[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 16:56:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ร้อน แล้ง รุนแรงสะท้านโลก  (อ่าน 1318 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2321


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2559 20:01:45 »




ร้อน แล้ง รุนแรงสะท้านโลก
โดย ทีมงานนิตยสาร ต่วย'ตูน

ปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่ประเทศไทยเราประสบกับภัยแล้งรุนแรง ภาคเกษตรประสบปัญหาอย่างหนัก อากาศร้อนจนผู้คนทุกข์ใจไปตามๆกัน ไฟป่าที่เกิดจากการเผาทำลายก็เป็นอีกประเด็นที่กลายเป็นข่าวดังไปทุกสื่อ ซึ่งในความสูญเสียก็มีข้อดีที่ทำให้หลายคนหันมาตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพยายามหาทางแก้ไข หากพวกเราใส่ใจและร่วมมือกันปกป้องโลกนี้อย่างจริงจัง เมื่อธรรมชาติถูกรบกวนน้อยลง ก็จะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ในเร็ววัน ขอเพียงแต่เมื่อเราผ่านพ้นความร้อนแล้งแล้วก็อย่าลืมเลือนถึงสิ่งที่เคยคิดไว้ก็แล้วกันครับ

โดยทีมงานนิตยสารต่วย’ตูน มีเรื่องร้อนๆแบบแสนสาหัสสุดหฤโหดในอดีตมาเล่าให้ฟัง เพื่อเป็นอุทาหรณ์จากวันวานให้เราได้มองต่อไปถึงอนาคตในวันหน้า จะได้ไม่ตั้งอยู่ในความประมาทกันครับ




ทั้งคนและสัตว์หนีตายจากไฟป่าลงน้ำ ในปี 1871.

ไฟป่าในประเทศไทยนั้น นับว่ายังไม่รุนแรงมาก เมื่อเทียบกับที่เคยเกิดขึ้นหลายๆแห่งบนโลกนี้ ตามที่มีการบันทึกไว้ ที่สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1871 เกิดความแห้งแล้งอย่างมากในช่วงฤดูร้อนที่ยาวนาน ทำให้เมื่อวันที่ 8-14 ตุลาคม 1871 มีไฟไหม้ป่าครั้งมโหฬารทางตอนเหนือของรัฐวิสคอนซินและมิชิแกน ความแห้งแล้งและลมพัดแรงจัดทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว มีพื้นที่ได้รับความเสียหายกว่า 5 ล้านไร่ ประชาชนอย่างน้อย 1,500 คนต้องเสียชีวิต

ในวันที่ 8 ตุลาคม เมืองชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ซึ่งอยู่ติดกับวิสคอนซินและมิชิแกนก็ถูกเพลิงผลาญจนย่อยยับไปในช่วงเวลาเดียวกัน เหตุการณ์ครั้งนั้นมีชื่อเรียกขานว่าเกรทชิคาโกไฟร์ (Great Chicago Fire) คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 300 คน บ้านเรือนซึ่งสร้างด้วยไม้ถูกเผาไปกว่า 18,000 หลัง คนนับแสนไร้ที่อยู่อาศัย เพลิงไหม้ครั้งนั้นลุกลามอย่างรวดเร็วเนื่องจากกระแสลมจากทะเลสาบมิชิแกนพัดโหมจนกลายเป็นประวัติศาสตร์เพลิงไหม้ในเมืองครั้งใหญ่ที่สุดของอเมริกา ซึ่งสาเหตุของอภิมหาเพลิงผลาญนั้น เล่าลือกันว่าเกิดจากเหตุขี้ปะติ๋ว คือวัวตัวหนึ่งเตะตะเกียงน้ำมันล้มลงไปบนกองฟาง แต่ในภายหลังมีการวิเคราะห์ว่าเป็นแค่การแต่งเรื่องให้น่าตื่นเต้นของนักข่าวยุคนั้น สาเหตุที่แท้จริงน่าจะมาจากสะเก็ดไฟจากไฟไหม้ป่าในวิสคอนซิน ที่ถูกกระแสลมตะวันตกเฉียงใต้อันรุนแรงพัดมาเจอเข้ากับเมืองที่เต็มไปด้วยอาคารไม้ซึ่งเป็นเชื้อไฟชั้น




