[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 07:21:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก  (อ่าน 5279 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.86 Chrome 46.0.2490.86


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2558 09:38:12 »

.




เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก

๑. อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า

"พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี เช่น ปูรณะ กัสสป, มักขละ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล, ปกุธะ กัจจายนะ, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, และ นิครนถนาฏบุตร(๑) สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้"

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น ขอจงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด"

เมื่อพราหมณ์ทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนพราหมณ์ มีข้ออุปมาว่า บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหากแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดไม้เสีย ตัดเอากิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้า ก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกะพี้, เปลือก, สะเก็ด, กิ่งและใบไม้ เมื่อต้องการแก่นไม้ จึงละเลยแก่นเป็นต้น ตัดเอาแต่กิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์จากกิ่งและใบไม้นั้นด้วย"

"มีอุปมาอื่นอีก บุรุษต้องการแก่นไม้ แต่ถากสะเก็ดไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากเปลือกไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากกะพี้ไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ก็จพึงถูกหาว่า ไม่รู้จักแก่นไม้เป็นต้น และไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ถากไปนั้นเช่นเดียวกัน"

"อีกอุปมาหนึ่ง บุรุษต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้าก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น กะพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบไม้ ต้องแก่นไม้ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ ทั้งจะได้รับประโยชน์จากแก่นไม้นั้นด้วย"

"ดูก่อนพราหมณ์ ข้ออุปไมยก็ฉันเดียวกันนั่นแหละ คือกุลบุตรบางคนในศาสนานี้ มีศรัทธาออกบวชไม่ครองเรือน ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ เข้าถึง(๒)ตัวแล้ว อันความทุกข์เข้าถึงตัวแล้ว มีความทุกข์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ไฉนหนอการทำที่สุดแห่งทุกข์(๓) ทั้งหมดนี้จะปรากฏ ผู้นั้นออกบวชแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็อิ่มใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ว่าเราเป็นผู้มีลาภ สักการะ ชื่อเสียง ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านั้นไม่มีใครรู้จักเป็นผู้มีศักดาน้อย คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภ สักการะ และชื่อเสียง ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม"

"ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือน ผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดเสีย ตัดเอากิ่งและใบไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

"อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วย ลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสิ่งนั้น ทั้งยังปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสีลสัมปทานั้นว่า เราเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลว คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทา ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น กะพี้ และเปลือกเสีย ถากเอาสะเก็ดไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

"อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ประพฤติสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ยังไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเป็นต้นเพราะสีลสัมปทานั้น คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทานั้น ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ ไม่มีความประพฤติยอ่หย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ (ความตั้งมั่นหรือความสงบแห่งจิต) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปปทานั้นว่า เราเป็นผู้ตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า สมาธิสัมปทานั้น ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นและกะพี้เสีย ถากเอาเปลือกไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

"อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธินั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปทานั้น คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสมาธิสัมปทา ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้นๆ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติยอ่หย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณหรือปัญญา) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยญาณทัสสนะ หรือปัญญานั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น ว่าเราอยู่อย่างรู้เห็น ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ อยู่อย่างไม่รู้เห็น คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นเสียถากเอากะพี้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

"อนึ่ง บุคคลบางคนอออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจแต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปราถรนาด้วยญาณทัสสนะนั้น ไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสะนั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน(๔) (ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน (ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌาน กำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย) เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อรูปฌาน ที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่) เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขได้) อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น"

"ด้วยประการฉะนี้แหละพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะชื่อเสียงเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบอันใด พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบนั้นแหละเป็นที่ต้องการ นั้นเป็นแก่นสาร นั้นเป็นที่สุดโดยรอบ"

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปิงคลโกจฉพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.


จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔

 
สรุป
๑.ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้
๒.ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
๓.ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้
๔.ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้
๕.ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ ซึ่งใช้คำภาษาบาลี "อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ" เปรียบเหมือนแก่นไม้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 47.0.2526.80 Chrome 47.0.2526.80


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2558 12:00:30 »

.



๒.เกาะชายสังฆาฏิพระพุทธเจ้ายังไม่ชื่อว่าอยู่ใกล้

           "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ว่าภิกษุจับชายสังฆาฏิตามหลัง ย่างเท้าตามทุกก้าว แต่เธอมีความละโมภ มีความติดใจแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันเป็นโทษ ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวม(๑) ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภิกษุนั้น ก็ยังอยู่ไกลเราโดยแท้ และเราก็อยู่ไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม ผู้ไม่เห็นธรรม ย่อมไม่เห็นเรา"
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้น อยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์ แต่เธอไม่มีความละโมภ ไม่มีความติดใจแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตไม่พยาบาท มีความดำริแห่งใจอันไม่เป็นโทษ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าอยู่ใกล้เราโดยแท้ และเราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเห็นธรรม ผู้เห็นธรรม ย่อมเห็นเรา"
                                                 อิติวุตตก ๒๕/๓๐๐
 
๓.ศัตรูภายใน
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินภายใน อมิตรภายใน ศัตรูภายใน ผู้ฆ่าภายใน ข้าศึกภายใน ๓ ประการ ได้แก่ โลภะ ความโลภ โทสะ ความคิดประทุษร้าย โมหะ ความหลง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินภายใน อมิตรภายใน ศัตรูภายใน ผู้ฆ่าภายใน ข้าศึกภายใน ๓ ประการเหล่านี้แล."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๒๙๕

๔.อาคามี(ผู้มาเกิด) อนาคามี(ผู้ไม่มาเกิด อรหันต์(ผู้ไม่มีกิเลส)
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยกามโยคะ(๒) ประกอบด้วยภวโยคะ(๓) ย่อมเป็นอาคามี มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ผู้ไม่ประกอบด้วยกามโยคะ แต่ยังประกอบด้วยภวโยคะ ย่อมเป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ผู้ไม่ประกอบด้วยกามโยคะ ไม่ประกอบด้วยภวโยคะ ย่อมเป็นพระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะ."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๓๐๓

๕.ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล กัลยาณธรรม กัลยาณปัญญา ๔
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล กัลยาณธรรม กัลยาณปัญญา ย่อมเป็นผู้เสร็จธุระอยู่จบพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัย เราเรียกว่าอุดมบุรุษ
              ๑.ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณศีล คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีศีลสำรวมในปกฏิโมกข์ (ศีลที่สำคัญของภิกษุ) สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร (มารยาทและการไปแต่ในที่ที่สมควร) เห็นภัยในโทษเล็กๆ น้อยๆ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เธอชื่อว่ามีกัลยาณศีลดั่งกล่าวมานี้แล
              ๒.ภิกษุผู้มีกัลยาณศีลดั่งนี้แล้ว จะชื่อว่ามีกัลยาณธรรมอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ประกอบเนืองๆ ซึ่งการอบรมธรรม อันเป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ๓๗ ประการ(๕) อยู่ เธอชื่อว่ามีกัลยาณธรรม ดั่งกล่าวมานี้แล
              ๓.ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล กัลยาณธรรมดั่งนี้แล้ว จะชื่อว่ามีกัลยาณปัญญาอย่างไร? ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ(๖) อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนในปัจจุบันอยู่ เธอชื่อว่ามีกัลยาณปัญญาอย่างนี้แล
              ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล กัลยาณธรรม กัลยาณปัญญาดั่งนี้แล้ว ชื่อว่าเสร็จธุระ อยู่จบพรหมจรรย์ เราเรียกว่าอุดมบุรุษ."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๓๐๓
                                                
๖.กองกระดูกเท่าภูเขา
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนหนึ่งที่เวียนว่ายท่องเที่ยวไปตลอดกัปป์ จะพีงมีกองกระดูกใหญ่ เหมือหนึ่งเวบุลลบรรพตนี้ ถ้ามีผู้คอยรวบรวมไว้ และกองกระดูกที่รวบรวม จะไม่กระจัดกระจายหายเสีย."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๒๔๒

๗.ยังพูดปดทั้งๆ ที่รู้ จะไม่ทำความชั่วอย่างอื่นเป็นไปไม่ได้
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลยังไม่ละธรรมข้อหนึ่ง คือการพูดปดทั้งๆ รู้ เราย่อมไม่กล่าวว่า มีบาปกรรมอะไรบ้างที่ผู้นั้นจะทำไม่ได้."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๒๔๒  

๘.มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่าง
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
              ๑. โลภะ ความอยากได้ เป็นมูลรากแห่งอกุศล
              ๒. โทสะ ความคิดประทุกษร้าย เป็นมูลรากแห่งอกุศล
              ๓. โมหะ ความหลง เป็นมูลรากแห่งอกุศล
              ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่างเหล่านี้แล."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๒๖๔  

๙.พระธรรมเทศนา ๒ อย่าง
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ ประการ มีอยู่โดยปริยาย คือ ธรรมเทศนาที่หนึ่งว่า "ท่านทั้งหลาย จงเห็นบาปโดยความเป็นบาปเถิด" ธรรมเทศนาที่สองว่า "ท่านทั้งหลายเห็นบาปโดยความเป็นบาปแล้ว จงเบื่อหน่ายคลายความติดในบาปนั้น จงหลุดพ้นไปเถิด" นี้คือธรรมเทศนา ๒ อย่างของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีอยู่โดยปริยาย(๗)"
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๒๕๕  

