับชัยชนะสมเด็จพระมหาอุปราช แม่ทัพพม่า ทรงฟันคอพระมหาอุปราชขาดคาคอช้างทรง และสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงได้รับชัยชนะต่อแม่ทัพพม่าอีกเช่นกัน เมื่อพระองค์เสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยา ได้มีการพิจารณาโทษต่อแม่ทัพนายกองที่ติดตามเสด็จไม่ทัน แต่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้ทูลขอพระราชทานอภัยโทษแก่แม่ทัพนายกองเหล่านั้น และทูลให้ทรงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ได้เสียชีวิตในการสงครามครั้งนั้น และทำบุญการฉลองชัยชนะ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงทำพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศล และเฉลิมฉลองชัยชนะที่วัดป่าแก้ว โดยได้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดแห่งนี้ เรียกว่าพระเจดีย์ชัยมงคล และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดใหญ่ชัยมงคล"

ในครั้งนั้นมีการสร้างพระบูชาและพระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ เพื่อเป็นการกุศลในครั้งนั้นด้วย โดยประธานพิธิฝ่ายสงฆ์ก็คือ สมเด็จพระพนรัตน์ พระเครื่องที่สร้างนั้นมีอยู่หลายอย่างหลายพิมพ์ มีทั้งพระเครื่องเนื้อดินและเนื้อชิน พระเครื่องของกรุวัดใหญ่ชัยมงคลมีการพบตั้งแต่ปี พ.ศ.2445 และครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2506 พระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนิยมกันมากก็คือพระขุนแผนเคลือบ มีทั้งพิมพ์อกใหญ่ และพิมพ์อกเล็ก (พิมพ์แขนอ่อน) เป็นพระเนื้อดินเผาแบบกระเบื้องเคลือบ พระที่พบนั้นมีจำนวนน้อยมาก เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุด ค่านิยมสนนราคาสูงมากในปัจจุบัน พระขุนแผนอีกพิมพ์หนึ่งที่ผมจะแนะนำคือ พระขุนแผนใบพุทรา พระที่พบเป็นเนื้อดินเผาธรรมดา และเนื้อชินเงิน ซึ่งเป็นพระที่พบมีปริมาณมากพอสมควร พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ประทับอยู่บนอาสนะฐานบัวสองชั้น มีประภามณฑลอยู่เหนือพระเศียร ในพระเนื้อดินทรงกรอบเป็นลักษณะกลมๆ คล้ายกับใบพุทรา จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกกันจนมาถึงปัจจุบัน ด้านหลังพระมักอูมๆ แต่ก็ไม่มากนัก ส่วนในพระเนื้อชินมักจะตัดขอบเข้ารูปตามองค์พระ ที่เป็นพระประทับอยู่ภายในซุ้มสี่เหลี่ยมก็มีบ้างแต่พบน้อย ความนิยมจะให้ความนิยมกับพระเนื้อดินเผามากกว่าพระเนื้อชิน

พระขุนแผนใบพุทราเป็นพระที่สร้างในครั้งเดียวกันกับพระขุนแผนเคลือบ พิธีปลุกเสกก็ครั้งเดียวกัน จึงมีพุทธคุณเฉกเช่นเดียวกันครับ พระขุนแผนใบพุทราจึงเป็นพระที่น่าสนใจเช่าบูชามาก สนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระขุนแผนใบพุทรา เนื้อดินเผา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระร่วงยืนของกรุวัดทัพเข้า สุโขทัย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงกรุวัดทัพเข้า หรือวัดทับข้าว เป็นพระกรุเก่าแก่ที่แปลกกว่าใครในเรื่องเนื้อหา เนื่องจากเป็นพระชนิดเดียวที่พบว่าเป็นพระเนื้อดินผสมผง

เนื้อพระเป็นสีขาวนวล เข้าใจว่าเป็นพระที่ไม่ได้ผ่านการเผาไฟเลย และเป็นพระที่หายากมากๆ จนกลายเป็นพระในตำนานที่จะพบเห็นได้ยากมากครับ

กรุวัดทัพเข้า หรือบางท่านเรียกเพี้ยนไปว่า กรุวัดทับข้าว ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ที่แปลกกว่าพระกรุอื่นๆ ก็คือพระกรุนี้มีเนื้อหาที่แปลกออกไป คือเป็นพระเนื้อดินผสมผงเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่มีอายุเก่าแก่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ การแตกกรุนั้นก็คือ นายเต็ง ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวตำบลกรุงเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็น ผู้ไปขุดพบพระกรุนี้เมื่อประมาณปี พ.ศ.2480

พระที่พบทั้งหมด 4 พิมพ์คือ พิมพ์พระร่วงยืนปางห้ามไม้แก่นจันทน์ และพิมพ์พระร่วงนั่ง พิมพ์พระร่วงยืนจะนิยมมากกว่าพิมพ์นั่ง การพบพระกรุนี้พบเพียงครั้งเดียวเท่านั้น พระที่พบทั้งหมดมีจำนวนไม่เกิน 500 องค์

ลักษณะพิเศษของพระกรุนี้ก็คือเป็น พระเนื้อดินผสมผง เนื้อออกเป็นสีขาวนวล และเนื้อละเอียดไม่ปรากฏเม็ดกรวดทราย สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างขึ้นประมาณราวๆ ปลายกรุงสุโขทัยหรืออยุธยาต้นๆ ครับ นับว่าเป็นพระเนื้อดินผสมผงที่ไม่ได้ผ่านการเผาไฟที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาครับ การที่พบพระเป็นจำนวนน้อยนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่าองค์พระบุบสลายไปตามกาลเวลา เมื่อตอนอยู่ในกรุ และเนื่องจากพระมีอายุกาลมากเมื่อนำมาแขวนคอก็อาจจะมีการชำรุดผุพังไปเรื่อยๆ จนทุกวันนี้แทบไม่เคยได้เห็นกันเลยครับ เจ้าของที่มีพระเครื่องกรุนี้ก็หวงแหนกันมาก ขนาดขอดูยังยากครับ หารูปภาพของพระกรุนี้ที่เป็นพระแท้ๆ ก็ยากครับ

พระกรุวัดทัพเข้าเป็นพระที่มีพิมพ์ ค่อนข้างตื้น ไม่ลึกเหมือนพระกรุอื่นๆ เนื้อแห้งผากและออกฟูๆ บางองค์ปรากฏคราบกรุบางๆ เป็นสีเหลืองๆ

พระกรุนี้พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม แต่ก็อย่างที่บอกครับ หาพระแท้ๆ ยากครับ ถ้าจะเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาดีๆ ครับ เนื่องจากมีการปลอมแปลงกันมาช้านานแล้วครับ เพราะเป็นพระที่นิยมเสาะหากันมานมนานแล้วครับ แต่เนื้อหาของปลอมก็ยังไม่เหมือนจริงครับ เนื้อพระของจริงผิวจะออกฟูๆ เนื้อจะไม่แกร่งแบบพระเนื้อดินเผาทั่วไป

ในวันนี้ผมก็นำรูปพระร่วงยืนของกรุวัดทัพเข้า สุโขทัยจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันทั้งสององค์ และทั้งสององค์ถือว่าเป็นพระที่ยังสมบูรณ์ของกรุนี้
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




มาตรฐานพระเครื่องที่ทีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในช่วงนี้ตัวผมเองได้รับฟังปัญหาของการพิจารณาพระแท้-ไม่แท้ จากท่านผู้นิยมพระเครื่องหลายๆ ท่านก็มีหลากหลายปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่องที่ไม่ใช่เซียนพระ และตัวผมเองก็บังเอิญได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับฟังปัญหาต่างๆ ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย จึงได้รับฟังปัญหาต่างๆ อยู่หลายเรื่อง

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ใช่เซียนพระ และไม่เคยมีอาชีพซื้อ-ขายพระเครื่อง เป็นเพียงผู้นิยมสะสมพระเครื่องคนหนึ่งเท่านั้น แต่ก็พอมีประสบการณ์ในด้านการสะสมอยู่บ้าง ปัญหาที่ได้รับฟังต่างๆ ก็มักจะเป็นเรื่องที่ผู้นำพระเครื่องมาขอออกใบรับรองแล้วผลออกมาว่าไม่แท้ ซึ่งบางครั้งผู้ที่ครอบครองพระนั้นๆ ก็เคยได้รับการบอกกล่าวมาจากหลายที่ว่า พระเครื่ององค์นั้นๆ เป็นพระแท้ของกรุนั้นกรุนี้ เกจิอาจารย์รุ่นนั้นรุ่นนี้ และรับรองว่าเป็นพระแท้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ให้การรับรองว่าแท้นั้นก็คือผู้ที่ขายพระเครื่ององค์นั้นๆ ให้แก่ผู้ที่มีปัญหานั้น บางครั้งผู้ที่ขายพระเครื่องให้ก็มีใบประกาศ หรือใบรับรองของพระเครื่ององค์นั้นด้วย แต่พอมาขอออกใบรับรองพระแท้กับทางสมาคมอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ ปรากฏว่าบางครั้งผลออกมาในทางตรงกันข้ามคือ “ไม่แท้” ถึงแม้ว่าจะมีการขอรีเช็กอีกครั้งตามกฎเกณฑ์แล้วผลก็ยังออกมาว่าไม่แท้อีก จึงเกิดมีคำถามว่าความจริงเป็นอย่างไร และมีมาตรฐานอะไรในการตัดสินว่า แท้-ไม่แท้

ครับผมเองก็ไม่ใช่กรรมการชี้ขาดความแท้-ไม่แท้ของพระเครื่อง แต่ก็พอมีความเข้าใจในหลักการพิจารณาของกรรมการตัดสินว่า เขาใช้มาตรฐานที่มูลค่ารองรับ อธิบายขยายความก็คือ การเล่นหาสะสมพระเครื่องนั้นมีการเล่นหาสะสมกันมานานแล้ว และก็ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าย่อมมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมานานแล้วเช่นกัน ซึ่งเหล่าผู้ที่มีอาชีพหรือเชี่ยวชาญในการพระเครื่องต่างๆ ก็ย่อมมีหลักของแต่ละท่านที่กำหนดว่าพระแบบนี้ใช่หรือไม่ มีราคารองรับหรือไม่ ซึ่งพอนำมารวบรวมกันแล้วต่างก็มีมาตรฐานเดียวกันในพระเครื่องชนิดเดียวกัน เช่น มีแบบพิมพ์แบบนี้ เนื้อหาแบบนี้ ธรรมชาติของการสร้าง ธรรมชาติความเก่าแก่แบบนี้ เป็นต้น ทุกอย่างต้องเป็นแบบนี้เท่านั้นจึงมีมูลค่ารองรับ และก็ยอมรับกันในสังคมพระเครื่อง ซึ่งก็ใช้เป็นมาตรฐานมายาวนานแล้วจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมา

ทีนี้ก็มีปัญหาของผู้ที่เล่นหาเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่อาจจะมีความเชื่อหรือมีมาตรฐานไม่เหมือนกับของกลุ่มใหญ่ที่เล่นหาแบบมีมูลค่ารองรับ จึงเกิดความเห็นที่แตกต่างกัน ปัญหาเหล่านี้ก็เป็นเรื่องของผู้ที่ครอบครองพระเครื่ององค์ที่มีปัญหาอยู่ ว่าจะเลือกเชื่อถือแบบไหนดี ครับถ้าเรามีความประสงค์ว่าจะขอความคิดเห็น หรือขอให้ออกใบรับรองความแท้-ไม่แท้พระเครื่องของเรา ก็ควรที่จะเลือกเองครับว่าจะเลือกแบบที่มีมาตรฐานมูลค่ารองรับหรือไม่? ถ้าใช่ก็ไปขอออกใบรับรองกับสถาบันแบบนั้น แต่ถ้าไม่ยอมรับในมาตรฐานมูลค่ารองรับก็ไปเลือกอีกแบบตามที่เราชอบ และทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรจะยอมรับหลักการและกฎเกณฑ์ของแต่ละสถาบันนั้นๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าจะให้สถาบันที่เขามีหลักเกณฑ์ตัดสินแบบมีมาตรฐานมูลค่ารองรับ แล้วพระของเราเองไม่ถูกต้องตามมาตรฐานนั้น แต่จะให้เขายอมรับและออกใบรับรองให้แบบนี้ก็ไม่ถูกต้องนักครับ

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ พระเครื่องบางองค์ติดรางวัลและมีใบประกาศการประกวดพระเครื่องมาด้วย แต่พอมาขอออกใบรับรองพระแท้ ผลกลับออกมาว่าไม่แท้ อ้าวแล้วจะเชื่อใครดี มาตรฐานอยู่ที่ตรงไหน ทั้งๆ ที่กรรมการในงานประกวดก็อ้างว่าเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ สำคัญเรื่องนี้ผมก็ขออธิบายว่าเรื่องการจัดงานประกวดนั้น ก็มีอยู่หลายอย่างเช่น งานประกวดที่ขอความร่วมมือผ่านสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย และงานประกวดที่จัดงานกันเองโดยไม่ได้ขอความร่วมมือผ่านทางสมาคม สำหรับงานที่ขอความร่วมมือผ่านทางสมาคม ทางผู้จัดงานก็จะทำหนังสือขอวันเวลาจัดงานเพื่อไม่ให้การจัดงานนั้นซ้ำซ้อนกันในวันเดียว และเพื่อขอเชิญกรรมการของสมาคมไปร่วมตัดสินได้ การเชิญกรรมการนั้นก็แล้วแต่ทางผู้จัดงานจะเลือกเชิญใครไปบ้าง ซึ่งก็เป็นสิทธิของทางผู้จัดงาน ทางสมาคมจะมีหลักเกณฑ์พิจารณาให้ความร่วมมือดังต่อไปนี้ 1. วันเวลาที่จะจัดงานต้องไม่ไปซ้ำซ้อนกับผู้ที่ขอจัดงานไว้ก่อน 2. การจัดงานต้องจัดงานเพื่อหาปัจจัยไปใช้ในการกุศลเท่านั้น หากผู้จัดงานประกวดรายใดปฏิบัติผิดวัตถุประสงค์ และทำให้ทางสมาคมเสื่อมเสียใดๆ ครั้งต่อไปทางสมาคมก็จะไม่ให้ความร่วมมืออีก ซึ่งก็เคยมีอยู่บ้างเป็นบางราย แต่สำหรับผู้จัดงานที่จัดกันเองโดยไม่ขอความร่วมมือทางสมาคม ก็แล้วแต่เขา สมาคมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งก็เป็นสิทธิ์ของเขาจัดกันเอง

ทีนี้เรามาพูดกันถึงใบประกาศในแต่ละงาน สำหรับงานที่ไม่ได้ผ่านมาทางสมาคม เราคงไม่พูดถึง แต่สำหรับงานที่ผ่านมาทางสมาคมนั้นมีการผิดพลาดบ้างหรือไม่? ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งบางรายก็มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก เนื่องจากการทำงานนั้นก็ย่อมมีการผิดพลาดกันได้บ้าง แต่ก็คงไม่ได้จงใจเป็นการผิดพลาดจริงๆ ซึ่งก็เคยเห็นอยู่บ้าง ในการประกวดพระเครื่องพระบูชาในปัจจุบันนั้นประกวดกันประมาณ 3,000 รายการ แต่ละรายการก็จะมีรางวัลอยู่ 4 รางวัล ดังนั้นจำนวนพระที่มีผู้นำส่งประกวดก็จะมีจำนวนมากมาย และก็จะต้องมีผู้ทำงานมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เฉพาะกรรมการนั้น จะมีเวลาพิจารณาพระประมาณไม่เกิน 1 ช.ม. ในแต่ละโต๊ะตัดสินจะมีประมาณ 30 รายการ แต่ละรายการก็จะมีจำนวนพระที่ส่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งความเป็นจริงมีเวลาน้อยมากในการพิจารณา ซึ่งก็อาจจะมีการผิดพลาดได้บ้างก็ต้องยอมรับครับ แต่ความผิดพลาดนั้นมีน้อยมากในแต่ละงาน หรือบางงานก็ไม่มีเลย การควบคุมการทำงานของผู้จัดงานนั้นยากมากนะครับ เพราะจำนวนคนจำนวนรายการนั้นมากจริงๆ คำถามต่อมาว่าแล้วทำไมไม่จัดให้มีรายการน้อยๆ ล่ะ? เรื่องนี้ก็ตอบได้เลยว่า ค่าใช้จ่ายของการจัดงานแต่ละงานในปัจจุบันนั้นสูงมาก ทั้งเรื่องค่าสถานที่จัดงาน ค่าถ่ายรูปพระทำใบประกาศ ค่าของรางวัล ค่าอาหารเลี้ยงกรรมการและเจ้าหน้าที่ ค่าที่พักกรรมการที่มาจากต่างจังหวัด และอื่นๆ อีกมากมาย นี่ค่าตัวกรรมการยังไม่มีนะ กรรมการต่างล้วนมาทำงานให้โดยไม่มีค่าตัวทั้งสิ้น รวมๆ แล้วค่าใช้จ่ายในแต่ละงานในปัจจุบันก็ประมาณไม่ต่ำกว่าสามล้านหกถึงสี่ล้านขึ้นไป ดังนั้นจึงต้องมีรายการประกวดมากรายการเพื่อให้มีเงินเหลือหักค่าใช้จ่ายไปทำการกุศล

ครับความจริงการพิจารณาพระเครื่องนั้นถ้าไม่เกี่ยวกับการประกวด แต่เป็นการซื้อพระเข้า แต่ละคนจะมีเวลาในการพิจารณาพอสมควรและไม่มีเงื่อนไขเวลามาบีบ ก็จะมีความผิดพลาดได้น้อยมาก แต่เมื่อไรที่มีเงื่อนไขเวลามาเกี่ยวข้อง ความผิดพลาดก็ย่อมมีมากขึ้นนี้คือความจริงครับ ก็คุยกันมาเยอะเรื่องปัญหาต่างๆ ของพระแท้-ไม่แท้ และมาตรฐานมูลค่ารองรับ ซึ่งการออกใบรับรองพระแท้ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยก็ใช้มาตรฐานการพิจารณาแบบที่มีมูลค่ารองรับตามแบบสากลนิยมครับ จึงนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อความเข้าใจไปในทางเดียวกันครับ

วันนี้ผมก็นำรูปพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา พิษณุโลก ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลมีมูลค่ารองรับจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกำแพงห้าร้อย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินเงินที่เราเรียกกันว่าพระกำแพงห้าร้อย โดยส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันจะเป็นพระองค์เล็กๆ มีสามองค์บ้าง องค์เดียวบ้าง เก้าองค์บ้าง ที่นำมาห้อยคอกัน และก็เข้าใจกันว่าพระกำแพงห้าร้อยนั้นเป็นพระแผงขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่ค่อยได้เจอองค์พระที่เป็นพระสมบูรณ์ที่เป็นพระแผงขนาดใหญ่กันเลย พบเห็นเพียงเป็นพระที่ตัดแบ่งกันมาเลี่ยมห้อยคอกันเป็นส่วนใหญ่

