[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:08:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรน่าสนใจ  (อ่าน 9229 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 เมษายน 2553 21:32:21 »




พระสูตรน่าสนใจ

มหาตัณหาสังขยสูตร...พระสาติกล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค
ด้วยเข้าใจผิดว่า จิตคือวิญญาณขันธ์

มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

[๔๔๐] ...ฯลฯ...สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง)
มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น

[๔๔๒] ...ฯลฯ...พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?

สาติภิกษุทูลว่า
สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย
ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า

ดูกรโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ
ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุดตนเสียด้วย
จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.

ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ

[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

วิญญาณอาศัย จักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
วิญญาณอาศัย โสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
วิญญาณอาศัย ฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
วิญญาณอาศัย ชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ
วิญญาณอาศัย กายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
วิญญาณอาศัย มนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ

ส่วนหนึ่งจาก มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 21:34:29 »

● พระสาติ มีทิฐิลามก กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสาติมีความเห็นผิดว่า
วิญญาณ(ขันธ์)นี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น
วิญญาณ(ขันธ์)ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว


พระพุทธองค์จึงตรัสแก้ให้ฟังว่า
วิญญาณ(ขันธ์)อาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
ความเกิดแห่งวิญญาณ(ขันธ์) เว้นจากปัจจัย ไม่ได้

วิญญาณ(ขันธ์)อาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

วิญญาณอาศัย จักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
วิญญาณอาศัย โสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
วิญญาณอาศัย ฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
วิญญาณอาศัย ชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ
วิญญาณอาศัย กายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
วิญญาณอาศัย มนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ


ซึ่งตรงกับ ฉฉักกสูตร ที่กล่าวไว้ถึง หมวดวิญญาณ ๖

[๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิด จักษุวิญญาณ
อาศัยโสตะและเสียง จึงเกิด โสตวิญญาณ
อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิด ฆานวิญญาณ
อาศัยชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ
อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ
อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ


และตรงกับ มหาปุณณมสูตร ที่กล่าวว่า
นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ วิญญาณขันธ์ ฯ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 21:49:16 »


         

              สรุป

พระสาติ มีทิฐิลามก กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสาติมีความเห็นผิดว่า
วิญญาณ(ขันธ์)นี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น
วิญญาณ(ขันธ์)ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว

เพราะ พระสาติ เข้าใจผิดว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์ นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีความเห็นว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์
ก็น่าจะเข้าข่ายมีทิฐิลามก กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าแบบพระสาติ

เพราะ จิตคือตัวเสวยวิบากกรรมทั้งดีทั้งชั่ว
ไม่ใช่วิญญาณขันธ์เสวยวิบากกรรมทั้งดีทั้งชั่ว


โดยอธิบาย

วิญญาณขันธ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์เป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
คือการรับรู้อารมณ์ของจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

วิญญาณขันธ์ จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามเหตุปัจจัย

และนามรูป เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวิญญาณขันธ์ นั่นคือ
ตา+รูป เกิดวิญญาณทางตา
หู+เสียง เกิดวิญญาณทางหู
จมูก+กลิ่น เกิดวิญญาณทางจมูก
ลิ้น+รส เกิดวิญญาณทางลิ้น
กาย+กายสัมผัส เกิดวิญญาณทางกาย
ใจ+ธัมมารมณ์ เกิดวิญญาณทางใจ


วิญญาณขันธ์ จึงไม่ใช่ตัวรองรับวิบากของกรรม

จิตคือตัวบันทึกกรรม ตัวเสวยวิบากของกรรมทั้งหลายทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่ว
จิตจุติ(เคลื่อน)ออกจากร่างกายที่ตายไป ไปเกิดตามอำนาจกรรมดีกรรมชั่ว
โดยจิตเกาะกุมอารมณ์สุดท้าย(มโนวิญญาณ)ในเวลาใกล้จะตาย
เป็นปฏิสนธิวิญญาณพาไปเกิดในภพภูมิใหม่ตามแรงกรรม


จิต ไม่ใช่ วิญญาณ(ขันธ์)

จิตคือวิญญาณธาตุ(ธาตุรู้) ไม่ใช่วิญญาณขันธ์
จิตมีดวงเดียว (เอกจรํ=ดวงเดียวเที่ยวไป) ไม่เป็นกอง แต่ขันธ์เป็นกอง

วิญญาณขันธ์ มี ๖ แบ่งตามวิถีทางที่อารมณ์เข้ามา
คือ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จัดเป็นสสังขาริก...อาศัยทวารทั้ง ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
วิญญาณทางใจ จัดเป็นอสังขาริก...ไม่อาศัยทวารทั้ง ๕


จิตคือธาตุรู้ ทรงความรู้ทุกกาลสมัย

ธาตุรู้ยังไงก็เป็นธาตุรู้วันยังค่ำ ไม่อาจแปรเปลี่ยนเป็นธาตุดิน น้ำ ลม หรือ ไฟ

แต่สิ่งที่ถูกจิตรู้ต่างหากที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปจากจิตตลอดวันตลอดคืน นั่นคือ


จิตไม่เกิดดับ

แต่ขันธ์ ๕ ซึ่งรวมถึงวิญญาณขันธ์ เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต

ไม่ว่าวิญญาณทางตาจะเกิดขึ้นแล้วดับไป
เกิดวิญญาณทางหูขึ้นแทนแล้วดับไป
เกิดวิญญาณทางอื่นๆขึ้นแทน...ฯลฯ...
จิตย่อมรู้ตลอดเวลาที่วิญญาณเหล่านั้นเกิดขึ้นและดับไปจากจิต

ถ้าจิตเกิดดับ หรือจิตคือวิญญาณขันธ์
ตอนที่จิตดับคือรู้ดับ ก็ต้องไม่รู้ไรเลย แต่ทำไมยังรู้ล่ะว่าวิญญาณทางตาดับ
เกิดวิญญาณทางหูแทน วิญญาณทางหูดับ เกิดวิญญาณทางอื่นขึ้นแทน...ฯลฯ...
ถ้าไม่รู้ไรเลย ย่อมบอกออกมาไม่ได้!!!


