[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 23:04:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จิตคือธาตุรู้ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้  (อ่าน 3532 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 เมษายน 2553 16:17:52 »




จิตคือธาตุรู้ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้


จิตเดิมประภัสสรผ่องใส

จิตเมื่อยังไม่ได้ผสมหรือกระทบกับอารมณ์ ย่อมมีสภาพประภัสสรผ่องใส
แต่เมื่อมีอารมณ์มาผสมหรือกระทบเข้า
ก็กลายเป็นจิตผสมกับอารมณ์ไป   ทำให้ถูกปรุงแต่งและเกิดความยินดียินร้ายขึ้น

จนเสียสภาพประภัสสรผ่องใสที่มีอยู่เดิมไปหมดสิ้น

มีพระบาลีรับรอง ดังนี้

ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ, ตญฺจโข อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ
แปลว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้มีสภาพประภัสสรผ่องใส
แต่ที่เศร้าหมองไปนั้น เพราะมีอุปกิเลสเป็นแขกจรเข้ามาในภายหลัง

ทั้งนี้หมายความว่า
เมื่อยังไม่มีอารมณ์เป็นแขกจรเข้ามานั้น

จิตมีสภาพประภัสสร ผ่องใส สงบ ไม่วุ่นวายเลย

แต่ถ้ามีแขกจรเข้ามาแล้ว
ก็ปรุงแต่งครอบงำให้จิตหวั่นไหว เศร้าหมองเสียคุณภาพที่มีอยู่เดิมไป.

อาการปรุงแต่งหวั่นไหวนี้ แสดงออกมาในรูปของความยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง
สลับกันไปมา ตลอดเวลาที่มีอารมณ์จรเข้ามากระทบ

( คือ อาการของจิตเกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต)

แล้วก็กลับคืนสู่สภาพประภัสสรผ่องใสอีกชั่วระยะเวลาสั้นๆ
ก่อนที่จะมีอารมณ์ชนิดอื่นจรเข้ามาปรุงแต่งในลำดับต่อไปอีกเสมอ.

สภาพที่จิตแสดงออกหลังจากกระทบอารมณ์แล้วนี้ เมื่อดำเนินไปบ่อยๆครั้ง และเป็นระยะเวลานาน
สั่งสมกันมากๆเข้า ก็ย่อมกลายเป็น นิสัย-อุปนิสัย

จนเกิดความเคยชินทำให้เกิดเป็น อนุสัย นอนเนื่องติดอยู่ที่จิต ตามชนิดของอารมณ์ที่เข้ามากระทบ
ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นต่ออารมณ์นั้นๆมากขึ้นโดยลำดับ

เพราะเข้าใจผิดว่า อารมณ์เป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวร จึงปรารถนาจะครอบครองไว้ถ้าถูกใจ
หรือผลักไสออกไปเสียให้พ้นถ้าไม่ถูกใจ
ทั้งนี้เนื่องจากความโง่เขลา เพราะไม่รู้จักสภาพประภัสสรผ่องใสของตน ที่มีอยู่เดิม.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 เมษายน 2553 16:21:03 »


จิตกลับกลอก ไม่ใช่หมายความว่าจิตเกิดดับ

มีพระบาลีใน จิตฺตวคฺค แห่งพระธรรมบท แสดงไว้ดังนี้
ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ อุชุง กโรติ เมธาวี อุสุกาโร ว เตชนํ

แปลว่า

ผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรนกลับกลอก รักษายาก ห้ามยาก
ให้ตรงได้ เหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงได้ ฉะนั้น

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนให้ใช้ ฌาน (ความเพ่ง)
แก้ความกลับกลอกของจิต ตามมรรค ๘

ทั้งนี้แสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่ดิ้นรน กลับกลอก ว่องไว
ปราดเปรียว ในขณะที่กำลังท่องเที่ยวอยู่ในโลกนี้
แต่สามารถฝึกฝนอบรมให้สงบได้โดยใช้สติเพ่งอยู่อย่างต่อเนื่อง.
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 เมษายน 2553 16:27:51 »


จิตกับอารมณ์

จิต คือ ธาตุรู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ตลอดทุกกาลสมัย
ส่วนอารมณ์ ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกัน
หรืออาศัยธาตุทั้ง ๔ เป็นแดนเกิด เช่น รูป เสียงกลิ่น รส กายสัมผัส เป็นต้น.


อารมณ์เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย
แต่จิตรับรู้ เมื่อกระทบกับตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

เกิดจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ และมโนวิญญาณขึ้น

เมื่อจิตกับอารมณ์กระทบกัน ก็ย่อมส่งผลให้จิตเกิดความฟุ้งซ่าน หวั่นไหว
เกิดความนึกคิด ความยินดี-ยินร้าย และทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นตามมาด้วย.

ถ้าอุปมา จิตเหมือนน้ำในมหาสมุทรแล้ว
อารมณ์ก็ย่อมต้องอุปมาเหมือนลมพายุ ที่พัดมากระทบผิวน้ำในมหาสมุทร

ซึ่งทำให้เกิดเป็นลูกคลื่นน้อยใหญ่กลิ้งตัวตามกำลังลมพายุที่พัดนั้นด้วย
ลูกคลื่นลูกหนึ่งเกิดขึ้น แล้วก็ทยอยตัวดับตามๆกันไป ทั่วท้องมหาสมุทรตลอดเวลาที่ลมพายุพัดอยู่

ถ้าลมพายุหยุดพัดเสียเมื่อไหร่ ลูกคลื่นทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น
ก็ย่อมลดขนาดเล็กลงๆ ตามลำดับเมื่อนั้นด้วย
จนกระทั่งเหลือแต่ผิวน้ำที่เป็นเส้นระดับราบเรียบในที่สุด.

ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า
สภาพเดิมที่แท้จริงของน้ำในท้องมหาสมุทรนั้น สงบ ราบเรียบ ไม่ปั่นป่วนวุ่นวาย

แต่ที่เกิดมีคลื่นน้อยใหญ่วุ่นวายนั้น เป็นสภาพที่เกิดขึ้นภายหลัง
เพราะมีลมพายุพัดมากระทบผิวน้ำ
ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับจิต ที่มีสภาพเดิมอันสงบราบเรียบ

แต่ที่ได้วุ่นวาย กระสับกระส่ายไปมาในภายหลัง เพราะมีอารมณ์เข้ามากระทบ ฉะนั้น.

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เราสามารถสรุปกล่าวให้เป็นสัจธรรมได้ว่า
มีน้ำ โดย ไม่มีลูกคลื่น เลย --- > ย่อมได้

แต่จะมีลูกคลื่น โดย ไม่มีน้ำ นั้น --- > <ย่อมไม่ได้
หรือ มีจิต โดย ไม่มีอาการหวั่นไหวจากอารมณ์เลย --- >ก็ย่อมได้

แต่จะมีอาการหวั่นไหวจากอารมณ์ โดยไม่มีจิตนั้น --- > ย่อมไม่ได้ เป็นธรรมดา.

ดังนั้น น้ำ กับ ลูกคลื่น จึงแยกออกจากกันได้  และ จิต กับ อารมณ์ จึงแยกออกจากกันได้
จิตไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอารมณ์ใดๆทั้งสิ้นโดยปรมัตถ์ เช่น วิมุตติจิต ( จิตหลุดพ้น ).
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 เมษายน 2553 16:42:52 »


วิเคราะห์คำว่า เกิด-ดับ หรือ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราย่อมเห็นได้ว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นและดับไปจากผิวน้ำนั้น ก็คือ ลูกคลื่น
และ สิ่งที่วุ่นวายกระสับกระส่าย เพราะมีอารมณ์มากระทบนั้น คือ อาการของจิต

แต่ น้ำ และ จิต ซึ่งเป็นของเดิมนั้น
ยังคงยืนตัวรองรับความเป็นไปของอาการเคลื่อนไหวทั้งหลายอยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม ไม่เคยดับตายสูญหายไปไหน

ดังนั้นคำว่า เกิด-ดับ หรือ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป
จึงไม่สามารถใช้ควบคู่กับน้ำในมหาสมุทร หรือ จิตซึ่งมีอยู่เดิมได้เลย

แต่สามารถใช้กับลูกคลื่น
และความวุ่นวายกระสับกระส่ายของจิตได้โดยเฉพาะเท่านั้น.

กล่าวให้ชัดก็คือ

อาการของจิต(ซึ่งเป็นนามขันธ์)เกิดขึ้นที่จิต แล้วก็ดับไปจากจิตตามลำดับ
แต่จิตยังคงยืนตัวรู้อยู่ตลอดทุกกาลสมัย
ไม่ได้พลอยเกิดดับตามอารมณ์ทั้งหลายไปด้วย.


หมายความว่า

อารมณ์อันใดเกิดขึ้นก็รู้ อารมณ์อันใดตั้งอยู่ก็รู้ อารมณ์อันใดดับไปก็รู้
เพราะผู้ปฏิบัติได้นำความรู้ไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างมั่นคง วางเฉย
ไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์ทั้งหลายเสียอย่างสิ้นเชิงแล้ว.

เพราะฉะนั้น การเกิด-ดับ จึงเป็น อาการของจิต ที่เข้ามาปรุงแต่งจิต แล้วก็ดับไป
ซึ่งท่านเรียกว่า พระไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

ถ้าจิตรู้เท่าทันอาการของจิตที่เกิดขึ้น โดยการปล่อยวางเสีย
อำนาจพระไตรลักษณ์ย่อมเข้าครอบงำจิตไม่ได้ จึงไม่เป็นทุกข์.

แต่ถ้าจิตไม่รู้เท่าทันอาการของจิต คือพลอยหวั่นไหวยินดี-ยินร้ายตามไปด้วย
ก็ย่อมถูกอำนาจพระไตรลักษณ์ครอบงำเป็นธรรมดา จึงต้องเป็นทุกข์.

และจิตชนิดหลังนี้ ก็จัดเป็นโลกียจิต หรือยังเป็น วิญญาณขันธ์
ซึ่งเป็น จิตของปุถุชน ( ผู้หนาไปด้วยกิเลส ) อยู่นั่นเอง.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 เมษายน 2553 16:46:09 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 เมษายน 2553 16:52:34 »


คำนิยามเรื่องเกิด-ดับ

สิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในขณะปัจจุบันแล้วปรากฏขึ้นมา เรียกว่า เกิด
สิ่งใดมีอยู่ในปัจจุบัน แล้วหายไป เรียกว่า ดับ

การเกิดทางเนื้อหนังร่างกาย เรียกว่า ชาติ
การเกิดทางจิต เช่น ตรัสรู้ เรียกว่า อุบัติ

การแตกดับทางเนื้อหนังร่างกาย แต่จิตจุติ(เคลื่อน)ไปสู่ภพใหม่ เรียกว่า ตาย(มรณะ)
การหยุดคิดทางจิต เรียกว่า นิรุชฌ์   การดับกิเลสทางจิต เรียกว่า นิโรธ





คัดลอกจากหนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ
โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์


 ยิ้ม  : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=nulek&date=26-07-2008&group=3&gblog=4
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ธรรมประทีป ๙ :จิตคือธาตุรู้ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์
เอกสารธรรม
เงาฝัน 4 3248 กระทู้ล่าสุด 14 พฤศจิกายน 2554 10:34:53
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 5.634 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 31 มีนาคม 2567 17:48:17