พระกำแพงห้าร้อยเป็นพระแผงขนาดใหญ่ที่หาพระสมบูรณ์ทั้งแผงยาก พระที่พบจะเป็นพระเนื้อชินเงิน มีการพบอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดบรมธาตุ วัดกะโลทัย และวัดอาวาสน้อย เป็นต้น สาเหตุที่เรียกกันว่าพระกำแพงห้าร้อยก็เนื่องจากเป็นพระแผงขนาดใหญ่ และมีองค์พระเล็กๆ อยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง นับจำนวนพระทั้งด้านหน้าและด้านหลังรวมกันได้ด้านละ 250 องค์ รวม 2 หน้าก็จะได้จำนวน 500 องค์พอดี จึงเป็นที่มาของชื่อที่เรียกกันต่อๆ มา และคำว่ากำแพงก็เนื่องจากพระดังกล่าวจะขุดพบแต่ในจังหวัดกำแพงเพชร จึงนำชื่อจังหวัดมาผนวกรวมเป็นชื่อ "พระกำแพงห้าร้อย"

พระที่พบส่วนใหญ่ก็มักชำรุดผุกร่อนไปบ้าง ไม่ค่อยมีพระที่สมบูรณ์ทั้งแผง พระที่สมบูรณ์ทั้งแผงเจ้าของก็มักจะนำไปทำฐานตั้งไว้บูชาที่บ้าน และหวงแหนมาก ส่วนพระที่ชำรุดก็มีคนนำไปตัดแบ่งกันแล้วนำมาห้อยคอ ต่อมาก็เกิดประสบการณ์ต่างๆ เช่น ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด เจริญก้าวหน้าค้าขายดี มีการเล่าขานกันต่อมาจึงเป็นที่นิยมและเสาะหากันมาก ใครมีแผ่นที่ไม่สมบูรณ์ก็มักจะมีเพื่อนฝูงมาขอแบ่ง ก็ตัดออกโดยจะแบ่งเป็น 3 องค์บ้าง แบ่งเป็น 9 องค์บ้าง แบบที่ตัดแบ่งเป็น 9 องค์ก็จะนิยมมากที่สุด แล้วนำไปเลี่ยมห้อยคอกัน

พระกำแพงห้าร้อยที่พบตามกรุต่างๆ จะมีอยู่กรุหนึ่งที่ผิดแปลกจากของทุกกรุ คือพระของกรุวัดกะโลทัย เนื่องจากพระของกรุนี้จะพบว่ามีการปิดทองล่องชาดมาแต่ในกรุ และพระของกรุนี้ก็จะนิยมมากกว่าของกรุอื่น

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของพระกำแพงห้าร้อยตัดนี้ จะเป็นการตัดที่สมบูรณ์เพียงด้านเดียว เนื่องจากพระแผงเป็นพระแบบ 2 หน้า ด้านหน้าและด้านหลังองค์พระเล็กๆ จะเหลื่อมกันไม่ตรงกันพอดี เมื่อตัดออกก็จะพอดีเพียงด้านเดียว ส่วนอีกด้านจะไม่พอดีจะตัดเหลื่อมกันนิดหน่อย พระปลอมในสมัยก่อนจะทำให้องค์พระตัดพอดีกันทั้ง 2 หน้า ถ้าพบแบบนี้ก็เป็นพระที่ทำปลอมเลียนแบบแน่นอน และมีการทำกันมานานแล้ว

ส่วนพระปลอมในปัจจุบัน นักปลอมพระก็เริ่มรู้จึงทำพระด้านหน้าและด้านหลังให้เหลื่อมกันแบบพระแท้ก็มีแล้ว การพิจารณารายละเอียดพิมพ์ให้ดี นอกจากนั้นก็พิจารณาเนื้อหาและความเก่าขององค์พระ

พระกำแพงห้าร้อยนอกจากพุทธคุณในด้านอยู่คงและแคล้วคลาดแล้ว ก็ยังดีทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์อีกด้วย ปัจจุบันหาที่เป็นแผงสมบูรณ์นั้นยากมาก จะพบเพียงพระที่ตัดมาแล้ว เช่น ตัดเดี่ยว ตัดสามและตัดเก้า ถ้าตัดเก้าจะมีมูลค่าสูงกว่าตัดแบบอื่น ยิ่งมีทองล่องชาดของกรุวัดกะโลทัยก็จะมีบวกขึ้นอีกนิดหน่อย แต่ก็หาแท้ๆ ยากครับ บางครั้งก็พบพระของจังหวัดอื่น ที่เป็นพระแผงคล้ายๆ กันนำมาตัดแบ่งแล้วหลอกว่าเป็นพระกำแพงห้าร้อยตัด ก็ต้องจำพิมพ์ให้ดีครับ เพราะองค์พระจะเล็กใหญ่หรือรูปร่างต่างกันไปครับ พระแผงที่ตัดแบ่งแบบพระกำแพงห้าร้อยนั้นมีของจังหวัดอื่นๆ เช่นกัน แต่จะนิยมเพียงของจังหวัดกำแพงเพชรครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงห้าร้อยแบบสมบูรณ์ทั้งแผง และแบบตัดเก้า จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงปู่สอ รุ่นอริยทรัพย์

"หลวงปู่สอ ขันติโก" เจ้าอาวาส วัดโพธิ์ศรี บ้านบะหว้า หมู่ 10 ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ยืนยาว 114 ปี พรรษา 94

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเกจิชื่อดังวิทยาคม เข้มขลังในยุคนั้น ผู้นำในการสร้างพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน ใน สปป.ลาว

ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ แม้อายุจะล่วงเข้าสู่ไม้ใกล้ฝั่ง 114 ปี

ครบรอบอายุวัฒนมงคล เมื่อวันที่ 20 พ.ค.

ย้อนไปในปี พ.ศ.2561 คณะลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา "กุลชา กุลชา"ณัฐพัชร์ เสนาสี, "เฮียเติง"ไชยวัฒน์ กุลยะ, จ.ส.อ.พิสุทธิ์วัชร์ มีสิทธิ์ และ ร.ต.ท.แสงเพชร หล้าเนิน ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญรุ่นอริยทรัพย์ เพื่อถวายเงินสมทบเข้ากองทุนรักษายามอาพาธ

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 1 เหรียญ, เนื้อเหล็กเปียกพระธาตุพนม 99 เหรียญ, เนื้อเงิน 133 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 333 เหรียญ, เนื้อสตางค์ 999 เหรียญ, เนื้อทองฝาบาตร 999 เหรียญ, เนื้อทองแดงมันปู 500 เหรียญ และเนื้อกรรมการชนิดละ 5 เหรียญ (ยกเว้นเนื้อทองคำ)

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ไม่มีหูห่วง มีเส้นสันขอบนูนบางเล็กน้อย

ด้านหน้าเหรียญ ส่วนบนของเหรียญสลักอักขระธรรม ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ บริเวณหน้าอกสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่สอ ขันติโก ด้านล่างสุดมีเสมาธรรมจักรในวงล้อมวงกลม มีลวดลายกนกที่อ่อนช้อยงดงาม

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปทรงนูนหลังเต่า บนสุดสลักคำว่า อริยทรัพย์ ประกบด้วยยันต์ตัวนะปิดหัวท้าย ตรงกลางเหรียญมียันต์จตุพุทธา ประกอบด้วยพระคาถา 11 ห้อง มีคาถา นะ มะ อะ อุ กำกับไว้ ใต้ยันต์ด้านซ้ายของเหรียญ ตอกโค้ด เถาะ ใต้ยันต์ด้านขวามีตัวเลขไทย ๑๙ ซึ่งเป็นนัมเบอร์ของเหรียญ ถัดลงมาสลัก ๑๑๓ ปี บรรทัดสุดท้ายสลักคำว่า วัดโพธิ์ศรี จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๖๑ ประกบด้วยยันต์ตัวนะปิดหัวท้าย

หลวงปู่สอ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จุดเทียนชัยอธิษฐานจิตปลุกเสกในศาลาการเปรียญวัด มีนายสมชาย วิทย์ดำรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

มีพระเกจิชื่อดังนั่งอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่คำไหล ปริสุทโธ วัดอูนนา อ.นาหว้า จ.นครพนม, พระอาจารย์บุญอุ้ม อาภัสสโร วัดป่าโนนแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม, หลวงพ่อหอม รตินธโร วัดอีกูด อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร และพระอาจารย์บุญเทียม ญาณวโร วัดป่าบ้านโชคอำนวย จ.นครพนม
  ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2562 12:34:41 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #116 เมื่อ: 22 กันยายน 2562 12:37:33 »

.




พระลีลาเมืองสรรค์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุของจังหวัดชัยนาทเป็นพระที่นิยมกันมากในสมัยก่อน และพระกรุส่วนใหญ่จะอยู่ในอำเภอสรรคบุรี เนื่องจากเมืองเก่านั้นจะอยู่ทางฝั่งอำเภอสรรคบุรี ซึ่งพบวัดเก่าแก่โบราณอยู่ประมาณ 183 วัด ถือว่าเยอะมาก เมืองสรรค์เป็นเมืองหน้าด่าน เก่าแก่มาตั้งแต่ยุคปลายสมัยกรุงสุโขทัยต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงมีวัดเก่าแก่อยู่มากมาย และก็แน่นอนว่าจะมีกรุพระอยู่มากมายเช่นกัน พระเครื่องที่โด่งดังของเมืองสรรค์ก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น พระลีลาสรรค์ยืน หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่าพระสรรค์ยืน และพระสรรค์นั่ง นอกจากนี้ก็ยังมีพระปิดตาเก่าแก่ที่พบอยู่ในกรุวัดท้ายย่านอีกด้วย

พระกรุของเมืองสรรค์จะมีชื่อเสียงเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เป็นส่วนใหญ่ และกรุที่นิยมมากที่สุดก็จะเป็นกรุวัดท้ายย่าน ซึ่งพบพระทั้งที่เป็นเนื้อดินเผาและเนื้อชิน พระสรรค์ยืนในสมัยก่อนจะได้รับความนิยมมาก ส่วนพระสรรค์นั่งพิมพ์ที่นิยมมากที่สุดก็คือพระสรรค์นั่งไหล่ยก คนชัยนาทหวงแหนกันมาก เนื้อที่นิยมก็คือเนื้อดินเผาจะมีภาษีดีกว่าในด้านราคา

พระสรรค์ยืนและพระสรรค์นั่งดูจากศิลปะขององค์พระแล้วสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น พระสรรค์ยืนจะเป็นพระปางลีลารูปแบบศิลปะคล้ายๆ กับของเมืองสุพรรณ แต่ก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง พระสรรค์ยืนที่พบจะมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระลีลาเมืองสรรค์ยืน พระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์ข้างเม็ด พระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเครา พระพิมพ์นี้จะหายากเนื่องจากจำนวนพระที่พบน้อยมาก และเป็นพิมพ์ที่นิยมมากที่สุด ดูจากพิมพ์แล้วช่างที่แกะแม่พิมพ์อาจจะแกะพลาดทำให้มือขวาของพระยาวไปจรดคาง เลยดูเหมือนเป็นเครายาวลงมา

จึงเอามาเป็นชื่อพิมพ์ พระสรรค์ยืนเนื้อดินเผาจะพบมากกว่าพระเนื้อชิน สันนิษฐานว่าพระเนื้อชินอาจจะชำรุดไปตามกาลเวลาเสียมากจึงพบน้อยกว่า พระลีลาเมืองสรรค์นั้นนอกจากพบที่กรุวัดท้ายย่านแล้วยังพบที่กรุอื่นๆ ด้วย เช่น กรุวัดส่องคบ กรุวัดบรมธาตุ เป็นต้น แต่เนื้อดินเผาของกรุวัดท้ายย่านจะละเอียดกว่ากรุอื่นๆ

ปัจจุบันพระกรุพระเก่านั้นแทบจะเป็นพระในตำนานไปแล้ว เพราะพระแท้ๆ นั้นหายาก ส่วนพระปลอมนั้นมีมากกว่า จนทำให้ไม่ค่อยที่จะเล่นหาสะสมกันเหมือนในสมัยก่อน แต่พระกรุพระเก่าแท้ๆ สนนราคาก็ยังสูงอยู่และหายากไม่ค่อยมีใครเอาออกมาให้เช่าหา ความนิยมในสังคมปัจจุบันจึงมีการเช่าหาพระเกจิฯ ยุคกลางๆ เสียมากกว่า ซึ่งจำนวนพระก็ยังพอมีให้หาเช่าได้อยู่ ในสนามพระจึงเห็นแต่ซื้อ-ขายพระเกจิอาจารย์กันมากกว่า ผมก็เลยนำพระกรุพระเก่ามาเขียนกันอยู่เรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ลืมเลือนกันไป พระกรุพระเก่าก็เหมือนประวัติศาสตร์ เป็นของเก่าที่แฝงด้วยศิลปะยุคสมัยต่างๆ ในแต่ละยุค อีกทั้งก็ยังมีประสบการณ์จากผู้ที่ได้เคยห้อยบูชาในด้านต่างๆ เล่าสู่กันฟังต่อๆ มา

ครับและในวันนี้ผมได้นำรูปพระสรรค์ยืนกรุวัดท้ายย่าน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงปู่สำลี รุ่นแรก

หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต เจ้าอาวาสวัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย พระเถระที่มีวัตรปฏิบัติดี สืบสายธรรมจาก หลวงปู่หลุย จันทสาโร อดีตพระอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ปัจจุบัน สิริอายุ 83 ปี พรรษา 49

มีนามเดิมว่า สำลี เพ็งผล เกิดเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2479 ที่ ต.กุดจอก อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

ต่อมาครอบครัวย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่จังหวัดเลย

ช่วงวัยเด็ก นอกจากจะช่วยครอบครัวทำไร่ทำนา ยังมีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระพุทธศาสนา หากมีเวลาว่าง ครอบครัวจะพาไปทำบุญรับฟังธรรมและฝึกปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาบิ้ง ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย เป็นประจำ

กระทั่ง หลวงปู่หลุย เห็นความตั้งใจในการปฏิบัติธรรม ในปี พ.ศ.2513 จึงได้พาไปอุปสมบทที่พระโอสถวัดเลยหลง โดยมี พระราชคุณาธาร หรือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ เป็นพระอุปัชฌาย์

จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่กับหลวงปู่หลุย ที่วัดถ้ำผาบิ้ง พร้อมกับศึกษาสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่หลุย ซึ่งหลวงปู่หลุยก็ถ่ายทอดให้หมด

ต่อมาในปี พ.ศ.2515 หลวงปู่หลุย ดำริให้หลวงปู่สำลีไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย

จึงย้ายมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่วัดแห่งนี้ ตราบจนปัจจุบัน

สำหรับ วัดถ้ำคูหาวารี เป็นถ้ำที่อดีตพระเถระฝ่ายธรรมยุตหลายรูป อาทิ หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นต้น เคยบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่

ในวาระแห่งการสร้างบารมีตอบแทนครูบาอาจารย์ หลวงปู่สำลี มีโครงการจัดสร้าง "เจดีย์จันทสาโรนุสรณ์" ที่วัดถ้ำคูหาวารี แต่ยังขาดปัจจัยเป็นจำนวนมาก ทางวัดพร้อมญาติโยมและคณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงปู่สำลี ในปี พ.ศ.2554

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูไม่เจาะรู ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต

ด้านหลังยกขอบบริเวณใต้หูเหรียญ เขียนว่า รุ่นแรก และมีอักขระยันต์ 3 ตัว พุทธคุณเด่นรอบด้าน บริเวณกลางเหรียญเป็นภาพเครื่องอัฐบริขาร จากขวามือของเหรียญลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายเขียนว่า วัดถ้ำคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำหลังเรียบ 5 เหรียญ เนื้อทองคำหลังยันต์ 5 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 19 เหรียญ เนื้อเงินหลังเรียบ 29 เหรียญ ชนวนหน้ากากเงิน 39 เหรียญ ทองฝาบาตร 999 เหรียญ เป็นต้น ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่สำลี อธิษฐานจิตเดี่ยว

จัดเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงปู่สำลี ประสงค์ร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ ติดต่อได้ที่วัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย
  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงพ่อ มงคลบพิตร
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีประชาชนมาสักการบูชาขอพรกันมาก และมีการสร้างเหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2460 ปัจจุบันหายากมากครับ

พระมงคลบพิตรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น สังเกตดูจากพระพักตร์แม้จะมีพุทธลักษณะค่อนข้างเป็นวงรีแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นเค้าพระพักตร์เป็นเหลี่ยมอยู่ ซึ่งเป็นพุทธลักษณะแบบอยุธยาตอนต้น เมื่อพิจารณาถึงเส้นพระขนงที่โค้ง ก็จะพบว่าเป็นศิลปะที่ผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกด้วยองค์พระก่อด้วยอิฐและหุ้มด้วยสัมฤทธิ์แผ่น นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย

มีหลักฐานว่า เมื่อปี พ.ศ.2146 พระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้าฯ ให้ชะลอหลวงพ่อวัดมงคลบพิตรจากด้านตะวันออกของ วัดหลวงมาไว้ทางด้านตะวันตก ณ ที่ประดิษฐานในปัจจุบัน และยังได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครอบไว้ ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑปเกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคลบพิตรหัก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อเครื่องนอกออกแล้วสร้างใหม่เป็นพระวิหาร แต่คงทำเครื่องยอดอย่างมณฑปของเดิม ต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมโกศได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์และรื้อยอดมณฑปเดิมเปลี่ยนเป็นพระวิหาร ครั้งถึงปี พ.ศ.2310 ได้เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตรได้ถูกเพลิงเผาผลาญ จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาลีและพระกรขวาขององค์พระเสียหาย

ครั้นถึงประมาณปี พ.ศ.2458-2460 พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ดำรงตำแหน่งที่สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้เริ่มปฏิสังขรณ์หลวงพ่อมงคลบพิตรเป็นครั้งแรก โดยได้ซ่อมพระเมาลีและพระกรขวาด้วยปูนปั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2474 คุณหญิงอมเรศรสมบัติ ได้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะฐานพระมงคลบพิตร ปี พ.ศ.2499 ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเห็นว่าพระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้ตั้งงบประมาณเพื่อบูรณะให้มีสภาพเดิม ตลอดจนได้สร้างพระมหาวิหารเพื่อประดิษฐานพระมงคลบพิตร ดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ครับ

ในการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ.2460 นั้น ได้มีการสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อมงคลบพิตรเป็นครั้งแรก เพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ร่วมในการบูรณะครั้งนั้น โดยสร้างเป็นเหรียญรูปไข่มีพระพุทธรูปจำลองพระมงคลบพิตร สร้างเป็นเหรียญเนื้อเงินและเหรียญเนื้อทองแดง เนื้อเงินสร้างน้อยมาก นอกนั้นเป็นเนื้อทองแดง ครั้งนั้นพระเถรานุเถระที่ทรงวิทยาคุณได้รับเกียรตินิมนต์เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก เช่น พระญาณไตรโลก(ฉาย) พระพุทธวิหารโสภณ(อ่ำ) พระสุวรรณวิมลศีล (ดิษ) พระครูธรรมวินัย(ชม) พระอุปัชฌาย์กลั่น วัดพระญาติการามพระอุปัชฌาย์ปั้น วัดพิกุลโสคัณ เป็นต้น

เหรียญพระมงคลบพิตรรุ่นแรกนี้ เป็นเหรียญพระพุทธที่นิยมกันมาก ปัจจุบันหาได้ยากยิ่ง สนนราคาสูง และในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกเนื้อเงินมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระนาคปรกกรุบ้านหนองแจง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน กรุบ้านหนองแจงสุพรรณบุรีเป็นกรุที่พบพระร่วงยืนอยู่หลายพิมพ์ แต่ก็มีการพบพระแบบอื่นๆ อยู่อีกบ้าง แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก เช่น พระร่วงนั่งเทริดขน นก และพระนาคปรก ซึ่งก็เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเช่นเดียวกันทั้งกรุ นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเข้าสำรวจพบเศียรปูนปั้นศิลปะลพบุรีเป็นจำนวนมาก และพบนางปัญญาบารมีและพระร่วงอีกจำนวนหนึ่ง

กรุบ้านหนองแจงอยู่ที่ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ ในการขุดพบพระเครื่องนั้นเป็นขุดพบโดยบังเอิญในที่ดินของ นายสิน ซึ่งขุดดินทำไร่ก็ได้พบพระร่วง เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง 2-3 องค์โดยบังเอิญ และสังเกตว่าในที่ดินก็ได้ขุดพบเศษกระเบื้องเป็นจำนวนมาก ก็คิดว่าบริเวณนี้น่าจะมีพระร่วงอยู่อีก จึงลงมือขุดหาพระแบบเดาสุ่ม แต่ก็ยังไม่พบอะไรเลย

พอดีมีเจ้าของร้านกาแฟที่เป็นเพื่อนกันมานั่งคุยอยู่ด้วย ก็เลยให้ขุดต่อไปทางด้านทิศใต้ และก็พบไหบรรจุพระเครื่องจำนวนไม่มากนัก ต่อมาก็มีชาวบ้านในแถบนั้นรู้เข้าก็เลยพากันมาขุดโดยไม่ได้เกรงใจเจ้าของที่ดินเลย ขุดกันจนที่ดินเละไปหมด ก็พบพระร่วงอยู่กระจัดกระจายไป แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาได้พบไหบรรจุพระเครื่องอีกไหหนึ่ง ในไหมีพระบรรจุอยู่ประมาณ 140-150 องค์ ข่าวดังขึ้นเรื่อยๆ ก็มีคนมาขุดหาพระกันมากขึ้น จนขยายไปขุดกันถึงบ้านยายแหร่มที่อยู่ใกล้ๆ กัน ก็พบพระร่วงพิมพ์เศียรโตคล้ายๆ กับพระร่วงที่ขุดพบที่วัดปู่บัวอีก ต่อมากรมศิลปากรรู้ข่าวก็เข้ามาควบคุมการขุด ซึ่งมีซากเจดีย์อยู่องค์หนึ่งก็พบเศียรพระปูนปั้นศิลปะลพบุรีอีกจำนวนหนึ่ง

พระเครื่องที่ขุดพบที่บ้านหนองแจงนั้นเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น ผิวของพระจะมีไขขาวปกคลุมอยู่เกือบทั้งองค์ เมื่อล้างผิวไขขาวออกก็จะพบเนื้อสนิมแดงเข้มจับทั่วทั้งองค์สวยงาม พิมพ์ของพระที่พบจะเป็นพระร่วงยืนพิมพ์ต่างๆ เช่น พระร่วงยืนพิมพ์รัศมี พระร่วงยืนพิมพ์เศียรโต พระร่วงยืนพิมพ์พระพักตร์เสี้ยม พระร่วงยืนพิมพ์ยกมือซ้าย พระร่วงยืนพิมพ์จรวดอ้วนและผอม พระร่วงนั่งเทริดขนนก และพระนาคปรก เป็นต้น พระเครื่องของกรุนี้ที่พบสันนิษฐานว่าน่าเป็นพระสมัยอู่ทองยุคต้น (อู่ทองสุวรรณภูมิ) ซึ่งเป็นพระที่รับอิทธิพลทางศิลปะจากศิลปะลพบุรีหรือขอม

พระนาคปรกที่พบในกรุนี้ จะพบน้อยมาก ส่วนใหญ่จะชำรุดเสียเป็นส่วนมาก จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และอาจจะไม่เป็นที่รู้จักกัน วันนี้ผมจึงนำรูปพระนาคปรกกรุบ้านหนองแจง จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชม เพื่อเป็นการเผยแพร่มิให้ลืมเลือนกันไปครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระนางพญาพิษณุโลก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนางพญาพิษณุโลก กรุวัดนางพญา เป็นพระที่ถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคี และเป็นพระที่มีความนิยมมาก ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากมากเช่นกัน และพระปลอมก็มีมานานแล้ว มีทั้งที่ฝีมือบ้านๆ ห่างจากพระแท้ และพระปลอมที่มีฝีมือการทำปลอมได้ดีใกล้เคียงกับพระแท้ก็มี แต่ก็ยังมีอยู่หลายข้อที่ยังไม่สามารถทำให้เหมือนได้

พระนางพญาพิษณุโลก เป็นพระที่มีความนิยมมานานมาก และก่อนที่จะมีการจัดชุดเบญจภาคีด้วยเพียงแต่ภายหลัง ได้มีการจัดชุดพระเครื่องที่จะนำมาห้อยคอ โดยการนำพระเครื่องยอดนิยมหลายๆ องค์มาจัดชุดห้อยคอ และพระนางพญาก็ได้ถูกจัดเข้าอยู่ในพระชุดเบญจภาคีในลำดับต้นๆ และก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นอย่างมาก

ความนิยมพระนางพญางั้นเริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่ตอนที่เพิ่งแตกกรุออกมา ในปี พ.ศ.2444 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองพิษณุโลก และในครั้งนั้นทางจังหวัดได้เตรียมการรับเสด็จ โดยจัดการสร้างปะรำพิธีรับเสด็จที่บริเวณวัดนางพญา มีงานขุดหลุมสร้างปะรำพิธี ก็ได้พบพระนางพญาโดยบังเอิญ และพบพระเป็นจำนวนมาก จึงเก็บรักษาพระไว้ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเพื่อทรงสักการะพระพุทธชินราช ทางจังหวัดจึงได้นำพระนางพญาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและพระราชทานพระบางส่วนให้แก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จถ้วนหน้า

ต่อมาได้มีการค้นคว้าประวัติวัดนางพญาก็ทราบว่าเป็นวัดที่สมเด็จพระวิสุทธิกษัตริย์ เป็นผู้สร้างวัดนี้ไว้ จึงสันนิษฐานได้ว่าพระนางพญาเป็นพระที่สมเด็จพระวิสุทธิกษัตรีได้ทรงสร้างบรรจุไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ห้อยบูชาพระนางพญาก็ยังมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม และโชคลาภ จึงได้รับความนิยมมาก และหายากขึ้นตามลำดับ ยิ่งในปัจจุบันนั้นค่าความนิยมและสนนราคาก็ยิ่งสูงมากและหาพระแท้ๆ ยาก

พระนางพญากรุวัดนางพญาที่พบเป็นเนื้อดินเผา และพบมีพิมพ์พระอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง เฉพาะพิมพ์นี้มีอยู่ 2 แม่พิมพ์คือ พิมพ์เข่าตรงธรรมดา และพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ พระทั้ง 3 พิมพ์นี้ถือเป็นพระพิมพ์ใหญ่เนื่องจากมีขนาดขององค์พระใหญ่กว่าอีก 3 พิมพ์ที่เหลือคือ พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพระพิมพ์กลาง คือมีขนาดย่อมกว่าพระพิมพ์ใหญ่ และเขื่องกว่าพระอีก 2 พิมพ์คือ พระนางพญาพิมพ์เทวดาหรือที่ในสมัยก่อนเรียกว่า นางพญาพิมพ์อกแฟบ และพระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก

ทั้งสองพิมพ์นี้ถือเป็นพระพิมพ์เล็ก พระนางพญาทุกพิมพ์ของกรุวัดนางพญาล้วนนิยมทุกพิมพ์ และหายากทุกพิมพ์ พระปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว แต่พระปลอมในสมัยก่อนนั้นจะทำพิมพ์พระยังไม่ได้ดีนัก ถ้าเราจำพิมพ์ได้ก็สังเกตได้ไม่ยากนัก พอแยกได้ด้วยตาเปล่า แต่พระปลอมในปัจจุบันนั้นทำพิมพ์ได้ดีขึ้นมาก เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังพิจารณาให้ดี

เท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ พระนางพญาพิมพ์เทวดา และพระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก มักมีปัญหาอยู่บ่อยๆ โดยผู้ทำปลอมมักจะทำเป็นพระสึกๆ หน่อยทำเป็นพระที่ผ่านการใช้สึก รายละเอียดแม่พิมพ์จึงเลือนๆ สึกหายไปบ้าง แต่ถ้าสังเกตให้ดีจำรายละเอียดแม่พิมพ์ให้ได้ก็จะพอจับพิรุธได้อยู่ เพราะจะผิดเค้าโครงจากของแท้อยู่ดี ยิ่งด้านหลังพระนางพญานั้น จะมีร่องรอยของธรรมชาติการผลิตให้เห็นอยู่

คนที่ทำปลอมบางคนก็นึกว่าเป็นแค่ลายนิ้วมือที่กดแม่พิมพ์ ซึ่งข้อนี้เป็นเพียงร่องรอยทั่วๆ ไป ยังมีความลับซ้อนอยู่ บางฝีมือก็ทำดีขึ้นและรู้ว่ามีอะไรอยู่อีกก็พยายามทำ แต่ก็ทำได้ไม่เหมือนนัก ยิ่งพยายามเน้นก็ยิ่งพิรุธมากขึ้น ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนจะสอนคนที่เขาจะถ่ายทอดวิชาให้ เมื่อสอนให้จดจำ รายละเอียดของแม่พิมพ์แล้ว จะบอกให้ดูด้านข้างและด้านหลังของพระซึ่งเป็นร่องรอยการผลิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมของการผลิตในสมัยนั้น

จุดหนึ่งก็คือขอบกระด้งจะมีทุกองค์และทุกพิมพ์ ร่องรอยเหล่านี้เกิดขึ้นเองจากการผลิตพระจึงทำให้มีทุกองค์และทุกพิมพ์ ปัจจุบันพระปลอมก็มีทำแล้ว แต่ก็ยังมีพิรุธให้จับได้อยู่

ครับการพิจารณาพระเครื่องนั้นต้องพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะนักปลอมพระเขาจะพยายามปรับปรุงในการทำปลอมให้ดีขึ้นด้วย เพื่อพยายามที่จะหลอกเอาตังค์ในกระเป๋าของเรา พวกเซียนจะโดนก่อนคนอื่น ถ้าประมาทก็โดนได้ด้วยกันทุกคนครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง กรุวัดนางพญา และด้านหลังพระนางพญาหลายๆ พิมพ์มาให้ชม ถ้าฝึกสังเกตให้ดี ก็พอจะแยกพิมพ์ของพระได้จากด้านหลัง เนื่องจากรูปทรงสัณฐานของพระแต่ละพิมพ์จะไม่เหมือนกัน ลองสังเกตดูและเดากันเล่นๆ และที่ด้านหลังของพระมีอะไรที่มีเหมือนกันทุกองค์ครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระอุปัฌาย์คำ วัดสนามจันทร์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อคำ วัดสนามจันทร์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังในด้านพุทธาคมอีกรูปหนึ่ง แต่ประวัติของท่านนั้นมิได้มีผู้บันทึกไว้อย่างเป็นทางการนัก ประวัติของท่านได้จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านแทบทั้งนั้น วันนี้เรามาคุยกันถึงหลวงพ่อคำ วัดสนามจันทร์ เท่าที่สืบทราบมาได้กันนะครับ

หลวงพ่อคำเป็นบุตรโยมคล้าย และโยมอ่วม บ้านอยู่ที่ปากคลองสนามจันทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในสมัยที่เป็นวัยรุ่นนั้นก็มีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ได้รับการยกให้เป็นลูกพี่ ด้วยนิสัยไม่กลัวใคร ต่อมาจนอายุครบบวช โยมบิดามารดาจึงได้ขอร้องให้บวช หลวงพ่อคำจึงอุปสมบทที่วัดบ้านโพธิ์ โดยมีหลวงพ่อแก้ว วัดบ้านโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "พรหมสุวณฺณ"

เมื่ออุปสมบทแล้วเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า และสอบพระธรรมวินัยได้ที่หนึ่ง เป็นคนมีความจำดีเลิศ และชอบศึกษาวิทยาคม และชอบทดลอง เมื่อบวชได้ 4 พรรษา จึงออกธุดงค์ไปในป่าเพื่อฝึกสมาธิจิต ครั้งหนึ่งได้พบกับอาจารย์ฆราวาสชื่อพุ่ม ในป่าที่ท่านไปธุดงค์ อาจารย์พุ่มนี้มีวิชาแก่กล้า มีวิชามหาอุด ตะกรุดใต้น้ำ ล่องหนหายตัว หลวงพ่อคำจึงได้เรียนวิชาต่างๆ จากอาจารย์พุ่ม จนจบ และศึกษาจากหลวงพ่อแก้ว วัดบ้านโพธิ์ พระอุปัชฌาย์ของท่านอีกด้วย หลวงพ่อแก้วเก่งทางด้านมหาอุด พัดโบก กำบังไพร เมตตามหานิยม

ต่อมาหลวงพ่อคำก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสนามจันทร์ และมีเรื่องเล่ากันต่อมาว่า ขุนแพทย์มงคล มัคนายก ต้องการพิสูจน์ท่านจึงแอบหยิบผ้าอาบของหลวงพ่อไปผูกติดกับต้นไม้แล้วยิง ปรากฏว่ายิงไม่ออก ชาวบ้านจึงเข้าแย่งกันฉีกผ้าอาบผืนนั้นเป็นชิ้นๆ แบ่งกันเอาไว้ติดตัว จนเป็นที่เล่าลือกันไปทั่วในละแวกแถบนั้น

ต่อมาวันหนึ่งก็มีทหารพกปืนเข้ามาในวัดเพื่อจะทดลอง พอหลวงพ่อเห็นเข้าก็ทักขึ้นว่า "ไอ้นี่หรือวะที่เขาเรียกว่าปืน มันดีอย่างไร ยิงผ้าขี้ริ้วของกูยังยิงไม่ออก" ทหารผู้นั้นจึงขอทดลอง ท่านก็หยิบผ้าเช็ดน้ำชาที่รองปั้นน้ำชาโยนไปที่พื้น ทหารผู้นั้นก็ชักปืนออกมายิงไปที่ผ้าเช็ดน้ำชา แต่ยิงเท่าไรก็ไม่ลั่น จนหมดโม่ท่ามกลางความตกตะลึงของชาวบ้าน ทหารผู้นั้นจึงก้มลงกราบและขอผ้าเช็ดน้ำชาผืนนั้นกับหลวงพ่อไปบูชา จากนั้นก็เป็นที่โด่งดังมากว่าผ้าขี้ริ้วของหลวงพ่อคำยิงไม่ออก

ในปีพ.ศ.ใดไม่ได้มีใครจดบันทึกไว้ ทราบเพียงแต่ว่า ครั้งสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้เสด็จมาที่วัดสนามจันทร์ และทรงแต่งตั้งให้หลวงพ่อคำเป็นพระอุปัชฌาย์ ก็มีชาวบ้านมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก ท่านได้พัฒนาวัดสนามจันทร์จนเจริญรุ่งเรือง สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สวยงาม ได้รับพระราชทานเหรียญจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ นับเป็นเกียรติประวัติสำหรับท่านและวัดสนามจันทร์

ต่อมาในปีพ.ศ.2481 พระอุโบสถที่หลวงพ่อคำท่านสร้างไว้ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ลูกศิษย์และชาวบ้านจึงขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิตของวัดสนามจันทร์ หลวงพ่อก็อนุญาต คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าว่า การสร้างเหรียญรุ่นนี้ หลวงพ่อท่านได้นำแผ่นทองแดงไปถวายหลวงพ่อที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นได้จารแผ่นทองแดงให้ เพื่อนำไปหลอมรีดเป็นแผ่นทองแดงเพื่อนำมาปั้นเป็นเหรียญ เช่น หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อคง วัดซําป่างาม หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย เป็นต้น แล้วจึงมอบให้ลูกศิษย์นำไปหลอมและรีดเป็นแผ่น เพื่อปั๊มเหรียญ และใน พิธีพุทธาภิเษกนั้น ก็มีการนิมนต์พระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป

เช่น ท่านเจ้าคุณพุทธิรังสีมุณีวงศ์(โฮ้ว) เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ท่านเจ้าคุณสันทัดธรรมาจารย์เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อพูน วัดตาลล้อม ศรีราชา ชลบุรี หลวงพ่อศรี วัดพนัส ชลบุรี หลวงพ่อดิ่ง วัดบางบัว หลวงพ่อเสือ วัดสามกอ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เป็นต้น หลังจากเสร็จพิธีพุทธาภิเษกแล้ว หลวงพ่อคำท่านยังได้นำเหรียญทั้งหมดมาไว้บนกุฏิของท่าน แล้วปลุกเสกเดี่ยวอีกหนึ่งพรรษา หลังจากนั้นจึงให้นำมาแจกในงานฝังลูกนิมิต

เหรียญที่สร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดงมีอยู่สามแบบคือ เหรียญด้านหน้าจะเหมือนกันหมด ส่วนด้านหลังจะมีแบบยันต์ใหญ่ และยันต์เล็ก อีกแบบจะเป็นเหรียญยันต์ใหญ่แต่จะชุบเงิน แจกให้กับคณะกรรมการวัด

หลวงพ่อคำมรณภาพหลังจากงานฝังลูกนิมิต อีก 6 ปี คือปีพ.ศ.2487

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญของหลวงพ่อคำ วัดสนามจันทร์ มาให้ชมกันด้วยครับ นับเป็นเหรียญหนึ่งที่น่าบูชาครับ สนนราคายังไม่สูงมากนัก
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งจันทวโร หลวงปู่ถนอม

