[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 14:27:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Nepal Earthquake 2015 เงาอดีต : สวยัมภูวนาถ (Swayambhunath) ปริศนาดวงตาเห็นธรรม  (อ่าน 1378 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2559 11:59:25 »



Nepal Earthquake 2015 เงาอดีต : สวยัมภูวนาถ (Swayambhunath) ปริศนาดวงตาเห็นธรรม

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ได้ทำความเสียหายอย่างร้ายแรงให้กับโบราณสถานที่ล้ำค่าหลายแห่ง …

โบราณสถานบางแห่งมีอายุหลายร้อยปี ได้พังทลายทั้งหมด ชนิดที่แม้มีเงินเท่าไหร่ก๋ไม่สามารถจะสร้างขึ้นมาใหม่ให้เหมือนเดิมได้ … ด้วยจิตวิญญานของสถานที่ ที่สั่งสมมาจากความศรัทธาและความเชื่อของผู้คนไม่สามารถฝังตัวลง ณ สถานที่นั้นในช่วงระยะเวลาอันสั้น



สวยัมภูวนาถ (Swayambhunath)… เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่ถึงแม้จะไม่พังทลายลงมาทั้งหมด แต่ก็ได้รับความเสียหายร้านแรงพอควร … ดังภาพที่ปรากฏด้านบน ซึ่งได้มาจากการรายงานข่าวของ CNN เมื่อวาน

วันนี้ขอนำภาพ สวยัมภูวนาถ (Swayambhunath) เมื่อครั้งที่ผู้เขียนบทความได้มีโอกาสไปเยือนเมื่อปี 2554 มาแบ่งปันกันดู พร้อมบทความ ความเป็นมาและความสำคัญของสถานที่แห่งนี้



สวยัมภูวนาถ เป็นเจดีย์ของชาวพุทธ (Buddhist Chaityas) ที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก เชื่อกันว่าน่าจะมีอายุถึง 2,000 ปีเลยทีเดียว

สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้ามานะเทวะ ในปี พ.ศ. 963 ณ จุดที่เชื่อว่า “พระอาทิพุทธ” ปรากฏพระองค์บนโลกมนุษย์ตามคติความเชื่อของชาวพุทธสายวัชรยาน







“สวยัมภูวนาถ” หมายถึง “การกำเนิดขึ้นเอง” .. พุทธสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินสูง ใจกลางหุบเขากาฏมาณฑุ ชาวเนปาลและชาวทิเบตที่นับถือศาสนาพุทธฝ่านมหายาน และวัชรยาน เชื่อว่าที่เนินเขาแห่งนี้ เป็นจุดกำเนิดของหุบเขากาฏมาณฑุ หุบเขาแห่งศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ มีตำนานเล่าขานกันมาว่า …

อดีตกาลนานับแสนกัลป์มาแล้ว บริเวณนี้เป็นทะเลสาบกว้างใหญ่ … วันหนึ่งเกิดมีดอกบัวสีสันสดใสขึ้นบนเกาะกลางทะเลสาบ ในดอกบัวมีเปลวไฟอันเป็นนิรันดร ไม่มีวันมอดดับพวยพุ่งขึ้น พร้อมกับมี “พระอาทิพุทธ” อุบัติขึ้นภายในอาสนะดอกบัว ซึ่งเป็นการปรากฏพระองค์ครั้งแรกบนโลกมนุษย์







ตามตำนานของชาววัชรยานยังเล่าต่อมาอีกว่า … กาลต่อมาเมื่อราว 2,500 ปีก่อน “พระมัญชุศรี” พระโพธิสัตว์แห่งปัญญาธิคุณ ทรงจาริกมายังเกาะกลางทะเลสาบแห่งนี้

และด้วยพระประสงค์จะให้ชาวพุทธมาจาริกแสวงบุญที่นี่ได้ง่ายขึ้น จึงทรงใช้ดาบวงพระจันทร์ตัดเขามหาภารตบริเวณโตรกโซบาร์ จนน้ำไหลออกจากทะเลสาบหมดสิ้น กลายเป็นหุบเขากาฏมาณฑุอันอุดมสมบูรณ์ ให้มนุษย์ได้ตั้งถิ่นฐานเป็นประเทศเนปาลจวบจนทุกวันนี้





ใกล้บันไดตรงทางขึ้นด้านทิศตะวันตก จึงมี “”ซุ้มตะเกียงแห่งเปลวไฟนิรันดร

สัญลักษณ์แห่งการปรากฏกายบนโลกมนุษย์ของ พระอาทิพุทธ



“สวยัมภูวนาถ” จึงมีความหมายว่า “พระผู้ถือกำเนิดขึ้นเองเพื่อเป็นที่พึ่งของชาวพุทธ” …

ส่วนลิงที่มีอยู่มากมายภายในวัดนั้น ตามตำนานเล่าว่า “พระโพธิสัตว์ มัญชุศรี” ทรงปลิดพระเกศาลงมากลายเป็นต้นไม้ ขณะที่เหาร่วงลงมาเป็นลิง พักพิงที่พระเจดีย์มาตราบเท่าทุกวันนี้ จนผู้คนเรียกวัดนี้ว่า “วัดลิง”







วัดนี้มีบันไดหิน 365 ขั้นขึ้นสู่สถูปสวยัมภูวนาถที่อร่ามเรือง แต่รถแล่นขึ้นไปได้ถึงชั้นบนของวัด ..

