[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 17:06:03 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ศรัทธาแห่งพุทธ ที่ ภูฏาน  (อ่าน 1113 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2559 14:00:18 »



ดินแดนแห่งมังกรฟ้า ที่ซ่อนตัวอยู่หลังม่านเมฆหมอกมุง หลังหุบเขาของป่าหิมพานต์ในตำนาน ภูฏาน ประเทศเล็กๆ ที่ในอดีตหลายคนไม่คุ้นเคยมากนัก แต่ในวันนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ไม่รู้จักราชอาณาจักร ที่มีเจ้าชายผู้มีพระอัธยาศัย และพระจริยาวัตรอันงดงาม ประทับใจคนไทยทั่วประเทศ

นอกจากนั้น หลายคนคงจะรู้มากขึ้น ถึงวิถีชีวิตของผู้คนชาวภูฏาน ที่เน้นความเรียบง่าย สอดคล้องกับแนวคิดพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวงของเรา

นโยบายของรัฐบาลภูฏาน ที่ประยุกต์เอาแนวคิดตามหลักของพระพุทธศาสนา เข้ามาประยุกต์ในการกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศ ไปสู่สังคมที่สร้างความสมดุล ระหว่างวัตถุ และจิตใจ

รัฐบาลภูฏาน ยังประกาศแนวนโยบายพัฒนาประเทศ โดยคำนึงถึง ความสุขมวลรวมประชาชาติ (G.N.H.-Gross National Happiness) มากกว่าจะคำนึงแต่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (G.N.P.-Gross National Products) ควบคุมกับการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ด้วยแนวคิดที่ว่า

“ถ้าเราไม่รู้ว่า ตัวเราคือใคร เราจะปกป้องตัวเองได้อย่างไร ในเมื่อเราถูกขนาบข้างด้วย ประเทศใหญ่ที่เป็นต้นรากวัฒนธรรม อย่างจีน และอินเดีย ทั้งยังถูกรุกเร้าด้วยกระแสวัฒนธรรมตะวันตก เราเชื่อว่า ศาสนานำพาความสุขมาให้เรา มากกว่าลัทธิบริโภคนิยม เราจึงมุ่งให้ประชาชนตระหนักว่า คุณภาพชีวิตอยู่จิตใจ ไม่ใช่วัตถุ”

พระพุทธศาสนา ที่เป็นหลักในการดำเนินชีวิตของชาวภูฏานนั้น เป็นพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกาย วัชรยาน หรือ ตันตระ อันนิยมนับถือกันทั่วไป ในเขตประเทศแถบเทือกเขาหิมาลัย เช่น ทิเบต สิกขิม เนปาล และภูฏาน ได้เผยแผ่เข้ามาเมื่อกว่า ๑,๒๐๐ ปี มาแล้วในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๔ โดย พระปัทมสัมภวะ ภิกษุพระโอรสกษัตริย์อินทรภูติ แห่งอุฑฑิยานะ (โอริสสา) ที่ตามตำนานกล่าวว่า เกิดขึ้นจากดอกบัว ซึ่งชาวพุทธวัชรยานนับถือพระองค์เทียบเท่ากับพระพุทธเจ้า หรือเสมือนพระโพธิสัตว์ โดยเรียกในภาษาทิเบตว่า คุรุริมโปเช

จากนั้นมา พุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทในการปกครอง ทั้งทางโลกและทางธรรม โดยในพุทธศักราช ๒๑๕๙ พระคณาจารย์เจ้า ศรัพดรุง งาวัง นัมเกล ได้รวบรวมแคว้นเล็กแคว้นน้อยต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนาหลากนิกาย เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นครั้งแรก ภายใต้การปกครองของคณะสงฆ์นิกาย ดรุกปะ ซึ่งเป็นนิกายที่ชาวภูฏานส่วนใหญ่นับถือกันในปัจจุบัน เพื่อทำการต่อต้านการรุกรานของอาณาจักรทิเบต อันยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น

ถึงแม้ปัจจุบัน การปกครองบ้านเมืองจะถูกถ่ายโอนกลับมาสู่ฝ่ายฆราวาส คือ กษัตริย์แห่งราชวงศ์วังชุก และกำลังจะก้าวไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญในอนาคตอันใกล้นี้ พุทธศาสนาก็ยังจะคงบทบาทในการอบรมขัดเกลาศีลธรรม ของสังคมภูฏานต่อไปแน่นอน

ดังเมื่อเราเดินทางเข้าสู่หุบเขาแห่ง เมืองพาโร อันเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติแห่งเดียวของประเทศ เราจะพบ ป้อมปราราม (ปราการ+อาราม) ที่ชาวภูฏาน เรียกว่า “ซอง” ป้อมปรารามเหล่านี้พบได้หลายแห่ง ที่เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญของอาณาจักร มีสถานะเป็นทั้งป้อมปราการ ไว้ระแวดระวังภัยในการศึก เพื่อรักษาเอกราชของชาติ เป็นที่ตั้งศูนย์กลางบริหารราชการงานเมืองของพระมหากษัตริย์ และเสนาบดีต่างๆ ทั้งยังเป็นอารามที่อยู่ของพระสงฆ์ผู้เป็นหลักชัยของชาวบ้านชาวเมือง