พระครูสิริโพธาภิวัฒน์ หรือ หลวงปู่ถนอม จันทรวโร รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ บ้านขามเตี้ยใหญ่ หมู่ 12,15 ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

ศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม อดีตพระเกจิชื่อดังลือลั่นด้านวิทยาคม ศิษย์เอกหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโณ วัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน

เป็นพระสายป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตรที่งดงาม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง

พระสุปฏิปันโนที่ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 79 ปี พรรษา 59 อยู่อย่างเรียบง่าย พอเพียงสมถะ ถ่อมเนื้อถ่อมตน

ในช่วงเดือน เม.ย.2562 คณะลูกศิษย์ใน อ.โพนสวรรค์ "เฮียเติง"ไชยวัฒน์ กุลยะ, "กุลชา กุลชา"ณัฐพัชร์ เสนาสี, จ.ส.อ.พิสุทธิ์วัชร มีสิทธิ์ และ ร.ต.ท.แสงเพชร หล้าเนตร ที่เลื่อมใสศรัทธา ได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นพระกริ่ง จันทวโรรุ่นแรก หลวงปู่ถนอม

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมปัจจัยซื้อที่ดินหน้าวัดเนื้อที่ 2 งานไว้เป็นธรณีสงฆ์ และบำรุงเสนาสนะ

พระกริ่งรุ่นนี้ จัดสร้างเนื้อทองคำ 9 องค์, เนื้อเงิน 99 องค์, เนื้อทองวาสนา 999 องค์ และเนื้อทองสำริด 555 องค์

ด้านหน้ามีลักษณะคล้ายพระกริ่งปวเรศ ต้นตำรับที่อ่อนช้อยงดงาม มีใบหน้าอิ่มเอิบ มีพุทธรูปลักษณะปางหมอยา และคล้ายพระกริ่งโฆสปัญโญ หลวงปู่คำพันธ์ มีขนาดความกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3.9 เซนติเมตร

ด้านหลัง ใต้ก้นองค์พระใกล้ลูกประคำ ตอกโค้ดอักษรภาษาจีนอ่านว่า "เฮง" หมายถึงโชคดี ใต้ฐานชั้นที่ 1 สลักตัวเลขไทย นัมเบอร์ ถัดลงมาฐานชั้นสุดท้ายสลักตัวหนังสือคำว่า จันทวโร

ส่วนที่ก้นสลักพญานาคมีลักษณะขดตัวเกี้ยวหาง ด้านข้างขนาบด้วยอักขระยันต์ 4 ตัว อ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ซึ่งหมายถึงตั้งฐานรวมธาตุ

หลวงปู่ถนอม ปลุกเสกเดี่ยว เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2562 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะประกอบพิธีปลุกเสกน้ำพุทธมนต์ในขันเป็นทักษิณาวรรต สักพักหมุนกลับมาเป็นอุตราวรรต  
  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อโด่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ชาวพนัสฯ และชลบุรีนับถือท่านมากรูปหนึ่ง วัตถุมงคลของท่านผู้ใช้มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งด้านอยู่คงแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม

พระครูพินิจสมาจาร หรือ หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ท่านเกิดที่บ้านเนินมะกอก ตำบลนามะตูม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2421 โยมบิดาชื่อแพ โยมมารดาชื่อจีน เมื่อครั้ง เยาว์วัยท่านเป็นคนที่มีสติปัญญาดีฉลาดปราดเปรื่อง เรียนอะไรก็สามารถจำได้รวดเร็ว จึงเป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ ต่อมาในปี พ.ศ.2441 คหบดีชื่อ ฮวด ได้เป็นผู้จัดการอุปสมบทให้ที่วัดนามะตูม โดยมี พระอาจารย์เพ็ง วัดหน้าพระธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปั้น วัดนามะตูม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์คง วัดประชาระบือธรรม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "อินทโชโต" เมื่อบวชแล้วท่านก็ได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูม ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาต่างๆ จากพระอาจารย์ปั้น ประกอบกับท่านเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดี จึงสามารถศึกษาได้แตกฉานอย่างรวดเร็ว หลวงพ่อโด่ ยังได้ออกธุดงค์ไปยังภาคเหนือ และได้ศึกษาวิทยาคมต่างๆ กับพระเกจิอาจารย์ที่ท่านพบในป่าอีกด้วย

ต่อมาท่านทราบว่าพระอาจารย์ปั้นอาพาธ ท่านจึงกลับมาดูแลปรนนิบัติพระอาจารย์ปั้นจนมรณภาพในปี พ.ศ.2446 ชาวบ้านและคณะสงฆ์ที่นิมนต์ท่านขึ้นเป็น เจ้าอาวาสสืบแทน และท่านก็ได้พัฒนาวัดนามะตูมให้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา การเป็นพระที่ปฏิบัติเคร่งครัด ช่วยเหลือชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยาก และรักษาโรคภัยให้กับชาวบ้านเสมอมา จึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านแถบนั้นมาก

ในปี พ.ศ.2476 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลนามะตูม ปี พ.ศ.2481 หลวงพ่อโด่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพินิจสมาจาร ในปี พ.ศ.2503 และได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าคณะอำเภอพนัสนิคม และได้รับพระราชทานพัดยศพิเศษ จ.ป.ร. ปี พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นเอก หลวงพ่อโด่มรณภาพเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2515 สิริอายุได้ 95 ปี พรรษาที่ 74

หลวงพ่อโด่ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญรุ่นแรกในปี พ.ศ.2496 และท่านยังสร้างเหรียญไว้หลายรุ่น เช่น เหรียญสร้างโบสถ์วัดบ้านใหม่ปี 2503 เหรียญฉลองเลื่อนสมณศักดิ์ ปี พ.ศ.2503 เหรียญกลม และเหรียญจักร ปี พ.ศ.2513 พระปิดตาท่านก็ได้สร้างไว้หลายรุ่นเช่นกันครับ หลวงพ่อโด่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งในจังหวัดชลบุรี จังหวัดใกล้เคียงจนถึงในกรุงเทพฯ เองก็มีเยอะ เวลาใครจะไปขอของขลังจากท่าน ท่านก็จะสั่งสอนให้เป็นคนดี ถือศีลถือสัตย์แล้วประพฤติดีเสมอ

ในวันนี้ผมได้นำเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กันยายน 2562 12:40:30 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #117 เมื่อ: 22 กันยายน 2562 12:44:23 »

.



เหรียญหลวงพ่อห่วง วัดท่าใน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อห่วง วัดท่าใน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้เคารพนับถือมากรูปหนึ่งของจังหวัดนครปฐมซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ที่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเคารพและยกย่องว่าเก่งกว่าท่าน หลวงพ่อห่วง หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อเต๋ ทั้งสามท่านนี้ในสมัยก่อน เคยออกธุดงค์ด้วยกันเสมอ ทั้งสามท่านจึงสนิทสนมกันดี

หลวงพ่อห่วงเกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2428 เกิดที่บ้านตำบลทรงคะนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ต่อมา ได้อุปสมบทที่วัดทรงคะนอง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2449 โดยมีพระอธิการรุ่ง วัดทรงคะนอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์มี และพระอธิการแจ่ม วัดทรงคะนอง เป็นพระคู่สวด เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดทรงคะนอง ครั้นออกพรรษาจึงได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ออกธุดงค์ไปตามสถานที่อันสงบในป่าเขาลำเนาไพร นานถึง 6 พรรษา ท่านก็ได้ศึกษาวิปัสสนาและวิทยาคมต่างจากพระอาจารย์หลายองค์ที่ท่านพบในป่านั้น ต่อมาท่านจึงได้มาปักกลดอยู่ในที่วัดท่าใน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และมีสภาพทรุดโทรม ปรากฏว่าประชาชนในย่านนั้นต่างพากันเคารพศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของท่าน และพร้อมกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าใน ซึ่งท่านก็มิได้ขัดข้องอนุโลมตามศรัทธาและความประสงค์ของชาวบ้าน

นับแต่นั้นมาท่านก็ได้อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ประพฤติดีประพฤติชอบ และช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญขึ้นโดยลำดับจนทุกวันนี้ ด้วยศีลาจารวัตรอันน่าเลื่อมใส และวิริยะอุตสาหะของท่าน ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งดังต่อไปนี้ ปี พ.ศ.2475 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าใน พ.ศ.2481 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าพระยา พ.ศ.2490 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสิริวุฒาจารย์ หลวงพ่อห่วงมรณภาพเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2506 ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 78 ปี พรรษาที่ 57

ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นที่ได้เคยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน และเชือกถักมงคล ซึ่งท่านทำไว้ไม่มากนัก เนื่องจากท่านจะพิจารณาดูเสียก่อนว่าจะให้ใคร และท่านจะให้ผู้ที่ได้รับไปนั้นสัญญากับท่านก่อนว่าจะไม่นำไปปล้นใคร โดยท่านจะบอกว่า "มึงอย่าไปเที่ยวปล้นเขานะ" มีลูกศิษย์ของท่านคนหนึ่งต่อมาประพฤติไม่ดี ท่านก็เรียกมาพบและขอดูตะกรุด พอชายคนนั้นถอดตะกรุดให้ท่านดู ท่านก็กำเอาไว้ ตะกรุดดอกนั้นกลับละลายไปเลย แล้วท่านก็โยนทิ้งลงน้ำไป เจ้าของถึงกับร้องไห้ นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระเนื้อผงเกสรขณะนี้หาดูยากครับ พระผงนี้เมื่อกดพิมพ์และแห้งดีแล้ว ท่านจะใส่ไว้ในบาตรมีน้ำเต็ม ท่านจะบริกรรม ปลุกเสกจนพระผงลอยน้ำขึ้นมาจึงจะใช้ได้ ส่วนองค์ไหนที่จม ไม่ลอย ท่านว่าเป็นพระเสียใช้ไม่ได้

เหรียญของท่านรุ่นแรก สร้างประมาณ 500 เหรียญ โดยศิษย์สร้างถวายเป็นเหรียญรูปเสมา ด้านหลังเป็นยันต์กระต่ายสามขาซ้อนกันสองชั้น ยันต์นี้เป็นยันต์ทางคงกระพันชาตรี

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อห่วง วัดท่าใน รุ่นแรก มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งอัคคธัมโม หลวงปู่ประไพ

หลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม" อดีต เจ้าอาวาสวัดป่าศรีประไพวนาราม ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ชื่อดัง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์สืบสายธรรมพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร และศิษย์เอกหลวงปู่ผาง คุตจิตโต พระเกจิชื่อดังแห่งวัดอุดมคงคาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

มีนามเดิมว่า ประไพ ไชยพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2468 ที่บ้านขามเตี้ยน้อย อ.ท่าอุเทน (ปัจจุบัน อ.โพนสวรรค์)

เข้าสู่ร่มกาวสาวพัสตร์ ในวัย 24 ปี เมื่อปี พ.ศ.2492 ก่อนจะญัตติเป็นธรรมยุต เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2495 อุปสมบทที่วัดป่าอิสระธรรม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร มีพระสีลา อิสสโร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อินตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์แตงอ่อน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังอุปสมบท รับใช้พระอุปัชฌาย์นาน 3 ปี จึงเดินธุดงค์กับพระรูปอื่น ไปที่ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น นาน 3 ปี ก่อนปวารณาฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ผาง และออกธุดงค์ไปปักกลดเน้นที่ป่าช้าใน จ.ชัยภูมิ จึงมุ่งหน้ากลับสู่มาตุภูมิบ้านเกิด ก่อนเดินธุดงค์ต่อและนั่งปฏิบัติธรรมในวัดพื้นที่ จ.นครพนม อีก 10 แห่ง

ช่วงที่จำพรรษาที่วัดป่าศรีประไพวนาราม มีญาติโยม รวมทั้งลูกศิษย์แวะเวียนไปกราบมิได้ขาด แต่ด้วยสังขารที่ร่วงโรย ขณะอาพาธที่กุฏิ 2 ปี ท่านจึงไม่รับกิจนิมนต์

กระทั่งเมื่อเวลา 02.45 น. วันที่ 12 ก.ค.2560 มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุ 92 ปี พรรษา 64

ในปี พ.ศ.2559 วัดประชาสามัคคี (วัดพระธาตุโพนสวรรค์) ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นพระกริ่งอัคคธัมโม รุ่นสร้างบารมี วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างพระธาตุโพนสวรรค์

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 องค์, เนื้อเงิน 110 องค์, เนื้อนวะ 421 องค์, เนื้อนวะ (กรรมการ) อุดผง 99 องค์, เนื้อสัมฤทธิ์ผิวไฟ 50 องค์, เนื้อสัมฤทธิ์ 1,645 องค์ และแบบช่อตั้งบูชา 20 ช่อ

ด้านหน้ามีลักษณะคล้ายพระกริ่งบาเก็ง เป็นพระกริ่งศิลปะจีน ซึ่งท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ได้ถอดแบบ และรุ่นนี้ยังถอดแบบจากพระกริ่งหลวงปู่ผาง คุตจิตโต มีขนาดความกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3.5 เซนติเมตร

ด้านหลังบริเวณฐานองค์พระชั้นล่างสุด สลักตัวหนังสือคำว่า อคฺคธมฺโม ที่ก้นสลักนับเบอร์ไว้ทุกองค์ พร้อมตอกโค้ด พธ (ย่อมาจากพระธาตุโพนสวรรค์) ในรูปใบโพธิ์

พระกริ่งรุ่นนี้ปลุกเสก 9 วาระ มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาลเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ, หลวงปู่เฉย ญาณธโร วัดสระเกษ จ.ขอนแก่น, หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย วัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม, หลวงปู่คำไหล ปริสุทโธ วัดศรีชมพู อ.นาหว้า จ.นครพนม

ส่วนวาระสุดท้ายหลวงปู่ประไพนั่งอธิษฐานจิตในกุฏิ

นอกจากนี้ ยังนำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษก เจ้าสัวสี่ รุ่นสร้างเขื่อน วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อ 22 พ.ย.2559 ด้วย

เป็นอีกวัตถุมงคลที่โดดเด่น และหาได้ยาก
   ข่าวสดออนไลน์



พระเขมรผมหวี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด!


สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วลีที่ว่า "แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด" นั้นอาจจะเคยได้ยินกันมานานแล้ว แต่ก็เป็นปัญหาคาใจสำหรับท่านผู้เป็นเจ้าของวัตถุมงคลนั้นๆ มาโดยตลอด แล้วที่ว่าแท้ไม่รู้ที่นั้นจริงๆ หรือเปล่า แล้วทำไมถึงรู้ว่าแท้ ก็เป็นปัญหานานาที่ต้องค้างคาใจไปตลอด

ครับปัญหานี้ผมเองก็ได้ยินมาตลอด ซึ่งก็มีมานานแล้วและทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของวัตถุมงคลนั้นๆ งงสงสัย ยิ่งในยุคนี้ซึ่งมีการออกใบรับรองก็ยิ่งมีคำถามเพิ่มขึ้นมาก แต่ถ้าผู้ที่เล่นหาสะสมมานานพอสมควรก็พอจะเข้าใจได้ แต่สำหรับท่านที่ยังไม่ได้เล่นหาสะสม ก็คงจะงงได้ เรามาดูถึงปัญหาที่ว่าแท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัดกันว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ก่อนอื่นต้องยอมรับความจริงอยู่อย่างหนึ่งคือ ในสังคมพระเครื่องนั้นเขาก็มักจะนิยมและเล่นหาพระเครื่องที่รู้จักกันแพร่หลาย และเป็นที่นิยมกันเท่านั้น การที่จะได้รู้ว่าเป็นพระอะไรที่ไหน ก็จะต้องมีความนิยมเล่นหาสะสมกันก่อน หรือเป็นพระเครื่องที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนในความเป็นจริงการสร้างพระเครื่องนั้นก็มีการสร้างกันมานานนมแล้ว ถ้าพูดถึงพระเก่าๆ ก็เป็นพันปีมาแล้ว ซึ่งมักจะสร้างบรรจุไว้ในกรุเจดีย์ ซึ่งในประเด็นนี้บางกรุก็มีสร้างกันหลายๆ พิมพ์

ทีนี้มาถึงยุคที่พระเกจิอาจารย์สร้างในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีที่สร้างบรรจุกรุเจดีย์และที่ไม่ได้บรรจุกรุ โดยสร้างแจกกันไปเลยตามแต่ที่ลูกศิษย์ลูกหาจะมาขอให้สร้าง และบางวัดก็มีพระเกจิฯ หลายรูปสร้างกันต่อๆ มาอีก ถ้านับก็จะมากมายเหลือคณานับ ดังนั้นจึงไม่มีใครที่จะทราบได้หมดว่าเป็นพระอะไรบ้าง มีแม่พิมพ์เป็นอย่างไร เนื้อหาเป็นอย่างไร

ในสังคมพระเครื่องก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะเลือกเล่นหาสะสมเฉพาะที่มีคนรู้จักกันแพร่หลายเท่านั้น พระเครื่องที่สร้างและรู้จักกันเฉพาะท้องถิ่นก็ยังมีอีกมาก บางครั้งเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ แม้ท้องถิ่นเองก็ยังไม่รู้จักก็มี เนื่องจากไม่มีบันทึกไว้ หรือไม่นิยม นานเข้าก็ลืมเลือนกันไป

วัตถุมงคลบางอย่างแม้ว่าพระเกจิฯ ที่ปลุกเสกไว้ก็เป็นเกจิฯ โด่งดัง แต่บางรุ่นก็ไม่เป็นที่รู้จัก ขอยกตัวอย่างเช่น วัตถุมงคลของหลวงปู่แหวน วัตถุมงคลของหลวงพ่อเกษม และวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณ บางรุ่นก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก เนื่องจากแต่ละหลวงพ่อท่านก็ปลุกเสกไว้เป็นพันรุ่น เพราะมีผู้มาขอให้ท่านปลุกเสก ท่านก็ปลุกเสกหรืออธิษฐานจิตให้ด้วยความเมตตา ยิ่งในระยะหลังๆ บางครั้งตัวหลวงพ่อเองก็ยังไม่ทราบ เพราะไม่ได้มาขออนุญาต แต่อาศัยไปขอร่วมพิธีของคนอื่น หรือยิ่งร้ายไปกว่านั้นพอใครเขาจะทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องก็นำเอาวัตถุมงคลของตนเองไปพ่วง โดยนำวัตถุมงคลใส่ไว้ในรถบริเวณใกล้ๆ โบสถ์แล้วแอบนำสายสิญจน์ไปผูกโยงต่อมาที่รถของตนก็มี แบบนี้ก็ไม่มีบันทึก หรือไม่มีใครนิยมเล่นหา และไม่มีใครรู้จัก