หากเดินตามบันได จะมีม้านั่งให้พักเหนื่อยเป็นระยะๆ และตามราวบันไดมีชาวบ้านนั่งขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว …

แต่เราไม่ได้ขึ้นด้านนี้ค่ะ ได้แต่ถ่ายรูปจากด้านบนของเทวสถานมาให้ดูกัน













เมื่ออยู่ในบริเวณเทวาลัย และมหาเจดีย์สวยัมภูวนาถ ... เราจะเห็นการผสมผสานศรัทธาและความเชื่อทางศาสนา และรูปเคารพ

ที่มีทั้งเทวรูปฮินดู  และพระพุทธรูป  ผสานอยู่ในจิตวิญญาณที่เปี่ยมศรัทธาของชาวเนปาล









ในเนปาลมีสิ่งของให้นักท่องเที่ยวที่นิยมการจับจ่ายซื้อสินค้าได้มีโอกาสเลือกกันมากมาย

ที่ขึ้นชื่อ คือ ภาพวาดฝีมือดี และผ้าทังกาของทิเบตและทังกาของเผ่าเนวาร์ (Tjbetan and Newar Thanka) นอกจากนี้ยังมีงานหัตถกรรมอย่างกรอบรูป และงานแกะสลักที่เป็นเอกลักษณ์









ตามรายทางมีสินค้ายั่วใจให้นักท่องเที่ยวต้องซื้อหาติดไม้ติดมือมาฝากญาติมิตร

... ทั้งหุ่นกระบอก งานทองเหลือง งานฝีมือฯ ...







เพลงสวดแบบทิเบตที่ดังมาจากจากบทพระคาถาซ้ำๆตลอดความยาวของเพลง ฟังแล้วนุ่มนวล ลึกซึ้ง  โปร่งสบาย เพิ่มบรรยากาศของการเดินชมให้สุขสงบขึ้นได้อย่างน่าประหลาดใจ

โอม มณี ปัทเม ฮูม … Om Mani Padme Hum

.. . ขออัญเชิญพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอันล้ำค่าดั่งแก้วมณี มาสถิตอยู่ในดวงใจอันบริสุทธิ์ดั่งดอกบัวของเรา …











สวยัมภูนาถ ตั้งอยู่บนยอดเขาห่างจากกรุงกาฐมัณฑุไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร ตัวสถูปตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ ราว 77 เมตรจากพื้นผิวของตัวเมือง ซึ่งระดับ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลของหุบเขากาฏมาณฑุ ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เหนือหุบเขาที่งดงาม

วัดแห่งนี้คราคล่ำด้วยผู้คนที่มาแสวงบุญนุ่งผ้าส่าหรี และลิงเจ้าถิ่นฝูงใหญ่ ซึ่งคนที่นี่เขาเชื่อกันว่าเป็นเหาของพระมัณชูลี ผู้ค้นพบหุบเขากาฏมาณฑุ





สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือ ส่วนตรงฐานของสถูปซึ่งมีดวงตาเห็นธรรม หรือ Wisdom Eyes อยู่ทั้งสี่ด้าน

นับว่าเป็นสถูปที่เก่าแก่ที่สุดของเนปาล รวมถึงยังเป็นสถานที่ที่มีการผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดู โดยองค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2522



ฉันเคยไปชม “ดวงตาแห่งบายน” 216 คู่ที่ปราสาทบายน เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชามาแล้วหลายโอกาส

จึงตั้งใจจะไปให้เห็นภาพวาดดวงตาที่เพ่งมองทั้งสี่ทิศ ณ สวยัมภูนาถให้ได้สักครั้ง พร้อมทั้งตั้งใจเอาไว้ว่าจะพยายามค้นคว้าว่า ดวงตาจากทั้งสองแห่งนี้มีที่มาเดียวกันจากคติความเชื่อของศาสนาพุทธฝ่ายมหายานหรือไม่?







ชาวเนปาลเรียกดวงตาคู่นี้ว่า “ฮัมมิกะ” (Hermika) หรือ “ดวงตาเห็นธรรม”

ซึ่งยืนยงท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของผู้คนให้เดินทางมาแสวงหาความจริงอันเร้นลับแห่งวิถีชีวิตวัฒนธรรมเนปาล ซึ่งผสมผสานศาสนาฮินดูกับศาสนาพุทธเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนอย่างเหลือเชื่อทีเดียว



ฉันได้อ่านบทความของคุณธีรภาพ โลหิตกุลในนิตยสาร Travel Guide และพอจะสรุปเนื้อความออกมาได้ว่า...

