[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 03:10:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ซกเช็น วิถีแห่งการตื่นรู้  (อ่าน 3183 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5068


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.267 Chrome 46.0.2490.267


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 ธันวาคม 2558 16:03:19 »



ซกเช็น วิถีแห่งการตื่นรู้
โดย พระอาจารย์ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช

Dzogchen, The Path of Self-Liberation
Latri Khenpo Geshe Nyima Dakpa Rinpoche

กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล ขยายความและถ่ายทอดจากภาษาอังกฤษ
นพ. ภิญโญ ศรีวีระชัย และ วลีพร ธนาธิคม บรรณาธิการ

สงวนลิขสิทธิ์ มูลนิธิพันดารา ๒๕๕๗

(1)
การสอนพระธรรมในวัชรยานโดยปกติมีสามหนทาง หนทางแรกคือ “พระสูตร” (Sutra) เน้นการศึกษาพระสูตรซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในทิเบตผู้ที่ศึกษาสายนี้ส่วนใหญ่จะเป็นนักบวชซึ่งไม่เพียงแต่อ่านพระสูตรแต่ยังท่องจำเนื้อความในพระสูตร คนทั่วไปไม่ค่อยได้มีโอกาสศึกษาพระสูตรเท่าไรนัก ผู้ที่ศึกษาปฏิบัติตามแนวนี้จะเน้นการละโลก (renunciation) ดังนั้นหนทางนี้จึงเป็นแนวหลักในการปฏิบัติธรรมของนักบวช

แล้วทำไมเราถึงต้องไปบวช นั่นเป็นเพราะเราไม่ต้องการยึดติดกับโลก ไม่ต้องการยึดติดกับครอบครัว ปัจจุบันวัดในทิเบตทำหน้าที่สองอย่าง อย่างแรกคือเป็นสถานที่ให้ผู้คนปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงการหลุดพ้น สามารถละโลกได้ อย่างที่สองคือเป็นสถานที่เพื่อการศึกษาเล่าเรียน บางคนมาอยู่วัดเพียงเพื่อมาบวชเรียนเท่านั้น ไม่ได้มีปณิธานเพื่อการหลุดพ้น แต่ไม่ว่าจะด้วยปณิธานใด นักบวชจะต้องศึกษาพระสูตรเป็นสำคัญ

หนทางในการศึกษาพระธรรมแบบที่สองเรียกว่า “ตันตระ” (Tantra) เป็นการตั้งปณิธานที่จะดำรงอยู่ในโลก ไม่ละโลก ตั้งใจเปลี่ยนโลกให้เป็นพุทธเกษตรซึ่งเป็นสวรรค์ของพระพุทธเจ้า อากาศร้อนก็งดงาม อากาศเย็นก็เป็นสิ่งที่งดงาม ทุกอย่างเป็นลักษณะของพระพุทธเจ้าที่เราปฏิบัติบูชา เมื่อเราเห็นภูเขา เราก็คิดว่าภูเขานั้นเป็นพุทธเกษตรของพระองค์ การปฏิบัติในสายนี้จะเน้นการสวดมนตรา เน้นการบริกรรมภาวนาเพื่อเปลี่ยนจิตของเราให้เป็นเสมือนจิตของพระพุทธเจ้า นั่นคือ เน้นการเปลี่ยนโลก (transformation) ผู้ที่ปฏิบัติในทิเบตจริงๆ แล้วจะปฏิบัติแนวนี้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือนักบวชก็ตาม

หนทางในการศึกษาพระธรรมแบบสุดท้ายคือ “ซกเช็น” (Dzogchen) เป็นหนทางพิเศษที่สอนเฉพาะบุคคล ไม่เปิดให้คนทั่วไปได้ปฏิบัติ ในอดีตแทบจะไม่มีใครได้ฝึกฝนหรือศึกษาหนทางนี้เลย นอกจากผู้ที่ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของคุรุทางด้านซกเช็นแล้วคุรุมอบคำสอนนี้ให้ ทุกวันนี้ถ้าเราไปถามคนทิเบตเกี่ยวกับซกเช็น พวกเขาส่วนใหญ่จะตอบไม่ได้