ใจกลางมีพระลานหลวง ที่ชุมนุมประชาชน ทหาร หรือใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ล้อมรอบด้วยปราการที่ใช้ทั้งเพื่อการรบ และเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ จนถึงกษัตริย์

เหนือปราการมักมีหอคอยสังเกตการณ์ข้าศึก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “ซอง” คือ สถานที่ที่เป็นศูนย์กลางจิตวิญญาณของชาวภูฏาน ซึ่งรวมประเทศได้จากการรวม “ซอง” ต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียว

ซอง ของเมืองทิมพู อันเป็นเมืองหลวงของประเทศ หรือชื่อทางการว่า ตาชิโชซอง เป็นป้อมปรารามขนาดใหญ่ที่สุด ภายในแบ่งเขตเป็นพระตำหนักฤดูร้อน ในสมเด็จพระสังฆราชภูฏาน พระอารามหลวง สำนักพระราชวังทำเนียบรัฐบาล ห้องประชุมรัฐสภา โดยแบ่งเป็นห้องต่างๆ กว่า ๑๐๐ ห้อง ในท้องพระโรงใหญ่ ประดับภาพจิตรกรรมฝาผนังและผ้าพระบฏ เล่าเรื่องราวในพุทธศาสนาสายวัชรยาน อย่างสวยงาม



บนเขาสูงเสียดฟ้าที่แรงด้วยลม ธงมนต์โบกสะบัดตามแรงลม สีต่างๆ กัน ๕ สี คือ แดง เหลือง ฟ้า เขียว และขาว ซึ่งเป็นตัวแทนของธาตุทั้ง ๕ ในธรรมชาติ และหมายถึงพระธยานิพุทธเจ้า อันเป็นพระพุทธเจ้าที่มีธรรมกายอยู่บนดินแดนพุทธเกษตรในสรวงสวรรค์ บนผืนธงจะเขียนคำสวดมนตราที่ชาวภูฏานจะนำธงขึ้นไปปักบนเขาหรือใกล้บ้าน เพื่อให้สายลมพัดพาเอาคำสวดลอยไกลปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและขจรขจายไปถึงสวรรค์

นัยว่าสามารถประหยัดแรงสวดมนต์ไปได้โขอยู่ หรือการหมุนกระบอกมนต์ ที่มักสร้างด้วยทองเหลือง เรียงรายอยู่รอบวัด รวมทั้งมีแบบส่วนบุคคลเป็นกระบอกเดี่ยว ใช้ควงหมุนเวลาสวดมนต์นั้นก็ถือว่า แทนการสวดมนต์ทั้งบท โดยที่บนผิวกระบอกมนต์จะมีอักษรสลักข้อความหัวใจพระคาถาว่า “โอม มณี ปัทเมหูม” ซึ่งบางทีเมื่อเราเดินไปใกล้ๆ ก็จะได้ยินชาวพุทธที่นี้สวดคาถาย่อนี้ด้วยเสมอ

“โอม” มีความหมายถึงการนอบน้อมต่อพลังแห่งธรรมเปิดเชื่อมมิติแห่งปัจเจกชนกับมิติของจักรวาล “มณี” หมายถึงปัญญาที่แกร่งกล้าดังเพชรทำลายกิเลสให้สูญสิ้น “ปัทเม” หรือ ปัทมะ ดอกบัวคือสัญลักษณ์ของจิตที่บริสุทธ์และเบ่งบานเต็มที่ “หูม” เป็นเสียงแห่งลมปราณ พลังชีวิตที่ครอบคลุมทุกสรรพสิ่ง

ภายใน วัดคิชูลาคัง ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในภูฏาน คือสร้างตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ หรือราว ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยที่ภูฏานยังเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของทิเบต โดย พระเจ้าซงเซิน กัมโป ซึ่งชาวทิเบตยกย่องว่า เป็นผู้อัญเชิญศาสนาพุทธมาประดิษฐานในทิเบต-ภูฏาน โปรดให้สร้างวัดขึ้น ๑๐๘ แห่ง ตรึงบนจุดต่างๆ ของยักษ์ตนหนึ่ง ซึ่งนอนแผ่ทับเทือกเขาหิมาลัยไว้ หมายจะไม่ให้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเผยแผ่ไปถึง

โดยจุดที่สร้างวัดคิชูที่เมืองพาโรเป็นเท้าซ้ายของยักษ์ ในวิหารเก่าแก่จะปูพื้นด้วยไม้แผ่นใหญ่ ตรงบริเวณเบื้องหน้าพระปฏิมาประธานมีรอยบุ๋มลึก เนื่องจากมีผู้แสวงบุญมายืนและก้มลงกราบพระแบบ อัษฎางคประดิษฐ์ ซึ่งร่างกายต้องแตะพื้น ๘ จุด คือมือ ๒ หน้าผาก ๑ อก ๑ เข่า ๒ และเท้า ๒ ทำซ้ำๆ กันเป็นเวลานานนับพันปี สะท้อนถึงศรัทธาอันแรงกล้า ที่ชาวภูฏานมีต่อพุทธศาสนา

