[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 05:38:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกความสัมพันธ์ของดินกับฟ้า  (อ่าน 2052 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 เมษายน 2553 08:47:42 »


 
 
ระบบการศึกษาของประเทศเรา - ตราบใดที่เรายังประสงค์กับความเจริญก้าวหน้าและต้องการความศิวิไลซ์ "สมัยใหม่" - เราก็มักทำตามฝรั่งตะวันตกอยู่วันยังค่ำ เพราะเราทั้งโลกเลยที่ไม่ใช่ฝรั่งตะวันตกที่เราในประเทศเราเข้าใจ ส่วนใหญ่มากๆ ล้วนแล้วแต่คิดว่าฝรั่งตะวันตกฉลาดกว่าเรา เก่งกว่าเรา เจริญก้าวหน้ากว่าเรา ฉะนั้นจึงทำตามฝรั่งตะวันตกแทบจะทุกอยาง แต่ฝรั่งเองในความเห็นของผู้เขียนก็เอาตามนักคิดนักปรัชญาของกรีซ โดยเฉพาะอริสโตเติล ผู้ใช้รูปแบบและโลกนี้มากกว่าเนื้อหาและโลกหน้า (อื่น) จัดการเรื่องความรู้ (knowledge) ทั้งหมดของมนุษยชาติ ฉะนั้น ระบบการศึกษาของประเทศไทยเราไม่ว่าเราจะปฏิรูปอย่างไรหรือเปลี่ยนแปลงขนาดไหน มันก็หนีไม่พ้นการพายเรือในอ่าง คือตามอย่างฝรั่งตะวันตกโดยหลักการอยู่วันยังค่ำ
สมัยก่อนหน้านี้ไปสัก 70-80 ปีก่อน ในชั้นเรียนมัธยมต้นที่ต่างจังหวัดมีอยู่วิชาหนึ่งที่ผู้เขียนไม่ชอบเลยแม้แต่น้อยครึ่งหนึ่ง แต่จะชอบเอามากๆ ครึ่งหนึ่ง นั่นคือ วิชาภูมิ-ประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าไม่เกี่ยวกันเลย แต่โรงเรียนก็ยังจัดไว้ด้วยกัน ครึ่งหนึ่งที่ผู้เขียนไม่ชอบเอามากๆ คือส่วนที่อยู่ข้างหลังหรือประวัติศาสตร์ คือไม่ชอบทั้งในเรื่องของรูปแบบและในเรื่องของเนื้อหา แต่เหตุผลที่ไม่ชอบในตอนแรกนั้นผู้เขียนไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร เนื่องจากเป็นเด็กที่ยังเล็กมาก และเหตุผล - ที่มารู้เอาในตอนหลัง - แม้ในตอนนั้นก็ยังเป็นการมองอย่างผิวเผินอยู่ดี คือมองว่า - จะมีอยู่ 2 ประการ คือ อย่างหนึ่งเป็นเรื่องของรูปแบบว่าประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ไม่มีทิศทางเป้าหมาย คือไม่สอนอะไรที่สำคัญว่าจะไปทิศไหน เหมือนกับว่าเขาจัดมาอย่างนั้น เราก็ต้องเรียนตามนั้น เขาที่ว่าคือเมืองนอก ฝรั่งเขาจัดการเรียนการสอนหรือความรู้ทั้งหมดอย่างไร - และขอย้ำว่าทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น (นอกจากศิลปศาสตร์กับศาสนศาสตร์เท่านั้นที่มีคุณค่าและความหมาย ซึ่งความหมายที่พูดมานั้นจะต้องตีความด้วยจิตที่เป็นเรื่องของภายในเสมอไป) - ส่วนความรู้ที่เหลือทั้งหมด ล้วนแล้วแต่จัดสร้างให้มีขึ้นเพื่องาน-เงิน-วัตถุทั้งนั้น พูดง่ายๆ คือความรู้ที่เราเรียนมาทั้งหมด นอกจากที่ยกเว้นสุดแสนจะเล็กน้อยนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นวิทยาศาสตร์ที่เป็นไปตามปรัชญาของอริสโตเติลทั้งนั้น