[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 11:17:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บาร์โด หรือ คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต (อ.กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล)  (อ่าน 3439 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5069


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2559 02:52:02 »

<a href="https://www.youtube.com/v/xnn_DCq6Tpk" target="_blank">https://www.youtube.com/v/xnn_DCq6Tpk</a>

บาร์โดเป็นคำธิเบตที่มีความหมายเพียงแค่ " การเปลี่ยนผ่าน "
หรือช่องว่างระหว่างสถานการณ์ที่สิ้นสุดลง­และอีกสถานการณ์ที่
กำลังเกิดขึ้น บาร์ แปลว่า " ในระหว่าง " และโด แปลว่า " ถูกระงับ
" หรือ " ถูกโยน "

บาร์โดทั้งสี่
@ บาร์โด " ธรรมชาติ " คือ บาร์โดแห่งชีวิตนี้
@ บาร์โด " อันทุกข์ทรมาณ " คือ บาร์โดแห่งการตาย
@ บาร์โด " อันแจ่มกระจ่าง " คือ บาร์โดแห่งธรรมตา
@ บาร์โด " แห่งกรรม " คือ บาร์โดแห่งการถือกำเนิด

http://wisdom-update.blogspot.com/2013/08/1.html

http://www.tairomdham.net/index.php?topic=838.0

https://www.youtube.com/watch?v=YSUzg0CbA_E


<a href="https://www.youtube.com/v/geDRunJ6h-Q" target="_blank">https://www.youtube.com/v/geDRunJ6h-Q</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/C7jE7Lz7Whw" target="_blank">https://www.youtube.com/v/C7jE7Lz7Whw</a>


รู้ก่อนตายไม่เสียดายชีวิต
"ทำอย่างไรผู้อ่านจะกลับมามองชีวิต
ชีวิตที่ยิ่งใหญ่คือชีวิตที่ได้มีการเตรีย­มจิต "
อ.กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล กล่าวในงานเสวนาแนะนำหนังสือเล่มใหม่
วันนี้ 3 เมษายน ณ บ้านมูลนิธิพันดารา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่ของทิเบตจาก­คัมภีร์มรณศาสตร์
ในรูปแบบที่ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจได้ง่าย การเดินทางของจิตที่ไม่ได้สิ้นสุด
เมื่อเราตาย องค์ความรู้นี้เป็นองค์ความรู้สำหรับทุกคน ไม่ใช่เพียงเฉพาะครูบาอาจารย์ เพราะทุกชีวิตมีศักยภาพที่จะตื่นรู้ได้ ซึ่งต้องอาศัย
การเตรียมจิตมาอย่างดี หนังสือได้ให้ความรู้การแตกสลายของธาตุ
และบาร์โดต่างๆ ซึ่งเป็นสภาวะเชื่อมต่อ หลักการของการเตรียมจิต
เทคนิคการปฏิบัติภาวนา และประเพณีปฏิบัติในการจัดการความตาย
ของทิเบตทำอย่างไรให้เราใช้ชีวิตที่เหลือใ­ห้ดีที่สุด ให้เกื้อหนุนดวงจิต
ของเรา เพื่อเตรียมตัวสำหรับวาระที่สำคัญที่สุดขอ­งชีวิต เป็นคำถามสำคัญที่อ.กฤษดาวรรณ กล่าวทิ้งท้ายไว้



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5069


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2559 02:59:49 »

บาร์โด โทโดล (Bardo Thodol) คัมภีร์มรณศาสตร์ทิเบต

บทที่ 1

Bardo Thodol คืออะไร



คำว่า “บารโด โทโดล (The Bardo Thodol)  เป็นที่รู้จักกันในชื่อคัมภีร์มรณะศาสตร์แห่งทิเบต ที่ถูกนำมาเผยแพร่โดย ดร.วอลเตอร์ วาย อีวาน-เวนทซ์
คำว่าบาร์โด โทโดลหมายถึงความหลุดพ้นจากการได้ยิน หรือได้ฟังจากหลังที่เราตายไปแล้ว , บาร์โดหมายถึงช่วงหลังความตาย ส่วนคำว่าโทโดลหมายถึงการหลุดพ้นจากการฟังหรือได้ยิน ซึ่งนี่คือการเดินทางของเราหลังความตายมี 3 ขั้นตอน

