[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 17:29:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อาการโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก  (อ่าน 972 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2325


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 มกราคม 2559 10:00:52 »

.



อาการโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

          อาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกเกิดจากเส้นประสาทเส้นที่ 7 ที่ควบคุมการทำงานกล้ามเนื้อแสดงสีหน้ามีการทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมักแสดงอาการค่อนข้างเร็ว บางรายเป็นแบบเฉียบพลัน เช่น ตื่นเช้ามาพบว่าใบหน้าครึ่งซีกอ่อนแรงรู้สึกตึงหนักใบหน้าซีกนั้น ตาปิดได้ไม่สนิท ยักคิ้วไม่ขึ้น บางรายปวดบริเวณหลังหู รู้สึกมีเสียงก้องๆ และอาจพบความผิดปกติของการรับรสของลิ้นส่วนหน้าซีกที่เป็น ส่วนใหญ่มักมีอาการมากขึ้นในช่วง 1-2 ชั่วโมงแรกจนถึง 1-3 วันแรก แต่บางรายอาจมีอาการมากขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 14 วัน

          พ.ญ.สิรารัตน์ โมรรัต อายุรแพทย์ระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท ร.พ. พญาไท 2 อธิบายว่า อาการนี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่พบในหญิงอายุน้อยมากกว่าชาย แต่หากอายุมากกว่า 40 ปีจะพบในชายมากกว่า ในหญิงตั้งครรภ์พบมากกว่ากลุ่มอื่น 3 เท่า และพบได้ 4-5 เท่าในผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน เชื่อว่าเป็นการอักเสบของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อไวรัส แต่บางรายเกิดจากการติดเชื้อเริมที่แฝงอยู่ในปมประสาท ซึ่งกรณีนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดและอาจมีตุ่มใสบริเวณรูหูส่วนนอกนำหน้ามาก่อน นอกจากนี้อาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกยังอาจเกิดก้อนในสมองหรือในโพรงกะโหลกศีรษะโต กดเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 นี้

          โดยแพทย์สามารถแยกผู้ป่วยที่มีอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกนี้ออกจากโรคเส้นเลือดสมองตีบ ซึ่ง มีอาการหน้าเบี้ยวได้เช่นกัน แต่จะมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วยและผู้ป่วยยังยักคิ้วข้างที่เบี้ยวได้

          แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม ได้แก่ การตรวจกราฟไฟฟ้าของเส้นประสาท การตรวจน้ำไขสันหลัง การตรวจเอกซเรย์สมอง

          "การรักษาโดยใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์สามารถลดการอักเสบของเส้นประสาทได้ รับประทานประมาณ 2 สัปดาห์ รับประทานยาต่อเนื่อง ยาป้ายตา ยาหยอดตา และใช้ผ้าปิดตาสนิทขณะนอนหลับ เพื่อป้องกันการเกิดเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากอาการกะพริบตาที่ลดลง ยาฆ่าเชื้อไวรัส และการทำกายภาพ กระตุ้นด้วยไฟฟ้า"

          โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมักจะหายดีในเวลา 4-6 สัปดาห์ ร้อยละ 10 จะมีอาการเบี้ยวที่ใบหน้าทั้งสองข้าง ร้อยละ 7 จะเกิดเป็นซ้ำได้

          สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ต้องคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากยาสเตียรอยด์จะทำให้ระดับน้ำตาลขึ้นสูงจนเป็นอันตรายได้ ผู้ป่วยควรบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าโดยยักคิ้ว ปิดตาแน่น ยิงฟัน เป่าแก้มป่อง

          หากมีอาการอื่นเพิ่มเติมทางระบบประสาท เช่น หน้าชา การได้ยินลดลง อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก หรือมีอาการชาปลายมือและเท้า 2 ข้าง พูดไม่ชัด เห็นภาพซ้อน เดินเซ ซึมลง สับสน หรือเป็นมากขึ้น ควรพบแพทย์เร็วขึ้น


รายงานพิเศษ: 'หน้าเบี้ยวครึ่งซีก'ผลเส้นประสาทอักเสบ -healthinfo.in.th

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.215 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 28 กุมภาพันธ์ 2567 02:54:46