๑๐.อะไรเป็นหัวหน้าอกุศลธรรมและกุศลธรรม
              "ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชา(๘) (ความไม่รู้) เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายใจ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป ย่อมตามหลังมา วิชชา(ความรู้) เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย ความละอายใจ ความเกรงกลัวต่อบาป ย่อมตามหลังมา."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๒๕๕  

๑๑.อริยปัญญา
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่เสื่อมจากอริยปัญญานั้น ชื่อว่าเสื่อมแท้ เขาย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความติดขัด มีความคับแค้น มีความเดือดร้อนในปัจจุบัน สิ้นชีวิตไปแล้ว ก็มีทุคคติเป็นที่หวังได้ สัตว์ที่ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความติดขัด ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบัน สิ้นชีวิตไปแล้ว ก็มีสุคติเป็นที่หวังได้."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๒๕๖  

๑๒.คำอธิบายเรื่อง "ตถาคต"
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตปลีกออกได้จากดลก เหตุให้โลกเกิดอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตละเหตุที่ให้เกิดโลกได้ ความดับแห่งโลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตทำให้ความดับแห่งโลกแจ่มแจ้งแก่ตนได้ ข้อปฏิบ้ติให้ถึงความดับแห่งโลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตได้อบรมข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว สิ่งใดที่โลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ที่ประชาพร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว(๙) รู้แล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ เพราะเหตุที่สิ่งนั้นๆ อันตถาคตตรัสรู้แล้ว จึงเรียกว่าตถาคต ดั่งนี้"
               "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด นิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ข้อความทั้งหมดที่ตถาคตกล่าว พูด แสดง ระหว่างราตรีนั้นๆ (คือตั้งแต่ตรัสรู้แล้วจนถึงนิพพาน) ย่อมเป็นอย่างนั้นเทียว ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต"
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด ทำได้อย่างนั้น ทำได้อย่างใด ก็พูดได้อย่างนั้น เพราะเหตุที่พูดได้ตามที่ทำ ทำได้ตามที่พูด ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต"
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นใหญ่ (โดยคุณธรรม) ไม่มีใครครอบงำได้ (โดยคุณธรรม) รู้เห็นตามที่แท้จริง เป็นผู้มีอำนาจ (โดยคุณธรรม) ฉะนั้น จึงเรียกว่าตถาคต."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๓๒๑

๑๓.ภิกษุ กับคฤหัสถ์ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ คฤหบดีที่อุปฐากท่านทั้งหลาย ด้วยจีวร บณฑบาต ที่อยู่อาศัย และยากับเครื่องใช้ในการรักษาโรค นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก แม้ท่านทั้งหลายที่แสดงธรรมอันดีงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิงแก่พราหมณ์ คฤหบดีเหล่านั้น ก็นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก นี้แหละภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ที่ประพฤติโดยอาศัยกันและกัน เพื่อถอนกิเลสอันเปรียบเหมือนห้วงน้ำ เพื่อทำให้ทุกข์สิ้นไปโดยชอบ."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๓๑๔
 
๑๔.สกุลที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอยู่
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา, ตระกูลนั้น ชื่อว่ามีพระพรหม. ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา, ตระกูลนั้น ชื่อว่ามีเทวดาคนแรก. ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา, ตระกูลนั้น ชื่อว่ามีอาจารย์คนแรก. ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา, ตระกูลนั้น ชื่อว่ามีบุคคลผู้ควรนำของมาบูชา. คำว่า พระพรหม คำว่า บูรพเทวดา(เทวดาคนแรก) คำว่าบูรพาจารย์ (อาจารย์คนแรก) คำว่า อาหุเนยยะ (ผู้ควรนำของมาบูชา) เป็นชื่อของมารดาบิดา เพราะมารดาบิดาเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้คุ้มครองเลี้ยงดูบุตร แสดงโลกนี้แก่บุตร."
                                                  อิติวุตตก ๒๕/๓๑๓

๑๕.ผู้กล่าวตู่พระตถาคต
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ ประเภทเหล่านี้ ย่อมกล่าวตู่ (หาความ) ตถาคต คือบุคคลผู้คิดประทุษร้าย มีโทสะในภายใน ๑ ผู้มีศรัทธา กล่าวตู่ ด้วยถือเอาความหมายผิด(๑๐) ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ ประเภทเหล่านี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต."

                                                  ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๗๖


๑.คำในภาษาบาลีว่า มีอินทรีย์ปรากฏ หมายความว่า ไม่สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  
๒.กามโยคะ เครื่องมัดสัตว์คือกาม ความใคร่  
๓.ภวโยคะ เครื่องมัดสัตว์คือภพ ความพอใจในความีความเป็น
๔.กัลยาณศีล ศีลอันดีงาม, กัลยาณธรรม ธรรมอันดีงาม, กัลยาณปัญญา ปัญญาอันดีงาม
๕.โพธิปักขิยธรรม ธรรมอันเป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ๓๗ ประการ คือ อิทธิบาท (ธรรมทีให้ประสบความสำเร็จ) ๔, สิตปัฏฐาน(การตั้งสติ) ๔, สัมมัปปธาน(ความเพียรชอบ) ๔, อินทรีย์(ธรรมอันเป็นใหญ่) ๕, พละ(ธรรมอันเป็นกำลัง) ๕, โพชฌงค์(ธรรมอันเป็นตัวประกอบแห่งการตรัสรู้) ๗, มรรค(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) ๘
๖.เจโตวิมุติ ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ, ปัญญาวิมุติ ความหลุดพ้นเพราะปัญญา
๗.มีอยู่โดยปริยาย คือมีอยู่โดยอ้อม ไม่ต้องบอกกันตรง ๆ ก็ชื่อว่ามีอยู่แล้ว
๘.อวิชชา ความไม่รู้ มีคำอธิบายว่า ได้แก่ไม่รู้ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ แต่ในที่นี้แม้ความไม่รู้ทั่วๆ ไป ก็ทำให้เกิดความเสียหายได้
๙.เป็นสำนวนบาลี หมายถึงรู้ด้วยจมูก ลิ้น กาย คือ ข้อความในตอนนี้ ต้องการจะพูดว่า เห็นด้วยตา ฟังด้วยหู ดมด้วยจมูก ลิ้มด้วยลิ้น ถูกต้องด้วยกาย รู้ด้วยใจ แต่รวม ๓ เรื่องตอนกลางด้วยคำว่า ทราบ
๑๐.แสดงให้เห็นว่า ผู้ให้ร้ายพระพุทธเจ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่โกรธ หรือเกลียดชังเท่านั้น ผู้เคารพนับถือมีศรัทธานั่นแหละ ถ้าเรียนผิด ทรงจำผิด หรือเข้าใจผิด ก็อาจพูด ด้วยความเข้าใจผิดนั้น เป็นไปในทางให้ร้ายได้เหมือนกัน
 

ที่มา :  .larnbuddhism.com                                                              
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 ธันวาคม 2558 12:02:32 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 47.0.2526.80 Chrome 47.0.2526.80


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2558 15:45:09 »

.

เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก

๑๖.ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งความรู้ (วิชชาภาคิยะ)
             "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา(วิชชาภาคิยะ)๒ อย่างเหล่านี้ คือ สมถะ(ความสงบ) ๑ วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง) ๑. สมถะ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมทำให้จิตได้รับการอบรม จิตได้รับการอบรมแล้ว ย่อมทำให้ละราคะ (ความกำหนัดยินดี หรือความติดอกติดใจ) ได้วิปัสสนา อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมทำให้ปัญญาได้รับการอบรม, ปัญญาได้รับการอบรมแล้ว ย่อมทำให้ละอวิชา(ความไม่รู้ตามความจริง) ได้." 
                                                 ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๗๘
 
๑๗.คำอธิบายนิพพานธาตุ ๒ อย่าง
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ มี ๒ อย่าง คือ สอุปาทิเสสสนิพพานธาตุ กับ อนุปาทิเสสนิพพดานธาตุ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่พึงทำอันได้ทำเสร็จแล้ว วางภาระแล้ว มีประโยชน์ของตนอันได้บรรลุแล้ว สิ้นเครื่องผูกพันในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ การเสวยอารมณ์ทั้งปวงของภิกษุนั้น ดับสนิท นี้เรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ."
                                                 อิติวุตตก ๒๕/๒๕๘

๑๘.ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ถูกปรุงแต่ง มีอยู่              
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง มีอยู่ ถ้าไม่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีอะไรปรุงแต่ง ก็จะปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุที่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีอะไรปรุงแต่ง จึงปรากฏได้."
                                                 อิติวุตตก ๒๕/๒๕๗
 