แต่หลังจากที่ทิเบตเสียเอกราช พระอาจารย์หลายท่านได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกตะวันตก ท่านคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสอนพุทธวัชรยานในทุกแง่มุม เพราะนักวิชาการทั่วไปในโลกตะวันตกมีความต้องการที่จะเข้าใจ ถ้าไม่สอน พวกเขาก็ไปศึกษาเอง แต่การศึกษาเองมีโอกาสที่จะเข้าใจผิดได้ง่าย ดังนั้นพระอาจารย์ในปัจจุบันจึงเริ่มสอนซกเช็นกันและมีการเขียนหนังสือออกมาด้วย

หนทางซกเช็นนี้ เราพบเฉพาะในสองนิกายเท่านั้น คือนิกายเพิน พุทธเพิน หรือยุงตรุงเพิน (Yungdrung Bon) และนิกายญิงมาปะ (Nyingmapa) ซึ่งเป็นนิกายโบราณทั้งคู่ โดยเพินมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ประมาณ ๑๘,๐๐๐ ปีก่อน ตั้งแต่สมัยพุทธกาลของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ ส่วนญิงมาปะมีประวัติความเป็นมาเมื่อประมาณ ๑,๒๐๐ ปี เริ่มก่อตั้งโดยพระคุรุปัทมสัมภวะ ในศตวรรษที่ ๘ ที่มีการเผยแผ่พระธรรมจากอินเดียมาสู่ทิเบต

ยุงตรุงเพินเป็นนิกายที่ถูกทำร้ายมาตลอดด้วยอคติที่ฝังรากลึก ซึ่งกำเนิดมาด้วยเหตุผลทางการเมือง แต่ถ้าเราจะสรุปสั้นๆ คือเพินเป็นศาสนาที่มีมาตั้งแต่โบราณกาลและได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของชาวทิเบต ทุกวันนี้ประเพณีต่างๆ ของทิเบตได้นำมาจากพระพุทธศาสนานิกายนี้ทั้งสิ้น เช่น การมอบผ้าคาตัก การกราบอัษฎางคประดิษฐ์ การปั้นตอร์มา การกำจัดศพด้วยการบริจาคเป็นทานแก่แร้ง ซึ่งล้วนเป็นประเพณีดั้งเดิมที่ไม่เคยมีมาก่อนในอินเดีย แต่มีอยู่แล้วในทิเบตก่อนศตวรรษที่ ๗

ในนิกายยุงตรุงเพินและญิงมาปะ คำสอนซกเช็นเป็นคำสอนสูงสุดในบรรดาเก้าขั้นตอนของการศึกษาและปฏิบัติธรรม กิจกรรมภาวนาในครั้งนี้เน้นซกเช็น การศึกษาของเราจึงเป็นการข้ามขั้น ซึ่งที่จริงแล้วในอดีตเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่ที่เราฝึกได้เป็นเพราะเราอยู่ในโลกสมัยใหม่ สังคมสมัยใหม่มีความซับซ้อนและมีปัญหามาก ดังนั้นการฝึกซกเช็นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะทำ ขณะนี้สังคมกำลังแตกแยกโลกกำลังเสื่อมโทรม ถ้าเราไม่เปลี่ยนทัศนคติ เราจะไม่สามารถไปรอดได้

อย่างไรก็ตาม ถึงเรามาเริ่มฝึกซกเช็นกันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะขึ้นไปที่ขั้นที่เก้าเลย เราต้องเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ปรับเปลี่ยนจิตใจของเราก่อน เราอาจจะเป็นพุทธเถรวาทหรือเราอาจไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็นพุทธ แต่เราสามารถรับคำสอนนี้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ซึ่งจะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น ทำให้จิตใจของเราใหญ่ขึ้น และทำให้เรามีมุมมองที่ถูกต้องเกี่ยวกับธรรมชาติ รวมถึงจิตของเราเอง

จาก fb : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.678236615593469.1073742067.159287580821711&type=3

https://www.facebook.com/1000tara/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ธันวาคม 2558 16:07:35 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5068


