[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 09:58:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แก้วอังวะ รัตนมณีแห่งพุกาม  (อ่าน 1971 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2559 19:48:06 »

.



แก้วอังวะรัตนมณีแห่งพุกาม

จะสังเกตได้ว่าตามวัดวาอารามเก่าแก่ต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือที่เป็นดินแดนล้านนาของไทย มักพบกระจกสีต่างๆ มาประดับประดาตามงานสถาปัตยกรรมและงานประติมากรรมต่างๆ ให้แลดูงดงามอลังการ อาทิ ในส่วนของช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน คันทวย หัวเสา ตัวเสา หรือเกล็ดพญานาค บางทีก็เป็นการประดับพระพุทธรูปทรงเครื่อง เช่น ส่วนกรรเจียกจอน มงกุฎ ด้ามพระขรรค์ ธำมรงค์ เป็นต้น

บางครั้งก็พบประดับประดาร่วมกับงานลงรักปิดทองบนชิ้นงานอื่นๆ เช่น แท่นบัลลังก์ ฐานชุกชี ธรรมาสน์ สังเค็ด แพนหางนกยูง สัตภัณฑ์ วัสดุที่นำมาใช้นั้นเรียกกันว่า "แก้วอังวะ" ซึ่งเป็นชื่อเรียก "กระจก" ในงานกระจกหรืองานประดับกระจกแบบโบราณชนิดหนึ่งที่รับมาจากพุกามหรือพม่า ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลในล้านนากว่า 200 ปี

ซึ่งคนสมัยก่อนมักเรียกกระจกว่า "แก้ว" เป็นงาน และงานที่จะพบ "แก้วอังวะ" ได้นั้น ต้องเป็นงานโบราณมากๆ

การทำกระจกของคนโบราณจะเรียกว่า "การหุงกระจก" หมายถึง การนำวัตถุธาตุ เช่น ดีบุก แป้ง ดินประสิว ดินแดง หรือทอง ทองเหลือง มาผ่านกระบวนการให้ความร้อน ซึ่งจะได้ของเหลวใส ก่อนจะ "ดาด" หรือ "เท" ลงบนแผ่นตะกั่ว ซึ่งก็คือวิธีการทำกระจกที่เรารู้กันว่าเป็นการนำโลหะบางชนิดมาผสมกับทราย ถ้าเป็นทรายเนื้อละเอียด เราจะเรียกว่า "ทรายแก้ว" ก็จะได้กระจกคุณภาพดี


 



แต่กระจกที่นำมาใช้ในงานประดับกระจก ไม่ใช่กระจกแบบกระจกส่องหน้านะครับ หากแต่ขึ้นอยู่กับวัสดุหรือโลหะที่นำมาผสมแล้วหุงตามสูตรต่างๆ กันไป ซึ่งเราอาจจะแบ่งกระจกที่ใช้ในงานประดับกระจกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ

ชนิดแรกเรียกว่า "กระจกจีน" หรือ "กระจกเกรียบ" จะเป็นการดาดแก้วที่มีความบางลงบนแผ่นตะกั่วหรือดีบุก มีสีต่างๆ เช่น สีใส สีเขียว สีฟ้า สีขาว สีแดง ส่วนใหญ่แล้วจะต้องสั่งจากจีนเพราะถือว่าเป็นกระจกที่มีคุณภาพ สามารถงอพับและตัดเป็นรูปได้ด้วยกรรไกร เนื่องจากมีความบางคล้ายข้าวเกรียบ อีกชนิดหนึ่งเรียก "กระจกแก้ว" เป็นกระจกที่มีความหนา มีสีสันสดใส หลายหลากสี วิธีทำก็คือหุงด้วยทรายแก้วซึ่งเป็นทรายเนื้อละเอียด โดยผสมน้ำยาสีต่างๆ ตามแต่จะต้องการลงไป ด้านหลังอาบด้วยปรอทเคลือบน้ำยาเคมี ไม่สามารถโค้งงอได้ เป็นกระจกที่ถูกนำมาใช้มากในระยะหลัง เนื่องจากผู้คนเลิกหุงกระจกจีนหรือกระจกเกรียบกันแล้ว

แก้วอังวะ จัดอยู่ในประเภท "กระจกจีน" ปัจจุบันบางคนก็เรียก กระจกจีน ไปเลยก็มี เหตุที่เรียกชื่อ "แก้วอังวะ" นั้น เนื่องจากกระจกประเภทนี้นำเข้ามาจากพม่า "สูตรการหุงแก้วอังวะ" ก็คงจะเป็นสูตรเฉพาะตัวของพม่า เพราะลักษณะที่เห็นจะไม่เหมือนกับกระจกจีนทั่วๆ ไป คือ "แก้วอังวะ" จะมีสีใส เมื่อดาดลงบนแผ่นตะกั่วหรือดีบุกชิ้นใหญ่ๆ สามารถตอกตรึงติดกับโครงสร้างได้โดยง่าย และไม่เป็นประกายแวววาวมากนัก ซึ่งเอกลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ "แก้วอังวะ" ดูเคร่งขรึม สง่างาม เข้ากันได้ดีกับองค์ประกอบทางศิลปะ เป็นการช่วยเสริมให้เกิดความงามทางศิลปะซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้ ความนิยมนำแก้วอังวะมาประดับประดา ยังเนื่องมาจากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาในอดีตที่ว่า พม่าเป็นดินแดนแห่ง "รัตนมณี" อันเป็นศูนย์กลางแห่งชมพูทวีป ซึ่งจะบังเกิดองค์จักรพรรดิราช ในคติ จักรวาทิน ซึ่งจะประกอบไปด้วยรัตนมณี 9 ประการ อันเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิผู้ปราบไปได้ทั่วทุกสานุทิศ ดินแดนพุทธศาสนาอื่นๆ จึงนิยมนำรัตนมณี หรือ แก้ว จากพม่าเข้ามาเป็นความหมายแห่งคติความเชื่อ ซึ่งจะปรากฏในเอกสารของพม่าเองในเอกสารที่เผยแพร่ในล้านนา และในงานวรรณคดีชั้นสูง โดยเรียกแก้วจากพม่าว่า "แก้วพุกาม" หรือ "แก้วพุก่ำ"

เป็นที่น่าเสียดายว่า แก้วอังวะ รวมทั้ง กระจกจีน หรือ กระจกเกรียบ ที่กล่าวถึงนั้น เลิกผลิตไปนานมากแล้ว วิธีการหุงก็สาบสูญจากการถ่ายทอด แม้แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 จะหาใครรู้วิธีการหุงกระจกจีนก็ยากเต็มทน ทำให้งานศิลปะประเภทนี้สาบสูญจากการถ่ายทอดไปอย่างน่าเสียดาย วัดวาโบราณทางเหนือที่พยายามอนุรักษ์ "แก้วอังวะ" เอาไว้ ต้องใช้วิธีการขอรับบริจาคจากวัดเก่าๆ ที่รื้อถอนแล้วยังคงเหลือแก้วอังวะบางส่วนเพื่อนำมาตกแต่งเพิ่มเติม

ดังนั้น แก้วอังวะนับวันมีแต่จะสูญสลายหายไป

จนคนรุ่นหลังแทบจะไม่มีใครรู้จัก "รัตนมณีแห่งพุก่ำ" ที่เรียกกันว่า "แก้วอังวะ" อีกแล้วครับผม


ราม วัชรประดิษฐ์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.283 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 10:13:15