๑๙.ความเสื่อมที่เลวร้าย ความเจริญที่เป็นยอด
             " ความเสื่อมจากญาติ ยังนับว่าเป็นความเสื่อมเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมที่นับว่าเลวร้ายยิ่งกว่าความเสื่อมทั้งหลาย ก็คือความเสื่อมจากปัญญา"
              "ความเจริญด้วยญาติ ยังนับว่าเป็นความเจริญเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญที่เรากล่าวว่าเป็นยอด คือความเจริญด้วยปัญญา. เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักเป็นผู้เจริญด้วยปัญญาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยปัญญา) ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"
              "ความเสื่อมจากโภคทรัพย์ ยังนับว่าเป็นความเสื่อมเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมที่นับว่าเลวร้ายยิ่งกว่าความเสื่อมทั้งหลาย ก็คือความเสื่อมจากปัญญา
              "ความเจริญด้วยโภคทรัพย์ ยังนับว่าเป็นความเจริญเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญที่เรากล่าวว่าเป็นยอด คือความเจริญด้วยปัญญา. เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้เจริญด้วยปัญญาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยปัญญา) ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"
              "ความเสื่อมจากยศ ยังนับว่าเป็นความเสื่อมเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมที่นับว่าเลวร้ายยิ่งกว่าความเสื่อมทั้งหลาย คือความเสื่อมจาก ปัญญา"
              "ความเจริญด้วยยศ ยังนับว่าเป็นความเจริญเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญที่เรากล่าวว่าเป็นยอดคือความเจริญด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่าเราจักเป็นผู้เจริญด้วยปัญญาวุฑฒิ(ความเจริญด้วยปัญญา) ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
                                                 เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๗,๑๘

๒๐.จิตผ่องใสเศร้าหมองได้ หลุดพ้นได้
             "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองเพราะอุปกิเลส(๑) ที่จรมา"
             "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล หลุดพ้นได้จากอุปกิเลส(๑) ที่จรมา."
                                                 เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๑

๒๑.การอบรมจิตของบุถุชนผู้มิได้สดับ และอริยสาวกผู้ได้สดับ
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมองได้เพราะอุปกิเลส(๑) ที่จรมา บุถุชนผู้มิได้สดับเรื่องนั้น ย่อมไม่รู้ตามความจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่าการอบรมจิตของบุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่มี"
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล หลุดพ้นได้จากอุปกิเลสที่จรมา อริยสาวกผู้ได้สดับเรื่องนั้น ย่อมรู้ตามความจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า การอบรมจิตของอริยสาวกผู้ได้สดับมีอยู่."
                                                 เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๑,๑๒
 
๒๒.เมตตาจิตชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุส้องเสพ เจริญ ทำในใจ ซึ่งเมตตาจิต แม้ชั่วเวลาสักว่าลัดนิ้วมือเดียว เราย่อมกล่าวว่า เธอผู้นี้อยู่อย่างไม่ว่างจากฌาน เป็นผู้ทำตามคำสอนของศาสดา เป็นผู้ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันอาหารของราษฎรไปเปล่าๆ จะกล่าวไย ถึงข้อที่ภิกษุจะทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า."
                                                 เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๒
 
๒๓.กุศล อกุศล มีใจเป็นหัวหน้า
               "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไปในส่วนแห่งอกุศล เป็นไปในฝักฝ่าย (พวก) แห่งอกุศล เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจย่อมเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเกิดตามมา"
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศล เป็นไปในส่วนแห่งกุศล เป็นไปในฝักฝ่าย (พวก) แห่งกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจย่อมเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเกิดตามมา."
                                                 เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๒
 
๒๔.ผู้ให้ กับ ผู้รับ
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่วแล้ว ทายก(ผู้ให้) พึงรู้ประมาณ ไม่ใช่ปฏิคาหก(ผู้รับ) ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะธรรมะกล่าวไว้ชั่วแล้ว"
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดีแล้ว ปฏิคาหก(ผู้รับ) พึงรู้ประมาณ ไม่ใช่ทายก(ผู้ให้) ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะธรรมกล่าวไว้ดีแล้ว."
                                                 เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๕๕
 
๒๕.ผู้ปรารภความเพียร กับ ผู้เกียจคร้าน
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่วแล้ว ผู้ใดปรารภความเพียร ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้ใดเกียจคร้าน ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะธรรมะกล่าวไว้ชั่วแล้ว"

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดีแล้ว ผู้ใดเกียจคร้าน ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้ใดปรารภความเพียร ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะธรรมะกล่าวไว้ดีแล้ว."
                                                 เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๔๕,๔๖

------------------------
* อุปกิเลส คือความชั่วทางจิตที่ทำจิตให้เศร้าหมอง มีความโลภอย่างแรง เป็นต้น



ที่มา :  .larnbuddhism.com 
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2559 16:22:18 »



๒๖.โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักข้อหนึ่งที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นอย่างยิ่ง."
                              เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๔๔

๒๗.ภพ (ความวนเวียนเป็นนั่นเป็นนี่) เปรียบเหมือนอุจจาระ
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุจจาระ, ปัสสาวะ, น้ำลาย, น้ำหนอง, เลือด แม้มีประมาณน้อย ก็มีกลิ่นเหม็นฉันใด เราย่อมไม่สรรเสริญภพ (ความวนเวียนเป็นนั่นเป็นนี่) แม้มีประมาณน้อย โดยที่สุด แม้เพียงลัดนิ้วมือเดียวฉันนั้น."
                             เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๔๖

๒๘.ผลของสุจริตและทุจจริต
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสอันจะเป็นไปได้ ที่วิบาก(ผล) ของกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต จะพึงเกิดขึ้น ให้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. ฐานะนั้นย่อมไม่มี. ก็แต่ว่าฐานะนั้นมีอยู่ ที่วิบาก(ผล)ของกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต จะพึงเกิดขึ้น ให้ไม่น่าปราถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ฐานะนั้นมีอยู่"
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส อันจะเป็นไปได้ ที่วิบาก(ผล) ของ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต จะพึงเกิดขึ้น ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ฐานะนั้นย่อมไม่มี ก็แต่ว่าฐานะนั้นมีอยู่ ที่วิบาก(ผล) ของกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต จะพึงเกิดขึ้น ให้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ฐานะนั้นมีอยู่."
                             เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๓๗,๓๘

๒๙.กายคตาสติ เปรียบเหมือนมหาสมุทร
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครๆ นึกออกถึงมหาสมุทรก็จะเห็นได้ว่า แม้น้ำน้อยทั้งหลายใดๆ ก็ตาม ที่ไหลลงทะเล ย่อมเป็นอันผู้นั้นหยั่งเห็นได้ กายคตาสติ (สติอันไปในกาย) ใครๆ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายใดๆ ก็ตาม ที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา (ความรู้ธรรมะที่เป็นจริง) ย่อมเป็นอันผู้นั้นหยั่งเห็นได้."
                             เอกนิบาต อังคุตตระนิกาย ๒๐/๕๕

๓๐.กายคตาสติ ทำให้ได้อะไรบ้าง?
                        "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช. เพื่อประโยชน์อันใหญ่, เพื่อความปลอดโปร่งจากโยคะ(๑) อันใหญ่, เพื่อสติสัมปชัญญะ, เพื่อได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณคือความรู้ภายใน), เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน, เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชา(ความรู้) และวิมุติ(ความหลุดพ้น). ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน? ธรรมอย่างหนึ่ง คือ กายคตาสติ(สติอันไปในกาย). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช, เพื่อประโยชน์อันใหญ่ ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุติ."
                             เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๕๕

๓๑.อานิสงส์ต่างๆ ของกายคตาสติ
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมอย่างหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตก(ความตรึก) วิจาร(ความตรอง) ก็ระงับ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญเต็มที่ ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน? ธรรมอย่างหนึ่ง คือกายคตาสติ(สติอันไปในกาย) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมอย่างนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตก วิจารก็ระงับ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญเต็มที่"
              (ขึ้นต้นอย่างเดียวกัน หรือคล้ายกัน มีคำแสดงอานิสงส์ของกายคตาสติตอ่ไปอีกว่า)
             "เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว อันบุคคลย่อมละได้"
             "เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลยิ่งขึ้น"
             "เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว อวิชชา อันบุคคลย่อมละได้, วิชชาย่อมเกิดขึ้น, อัสมิมานะ(ความถือตัวว่า เราเป็นนั่นเป็นนี่) อันบุคคลย่อมละได้, อนุสัย (กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องในสันดาน)ทั้งหลาย ย่อมถึงความถูกถอนราก, สัญโญชน์ (กิเลสที่มัดสัตว์ไว้ในภพ) ทั้งหลาย อันบุคคลย่อมละได้"
             "เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานในปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (สภาพที่ดับสนิทโดยไม่มีเชื้อเหลือ)"
             "อเนกธาตุปฏิเวธต(๒) (ความตรัสรู้หรือรู้ซาบซึ้งตลอดธาตุเป็นอเนก) นานาธาตุปฏิเวธ (ความตรัสรู้หรือรู้ซาบซึ้งตลอดธาตุต่างๆ) นานาธาตุปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธาตุต่างๆ) ย่อมเกิดขึ้นเมื่อเจริญกายคตาสติ"
             "เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล"
             "เมื่อเจริญทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญด้วยปัญญา เพื่อความไพบูลย์ด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเต็มที่ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญารวดเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาอันทำให้บันเทิง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไหวพริบ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากล้า เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส."
                             เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๕๗, ๕๘

๓๒.กายคตาสติ กับ อมตะ 
               "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดไม่ได้บริโภคกายคตาสติ ผู้นันไม่ได้บริโภคอมตะ ผู้ใดได้บริโภคกายคตาสติ ผู้นั้นได้บริโภคอมตะ
              (ข้อความต่อไปอีกมากมีใจความว่า ไม่เกี่ยวข้องกับกายคตาสติ ก็ชื่อว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับอมตะ ต่างแต่โวหารที่เปลี่ยนไป).
                             เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๕๘