ความรู้ - ที่ไม่มีคุณค่าหรือความหมายต่อจิตที่อยู่ภายใน - ที่มุ่งแต่เงินกับวัตถุภายนอกจะเป็นความรู้อันบริสุทธิ์ได้อย่างไร? ส่วนประการที่ 2 หรือเนื้อหาก็ไม่เห็นว่าเด็กจะได้เรียนรู้อะไร นอกจากการบันทึกของคนในอดีตที่ยอกันไปยอกันมา สำหรับวิชาแรกภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของโลกและประเทศต่างๆ ในปัจจุบันจึงพอที่จะสนุกบ้าง พูดง่ายๆ ผู้เขียนไม่สนใจสิ่งใดที่เป็นเรื่องของมนุษย์ในอดีต แม้แต่ว่าจะเป็นกำพืดของตัวเอง เพราะเด็กที่ยังมีอายุไม่ถึง 10 ขวบ ย่อมไม่สนใจเรื่องใดๆ ของอดีตทั้งนั้น จะสนใจแต่เรื่องของปัจจุบันหรืออนาคตมากกว่า สมัยนั้นยังโชคดีที่ไม่มีเรียนเรื่องของสังคมวัฒนธรรม "แบบที่เข้าใจกันที่ผู้เขียนเห็นว่าส่วนมากผิดธรรมชาติ" ผู้เขียนจึงไม่ชอบ และวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรมก็ไม่มีสอบ เพราะไม่มีค
รู้สอน นานๆ ทีก็มีพระมาสอนศีลธรรมสักที จึงไม่คอยมีเด็กตั้งใจฟังมากนัก จริงๆ แล้วผู้เขียนหันมาสนใจเรื่องของประวัติศาสตร์บ้างก็เมื่อมาเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว และก็เป็นเพราะว่ามีอาจารย์รอง ศยามานนท์ สอน อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นได้ไปบ้าเรื่องของการเมืองร่วมกับเพื่อน 2-3 คน แต่ผู้เขียนยังคงมีความเห็นเหมือนเดิมว่า ประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องของ - ถ้าหากเป็นเรื่องของคนหรือเรื่องของชาติแล้ว แทบทั้งหมดคนเขียนมักจะเป็นเช่นที่ว่ามานั้น - คือยอกันไปยอกันมาดูกันไม่จืด และถ้าเป็นประวัติศาสตร์ชาติของผู้เขียนเอง ประวัติศาสตร์นั้นๆ - ไม่เคยผิดเลย
ประวัติศาสตร์ในความจริงที่ผู้เขียนมองในปัจจุบันเป็นเรื่องของการเคลื่อนไหววิวัฒนาการของจิตที่ควบคุมทุกๆ พฤติกรรมของมนุษย์แต่ละคนเป็นปัจเจกก่อนแล้วถึงได้รวมกันเป็นสังคมร่วม
ในภายหลัง วิวัฒนาการของสังคมเมื่อเวลาผ่านไปตามลูกศรแห่งเวลา (arrow of time) ความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อเนื่องเป็นหนึ่งเดียวกันของสรรพสิ่ง ปรากฏการณ์ของมนุษย์กับฟ้าหรือสวรรค์ - ในที่นี้คือ - ระหว่างดินกับฟ้า ซึ่งดินได้วิวัฒนาการขยายต่อมาเป็นผืนดินจริงๆ กับมนุษย์ซึ่งเป็นเป้าหมายของจักรวาล คือหมายถึงความสัมพันธ์ต่อกันและกันของ ดิน-มนุษย์-ฟ้าหรือสวรรค์ ซึ่งมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์โบราณกาลจริงๆ ในทุกๆ วัฒนธรรมความเชื่อทั่วทั้งโลกเลยเหมือนๆ กัน - รู้จักกันในชื่อปรัชญาสากลนิรันดร (perennial philosophy) ที่สำคัญยิ่งซึ่งเล่ามาบ่อยๆ - โดยที่เราไม่อาจรู้เลยว่ามันมีมาตั้งแต่เมื่อไร? หรือโดยใคร - ที่ไหนก่อน?