จิตคือธาตุรู้ รู้ผิด หรือรู้ถูก

ปุถชน จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำ หลงผิดยึดขันธ์ ๕ เป็นตน
เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

พระอริยสาวก จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
เพราะจิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา เกิดวิชชาขึ้นแทนที่
จิตไม่หลงผิด จิตปล่อยวางการยึดขันธ์ ๕ เป็นตน
เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

ดังมีกล่าวไว้ใน นกุลปิตาสูตร ว่า

ปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน ทุกข์จึงเกิดขึ้นที่จิต

พระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตหากระสับกระส่ายไม่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน ทุกข์ไม่เกิดขึ้นที่จิต
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 22:13:23 »




ปัญญากับวิญญาณ...มหาเวทัลลสูตร

มหาเวทัลลสูตร
เรื่อง ปัญญากับวิญญาณ

[๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม
ไม่รู้ชัดอะไร
ไม่รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม

ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า
ถูกละ ท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา?

สา.ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญา
รู้ชัดอะไร
รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา

ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า วิญญาณ?

สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า วิญญาณ
รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์มิใช่สุข
ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า วิญญาณ.

ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?

สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้

เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น

ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
แต่มีกิจที่จะพึงทำต่างกันบ้างหรือไม่?

สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน

แต่ปัญญาควรเจริญ
วิญญาณควรกำหนดรู้

นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.

จบเรื่อง ปัญญากับวิญญาณ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 22:19:45 »


สรุปเรื่อง ปัญญากับวิญญาณ

บุคคลไม่รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เรียกว่า บุคคลมีปัญญาทราม

บุคคลรู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เรียกว่า บุคคลมีปัญญา

วิญญาณ คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้ง
รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์มิใช่สุข

ปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น

ปัญญาควรเจริญ
วิญญาณควรกำหนดรู้
นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้

◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆ ◆

● บุคคลมีปัญญา คือ จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง

คือ จิตที่ได้รับการอบรมโดยการปฏิบัติอริยมรรค ๘
รู้ชัด อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง (รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)

● วิญญาณ คือ จิตรู้แจ้งอารมณ์ ว่าสุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข

คือ จิตรู้รับอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์เมื่อเกิดผัสสะ
และทำให้เกิดเวทนา สัญญา สังขาร ตามมา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 22:25:00 »


โดยอธิบาย

วิญญาณ เป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕

วิญญาณมี ๖
จักษุวิญญาณ วิญญาณทางตา จิตรับรู้ อารมณ์(รูป) ที่เข้ามากระทบจิตทาง ตา
โสตวิญญาณ วิญญาณทางหู จิตรับรู้ อารมณ์(เสียง) ที่เข้ามากระทบจิตทาง หู
ฆานวิญญาณ วิญญาณทางจมูก จิตรับรู้ อารมณ์(กลิ่น) ที่เข้ามากระทบจิตทาง จมูก
ชิวหาวิญญาณ วิญญาณทางลิ้น จิตรับรู้ อารมณ์(รส) ที่เข้ามากระทบจิตทาง ลิ้น
กายวิญญาณ วิญญาณทางกาย จิตรับรู้ อารมณ์(กายสัมผัส) ที่เข้ามากระทบจิตทาง กาย
มโนวิญญาณ วิญญาณทางใจ จิตรับรู้ อารมณ์(ธัมมารมณ์) ที่เข้ามากระทบจิตทาง ใจ

เมื่ออารมณ์ ๖ หรืออายตนะภายนอก ๖ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์)
เข้ามากระทบจิตทางอายตนะภายใน ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นคู่ตามลำดับ
จิตรับรู้อารมณ์นั้นๆ ทางอายตนะนั้นๆ เกิด วิญญาณ ๖ ขึ้น(การรับรู้อารมณ์)
ทำให้เกิด เวทนา (สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข) สัญญา สังขาร ตามมา

▼ ▼ ▼

ดังมีพระพุทธพจน์รับรอง ดังนี้คือ

บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

จากฉฉักกสูตร

ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา...
ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา…
ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา

จากธาตุวิภังคสูตร

▲ ▲ ▲
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 เมษายน 2553 22:27:10 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 22:32:22 »


ปัญญา ควรเจริญ

เพราะปัญญาเป็นองค์มรรค
มรรคเป็นภาเวตัพพะ ควรเจริญ

วิญญาณควรกำหนดรู้

เพราะวิญญาณเป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ทุกข์เป็นปริญเญยยะ ควรกำหนดรู้


● วิญญาณ ฝ่ายยึด คือ อาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ (รู้แล้วปรุงแต่งไปตามอารมณ์)
● ปัญญา ฝ่ายปล่อย คือ ความสามารถของจิตในการปล่อยวางอารมณ์ (รู้แต่ไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์)


ทั้งวิญญาณและปัญญา ต้องมีจิตผู้รู้อยู่ (รู้ผิด หรือ รู้ถูก)

● จิตรู้ผิดจากการเป็นจริง จิตยังยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์(วิญญาณ)
● จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง จิตปล่อยวางการยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ ไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ (ปัญญา)


จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง คือ จิตไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

เพราะยังไม่ได้อบรมจิต โดยการปฏิบัติอริยมรรค ๘
จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง จิตยังยึดถืออารมณ์อยู่
คือ จิตของสามัญสัตว์โลก จิตรู้รับอารมณ์และปรุงแต่งไปตามอารมณ์

● จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง คือ จิตรู้จักอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
เพราะได้อบรมจิต โดยการปฏิบัติอริยมรรค ๘
จิตรู้ถูกตามความเป็นจริง จิตปล่อยวางการยึดถืออารมณ์
คือ จิตของพระอริยะ จิตรู้แต่ไม่รับอารมณ์และไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์


เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวให้ชัดเจนได้ว่า

● รู้ของปุถุชน รู้รับและยึดถืออารมณ์ จึงเกิดวิญญาณ ๖
เพราะจิตของปุถุชน มีตัณหาและมิจฉาทิฐิกำกับอยู่

● แต่รู้ของพระอริยะ รู้สักแต่ว่ารู้ ระลึกสักแต่ว่าระลึก
จิตของพระอริยะ ไม่มีตัณหาและมิจฉาทิฐิปรุงแต่งอยู่ด้วย
เพราะจิตของพระอริยะ รู้จักอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 22:46:51 »





ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร...อริยมรรค ๘ ทางสายกลาง
ควรเจริญให้เกิดขึ้นที่จิต

ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒
ตถาคตสูตรที่ ๑ ทรงแสดงพระธรรมจักร

[๑๖๖๔] ฯลฯพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ
ส่วนสุด ๒ อย่างนั้นเป็นไฉน? คือ

การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย
เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ประเสริฐไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์
ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านี้
อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น ... เป็นไฉน?
คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ
เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ

ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนี้แล
อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


[๑๖๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ
ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์
ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้แล คือ
ตัณหา อันทำให้มีภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ความเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ
ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ
ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย

ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งได้แก่
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ


[๑๖๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขอริยสัจนั้น ควรกำหนดรู้
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขอริยสัจนั้น เรากำหนดรู้แล้ว

[๑๖๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขสมุทยอริยสัจนั้น ควรละ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้น เราละแล้ว

[๑๖๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น ควรกระทำให้แจ้ง
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น เรากระทำให้แจ้งแล้ว

[๑๖๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น ควรเจริญ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น เราเจริญแล้ว


[๑๖๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง
มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด
เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น

ก็เมื่อใด ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง
มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา บริสุทธิ์ดีแล้ว
เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

ก็ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า
วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุปัญจวัคคีย์ปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค


[๑๖๗๑] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่

ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา ฯลฯ

[๑๖๗๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานว่า

โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ
เพราะเหตุนั้นคำว่า อัญญาโกณฑัญญะ
จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะด้วยประการฉะนี้แล.

จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 22:49:16 »


^

● ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นพระธรรมเทศนาแรกที่ทรงแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
หลังจากทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในขั้นต้นทรงพระปรารภถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร
อันพระองค์เคยไปศึกษาลัทธิของท่าน แต่เผอิญสิ้นชีวิตเสียก่อนแล้วทั้ง ๒ องค์

● ทรงแสดงส่วนสุด ๒ อย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ
การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย กามสุขัลลิกานุโยค
การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ อัตตกิลมถานุโยค

● ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ คือ อริยมรรค ๘
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ
เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ

● ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔
ทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
สมุทัย ตัณหา ๓ เป็นเหตุแห่งทุกข์
นิโรธ ความดับทุกข์ (ดับตัณหา ๓)
มรรค ทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งความดับทุกข์ คือ อริยมรรค ๘

● อริยสัจ ๔ ที่ทรงตรัสรู้นั้น ทรงรู้โดยองค์เอง(ไม่มีใครสอนมาก่อน)
ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ ธรรมที่เราไม่เคยฟังมาก่อน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ นี้มรรค

● ทรงแสดงกิจที่พึงทำในอริยสัจ ๔ คือ
ทุกข์ เป็นปริญเญยยะ ควรกำหนดรู้
สมุทัย เป็นปหาตัพพะ ควรละ
นิโรธ เป็นสัจฉิกาตัพพะ ควรกระทำให้แจ้ง
มรรค เป็นภาเวตัพพะ ควรเจริญ

● ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ คือ
สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 23:03:42 »




● สัจจญาณ ความรู้ว่า
นี้ทุกข์
นี้สมุทัย(เหตุแห่งทุกข์)
นี้นิโรธ
นีมรรค

● กิจจญาณ ความรู้กิจควรทำตามหน้าที่ว่า
ทุกข์ ควรกำหนดรู้
สมุทัย ควรละ
นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
มรรค ควรเจริญ

● กตญาณ ความรู้ที่เกิดแต่ตรวจตราในหน้าที่นั้นๆอันได้ทำเสร็จแล้วเป็นความรู้เห็นสุดท้าย
คือ รู้ว่าเสร็จกิจแล้ว
ทุกข์ เรากำหนดรู้แล้ว
สมุทัย เราละแล้ว
นิโรธ เราทำให้แจ้งแล้ว
มรรค เราเจริญแล้ว

● เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่
ธรรมจักษุ คือ ดวงตาคือปัญญาอันเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา

ท่านผู้ได้ธรรมจักษุ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่าเป็นพระโสดาบัน
โดยนัยนี้ ธรรมจักษุได้แก่ พระโสดาปัตติมรรค

ท่านโกณทัญญะได้บรรลุโลกุตรธรรมเป็นปฐมสาวก
เป็นพยานความตรัสรู้ของพระศาสดา

เป็นอันว่าทรงยังความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สำเร็จบริบูรณ์
ด้วยเทศนาโปรดให้ผู้อื่นรู้ตามได้

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว
ทรงเปล่งพระอุทานว่า

อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ แปลว่า
โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ

เพราะอาศัยพระอุทานว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว
คำว่า อญฺญาโกณฺฑัญฺโญ จึงได้เป็นนามของท่านโกณฑัญญะตั้งแต่นั้นมา

ส่วนนี้คัดลอกมาจากพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 03 เมษายน 2553 23:21:26 »



สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา

ทุกข์ ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา
ทรงสอนให้กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ต้องไปจัดแจงหรือแก้ไขอะไร

แต่ต้องละตัณหา ๓ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์
คือ ความทะยานอยากของจิตที่ชอบแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
นั่นคือ จิตเมื่อแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์ ที่จะไม่เกิดทุกข์ขึ้นที่จิตนั้น เป็นไม่มี

ถ้าละความทะยานอยากของจิตที่ชอบแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์ได้เมื่อใด
ทุกข์ย่อมดับไปจากจิต (นิโรธ) เมื่อนั้น เป็นธรรมดา
จึงทรงสอนว่า นิโรธ ให้ทำให้แจ้งชัดขึ้นที่จิต

โดยการเจริญอริยมรรค ๘

เพราะการเจริญอริยมรรค ๘ เป็นการละความทะยานอยากของจิตที่ชอบแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์

ซึ่งต้องเริ่มต้นด้วยการนั่งสมาธิ เจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ)
ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สติปัฏฐาน๔ = สัมมาสติ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
โดยอาศัยความเพียรประคองจิตให้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สัมมาวายามะ)จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์แล้ว
จิตจะเกิดปัญญารู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(สัมมาทิฐิ)
และเกิดพลังปัญญาปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิตได้ตามลำดับ(สัมมาสังกัปปะ)
ทุกข์ย่อมดับไปจากจิต

ในการเจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ) นั้น จิตจะบรรลุปฐมฌานได้
ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)ด้วย

ครบ อริยมรรคมีองค์ ๘

ดังนั้น อริยมรรค ๘ จึงต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
ถึงอารมณ์จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
จิตก็ไม่ทุกข์ไปกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
เพราะจิตไม่ยึดถืออารมณ์นั้นๆ
อารมณ์นั้นๆก็สักเป็นเพียงอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิต


สรุป

ความรู้อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตามความเป็นจริง เป็นสัมมาทิฐิ
ต้องเกิดจากการปฏิบัติอริยมรรค ๘ ดังที่ตรัสไว่ว่า มรรค ควรเจริญให้เกิดขึ้น

ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางจิต ต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติ “สัมมาสมาธิ”
โดยทำกิจควบคู่กับ “สัมมาสติ” และ “สัมมาวายามะ” เพื่อให้จิตตั้งมั่นชอบเป็นสมาธิ

เมื่อจิตตั้งมั่นชอบเป็นสมาธิแล้ว
จะเกิดปัญญาเห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(สัมมาทิฐิ)
พร้อมกับเกิดพลังปัญญาปล่อยวางอารมณ์(สัมมาสังกัปปะ) ตามลำดับ

ดังได้ทรงตรัสรับรองไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้

ความรู้จากการอ่าน การฟัง การท่องจำ ไม่ใช่ความรู้ตามความเป็นจริง
ต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ ตามเสด็จเท่านั้น จึงเกิด ญาณรู้ ตามความเป็นจริงได้



 รัก     http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=nulek&group=18

มีต่อค่ะ




http://i234.photobucket.com/albums/ee208/decnote/Good-Night/Good-night-1.gif
พระสูตรน่าสนใจ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 08:18:56 »




บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ...ภัทเทกรัตตสูตร

ภัทเทกรัตตสูตร

[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง

ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่า ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ


[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร

คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า
เราได้มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว


[๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร

คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า
เราได้มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว


[๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร

คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า
ขอเราพึงมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้ในกาลอนาคต

[๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร

คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า
ขอเราพึงมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้ในกาลอนาคต


[๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร

คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
ย่อมเล็งเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง
เล็งเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง

[๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร

คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ
ย่อมไม่เล็งเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง
ไม่เล็งเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง


[๕๓๔] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง

ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

พระมุนีผู้สงบย่อมเรียก บุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ


จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค ภัทเทกรัตตสูตร
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 08:41:09 »

   
      

สรุป
ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร

คือ ปุถุชน ฯลฯ
ย่อมเล็งเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีขันธ์ ๕ บ้าง
เล็งเห็นขันธ์ ๕ ในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในขันธ์ ๕ บ้าง

ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร

คือ พระอริยสาวก ฯลฯ
ย่อมไม่เล็งเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีขันธ์ ๕ บ้าง
ไม่เล็งเห็นขันธ์ ๕ ในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในขันธ์ ๕ บ้าง

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
เพราะว่า ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ


ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
ต้องทำความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
รูป อุปมาด้วย กลุ่มฟองน้ำ
เวทนา อุปมาด้วย ฟองน้ำ
สัญญา อุปมาด้วย พยับแดด
สังขาร อุปมาด้วย ต้นกล้วย
วิญญาณ อุปมาด้วย กล


ทรงเปรียบ ขันธ์ ๕ กับสิ่งอันหาสาระอะไรมิได้เลย แปรปรวนเสื่อมสิ้นเกิดดับตลอดเวลา

เบญจขันธ์ เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง
เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีในเบญจขันธ์นี้

ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน

ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน)
พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำที่พึ่งแก่ตน
พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้


^
พึงกระทำที่พึ่งแก่ตน โดยการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔
เริ่มจากอานาปานสติ บรรพะแรกครับ


“อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปุเรนฺติ,
จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปุเรนฺติ,
สตฺต โพชฺฌงคา ภาวิตา พหุลีกตา วิชฺชา วิมุตฺตึ ปริปุเรนฺติ.