ชิคาโกทั้งเมืองวอดวายในกองเพลิง

ในช่วงวันที่ 20-21 สิงหาคม 1910 ก็เกิดเหตุไฟป่าครั้งใหญ่ในรัฐไอดาโฮและมอนตานา ผืนป่าวอดวายไปกว่า 3 ล้านไร่ มีผู้เสียชีวิตไปถึง 87 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักดับเพลิงที่เสี่ยงภัยเข้าไปช่วยหยุดไฟป่าในครั้งนั้น

ข้ามมาดูทางทวีปออสเตรเลีย ก็เคยเกิดไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ ซึ่งเรียกกันว่า แบล็กฟรายเดย์บุชไฟร์ (Black Friday Bushfire) ในรัฐวิกตอเรียเมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ.1939 สร้างพิบัติภัยไปกว่า 5 ล้านไร่ มีผู้เสียชีวิต 71 คน บ้านเรือนและอาคารเป็นเหยื่อไฟไปกว่า 1,100 หลัง ควันและเถ้าธุลีจากการเผาไหม้ปลิวไปไกลถึงประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งห่างออกไปนับพันไมล์ และในช่วงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ -14 มีนาคม 2009 ก็เกิดไฟไหม้ใหญ่ที่วิกตอเรียอีกครั้ง กินพื้นที่ถึง 1.1 ล้านไร่ สิ่งปลูกสร้างถูกทำลายไปกว่า 3,500 หลัง มีผู้เคราะห์ร้าย 173 คนต้องตาย ซึ่งส่วนมากเสียชีวิตอยู่ในรถยนต์ที่พวกเขาพยายามขับหนีให้พ้นเปลวไฟมหากาฬ




เปลวไฟจากถังแก๊สระเบิดเนื่องจากไฟป่าในปี 1939 ที่ออสเตรเลีย.

เรามาดูฤทธิ์พระเพลิงที่เกิดจากการปะทุของความร้อนใต้โลกกันบ้างครับ เหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดสร้างมหันตภัยมาแล้วมากมายนับแต่โบราณกาล เหตุการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เราต้องเผชิญได้แก่การระเบิดของภูเขาไฟตัมโบรา (Tambora) บนเกาะซุมบาวา (Sumbawa) ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ.1815 การระเบิดครั้งนั้นรุนแรงพอๆกับระเบิดปรมาณู 60,000 ลูกพร้อมกันเลยล่ะครับ

เสียงจากการระเบิดของภูเขาไฟดังสะเทือนเลือนลั่นไปไกลกว่า 2,000 กิโลเมตร ลาวาร้อนฉ่าไหลบ่าท่วมไปทั่วเกาะและไหลลงไปไกลในทะเล เกิดคลื่นสึนามิซัดไปยังเกาะอื่นๆ ผู้คนบนเกาะซุมบาวาไม่น้อยกว่า 11,000-12,000 คนตาย เพราะการระเบิดโดยตรง และอีกกว่า 70,000 คน ทั้งบนเกาะซุมบาวาและเกาะใกล้เคียงล้มตายจากการเจ็บป่วยและโรค ระบาด รวมถึงความอดอยากหิวโหย ผู้คนอีกเรือนแสนต้องป่วยหนักจนแทบเอาชีวิตไม่รอดไปตามๆ กัน




ภูเขาไฟตัมโบราระเบิดคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาล.

