[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 03:07:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เกลือทะเล - เกลือหุง  (อ่าน 2258 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 ธันวาคม 2558 19:27:48 »

.


ภาพจาก : images.thaiza.com

เกลือทะเล - เกลือหุง

เกลือที่มนุษย์ทั้งปวงใช้อยู่ทุกวันนี้ ตามที่เคยได้เห็นมีอยู่ 2 อย่าง คือเกลือทะเลเกิดแต่น้ำเค็ม ที่งวดเข้าแล้วและเป็นเมล็ด และเกลือที่เกิดจากการกลั่นต้มหุง

(หนังสือวชิรญาณวิเศษ ร.ศ.110 (พ.ศ.2434) กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ใหม่ พ.ศ.2551 วิชาอาชีพสยาม)

เกลือที่เกิดจากน้ำเค็ม เมื่อแรกชาวนาเกลือจะดายหญ้าที่อยู่ในไร่นาให้เตียน แล้วทำคันให้สูงประมาณศอกหนึ่ง กว้าง 20 วา ยาว 20 วาราวที่นาไร่หนึ่ง จากนั้นก็จะคราดที่นั้นให้เลนแตกตลอดถึงกัน ใช้ลูกกลิ้งบดเหมือนบดถนนให้ราบ ลากไปให้พื้นนาราบเสมอกัน

ทิ้งไว้–3 วัน ให้พื้นที่แห้งหมาดแล้วจึงไขน้ำเค็มให้เข้าไปขัง จนเต็มเปี่ยมตลอดไปทั่วไร่ ปิดขังน้ำเค็มนั้นไว้ให้งวดราว 15 วัน น้ำเค็มก็จะงวดข้นเป็นเมล็ดเกลือ

แต่ก็ยังไม่ได้เกลือพอ ต้องเปิดน้ำเค็มเข้าไปขังไว้ให้งวดหลายๆ เที่ยว จึงจะได้เนื้อเกลือมาก

ทางที่จะไขให้น้ำเค็มไหลเข้าไปในนาเกลือ เขาขุดเป็นลำกระโดงเล็กๆ เช่นลำกระโดงสวน ให้ทะลุถึงคลองใหญ่ น้ำเค็มที่ไขเข้าไปในนา อย่าให้น้ำที่เหลืองวดจัดนัก ถ้าปล่อยให้ข้นเข้าเป็นเมล็ดเกลือสีแดงก่ำ...หรือดูขาวไปทั่วนา

เป็นดีเกลือก็มี เป็นเมล็ดเกลือที่บริโภคได้ก็มี

ที่เรียกว่าดีเกลือ คือเกลือที่เป็นฟองลอยข้น เป็นหย่อมๆ จะเรียกว่าหัวเกลือก็ได้ มีรสขมเกินไปใช้บริโภคไม่ได้ ประโยชน์มีแต่เพียงใช้แทรกยา ที่สำหรับรูปถ่าย

เมื่อเกลือข้นเป็นเมล็ดแห้งได้ที่ มากพอก็กวาดต้อนเข้าให้เป็นกอง แล้วขนเข้าไปในโรงเกลือ โรงนั้นมุงและบังด้วยจากมิดชิด ป้องกันมิให้ฝนรั่วและสาดเข้าไป

ฝนเป็นอันตรายกับเกลือ การทำนาเกลือจึงต้องทำในฤดูแล้ง ทำนาเกลือปีหนึ่ง คราวหนึ่งคนหนึ่งทำได้คราวละ 20–30 เกวียน และปีหนึ่งคนหนึ่งทำได้แค่ 3 คราว

เล่ากันว่า มีลัทธิความเชื่อว่า ปีหนึ่งคนหนึ่ง ตั้งแต่เดือนอ้าย ถึงเดือน 4 เดือน 5 จะทำนาเกลือ ได้ไม่เกิน 3 คราว ถ้ามีเหตุให้ต้องทำคราวต่อไป ก็ต้องให้พี่ น้อง ลูกหลาน ทำแทน

เกลือทะเลราคาเกวียนละ 3–4–5 บาท บวกภาษี อีก 1 บาท ใครขายเกลือไม่เสียภาษี จะมีพวกเจ้าภาษีคอยตรวจตรา ถ้าพบว่าขายโดยไม่มีตั๋วสำคัญ ก็จะถูกจับกุมให้ไปให้เจ้าภาษีปรับไหม ตามข้อละเมิด

เกลือที่ซื้อขายเสียภาษีกันในนาเกลือ ไม่สู้จะมีกำไรเหมือนที่รับไปขายที่อื่น รอบอาณาเขตสยามตามประเทศที่ไม่มีนาเกลือ ตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดถึงเชียงใหม่

ยกเว้นประเทศที่ดอนขึ้นไปกว่านครราชสีมา เช่น เมืองอุบล เขมราษฎร์ อำนาจเจริญ ฯลฯ ซึ่งมักใช้เกลือหุง