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.267 Chrome 46.0.2490.267


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2558 16:10:07 »



ซกเช็น วิถีแห่งการตื่นรู้
โดย พระอาจารย์ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช

(2)

การฝึกจิตให้คิดบวก

ขอให้เรามองทุกอย่างจากมุมมองในด้านบวก เพราะการปฏิบัติธรรมก็คือการฝึกคิดในด้านบวก ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรมในวิถีใดก็ตาม การที่เรามาฝึกปฏิบัติซกเช็น จริงๆ แล้วคือเรามาภาวนาร่วมกันเพื่อฝึกให้จิตอยู่ในด้านบวกตลอดเวลา คำสอนซกเช็นเน้นการทำสมาธิ แต่เราไม่สามารถไปสู่วิธีการทำสมาธิได้ทันที เราต้องเข้าใจก่อนว่าสมาธิคืออะไร สมาธิไม่ใช่เพียงแค่การอยู่ในท่าทำสมาธิ แต่สมาธิคือการทำความเข้าใจและปรับทัศนคติ

เมื่อเราต้องการฝึกตนซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม เรามีความปรารถนาที่จะนั่งสมาธิ แต่เราต้องเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่เราต้องการจะค้นพบนั้น มีอยู่ในตัวบุคคลทั่วไปทุกคน แม้แต่ผู้ที่เป็นโจร คนบาป คนชั่ว เขาเหล่านั้นมีคุณงามความดีที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจทั้งสิ้น ในทางตรงข้าม คนที่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม แต่ถ้าส่วนลึกของจิตใจไม่เปลี่ยน ก็อาจถือว่ามีความไม่ดีอยู่ในจิตใจได้เหมือนกัน ความดีงามที่อยู่ในส่วนลึกของจิตนี้ คือสิ่งที่เรากำลังปรารถนาจะเข้าถึงผ่านการภาวนา

เราขวนขวายศึกษาพระธรรม เราต้องรู้ว่าพระธรรมไม่ได้มีไว้เพื่อให้กราบไหว้บูชา พระพุทธรูปไม่ได้มีไว้เพื่อให้กราบสักการะเพียงอย่างเดียว แต่พระธรรมมีไว้เพื่อให้เราเปลี่ยนแปลงจิตใจ เราจึงไม่เพียงแต่กราบไหว้หรือเอาแต่เชื่อ แต่เรายังต้องฝึกปฏิบัติอีกด้วย

หัวใจหลักของการปฏิบัติ คือการฝึกเบื้องต้น เราไม่สามารถจะเป็นผู้นั่งสมาธิที่ดี เป็นผู้ปฏิบัติกรรมฐานที่ยิ่งใหญ่ได้ภายในหนึ่งวัน แต่ต้องผ่านการฝึกฝนเป็นระยะเวลายาวนานและมีพื้นฐานแน่น พื้นฐานนี้เป็นสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ทรงบอกเราว่าเราต้องเป็นผู้ศึกษาและฝึกฝนด้วยตนเอง สิ่งที่พระองค์สอนเรานั้นเป็นเพียงแค่การปูทาง และสิ่งที่พระองค์สอนได้ถ่ายทอดออกมาเป็นคัมภีร์หลายร้อยเล่ม หน้าที่ของเราคือให้เอาแก่นสาระของสิ่งที่พระองค์สอนนี้มาปฏิบัติ

เมื่อเราทำเช่นนี้แล้ว สิ่งที่เราได้รับก็คือการที่เรากำลังฝึกให้การปฏิบัตินี้มีชีวิตขึ้นมา เรากำลังอยู่ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า และสิ่งที่เราได้รับเพิ่มเติม คือพรและพลังที่ก่อให้เกิดสันติสุขในจิตใจของเรา บางคนเกิดความเครียด รู้สึกว่าทำอะไรก็ล้มเหลว เจอแต่อุปสรรคและปัญหา จนกระทั่งต้องพึ่งยาคลายเครียดและยานอนหลับ ในขณะนั้น สภาวะจิตของเขาไม่อยู่ในความพอดี จิตไม่กระจ่างและออกห่างจากสภาวะเดิมแท้ สภาวะเดิมแท้ของจิตนั้นต้องเป็นการคิดบวกเสมอ

