[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 15:31:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน  (อ่าน 1742 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5443


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2559 16:25:44 »

.





วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน  เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๙ เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

ตามศิลาจารึกหลักที่ ๗๔ ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ.๒๐๙๑

ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย โดยรอบฐานเจดีย์ก่ออิฐถือปูน มีรูปช้างปั้นด้วยปูนเพียงครึ่งตัว ด้านละ ๕ เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก ๔ เชือก รวมทั้งหมด ๒๔ เชือก

ช้างแต่ละเชือกมีส่วนหัวลอยออกมาครึ่งตัวและขาหน้าทั้งคู่ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ “ค้ำ” องค์เจดีย์ไว้  ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวซ้อนกัน ๓ ชั้น แบบลังกา (ทรงระฆัง) ส่วนยอดเป็นฐานเขียงรองรับมาลัยลูกแก้ว

ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ.๑๙๕๐-๑๙๖๐ ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลาน เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๑๔ แห่งราชวงศ์ภูคา (ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย) ได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำ( ส่วนผสมของทองคำ ๖๕%) ปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสำริดปางประทานอภัย สูง ๑๔๕ เซนติเมตร อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙





พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรงสร้างตามสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือ ด้านหน้ามีสิงห์คู่ยืนตรงเชิงบันไดด้านละตัว มีทางเข้า ๓ ทาง ประตูกลางทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็กอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก ๒ ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน ๒ ชั้น มุขลดด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกันแล้วประดับที่ขอบเสาด้านหน้าทุกต้นตามลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด ๒ คนโอบรอบ จำหลักลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร ๑.๕๐ เมตร เป็นลวดลายกนกระย้าย้อย เหมือนลวดลายที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์

พระเจ้าติโลกราช กษัตริษ์นครเชียงใหม่ มีพระประสงค์จะครอบครองเมืองน่าน และแหล่งเกลือบ่อมาง (ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวไม่อาจต้านทานได้ จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา ตลอดระยะเวลาเกือบ ๑๐๐ ปี ที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อยๆ ซึมชับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ ฯลฯ  แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนรูปแบบเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น



พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

ชื่อจารึก   จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ   -
อักษรที่มีในจารึก   ธรรมล้านนา
ศักราช   พุทธศักราช ๒๑๓๒
ภาษา   ไทย
ด้าน/บรรทัด   จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด
วัตถุจารึก   สัมฤทธิ์
ลักษณะวัตถุ   ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
ขนาดวัตถุ   ฐานกว้าง ๖๔ ซม. สูง ๒๙ ซม. (พระพุทธรูปสูง ๑๓๐ ซม.)
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ   ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นน. ๑๙”   ๒) ในหนังสือ เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร” 
ปีที่พบจารึก   พุทธศักราช ๒๕๒๓
สถานที่พบ   วัดช้างค้ำวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ผู้พบ   กรมศิลปากร
ปัจจุบันอยู่ที่   วัดช้างค้ำวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
พิมพ์เผยแพร่   เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๐), ๒๖๐-๒๖๑.
ประวัติ   นายสุรศักดิ์ ศรีสำอาง ภัณฑารักษ์งานวิชาการ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ร่วมกันสำรวจโบราณวัตถุในจังหวัดน่าน ๒ ครั้ง ครั้งแรกระหว่างวันที่ ๒๕ ตุลาคม ถึง ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๒-๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้พบจารึกฐานพระพุทธรูปจำนวน ๔๓ องค์ จารึกบนหีบพระธรรม ๓ ใบ และจารึกบนบานประตูวิหาร ๒ บาน จารึกดังกล่าวมีทั้งที่จารด้วยอักษรไทย สมัยสุโขทัย อักษรฝักขาม และอักษรธรรมล้านนา สำหรับจารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารนี้ ถูกพบตั้งแต่การสำรวจครั้งแรก ในวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยมีการตีพิมพ์คำอ่านในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
เนื้อหาโดยสังเขป   กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปโดยเอาตนแลกกับปัจจัยเป็นเงินจำนวนหนึ่งมาสร้าง ในจุลศักราช ๙๕๑ (พ.ศ. ๒๑๓๒) รวมถึงการสร้างคัมภีร์ และอุโบสถ ตอนท้ายระบุนามผู้อุปฐาก คือ นางคำใส
ผู้สร้าง   นางคำใส?
การกำหนดอายุ   กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช ๙๕๑ ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๓๒ ในรัชกาลมังนรธาช่อ (พ.ศ. ๒๑๒๒-๒๑๔๐) แห่งราชวงศ์ตองอูครองเมืองเชียงใหม่ในช่วงเวลาที่พม่าปกครองล้านนา โดยมีพระยาหน่อคำเสถียรชัยสงครามเป็นเจ้าเมืองน่าน (พ.ศ. ๒๑๐๓-๒๑๓๔)  





พระเจ้าหลวงศรีนครน่าน
พระประธานในพระวิหารหลวง วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร




จิตรกรรมฝาผนังพระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร




เจดีย์สีทองงดงาม วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
(ถ่ายจาก บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ซึ่งอยู่ตรงกับกับวัด)


ด้านหน้าพระวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำฯ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กุมภาพันธ์ 2559 16:30:05 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.408 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 15:55:58