The Chikhai Bardo หรือ ประสบการณ์ภาวะแสงกระจ่าง หรือจิตดั้งเดิม (“the experience of the primordial or primary clear light.")
The Chonyid Bardo หรือประสบการณ์แห่งเทพปางสันติและปางดุ บางแห่งแปลว่าปางพิโรธ (the experience of the peaceful and wrathful deities.)
The Sidpa Bardoหรือบาร์โดแห่งการเกิด

เมื่อมีคนในครอบครัวเสียชีวิตลง พระลามะจะถูกเชิญมาสวดมนต์ ทำพิธีกรรมต่างๆ เปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องทำบุญ และสวดคัมภีร์รณศาสตร์แห่งทิเบตเสริมเพื่อเป็นการนำทางให้กับวิญญาณของผู้ตายที่กำลังเข้าสู่อาณาจักรหลังความตายที่ตนเองไม่เคยรู้จักยามที่ยังมีชีวิต ในทางปฏิบัติคัมภีร์รณศาสตร์แห่งทิเบตนี้ไม่เพียงใช้สวดเฉพาะในงานศพเท่านั้น แต่ยังแนะนำจากพระลามะด้วยความปราถนาดีให้ผู้คนได้อ่านเรียนรู้เพื่อจะได้เตรียมตัวตายได้อย่างถูกต้องและเป็นไกด์นำทางหลังความตาย

บทความที่แปลลงในบล็อค จะมีเนื้อหาคร่าวๆเพื่อแนะนำ ทั้งนี้ในคัมภีร์รณศาสตร์แห่งทิเบต เต็มไปด้วยคำสอน ภาษา ปรัชญา สัญลักณ์จำนวนมากมาย หากสนใจให้ค้นหาอ่านจากในเวบต์หรือหนังสือ



วัตถุประสงค์ของ “บาร์โด โทโดล”

          พระพุทธศาสนาคือคลังแห่งปัญญาที่ยิ่งใหญ่เต็มไปด้วยเรื่องอันอัศจรรย์มากมาย และหนึ่งในนั้นคือ การเผยแจ้ง “ภายใน” ซึ่งรวมถึงกระบวนการเกิดและการตาย และกระบวนการของชีวิตนั้นไม่แตกต่างจากกลไลของระบบจักรวาลวิทยา ควอนตัมฟิสิกส์ พวกศึกษาระดับอะตอมอนุภาคและรวมถึงบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่กำลังไขปริศนาของชีวิต และก็เหมือนวิทยาศาสตร์ที่อุทิศตนในการเรียนรู้ ศึกษา ปฏิบัติ ต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเข้าถึงประสบการณ์จริงตามที่อธิบายไว้ในคำสอน

          ระหว่างที่เรายังมีชีวิต จิตที่ประภัสสรดั้งเดิมถูกบดบังด้วยกิเลสและกรรม ทำให้คนๆนั้นไม่เห็นภาวะพุทธะในตนเอง นี่เองที่คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบตได้สอนให้รู้จึกการเปลี่ยนแปลงจิตตนเองระหว่างชีวิตหลังความตายให้บริสุทธิ์และตระหนักรู้ถึงภาวะเดิมของจิต ดังนั้นเมื่อตายลงไป แต่ละคนจะเข้าสู่ภาวะที่แสงกระจ่างของจิตเดิมกินระยะเวลานานมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ผลของการกระทำในขณะที่ยังมีชีวิต
ดังนั้น การฝึกจิตให้เข้าถึง “ภาวะจิตดั้งเดิม (พินทุของจิตดั้งเดิม)” ให้นานต่อเนื่องในระหว่างวัน ระหว่างที่ยังมีชีวิต จนมีความชำนาญในการวางจิต จึงจะพอให้ความหวังได้ว่าคุณจะมีโอกาสรอดปลอดภัยในช่วงประสบการณ์หลังความตาย ไม่เช่นนั้นแล้ว กระแสของกรรม อกุศลกรรมที่รุนแรงของจิตจะรุมเร้า ย้อนกลับมาและคุณไม่มีทางต่อต้านกระแสกรรมเหล่านี้ คุณจะถูกมันลากจูงไปด้วยแรงของกรรมในโลกหลังความตาย ยกเว้นว่าคุณช่างโชคดีที่มีใครสักคนช่วยให้คุณผ่านวิฤกษครั้งนี้ ด้วยการอ่านคัมภีร์บาร์ด โทโดล เพื่อนำทางให้คุณปลอดภัย

ศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า consciousness ซึ่งคำๆนี้มีคำแปลหลายนัยยะ เช่น สติบ้าง สำนึกรับรู้บ้าง และยังหมายถึงพินทุที่เป็นจุดละเอียดของจิตดั้งเดิมที่ไม่มีหน้าตา รูปร่างลักษณะ เป็นความสว่างไสวของจิตดั้งเดิม ซึ่งในกรณีนี้คำจะขอใช้คำว่า “พินทุของจิตดั้งเดิม”


วิญญาณ (The Soul)




          
 เมื่อเราพูดเรื่องความตาย บางคนมองภาพว่าเมื่อคนเราตายไปแล้วก็จบสิ้นกันไป ไม่มีอะไรต่อหลังความตาย แต่พุทธศาสนามีมุมมองที่แตกต่างออกไป สำหรับชาวพุทธแล้วความตายไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่เป็นการเปลี่ยนผ่านชีวิตจากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางอย่าง  แต่ถ้ามองว่าชีวิตคือการไม่สิ้นสุดดำรงนิรันดร์ นี่ก็ไม่ใช่มุมมองของพุทธศาสนาด้วยอีกเช่นกัน

          พุทธศาสนาปฏิเสธการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆว่าคงทนถาวร หรือบางสิ่งที่คงตัวไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะเปลี่ยนผ่านภพระหว่างมีรูปชีวิตหรือไม่มีรูปก็ตาม พระพุทธศาสนาปฏิเสธวิญญาณนิรันดร์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เชื่อในกฏแห่งกรรมที่พลังงานของกฏแห่งกรรมเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป และเพราะความเปลี่ยนแปลงนี้เอง จึงไม่มีบุคคลที่มีตัวตนถาวร

เหมือนกับการยกตัวอย่างเปรียบเทียบแสงเทียนกับเทียนไข ที่เทียนเล่มหนึ่งมีเปลวไฟและเปลวนั้นได้ดับลง แต่ก็ถูกจุดมาใหม่ในเทียนอื่นๆ ซึ่งแม้จะมีรูปแบบเดิม แต่ไม่ใช่เทียนเดิมและแสงเดิม แม้การปรากฏจะมีรูปแบบเดิมๆ เฉกเช่นเดียวกับชีวิตทั้งปวง

เหมือนกับเปลวไฟ นิสัยเดิมที่มีพันธะกรรมในร่างกายใหม่ หลังจากละทิ้งของเดิมแต่ก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เหมือนเทียนเล่มใหม่ที่เป็นเชื้อเพลิง ชีวิตก็จะดำเนินไปภายใต้รูปใหม่ เงื่อนไขใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงของกรรม

รู้จัก “ตรีกาย”

ในพระพุทธศาสนาจะกล่าวถึงกายไว้สามกายเรียกว่า “ตรีกาย” ประกอบด้วย

-      นิรมานกาย
-      สัมโภคกาย
-      ธรรมกาย


ซึ่งตรีกายนี้ เป็นภาวะที่จะอยู่ในบาร์โด ในขณะที่เรายังเป็นมนุษย์ เราเองก็อยู่ในบาร์โดของการปรากฏของสิ่งที่จับต้องได้ และกายที่เด่นในบารณ์โดนี้คือนริมานกาย แต่ขณะที่อยู่ในโลกหลังความตาย จะมีสัมโภคกายและธรรมกายที่มีบทบาทเด่นและรองลงมา

เมื่อกายหยาบหยุดทำงาน ธาตุสี่แยกสลาย เหลือแต่จิตและจิตนี้จะปรุงแต่งมีสภาพรูปกายของจิตที่แตกต่างกันไปไม่แน่นอน (awareness-body) ตามสภาพความเข้าใจของจิต ก่อนจะเรียนรู้เรื่องบาร์โด เราควรมาทำความเข้าใจอย่างน้อยก็คร่าวๆเกี่ยวกับ “ตรีกาย”