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น
ทำให้บ่อยๆแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์,

สติปัฏฐานสี่นี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว
ย่อมได้ชื่อว่า ทำโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์,

โพชฌงค์เจ็ดนี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว
ย่อมได้ชื่อว่า ทำวิชชาจิตหลุดพ้นทุกข์ให้บริบูรณ์ ดังนี้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 09:07:30 »




พรรณนาคุณพระขีณาสพ...นิคมคาถา...

พรรณนาคุณพระขีณาสพ

พระพุทธเจ้าข้า
ภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออก...
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันตก ....
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ ....
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้
ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านไม่ได้เลย
แม้ฉันใด.

พระพุทธเจ้าข้า
แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุ...
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ผ่านมาสู่คลองโสต...
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ผ่านมาสู่คลองฆานะ...
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ผ่านมาสู่คลองชิวหา...
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ผ่านมาสู่คลองกาย...
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจ

ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย

จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น
ฉันนั้นเหมือนกันแล.

นิคมคาถา

[๔] ภิกษุน้อมไปสู่บรรพชา ๑
ผู้น้อมไปสู่ความเงียบสงัดแห่งใจ ๑
ผู้น้อมไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๑
ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นอุปาทาน ๑
ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑
ผู้น้อมไปสู่ความไม่หลงไหลแห่งใจ ๑

ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดยชอบ
เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ

ภิกษุมีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น
ไม่ต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ไม่มี

เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลาเป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
ย่อมไม่สะเทือนด้วยลม ฉันใด

รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์
ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนาทั้งสิ้น
ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น

จิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว
ท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.



จากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรคภาค ๒
พรรณนาคุณพระขีณาสพ-นิคมคาถา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 09:13:25 »


 

โดยอธิบาย อารมณ์...

รูปารมณ์ (อารมณ์ คือ รูป)
สัททารมณ์ (อารมณ์ คือ เสียง)
คันทารมณ์ (อารมณ์ คือ กลิ่น)
รสารมณ์ (อารมณ์ คือ รส)
โผฏฐัพพารมณ์ (อารมณ์ คือ กายสัมผัส)
ธรรมารมณ์ (อารมณ์ คือ ความนึกคิดในใจ)

ทรงเปรียบ อารมณ์ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์)
เหมือน ลม


เปรียบอารมณ์เข้าสู่จิตได้ทางอายตนะทั้ง ๖(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
เหมือนลมพัดมากระทบภูเขาศิลาทางทิศต่างๆ(เหนือ ใต้ ออก ตก)

เปรียบจิตของพระภิกษุที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเมื่อกระทบอารมณ์
เหมือน ภูเขาศิลาไม่สะท้านสะเทิอนด้วยแรงลม

นั่นคือ อารมณ์ทั้งหลาย(รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์)
ไม่ว่าจะเข้ามาสู่จิตทางอายตนะใด (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
ก็ไม่สามารถทำให้จิตของพระภิกษุที่ตั้งมั่นหวั่นไหวได้


เหมือน ลม ไม่ว่าจะพัดมาจากทิศทางใด
ก็ไม่สามารถทำให้ภูเขาศิลาสะท้านสะเทือนได้....ฉันใด ฉันนั้น...
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 04 เมษายน 2553 09:19:35 »




ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดยชอบ
เพราะเห็นความเกิดและความดับแห่งอายตนะ

จิตของท่านตั้งมั่นหลุดพ้นแล้ว
ท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้นด้วย

^
(ข้อสังเกต :-
พระสูตรแทบทุกสูตรที่มีมา จะพูดย้ำ ๒ ครั้ง ตอนขึ้นต้นและลงท้าย
นั่นคือ ความหมายของส่วนตอนต้นและตอนท้ายนั้นจะเป็นทำนองเดียวกัน)


ณ ตรงนี้ ก็เช่นกัน ส่วนต้นและส่วนท้ายก็มีความหมายเดียวกัน
นั่นคือ หมายแสดงให้เห็นว่า

ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้น
ย่อมเห็นความเกิดดับของอารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖

จิตของท่านหลุดพ้น ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตสังขาร
หรืออารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะ ๖ นั่นเอง


โดยอธิบาย

อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์
เมื่ออายตนะภายใน ๖ และภายนอก ๖ ผัสสะกันเป็นคู่
ทำให้เกิดอารมณ์ขึ้นที่จิต (รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์)
ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะปรุงแต่งจิต ทำให้จิตหวั่นไหวไปตามอารมณ์(จิตสังขาร)
ทำให้เกิด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามมา หรือก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง

แต่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้น จิตของท่านตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ตั้งมั่นอยู่โดยลำพังตนเอง โดยไม่ต้องอิงอาศัยอารมณ์ใดๆ

อารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะ ๖ ก็สักแต่ว่าเป็นอารมณ์
ไม่ได้เป็นอารมณ์ของจิต เพราะจิตท่านตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์แล้ว

ดังนั้นถึงอารมณ์จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
จิตของท่านก็ไม่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามอารมณ์เหล่านั้น
คงเป็นเพียงรู้สักว่ารู้ เห็นสักว่าเห็น...โดยประการฉะนี้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.75 Chrome 21.0.1180.75


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2555 16:18:02 »



  ฉันนสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ

[๒๓๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระหลายรูป อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี
ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร
ได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า
ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงพร่ำสอนผมด้วย
ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้

[๒๓๒] เมื่อพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า
ดูกรท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะเกิดความคิดนี้ว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา
วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน
ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น
ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา

แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔)

ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้

[๒๓๓]ฯลฯ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก
อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่านพระอานนท์เถิด
ขอท่านพระอานนท์จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์จงพร่ำสอนผมด้วย
ขอท่านพระอานนท์จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้