การกราบแบบนี้ ผู้กราบจะก้มราบนอนกราบเหยียดยาวทั้งตัว และไม่ได้กราบเพียงสามครั้ง แต่จะกราบหลายร้อยหรือเป็นพันครั้ง สุดแล้วแต่ที่เจ้าตัวจะอธิษฐานไว้

ดังนั้น ชาวภูฏานจึงมักมีไม้กระดานขนาดพอดีตัว ไว้สำหรับรองกราบ หากได้เข้าสัมผัสจะเห็นได้ว่า เนื้อไม้เรียบเป็นมัน จากการใช้งานมาหลายพันหลายหมื่นครั้ง

พุทธศาสนาวัชรยานนั้น มักมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า มีผิดเพี้ยนจากแก่นพุทธศาสนาดั้งเดิม และมัวเมาละเลยหย่อนยานพระวินัย ถึงขั้นมีการเสพเมถุนแต่งงานแต่งการได้

แต่ที่จริงแล้ว พระภิกษุของภูฏาน มีกฎระเบียบวินัยหลายข้อที่เคร่งครัดมาก เช่น การสูบบุหรี่ก็เป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาดของพระภิกษุ ด้วยถือว่าเป็นสิ่งเสพติด หรือเมื่อบวชพระแล้วจะไม่มีการสึกตลอดทั้งชีวิต จึงผ่อนปรนให้วินัยบางข้ออาจจะดูไม่เคร่งครัดนัก

แต่หากอยากครองเรือนก็จะถือบวชในลักษณะเป็นผู้สอนศาสนาเจ้าพิธีกรรม มักจะมีแต่ในชนบทไกลๆ และชาวบ้านก็ยังคงให้ความนับถือไม่ต่างจากเมื่อตอนเป็นพระ

ส่วนรูปเคารพทางฝ่ายตันตระ บางครั้งจะเห็นว่า เกี่ยวข้องกับเทพต่างๆ และการร่วมประเวณีนั้น ในบางแง่มุมก็เป็นสัญลักษณ์ของการเหยียบย่ำราคะ โทสะ โมหะ และเป็นการแทนสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ คือฝ่ายชายในความหมายของเมตตา และเทวีตาราฝ่ายหญิง ผู้เป็นศักติที่จะสร้างสมดุลเป็นสัญลักษณ์แทนปัญญา ซึ่งทั้งเมตตาและปัญญาต้องประกอบกันจึงจะเข้าสู่สภาวะแห่งพุทธะได้

วิถีทางแห่งพุทธของชาวภูฏาน ยังมีแง่มุมอีกมากมาย หากนักท่องเที่ยวหวังจะไปเพื่อชื่นชมเพียงวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ราวกับฉากสวรรค์นั้น คงยังไม่อาจพูดได้เต็มปากว่า ไปถึงภูฏานแล้ว แต่หัวใจของชาวภูฏาน ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติและพุทธศาสนานั้นต่างหาก เป็นสิ่งที่เจ้าบ้านอยากให้ผู้มาเยือนจากต่างแดนได้สัมผัสอย่างแท้จริง

ดังจะเห็นได้จาก การตั้งกฎเกณฑ์จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และกำหนดค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ ที่นักท่องเที่ยวใช้ในแต่ละวัน ก็เพื่อคัดเอาแต่นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และพร้อมที่จะเข้าใจ และให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของพวกเขา เพื่อที่จะดำรงความเป็นตัวตนของตนเอง รักษาสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีงาม ไม่ใช่การเดินตามหลังวัฒนธรรมตะวันตก กระแสเชี่ยวกรากแห่งวัตถุนิยมที่พัดพาเอาระบบสังคม วิถีชีวิตของผู้คนในหลายประเทศจนประสบความล่มสลายทางสังคมทิ้งซากปัญหาจนไม่อาจเยียวยาดังเดิมได้อีก

จาก คมชัดลึก http://www.krusiam.com/community/forum2/view.asp?forumid=Cate00002&postid=ForumID0011711

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ภูฏาน อารยธรรมแห่งสุดท้าย ที่ปลายฟ้า
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 6 12082 กระทู้ล่าสุด 28 มกราคม 2554 00:20:40
โดย ▄︻┻┳═一
พระบรมสารีริกธาตุจากประเทศ{ภูฏาน}
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 11 6692 กระทู้ล่าสุด 07 มีนาคม 2555 19:46:46
โดย 時々๛कभी कभी๛
พื้นที่ชีวิต-ภูฏาน-กิเลสคือโพธิ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 1621 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2555 16:38:33
โดย เงาฝัน
วัดทักซัง ภูฏาน ความงดงามในเมฆหมอกหิมาลัย
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1009 กระทู้ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2559 06:40:18
โดย มดเอ๊ก
ภูฏาน...แดนมังกรสายฟ้า พระพุทธศาสนานำสุข
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 51 กระทู้ล่าสุด 12 มกราคม 2567 08:52:28
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.397 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 กุมภาพันธ์ 2567 16:45:39