เมื่อใดก็ตามที่เราคิดลบแสดงว่าจิตของเรากำลังเสียศูนย์ เปรียบเสมือนว่าถ้าเราอยู่ในวงกลม แล้วเรามัวแต่คิดว่าคนที่นั่งข้างขวา ข้างซ้าย ข้างหน้า ข้างหลังของเราเป็นใคร จะทำให้จิตของเราเสียศูนย์ ถ้าเรามีสติเพียงแต่รู้ว่าเรากำลังอยู่ในวงกลม เราอยู่ตรงไหนของวงกลม บริเวณที่เราอยู่นี้ไม่ว่ามีแดดส่องหรืออยู่ในที่ร่ม เรารู้ตัวแต่เราไม่ถูกกระทบด้วยสภาพแวดล้อมเหล่านั้น นี่คือสภาวะของจิตที่สมบูรณ์และเป็นกลาง

หลายคนมักจะคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีอยู่จริง ทุกอย่างเป็นรูปธรรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น แม้ตัวเราซึ่งเรียกว่ามีเนื้อหนังมังสา มีอยู่จริง แต่โดยเนื้อแท้แล้ว เราไม่ได้มีอยู่ เมื่อถึงเวลาก็สูญสลายไปหมด การที่เราไม่เข้าใจประเด็นนี้ทำให้เราเข้าไม่ถึงแก่นของการปฏิบัติ เหมือนกับว่ามีน้ำที่หกใส่บนตัวเรา แล้วเรามัวคิดกังวลแต่ว่าเราไม่สบายตัว นั่นคือเรากำลังคิดลบ แต่ถ้าหากเราคิดกลับกันว่า ขณะนี้อากาศร้อน น้ำที่หกใส่เป็นการทำให้ส่วนหนึ่งของร่างกายเราเย็น นี่เป็นการคิดบวก เราไม่ถูกกระทบโดยเหตุการณ์ที่กำลังเปลี่ยนไป เราปล่อยตัวให้ง่ายๆ สบายๆ

ขอให้พวกเราตื่นจากข้างใน ไม่ถูกกระทบไปตามสถานการณ์ต่างๆ การฝึกจิตเช่นนี้เป็นหัวใจของการภาวนาและการนั่งสมาธิ ถ้าเราสังเกตดูจะเห็นว่า การนั่งสมาธิเป็นโอกาสให้ขยะในจิตใจได้แสดงตัวตนออกมา ความคิดของเราจะฟุ้งซ่านไปตลอด หนึ่งชั่วโมงผ่านไป แม้เราจะได้นั่งสมาธิ แต่จริงๆแล้วเรากำลังคิดในสมาธิ เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ว่าการทำสมาธิที่แท้คืออะไร

ติดตามต่อได้ที่  fb : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.678236615593469.1073742067.159287580821711&type=3

https://www.facebook.com/1000tara/
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5068


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.267 Chrome 46.0.2490.267


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2558 16:11:49 »



ซกเช็น วิถีแห่งการตื่นรู้
โดย พระอาจารย์ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช

(3)
การปรับเปลี่ยนความคิดและแรงจูงใจ

ในพุทธทิเบตมีการตั้งจิตที่จะดำรงอยู่เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ภาษาทิเบตเรียกว่า “เซ็มเจด” แปลว่าการฝึกจิตที่จะทำประโยชน์ให้ผู้อื่น ซึ่งเป็นหนึ่งในเก้าอย่างของการปฏิบัติเบื้องต้นเก้าประการ (เงินโดร) เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนจิตใจ จากจิตใจของปุถุชนทั่วไปให้เป็นจิตใจที่ประเสริฐ