[๒๓๔] ฯลฯ อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์
รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสสั่งสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า

ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมีความไม่มี

ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอยู่
ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี

เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอยู่
ความมีในโลก ย่อมไม่มี
โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและความยึดมั่น

แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้
ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่นมีความยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา
ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ
อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย


ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ
ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี
ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ฉ. ดูกรท่านอานนท์ ท่านเหล่าใด มีการกล่าวสอนอย่างนี้
ท่านเหล่านั้น เป็นผู้อนุเคราะห์ มุ่งประโยชน์ กล่าวสอนและพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ก็แลผมเองได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านอานนท์แล้ว เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง
ฉันนสูตร


^
สรุป ฉันนสูตร ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ

การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือที่เรียกว่า ทางสายกลางนั้น
เป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฐิขึ้นที่จิต คือ

จิตรู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง (รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค)
หรือจิตรู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทธรรม (รู้ทั้งฝ่ายเกิด และ ฝ่ายดับ)

ทุกข์-สมุทัย เป็นสมุทัยวาร ปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายเกิด
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังขารขึ้นที่จิต...ฯลฯ...
เกิดวงจรของปฏิจจสมุปบาทธรรมขึ้นที่จิต...ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต

นิโรธ-มรรค เป็นนิโรธวาร ปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายดับ
เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

เพราะปฏิบัติอริยมรรค ๘ ทำให้อวิชชาดับไปจากจิต สังขารจึงดับไปจากจิต...ฯลฯ...
วงจรปฏิจจสมุปบาทธรรมดับไปจากจิต...ทุกข์ดับไปจากจิต

ไม่ใช่จิตดับ แต่จิตผู้ปฏิบัติต้องรู้เห็นตลอดสายในการปฏิบัติ
ต้องเห็นทั้ง ๒ ฝั่ง จึงจะเป็นสัมมาทิฐิ รู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง


เห็นฝั่งทุกข์ เพราะจิตไปยึดถืออารมณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเข้า ทำให้จิตหวั่นไหวฟุ้งซ่าน
เห็นฝั่งนิโรธ เพราะจิตปล่อยวางการยึดถืออารมณ์ได้ จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ใดๆ

การรู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้
ต้องเกิดจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิ(เจริญฌาน ๔) ตามหลักอริยมรรค ๘
โดยทำกิจควบคู่กับ สัมมาวายามะ (ความเพียร) และสัมมาสติ (สติปัฏฐาน ๔)
จนจิตสงบตั่งมั่นเป็นสมาธิ จึงจะเกิดปัญญารู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง


ดังมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้

และปัญญารู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ต้องเกิดจากการประกอบสมาธิ
ไม่ใช่เกิดจากการอ่านตำรา หรือศึกษาแต่พระไตรปิฏก ดังมีพระธรรมบทรับรองไว้ว่า