ธรรมกาย

          ในด่านแรกของบาร์โดที่เรียกว่า Chikhai Bardo, จิต (consciousness) จะเจอประสบการณ์ภาวะธรรมกาย ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นพระพุทธเจ้าอธิพุทธะ พระวรกายเปล่าสีฟ้า ซึ่งเป็นสีของสติที่บริสุทธิ์ (intensive pure awareness) จะเกิดเมื่อจิตดำรงในสมาธิ ในภาวะที่จิตอยู่ในธรรมกาย สิตทีบริสุทธิ์จะมีรูปแบบก่อนกำเนิด (primordial beginning) สิ่งนี้ปรากฏอยู่เป็นหนึ่งเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ เต็มไปด้วยศํกยภาพของการสร้างสรรค์จิตวิญญาณทุกรูปแบบ (consciousness) และนี่คือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งและเป็นจุดสิ้นสุดในภาวะไร้รูป
 
สัมโภคกาย

          ในขั้น Chonyid Bardo, จิตวิญญาณ (consciousness) จะเจอประสบการณ์ภาวะของสัมโภคกายหรือกายของจิตวิญญาณที่เกิดจากปีติและจิตวิญญาณนั้นเปลี่ยนรูปจากการสำแดงของใจ

          เพราะว่าเรายังมีทิฐิที่ติดอยู่กับมุมมองที่ยึดติดแบบโลกๆ เราเข้าใจว่าสัมโภคกายคือกายของสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในดินแดนสรวงสรรค์ ดังนั้นเมื่อใจหรือจิตของเราเจอพลังกุศลของจิตตนเอง ก็จะเจอประสบการณ์ของเทพปางสันติ แต่ถ้าจิตผันแปรเป็นอกุศล จิตจะสะท้อนภาพพบเจอเทพปางพิโรธหรือเจอเทพมาร
 
นิรมานกาย

 ด่านสุดท้ายของการเดินทางเรียกว่า “Sidpa Bardo” ในด่านนี้จิตวิญญาณ ( consciousness)  จะเข้าสู่กระบวนการเปลือกหุ้มใหม่กายภายนอก ที่เรียกว่านริมานกาย แสดงว่าพร้อมที่จะจุติในภพภูมิใหม่ และนี่ตอนที่อ่านอยู่นี้คือรูปนิรมานกายของจิตนั้นเองและการมีรูปนิรมานกายคือการเข้าถึงความทุกข์ได้ง่าย เพราะกายนี้ไม่มั่นคงถาวร แตกดับสลายง่าย เหมาะสมแก่การที่จิตจะเห็นและเข้าใจกฏไตรลักษณ์ได้ง่าย

สำหรับมหายานแล้ว ในทุกช่วงขณะชีวิตเราล้วนมีประสบการณ์ทั้งสามกาย จิตใจมุนษย์ในกายมนุษย์ที่เรียกว่านริมานกาย, สัมโภคกายคือเมื่อเราฝึกสิต ฝึกจิต มีความสงบนิ่งเป็นพลังงานของจิตที่ต่อเนื่อง ส่วนธรรมกายคือเมื่อเราภวานาแล้วเราเข้าใจธรรมะ จิตเป็นธรรมะสะเอง ปล่อยวางกิเลสได้ จิตไม่กอดหรือดึงดูดกิเลสเข้ามาสามารถตัดทิ้งได้



จาก http://wisdom-update.blogspot.com/2013/08/1.html

<a href="https://www.youtube.com/v/371h2b4weQY" target="_blank">https://www.youtube.com/v/371h2b4weQY</a>

การแตกสลายของธาตุในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

<a href="https://www.youtube.com/v/2zoKgtbafnE" target="_blank">https://www.youtube.com/v/2zoKgtbafnE</a>

bardo แห่งความฝัน

<a href="https://www.youtube.com/v/6i1nCv5AlOE" target="_blank">https://www.youtube.com/v/6i1nCv5AlOE</a>

การสะสางเรื่องที่ค้างคาก่อนวาระสุดท้าย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มิถุนายน 2559 03:24:09 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5069


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2559 03:07:17 »