เถ้าภูเขาไฟตัมโบราที่พุ่งสูงขึ้นไปหลายสิบกิโลเมตรในอากาศทำให้บริเวณนั้นไร้ซึ่งแสงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์พบว่า ภายหลังการระเบิดทำให้โลกได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์น้อยลงถึง 20% อุณหภูมิอากาศในแถบซีกโลกเหนือลดลงอย่างมาก เพราะฝุ่นละอองเถ้าภูเขาไฟลอยฟุ้งปิดบังผืนฟ้าจนมืดมัว อณูเถ้าธุลีเหล่านี้ลอยปะปนอยู่ในอากาศนานหลายปีกว่าจะตกสู่พื้นโลกจนหมด ในทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ และจีน ต้องเผชิญกับช่วงเวลากลางวันที่มืดมิดเป็นเวลานานนับสัปดาห์ ในปี 1816 ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือไม่มีฤดูร้อน การเกษตรและปศุสัตว์ในซีกโลกเหนือต้องเสียหายไปมหาศาล ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารอย่างเลวร้ายในช่วงเวลาหลังจากนั้นต่อเนื่องไปอีกนานหลายปี

การระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟตัมโบรา ซึ่งรุนแรงถึงระดับ 7 จากที่มีการจัดแบ่งความรุนแรงไว้เพียง 8 ระดับ ทำให้ยอดของภูเขาแหลกสลายไปถึง 1,400 เมตร กลายเป็นหลุมกว้าง 6 กิโลเมตร ลึก 1 กิโลเมตร เกิดทัศนียภาพที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น เกาะซุมบาวากลายเป็นเกาะร้างไร้ผู้คนไปอีกนาน




เถ้าธุลีจากภูเขาไฟกรากะตัว พวยพุ่งขึ้นสูท้องฟ้า.

เหตุภูเขาไฟระเบิดรุนแรงอีกครั้งหนึ่งที่อินโดนีเซีย ซึ่งแม้จะรุนแรงน้อยกว่าแต่ก็เป็นที่รู้จักกันมากกว่า เพราะเกิดขึ้นทีหลังเกือบ 70 ปี คือการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatoa) บนเกาะกรากะตัว ในวันที่ 26-27 สิงหาคม ค.ศ.1883 ลาวาอันร้อนแรงไหลท่วมทำลายทุกสรรพสิ่ง รวมถึงชีวิตผู้คน มีผู้เสียชีวิตจากผลกระทบของการระเบิดกว่า 36,000 คน เถ้าธุลีจากการระเบิดลอยสูงกว่า 80 กิโลเมตร บนเกาะโรดริเกซที่อยู่ห่างออกไปถึง 4,776 กิโลเมตร ก็ยังได้ยินเสียงระเบิด เกิดคลื่นสึนามิสูงกว่า 30 เมตร ซัดไปถล่มเกาะอื่นๆ แรงสะเทือนของแผ่นดินไหววัดได้ไกลถึงเกาะอังกฤษ

เหตุร้ายจากความร้อนใกล้บ้านเราเข้ามาอีกนิดหนึ่ง คือแผ่นดินจีนนั้นเคยเจอกับภาวะแล้งจัดจนเกิดทุพภิกขภัย อาหารขาดแคลนครั้งร้ายแรง เมื่อปี ค.ศ.1942 ซึ่งในช่วงนั้นเกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น รวมทั้งฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับฝ่ายรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งก็กำลังรบกันอยู่ด้วยเช่นกัน

มณฑลเหอหนานประสบภัยแล้งติดต่อกันมาหลายปี และความแห้งแล้งยิ่งแสนสาหัสในปี 1942 รัฐบาลก็เร่งเก็บภาษีเพื่อนำไปบำรุงกองทัพ ชาวบ้านแทบไม่เหลือพืชพันธุ์ไว้ปลูกและยังชีพ ใครจ่ายภาษีไม่ครบก็ต้องถูกบังคับขายทรัพย์สินอื่น รวมทั้งสัตว์เลี้ยงเพื่อนำมาชำระภาษีให้กับทางก




ปี 1942 ชาวเหอหนานอดอยากจนต้องกินเปลือกไม้.