ปัญญาเกิด เพราะความประกอบ
เมื่อไม่ประกอบ ปัญญาก็หมดสิ้นไป
บุคคลรู้ทางแห่งความเจริญและความเสื่อม
พึงตั้งตนไว้ในทางที่ปัญญาจะเจริญ

~~~~~~~

[๒๓๒] เมื่อพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า
ดูกรท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะเกิดความคิดนี้ว่าแม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน
ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น
ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา

แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔)
ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้


[๒๓๓]ฯลฯ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก
อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหาท่านพระอานนท์เถิด
ขอท่านพระอานนท์จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์จงพร่ำสอนผมด้วย
ขอท่านพระอานนท์จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้


^
พระฉันนะในขณะปรารภธรรมนี้ ท่านยังไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
ดังนั้น ท่านจึงปรารภว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
(....เป็น ความคิดเห็น ไม่ใช่ความรู้แจ้งเห็นจริง....)

พระฉันนะปรารภต่อว่า
เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน
ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น
ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา

เพราะจิตของท่านไม่น้อมลงสู่อมตะ
(ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน)
ยังมีตัณหา ทิฐิ และอุปาทานอยู่

ท่านจึงเกิดความคลางแคลงสงสัยขึ้นในจิตใจว่า
ถ้าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน(ที่พึ่ง)
แล้วอะไรเล่า เป็นตน(ที่พึ่ง)ของเรา

แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔)
ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้

ในขณะที่ความคิดเห็นแบบนี้ไม่มีในพระอริยสาวก
เพราะพระอริยสาวกผู้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ แล้ว
(...เป็นความรู้แจ้งเห็นจริง ไม่ใช่ความคิด...)

เพราะจิตของพระอริยสาวกน้อมลงสู่อมตะ
(ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน)
ไม่มีตัณหา ทิฐิ และอุปาทานอยู่

พระอริยสาวกท่านจึงไม่เกิดความคลางแคลงสงสัยขึ้นในจิตใจว่า
ถ้าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน(ที่พึ่ง)
แล้วอะไรเล่า เป็นตน(ที่พึ่ง)ของเรา

เพราะพระอริยสาวก พบตนหรือเห็นตนแล้ว ว่าตนที่จะเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริงนั้น
คือ สภาวะที่จิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ แล้วอย่างสิ้นเชิง
สภาวะที่จิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง (จิตสิ้นการปรุงแต่ง เป็นวิสังขาร)
หรือก็คือ สภาวะพระนิพพาน อันเป็นอมตะ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายแล้ว

พระฉันนะปรารภว่า ใครหนอจะแสดงธรรมนี้ให้ท่านกระจ่างได้
ในที่สุดก็นึกถึงพระอานนท์ และพระอานนท์ก็ได้แสดงธรรมโปรด
ท่านพระอานนท์ได้นำพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค
แสดงแก่พระกัจจานโคตร มาแสดงให้ท่านพระฉันนะฟัง

ในตอนท้ายพระสูตรเขียนว่า
ก็แลผมเองได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านอานนท์แล้ว
เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง

ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นว่า
พระฉันนะ เมื่อฟังธรรมจากพระอานนท์แล้ว ก็ยังไม่บรรลุธรรม
เพียงแต่เข้าใจธรรมแจ่มแจ้งขึ้นเท่านั้น

โปรดสังเกตพระสูตรที่มีมา ถ้าองค์ไหนฟังธรรมจบแล้ว
บรรลุธรรม พระสูตรจะเขียนว่า

ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้ว
เพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของท่านพระสารีบุตร

ถ้าองค์ไหนฟังแล้ว บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระสูตรจะเขียนว่า

จิตของภิกษุผู้เถระประมาณ ๖๐ รูป และของท่านพระเขมกะ
พ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น
เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร


..........◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊..........

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วกันว่า ปุถุชนกับพระอริยสาวกนั้น ต่างกันที่ จิต
พระสูตรส่วนต้น ได้แสดงนัยถึงจิตของพระฉันนะว่า

จิตของเรา ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน
ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น
ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา

ดังนั้น โดยนัยตรงกันข้าม
พระอริยสาวก รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามความเป็นจริง ดังนั้น


จิตของพระอริยสาวก ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
หลุดพ้น ในธรรมเป็นที่ระงับสังขาร ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง
ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน
ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมไม่เกิดขึ้น
จึงไม่สงสัยว่าอะไรเล่าเป็นตน(ที่พึ่ง)ของเรา


^
ก็เฉกเช่นเดียวกัน ถึงพวกเราจะรู้ว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

ความรู้เช่นนี้เป็นสัญญา ความจำได้หมายรู้
ไม่ใช่ปัญญา รู้เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
เพราะไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิ
จนจิตมีสติบริสุทธิ์วางเฉยต่ออารมณ์เป็นอุเบกขาที่ฌาน ๔ (อุเปกฺขา สติปาริสุทฺธิง)

พวกเราส่วนนึงก็จะกลัวเมื่อมีการเอ่ยถึงคำว่า ตน
และจะรีบปฏิเสธว่าในพระศาสนาไม่มีตัวตน
ทั้งๆที่พระพุทธองค์มีกล่าวถึงไว้มากมาย

ที่ฌาน ๔ อุเปกฺขา สติปาริสุทฺธิง
จิตมีสติบริสุทธิ์วางเฉยต่ออารมณ์เป็นอุเบกขา
จิตแยกตัวเป็นอิสระออกจากอารมณ์ได้
จิตก็อยู่ส่วนจิต อารมณ์ก็อยู่ส่วนอารมณ์
อยู่ร่วมกันไป เหมือนน้ำกลิ้งบนใบบัว

จิตเป็นอิสระอยู่ได้โดยลำพังตนเอง
จิตไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอารมณ์อีกต่อไป ณ ตรงนี้แล ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน บุคคลอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลมีตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่บุคคลอื่นได้โดยยาก


เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งรีบปฏิเสธตน(ที่พึ่ง)
พระองค์สอนให้ปฏิเสธ ขันธ์ ๕ ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน(ที่พึ่ง)ของเรา
ทรงสอนให้ฝึกอบรมจิต เพื่อให้จิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน(ที่พึ่ง)ของเรา

ดังพุทธอุทาน ซึ่งทรงเปล่งออกหลังจากตรัสรู้ใหม่ๆ ดังนี้คือ

"ยทา จ อตฺตนา เวทิ มุนิ โมเนน พฺราหมฺโณ อถรูปา อรูปา จ สุขทุกฺขา ปมุญฺจติ"
เมื่อใดพราหมณ์ผู้เป็นมุนี มารู้จัก ตน เข้าด้วยปัญญาอันเกิดจาก(จิต)สงบ
เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อม พ้นจาก รูป อรูป สุข และทุกข์ ดังนี้


~~~~~~~~~~~~~


[๒๓๔] ฯลฯ อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์
รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสสั่งสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า

ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมีความไม่มี

ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอยู่
ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี

เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอยู่
ความมีในโลก ย่อมไม่มี
โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและความยึดมั่น

แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้
ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่นมีความยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา
ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ
อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย


ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ
ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี
ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
                 ~~~~~

   ^
ในสมัยพระพุทธองค์ มีความเห็นสุดโต่ง ๒ ฝั่ง

ฝั่งนึงเชื่อว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่
มี คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

อีกฝั่งนึงเชื่อว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี
ไม่มี คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

คือ ฝั่งนึงเห็นว่าการเสพสุขทางกาย(ขันธ์ ๕) ทำให้พ้นทุกข์ได้
การปฏิบัติสุดโต่งของฝั่งนี้ เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค

อีกฝั่งนึงเห็นว่าการทรมานกาย(ขันธ์ ๕) ทำให้พ้นทุกข์ได้
การปฏิบัติสุดโต่งฝั่งนี้เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ส่วนพระองค์ตรัสรู้อริยสัจ ๔ โดยการปฏิบัติทางสายกลาง หรืออริยมรรค ๘
ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางจิต ไม่ใช่ทางกาย(ขันธ์ ๕) จึงทำให้พ้นทุกข์ได้
เพราะจิตปล่อยวางการยึดถือกาย(ขันธ์ ๕) ว่าเป็นตน

ความมีในโลก และ ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี
เพราะทรงพ้นจาก ความมี ความไม่มี ในโลกแล้ว
ทรงเห็นแล้ว รู้แล้วว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นโลกธรรมในโลก
จิตของพระองค์พ้นแล้วจากถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จะเที่ยง จะไม่เที่ยง
จะสุข จะทุกข์ จะแปรปรวนหรือไม่แปรปรวนไป อย่างไรก็ตาม