บาร์โด โทโดล: คัมภีร์มรณศาสตร์ทิเบต 2



บทที่ 2

ด่านขั้นตอนของการเดินทางในบาร์โด


ใครที่เป็นลูกหลานคนจีน หรือไปงานศพของชาวจีน จะเห็นพิธีจัดกงเต๊ก สมัยก่อนจะเป็นพิธีใหญ่เต็มขั้น เพราะเชื่อกันว่า เมื่อสิ้นลมหายใจไปแล้ว วิญญาณบางดวงยังตั้งตัวไม่ได้ หรือยังตัดใจไม่ได้จากเรื่องราวทางโลก ยังเป็นห่วงอยู่ ยังวนเวียนในโลกหลังความตาย ระยะเวลาช่วงนี้ประมาณ 49 วัน และหลังจากนั้นวิญญาณจะต้องไปจุติตามพลังบุญกุศลหรืออกุศลของตนเอง แต่บางวิญญาณก็จะไปจุติเร็ว บางวิญญาณอาจจะรอญาติทำบุญอุทิศแล้วอนุโมทนาบุญจึงไปจุติในภพภูมิที่ดี บางดวงวิญญาณก็จุติเลยภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์ แต่ละดวงวิญญาณจะใช้เวลาไม่แน่นอนในช่วงบาร์โด 49 วัน

          ในทางพุทธศาสนาก่อนที่วิญญาณดวงใดจะไปจุติใหม่ มีตาทิพย์มองเห็นภพในอนาคตของตนเอง เช่นเกิดเป็นสัตว์อาจจะมองเห็นทุ่งหญ้าแล้วติดใจชอบ หรือเกิดเห็นภาพที่ตนไม่ชอบแล้วเกิดโทสะดูดเกิดในภพอสุระ เป็น เมื่อไปเกิดใหม่ก็จะได้รูปกายของกรรมใหม่ในภพใหม่ ดวงวิญญาณส่วนใหญ่จะ “ตั้งสติ” ระลึกรู้ไม่ได้ ไม่เหมือนตอนที่ยังเป็นมนุษย์ยังมีสติกำหนดรู้ตั้งสติได้ทัน เมื่อตั้งสติไม่ทันต่อ โลภ โกรธ หลง ก็จะไปจุติตามผลกรรมนั้นๆ ด่านหรือขั้นตอนที่จิตจะต้องผ่านเส้นทางของบาร์โดเพื่อการเปลี่ยนผ่านภพมีดังนี้

1. The Chikhai Bardo หรือ ประสบการณ์ภาวะแสงกระจ่าง หรือจิตดั้งเดิม (“the experience of the primordial or primary clear light.")



ด่านแรกที่เรียกว่า Chikhai Bardo  จะมีระยะเวลาราว3-4 วัน และในขั้นตอนนี้ เมื่อผู้ตายกำลังหมดลมหายใจ ธาตุแตกสลายจะพบเจอประสบการณ์เห็นจิตอันบริสุทธิ์ของตนเอง เมื่อจิตกำลังจะออกจากร่าง เหมือนกับที่จิตก่อนจะนอนหลับ จิตจะรวมตัวเพื่อถอนจิตจากสัมผัสทางกายแต่มันเกิดเร็วมาก จนจิตปกติตามไม่ทัน คนส่วนใหญ่จะตามจิตที่รวมอย่างธรรมชาติในชีวิตประจำวันไม่ทัน เพราะสติไม่มีกำลังต่อเนื่องและไวพอๆกับความไวของจิต

          ผู้ที่เคยผ่านการปฏิบัติภาวนาจะสามารถยืดสภาวะความสว่างไสวของแสงกระจ่างในขั้นแรกนี้ได้นาน แต่คนส่วนใหญ่จะเกิดเร็วจนตั้งหลักไม่ทันและภาวะแสงกระจ่างก็ได้ผ่านไป ภาวะของแสงกระจ่างเมื่อเราเข้าไปอยู่ในภาวะนั้น จะปราศจากอคติ ไม่ปรุงแต่งทางความคิด หรือยึดติดต่อสิ่งใด

    2 The Chonyid Bardo หรือประสบการณ์แห่งเทพปางสันติและปางดุ บางแห่งแปลว่าปางพิโรธ (the experience of the peaceful and wrathful deities.)