นอกจากนี้พระที่สร้างกันในท้องถิ่นและไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายก็ยังมีอีกมาก บางทีก็รู้จักกันในท้องถิ่นตามที่กล่าวมาในขั้นต้น แม้แต่พระที่บรรจุอยู่ในกรุเก่าแก่โบราณ และมีพระในกรุนั้นนิยมเล่นหากันแพงๆ แต่ก็มีบางพิมพ์ที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก ยังไม่ได้นิยมหรือมีจำนวนมากพอที่จะมีคนรู้จักก็มีอีกมากเช่นกัน

เวลานำไปให้ใครดูเขาก็อาจจะไม่รู้จัก และพระบางองค์ก็มีความเก่าพอ หรือพระเกจิฯ ที่ยังไม่มีใครรู้จัก ก็จะไปบอกว่าพระเขาไม่แท้ก็ไม่ได้ เนื่องจากเขาสร้างมาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ได้มีเจตนาลอกเลียนแบบ หรือเจตนาที่จะทำให้เข้าใจผิดเป็นอื่นจากความเป็นจริง วัตถุมงคลประเภทนี้ก็ต้องยกประโยชน์ให้ว่า แท้ เพียงแต่ยังไม่ทราบที่ หรือหลวงพ่อที่ปลุกเสก เป็นต้น

ครับที่ผมนำมาพูดคุยกันนั้นก็พอดีมีผู้ที่นำพระเครื่องมาขอออกใบรับรองบางท่าน ซึ่งพระของท่านเหล่านั้นผลการพิจารณาออกมาว่าแท้ ไม่รู้ที่ จึงไม่สามารถออกใบรับรองให้ได้ และก็ทำการคืนเงินค่าบริการตรวจสอบให้ บางท่านก็ยังไม่พอใจและบางครั้งก็โวยวายว่าทำไมสมาคมจึงไม่รู้หรือ ไม่ค้นหาข้อมูลมาออกใบรับรองให้

ซึ่งเหตุผลที่ทางสมาคมไม่สามารถออกใบรับรองให้ได้นั้นก็เนื่องจากไม่มีข้อมูล ถึงแม้ว่าจะระดมผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆ ด้านมาค้นหาแล้วก็ยังไม่ได้ข้อมูล จึงไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นพระอะไร วัดไหนหรือใครสร้าง พิมพ์ของพระเป็นอย่างไร และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าแท้ไม่แท้อย่างไร วัตถุมงคลประเภทนี้จึงเข้าข่าย "พระแท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด" ครับ

เอาเรื่องที่เกิดกับตัวผมเอง ซึ่งเคยเช่าพระที่เป็นประเภทแท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัดอยู่เหมือนกัน แล้วทำไมจึงเช่าหามา ก็ต้องบอกว่าในสมัยก่อนเวลาผมไปต่างจังหวัด หรือมีคนมาบอกให้ช่วยเช่าพระ ผมเองก็จะไปดูและเช่าหาไว้บ้าง ถ้าเป็นพระที่ผมพอรู้จัก และพอดูเองได้ แต่ก็มีพระบางอย่างที่ไม่รู้จัก แต่ดูแล้วเก่าและน่าจะแท้ก็จะเช่าพ่วงมาด้วย แต่พระประเภทนี้บางองค์จนปัจจุบันผ่านมา 30-40 ปีแล้วก็ยังค้นไม่พบว่าเป็นพระอะไร ของวัดไหนก็มี เพราะเป็นพระที่เขายังไม่รู้จักกันแพร่หลายหรือยังไม่นิยมกัน

และนอกจากนั้นบางครั้งก็ไปเจอพระเครื่องที่เป็นพระกรุเก่าแน่ตามที่เราพิจารณาดู ทั้งศิลปะและเนื้อหาความเก่า ส่วนใหญ่จะเป็นพระขนาดใหญ่หน่อย ที่มักจะเรียกกันว่าพระแผง บางครั้งผมไปเจอเข้า ศิลปะดีสวยงาม เนื้อหาดี ราคาไม่แพงนักก็จะเช่าไว้ดูและค้นคว้าต่อ เพราะผมเองไม่ใช่พ่อค้าพระหรือเซียนที่เช่ามาแล้วจะต้องขายได้ ผมก็จะเช่าไว้ศึกษาก็มีอยู่หลายองค์ และผมเองคิดว่าสนุกดีที่ได้มีโอกาสค้นหาว่าเป็นพระอะไรกรุใด บางองค์ก็ค้นได้ในที่สุดว่าเป็นพระอะไรกรุใด

แต่ก็ยังมีอีกบ้างที่ยังไม่รู้กรุเลย จะว่าไม่แท้ก็ไม่ได้ เพราะทั้งศิลปะและเนื้อหาเก่าจริงจากประสบการณ์ในการศึกษาเรื่องพระของผม พอนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญหรือเซียนพระช่วยดูก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นของกรุใด แต่ก็ยอมรับความเก่าและยืนยันว่าเป็นพระแท้ หรือดีหน่อยก็สันนิษฐานว่าเป็นกรุแถบจังหวัดนั้นจังหวัดนี้ ซึ่งบางครั้งก็ตรงกับที่ผมคิด

มีพระเครื่องขนาดใหญ่อยู่องค์หนึ่งที่ผมเช่ามา เนื่องจากเห็นว่าศิลปะเป็นแบบลพบุรีหรือขอม ซึ่งมีศิลปะที่สวยงามเข้มข้นตามแบบของศิลปะขอม เนื้อหาของพระก็เก่าแก่ถูกต้องตามอายุกาล จึงเช่าไว้ซึ่งก็ไม่แพงนัก แล้วมาค้นคว้าต่อ ซึ่งก็เป็นความสนุกของผมอย่างหนึ่งในการเล่นหาสะสมพระเครื่อง ตอนที่เช่าหามาก็ต้องบอกว่าเป็นพระประเภท "แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด" เพราะยังไม่รู้ว่าเป็นพระอะไรของกรุใด

การเรียกชื่อก็เรียกตามศิลปะขององค์พระ ซึ่งมีศิลปะแบบขอมและตามรูปแบบพระบูชาของยุคลพบุรีว่า "เขมรผมเวียน" เนื่องจากพระศกทำเป็นเส้นวนรอบพระเศียร ถ้าทำเป็นเส้นตั้งตามพระเศียรขึ้นไปก็จะเรียกว่า "เขมรผมหวี" ซึ่งเป็นศัพท์ที่เรียกพระบูชาที่มีศิลปะแบบลพบุรีหรือขอมมักจะเรียกกันแบบนี้ แต่ที่นี้เป็นของกรุใดก็ต้องค้นกันต่อไป

ต่อมาก็ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เปรียบเทียบศิลปะและเนื้อหาจนได้ความใกล้เคียง ซึ่งเนื้อหาของพระเป็นเนื้อชินเงินที่ใกล้เคียงกับของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จึงสันนิษฐานว่าเป็นของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ครับก็เป็นการยกตัวอย่างว่าพระแท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัดนั้น ต้องค่อยๆ ศึกษาหาข้อมูลกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบข้อมูลที่พอจะสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นพระอะไรของวัดใด ซึ่งบางครั้งก็ทราบได้ แต่บางครั้งก็ยังไม่ทราบ เจ้าของพระก็ต้องค่อยๆ ค้นกันต่อไปครับ

ในวันนี้ผมก็เลยขอนำรูปพระเขมรผมหวี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ซึ่งเป็นของผมเองตามที่เล่ามาครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #118 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2562 16:18:53 »


หลวงพ่อโม้วัดสน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูศีลนิวาส(หลวงพ่อโม้) วัดสน พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่ายุคเดียวกับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกกัน หลวงพ่อโม้เป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านเคารพรักมาก เหรียญของหลวงพ่อโม้นับว่าเป็นเหรียญนิยมเก่าแก่ของชาวธนบุรี ปัจจุบันหาชมยากครับ

หลวงพ่อโม้เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2412 ที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โยมบิดาชื่อโต โยมมารดาชื่อฉ่ำ พออายุได้ 21 ปี ในปี พ.ศ.2433 จึงได้อุปสมบทที่วัดไทรย์ ตำบลจระเข้ร้อง อำเภอวิเศษชัยชาญ โดยมีพระครูทอง วัดสนามไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นิ่ม วัดน้ำซน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์น้อย วัดเทวราช เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้ว ก็ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดศาลา จังหวัดอ่างทอง 4 พรรษา ต่อมา ท่านได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดราชนัดดา ในสมัยที่พระนิกรมมุนี (โห้) เป็นเจ้าอาวาส หนึ่งพรรษา ก็พอดีมีชาวบ้านมานิมนต์ ท่านไปจำพรรษาที่วัดสน ราษฎร์บูรณะ ซึ่งขณะนั้นวัดสนว่าง เจ้าอาวาสอยู่พอดี และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสน เมื่อท่านได้มาอยู่ที่วัดสนแล้วก็ได้เอาใจใส่ดูแลถาวรวัตถุต่างๆ เช่น จัดให้มีการสร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ โบสถ์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนประชาบาล เป็นต้น พอว่างท่านก็ได้ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานที่วัดราชสิทธาราม(วัดพลับ) สมัยเจ้าคุณพระสังฆวรานุวงศ์ เถระ(เอี่ยม)

พอถึงปี พ.ศ.2455 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอธิการ เจ้าคณะตำบลราษฎร์บูรณะ และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2457 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูศีลนิวาส พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

หลวงพ่อโม้กับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เป็นศิษย์สำนักวัดพลับ ด้วยกันและมีความสนิทสนมกันมาก ไปมาหาสู่กันอยู่เนืองๆ ในสมัยก่อนก็มีคำกล่าวว่าศิษย์ 2 สำนักนี้หนังดีฟันไม่เข้า เป็นที่รู้กันดีในแถบนั้น เมื่อปี พ.ศ.2484 หลวงพ่อโม้อายุครบ 6 รอบ (72 ปี) ศิษยานุศิษย์จึงได้จัดงานฉลองอายุ และขออนุญาตท่านออกเหรียญรูปท่าน เป็นเหรียญรูปเสมารูปหลวงพ่อโม้ครึ่งองค์ แล้วก็เป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ปัจจุบันหายากราคาสูง และต่อมาก็ยังมีการออกเหรียญอีกรุ่นในปี พ.ศ.2500 แต่เหรียญนิยมจะเป็นเหรียญรุ่นแรก

หลวงพ่อโม้เป็นเจ้าอาวาสวัดสน และเป็นที่รักเคารพของชาวบ้าน จนถึงปี พ.ศ.2503 จึงได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 91 ปี พรรษาที่ 70

เหรียญของหลวงพ่อโม้รุ่นแรกนั้นชาวบ้านแถววัดสนหวงแหนมาก ปัจจุบันก็หายากพอสมควร สนนราคาสูง วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อโม้ วัดสน มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญตอก 1 หลวงปู่พัน

หลวงปู่พัน ฐานกโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยมงคล อ.นาทม จ.นครพนม

ปัจจุบัน สิริอายุ 115 ปี พรรษา 46 พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมและมีอายุยืนยาวมาก เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

มีนามเดิม พันธ์ศรี กันภัย เกิดปี พ.ศ.2448 อ.นาทม จ.นครพนม เป็นช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ชีวิตในวัยเยาว์ใช้ชีวิตเหมือนเด็กตามชนบทอีสานทั่วไป เรียนหนังสือที่วัดในหมู่บ้าน ด้วยความที่มีใจโน้มเอียงเข้าหาพระธรรม

เมื่ออายุ 25 ปี เข้าพิธีอุปสมบท แต่ด้วยความจำเป็นบางประการ จึงลาสิกขาออกมา

ในช่วงปี พ.ศ.2482-2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกเกณฑ์ให้เป็นทหารร่วมรบ แต่ก่อนเข้าสู่สมรภูมิ ได้รักษาศีล นุ่งขาวห่มขาว เข้ารับอาบน้ำว่าน 108 ที่วัดถ้ำภูเขาควาย หลังสงครามสงบ ท่านได้ใช้ชีวิตทำมาหากินทำไร่ทำนา

ต่อมาเกิดเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตทางโลก จึงตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2516 โดยมีพระครูรัตนคุณาวสัย เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นท่านได้จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดยอดแก้ว อ.นาทม

เนื่องจากท่านเป็นคนชมชอบวิทยาคม จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน วัดท่าอุเทน จ.นครพนม, หลวงปู่บุญมา สุชีโว พระป่าสายกัมมัฏฐานชื่อดังของ จ.ยโสธร เป็นต้น

จนถึงปี พ.ศ.2545 ย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัยมงคล อ.นาทม จ.นครพนม ตราบจนปัจจุบันและได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยมงคล

สำหรับวัดโพธิ์ชัยมงคล เป็นวัดที่ยังขาดแคลนถาวรวัตถุที่สำคัญใช้ในกิจของสงฆ์ อาทิ ศาลาการเปรียญ และหอระฆัง เป็นต้น แต่ยังขาดปัจจัยดำเนินการอยู่เป็นจำนวนมาก

ดังนั้น คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย นายชินพัฒน์ ศิริประเสริฐ และอู่อาร์บีเอส แปดริ้ว ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนรุ่นตอก 1 หลวงปู่พัน เพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่บริจาคสมทบสร้างศาลาการเปรียญและหอระฆังวัดโพธิ์ชัยมงคล ให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มีหูไม่เจาะรู

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่พันครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่บริเวณสังฆาฏิจะตอกเลข "๑" ชัดเจน

ส่วนด้านหลังบนสุดเขียนว่า หลวงปู่พัน ฐานกโร และจากด้านขวาของเหรียญลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้าย มีตัวอักษรเขียนว่าวัดโพธิ์ชัยมงคล อ.นาทม จ.นครพนม บริเวณกลางเหรียญมีอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน

สำหรับจำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ 3 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ เนื้อเงินลงยา 60 เหรียญ เนื้อเงินบริสุทธิ์ 60 เหรียญ เนื้อนวะลายเสือ 199 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า 2 สี 499 เหรียญ นวะหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ เนื้อกะไหล่ทองลงยา 299 เหรียญ เป็นต้น
  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงพ่อพึ่ง วัดรางบัว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูวิทยานุโยค (พึ่ง) วัดรางบัว เป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือมากของชาวบ้านแถบวัดรางบัว ท่านเคยสร้างเหรียญไว้รุ่นหนึ่ง มีประสบการณ์มาก เคยมีนายตำรวจทดลองยิงแต่ก็ยิงไม่ออก ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นเหรียญรุ่นนี้กันนักครับ

หลวงพ่อพึ่งเกิดเมื่อปี พ.ศ.2408 ที่แขวงบางระมาด ตลิ่งชัน โยมบิดาชื่อชม โยมมารดาชื่อส้มแป้น และได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือกับพระอธิการยัง วัดรางบัว ต่อมาเมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดจำปา โดยมีเจ้าอธิการเผือก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการยัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ไปจำพรรษาอยู่กับพระอธิการยัง วัดรางบัว ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอธิการยัง จนถึงปี พ.ศ.2455 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดรางบัว ท่านได้พัฒนาวัดรางบัวจนเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ ปี พ.ศ.2479 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน พ.ศ.2482 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูวิทยานุโยค เมื่อถึงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2483 ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 76 ปี พรรษาที่ 54

หลวงพ่อพึ่งเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาธรรมสูง ชาวบ้านในแถบนั้นจะเห็นหลวงพ่อพึ่งกวาดลานวัด และดายหญ้าเป็นประจำทุกวัน สวดมนต์ทำวัตรมิได้ขาด เป็นคนพูดจริงทำจริง นักเลงในแถบนั้นเกรงกลัวท่านมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งพระลูกวัดทำความผิด ท่านจึงขับพระรูปนั้นออกจากวัด และทำให้พระรูปนั้นโกรธท่านมาก ได้ไปเอาปืนลูกซองมากะจะยิงท่าน แต่ไปพบกับพระลูกวัด 2 รูปที่เขาคิดว่านำเรื่องไปฟ้องหลวงพ่อพึ่ง จึงยิงพระทั้ง 2 รูปนั้นมรณภาพ หลังจากนั้นก็ไปดูหลวงพ่อพึ่งที่กุฏิ เห็นหลวงพ่อนั่งอยู่ที่กุฏิจึงยิงหลวงพ่อแต่ปืนยิงไม่ออก แม้จะยิงซ้ำอีกหลายทีก็ยังยิงไม่ออกเช่นเดิม จากนั้นจึงวิ่งหนีและถูกจับได้ในที่สุด เรื่องนี้คนเก่าคนแก่ในย่านนั้นรู้เรื่องดี

ต่อมาในปี พ.ศ.2482 หลวงพ่อพึ่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชาวบ้านและลูกศิษย์จึงขออนุญาตสร้างเหรียญรูปท่านเพื่อแจกในงานฉลองสมณศักดิ์ ซึ่งท่านก็อนุญาต นับเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน เหรียญรุ่นนี้ทำเป็นเหรียญอัลปาก้า รูปทรงคล้ายๆ กับรูปทรงของเหรียญวัดหนัง

เหรียญนี้เคยมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย มีนายตำรวจท่านหนึ่งทราบว่าเหรียญนี้ยิงไม่ออก จึงได้ไปขอเหรียญนี้มาจากวัด และทดลองยิงดูปรากฏว่ายิงไม่ออก ข่าวแพร่ออกไปจึงมีคนเข้าไปหาเหรียญรุ่นนี้จากวัดจนหมด

เหรียญหลวงพ่อพึ่ง วัดรางบัว รุ่นแรก สร้างจำนวนประมาณ 1,000 เหรียญ ปัจจุบันค่อนข้างหายากแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญที่สร้างภายหลังคล้ายๆ กันแต่ไม่ทันหลวงพ่อ จุดสังเกตตรงคำว่าที่ระลึก เหรียญรุ่นแรกจะสะกดผิดเป็น "ที่ระลิก" ส่วนรุ่นหลังจะเป็น "ที่ระลึก"

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อพึ่ง วัดรางบัว มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อเมฆพัดที่มี ชื่อเสียงโด่งดังมากๆ และเป็นอันดับหนึ่งของพระปิดตาเนื้อเมฆพัด คือ พระปิดตาของหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ ซึ่งปัจจุบันเป็น พระปิดตาที่มีสนนราคาสูงมากและหายากมากครับ

หลวงปู่นาคเกิดเมื่อปี พ.ศ.2358 ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พออายุครบ 21 ปี ท่านจึงอุปสมบทที่วัดพระปฐมเจดีย์ ได้รับฉายาว่า "โชติโก" จำพรรษาอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ จนถึงปี พ.ศ.2432 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์จากรัชกาลที่ 5 ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรประจำทิศองค์พระปฐมเจดีย์ ที่ "พระครูปาจิณทิศบริหาร" ตำแหน่ง เจ้าคณะรองเมืองนครชัยศรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2441 จึงได้มาสร้างวัดขึ้นใหม่ในพื้นที่ตำบลหนองพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เพื่อให้เป็นวัดบริวารขององค์พระปฐมเจดีย์