จิตของพระองค์หาได้แปรปรวนตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นๆไม่

(อ่านเทียบเคียงได้ใน ปุบผสูตร และนกุลปิตาสูตร)

ดังได้กล่าวมาโดยตลอด เราจึงต้องปฏิบัติตามเสด็จ
เริ่มต้นด้วยการปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘ ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางจิต
เพื่อให้จิตเกิดปัญญา รู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา
จิตไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป จิตจึงจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
                  ~~~~~

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและความยึดมั่น

แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้
ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่นมีความยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา
ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า
ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ
อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย



^
นั่นคือ จิตปุถุชน
เข้าถึง
อุบาย(ตัณหาและทิฐิ ) และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุ ตั้งมั่น ถือมั่น
และเป็นอนุสัยแห่งจิตว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอัตตาของตน

จิตพระอริยสาวก
ละ
อุบาย(ตัณหาและทิฐิ) และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุ ตั้งมั่น ถือมั่น
และเป็นอนุสัยแห่งจิตว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอัตตาของตน

พระอริยสาวก มีญาณหยั่งรู้ คือรู้อริยสัจจ์ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
รู้ทุกข์ (ทุกข์)
รู้เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)
รู้ความ ดับทุกข์ (นิโรธ)
รู้หนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)

หรือก็คือ
รู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิด (สมุทัยวาร...ทุกข์,สมุทัย)
รู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายดับ (นิโรธวาร...นิโรธ,มรรค)


เกิดวิชชาขึ้นที่จิตแทนที่อวิชชา
เพราะอวิชชาดับไปจากจิต ปฏิจจสมุปบาทธรรมดับ
ไม่ใช่จิตดับ แต่จิตเป็นพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
รู้อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ตื่นจากความมัวเมาในอารมณ์ (มัทนิมมัทโน)
เบิกบานในธรรม (วิราคธรรม)


..........◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊..........

กายปุถุชนกับพระอริยเจ้าเหมือนกันคือ
เป็นเพียงรูป-นาม ขันธ์ ๕ หรือธาตุที่มาประชุมกัน

ปุถุชนกับพระอริยเจ้าต่างกันที่ จิต นั่นคือ จิตรู้เห็นต่างกัน
ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส จิตเห็นขันธ์ ๕ เป็นตน เห็นตนเป็นขันธ์ ๕
แต่พระอริยเจ้า จิตไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นตน ไม่เห็นตนเป็นขันธ์ ๕

ปุถุชน เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน
ปุถุชน เห็นตนมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ปุถุชน เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน
ปุถุชน เห็นตนในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เขาย่อมแล่น วนเวียนรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น เอง
เมื่อเขาแล่นวนเวียนรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอยู่
เขาย่อมไม่พ้นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เรากล่าวว่าย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์


พระอริยสาวก ไม่เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน
พระอริยสาวก ไม่เห็นตนมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
พระอริยสาวก ไม่เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน
พระอริยสาวก ไม่เห็นตนในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อริยสาวกนั้นย่อมไม่แล่นวนเวียนรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อริยสาวกนั้นเมื่อไม่แล่นวนเวียนรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมพ้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์

(อ้างอิง คัททูลสูตรที่ ๑ และ ๒)


^
ปุถุชนไม่ได้รับการอบรมจิต
จิตมีอวิชชาครอบงำอยู่(ไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง)
หลงเข้าใจผิด ว่าขันธ์ ๕ ซึ่งก็รวม วิญญาณขันธ์ ด้วยเป็นตน

จึงหลงเกิดตายตามขันธ์ ๕ หรือ ก็คือ เกิดดับตามวิญญาณขันธ์ นั่นเอง
จึงบอกว่า จิตเกิดดับ ด้วยอำนาจอวิชชาที่ครอบงำนั่นเอง
เพราะไม่รู้จักตนเองที่แท้จริง ว่าตนเป็นผู้รู้ ผู้เห็นอยู่
เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตจึงแปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไปตลอดเวลา

เมื่อปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘ ตามเสด็จพระบรมศาสดา
จิตที่เคยรู้ผิดเห็นผิดไปจากความเป็นจริงมาตลอดเพราะ อวิชชาครอบงำ
เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ (รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง)
จิตก็จะรู้ จะเห็นว่าขันธ์ ๕ ซึ่งก็รวมวิญญาณขันธ์ด้วยไม่ใช่ตน

ตนไม่ใช่ขันธ์ ๕ ตนไม่ได้เกิดดับ ตนเป็นผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
ที่
เกิดดับคือวิญญาณขันธ์ไม่ใช่จิต

เพราะจิตผู้ปฏิบัติต้องรู้ต้องเห็นตลอดสายของการปฏิบัติ
ไม่ว่าอารมณ์ใดๆมาเกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้
อารมณ์ใดๆดับไปจากจิต จิตก็รู้
เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป ถ้ารู้จักทำจิตให้สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวได้
จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป


นี้คือประโยชน์ที่ผู้ปฏิบัติตามเสด็จจะพึงได้รับจากพระพุทธศาสนา
คือ จิตรู้จักปล่อยวางอารมณ์ต่างๆที่จะเข้ามากระทบจิต
ไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามอารมณ์

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=nulek&group=18

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 สิงหาคม 2555 19:31:03 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระสูตรน่าสนใจ : ข้อคิดจากคอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ « 1 2 3 »
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
Kimleng 55 92725 กระทู้ล่าสุด 12 กุมภาพันธ์ 2562 15:35:49
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.181 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 11 สิงหาคม 2566 06:06:20