--------------------------------------------------------------------------

๑.กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ มี ๔ อย่าง คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา
๒.คำว่า ปฏิเวธ แปลว่า "แทงทะลุ" หรือที่โบราณแปลว่า "แทงตลอด" ตรงกับคำแปลในภาษาอังกฤษ Penertration เมื่อมาในลำดับแห่งปริยัติ(การเรียน) ปฏิบัติ(การกระทำ) หมายถึงการได้รับผลของการปฏิบัติ

ที่มา :  .larnbuddhism.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กรกฎาคม 2559 15:28:30 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2559 15:34:19 »



๓๓.ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้ ๕ ประเภท
              "พระอุบาลีกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้ มีกี่ประเภท? พระผู้มีภาคตรัสตอบว่า "ดูก่อนอุบาลี ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้ มี ๕ ประเภท คือ
              ๑.ภิกษุผู้เข้าไปสู่บริเวณบ้านเรือน
              ๒.ภิกษุผู้เดินในทาง
              ๓.ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด
              ๔.ภิกษุผู้ไม่ทันสนใจ (ในภิกษุผู้จะไหว้) คือมัวสนใจในเรื่องอื่นๆ ไม่ทันเห็น ไม่ทันสังเกต แม้ไหว้ก็คงไม่รู้ว่าไหว้)
              ๕.ภิกษุผู้นอนหลับ."

๓๔.ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้อีก ๕ ประเภท         
  "ดูก่อนอุบาลี ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้ อีก ๕ ประเภท คือ
              ๑.ในขณะดื่มข้าวยาคู
              ๒.ในขณะอยู่ในโรงฉัน
              ๓.ภิกษุเป็นศัตรู (ขณะที่กราบไหว้ อาจประทุษร้ายเอาได้)
              ๔.ภิกษุผู้ส่งใจไปที่อื่น
              ๕.ภิกษุผู้เปลือยกาย."

๓๕.ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้อีก ๕ ประเภท            
    "ดูก่อนอุบาลี ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้อีก ๕ ประเภท คือ
              ๑.ภิกษุผู้กำลังเคี้ยว
              ๒.ภิกษุผู้กำลังบริโภค(๑)
              ๓.ภิกษุผู้กำลังถ่ายอุจจาระ
              ๔.ภิกษุผู้กำลังถ่ายปัสสาวะ
              ๕.ภิกษุผู้อันสงฆ์ประกาศยกเสียจากหมู่ (ถูกลงอุกเขปนียกรรม)."

๓๖.บุคคลที่ภิกษุไม่พึงไหว้อีก ๕ ประเภท (๒)
    "ดูก่อนอุบาลี บุคคลที่ภิกษุไม่พึงไหว้อีก ๕ ประเภท คือ
               ๑.ภิกษุผู้บวชภายหลัง
               ๒.บุคคลที่มิได้บวชเป็นภิกษุ (อนุปสัมบัน)
               ๓.ภิกษุต่างนิกาย (นานาสังวาส) ที่แก่กว่า แต่พูดไม่เป็นธรรม
               ๔.มาตุคาม (ผู้หญิง)
               ๕.บัณเฑาะก์ (กระเทย)"

๓๗.ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้อีก ๕ ประเภท             
     "ดูก่อนอุบาลี ภิกษุที่ภิกษุด้วยกันไม่พึงไหว้อีก ๕ ประเภท คือ
              ๑.ภิกษุผู้อยู่ปริวาส (ในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส)
              ๒.ภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนา (การชักเข้าหาอาบัติเดิม ในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส)
              ๓.ภิกษุผู้ควรแก่มานัตต์ (ในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส)
              ๔.ภิกษุผู้ประพฤติมานัตต์ (ในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส)
              ๕.ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน (คือการสวดถอนจากอาบัติสังฆาทิเสส ภายหลังที่ประพฤติกรรมดั่งกล่าวในข้อต้น ๆ แล้ว)

              (รวมความข้อนี้ คือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ระหว่างทำพิธีออกจากอาบัติ แม้จะมีพรรษาอายุสูงก็ไม่ควรกราบไหว้ เพราะเท่ากับกำลังต้องโทษ).

                             วินัยปิฎก ปริวาร ๘/๕๐๖

-------------------------------------------------

๑.ของเคี้ยว ได้แก่ผลไม้ และเหง้าเผือกมัน เหง้าบัว เป็นต้น ของบริโภค คืออาหารทั่ว ๆ ไป
๒.ตรงนี้ ใช้คำว่า บุคคล เพื่อให้ครอบไปถึงผู้มิได้บวช ผู้หญิงและกะเทย ในภาษาบาลีมิได้มีตัวนามปรากฏ ถ้าจะแปลตรง ๆ ศัพท์ก็แปลได้ว่า ผู้ที่ไม่ควรไหว้ แต่ถ้าไม่กล่าวไว้ให้ชัดตามเจตนารมณ์ของพระวินัย อาจเข้าใจผิดเป็นเรื่องของคฤหัสถ์


ที่มา :  .larnbuddhism.com

                            
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 51.0.2704.103 Chrome 51.0.2704.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2559 11:12:08 »



คุณสมบัติของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ ๖ อย่าง

๓๘.คุณสมบัติของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ ๖ อย่าง
         ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ควรให้อุปสมบท (ควรเป็นอุปัชฌายะ) ควรให้นิสสัย (ปกครองภิกษุอื่น) ควรมีสามเณรรับใช้ คือ
๑.ประกอบด้วยกองศีลอันเป็นอเสขะ(๑) (ศีลของพระอริยบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา คือเป็นพระอรหันต์)
๒.ประกอบด้วยกองสมาธิอันเป็นอเสขะ
๓.ประกอบด้วยกองปัญญาอันเป็นอเสขะ
๔.ประกอบด้วยกองวิมุติ (ความหลุดพ้น) อันเป็นอเสขะ
๕.ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสะ (ญาณรู้ว่าหลุดพ้น) อันเป็นอเสขะ
๖.มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกินกว่า ๑๐.
 
๓๙.คุณสมบัติอีก ๖ อย่างของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ
         "ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อื่นอีก ควรให้อุปสมบท (ควรเป็นอุปัชฌายะ) ควรให้นิสสัย (ปกครองภิกษุอื่น) ควรมีสามเณรรับใช้ คือ
๑.ตนเองประกอบด้วยกองศีลอันเป็นอเสขะ ชักชวนผู้อื่นในกองศีลอันเป็นอเสขะ
๒.ตนเองประกอบด้วยกองสมาธิอันเป็นอเสขะ ชักชวนผู้อื่นในกองสมาธิอันเป็นอเสขะ
๓.ตนเองประกอบด้วยกองปัญญาอันเป็นอเสขะ ชักชวนผู้อื่นในกองปัญญาอันเป็นอเสขะ
๔.ตนเองประกอบด้วยกองวิมุติ (ความหลุดพ้น) อันเป็นอเสขะ ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุติอันเป็นอเสขะ
๕.ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ (ญาณรู้ว่าหลุดพ้น) อันเป็นอเสขะ ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นอเสขะ
๖.มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกินกว่า ๑๐.
 
๔๐.คุณสมบัติ ๖ อย่างของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ
         ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อื่นอีก ควรให้อุปสมบท (ควรเป็นอุปัชฌายะ) ควรให้นิสสัย (ปกครองภิกษุอื่น) ควรมีสามเณรรับใช้ คือ
๑.มีศรัทธา (ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ)
๒.มีหิริ (ความละอายต่อบาป)
๓.มีโอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป)
๔.ปรารภความเพียร
๕.ตั้งสติมั่น
๖.มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกินกว่า ๑๐.
 
๔๑.คุณสมบัติอีก ๕ อย่างของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ
         ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อื่นอีก ควรให้อุปสมบท (ควรเป็นอุปัชฌายะ) ควรให้นิสสัย (ปกครองภิกษุอื่น) ควรมีสามเณรรับใช้ คือ
๑.ไม่วิบัติจากศีล ในอธิศีล (ศีลชั้นสูง(๒))
๒.ไม่วิบัติจากอาจาระ (ความประพฤติ) ในอัชฌาจาร (ความประพฤติชั้นสูง)
๓.ไม่วิบัติจากทิฏฐิ ในอติทิฏฐิ (ทิฏฐิชั้นสูง)
๔.สดับตรับฟังมาก
๕.มีปัญญา
๖.มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกินกว่า ๑๐.
 
๔๒.คุณสมบัติ ๖ อย่างของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ
         ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อื่นอีก ควรให้อุปสมบท (ควรเป็นอุปัชฌายะ) ควรให้นิสสัย (ปกครองภิกษุอื่น) ควรมีสามเณรรับใช้ คือ
๑.สามารถพยาบาลเอง หรือใช้ผู้อื่นให้พยาบาลอันเตวาสิก(๓) หรือสัทธิวิหารริกผู้เป็นไข้
๒.สามารถระงับเอง หรือใช้ผู้อื่นให้ระงับความไม่ยินดี (ความไม่สบายใจ) ที่เกิดขึ้นแล้ว
๓.สามารถบรรเทา หรือให้บรรเทาความรังเกียจ (ความรำคาญ, ความข้องใจ) ที่เกิดขึ้นแล้วได้โดยธรรม
๔.รู้จักอาบัติ
๕.รู้จักการออกจากอาบัติ
๖.มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกินกว่า ๑๐.
 
