[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 01:12:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระวิษณุกรรมไม่ใช่พระวิษณุ  (อ่าน 5401 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 09 มกราคม 2559 20:25:18 »

.



พระวิษณุกรรมไม่ใช่พระวิษณุ

กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้น "พระวิษณุกรรม" เป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์

ซึ่งตรงตามตำนานที่กล่าวว่า พระวิศวกรรม เป็นเทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ เป็นผู้สร้างเครื่องมือและสิ่งของต่างๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์จนมีการพัฒนารูปแบบสืบมาถึงปัจจุบัน

ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระวิศวกรรม เป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์ ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า เช่น ในพระเวสสันดรชาดก เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา

นอกเหนือจากการเป็นสถาปนิกและวิศวกรด้านโยธาและสำรวจดังกล่าวแล้ว ท่านยังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อ หมุนรอบองค์พระสถูป ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพาน ในคราวที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งมาเพื่อปกปักรักษาไม่ให้ผู้ใดเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าได้

แต่ด้วยเหตุที่พระวิศวกรรมมีชื่อเรียกที่หลากหลาย คือ พระวิษณุกรรม, พระวิสสุกรรม, พระเวสสุกรรม หรือพระเพชรฉลูกรรม ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มักเรียกว่า "พระวิษณุกรรม" มาแต่โบร่ำโบราณ

ต่อมาจึงเกิดการกร่อนคำลงเหลือเพียง "พระวิษณุ" อันกลายเป็นชื่อ 1 ใน 3 เทพเจ้าองค์สำคัญของศาสนาฮินดู ได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า "พระวิษณุ" เป็นเทพแห่งวิศวกรรม ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่ใช่องค์เดียวกันครับผม

พระวิศวกรรมหรือพระวิษณุกรรม ถือเป็นราชาแห่งช่างเทพเจ้า เป็นบรมครูแห่งช่างทั้งปวง ผู้เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตากรุณา มีไหวพริบปฏิภาณเป็นเลิศ และทรงมีอิทธิฤทธิ์สูงส่งในการเนรมิตสิ่งต่างๆ ให้บังเกิด และนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 โลก คือ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และโลกบาดาล

เครื่องทรงของพระวิษณุกรรมจะมีลักษณะคล้ายคนธรรพ์ คือ ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้ารัดเข็มขัดทองลงยา ใส่สนับเพลา ประดับทองกรกรองคอ สวมสังวาลเต็ม สวมกำไลที่ข้อแขน ต้นพระหัตถ์ และที่ข้อพระบาท พระหัตถ์ขวาทรงถือจอบ เพื่อใช้ในการขุดแต่งดินในการฝังเสาผูกหลักตามพระฤกษ์แห่งการก่อสร้าง จึงเป็นที่มาแห่งฉายา "ช่างก่อ" พระหัตถ์ซ้ายทรงถือลูกดิ่ง มีเฟืองทองผ่องอำไพแผ่รัศมีเจิดจ้าอยู่เบื้องหลัง แสดงถึงความเที่ยงตรง แม่นยำแห่งกาลเวลา ในการขับเคลื่อนกงล้อแห่งฟันเฟืองมาแต่ครั้งโบราณกาล จึงเป็นที่มาแห่งฉายา "ช่างยนต์" อีกทั้งยังได้กำลังหนุนช่วยจากพระอสุนีบาตสาดแสงเต็มทั่วท้องฟ้าทั้งกลางวันกลางคืน จนกิจการงานนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จึงเป็นที่มาแห่งฉายา "ช่างไฟ"

รวมไปถึงงานด้านศิลปะที่ต้องใช้ความประณีตบรรจงในการรังสรรค์และเนรมิตสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เพื่อให้สรวงสวรรค์นั้นงดงามสว่างไสวระยิบระยับอยู่ตลอดเวลา ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปกรรม และหัตถกรรมแขนงต่างๆ จึงเป็นที่มาแห่งฉายา "ช่างศิลป์" และกิจการงานในด้านการเซ่นสังเวยบวงสรวงเทพยดา ในการบอกกล่าวขอพรให้การดำเนินการสำเร็จลุล่วงด้วยดี ต่อองค์พระอินทร์และพระพรหม จึงเป็นที่มาแห่งการเจรจา วาจาสิทธิ์ จึงเป็นที่มาแห่งฉายา "พาณิชยกรรม"

การช่างของไทยในแขนงต่างๆ จึงให้ความเคารพบูชา "พระวิษณุกรรม" ในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย จะสังเกตได้ว่าตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบันมักจะมีรูปจำลององค์พระวิษณุกรรม ไว้สักการะขอพรให้ประสบความสำเร็จในงานช่างต่างๆ ตามที่ปรารถนา

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนิยมสร้างอยู่ 2 ท่า คือ "ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท" พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือดิ่ง และ "ท่าประทับยืน" พระหัตถ์ขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา พระหัตถ์ซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก ซึ่งเครื่องไม้เครื่องมือดังกล่าวเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณ ใช้สำหรับวัดระยะและวัดความเที่ยงตรง

ดังนั้น สถาบันที่เปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง จึงมักสร้างรูปเคารพในท่าประทับยืน แต่หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่าประทับนั่ง นอกจากนี้รูปเคารพยังแฝงด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิตไว้ด้วย คือ แม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ


พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.306 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 18:26:39