หลังจากจิตจดจำจิตเดิมของตนเองไม่ได้ ก็จะผ่านภาวะแสงกระจ่างอย่างรวดเร็ว บางคนเกิดเป็นสายฟ้าแลบแล้วหายไป ก็จะมาเข้าขั้นตอนนี้ ด่านที่สองของบาร์โดเรียกว่า Chonyid Bardo

ตอนนี้กายวิญญาณถูกสร้างจากสัญญาเดิมเป็นรูปวิญญาณแล้ว กายวิญญาณสร้างมาจากกรรมที่ถักทอเอาไว้ เมื่อผู้ตายผ่านด่านนี้ จะพบเจอกับภาพนิมิตของ “เทพ(deities)ที่หลากหลาย” แปลกๆมากมาย ซึ่งเทพนิมิตเหล่านีล้วนสะท้อนประสบการณ์ชีวิตของราที่ผ่านมาว่าก้าวหน้าหรือถอยหลัง และในงานของพุทธทิเบต เทพนิมิตเหล่านี้มีความหมายหลายอย่างรวมถึงเป็นภาพของสัญลักษณ์ ที่สะท้อนจิตของผู้ตายเองที่ปรากฏฉายภาพหลังความตาย  และภาพเทพนิมิตนี้ก็ปรากฏในภาพมันดาลาจำนวนมากของทิเบต ที่สะท้อนระดับจิตระดับสูงภายในที่ซ่อนอยู่ และนี่คือภาพที่สะท้อนกรรม อารมณ์ จิตใจ ธรรมะ ของตนเองในรูปแบบนิมิตต่างๆ และคนส่วนใหญ่จะไม่ได้ถูกฝึกให้จดจำหรือเข้าใจภาพนิมิตที่สร้างมาจากตนเอง ว่าเราควรจะรับมือกับนิมิตที่รุนแรงในด่านที่สองอย่างไร  ในด่านนี้ เราจะพบเจอกับเทพหลากหลายมากายแบ่งเป็น 2 แบบดังนี้

-      กลุ่มเทพปางสันติ   (The Peaceful Deities) ประมาณช่วงวันที่ 4-11
-      กลุ่มเทพปางดุพิโรธ ( The Wrathful Deities) ประมาณระหว่างช่วงวันที่ 12-19

3. The Sidpa Bardoหรือบาร์โดแห่งการเกิด

เมื่อผ่านบาร์โดสองด่านแรกแล้วผู้ตายก็ยังไม่ตระหนักทราบว่า จิตนี้เป็นพุทธะ ก็จะมาสู่ด่านสุดท้าย ด่านที่จะต้องไปเกิดใหม่ใน 6 ภพภูมิ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 20-49 วัน นี่เป็นด่านสุดท้ายที่จะบอกว่า เรากำลังจะกลับลงมาสู่สังสารวัฏแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ในด่านนี้จะต้องได้รับการตัดสินพิพากษาจากพระยายมราช หรือทิเบตเรียกว่า “ธรรมราชา” เทพเจ้าแห่งความตาย  ผู้ปกครองนรกทั้งปวง

แม้บาร์โดจะมี 49 วันประกอบ และด่านสุดท้ายช่วงเวลาระหว่าง 20-49 วัน แต่ประสบการณ์ของผู้ตาย เมื่อเข้าสู่ด่านนี้ก็จะทราบชะตากรรมตั้งแต่วันแรกๆว่า ผลของกรรมจะพาไปเกิดในภพภูมิใด และอีก 7 วัดสุดท้ายก็จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงสถานที่จะไปจุติใหม่ และแล้วกระบวนการในบาร์โดระหว่างเปลี่ยนภพภูมิก็เสร็จสมบูรณ์



เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อเข้าสู่บาร์โด

ในทางพุทธศาสนาจะถูกสอนให้เตรียมตัวตาย แต่ละนิกายก็อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่วัตถุประสงค์เดียวกันเพื่อตั้งหลักมีสติ มีธรรมะในขณะที่จิตสิ้นลมให้ตั้งอยู่ในจิตที่เป็นกุศล ดังนั้นช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ควรจะหมั่นเรียนรู้ ศึกษา ปฏิบัติ เตรียมตัวให้พร้อมในการเดินทางช่วงบาร์โด