นั่นคือการเริ่มต้นของพื้นฐานอันแรกเริ่มของรากแก้วแห่งชีวิต (ground of being) หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือการเริ่มต้นของ "ประวัติศาสตร์" ที่แท้จริงว่า แท้ที่จริงแล้วปรัชญาดังกล่าวแสดงถึงวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของฟ้าหรือสวรรค์หรือพระเจ้า (God รวมทั้ง gods or spirits) กับชีวิตที่คือวิถีชีวิตหรือความสัมพันธ์ระหว่างจักรวาล (จิตจักรวาลอันเป็นปรมัตถ์ และความเป็น ทั้งหมด (wholeness)) กับมนุษย์ "ที่เป็นไปเช่นนั้นของมันเอง" แต่เพราะว่าประวัติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ตามปรัชญาของอริสโตเติล ซึ่งปรัชญาหรือวิทยาศาสตร์ดังกล่าวปราศจากคุณค่ากับความหมาย (value and meaning) ฉะนั้นจึงอาจจะพูดได้ว่า โดยผิวเผินประวัติศาสตร์คือวิชาที่บอกว่าชีวิตมนุษย์ไม่มีคุณค่าหรือความหมาย! ผู้เขียนถึงได้ไม่ชอบประวัติศาสตร์ดังที่บอกและเคยเขียนในไทยโพสต์ไปแล้วหลายครั้ง เช่นเดียวกับคำว่าวัฒนธรรมที่ใช้ๆ กันอยู่ ที่ผู้เขียนมองว่าเราใช้ๆ กันตามนักวิทยาศาสตร์ที่จัดการกับความรู้ทั้งหลาย - ที่มีลักษณะของวิทยาศาสตร์กายภาพหรือวัตถุนิยมตามฝรั่งตะวันตกมากไป - โดยไม่คิดให้รอบคอบว่าวัฒนธรรมนั้นคือจิตวิญญาณของสังคม
ผู้เขียนมีความคิดเห็นเหมือนๆ กับจอร์จ วอลด์ นักชีววิทยารางวัลโนเบลผู้ค้นพบว่าลูกตาของกบ - ในทางกายภาพ - เหมือนกับลูกตาของมนุษย์ค่อนข้างมาก แต่กบเห็นสีเพียง 2 สี ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? จอร์จ วอลด์ ไม่รู้ เขาคิดว่าจิตจักรวาลที่มีมาตั้งแต่ต้น มีมาก่อนบิ๊กแบ็งเสียอีก ซึ่งเป็นการสร้าง "จักรวาลให้มีวัฏจักรไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด" เพราะอาจจะเป็นส่วนของพระจิตของ "บราห์มัณ" หรือพรหมมัณตามที่อุปานิษัตบอกก็ได้ หากมองเช่นนั้นมันก็เป็นสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เพราะว่าเป็นเหมือนกับที่นักวิทยาศาสตร์หลายๆ คนในปัจจุบันที่คิดจากการคำนวณของคณิตศาสตร์ โดยทฤษฎีซูเปอร์สติงก์ที่ให้ผลอย่างเดียวกันว่า จักรวาลของเราเป็นเพียงหนึ่งจักรวาลที่มีจำนวนหลากหลายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (pleuriverses หรือ mutiverses) ที่นักเทววิทยาของฝรั่งโกรธนักโกรธหนาว่า ดูหมิ่นพระเจ้าโดยการทำให้การสร้างโลกการสร้างจักรวาล (Genesis) ของพระองค์ที่มีหนึ่งโลกหนึ่งจักรวาลต้องมัวหมอง
ดังนั้นและปัจจุบันนี้ ผู้เขียนจึงมองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบว
นการวิวัฒนาการของจักรวาล - ที่มีหน้าที่เพียงหนึ่งเดียว - นั่นคือเป็นการไหลเลื่อนเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงของจิต (จิตหนึ่งซึ่งเป็นจิตไร้สำนึกของจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในสมองของสัตว์โลก