การทำเกลือหุง ไม่ต้องมีที่มีเงินก็ทำได้ ด้วยเกลือเกิดมีตามทุ่งนา จะเป็นที่นาของผู้ใด เจ้าของไม่หวง จะทำเองหรือให้ผู้อื่นทำได้ไม่มีการห้าม ฟืนตองที่จะใช้ต้มหุงก็มีดื่นไปในป่า ใครต้องการก็ไปตัดแบกมาหามมา

หม้อที่หุงเกลือก็ไม่ต้องซื้อ ใครต้องการก็ไปขุดดินที่สำหรับทำหม้อ เป็นดินสีดำจัดและเหนียวมาก เหมือนดินที่ชาวเมืองเหนือใช้ทำคนโทน้ำ มาทำเป็นหม้อใช้เอง ดินก็ไม่มีใครหวงแหน ใครต้องการเท่าใดก็ไปขุดได้

หม้อหุงเกลือปากกว้างคืบหนึ่ง สูงคืบเศษ หนา 2 กระเบียด สัณฐานเหมือนเบ้าหลอมโลหะ เมื่อขุดดินได้มาก็ต้องผึ่งแดดให้แห้งดี แล้วจึงตำโขลกให้ละเอียด เอาตะแกรงร่อนเอาที่ละเอียดให้ได้พอที่จะทำหม้อ แล้วเอาเคล้ากับแกลบ

เทน้ำเจือเคล้าจนได้ที่ เอาปั้นเป็นหม้อ ผึ่งแดดจนแห้ง เผาด้วยฟาง ต้องทำให้ไว้อย่างน้อย 20 ใบจึงจะพอ

ถึงขั้นการกลั่น ต้องใช้ราง หาท่อนไม้ที่มีโพรงข้างใน ตัดมาทั้งท่อน ยาวราววาเศษ อุดหัวท้าย เจาะท้องรางให้เป็นช่อง ยกไม้รางตั้งบนคาน

ขุดหลุมลึก 2 ศอก ปากหลุมกว้างศอก ก้นหลุมแคบคืบหนึ่ง ถากเอาเปลือกไม้ยางมาตากแดดให้แห้ง ตำโขลกเปลือกยางให้ละเอียด เอามาเคล้ากับทรายละเอียด เทน้ำลงไปเคล้าให้เป็นเนื้อเดียว แล้วเอาไปทาที่ท้องหลุมให้ทั่ว

จัดหลุมเสร็จ เอาแกลบเทลงท้องรางเกลี่ยให้ตลอดราง เพื่อให้แกลบเกรอะเอาดินที่ปนอยู่กับเกลือ ไม่ให้ไหลปนมากับน้ำเกลือ

ตักน้ำเทลงหลายๆ เที่ยว ขังน้ำไว้ 3 ชั่วโมง รอให้น้ำที่เกรอะในราง ซึมซาบทั่วไปจนใสดี เอาไม้เล็กๆ แทงตามช่องที่อุดดินเหนียวให้ทะลุ น้ำเกลือที่เกรอะกรองซึมซาบอยู่ในแกลบ ก็ไหลลงหลุม ส่วนดินที่ปนอยู่กับเกลือไม่ได้ไหลปนออกมาด้วย

เมื่อดินเกลือสิ้นรสเค็ม ก็โกยทิ้งให้หมด เอาดินเกลือใหม่มากลั่นอีกต่อไป ทำไปเหมือนเดิม แกลบที่รองเกรอะนี้อาจกลั่นได้ 10 ครั้ง จึงจะเปลี่ยนใหม่

เกรอะกรองน้ำเกลือได้พอแล้ว ก็ตั้งเตาหุงไปจนกว่าจะพอแก่ความต้องการ

เกลือที่หุงได้มีสีขาวเหมือนน้ำตาลทรายขาว รวมเอาลงในกระสอบเล็ก ปากกระสอบกว้างกำกึ่ง ตัวกระสอบยาวคืบเศษ ในกระสอบรองด้วยพลวงหรือใบอะไรก็ได้

เกลือที่หุงจนได้ที่นี้ ไม่มีชื่อเรียกเหมือนเกลือทะเล แต่เรียกว่า เกลือสินเธาว์ เหตุที่เรียกเกลือสินเธาว์ ก็เพราะเกลือติดกรังอยู่ที่ก้นหม้อที่สุกด้วยไฟหลายๆ ครั้ง จนแข็งเหมือนดินเหนียวที่เผาไฟ

เกลือสินธาว์ โดยปกติไม่ใช้บริโภคเป็นแต่ใช้แทรกยาบ้าง

ราคาเกลือหุง 6 กระสอบ 1 บาท นี้เป็นราคาอย่างถูก ถ้าคราวเกลือแพง 3 กระสอบ หรือ 4 กระสอบ 1 บาท

ในปัจจันตประเทศ เป็นธรรมเนียมมานาน ราษฎรจะปลูกสร้างสิ่งอะไรลงในแผ่นดินเป็นต้นว่าทำสวน ทำไร่ หุงเกลือ ทุกอย่าง ไม่ต้องเสียภาษีอากรทั้งสิ้น.


เรื่อง : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.278 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 6 ชั่วโมงที่แล้ว