1. เข้าใจเรื่อง กรรม ผลของกรรมในชาติที่แล้ว ภพภูมิ สังสารวัฏ

          ชาวพุทธส่วนใหญ่จะเข้าใจเรื่องกฏแห่งกรรมและผลของกรรมที่ผู้ทำจะต้องเป็นผู้รับผลของมัน และตราบใดที่ยังละอวิชชาไม่ได้ ตราบนั้นก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เพื่อไม่ให้พลาดพลั้งตกในภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์

          ขณะที่ยังมีชีวิตหมั่นสร้างกุศลบ่อยๆ ภาวนาจนจิตสว่าง เห็นจิต เข้าใจการทำงานของจิตเมื่อโดนความคิดปรุงแต่งลากไป พัฒนาจิตใจไปยิ่งๆ ผลบุญกุศลที่สร้างเป็นบารมีหรือพลังปีติให้เรา ยามเข้าไปอยู่ในบาร์โด และอย่างน้อยก็ส่งผลให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีต่อไป เพื่อสร้างบารมีจนกว่าจะบรรลุธรรม

2. หาความรู้ เรื่องชีวิต ความตายและการเกิด.

ใครทีตายไปด้วยความหลง รับประกันได้ว่า จุดหมายปลายทางเป็นไปด้วยความมืดมิด นรก หรือสัตวเดรัจฉาน ผู้ที่เต็มไปด้วยความหลงนานาประการ แสดงว่าพวกเขาขาดการบ่มเพาะการตระหนักรู้แจ้งภายในอย่างมาก ขาดปัญญาอันเป็นแสงสว่างนำทางในบาร์โด เมื่อใดที่ผ่านบาร์โดแล้วเราตระหนักทราบว่ามันคือจิตที่ยึดติดหลงของเราด้วยปัญญา ก็จะเป็นนิมิตหมายที่ดี พาไปเกิดในสวรรค์


3. จิตที่เคยปฏิบัติภาวนา จนจิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส หรือความคิดปรุงแต่งมาบ้าง จิตที่เคยหัดทางกุศลบ่อยๆ

จาก http://wisdom-update.blogspot.com/2013/08/2.html


<a href="https://www.youtube.com/v/Ft4pi6zCj10" target="_blank">https://www.youtube.com/v/Ft4pi6zCj10</a>

เตรียมตัวตาย

<a href="https://www.youtube.com/v/gmHta4KWsNs" target="_blank">https://www.youtube.com/v/gmHta4KWsNs</a>

ตัณหานำไปเกิด

<a href="https://www.youtube.com/v/f9cW3fURW3I" target="_blank">https://www.youtube.com/v/f9cW3fURW3I</a>

การตั้งจิตแบบโพธิสัตว์

<a href="https://www.youtube.com/v/Oh8XFeU6ao4" target="_blank">https://www.youtube.com/v/Oh8XFeU6ao4</a>

บาร์โดแห่งการถือกำเนิด

<a href="https://www.youtube.com/v/rTEvNTSxVeU" target="_blank">https://www.youtube.com/v/rTEvNTSxVeU</a>

บาร์โดแห่งชีวิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มิถุนายน 2559 03:23:41 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มันดาลา หรือ เบญจคุณ พลวัตแห่งความว่าง: ปัญจพุทธกุล หรือ พลังปัญญาห้าสี
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 6 13059 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2553 14:51:03
โดย มดเอ๊ก
ศรัทธาทุกย่างก้าว บนทางยาว 80 กม. ของ ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมย์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1816 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2553 20:51:01
โดย มดเอ๊ก
ชีวิต ศรัทธา 'อ.กฤษดาวรรณ' เพื่อศาสนาพุทธทิเบต
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2522 กระทู้ล่าสุด 08 มีนาคม 2554 10:52:10
โดย หมีงงในพงหญ้า
เรียนรู้ มรณานุสติผ่าน บทสวดรัตนมาลัย (บทสวดมนต์แบบทิเบต) โดย อ.กฤษดาวรรณ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1155 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2559 23:40:00
โดย มดเอ๊ก
การเดินทางของจิต ในชีวิตหลังตาย ( รศ.ดร. กฤษดาวรรณ ประธานมูลนิธิพันดารา)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 994 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2559 00:26:08
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.672 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 27 เมษายน 2567 07:37:32