[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 04:56:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิปัสสนาบนหน้าข่าว : วัตรปฏิบัติวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 1213 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2559 02:22:10 »



วัตรปฏิบัติวัดหนองป่าพงจ.อุบลราชธานี : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา

              ความเรียบง่ายของสมณะ

              เล็กๆ แต่งดงาม ...

              สูงสุดคืนสู่สามัญ...

              ของจริงนิ่งเป็นใบ้ฯ...

              ฯลฯ

              ยังมีคำกล่าวจากปราชญ์ อีกมากมายที่ชื่นชม ความเรียบง่าย โดยดุษฎี ... ที่วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ซึ่งหลวงพ่อชา สุภัทโท ก่อตั้งขึ้น จนถึงปัจจุบัน ขยายสาขาไปกว่า ๒๐๐ วัดแล้วนั้น ท่านได้กำหนดข้อวัตรไว้อย่าง ละเอียด แน่นหนา สอดรับกับพระธรรมวินัยอย่างเคารพบูชา ทำให้ระบบสังฆะของหนองป่าพงนั้นเข้มแข็งตราบจนปัจจุบัน

              ผู้เขียนเองพูดได้เต็มปาก เพราะเคยบวชเรียน และปฏิบัติที่วัดสาขาท่านมาแล้ว แม้จะเป็นมหานิกายก็จริง แต่ที่นั่น เราขบฉันกันมื้อเดียว ฉันเฉพาะในบาตร พวกเราเดินบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่มีข้อแม้ ไม่มีความคาดหวัง ว่าจะได้อะไร ใส่เข้ามาในบาตรหรือไม่ ได้เท่าไร ฉันเพียงเท่าเดิม ไม่มากไปกว่านั้น ได้น้อยเกินไป ก็ฉันเท่าที่ได้ ไม่ได้อะไรเลย ก็งดฉัน (ฉันแต่น้ำ) ลองงดฉันสักวันสองวัน ไม่ตายดอก ถือเป็นการทรมานกิเลสตัณหาไปโดยปริยาย ... นี้คือความง่าย ความงาม และการฝึกจิต

              ในขณะที่ บ้านของฆราวาสผู้มากมีฐานะ เขาออกแบบกันใหญ่โต เกินความจำเป็น ที่นอนก็มีทั้งเตียงเล็ก เตียงใหญ่ สารพัด วัสดุข้างในเป็นเบาะสารพันชนิด มีตั้งแต่ กากมะพร้าวธรรมดา เบาะฟองน้ำ ยางพารา ใยสังเคราะห์เข้ารูป ป้องกันเชื้อโรค เชื้อรา ไปจนกระทั่งถึงขั้นพิสดาร เช่น เตียงน้ำ ฯลฯ บางเตียงก็ใช้ทุนสร้างกันเป็นแสนๆก็ยังมี บางทีเฉพาะหมอนวิเศษใบเดียว ก็หลายหมื่นบาทแล้ว! แต่ก็น่าแปลก คฤหัสถ์ผู้มีอันจะกิน บางคนในจำนวนนั้น ก็ยังคงเป็นโรคนอนไม่ค่อยจะหลับกัน

              ในขณะที่สมณะผู้เดินตามรอยพระพุทธองค์ ท่านนอนบนที่นอนอันแสนจะเรียบง่าย (บางทีพวกท่านมาเห็นแล้ว อาจจะไม่อยากเรียกว่าที่นอนเลย ก็เป็นได้) สมณะบางท่าน มีที่หลับนอนเป็นเพียงแค่ผ้าปูรองผืนเดียว ส่วนหมอนนั้นก็ใช้เป็นหมอนไม้ แม้แต่ยามจะพักผ่อน สมณะเหล่านั้น ยังเริ่มด้วยการนอนสมาธิ ด้วยซ้ำไป แต่การหลับลงทางกายของท่าน ช่างง่ายดาย หลับลึก มีประสิทธิภาพจริงๆ

