[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 กรกฎาคม 2568 16:44:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การเจริญปัญญาแบบทิเบต โดย พระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเช  (อ่าน 1456 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2559 13:20:28 »



สาระจากเสวนาธรรมในวันนี้ โดยพระอาจารย์กุงกา ซังโป ริมโปเช 18 กันยายน 2556 บ้านมูลนิธิพันดารา

ปัญญาต้องเริ่มจากการฟัง ไปสู่การคิดใคร่ครวญ ไปจนถึงการทำสมาธิ ถ้าเราไม่อยากฟังธรรม ไม่อยากทำความเข้าใจเนื้อหาของพระธรรม แต่ทำสมาธิเลย เราจะเอาสิ่งใดไปทำสมาธิ พระอาจารย์สาเกียบัณฑิตกล่าวไว้ว่า เหมือนกับผู้ปีนเขาแต่ไม่มีมือ ก็ไม่สามารถปีนได้สำเร็จ

การเจริญปัญญาจึงต้องเริ่มด้วยการฟังเสมอ จากปัญญาสามขั้นตอนนี้ ริมโปเชได้โยงไปกับเรื่องบารมีหกของพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นการอธิบายอย่างลึกซึ้งถึงบารมีแต่ละประเภทซึ่งเปี่ยมไปด้วยข้อคิดทางธรรม ทานบารมีจะเป็นปัญญายิ่งใหญ่หากเราตั้งจิตโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ทำบุญเพราะอยากให้เราได้ดี ให้เราได้ร่างกายที่แข็งแรงโดยไม่คิดถึงผู้อื่น ท่านขอให้เราทำบุญโดยคำนึงถึงสรรพสัตว์ที่เคยเป็นพ่อแม่มาก่อน ขอให้ผลบุญของเราทำให้สัตว์เหล่านั้นประสบแต่ความสุขและหลุดพ้นจากความทุกข์ของสังสารวัฏ หากการให้ของเราทำด้วยจิตอันเปี่ยมด้วยปัญญา กิเลสในใจจะลดลงไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งจิตมนุษย์ปุถุชนของเราจะเหมือนกับจิตของพระพุทธเจ้าที่เปี่ยมไปด้วยปัญญากว้างใหญ่ไร้ขอบเขต

การรักษาศีลจะนำเราไปสู่สมาธิ เพราะศีลกำจัดกิเลสที่พอกพูนในจิตใจมาหลายภพชาติ ศีลปกป้องเราจากอบายภูมิ แต่ในฐานะที่เป็นผู้รักษาศีล เราต้องระมัดระวังที่จะไม่เย่อหยิ่ง คิดว่าตัวเองเป็นผู้ถือศีลจะมีสถานะที่ดีกว่าคนอื่น เมื่อเข้าใจประเด็นนี้ก็เท่ากับเข้าถึงปัญญาแห่งศีลบารมี

หลังพักอาหารเย็น ริมโปเชอธิบายบารมีทั้งหกจนจบ แล้วกล่าวถึงพระมัญชุศรี ผู้เป็นพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า อานิสงส์ของการปฏิบัติบูชาพระองค์ ท่านย้ำว่า ศรัทธาเป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรมที่จะนำเราไปสู่หนทางแห่งการตรัสรู้ธรรม และพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต่างเท่าเทียมกัน ไม่มีองค์ใดสำคัญหรือเก่งกว่าองค์ใด ในตอนสุดท้าย ริมโปเชฝากข้อคิดว่า กรุณากับปัญญาเป็นของคู่กัน บ่มเพาะปัญญาต้องไปพร้อมกับการบ่มเพาะกรุณา

จาก https://krisadawan.wordpress.com/page/2/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.356 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้