ทุกๆ ตัว รวมทั้งมนุษย์แต่ละคนเป็นปัจเจก) เป็นจิตสำนึก ส่วนจิตไร้สำนึกอีกอย่างหนึ่ง (บารมี) มาจากจิตรู้อันเป็นวิญญาณขันธ์ของผู้ที่ตายจากโลกนี้ (หรือภพภูมินี้) ไปแล้ว โดยที่จิตไร้สำนึกทั้ง 2 ส่วนนี้จะถูกบริหารโดยสมอง (ของผู้ที่เกิดใหม่) เป็นจิตสำนึกใหม่ไปเรื่อยๆ ตามลำดับและระดับของสเปกตรัมจิต (spectrum of consciousness) จวบจนได้ตรัสรู้นิพพาน ผู้เขียนจึงเชื่อ - เช่น เคน วิลเบอร์ เชื่อ และเขียนตลอดมา - ว่ามนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวงมีเป้าหมายของการเกิดมาในโลกนี้ล้วนมีเป้าหมายเพื่อการหลุดพ้น (transcendence) เราทั้งหลายต่างเดินทางแล้วเดินทางอีก เรียนรู้แล้วเรียนรู้อีก วิวัฒนาการเรื่อยๆ มา โดยมีเป้าหมายที่การเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงไปของจิต สัตว์มีเป้าหมายสุดท้ายที่จะต้องเกิดมาเป็นมนุษย์ และมนุษย์จะตายเพื่อเกิดใหม่ไปเรื่อยๆ ลองผิดลองถูกอยู่นั่นแล้ว แต่ละคนแต่ละชาติภพเพื่อแสวงหาสิ่งเดียว นั่นคือ วิวัฒนาการทางจิตสู่จิตวิญญาณ (spirituality) ไปเรื่อยๆ ตามสเปกตรัมที่ว่าข้างต้นนั้น - สู่นิพพาน
ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แม้จะแยกย่อยเป็นประวัติศาสตร์ของสังคมประเทศชาติใดๆ ก็เป็นไปในแนวนั้นโดยหลักการ ซึ่งสำหรับผู้เขียนแล้ว ประวัติศาสตร์ทั้งหมดเป็นการบอกกล่าวถึงการไหลเลื่อนเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตไร้สำนึกหรือจิตจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในสมองของมนุษย์ แล้วถูกบริหารโดยสมอง ให้มันมีวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ เป็นจิตสำนึกใหม่ตลอดเวลา การเรียนรู้คือวิวัฒนาการหรือการยกระดับจิตรู้ไปสู่ระดับหรือขั้นที่สูงขึ้น หรือการมีจิตสำนึกใหม่นั้นๆ ที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นเป้าหมายของชมรมจิตวิวัฒน์ ซึ่งมีผู้สนใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ
ในความเห็นของผู้เขียนที่พูดมาทั้งหมดนั้น แสดงว่าประวัติศาสตร์ชี้บ่งถึงการเคลื่อนไหวของจิตสู่จิตวิญญาณของมนุษย์ หรือชี้บ่งกระบวนการความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสวรรค์ ซึ่งก็คือวัฒนธรรมหรือศาสนาในอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้ รูปแบบที่สวรรค์มีความบริสุทธิ์ เช่นที่เรียกว่า ปรัชญาสากลนิรันดร (perennial philosophy) ความสัมพันธ์ของดินกับฟ้าที่แปลกมากๆ เพร
าะมีในทุกๆ วัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณ ไม่ว่าที่สุเมอเรีย-บาบิโลเนีย อียิปต์โบราณ จีน ลัทธิพระเวท ฯลฯ ที่เราไม่รู้ว่าใครเป็นคนคิดขึ้น ความบริสุทธิ์ที่ไมเคิล เมอร์ฟี เรียกว่า หลักการแห่งสวรรค์ (principle of divinity) นั่นคือ ศาสนาที่พูดถึงความเป็นทั้งหมด (wholeness) ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน นั่นคือ ศาสนาที่เป็นแก่นแกนของความจริงแท้ที่มีหนึ่งเดียวที่บอกว่า "มันเป็นเช่นนั้นของมันเอง" นั่นคือ ตถาตา (suchness)