แต่บางคนแทนที่จะเปลี่ยนจิตใจ พัฒนาจิตใจให้ดีขึ้น กลับไปหมกมุ่นอยู่กับอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ หมกมุ่นอยู่ในกิเลส เช่น เรื่องความโกรธ เมื่อเราโกรธใคร แล้วเราไม่แสดงออกมา แต่กลับเก็บไว้ข้างใน การเก็บไว้ข้างในไม่ใช่สิ่งดี เหมือนกับว่าใจเราเป็นกล่อง พอเราเติมความโกรธเข้าไปข้างใน ความโกรธนั้นก็อยู่ในกล่อง ยังคงสภาพอยู่ เมื่อถึงวันหนึ่งก็จะระเบิดออกมา

การปฏิบัติธรรมคือการที่เรารู้จักวิธีจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ เช่นนี้ ไม่ว่าจะจัดการกับความโกรธด้วยการทำให้ความโกรธหมดสิ้นไป การทำให้ความโกรธเปลี่ยนเป็นสิ่งอื่นที่งดงาม หรือจะให้ความโกรธสลายด้วยตัวของมันเอง ซึ่งวิธีหลังนี้เป็นวิธีของซกเช็น

หากเรารู้จักจัดการกับอารมณ์ความรู้สึก สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งไม่ดี เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญด้านการทำสมุนไพร สมุนไพรบางตัวถ้าใช้ไม่เป็นคือยาพิษ แต่ถ้าใช้เป็น มันจะไปช่วยให้สมุนไพรตัวอื่นทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เรารักษาอาการเจ็บไข้ได้ เพราะฉะนั้นการจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกได้ ก็เหมือนกับเราใช้สมุนไพรให้เป็นยา

ขอให้พวกเรามีสติ เราทุกคนเหมือนกันหมด ล้วนต้องการความสุข อยากได้สันติสุข อยากมีมิตรภาพที่อบอุ่น และเราไม่อยากโกรธเคืองใคร แต่บางครั้งเราก็ทำไม่ได้ สิ่งที่คอยกระตุ้นไม่ให้เรามีความสุข กระตุ้นให้เราโกรธอยู่ตลอดเวลา แท้จริงแล้วไม่ใช่การงานของเรา ไม่ใช่ภรรยา ไม่ใช่ครอบครัว ไม่ใช่การที่เรามีรถยนต์หรือไม่มี แต่เป็นจิตของเรานั่นเอง ที่เป็นตัวการทำให้เรามีมุมมองที่ก่อความทุกข์ให้แก่ตัวเราเอง

ติดตามต่อได้ที่  fb : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.678236615593469.1073742067.159287580821711&type=3

https://www.facebook.com/1000tara/
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5068


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.267 Chrome 46.0.2490.267


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2558 16:13:19 »



ซกเช็น วิถีแห่งการตื่นรู้
โดย พระอาจารย์ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช

(4)
สภาวะจิตเดิมแท้

สภาวะที่จิตใจได้สมดุล ภาษาอังกฤษเรียกว่า natural state คือสภาวะที่เป็นธรรมชาติของจิต เป็นสภาวะที่ไม่โกรธ ไม่อิจฉา ไม่เย่อหยิ่ง ไม่ตกเป็นทาสของยาพิษในจิตใจ เราแต่ละคนมีศักยภาพที่จะเข้าถึงสภาวะแห่งจิตที่บริสุทธิ์ กระจ่างใส ไม่มีกิเลสเจือปน ทำไมเราถึงมีศักยภาพ เพราะนี่คือสภาวะจิตเดิมแท้ของเรา คือสภาวะที่เป็นธรรมชาติ

เปรียบเสมือนกับท้องฟ้าที่มีพระอาทิตย์ บางครั้งอาจจะมีเมฆหรือหมอกมาบดบังพระอาทิตย์ แต่แสงอาทิตย์นั้นยังคงอยู่ แสงอาทิตย์นั้นเปรียบเสมือนปัญญา เป็นแสงแห่งการหลุดพ้น ส่วนเมฆหมอกหรือเงานั้นเปรียบเสมือนอวิชชา เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถเอาเมฆหมอกแห่งอวิชชาออกไปจากจิตใจได้ เราก็เข้าถึงการหลุดพ้น เมฆหมอกเป็นสิ่งชั่วคราวเท่านั้น เพราะที่จริงแล้วพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ตลอดเวลา