              เสื้อผ้าอาภรณ์ของสมณะเหล่านั้น ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ ท่านใช้ผ้าไตรจีวรตลอดกาล อย่างมากก็มี อังสะ และ จีวรอดิเรก เพื่อเสริมเท่านั้น พระแท้จึงไม่มีตู้เสื้อผ้าแต่อย่างใด ส่วนคนเรา โดยเฉพาะสุภาพสตรี อาจมีตู้เสื้อผ้า ใหญ่กว่า กุฏิพระทั้งหลัง ด้วยซ้ำ ( เรื่องนี้ผมยืนยันได้ กุฏิที่ผมจำอยู่ ตอนเป็นพระ กว้าง-ยาว แค่ ๒X ๑.๕ เมตรเท่านั้นเอง) ... ไตรจีวรที่ขาดแล้วขาดอีก ก็เป็นธรรมเนียมที่ทำสืบต่อกันมา ให้ปะ-เย็บ-ชุน ปะแล้วปะอีก ชุนจนเปื่อย ใช้นุ่งไม่ได้แล้ว จึงค่อยนำมาทำประโยชน์ ใช้สอยอย่างอื่น เป็นขั้นๆลงมา ตั้งแต่ ผ้าปูรองนั่ง ผ้าเช็ดเท้า ฯลฯ ไปจนถึง ยุ่ยให้เป็นผงผสมกับดิน โบกผนังกุฏิเลย

              ห้องน้ำของประดาผู้ลากมากดี ก็เช่นกัน พวกเขามีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน ฝักบัวน้ำอุ่น ปรับอุณหภูมิได้ตามต้องการ แม้ระดับทศนิยม! กระเบื้อง หรือ สุขภัณฑ์ราคาแพง ฉีกน้ำอุ่น น้ำเย็น ล้างก้นได้ระดับราคารวมกันเป็นหลักล้าน ผมเองก็ไม่แน่ใจว่ามันเกินความจำเป็นไหม ในขณะที่ ท่านอาจารย์พุทธทาส สรงน้ำกลางแจ้ง มีเพียงโอ่งมังกรเก่าๆ ฝาโอ่ง กับขันโกโรโกโสใบหนึ่งเท่านั้น ท่านจะนุ่งอังสะ เดินเท้าเปล่า มาตักน้ำอาบ เพียงไม่กี่ขัน อย่างเรียบง่าย จะมีแต่ก็สบู่ก้อนละไม่กี่บาท ที่ใช้ถูทั้งตัว ทั้งหน้า ทั้งหัว ทั้งซักอังสะ ผ้านุ่งไปด้วยในเวลาเดียวกัน (ประโยชน์สูง - ประหยัดสุด ตามนโยบายสวนโมกข์โดยแท้) อาบไป ก็รดน้ำให้ต้นไม้ ใบหญ้าไปด้วย ช่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติโดยแท้ ... ว่ากันว่า ท่านมีเพื่อนอยู่ด้วยในขณะสรงน้ำ คืองูตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่แถวนั้น ... ช่างเป็นวิถีที่เรียบง่าย แต่งดงาม ดำเนินรอยตามพุทธวิถี สมนาม ‘พุทธทาส’อย่างแท้จริง

              พิจารณาดูที่นอนของหลวงพ่อชาฯและที่สรงน้ำของท่านอาจารย์พุทธทาสแล้ว ก็อดสงสัยไม่ได้จริงๆ ว่ายังมีสมมุติสงฆ์ สมณศักดิ์สูง ในสังคมไทย ในยุทธจักรดงขมิ้น อีกหลายต่อหลายรูป ท่านยังคงสะสม รถโบราณ เรือกสวนไร่นา เครื่องชามกังไส ใบหุ้นเงินสดในธนาคาร ถาวรวัตถุมากมาย ปล่อยเงินกู้ ฯลฯ ได้ยังไง?

              ผมเองก็นึกภาพไม่ออกนะครับ ว่าสมณะแท้ เช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ หรือ หลวงพ่อชาฯนั้น ถ้าหากมีศรัทธาญาติโยมไปคะยั้นคะยอจะถวายรถหรู ท่านจะฉลองศรัทธา แบบไหนกัน? (ด้วยการสับแหลกผู้ถวายเป็นแน่ ... ผู้เขียนคะเนเอา)