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นคนที่ไม่เชื่อในศาสนาที่มีพระเจ้าเป็นเหมือนกับผู้ดูแลประชาชนเสมือนพ่อดูแลลูกๆ คือให้รางวัลเมื่อลูกทำดี แต่จะทำโทษที่ลูกๆ ทำชั่ว หรือขอพรขออะไรได้ที่เป็นความงมงาย แต่ไอน์สไตน์ก็เชื่อว่าเขาเป็นผู้ที่มีความเป็นศาสนาอย่างที่สุด (religiousness) ฉะนั้น ศาสนาที่เราใช้ๆ กัน หากคิดแบบที่ไอน์สไตน์คิดจึงเป็นคนละเรื่องกับการเป็นผู้ที่มีความเป็นศาสนาอย่างที่สุด
"จิตอารมณ์หรือความรู้สึกที่สวยงามที่สุดคือ ความรู้เร้นลับ (mystical) เพราะมันเชื่อมประสานศิลปะที่แท้จริงเข้ากับวิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งเดียว ผู้ใดที่ไม่เชื่อเช่นนั้นคือคนตายเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่ให้ปัญญาอย่างลึกล้ำ (wisdom) แก่เรา และมีอยู่จริงๆ...ความรู้ (ที่เร้นลับ) อันนี้ ความรู้สึกนี้คือสิ่งที่เรียกว่าความเป็นศาสนาอย่างที่สุด (religiousness) หากคิดเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็เป็นผู้มีความเป็นศาสนาที่สุด".
 
นั่นคือ ความสัมพันธ์กันอย่างที่แยกกันไม่ได้ระหว่างดินกับฟ้าหรือระหว่างดิน-มนุษย์-ฟ้าหรื
อสวรรค์ นั่นคือปรัชญาสากลนิรันดร นั่นคือประวัติศาสตร์ที่แท้จริง//
 
http://www.thaipost.net/sunday/040410/20318

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความทรงจำนอกมิติ : การแพทย์องค์รวมที่บูรณาการจริง ๆ
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 1 2209 กระทู้ล่าสุด 17 มกราคม 2554 00:15:27
โดย หมีงงในพงหญ้า
ความทรงจำนอกมิติ : จิตปฐมภูมิในพุทธศาสนา กับ สนามแห่งรูป
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2918 กระทู้ล่าสุด 16 มกราคม 2554 10:07:06
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : แสงกับความว่างเปล่าหรือสุญตา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 1913 กระทู้ล่าสุด 23 มกราคม 2554 08:21:18
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : จิต-สมองจักรวาลคือจักรวาลวิทยาใหม่ที่สุด
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2072 กระทู้ล่าสุด 30 มกราคม 2554 05:46:17
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : สมาธิ-สะกดจิตตัวเองกับอภิญญาจิตวิญญาณ
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 1764 กระทู้ล่าสุด 08 กุมภาพันธ์ 2554 08:42:05
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.801 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กุมภาพันธ์ 2567 22:11:05