เมื่อเราคิดเช่นนี้ เราก็จะไม่ตกเป็นทาสของความมืดบอดของความคิด บางคนคิดไม่ดีต่อผู้อื่น หรือแม้แต่คิดว่าคนอื่นพูดต่อว่าเรา เขาเพียงแค่พูดขึ้นมาลอยๆ แต่เรากลับคิดว่าเขาพูดกระทบเรา และเรานำไปคิดปรุงแต่งอีกมากมาย เมื่อนั้นตัวเราได้กลายเป็นสีดำเพราะจิตของเราเป็นสีดำ ความคิดของเราเป็นสีดำ ถ้ามีคนมาบอกว่าเราโง่ ให้เราดูว่าเราโง่จริงหรือเปล่า ให้เรามองดูตัวเอง เตือนตัวเอง นี่คือสิ่งที่เรียกว่าการคิดทางบวก

การนั่งสมาธิจึงเป็นการฝึกจิต สมาธิไม่ได้แปลว่าการนั่งอยู่ในท่าสมาธิ แต่แปลว่าเราเข้าใจตัวเรา เพราะผู้ที่นั่งสมาธิอยู่นั้นคือตัวเราเอง คือจิตของเราเอง ไม่ใช่ของผู้อื่น จะเห็นว่าสมาธิไม่ได้อยู่ข้างนอกแต่อยู่ข้างใน

ในคัมภีร์ซกเช็นจะมีคำพูดที่ว่า สังสารวัฏหรือนิพพานล้วนแต่ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของเราทั้งสิ้น ถ้าเราเข้าใจสภาวะจิตของเราเองนั่นคือนิพพาน ซึ่งเป็นสภาวะที่เป็นอิสระที่สุด อิสระจากอวิชชา จากความไม่รู้ทั้งหลาย แต่ถ้าไม่เข้าใจสภาวะจิตของตัวเอง ที่ที่เราอยู่นี้ก็คือสังสารวัฏ

picture http://www.awakening360.com/content/images/activities/3576.png

ติดตามต่อได้ที่  fb : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.678236615593469.1073742067.159287580821711&type=3

https://www.facebook.com/1000tara/

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5068


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.267 Chrome 46.0.2490.267


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2558 16:15:00 »



ซกเช็น วิถีแห่งการตื่นรู้
โดย พระอาจารย์ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช

(5)
สภาวะจิตเดิมแท้

ต้องเข้าใจว่าสิ่งสำคัญคือมุมมอง ว่าเราจะมองปรากฏการณ์และสถานการณ์ต่างๆ เป็นการตระหนักรู้ เป็นปัญญา หรือเป็นอวิชชา ส่วนประเด็นที่ว่านิพพานทำให้เราเป็นอิสระ เพราะนิพพานทำให้เราไม่มีตัวตนอยู่ เราจะได้ความสุขที่สมบูรณ์ และความสุขนี้ไม่มีใครเอาไปจากเราได้ เพราะมันอยู่ในตัวเรา

จริงๆ แล้วสภาวะที่เป็นนิพพานมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราไม่ได้ตระหนักรู้ เราใช้คำว่าตระหนักรู้ เราจะไม่ใช้คำว่าค้นหา เพราะสภาวะนี้ไม่เคยหายไป เพียงแต่บางครั้งถูกสิ่งที่เรียกว่าอวิชชาปิดบัง

ซกเช็นมีวิธีการที่ทำให้เราเข้าไปสู่สภาวะจิตนี้ได้ ต่างจากสายของพระสูตรซึ่งเน้นการคิดเป็นเหตุเป็นผล เช่น เมื่อเห็นควันก็จะตีความว่าจะต้องมีไฟ เป็นวิธีการคิดแบบตรรกะ แต่ซกเช็นเน้นให้เข้าใจ ให้เข้าถึงสภาวะดั้งเดิม โดยไม่ต้องคิดเป็นหลักปรัชญา แต่ต้องอาศัยการเข้าใจด้วยประสบการณ์ของตัวเองและด้วยการภาวนา ศัพท์ที่ใช้กันเสมอคือ “ปล่อยให้เป็นไปตามสภาวะแบบนั้น” ซึ่งจริงๆ แล้วสภาวะที่เป็นแบบนั้นเป็นสภาวะที่สมบูรณ์ ที่มีอยู่เอง สามารถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว

เรามักกลัวการอยู่คนเดียว เรามักพูดว่าเหงา แต่ถ้าเรามองและวิเคราะห์ให้ลึกซึ้ง เราจะเห็นว่าภายใต้ปรากฏการณ์และกายเนื้อของเรานี้ มีเพียงความคิดกับจิต แต่สภาวะที่ลึกที่สุด เดิมแท้ที่สุด มีเพียงจิตซึ่งมีลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด เป็นจิตที่กระจ่างที่สุด เป็นจิตที่ไม่เหงา เป็นจิตที่ไม่มีอารมณ์ต่างๆ มาทำให้ด่างพร้อยแม้แต่วินาทีเดียว เพราะฉะนั้นแทนที่จะกลัวความเหงา เราควรจะรู้สึกปีติยินดีที่จะได้อยู่กับตัวตนของเรา ได้รู้จักจิตเดิมแท้ของเรา

สภาวะจิตเดิมแท้นี้เราเรียกว่าเป็นพุทธภาวะ ซึ่งมีอยู่แล้วในตัวเรา ถ้าไม่มีอยู่ เราจะปฏิบัติธรรมไปทำไม เราจะมีแต่ความสิ้นหวัง แต่เรามีสภาวะเช่นนี้ ซึ่งเราสามารถที่จะค้นพบได้ ตระหนักรู้ได้ เหมือนเราสามารถทำเนยจากนมได้ คือถ้าเรากวนนมไปเรื่อยๆ เราก็จะได้เนย แต่ถ้าเราเอาน้ำมากวน เราจะไม่มีวันได้เนย

ตัวเราก็เหมือนนมที่ทำให้เกิดเนยได้ นั่นคือ เรามีศักยภาพที่จะเข้าถึงพระโพธิญาณ เพียงแต่ตอนนี้เรายังไม่ได้บรรลุธรรม พระพุทธเจ้าฝึกฝนมาจนเข้าถึงการตื่นรู้โดยสมบูรณ์ เห็นแจ้งในสภาวะที่แท้แห่งจิต ตัวเราก็มีศักยภาพที่จะเป็นเช่นพระองค์ ถ้าไม่มีศักยภาพ ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะฝึกปฏิบัติกัน

(ตื่น wake up from samsara, ตื่นรู้ wake up and get enlightened, ตระหนักรู้ realize the truth of reality เมื่อตื่น แล้วจึงตระหนักรู้ ซึ่งนำไปสู่การตื่นรู้โดยสมบูรณ์)

จากมุมมองของซกเช็น ศูนยตาคือความเต็ม ความสมบูรณ์และบริบูรณ์ ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่และเต็มเปี่ยมกว่านี้อีกแล้ว เหมือนชื่อของคำว่า “ซกเช็น” “ซก” แปลว่า สมบูรณ์ เปี่ยม เต็ม ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในนี้ทั้งหมด “เช็น” แปลว่า ใหญ่ ไม่มีอะไรที่ใหญ่กว่านี้ จึงเป็นความบริบูรณ์ และเมื่อเราค้นพบสภาวะที่แท้ เราก็เป็น “ซกเช็นปะ” คือเป็นผู้ปฏิบัติบนวิถีซกเช็นจนกระทั่งเราเข้าถึงความสมบูรณ์และบริบูรณ์แห่งจิต

picture: http://img.news.sina.com/life/p/2011/0711/U47P5029T2D380606F26DT20110711173646.jpg

ติดตามต่อได้ที่  fb : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.678236615593469.1073742067.159287580821711&type=3

https://www.facebook.com/1000tara/
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ปรากฏการณ์ กายรุ้ง ร่างประภัสสร ของพระลามะผู้บรรลุธรรม “ซกเช็น”
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1374 กระทู้ล่าสุด 06 ธันวาคม 2560 16:07:43
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.442 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 เมษายน 2567 16:09:02