โดยตั้งห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ 1 ก.ม. แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2443 ได้รับพระราชทานวิสุงคารามเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2443 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ชื่อว่า "วัดนาคโชติการาม" แต่ ชาวบ้านมักจะเรียกว่า "วัดใหม่ห้วยจระเข้" ต่อมาก็เป็น "วัดห้วยจระเข้" จนทุกวันนี้ โดยหลวงปู่นาคเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

หลวงปู่นาคเป็นผู้มีความรู้แตกฉาน ทั้งหนังสือไทย ขอม และบาลี และมีปฏิปทา มีศีลาจารวัตรอันงดงาม เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของพระภิกษุ สามเณร ทายก ทายิกา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเป็นอย่างมาก ท่านปกครอง วัดห้วยจระเข้นานถึง 11 ปี และมรณภาพในปี พ.ศ.2452

ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างพระปิดตาเนื้อโลหะอันมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านเริ่มสร้างประมาณในปี พ.ศ.2432 ตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ในสมัยแรกๆ มีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทอง เนื้อชินเงิน และเนื้อชินเขียว ต่อมาได้เริ่มสร้างเป็นเนื้อเมฆพัดซึ่งเป็นเนื้อมาตรฐานที่นิยมกันในปัจจุบัน เนื้อโลหะเมฆพัดนี้เกิดจากการนำแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วยกำมะถัน มีสีดำเป็นมัน แววเป็นสีคราม พิมพ์ที่นิยมเป็นมาตรฐานคือ พิมพ์ท้องแฟบหรือพิมพ์หูกระต่าย และพิมพ์สะดือจุ่น

พระปิดตาเนื้อเมฆพัดของหลวงปู่นาคนี้ท่านจัดสร้างเองภายในวัด เนื้อพระจะเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ เคลือบเขียวสวยงาม น้ำหนักตึงมือ ที่สำคัญจะไม่ปรากฏรอยพรุนของโพรงอากาศเลย เนื้อเรียบสนิท บริเวณนิ้วพระหัตถ์จะมีรอยตะไบตกแต่ง และมีรอยจารอักขระ ซึ่งหลวงปู่นาคจารด้วยตัวเองทุกองค์ โดย จะลงตัวนะคงคา อันเป็นนะสำคัญ ซึ่งต้องระเบิดน้ำลงไปลงอักขระและท่านจะปลุกเสกเดี่ยวของท่านทุกองค์

พระปิดตาหลวงปู่นาคแฝงเร้นด้วยพลังอันเข้มขลัง ทั้งแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม เป็นที่เลื่องลือกันทั่ว ปัจจุบันมีราคาสูงและหายากมากๆ ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา พิมพ์หูกระต่าย ของหลวงปู่นาคมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระนาคปรกกรุบ้านดอนคา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนาคปรกเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงที่ดูแปลกตาจากพระนาคปรกทั่วไปก็คือ พระนาคปรกกรุบ้านดอนคา สุพรรณบุรี คือจะมีเศียรนาคแค่ 5 เศียรเท่านั้น ซึ่งโดยปกติทั่วไปคตินิยมในการสร้างพระนาค ปรกนั้นจะนิยมสร้างให้นาคมีเศียร 7 เศียร

พระนาคปรกกรุบ้านดอนคามีการขุดพบโดยบังเอิญนานมาแล้ว ที่บ้านดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จักกันนัก เนื้อพระที่ขึ้นมามีจำนวนน้อยและเก็บกันเงียบ พระที่พบในครั้งนั้นถูกย้ายมาขายที่ตลาดบางลี่ อําเภอสองพี่น้อง เนื่องจากบ้านดอนคาในสมัยก่อนนั้นอยู่ห่างไกลการเดินทางยากลำบากและไม่สะดวก ในสมัยนั้นบ้านดอนคาเป็นชุมชนเชื้อสายเวียงจันทน์ที่มีขนาดใหญ่ พระทั้งหมดจึงได้ถูกนำมาขายในตลาดบางลี่

ศิลปะของพระนาคปรกกรุบ้านดอนคาเป็นศิลปะแบบขอมหรือสมัยลพบุรี องค์พระอวบพุงพลุ้ย สวมอุณหิส (เทริด) องค์พระประทับบนฐานขนดนาค 3 ชั้น เทียบเคียงได้กับศิลปะของขอมแบบบายน ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

แต่ที่แปลกกว่าพระเครื่องนาคปรกอื่นๆ ก็คือ โดยทั่วไปเรามักจะพบพระนาคปรกที่มีเศียร 7 เศียรแทบทั้งสิ้น แต่พระนาคปรกบ้านดอนคากลับมีเศียรนาคแค่ 5 เศียรเท่านั้น นับว่าแตกต่างจากพระนาคปรกทั่วๆ ไป และเท่าที่พบพระเครื่องนาคปรกจากกรุต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ก็มีเพียงพระนาคปรกกรุ บ้านดอนคาเท่านั้น ที่มีเศียรนาคเพียง 5 เศียร ก็เป็นเอกลักษณ์ของพระนาคปรกกรุนี้ครับ

พระนาคปรกกรุบ้านดอนคาพบเพียงเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเท่านั้น ผิวของพระจะปกคลุมด้วยไขขาว พอล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบกับผิวสนิมแดงสวยงาม แต่พระที่พบก็มีจำนวนไม่มากนัก พระส่วนใหญ่ถูกเก็บเงียบกันอยู่ในสุพรรณฯ

ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยมีใครได้พบเห็นกัน จึงอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันแพร่หลายนัก แต่ก็เป็นพระนาคปรกที่น่าสนใจ ศิลปะยุคสมัยเก่าแก่ถึงยุคขอมแบบบายน ในเรื่องประสบการณ์และพุทธคุณว่ากันว่าเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน จึงเป็นที่หวงแหนกันมากในสมัยก่อน ปัจจุบันสนนราคาก็สูงอยู่พอสมควรครับ และหาพระแท้ๆ ยาก เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาดีๆ ครับ ของปลอมเลียนแบบก็มีอยู่บ้างเป็นธรรมดา เท่าที่พบเห็นของปลอมยังทำได้ไม่เหมือนนักครับ พอจับพิรุธได้ถ้าสังเกตดีๆ ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนาคปรกกรุบ้านดอนคา จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยถึงพระเกจิอาจารย์ของจังหวัดราชบุรี ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ ปี พ.ศ.2481 ในพิธีครั้งนี้พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมในพิธีล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่เรืองวิทยาคมทั้งสิ้น พระเกจิอาจารย์ที่ผมกล่าวถึงก็คือหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ครับ

พระครูธรรมสุนทร(จันทร์) วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 ที่หมู่บ้านริมคลองเหนือ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โยมบิดาชื่อ จีน โยมมารดาชื่อ เคิ้ว นามสกุลจีนเครือ ชีวิตในวัยเด็กก็เหมือนกับเด็กทั่วๆ ไป ใช้ชีวิตอย่างอิสระ หน้าที่ของท่านคือต้อนฝูงควายฝูงใหญ่ไปเลี้ยง อุปนิสัยเป็นคนจริง พูดเสียงดัง และค่อนข้างจะเป็นคนเขื่องอยู่ไม่น้อย เป็นหัวหน้าในกลุ่มเพื่อนฝูง

พออายุครบบวชในปี พ.ศ.2440 ก็ได้อุปสมบทที่วัดหนองเสือ บ้านโป่ง โดยมีพระอธิการดำเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดี(จันทรโชติ) วัดบ้านยาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอินทร์ วัดบ้านยางนอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วท่านได้ศึกษาอักขระทั้งขอมและไทย ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด เริ่มศึกษาพระปริยัติและปฏิบัติกับพระอธิการดี จนมีความรู้แตกฉาน และทางด้านพุทธาคมนั้นก็ได้ศึกษากับพระอธิการดี และพระอธิการอินทร์ วัดบ้านยางนอกอีกด้วย ต่อมาท่านก็ได้สร้างพระปิดตาออกมาแจกกับชาวบ้านลูกศิษย์ลูกหาจนปรากฏในทางคงกระพันเล่าลือกันมาก ในราวปี พ.ศ.2466 พระอธิการดี เจ้าอาวาส ถึงกาลมรณภาพ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน จนกระทั่งปี พ.ศ.2475 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2475 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูธรรมสุนทร หลวงปู่จันทร์มรณภาพในปี พ.ศ.2494 สิริอายุได้ 76 ปี พรรษาที่ 54

ในครั้งที่หลวงปู่จันทร์ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ในปี พ.ศ.2481 ที่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ทางคณะศิษย์ได้จัดงานแสดงมุทิตาจิต และสร้างเหรียญรูปท่านแจกเป็นที่ระลึก มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง นอกจากนี้ ท่านก็ยังได้สร้างพระปิดตาไว้หลายรุ่นหลายแบบ เช่น พระปิดตาเนื้อเมฆพัด เนื้อตะกั่ว เนื้อชิน เนื้อพลวง เนื้อทองแดง และเนื้อผง เหตุที่สร้างไว้หลายเนื้อนั้น ก็เนื่องจากว่าท่านสร้างไว้หลายครั้งด้วยกัน มีประสบการณ์มากมายที่ชาวบ้านแถบนั้นประสบมา ทั้งแคล้วคลาด ทั้งอยู่ยงคงกระพันชาตรี ครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา ท่านก็สร้างแจกทหารราชบุรีและจากที่อื่นๆ ที่เดินทางมาขอพรจากท่านเป็นจำนวนมาก การสร้างพระของท่านนั้นก็สร้างกันในวัด พระเณรชาวบ้านช่วยกันเทหลอม แล้วช่วยกันตบแต่ง หลวงปู่จะลงอักขระแล้วปลุกเสกให้อีกครั้ง

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกเนื้อทองแดงของท่านมาให้ชม ซึ่งปัจจุบันหายากครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกำแพงเม็ดขนุน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุของจังหวัดกำแพงเพชรนั้นเป็นพระที่โด่งดังมากมาแต่ในอดีต โดยเฉพาะพระเครื่องเนื้อดินเผา ก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระกำแพงลีลากลีบจำปา พระกำแพงลีลาพลูจีบ พระกำแพงเปิดโลก และพระนางกำแพงพิมพ์ต่างๆ

ในส่วนของพระปางลีลานั้นในสมัยก่อนมักจะเรียกกันว่าพระกำแพงเขย่ง เรื่องจากพระปางลีลานั้นมองดูคล้ายกับเขย่งเท้าข้างหนึ่ง และคำว่ากำแพงนั้นก็มาจากสถานที่ขุดพบพระที่จังหวัดกำแพงเพชร เลยเรียกรวมๆ ว่า "พระกำแพงเขย่ง" แต่ก็ยังแยกออกเป็นพิมพ์ต่างๆ อีก เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบจำปาเป็นต้น ทั้งนี้ ก็แยกออกโดยรูปร่างสัณฐานของพระที่มีลักษณะคล้ายกันกับอะไร เช่น กำแพงเม็ดขนุน ก็เพราะรูปทรงโดยรวมของพระกลมๆ รีๆ คล้ายกับเม็ดขนุน ก็เลยตั้งชื่อเรียกง่ายๆ ให้พอแยกชื่อเรียกว่าหมายถึงพระพิมพ์อะไรเท่านั้นครับ

ในสมัยก่อนถ้าพูดถึงพระกำแพงเขย่ง ก็จะนึกถึงพระปางลีลาของจังหวัดกำแพงเพชร แต่จะเป็นพิมพ์อะไรก็ว่ากันไปอีกทีหนึ่ง และพระกำแพงเขย่งทุกพิมพ์ก็จะหายากทั้งสิ้นและมีราคาสูง เนื่องจากค่านิยมสูงทุกพิมพ์ ทุกเนื้อ แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดก็จะเป็นพระกำแพงเม็ดขนุน ในระยะแรกๆ ของการจัดชุดพระเบญจภาคี พระกำแพงเม็ดขนุนถูกจัดให้อยู่ในพระเบญจภาคีก่อน ต่อมาเมื่อมีการปรึกษาหารือกันแล้ว เวลาจัดสร้อยพระชุดเบญจภาคี พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระปางลีลาอยู่องค์เดียว ซึ่งรูปทรงสัณฐานก็จะรีๆ ยาวๆ ลงมาไม่สมมาตรกับพระอื่นๆ ที่เป็นพระปางประทับนั่งทุกองค์ จึงคิดเปลี่ยนพระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระประทับนั่ง ก็ได้เป็นพระกำแพงซุ้มกอมาแทน ซึ่งก็เป็นพระที่มีความนิยมพอๆ กัน

พระกำแพงเม็ดขนุนก็ยังเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงอยู่อย่างเดิม เนื่องจากจำนวนพระที่พบนั้นมีน้อยกว่าพระกำแพงซุ้มกอแต่เดิม พระกำแพงเม็ดขนุนนั้นหาพระแท้ๆ ยากมาตั้งแต่ในอดีต ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก

พระที่พบส่วนมากจะเป็นพระที่มีพิมพ์ธรรมดา แต่ก็มีบางองค์อาจจะมีพิมพ์เขยื้อน ซึ่งความจริงก็เป็นพระพิมพ์เดียวกัน เพียงแต่เป็นการเขยื้อนจากการถอดพระออกจากพิมพ์ตั้งแต่แรก ซึ่งจะพบเห็นได้เป็นบางองค์ และในส่วนที่เขยื้อนนั้นจะเป็นบริเวณไหล่หรือยอดอกซึ่งเป็นสองขยัก ในส่วนอื่นไม่เขยื้อน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการถอดพิมพ์แล้วเกิดผิดพลาด ตอนดันองค์พระออกจากแม่พิมพ์โดยการดันจากด้านล่างขึ้นมา บริเวณอกซึ่งเป็นส่วนที่นูนสูงจึงไปเขยื้อนกดซ้ำกับแม่พิมพ์พระ พระกำแพงเม็ดขนุนส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเนื้อดินเผาแทบทั้งสิ้น มีที่พบเป็นเนื้อว่านล้วนๆ ก็มีแต่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นพระว่านหน้าทอง และเมื่อถูกค้นพบก็มักจะถูกลอกเอาหน้าทองออกไปขายต่างหาก องค์พระที่เป็นเนื้อว่านก็จะชำรุดหักพังไปเสียหมด

ส่วนพระเนื้อชินเงินก็เคยได้ฟังมาว่ามี แต่ก็ชำรุดเสียเกือบหมด เนื่องจากสภาพกรุถูกน้ำท่วมตลอดทุกปี จึงเสียหายไปหมด พระกำแพงเม็ดขนุนส่วนใหญ่ที่พบจึงมีแต่พระเนื้อดินเผาและนิยมกันมากที่สุด ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดี

วันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงเม็ดขนุนจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



ใบรับรองพระแท้(ใบเซอร์)

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในปัจจุบันใบรับรองพระแท้นั้น เป็นที่นิยมและต้องการของผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่อง โดยเฉพาะผู้นิยมสะสมหรือเช่าหาด้วยความศรัทธาที่ไม่ใช่เซียนพระ เนื่องจากเขาเหล่านั้นก็ต้องการความมั่นใจที่จะได้ครอบครองพระแท้ๆ เมื่อเช่าหามาแล้วเสียเงินเช่ามาแล้วก็ต้องการพระแท้ๆ และมีการรับรองเพื่อความมั่นใจ และเมื่อลูกค้าของเซียนต้องการใบรับรอง บรรดาพ่อค้าหรือเซียนก็เลยต้องทำใบรับรองพระแท้ไปด้วย

ในสมัยก่อนนั้นไม่มีการออกใบรับรองพระแท้กัน เพียงแต่ใช้ความเชื่อถือส่วนบุคคล ซึ่งก็จะเป็นผู้ที่สังคมพระเครื่องให้การยอมรับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง และ ก็ไม่มีปัญหาอะไรในความแท้ของพระเครื่องนั้นๆ นอกจากนี้ เรื่องมูลค่าราคารองรับก็ยังมีมูลค่าเพิ่ม เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ดังเราจะเห็นพระเครื่ององค์ดังๆ ในสมัยก่อน ปัจจุบันก็ยังเป็นพระเครื่อง องค์ดังอยู่ตลอด และมูลค่าก็สูงขึ้นมากตามลำดับ ซึ่งก็ถือว่าเป็น พระเครื่องต้นแบบในการศึกษาพระแท้ในเวลาต่อมา โดยพระเครื่องเหล่านั้นก็ไม่ได้มีใบรับรองพระแท้แต่อย่างใด ถ้าเรามาสังเกตดูก็จะพบว่าในสมัยก่อนเซียนพระนั้นมีจรรยาบรรณ และรักษาความเชื่อถือ ในวิชาชีพของเขามาก ส่วนใครที่ไม่ซื่อสัตย์ก็จบในอาชีพไปเลย

ในปัจจุบันการเล่นหาสะสมก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มีการเล่นหาสะสมขยายวงมากขึ้น เซียนพระก็มีมากมายขึ้นตามกันมา มีหลากหลายความคิด จึงเริ่มพัฒนามาจนถึงการออกใบรับรองพระแท้ ซึ่งก็มีหลายกลุ่ม หลากหลายชมรม สมาคม ฯลฯ ที่เปิดออกใบรับรองพระแท้ ถ้ามองโดยรวมก็ดี เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เช่าหาพระเครื่องที่ไม่มีความรู้พอจะตัดสินเก๊-แท้ได้ด้วยตัวเอง แต่ด้วยความหลากหลายที่มีอยู่มากนี่เอง ก็ยังมีข้อแตกต่างของแต่ละกลุ่มที่ออกใบรับรอง เช่น จะเห็นอยู่บ่อยๆ ว่า ไปที่หนึ่งบอกแท้ออกใบรับรองให้ แต่พอไปขอออกใบรับรองอีกที่หนึ่งกลับกลายเป็นไม่แท้ เรื่องเหล่านี้ปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ซึ่งก็อาจจะเป็นปัญหาได้ในเวลาต่อมา ก็ต้องยอมรับครับว่าในปัจจุบันนั้น มีมากมายจริงๆ ที่รับออกใบรับรอง มีทั้งที่ได้มาตรฐานสากลก็เยอะ และที่ไม่ได้มาตรฐานสากลก็มาก