๔๓.คุณสมบัติ ๖ อย่างของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ
         ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อื่นอีก ควรให้อุปสมบท (ควรเป็นอุปัชฌายะ) ควรให้นิสสัย (ปกครองภิกษุอื่น) ควรมีสามเณรรับใช้ คือ
๑.สามารถให้อันเตวาสิก หรือสัทธิวิหาริกศึกษาในอภิสมาจาริกาสิกขา (คือศึกษาในมารยาทอันดีงาม)
๒.สามารถแนะนำในสิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ (คือศีลข้อสำคัญ ๆ ที่จำเป็นจะต้องรู้สำหรับผู้บวช)
๓.สามารถแนะนำอภิธรรม (ธรรมชั้นสูง)
๔.สามารถแนะนำในอภิวินัย (วินัยชั้นสูง)
๕.สามารถถ่ายถอนความเห็นผิดที่เกิดขึ้นได้โดยธรรม
๖.มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกินกว่า ๑๐.
 
๔๔.คุณสมบัติอีก ๖ อย่างของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌายะ
         ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อื่นอีก ควรให้อุปสมบท (ควรเป็นอุปัชฌายะ) ควรให้นิสสัย (ปกครองภิกษุอื่น) ควรมีสามเณรรับใช้ คือ
๑.รู้จักอาบัติ
๒.รู้จักอนาบัติ (ไม่ใช่อาบัติ)
๓.รู้จักอาบัติเบา
๔.รู้จักอาบัติหนัก
๕.ทรงจำได้ แยกแยะได้ สวดได้ วินิจฉัยได้ดีซึ่งปาฏิโมกข์ทั้งสอง คือปาฏิโมกข์ของภิกษุและภิกษุณีโดยสูตร (โดยหลักการ) โดยอนุพยัญชนะ (โดยรายละเอียด)
๖.มีพรรษาครบ ๑๐ หรือเกินกว่า ๑๐.
     วินัยปิฎก ๘/๓๓๗-๓๓๙

๔๕.คนไข้ที่พยาบาลยากและพยาบาลง่าย
         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง เป็นผู้ที่พยาบาลยาก คือ
๑.มักทำสิ่งซึ่งไม่เป็นที่สบาย๓
๒.ไม่รู้ประมาณในสิ่งที่สบาย
๓.ไม่กินยา
๔.ไม่บอกอาการป่วยตามความจริงแก่ผู้พยาบาล ผู้ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ว่าอาการป่วยเพิ่มขึ้น ทุเลาหรือทรงอยู่
๕.ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด ไม่เป็นที่พอใจถึงขนาดจะคร่าชีวิต

คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล เป็นผู้ที่พยาบาลยาก

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง เป็นผู้ที่พยาบาลง่าย คือ
๑.มักทำสิ่งอันเป็นที่สบาย
๒.รู้ประมาณในสิ่งอันเป็นที่สบาย
๓.กินยา
๔.บอกอาการป่วยตามความจริงแก่ผู้พยาบาล ผู้ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ว่าอาการป่วยเพิ่มขึ้น ทุเลาลง หรือทรงอยู่
๕.อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น อันเป็นเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด ไม่เป็นที่พอใจถึงขนาดจะคร่าชีวิต คนไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล เป็นผู้พยาบาลง่าย."
     ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๖๑
  
๔๖.คนพยาบาลไข้ที่ดีและไม่ดี
         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ไม่ควรที่จะพยาบาลคนไข้คือ
๑.ไม่สามารถที่จะจัดยา
๒.ไม่รู้ของควร ของแสลง นำของแสลงเข้าไปให้ นำของไม่แสลงออก
๓.เป็นผู้เห็นแก่อามิสพยาบาลคนไข้ ไม่มีเมตตาจิต
๔.รังเกียจที่จะนำไปเทซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน และเขฬะ
๕.ไม่สามารถที่จะชี้แจงชักจูง ปลุกใจ ปลอบใจคนไข้ด้วยธรรมิกถาเป็นครั้งคราว

คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่ควรที่จะพยาบาลคนไข้.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ควรที่จะพยาบาลคนไข้ คือ
๑.สามารถที่จะจัดยา
๒.รู้ของควร ของแสลง นำของแสลงออก นำของควรเข้าไปให้
๓.มีเมตตาจิตพยาบาลคนไข้ ไม่มุ่งอามิส
๔.ไม่รังเกียจที่จะนำไปเทซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือเขฬะ
๕.เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงชักชวน ปลุกใจ ปลอบใจคนไข้ด้วยธรรมิกถาเป็นครั้งคราว

คนพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ เหล่านี้แล ควรที่จะพยาบาลคนไข้."
     ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๖๒

 
 
-------------------------------------------------
๑.คำว่า อเสขะ แปลว่า ไม่ต้องศึกษา หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด คือพระอรหันต์ ส่วนพระอริยบุคคลชั้นรองลงมา ชื่อว่าเสขะ แปลว่า ยังต้องศึกษา คำว่า เสขะ อเสขะ เป็นคำประกอบคุณธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ได้ด้วย หมายความว่า เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์
๒.อันเตวาสิก คือศิษย์ที่ตนเป็นผู้สวดในการขออุปสมบท หรือที่เล่าเรียน สัทธิวหาริก หมายถึง ศิษย์ที่ตนเป็นอุปัชฌายะบวชให้
๓.คือชอบฝืนคำสั่งหมอ เช่น ชอบกินของแสลง ห้ามเดินจะเดิน ห้ามพูดจะพูด

ที่มา :  .larnbuddhism.com
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 52.0.2743.116 Chrome 52.0.2743.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 01 กันยายน 2559 10:59:46 »



๔๗.ฐานะ ๕ ที่ควรพิจารณาเนือง ๆ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ เหล่านี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ คือ

๑.ควรพิจาณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒.ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
๓.ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔.ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งปวง
๕.ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรม(๑) เป็นของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น."

๔๘.เหตุผลที่ควรพิจารณาฐานะ ๕ เนืองๆ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาวของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อพิจารณาฐานะนั้นเนืองๆ ก็จะละความเมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาวได้สิ้นเชิง หรือความเมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้น จะลดน้อยลงไปเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจาณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเมาในความไม่มีโรคของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติทุจจริตทาง กาย วาจา ใจ.

เมื่อพิจารณาฐานะนั้นเนืองๆ ก็จะละความเมาในความไม่มีโรคนั้นได้สิ้นเชิง หรือความเมาในความไม่มีโรคนั้นจะลดน้อยลงไป เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเมาในชีวิตของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ. เมื่อพิจารณาฐานะนั้นเนืองๆ ก็จะละความเมาในชีวิตนั้นได้สิ้นเชิง หรือความเมาในชีวิตนั้น จะลดน้อยลงไปเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งปวง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความติดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ(๒) ในสิ่งเป็นที่รัก ของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อพิจารณาฐานะนั้นเนืองๆ ก็จะละความคิดด้วยอำนาจแห่งความพอใจในสิ่งที่เป็นที่รักได้สิ้นเชิง หรือความคิดด้วยอำนาจแห่งความพอใจในสิ่งเป็นที่รักนั้น จะลดน้อยลงไปเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งปวง"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุจจริตทางกาย วาจา ใจ ของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ เมื่อพิจารณาฐานะนั้นเนืองๆ ก็จะละทุจจริตได้สิ้นเชิง หรือทุจจริตนั้น จะลดน้อยลงไปเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น."

     ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๘๑

 
๔๙.ผู้หลับน้อยตื่นมากในราตรี
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ ประเภทเหล่านี้ ย่อมหลับน้อยตื่นมากในราตรี คือ
๑.สตรีผู้มีความประสงค์บุรุษ
๒.บุรุษผู้มีความประสงค์สตรี
๓.โจรผู้มีความประสงค์จะลักทรัพย์
๔.พระราชาผู้ประกอบในราชกรณียกิจ
๕.ภิกษุผู้มีความประสงค์จะปราศจากสัญโญชน์(๓)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ ประเภทเหล่านี้แล ย่อมหลับน้อยตื่นมากในราตรี."

     ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๗๕


๕๐.ผู้ตกนรก
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้ ธรรม ๕ อย่างคือ
๑.เป็นผู้มักฆ่าสัตว์
๒.เป็นผู้มักลักทรัพย์
๓.เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม
๔.เป็นผู้มักพูดปด
๕.เป็นผู้มักตั้งอยู่ในความประมาท ด้วยการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้."

     ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๙๑

๕๑.ผู้ขึ้นสวรรค์
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ย่อมขึ้นสวรรค์ เหมือนถูกนำตัวไปวางไว้ ธรรม ๕ อย่างนี้ คือ
๑.ผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒.ผู้เว้นจากการลักทรัพย์
๓.ผู้เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔.ผู้เว้นจากการพูดปด
๕.ผู้เว้นจากการตั้งอยู่ในความประมาท ด้วยการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล ย่อมขึ้นสวรรค์ เหมือนถูกนำตัวไปวางไว้."

     ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๙๑

๕๒.สัปปุริสทาน ๕ พร้อมทั้งอานิสงส์
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปรุสทาน (การให้ของคนดี) ๕ อย่างเหล่านี้ คือ
๑.ให้ทานด้วยศรัทธา (ความเชื่ออย่างมีเหตุผล)
๒.ให้ทานด้วยความเคารพ
๓.ให้ทานตามกาล
๔.ให้ทานมีจิตอนุเคราะห์
๕.ให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่น

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลให้ทานด้วยความเชื่อแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนันเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงามอย่างยิ่ง."

"บุคคลให้ทานด้วยความเคารพแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีบุตร, ภรรยา, ทาส, คนรับใช้ หรือกรรมกรก็ตาม บุคคลเหล่านั้นย่อมสนใจฟัง ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตรับรู้ (คำสั่ง)(๔)."

"บุคคลให้ทานตามกาลแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และความต้องการทั้งหลายของเขาที่เกิดขึ้นตามกาล ย่อมบริบูรณ์."

"บุคคลให้ทานมีจิตอนุเคราะห์แล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และจิตของเขาย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคในกามคุณ ๕ อันโอฬาร(๕)."

"บุคคลให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่นแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และความล่มจมแห่งโภคะของเขา ย่อมไม่มาจากที่ไหน ๆ คือจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากทายาท (ผู้รับมรดก) ซึ่งไม่เป็นที่รัก."

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล สัปปุริสทาน ๕ อย่าง."


     ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๙๒


----------------------------------------------------------------
๑.การกระทำ และผลแห่งการกระทำ
๒.ฉันทราคะ แปลว่า ความคิด ด้วยอำนาจแห่งความพอใจ เพื่อให้มีความหมายกว้างกว่าความกำหนัด
๓.สัญโญชน์ กิเลสที่มัดสัตว์ไว้ในภพ
๔.เชื่อถ้อยฟังคำ
๕.มีทรัพย์แล้ว คิดใช้ทรัพย์ ไม่ใช่ทนอดอยากแบบปู่โสมเฝ้าทรัพย์


ที่มา - .larnbuddhism.com
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 55.0.2883.87 Chrome 55.0.2883.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 17 มกราคม 2560 12:04:31 »


๕๓. ลักษณะ ๕ ของวาจาสุภาษิต
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นับเป็นสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มีโทษ อันผู้รู้ติไม่ได้ คือ
๑.วาจาที่กล่าว (ถูกต้อง) ตามกาล
๒.วาจาที่กล่าว เป็นความจริง
๓.วาจาที่กล่าว อ่อนหวาน
๔.วาจาที่กล่าว ประกอบด้วยประโยชน์
๕.วาจาที่กล่าว ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา


ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๑
 

๕๔. เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน
"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าไผ่ ใกล้เมืองมิถิลา ลำดับนั้น ท่านพระกิมพิละ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ยืนในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว." "ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกัน. นี้แล กิมพิละ เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๕



๕๕. เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน
"พระกิมพิละกราบทูลถามต่อไปว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แล้วก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ เคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา เคารพยำเกรงกันแลกัน. นี้แล กิมพิละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๕

 

๕๖. การค้าขาย ๕ อย่างที่อุบาสกไม่ควรทำ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้ อันอุบาสกไม่ควรทำ คือ
๑.การค้าขายศัสตรา (สัตถวณิชชา)
๒.การค้าขายสิ่งมีชีวิต (สัตตวณิชชา)(๑)
๓.การค้าขายเนื้อสัตว์ (มังสวณิชชา)(๒)
๔.การค้าขายน้ำเมา (มัชชวณิชชา)
๕.การค้าขายยาพิษ (วิสวณิชชา)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้า ๕ อย่างเหล่านี้ อันอุบาสกไม่ควรทำ."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๓๒ 



๕๗.คนพูดมากมีโทษ ๕
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการเหล่านี้ ในบุคคลผู้พูดมาก คือ
๑.ย่อมพูดปด
๒.ย่อมพูดส่อเสียด (คือยุให้แตกร้าวกัน)
๓.ย่อมพูดคำหยาบ
๔.ย่อมพูดเพ้อเจ้อ
๕.สิ้นชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต (ความล่มจมตกต่ำ) นรก

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการเหล่านี้แล ในบุคคผู้พูดมาก."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๘๒



๕๘.คนพูดด้วยปัญญามีอานิสงส์ ๕       
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ ในบุคคลผู้พูดด้วยปัญญา คือ
๑.ไม่พูดปด
๒.ไม่พูดส่อเสียด
๓.ไม่พูดคำหยาบ
๔.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๕.สิ้นชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้แล ในบุคคลผู้พูดด้วยปัญญา." 

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๘๒


๕๙.โทษของความไม่อดทน ๕ ประการ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการของความไม่อดทนเหล่านี้ คือ
๑.ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนมาก
๒.มากไปด้วยเวร
๓.มากไปด้วยโทษ
๔.หลง ถึงแก่ความตาย
๕.สิ้นชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการเหล่านี้แล."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๘๒


๖๐.อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการเหล่านี้ คือ
๑.เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของคนมาก
๒.ไม่มากไปด้วยเวร
๓.ไม่มากไปด้วยโทษ
๔.ไม่หลง ถึงแก่กรรม
๕.สิ้นชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการเหล่านี้แล."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๘๒


 
๖๑.อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ
๑.ย่อมได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง
๒.สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมชัดเจนขึ้น
๓.บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔.ทำความเห็นให้ตรงได้
๕.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๖


๖๒.อานิสงส์ของข้าวยาคู ๕ ประการ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของข้าวยาคู ๕ ประการเหล่านี้ คือ
๑.บรรเทาความหิว
๒.บรรเทาความกระหาย
๓.ลมเดินสะดวก
๔.ชำระลำไส้
๕.ทำอาหารที่ยังไม่ย่อยที่เหลือให้สุก

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของข้าวยาคู ๕ ประการเหล่านี้แล."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๘


 
๖๓.โทษในการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการเหล่านี้ คือ
๑.สายตาไม่ดี
๒.ปากมีกลิ่นเหม็น
๓.ประสาทรับรสไม่หมดจด
๔.ดีและเสมหะรึงรัดอาหาร
๕.รับประทานอาหารไม่มีรส(๓)


๖๔.อานิสงส์ในการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการเหล่านี้ คือ
๑.สายตาดี
๒.ปากไม่มีกลิ่นเหม็น
๓.ประสาทรับรสหมดจด
๔.ดีและเสมหะไม่รึงรัดอาหาร
๕.รับประทานอาหารมีรส

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการเหล่านี้แล."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๘


๖๕.โทษในการกล่าวธรรมด้วยเสียงขับอันยาวของภิกษุ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการเหล่านี้ ของภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับอันยาว คือ
๑.ตนเองก็ติดในเสียงนั้น
๒.ผู้อื่นก็ติดในเสียงนั้น
๓.คฤหับดีทั้งหลายจะยกโทษว่า สมณะ ศากยบุตรเหล่านี้ขับร้องเหมือนพวกตน
๔.เมื่อติดใจการทอดเสียง สมาธิก็ทำลาย
๕.ประชุมชน(ภิกษุ) ในภายหลังจะถือเป็นแบบอย่าง

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับอันยาว ๕ ประการเหล่านี้แล."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๙

 
๖๖.โทษของผู้หลับโดยไม่มีสติสัมปชัญญะ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการเหล่านี้ ของผู้หลงลืมสติ ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ คือ
๑.หลับเป็นทุกข์
๒.ตื่นเป็นทุกข์
๓.ฝันร้าย
๔.เทวดาไม่รักษา
๕.น้ำอสุจิเคลื่อน

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของผู้หลงลืมสติ ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ ๕ ประการเหล่านี้แล."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๙

 

๖๗.อาสงส์ของผู้หลับโดยมีสติสัมปชัญญะ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ ของผู้ตั้งสติ มีสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ คือ
๑.หลับเป็นสุข
๒.ตื่นเป็นสุข
๓.ไม่ฝันร้าย
๔.เทวดารักษา
๕.น้ำอสุจิไม่เคลื่อน

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของผู้ตั้งสติ มีสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ ๕ ประการเหล่านี้แล."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๙



๖๘.อกุศลราศี (กองแห่งอกุศล)
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกล่าวว่า อกุศลราศี (กองแห่งอกุศล) เมือ่กล่าวให้ชอบ ก็ควรกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ อย่าง. นิวรณ์ ๕ อย่างล้วนเป็นอกุศลราศี คือ
๑.กามฉันท์ ความพอใจในกาม
๒.พยาบาท ความคิดปองร้าย
๓.ถีนมิทธะ ความหดหู่ง่วงงุน
๔.อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งสร้านรำคาญใจ
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกล่าวว่า อกุศลราศี (กองแห่งอกุศล) เมื่อกล่าวให้ชอบ ก็ควรกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ อย่าง นิวรณ์ ๕ อย่างล้วนเป็นอกุศลราศี."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๗๔


๖๙.ผู้บวชเมื่อแก่ที่มีคุณธรรม ๕ ประการ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้บวชเมื่อแก่ ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง หาได้ยาก คือ
๑.ผู้บวชเมื่อแก่ ที่ละเอียดอ่อน หาได้ยาก
๒.ผู้บวชเมื่อแก่ สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยา หาได้ยาก
๓.ผู้บวชเมื่อแก่ เป็นผู้คงแก่เรียน(๔) หาได้ยาก
๔.ผู้บวชเมื่อแก่ เป็นพระรรมกถึก(๕) หาได้ยาก
๕.ผู้บวชเมื่อแก่ เป็นผู้ทรงพระวินัย หาได้ยาก