สุดท้ายผู้คนจำนวนนับล้านพากันอพยพไปยังมณฑลซานซีที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อหนีความแห้งแล้ง คนที่พอมีเงินก็โดยสารรถไฟที่แน่นราวกับจับยัด เบียดเสียดกัน ทั้งในรถและบนหลังคา ที่ไม่มีเงินก็หอบหิ้วกันเดินเท้าไปอย่างน่าเวทนา ทั้งทารกและคนชรา เครื่องบินญี่ปุ่นก็บินมาโจมตีอย่างไร้ทางตอบโต้ ซากศพผู้คนล้มตายเกลื่อนกลาดตลอดทาง ความหิวโหยทำให้ต้องยอมกินทุกสิ่งทุกอย่าง ทว่าภัยแล้งก็ทำลายความอุดมสมบูรณ์ไปสิ้น ไม่มีแม้แต่ใบไม้ให้เก็บกิน บางคนถากเปลือกไม้มาทุบกิน บางคนขุดรากต้นข้าวที่แห้งกรังในนามาเป็นอาหาร ร่ำลือกันว่าถึงกับมีการกินเนื้อมนุษย์ รัฐบาลในช่วงนั้นก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ คนของรัฐยังฉ้อฉลทำให้การช่วยเหลือไปไม่ถึงประชาชน ผลจากความยากแค้นทุกข์ทรมานในช่วงปี 1942-1944 ทำให้ผู้คนล้มตายไปมากกว่าสามล้านคน

ความแห้งแล้งและอดอยากนี้ก็เป็นข้อสันนิษฐานหนึ่งที่เชื่อกันว่าอาณาจักรมายาซึ่งเคยยิ่งใหญ่อยู่ในทวีปอเมริกาต้องล่มสลายไป ชาวมายานั้นเคยมีอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ตั้งแต่ 500 ปี ก่อนคริสตกาลจนถึงราว ค.ศ.1500 พวกเขาก็หายสาบสูญไป ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าแปลกที่ชนเผ่าอันยิ่งใหญ่ มีความสามารถสูง มีความรู้ด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปะ มีปฏิทิน ชำนาญในการก่อสร้าง ทั้งพีระมิดแบบขั้นบันไดและวิหารที่สร้างไว้อย่างยิ่งใหญ่




มีข้อสันนิษฐานว่าชนเผ่ามายาต้องสูญสิ้นเพราะภัยแล้ง.

หลักฐานจากการสำรวจทางโบราณคดี ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า ชาวมายานั้นล้มตายและแตกกระสานซ่านเซ็นจนสูญสิ้นความรุ่งเรืองไปเนื่องจากความแห้งแล้ง ซึ่งทำให้ขาดแคลนทั้งอาหารและน้ำ จากการศึกษาซากเมืองเพเตน ในประเทศกัวเตมาลา พบว่า พื้นดินบริเวณนั้นมีแต่ละอองเกสรของหญ้า แทบไม่พบเกสรของต้นไม้ใหญ่เลย เป็นไปได้ว่าป่าไม้บริเวณนี้ถูกโค่นทำลายไปจนหมด เนื่องจากประชากรชาวมายามีอยู่อย่างหนาแน่นมาก การวิเคราะห์ชี้ว่าเมื่อป่าไม้หายไป อุณหภูมิจะสูงขึ้นราว 5-6 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ฝนตกน้อยลง น้ำในแหล่งน้ำระเหยมากขึ้น ความแห้งแล้งก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนชาวมายาทนอยู่ไม่ได้ในที่สุด

แม้จะเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ซึ่งอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่ก็เป็นอุทาหรณ์ให้เราได้หันกลับมามองประเทศของเราในยุคปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร และอนาคตของเราจะก้าวไปทางไหน หวังว่าเราจะเลือกคำตอบสุดท้ายได้ถูกต้อง เพื่อจะดำรงอยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุขไปอีกหลายยุคสมัย.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ร้อน ร้อน ร้อน แก้กระหายด้วย water
สุขใจ ห้องสมุด
sometime 1 1832 กระทู้ล่าสุด 25 เมษายน 2553 12:18:08
โดย sometime
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.373 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กุมภาพันธ์ 2567 22:19:44