อ้าวแล้วจะเชื่ออย่างไรดีว่าพระของเราแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล หรือจะไปขอออกใบรับรองที่ไหนดีที่เป็นมาตรฐานสากล เรื่องนี้มีผู้สอบถามผมมาก็มากอยู่ ผมเองถ้าจะตอบหรือบอกให้ ก็จะเป็นการเข้าข้างหรือชี้นำเฉพาะพวกตัวเอง แต่ก็พอจะสังเกตได้ว่าที่ไหนได้มาตรฐาน เช่น ถ้าเราได้ใบรับรองมาแล้วแต่ยังไม่มั่นใจ ก็ลองเอาไปขอออกใบรับรองกับอีกแห่งหนึ่ง ถ้าผลออกมาเหมือนกัน ก็น่าจะเชื่อใจได้ระดับหนึ่ง ยิ่งถ้าลองเอาไปออกให้เช่ากับพวกเซียนพระแล้วเขาขอเช่าก็มั่นใจได้ว่าแท้แน่ และสถานที่ที่ไปขอออกใบรับรองให้นั้นพอเชื่อถือได้ ถ้าจะเลือกก็เลือกเอาที่ที่มีชื่อเสียงหน่อย มีคนไปขอออกใบรับรองมากๆ ก็พอจะบอกได้ว่าองค์นั้นๆ เป็นที่เชื่อถือของสังคม ก็พอจะสบายใจได้ครับ

เรื่องพระแท้นั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือมูลค่ารองรับ พระเครื่องที่นิยมๆ หรือยอดนิยมนั้นจะมีมูลค่าราคารองรับแน่นอน เนื่องจากมีผู้ต้องการกันมากจึงมีมูลค่าตามมาเป็นธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือของกรุวัดบางขุนพรหม ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) สร้างไว้จะไม่มีราคาเลย หรือเอาไปให้เซียนเช่าไม่มีใครขอเช่าหรือต่อรองราคาเลย แสดงว่าพระองค์นั้นไม่แท้แน่นอน เพราะขนาดเป็นพระหักชำรุดก็ยังมีมูลค่าราคา แม้แต่เพียงชิ้นส่วนครึ่งองค์ก็ยังมีมูลค่าราคาเลยครับ สมมติถ้าเรามีพระสมเด็จฯ ไม่ว่าจะเป็นวัดระฆังฯ หรือกรุวัดบางขุนพรหม และมีใบรับรองพระแท้ แล้วนำไปออกให้เช่าที่ศูนย์พระเครื่องใหญ่ๆ กับบรรดาเซียนต่างๆ แล้วเขาไม่สนใจขอเช่า หรือเขาต่อรองราคาเลย ก็แสดงว่าพระของเราไม่แท้แน่ และใบรับรองที่มีอยู่นั้น เป็นใบแท้หรือเปล่า? เพราะปัจจุบันก็มีการทำใบรับรองปลอมอีกต่างหาก ถ้าเป็นใบรับรองจริงที่เราไปขอออกมาเอง ก็ให้รู้ได้เลยว่าสถานที่ที่เราไปขอออกใบรับรองนั้นใช้ไม่ได้ไม่เป็นมาตรฐานสากลครับ

บางคนก็เอ่ยปากว่า "สังคมนี้อยู่ยาก" สังคมอะไรทุกๆ สังคมในปัจจุบันนั้นอยู่ยากจริงๆ ครับ แต่ถ้าเราจะเลือกให้อยู่ง่ายๆ ก็ไม่ยากนะครับ เช่น ศึกษาหาข้อมูลเสียก่อนที่จะเข้าไป เลือกเข้าสังคมที่ดีๆ กลุ่มที่ดีๆ ก็มีอยู่มากมายก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เลือกคบคนดีๆ มีความรับผิดชอบสูง เมื่อเช่าพระเขาไปแล้ว เขาก็รับผิดชอบเราตลอดกาล แท้ก็แท้ตลอดกาลมีมูลค่ารองรับ แต่จะมากจะน้อยก็แล้วแต่จังหวะเวลา เนื่องจากพระบางอย่างบางเวลาราคาจะสูงมาก แต่เวลาผ่านไปมูลค่าอาจจะลดลงบ้างก็มีนะ แต่ถ้าเป็นพระยอดนิยมอย่างพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือกรุวัดบางขุนพรหม มูลค่ามีแต่เพิ่มขึ้น ยิ่งผ่านเวลามานานๆ ก็ยิ่งสูงขึ้น และก็มีพระยอดนิยมอีกหลายๆ อย่างที่มีมูลค่าสูงขึ้นตามกาลเวลาครับ

ก็เลือกสถานที่ที่จะไปออกใบรับรองกันหน่อยนะครับ และตรวจสอบใบรับรองพระแท้ที่เขานำมารับประกันว่าเป็นใบรับรองที่ถูกต้องได้มาตรฐานหรือไม่ ซึ่งองค์กรที่ได้มาตรฐานเขาจะมีช่องทาง ให้เราสามารถตรวจสอบใบรับรองนั้นๆ ของเขาได้ด้วยตัวเองครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ทรงเจดีย์ ที่ดูง่ายๆ มีมูลค่ารองรับเป็นมาตรฐานสากลตลอดกาลมาให้ชม แม้ไม่ต้องมีใบรับรองพระแท้ เซียนทุกคนก็อยากเช่าครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ตุลาคม 2562 16:20:30 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #119 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2562 16:28:48 »


เหรียญหลวงปู่ทูล หัฏฐสโร

หลวงปู่ทูล หัฏฐสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดอนหลี่ ต.หนองบัวแก้ว อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม พระเกจิที่เรืองวิทยาคมยุคเก่า มีชื่อเสียงโด่งดังในเขตจังหวัดมหาสารคาม ช่วงต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ร่วมสมัยกับพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย

หลวงปู่ทูล เกิดประมาณปี พ.ศ.2400 ที่บ้านทับค่าย จ.สุรินทร์ หลังอุปสมบทแล้วได้ไปจำพรรษาที่วัดพระโต จ.ศรีสะเกษ

หลวงปู่ทูลชมชอบความสงบวิเวก มักออกเดินธุดงควัตรไปตามป่าเขาลำเนาไพรหลายแห่งในภาคอีสาน และบางครั้งก็เดินเข้าไปในเขตประเทศกัมพูชา พร้อมกับศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์เขมรหลายท่าน ทำให้ท่านมีวิชาอาคมครบเครื่อง

หลวงปู่ทูลมรณภาพอย่างสงบ เมื่อปี พ.ศ.2484 สิริอายุ 80 ปี พรรษา 60

ย้อนไปในปี พ.ศ.2542 วัดบ้านดอนหลี่ ร่วมกับคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ มีโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัด แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก จึงขออำนาจบารมี หลวงปู่ทูล ด้วยการจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ทูล ลักษณะเป็นเหรียญเสมา จัดสร้าง 2 เนื้อ คือ ทองแดงรมดำ และเนื้อผงว่านร้อยแปด

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทูลครึ่งองค์ ใต้รูปเหมือนมีตัวอักษรเขียนคำว่า "ครูบาทูล หฏฐสโร" ตัวอักษรแถวที่สองเขียนคำว่า "อดีตเจ้าอาวาส"

ด้านหลังเหรียญ บริเวณกลางเหรียญ เป็นคาถาเขียนว่า "กิปิเสคิ หัวใจปฏิสังคโย" เป็นคาถามหาเสน่ห์ มหาระรวย และป้องกันภยันตรายทั้งปวง ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า "วัดดอนหลี่" ด้านล่างใต้ยันต์เขียนตัวอักษรย่อว่า "ท.๑" มีความหมายว่าเป็นเหรียญหลวงปู่ทูล รุ่น 1 ส่วนด้านซ้ายมือโค้งลงไปด้านล่างวนขึ้นไปขอบเหรียญด้านขวาเขียนคำว่า "ต.หนองบัวแก้ว อ.พยัคฆ์ จ.มหาสารคาม"

เหรียญรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังของเมืองมหาสารคาม อาทิ หลวงปู่ทองสุข เจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย, หลวงปู่บุญมา วัดป่าทรงธรรม เป็นต้น

ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก วัดบ้านดอนหลี่ได้มอบให้คณะศิษย์และผู้ที่มาร่วมบริจาคทำบุญกับวัด ส่วนจำนวนการสร้างเหรียญทองแดง 3,000 เหรียญ และเนื้อผงว่านร้อยแปด 2,000 เหรียญ

เหรียญหลวงปู่ทูลรุ่นนี้ แม้จะเป็นเหรียญตาย แต่ด้วยเจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ รายได้ทั้งหมดใช้ในการพัฒนาวัด พระเกจิคณาจารย์ที่ปลุกเสกล้วนอาคมเข้มขลัง พุทธคุณจึงโดดเด่นรอบด้าน

ผู้ที่ห้อยเหรียญของหลวงปู่ทูลรุ่นนี้ ต่างมีประสบการณ์กล่าวขวัญ ถึงเรื่องราวความเข้มขลังวัตถุมงคลเหรียญรุ่น 1 หลวงปู่ทูลมีอีกมากมาย

เหรียญหลวงปู่ทูล วัดดอนหลี่ เป็นเหรียญดังอีกเหรียญหนึ่งของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่ตลอดกาล

ค่านิยมเหรียญเนื้อผงว่านร้อยแปด สภาพสวยอยู่ที่หลักร้อยปลาย ส่วนเหรียญเนื้อทองแดง ความนิยมรองลงมาอยู่ที่หลักร้อยกลาง

นับว่าเป็นเหรียญที่พุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคาม ต่างเสาะแสวงหาไว้ติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคล
  ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งจาตุรงคมุนี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งจาตุรงคมุนีของท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์) วัดสุทัศน์ เป็นพระกริ่งที่น่าสนใจรุ่นหนึ่งของท่านเจ้าคุณศรีฯ พิธีการสร้างดี เนื้อหาดี สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักครับ

พระกริ่งจาตุรงคมุนี เป็นพระกริ่งที่ท่านเจ้าคุณศรีฯ สร้างขึ้นเพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่มีจิต ศรัทธาบริจาคทรัพย์ร่วมสร้างพระอุโบสถวัดศรีจอมทอง (วัดตีนโนน) ที่กิ่งอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และท่านเจ้าคุณศรีฯ ถวายพระนามว่า "พระกริ่งจาตุรงคมุนี" วันที่สร้างได้เริ่มประกอบพิธีสวดมนต์ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2490 เวลา 17.00 น. รุ่งขึ้น วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2490 เวลา 09.36 น. ได้ฤกษ์เททอง ผู้ช่วยจัดสถานที่ คือพระครูวินัยกรณโสภณ (หนู) นายช่างผู้ดำเนินการหล่อพระคือ นายช่างหรัส พัฒนางกูร แห่งบ้านช่างหล่อ

พระกริ่งรุ่นนี้หล่อตันทั้งองค์ แล้วเจาะก้นบรรจุกริ่ง ขนาดประมาณเท่าแท่งดินสอ แล้วอุดช่องที่บรรจุอีกครั้งหนึ่ง ใต้ฐานมีทั้งแบบเรียบหรือแบบก้นกระทะ วรรณะเหลืองปนแดง พิมพ์ของพระกริ่งรุ่นนี้ ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้ให้ช่างหรัสถอดพิมพ์จากพระกริ่งจีนเล็ก ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ได้ประทานให้แก่ท่านเจ้าคุณศรีฯ ไว้ และได้แก้ไขพิมพ์และตกแต่งพิมพ์เพิ่มเติมบางส่วน เนื้อที่ใช้สร้าง มีทองชนวนของพระกริ่งรุ่น พ.ศ.2485 ผสมกับทองโลหะ สถานที่ท่องเที่ยวบริเวณหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรวิหาร จำนวนที่สร้าง 500 องค์ และการสร้างคราวนั้น ได้สร้างพระกริ่งอุบาเก็ง(รุ่น 4) ขึ้นอีก 72 องค์ พระชัยวัฒน์ 600 องค์ พระพุทธรูปจำลองหลวงพ่อดำ(พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน) ขนาดหน้าตัก 10 นิ้ว 6 องค์

สถานที่ประกอบพิธีได้ประกอบพิธีสวดพุทธาภิเษก ที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ซึ่งมีพระธรรมวโรดม(อยู่ ญาณโณทัย) วัดสระเกศฯ เป็นผู้จุดเทียนชัย พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(โสม ฉันโน) วัดสุทัศน์ เป็นผู้ดับเทียนชัย คณาจารย์ผู้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระธรรมวโรดม(อยู่) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก พระปริยัติบัณฑิต(ดำ) วัดปทุมคงคา พระสุธรรมธีรคุณ (วงศ์) วัดสุทัศน์ พระครูสุนทรศีลาจารย์ วัดสุทัศน์ พระปลัดเส่ง วัดกัลยาณมิตร พระครูสมุห์ไพฑูร วัดโพธิ์นิมิต พระศรีสมโพธิ์(เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ ฯลฯ

การสร้างพระกริ่งในครั้งนี้ ท่านเจ้าคุณศรีฯ ได้สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง ทั้งพิธีการสร้างก็ได้กระทำตามแบบอย่างของสมเด็จพระอุปัชฌาย์ทุกสิ่งทุกอย่าง พระกริ่งจาตุรงคมุนีจึงถือได้ว่าเป็นพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก พุทธคุณนั้นหายห่วงได้เลยครับ นับว่าครบเครื่องมากๆ ครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งจาตุรงคมุนี มาให้ชมกันทั้งด้านหน้าด้านหลังและก้นครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม พระเกจิอาจารย์ที่อยู่ในหัวใจของคนเพชรบุรีตลอดกาล และเหรียญของท่านก็เป็นเหรียญที่ครองความเป็นหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรีตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ นักสะสมเหรียญพระเกจิอาจารย์ยังจัดเหรียญของท่านเข้าเป็นยอดเหรียญหนึ่งในชุดเหรียญเบญจภาคีครับ

เหรียญหลวงพ่อฉุยที่อยู่ในความนิยมนั้นเป็นเหรียญรุ่นแรก และรุ่นเดียวของหลวงพ่อ ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2465 เพื่อแจกแก่ ผู้สมทบทุนสร้างมณฑป ไว้ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ที่วัดคงคาราม หลวงพ่อท่านได้สร้างเหรียญรุ่นแรกในปี พ.ศ.2465 และในปลายปี พ.ศ.2466 ท่านก็มรณภาพ

เป็นอันว่าเหรียญที่ท่านสร้างไว้ก็มีเพียงรุ่นแรกรุ่นเดียวเท่านั้น ลักษณะของเหรียญรุ่นแรกนั้นเป็นเหรียญรูปไข่ ค่อนข้างจะเขื่องกว่าเหรียญทั่วๆ ไปเล็กน้อย ด้านหน้าเป็นรูปท่านหน้าตรงครึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยลวดลายโบและดอกไม้สวยงาม เนื้อโลหะของเหรียญมีเนื้อทองแดงเนื้อเดียว หูของเหรียญเป็นเหรียญหูเชื่อมน้ำประสานเงิน ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ 5 อ่านว่า นะ โม พุท ธา ยะ สะ

นะโมพุทธายะ หมายถึง พระเจ้า 5 พระองค์ เมื่อพูดถึงคาถาตามภาษาบาลี มีความหมายตามตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งปฐมกัปที่ว่างเปล่า ปราศจากสิ่งต่างๆ บนพื้นพิภพ ท้าวสหบดีพรหมท่านได้เล็งญาณลงมาสอดส่องดูพื้นโลก เห็นพื้นโลกในขณะนั้นมีแต่น้ำซึ่งกำลังงวดลงทุกที จนจะกลายเป็นแผ่นดินอยู่แล้ว และทอดพระเนตรเห็นดอกบัวโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมา 5 ดอก และแต่ละดอกมีอักขระกำกับอยู่ ดอกละอักขระว่า นะ โม พุท ธา ยะ จึงตรัสพยากรณ์ไว้ว่า กัปนี้จะได้ชื่อว่าภัทรกัปและมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้รวม 5 พระองค์ด้วยกัน และนี่ก็เป็นที่มาแห่งพระเจ้า 5 พระองค์ นะ หมายถึง พระกุกุสันโธ โม หมายถึง พระโกนาคม พุท หมายถึง พระกัสปะ ธา หมายถึง พระโคตมะ คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ยะ หมายถึง พระศรีอาริย์ ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตกาล ส่วนอักขระอีกตัวหนึ่งคือตัว สะ หรือตัว ส นั้นมีความหมายอยู่สองนัย นัยหนึ่งหมายถึงฉายาของหลวงพ่อฉุย คือ สุขภิกขุ และอีกนัยหนึ่งหมายถึงนามสมณศักดิ์ของท่าน คือ สุวรรณมุนี ครับ

สำหรับเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้น ปรากฏว่าด้านหลังมีอยู่ 2 บล็อก มีข้อแตกต่างกันที่เห็นได้ง่ายๆ ก็คือ พิมพ์ตัวโมมีไส้ และอีกพิมพ์หนึ่งคือ ตัวโมไม่มีไส้ คือตรงตัวอักขระคำว่าโม ตัว ม.ม้า มีขีดตรงกลาง กับตัว ม.ม้าไม่มีขีดตรงกลาง แต่ทั้งสองพิมพ์ค่าความนิยมเหมือนๆ กันครับ สาเหตุที่มี 2 บล็อกเนื่องมาจากเป็นการสร้างเหรียญที่มีจำนวนมาก ซึ่งในสมัยนั้นการชุบแข็งโลหะยังไม่ดีนัก จึงทำให้เมื่อมีการพิมพ์กระแทกหลายๆ ครั้งเป็นสาเหตุทำให้แม่พิมพ์ด้านหลังเกิดแตก จึงจำเป็นต้องแกะแม่พิมพ์ด้านหลังใหม่ และอาจจะเป็นเพราะการเร่งรีบจึงได้แกะอักขระผิดพลาด คือตัวโมลืมแกะไส้ตรงกลางไป จึงทำให้พิมพ์ด้านหลังมี 2 แบบ นอกจากนี้เราจะสังเกตได้อีกว่า ถ้าพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์โมไม่มีไส้นั้นขอบแม่พิมพ์ด้านหน้าก็เริ่มชำรุดเช่นกัน ดังเราจะเห็นได้ว่าถ้าเป็นพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์โมไม่มีไส้นั้นที่ขอบเหรียญด้านหน้าจะเริ่มชำรุด เป็นขอบสั้นขึ้นเป็นปื้น มากน้อยแล้วแต่ความชำรุดของแม่พิมพ์ด้านหน้า จึงทำให้ผู้ชำนาญการรู้ได้เพียงเห็นเหรียญด้านหน้าก็รู้ว่าพิมพ์ด้านหลังเป็นพิมพ์ไหนครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อฉุย รุ่นแรก จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ได้ชมกัน 2 เหรียญ ทั้งแบบด้านหลังโมมีไส้ และด้าน
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หลวงพ่ออํ่า วัดชีปะขาว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่ออ่ำ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี เป็น พระเกจิอาจารย์ของอำเภอบางปลาม้า ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และเป็นที่เคารพเลื่อมใสของคนในแถบนั้นมาก เหรียญหล่อรูปท่านค่อนข้างหายาก มีจำนวนน้อย และคนท้องที่ส่วนใหญ่หวงแหนมาก จึงไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ

หลวงพ่ออ่ำเป็นคนอำเภอบางปลาม้าและเป็นหลานของหลวงพ่อเนียม เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2406 ในช่วงวัยรุ่นได้ช่วยบิดามารดาทำไร่ไถนาและเลี้ยงวัว อยู่มาวันหนึ่งเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงเดินทางมาที่วัดน้อยมาหาหลวงพ่อเนียม และปวารณาตัวเป็นสามเณร และต่อมาเมื่อราวปี พ.ศ.2427 จึงได้อุปสมบทที่วัดน้อย โดยมีหลวงพ่อเนียม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อปี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อแสง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จำพรรษาอยู่ที่วัดน้อย ศึกษาพระธรรมวินัย พระปริยัติ และวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเนียม

หลวงพ่ออ่ำได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อเนียมนานถึง 10 ปี หลวงพ่อเนียมจึงให้หลวงพ่ออ่ำกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชีปะขาวเพื่อมาช่วยพัฒนาวัด อันเป็นวัดบ้านเกิด ของหลวงพ่ออ่ำ ท่านกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชีปะขาวประมาณปี พ.ศ.2437-38 ในฐานะพระลูกวัด และช่วยพัฒนาวัดชีปะขาวเรื่อยมา จนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดชีปะขาวมรณภาพ หลวงพ่ออ่ำจึงรักษาการเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดชีปะขาวในเวลาต่อมา หลวงพ่ออ่ำได้พัฒนาวัดชีปะขาวจนเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก

ชาวบ้านเคารพนับถือหลวงพ่ออ่ำมาก นำบุตรมาบวชกับหลวงพ่ออ่ำปีปีหนึ่งหลายรูป หลวงพ่ออ่ำเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในแถบนั้น ใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือทุกข์ร้อนอะไรก็ไปขอให้หลวงพ่ออ่ำช่วยเหลือตลอด ท่านก็ช่วยเหลือชาวบ้านทุกเรื่องไม่เลือกที่รักมักที่ชัง หลวงพ่อให้ความอนุเคราะห์เสมอกันหมด จึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านมาก หลวงพ่ออ่ำอยู่เป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ.2490 จึงมรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 63

ในสมัยที่หลวงพ่ออ่ำยังมีชีวิตอยู่นั้น มีลูกศิษย์และชาวบ้านมาขอวัตถุมงคลกับหลวงพ่อเสมอ และได้มีการขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญหล่อรุ่นแรกขึ้น เป็นเหรียญหล่อที่มีหูในตัว และหูเหรียญมีลักษณะแบนๆ เป็นเนื้อทองเหลือง ต่อมาเมื่อแจกไปจนหมด ชาวบ้านที่ยังไม่ได้รับก็มาขออนุญาตให้หลวงพ่ออ่ำสร้างขึ้นอีกรุ่น จึงมีเหรียญหล่อรูปหลวงพ่ออ่ำเป็น 2 รุ่น เหรียญหล่อรุ่น 2 จะทำเป็นแบบหูในตัวเช่นกัน แต่ตัวเหรียญทำเป็นลักษณะกลมๆ แบบเส้นลวด นอกจากนี้ก็ยังมีวัตถุมงคลพระเครื่องแบบต่างๆ อีกหลายอย่างทั้งเป็นเนื้อทองเหลือง และแบบเนื้อชิน

ปัจจุบันเหรียญหล่อรุ่นแรกและรุ่น 2 ก็หายากแล้วครับ เนื่องจากมีจำนวนน้อยและชาวบ้านส่วนใหญ่ก็หวงแหนกัน จึงไม่ค่อยได้มีแพร่หลายเท่าไหร่นัก

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่ออ่ำ ทั้งรุ่นแรกหูแบน และรุ่น 2 หูกลมมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ ถ้าพูดถึงชื่อนี้ทุกคนก็จะนึกถึงพระปิดตาเนื้อผงสีดำองค์เล็กๆ และก็ทราบกันว่าเป็นพระปิดตาที่กรมหลวงชุมพรฯ ท่านได้สร้างที่วังนางเลิ้ง และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นผู้ปลุกเสก ปัจจุบันหายากมาก สนนราคาสูงมากครับ

พระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ หลวงปู่ศุขท่านได้สร้างไว้มีทั้งเนื้อตะกั่ว และเนื้อผงคลุกรัก จากคำบอกเล่าว่าหลวงปู่เริ่มสร้างขึ้นที่วังกรมหลวงชุมพรฯ (วังนางเลิ้ง) กทม. เนื่องในวันไหว้ครูของเสด็จในกรม ท่าน ซึ่งจัดขึ้นทุกปี และหลวงปู่ศุขเป็นพระอาจารย์ของท่านก็จะได้รับนิมนต์มาด้วยทุกปี โดยในวันแรกจะนิมนต์พระสงฆ์ฉันเช้าสวดมนต์และฉันเพล พิธีไหว้ครูนั้นมีด้วยกัน 3 วัน วันที่หนึ่งไหว้ครูหมอยา วันที่สองไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง วันที่สามไหว้ครูทางวิทยาคม ในงานไหว้ครูจะมีผู้ที่เคารพนับถือเสด็จในกรม พวกทหารเรือ และพลเรือนเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงวันที่สาม เสร็จพิธีไหว้ครูแล้วหลวงปู่ศุขจะแจกพระเครื่องแก่บรรดาผู้ที่เข้ามาร่วมงานโดยทั่วถึงกันทุกคน พระเครื่องที่แจกมีอยู่หลายแบบ และแบบหนึ่งในนั้นก็คือพระปิดทวาร เนื้อตะกั่ว พิมพ์ห้าเหลี่ยม พระปิดตาพิมพ์ ห้าเหลี่ยมนี้จะพบมากในกทม. ที่ชัยนาทพบน้อยกว่าอาจจะเนื่องจากเป็นพระที่สร้างแจกที่กทม. เสด็จในกรม ท่านได้นำไปแจกที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วยเป็นบางส่วน

พระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระปิดตาอีกพิมพ์หนึ่งที่หลวงปู่ศุขแจกในวันไหว้ครูของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระเนื้อผงคลุกรัก มีขนาดเล็กมาก และผู้ที่ได้รับมักจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ดังนั้น พระพิมพ์นี้จึงพบเห็นยากมาก และเนื่องจากเป็นพระที่สร้างที่กทม. (วังนางเลิ้ง) จึงจะพบเฉพาะในเขต กทม.เท่านั้น และเป็นพระปิดตาที่หายากมากที่สุดของหลวงปู่ศุข ปัจจุบันนับว่าหายากที่สุดในบรรดาพระปิดตาของหลวงปู่ศุขครับ

ปัจจุบันพระปิดตากรมหลวงชุมพรฯ นี้หายากมาก ผู้ที่ได้รับแจกก็จะส่งต่อตกทอดกันในหมู่ทายาท ไม่ค่อยมีเล็ดลอดออกมานัก จึงเป็นพระปิดตายอดนิยม ซึ่งต่างก็ทราบกันดีว่าเป็นพระที่หลวงปู่ศุขปลุกเสก และเป็นพระที่เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ท่านสร้างที่วังนางเลิ้ง สนนราคานั้นสูงมาก ในส่วนของปลอมเลียนแบบมีมากมายและทำกันมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ พระปิดตาและพระปิดทวารของหลวงปู่ศุขนั้นหายากทุกพิมพ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อตะกั่วหรือเนื้อผงคลุกรัก และพระปิดตาพิมพ์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดของหลวงปู่ศุขก็คือพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตาพิมพ์กรมหลวงชุมพรฯ มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระยอดขุนพลเสมาตัด กำแพงเพชร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดกำแพงเพชรเป็นสถานที่ตั้งเมืองเก่าอยู่หลายเมือง เช่น เมืองชากังราว เมืองนครชุม และเมืองไตรตรึง เป็นต้น ทุกเมืองจะมีวัดวาอารามและกรุพระเครื่องที่มีชื่อเสียงทุกเมือง

พระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากของจังหวัดนี้จะเป็นพระเนื้อดินเป็นส่วนใหญ่ และถือว่าเป็นพระเครื่องเนื้อดินที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่มมากที่สุดของเมืองไทย ในส่วนพระเนื้อชินที่มีชื่อเสียงก็มีอยู่บ้าง เช่น พระท่ามะปรางเนื้อชินเงิน ที่ถือว่ามีศิลปะที่งดงามที่สุดของพระตระกูลท่ามะปราง พระลีลากำแพงขาว ซึ่งเป็นพระเนื้อชินเงิน พระลีลาเชยคางข้างเม็ด ก็เป็นพระเนื้อชินเงินเช่นกันที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป พระกำแพงห้าร้อย ซึ่งเป็นพระเนื้อชินเงินแบบพระแผงขนาดใหญ่ก็เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังมีพระนางกำแพงเนื้อชินเงิน พระกำแพงหน้าโหนกชินเงิน พระนาคปรกเนื้อชินเงิน ซึ่งเป็นพระที่คนกำแพงเองนิยมกันมาก แต่คนต่างถิ่นอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันนัก พระที่คนกำแพงรุ่นเก่านิยมและหวงแหนกันมากอีกอย่างก็คือพระยอดขุนพลเสมาตัดครับ คนรุ่นเก่าหวงกันมากจะมอบให้แต่เฉพาะลูกหลานเท่านั้น

พระยอดขุนพลเสมาตัด ชื่อนี้เรียกกันตามรูปทรงของพระ ซึ่งเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยทรงเครื่องกษัตริย์ ทรงเทริดแบบขนนก มีพาหุรัดต้นแขน ประทับนั่งเหนือฐานกลีบบัวสองชั้นแบบอย่างพระยอดขุนพลทั่วๆ ไป และประทับอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งตัดเข้ารูปตามขอบซุ้ม มองดูคล้ายๆ กับใบเสมา จึงเรียกกันว่า "พระยอดขุนพล เสมาตัด" ถ้าเรียกชื่อนี้ก็เป็นที่รู้จักกันในมวลหมู่นักนิยมสะสมพระเครื่องว่าเป็น พระยอดขุนพลของจังหวัดกำแพงเพชร พระยอดขุนพลเสมาตัดนี้ขุดพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดในลานทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม และที่วัดอาวาสน้อยเมืองเก่าฝั่งจังหวัด พระที่พบมีทั้งที่เป็นพระเนื้อชินเงิน พบเป็นเนื้อหลักซึ่งพบมากที่สุด พระเนื้อดินเผาพบเป็นเนื้อรองลงมา และพระเนื้อว่านหน้าทอง พบน้อยมาก

พระยอดขุนพลเสมาตัดนี้เป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างเขื่อง เนื้อที่นิยมที่สุดคือเนื้อชินเงิน ในสมัยก่อนนิยมกันมากในคนกำแพง เพราะมีประสบการณ์เด่นทางด้านคงกระพันชาตรี คำว่ายอดขุนพลแสดงถึงอำนาจบารมีของขุนทหารในการออกรบ นอกจากจะเด่นทางด้านคงกระพันแล้วยังเด่นทางด้านแคล้วคลาดอีกด้วย แต่ก็ยังคงไว้ตามแบบฉบับของพระตระกูลทุ่งเศรษฐี คือมีผู้ที่บูชาไว้เกิดมีประสบการณ์ทางด้านค้าขายอีกด้วย ก็ต้องถือว่าครบเครื่องเลยทีเดียวครับ

พระยอดขุนพลเสมาตัดนี้มีขนาดสูงประมาณ 6 ซ.ม. กว้างประมาณ 4 ซ.ม. ก็นับว่ามีขนาดค่อนข้างใหญ่ในสมัยนี้ ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบพระแท้ๆ กัน และด้วยเป็นพระที่มีขนาดเขื่องจึงไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก ผมจึงได้นำมาพูดถึง เพื่อมิให้ลืมพระเก่าๆ ที่เคยโด่งดังกันมาแต่อดีต พระเก่าๆ อีกมากที่เคยเด่นดังในอดีตที่ถูกลืมเลือนกันไปตามกระแสนิยม พระเก่าๆ ที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาในอดีตนั้นไม่ได้มีกระแสการเชียร์อย่างในปัจจุบัน แต่กว่าจะมีชื่อเสียงได้ก็ต้องมีประสบการณ์ต่างๆ พิสูจน์มามากมายจนมีการพูดกันปากต่อปากสืบกันมาจนลือกันไปทั่ว จึงจะมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมกันได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลเสมาตัด เนื้อชินเงิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญพระมิ่งมงคล วัดบูรพาราม(ส่องใต้)

วัดบูรพาราม หรือ วัดส่องใต้ ตั้งอยู่เลขที่ 2215 ชุมชนส่องใต้ ถนนนครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย

ปัจจุบันมี พระครูสุตบูรพาภิมณฑ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส สำหรับวัดบูรพาราม (ส่องใต้) นับเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ก่อตั้งมาพร้อมกับการตั้งชุมชนบ้านส่อง เมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมา

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับวัดแห่งนี้ คือ "หลวงพ่อขี้ครั่ง" เนื่องจากสีผิวขององค์พระออกคล้ายสีของครั่ง ชาวบ้านเห็นว่าชื่อไม่เหมาะ จึงเปลี่ยนเป็น "พระมิ่งมงคล"

ล่าสุดในปี พ.ศ.2562 เปลี่ยนอีกครั้งเป็น "หลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง" ตราบจนปัจจุบัน นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนทั้งในและนอกพื้นที่ให้ความเคารพ เป็นอย่างมาก

สำหรับหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 นิ้ว สูง 22 นิ้ว หากรวมฐานจะสูง 37 นิ้ว พุทธศิลปะหลวงพ่อพุทธมั่งคั่งพบว่าเป็นศิลปะลาว สกุลช่างหลวงพระบาง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอาณาจักรล้านช้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-23

หลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง ประดิษฐานอยู่ที่วัดบูรพาราม (ส่องใต้) แห่งนี้ตั้งแต่การอพยพเข้ามาในครั้งนั้นตราบจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2555 วัดบูรพาราม (ส่องใต้) มีโครงการก่อสร้างศาลาการเปรียญ จึงขอบริจาคจตุปัจจัยจากญาติโยม ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้ศาลาการเปรียญหลังนี้แล้วเสร็จในเวลาอันรวดเร็วจึงมีการจัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อตอบแทนศรัทธาญาติโยมที่ร่วมบริจาคทำบุญทางวัด จึงได้จัดสร้างเหรียญหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง จำลองพุทธศิลปะหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง พระประธานศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด เพื่อมอบให้พุทธศาสนิกชนได้นำไปสักการบูชา

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่มี หูห่วง

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนองค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ปางมารวิชัย ประทับนั่งบนบัลลังก์ ด้านล่างเขียนว่ารุ่น๑ ถัดลงมาอีกเขียนว่า พระมิ่งมงคล (หลวงพ่อขี้ครั่ง) ขณะนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ พระพุทธมั่งคั่ง

ด้านหลังจากด้านขวาของเหรียญขึ้นไปด้านบนเขียนว่า ฉลองศาลาการเปรียญวัดบูรพารามส่องใต้ บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์นะโมพุทธายะ ใต้อักขระยันต์เขียนว่า ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นปีพุธศักราช ที่จัดสร้าง

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นภายในศาลการเปรียญหลังใหม่ มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูปที่นั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ พระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังนำไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกอีกหลายครั้ง
  ข่าวสดออนไลน์



พระยอดขุนพลเชียงใหม่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดเชียงใหม่เคยเป็นเมืองสำคัญในสมัยอาณาจักรลานนา ซึ่งมีวัดวาอารามเก่าแก่สำคัญๆ อยู่มากมาย อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยอดีต นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ เช่น พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนยุคต้นถึงยุคปลาย ที่เป็นศิลปะแบบของลังกาก็มี ส่วนในเรื่องของพระเครื่องนั้นมีพบไม่มากกรุนัก ส่วนใหญ่เป็นพระเครื่องประเภทดินเผา เช่น กรุเวียงท่ากาน วัดช้างค้ำ วัดพระธาตุดอยคำ กรุฮอด กรุวัดหวงข่วง และกรุศาลเจ้า เป็นต้น

ครับในจำนวนนี้ก็มีพระยอดขุนพลของจังหวัดเชียงใหม่รวมอยู่ด้วย พระยอดขุนพลเชียงใหม่นี้ขุดพบจากบริเวณกรุศาลเจ้า (ตลาดลำไย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในประมาณปี พ.ศ.2498 นอกจากพระพิมพ์ยอดขุนพลแล้วยังพบพระพิมพ์ปรกโพธิ์อีกด้วย พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา โดยจะพบทั้งที่มีการลงรักปิดทองและส่วนที่ไม่ได้ลงรักปิดทองก็มี นอกจากนี้ยังพบที่เป็นเนื้อว่านอีกด้วย ศิลปะที่เห็นเป็นศิลปะแบบเดียวกับพระปรกโพธิ์เชียงแสน ซึ่งเป็นสกุลช่างลานนา

พุทธลักษณะของพระยอดขุนพลนั้นจะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน การวางพระกรแบบแขนอ่อนวางพระหัตถ์อยู่นอกเข่า ซึ่งมักจะเรียกว่าเข่าใน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของเครื่องประกอบเป็นฉัตร และบังสูรย์ ประกอบด้านซ้ายและด้านขวา ล้วนเป็นเครื่องสูงของเจ้าพระยามหากษัตริย์ทั้งสิ้น ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น รูปทรงกรอบนอกคล้ายๆ กัน รายละเอียดขององค์พระก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เครื่องประกอบนั้น เป็นต้นโพธิ์ แบบซุ้มโพธิ์

พระทั้งสองชนิดมีขนาดค่อนข้างเขื่องคือ มีความกว้างประมาณ 4-4.3 ซ.ม. สูงประมาณ 5.5-6.2 ซ.ม. พระทั้งสองพิมพ์นี้ถือเป็นพระเครื่องยอดนิยมของภาคเหนือ จนได้รับการขนานนามว่า "พระยอดขุนพล" ซึ่งปัจจุบันก็หาชมองค์แท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดครับ และพระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้ นับเป็นพระเครื่องศิลปะลานนาที่สวยงามมาก ควรค่าแก่การเก็บรักษาเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานสืบต่อไปครับ

พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าของแต่ละจังหวัดนั้น มีคุณค่าในทางโบราณคดี และยังมีพุทธคุณในด้านคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข ถึงแม้บางองค์อาจมีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างเขื่อง ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยนิยมนำมาห้อยคอก็ตาม แต่เก็บไว้บูชาที่บ้านก็คุ้มครองบ้านเรือนและคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งศิลปะของแต่ละยุคสมัยก็สวยงามและมีคุณค่าในตัวเองในแต่ละยุคแต่ละท้องถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเราครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ตุลาคม 2562 16:30:23 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.767 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 12:06:26