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้บวชเมื่อแก่ ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล หาได้ยาก"

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๙๐



๗๐.ผู้บวชเมื่อแก่ที่มีคุณธรรม หาได้ยากอีกประเภทหนึ่ง
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้บวชเมื่อแก่ ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง หาได้ยาก คือ
๑.ผู้บวชเมื่อแก่ ที่ว่าง่าย หาได้ยาก
๒.ผู้บวชเมื่อแก่ ที่รับโอวาทด้วยดี หาได้ยาก
๓.ผู้บวชเมื่อแก่ ที่รับโอวาทโดยเคารพ(๖) หาได้ยาก
๔.ผู้บวชเมื่อแก่ เป็นพระธรรมกถึก หากได้ยาก
๕.ผู้บวชเมื่อแก่ เป็นผู้ทรงพระวินัย หาได้ยาก

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้บวชเมื่อแก่ ที่ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล หาได้ยาก."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๙๐


 
๗๑.สัมปทา (ความถึงพร้อมหรือความสมบูรณ์) ๕
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ เหล่านี้ คือ
๑.สัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความเชื่อ(๗)
๒.สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล
๓.สุตสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยการสดับตรับฟัง
๔.จาคสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ
๕.ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ เหล่านี้แล."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๕๘



๗๒.คนที่เกิดมาเพื่อประโยชน์ความสุขแก่คนมาก
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนดี(๘) เมื่อเกิดมาในสกุลย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก คือ
๑.แก่มารดา บิดา
๒.แก่บุตร ภรรยา
๓.แก่ทาส กรรมกร และชาวเมือง
๔.แก่มิตร และอำมาตย์
๕.แก่สมณและพราหมณ์(๙)


-------------------------------------------------------------
๑.หมายถึงขายมนุษย์
๒.หมายถึงสัตว์เลี้ยงประเภทใช้ฆ่ากินเนื้อไว้ขาย
๓.แปลตามตัวว่า อาหารของผู้นั้น ไม่ทำความพอใจให้
๔.พหุสฺสุโต สดับตรับฟังมาก
๕.ผู้แสดงธรรม
๖.ปทกฺขิณคฺคาหี รับโดยเบื้องขวา
๗.ในที่ไหนสอนให้มีความเชือ่ ในที่นั้นจะสอนให้มีปัญญาเสมอ
๘.สปฺปุริโส ตรงกับคำว่า สัตบุรุษ
๙.การใช้คำคู่แบบนี้ เป็นสำนวนบาลี

ที่มา : .larnbuddhism.com
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 10:32:30 »




๗๓.สิ่งที่ขอร้องหรือปรารถนาให้เป็นไปอย่างใจไม่ได้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้ อันสมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้ คือ
๑.ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้แก่เลย
๒.ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บไข้เลย
๓.ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย
๔.ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าได้สิ้นไปเลย
๕.ขอสิ่งที่มีความพินาศไปเป็นธรรมดา อย่าได้พินาศไปเลย

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความแก่, ความเจ็บ, ความตาย, ความสิ้นไป, ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่, เจ็บไข้, ตาย สิ้นไป, พินาศไปแล้ว ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า "มิใช่เราคนเดียวที่มีสิ่งซึ่งมีความแก่, ความเจ็บไข้, ความตาย, ความสิ้นไป, ความพินาศไปเป็นธรรมดา อันแก่, เจ็บไข้, ตาย, สิ้นไป, พินาศไป แท้จริงสัตว์ทั้งหลายที่มีการมา การไป การตาย การเกิดทั้งหมด ก็มีสิ่งซึ่งมีความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความสิ้นไป ความพินาศไปเป็นธรรมดา อันแก่ เจ็บไข้ ตาย สิ้นไป พินาศไป เช่นเดียวกัน ก็ถ้าเมื่อสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ มีความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่แล้ว ฯลฯ พินาศไปแล้ว ฯลฯ เราจะพึงเศร้าโศก ลำบากใจ บ่นเพ้อ ตีอก คร่ำครวญ หลงใหล แม้พอาหารของเราก็จะไม่ทำความพอใจให้ (รับประทานข้าวไม่ลง) แม้ความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามก็จะก้าวลงในกาย แม้การงานก็จะไม่ดำเนินไป แม้ศัตรูก็จะดีใจ แม้มิตรก็จะเสียใจ, เมื่อสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่ ฯลฯ พินาศไปแล้ว เขาก็จะเศร้าโศก ลำบากใจ บ่นเพ้อ ตีอก คร่ำครวญ หลงใหล บุถุชนผู้มิได้สดับนี้ เรากล่าวว่า ถูกลูกศร คือความโศกอันมีพิษแทงเอาแล้ว ย่อมทำตัวเองให้เดือดร้อน.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยาสาวก(๑) ผู้ได้สดับแล้ว เมื่อสิ่งที่มีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่แล้ว ฯลฯ พินาศไปแล้ว ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า "มิใช่เราคนเดียวที่มีสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา อันแก่ ฯลฯ พินาศไป แท้จริงสัตว์ทั้งหลายที่มีการมา การไป การตาย การเกิดทั้งหมด ก็มีสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา อันแก่ ฯลฯ พินาศไปเช่นเดียวกัน ก็ถ้าเมื่อสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่แล้ว ฯลฯ พินาศไปแล้ว เราจะพึงเศร้าโศก ลำบากใจ บ่นเพ้อ ตีอก คร่ำครวญ หลงใหล แม้อาหารของเราก็จะไม่ทำความพอใจให้ (รับประทานข้าวไม่ลง) แม้ความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามก็จะก้าวลงในกาย แม้การงานก็จะไม่ดำเนินไป แม้ศัตรูก็จะดีใจ แม้มิตรก็จะเสียใจ, เมื่อสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่แล้ว ฯลฯ พินาศไปแล้ว เขาก็จะไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่บ่นเพ้อ ไม่ตีอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงใหล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้ เรากล่าวว่า ถอนเสียได้ซึ่งลูกศรคือความโศกอันมีพิษที่บุถุชนผู้มิได้สดับถูกแทงแล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อน ส่วนอริยสาวก เป็นผู้ไม่เศร้าโศก เป็นผู้ปราศจากลูกศร ย่อมทำตัวเองให้สงบระงับ.
 
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้แล อันสมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้."
ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๕๙

 
๗๔. ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่าง
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ
๑.บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาได้ประพฤติ สิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา"
๒.บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขากำลังประพฤติ สิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา"
๓.บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาจักประพฤติ สิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา"
๔.บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศ แก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา"
๕.บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศ แก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา"
๖.บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศ แก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา"
๗.บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาได้บำเพ็ญประโยชน์ แก่คนที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา"
๘.บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขากำลังบำเพ็ญประโยชน์ แก่คนที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา"
๙.บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาจักบำเพ็ญประโยชน์ แก่คนที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา"
๑๐.บุคคลย่อมโกรธ ในฐานะที่ไม่สมควร

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่างเหล่านี้แล."
ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๖


๗๕.เครื่องนำความอาฆาตออก ๑๐ อย่าง
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องนำความอาฆาตออก ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ

๑.บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
๒.บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
๓.บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
๔.บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
๕.บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
๖.บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
๗.บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาได้บำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
๘.บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขากำลังบำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
๙.บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วคิดอย่างนี้ว่า เขาจักบำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?
๑๐.บุคคลย่อมไม่โกรธ ในฐานะอันไม่สมควร

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องนำความอาฆาตออก ๑๐ อย่างนี้เหล่านี้แล."
ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๖๑
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2560 10:19:32 »



๗๖.พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยว่า เราจะสรรเสริญความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมสรรเสริญความเจริญ ไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ ไม่สรรเสริญความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา(ความเชื่อ) ศีล(ความเป็นปกติทางกาย วาจา) สุตะ(ความสดับตรับฟัง) จาคะ(ความสละ) ปัญญา(ความรู้) ปฏิภาณ(ความไหวพริบ) ธรรมเหล่านั้นของเธอ ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เจริญขึ้น. เรากล่าวข้อนั้นว่าเป็นความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ ดูก่อนภิกษุทังหลาย อย่างนี้แล คือความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ. ธรรมเหล่านั้นของเธอย่อมไม่เสื่อมไป ย่อมไม่เจริญขึ้น เรากล่าวข้อนันว่าเป็นความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อมเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ. ธรรมเหล่านั้นของเธอย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เสื่อมไป. เรากล่าวข้อนั้นว่าเป็นความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่หยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม."
ทสกจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๑

๗๗.ไม่ฉลาดในเรื่องจิตของผู้อื่นก็ควรฉลาดในเรื่องจิตของตน
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของผู้อื่น, เมื่อเป็นเช่นนัน พวกเธอก็พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของตน.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตนอย่างไร? เปรียบเหมือนหญิงหรือชายรุ่น หรือเป็นหนุ่มเป็นสาว ผู้รักการประดับตกแต่ง เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในกระจก อันบริสุทธิ์ผ่องใสหรือในพื้นน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็ย่อมพยายามเพื่อนำออกซึ่งธุลีหรือมลทินนั้นเทียว. ถ้าไม่เห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็มีความอิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยเหตุนี้แล ว่าเป็นลาภของเราหนอ เงาหน้าของเราบริสุทธิ์หนอดังนี้ ฉันใด.

"ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือการพิจารณาดังต่อไปนี้ของภิกษุ ย่อมมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย
๑.เรามีอภิชฌา(ความโลภ) หรือไม่มีอภิชฌา(ความโลภ) อยู่โดยมากหนอ
๒.เรามีจิตพยาบาท(ความคิดให้ร้าย) หรือไม่มีจิตพยาบาท อยู่โดยมากหนอ
๓.เราถูกความหดหู่ ง่วงงุน รึงรัด หรือปราศจากความหดหู่ ง่วงงุน อยู่โดยมากหนอ
๔.เราฟุ้งสร้าน หรือไม่ฟุ้งสร้าน อยู่โดยมากหนอ
๕.เรามีความลังเลสงสัย หรือข้ามพ้นความลังเลสงสัย อยู่โดยมากหนอ
๖.เรามีความโกรธ หรือไม่มีความโกรธ อยู่โดยมากหนอ
๗.เรามีจิตเศร้าหมอง หรือมีจิตไม่เศร้าหมอง อยู่โดยมากหนอ
๘.เรามีกายกระสับกระส่าย หรือมีกายไม่กระสับกระส่าย อยู่โดยมากหนอ
๙.เราเกียจคร้าน หรือปรารภความเพียร อยู่โดยมากหนอ
๑๐.เรามีจิตไม่ตั้งมั่น หรือมีจิตตั้งมั่น อยู่โดยมากหนอ

"ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
๑.เรามีอภิชฌา (ความโลภ) อยู่โดยมาก
๒.เรามีจิตพยาบาท(ความคิดให้ร้าย) อยู่โดยมาก
๓.เราถูกความหดหู่ ง่วงงุน รึกรัด อยู่โดยมาก
๔.เราฟุ้งสร้าน อยู่โดยมาก
๕.เรามีความลังเล สงสัย อยู่โดยมาก
๖.เรามีความโกรธ อยู่โดยมาก
๗.เรามีจิตเศร้าหมอง อยู่โดยมาก
๘.เรามีกายกระสับกระส่าย อยู่โดยมาก
๙.เราเกียจคร้าน อยู่โดยมาก
๑๐.เรามีจิตไม่ตั้งมั่น อยู่โดยมาก" ดังนี้

ภิกษุนั้นก็ควรทำฉันทะ, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความตั้งใจ, ความไม่ท้อถอย, สติและสัมปชัญญะ อันมีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาป อกุศล เหล่านั้นเสีย เหมือนคนที่มีผ้าถูกไฟไหม้ มีศีรษะถูกไฟไหม้ รีบทำผ้า หรือศีรษะนั้นให้ไฟดับไปฉะนั้น.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
"๑.เราไม่มีอภิชฌา (ความโลภ) อยู่โดยมาก
๒.เราไม่มีจิตพยาบาท อยู่โดยมาก
๓.เราปราศจากความหดหู่ ง่วงงุน อยู่โดยมาก
๔.เราไม่ฟุ้งสร้าน อยู่โดยมาก
๕.เราข้ามพ้นความลังเล สงสัย อยู่โดยมาก
๖.เราไม่มีความโกรธ อยู่โดยมาก
๗.เราไม่มีจิตเศร้าหมอง อยู่โดยมาก
๘.เราไม่มีกายกระสับกระส่าย อยู่โดยมาก
๙.เราปรารภความเพียร อยู่โดยมาก
๑๐.เรามีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก" ดังนี้
ภิกษุนั้นก็ควรทำความเพียร เพื่อดำรงอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะยิ่งขึ้นไป."
ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๒-๑๐๔

๗๘.ฉลาดในเรื่องจิตของตนอีกอย่างหนึ่ง
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของผู้อื่น, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอก็พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในปริยาย(เรื่องราวป แห่งจิตของตน.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตนอย่างไร? เปรียบเหมือนหญิงหรือชายรุ่น หรือเป็นหนุ่มเป็นสาว ผู้รักการประดับตกแต่ง เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในเงากระจกอันบริสุทธิ์ผ่องใส หรือในพื้นน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็พยายามเพื่อนำออกซึ่งธุลีหรือมลทินนั้นเทียว ถ้าไม่เห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็มีความอิ่มใจ เต็มปรารถนา ด้วยเหตุนั้นแล ว่าเป็นลาภของเราหนอ. เงาหน้าของเราบริสุทธิ์หนอ ดังนี้ ฉันใด."

"ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือการพิจารณาดังต่อไปนี้ของภิกษุ ย่อมมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย
๑.เราได้เจโตสมถะ (ความสงบแห่งจิต) ในภายใน หรือไม่ได้หนอ?
๒.เราได้อธิปัญญา(ปัญญาอันยิ่ง) อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ หรือไม่ได้หนอ?"

"ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน และเพื่ออธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ." ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และย่อมได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

"แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ไรยังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ยังไม่อธิปัญญา อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรม" ภิกษุนั้น ก็ควรทำฉันทะ, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความตั้งใจ, ความไม่ท้อถอย, สติและสัมปชัญญะอันมีประมาณยิ่ง เพ่อให้ได้กุศลธรรมเหล่านั้น. เหมือนคนที่มีผ้าถูกไฟไหม้ มีศีรษะถูกไฟไหม้ รีบทำผ้าหรือศีรษะนั้นให้ไฟดับไปฉะนั้น. ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

"แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน ได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ" ดังนี้. ภิกษุนั้น ก็ควรทำความเพียร เพื่อตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะยิ่งขึ้นไป."
ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๔-๑๐๖
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 992


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2560 16:28:14 »



๗๙.ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นอะไร?
 
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชผู้ถือลัทธิอื่นพึงถามอย่างนี้ว่า "ผู้มีอายุ ธรรมทั้งปวงมีอะไร เป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นที่รวม มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็นยอดเยี่ยม มีอะไรเป็นสาระ มีอะไรเป็นปริโยสาน" เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย พึงกล่าวตอบนักบวชผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านี้ว่าอย่าไร?"

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ธรรมะของข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล เป็นแบบแผน เป็นที่พึ่ง. ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงยังอรรถแห่งสุภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งด้วยดีเถิด พระเจ้าข้า. ภิกษุทั้งหลายสดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้."

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง ทำไว้ในใจให้ดี."

เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชผู้ถือศาสนาอื่นพึงถามอย่างนี้ว่า "ผู้มีอายุ ธรรมทั้งปวงมีอะไร เป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นที่รวม มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็นยอดเยี่ยม มีอะไรเป็นสาระ หยั่งลงสู่อะไร มีอะไรเป็นปริโยสาน." เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย พึงกล่าวตอบนักบวชผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้ว่า

ผู้มีอายุ ธรรมทั้งปวง มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูล, มีการทำไว้ในใจเป็นแดนเกิด, มีผัสสะ(ความกระทบ) เป็นต้นเหตุให้เกิด, มีเวทนา(ความรู้สึกอารมณ์สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข) เป็นที่รวม, มีสมาธิเป็นประมุข, มีสติเป็นใหญ่, มีปัญญาเป็นยอดเยี่ยม, มีวิมุติ(ความหลุดพ้น) เป็นสาระ หยั่งลงสู่อมตะ มีนิพพานเป็นปริโยสาน" เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านทั้งหลายพึงกล่าวตอบนักบวชผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้แล."

ทสกจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๑๓


๘๐.ละธรรม ๑๐ อย่างไม่ได้ยังไม่ควรเป็นพระอรหันต์

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่ควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑.ราคะ ความกำหนัดยินดี
๒.โทสะ ความคิดประทุษร้าย
๓.โมหะ ความหลง
๔.โกธะ ความโกรธ
๕.อุปนาหะ ความผูกโกรธ
๖.มักขะ ความลบหลู่บุญคุณท่าน
๗.ปลาสะ ความตีเสมอ
๘.อิสสา ความริษยา
๙.มัจฉริยะ ความตระหนี่
๑๐.มานะ ความถือตัว

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้แลไม่ได้ ก็ไม่ควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล."
 

๘๑. ละธรรม ๑๐ อย่างได้จึงควรเป็นพระอรหันต์

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ได้ จึงควรทำให้แจ้งอรหัตตผล. ธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑.ราคาะ ความกำหนัดยินดี
๒.โทสะ ความคิดประทุษร้าย
๓.โมหะ ความหลง
๔.โกธะ ความโกรธ
๕.อุปนาหะ ความผูกโกรธ
๖.มักขะ ความลบบุญคุณท่าน
๗.ปลาสะ ความดีเสมอ
๘.อิสสา ความริษยา
๙.มัจฉริยะ ความตระหนี่
๑๐.มานะ ความถือตัว

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้แลได้ จึงควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล."

ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๒๒๔


๘๒.คนที่เกิดมีขวานมาในปากด้วย

"คนที่เกิดมาแล้ว มีขวานเกิดมาในปากด้วย คนพาลเมื่อกล่าวคำชั่ว ชื่อว่าใช้ขวานนั้นฟันตนเอง. ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติ ติคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้น ชื่อว่าใช้ปากเลือกเก็บความชั่วไว้ จะไม่ได้ประสบความสุข เพราะความชั่วนั้น."


ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๘๕
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.584 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้