              ในเมื่อพระพุทธเจ้า ทรงวางวินัยให้สงฆ์เป็นผู้เลี้ยงง่าย อยู่ง่าย (เป็นอยู่อย่างต่ำ) แต่ปฏิบัติจิต รักษาพรหมจรรย์อย่างเข้มข้น เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พันธกิจแห่งสมณะ (มุ่งกระทำสิ่งสูง) ... แต่เหตุใดพระคุณเจ้าบางรูป บางสำนัก แสร้งทำลืมเลือน  เพราะนานวัน (นับวันยิ่งมั่นใจ) ผมเริ่มเห็นพวกท่าน ประพฤติไปในทางตรงข้ามกับพุทธเจตนาซะงั้น เห็นท่านเริ่มทำตัวเป็นพระเลี้ยงยาก อยู่หรูอยู่หรา ยุ่งยากมากเรื่อง (เป็นอยู่อย่างสูง) แต่กลับไม่ใส่ใจในพระธรรมวินัย พรหมจรรย์พลอยบกพร่อง ศีลทะลุ มุแต่จะเรี่ยไร สร้างถาวรวัตถุแข่งกันคน (กระทำสิ่งต่ำ) มนุษย์เขามีจรวดส่งคนไปดวงจันทร์ ส่วนลัทธิท่านก็มีจรวดวิเศษส่งจิตวิญญาณสาวก (ผู้มีปัญญาจ่ายค่าเชื้อเพลิงจรวด)ทั้งหลายไปสู่แดนสวรรค์ แดนนิพพานได้อย่างไม่อายพระพุทธองค์แต่อย่างใด

              พระสงฆ์ ผู้นำทางจิตวิญญาณ  ผู้ชี้นำแก่พุทธบริษัททั้งหลายครับ ลองถามตัวท่านเองโดยบริสุทธิ์ใจดูสิครับ พวกท่านยังดำเนินชีพโดยเรียบง่าย อย่างสมณะหรือเปล่าครับ? หรือชอบอู้ฟู่แข่งกับฆราวาส? พวกท่านยังนับถือพระพุทธเจ้าไว้เหนือเกล้า เหนือชีวิตท่านหรือเปล่าครับ? หรือเพียงแต่สิงอาศัยพุทธบารมี เพื่อแย่งชิงสมณศักดิ์ เพื่อหากิน สะสมเอกลาภไปพลาง โดยไม่สนใจต่อคำสั่งสอนของพระองค์กันเลย?

              ยังมีสมมุติสงฆ์อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งดูไปแล้ว ... ช่างห่างไกลจากความเรียบง่ายของสมณะโดยสิ้นเชิง !

               เรียบง่าย ติดดิน คืนสู่ถิ่น ธรรมชาติ

              จิตสะอาด จากการฝึก ขูดเกลากิเลสสิ้น

              เบาว่าง สัมภาระ มีเพียงปีก โบยบิน

              ดุจดั่งนก โผผิน กินอาหาร วันละหน

              คือ “สมณะ” พุทธสาวก ผู้สันโดษ

              ทวนกระแสโลก โบกลาแล้ว วัตถุนิยม

              เป็นอยู่ชอบ เรียบง่าย ไม่สะสม

              ควรชื่นชม บูชา “สมณะ” นี้เอยฯ

จาก http://www.komchadluek.net/news/amulets/225469

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
๓ นิกายสติเดียว : วิปัสสนาบนหน้าข่าว
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1265 กระทู้ล่าสุด 07 สิงหาคม 2559 00:34:33
โดย มดเอ๊ก
ครู กับ ศิษย์ : วิปัสสนาบนหน้าข่าว
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1193 กระทู้ล่าสุด 07 สิงหาคม 2559 00:44:00
โดย มดเอ๊ก
วิปัสสนาบนหน้าข่าว : จากสมมติ สู่วิมุติเข้าพรรษากับอุบาสิกาใจพระ(ธุดงค์)
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1301 กระทู้ล่าสุด 15 สิงหาคม 2559 19:47:14
โดย มดเอ๊ก
วิปัสสนาบนหน้าข่าว : 'อยู่กับปัจจุบัน' ฮิมานชู โซนิ (ผู้รับบท พระพุทธเจ้า)
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 0 1402 กระทู้ล่าสุด 15 สิงหาคม 2559 20:09:10
โดย มดเอ๊ก
วิปัสสนาบนหน้าข่าว : อารมณ์เซน.? (เยี่ยมคารวะ ปราชญ์ผู้เฒ่า อ.ธีระ วงศ์โพธิ์พระ)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1971 กระทู้ล่าสุด 07 ตุลาคม 2559 23:21:02
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.307 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 17:17:51