“ดวงตาแห่งบายน” เป็นดวงเนตรแห่ง “อวโลกิเตศวร” พระโพธิสัตว์ผู้เป็นใหญ่ในโลก ผู้มองลงมาเบื้องล่างอย่างมีเมตตา แม้จะทรงสั่งสมทานบารมีจนพร้อมจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ยังไม่ทรงไปไหน คอยช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากให้ก้าวพ้นบ่วงทุกข์ไปสู่แดนนิพพานอันเป็นสุขนิรันดรพร้อมๆกันเสียก่อน

หลักฐานในจารึกระบุว่า “พระเจ้าชัยวรมันที่ 7” ทรงเชื่อว่าพระองค์เป็นอวตารของ “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร” จึงทรงสร้างปราสาทบายนที่มี 54 ปรางค์ แต่ละปรางค์แกะสลักพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรไว้ทั้ง 4 ด้าน รวม 216 พระพักตร์ ซึ่งดวงตาทั้ง 216 คู่จะคอยดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรของพระองค์ พระพักตร์แต่ละด้านซ่อนนัยยะแห่งพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไว้เป็นธรรมประจำใจชาวพุทธ





เชื่อกันว่า “ฮัมมิกะ” หรือดวงตาเห็นธรรมทั้ง 4 คู่ที่เจดีย์สวยัมภูนาถ และโพธินาถ ก็แทน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เช่นกัน จะต่างก็ตรงที่ของเขมรสลักหินเป็นรูปพระพักตร์พระโพธิสัตว์ แต่ของเนปาล วาดเฉาะพดวงเนตร พระขนง (คิ้ว) และพระอุณาโลม (ขนระหว่างคิ้ว) กับ “เอกะ” หรือเลข 1 ในภาษาเนปาล แต่ลากหางยาวจนดูเหมือนเครื่องหมายคำถาม ในตำแหน่งที่ดูคล้ายพระนาสิก รวมเรียกว่า ‘ฮัมมิกะ”

จากเอกสารเผยแพร่อย่างเป็นทางการของ คณะกรรมการอนุรักษ์และบริหารจัดการพระเจดีย์สวยัมภูวนาถ (Federation of Svayambhu Management and Conservation Committee) ระบุว่า ดวงตาที่เห็นเป็นเอกลักษณ์นั้น คือดวงเนตรของ “พระพุทธเจ้า” ของชาวพุทธฝ่านมหายานองค์หนึ่ง พระนามว่า “พระไวโรจนพุทธเจ้า” ที่เพ่งมองไปทั้ง 4 ทิศเพื่อดูแลทุกข์สุขของมวลมนุษย์ ทั้งยังเชื่อว่าพระองค์เพ่งมองเพื่อบันทึกการทำความดี ความชั่วของคนเราด้วย





ยามที่ฉันก้มลงกราบพระมหาเจดีย์ จึงอธิษฐานขอให้ “ดวงตาเห็นธรรม” ของพระพุทธองค์ได้ทรงสอดส่องมาถึงบ้านเมืองของฉัน บันทึกความดี ความชั่วของคนที่คิดร้าย ทำลายเมืองไทยในทุกรูปแบบ …

ขอให้ทรงปกป้องเมืองพุทธที่เคยสงบสุขมาเนิ่นนาน ให้กลับมาเป็นปกติสุขเหมือนที่เคยเป็นมา …



“อุณาโลม” หรือขนระหว่างคิ้ว เป็นคุณลักษณะของมหาบุรุษ เฉกเช่นพระพุทธเจ้า และ “เอกะ” หรือเลข 1 ในตำแหน่งพระนาสิก หมายถึงความเป็นเอกภาพของชาวพุทธ

ด้วยเหตุที่เชื่อว่าเจดีย์นี้สร้างขึ้นมากว่า 2,000 ปีแล้ว ดังนั้น “ดวงตาเห็นธรรม” ยืนยงคงอยู่ สะกดจิตคนให้ค้อมคารวะมาแล้วเนิ่นนาน กระทั่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของ เนปาล ที่ท้าทายสายตาความสนใจใคร่รู้ของผู้คนมาช้านานเช่นกัน

รูปลักษณ์ของเจดีย์สวยัมภูนาถ และเจดีย์โพธินาถ เป็นการจำลองสวรรค์ชั้นอธูปธาตุที่สถิตของ “พระธยานิพุทธ” ทั้งห้า คือเมื่อมีดวงตาของ “พระไวโรจน” ประดิษฐานที่องค์บัลลังก์ของเจดีย์เป็นทิศเบื้องบน หรือทิศตรงกลางแล้ว ..

ฐานเจดีย์ทางทิศตะวันออกจึงมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป “พระอักโษภยะ”

ทิศใต้มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป “พระรัตนสัมภวะ”

ทิศตะวันตกมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป “พระอมิตาภะ”

ทิศเหนือมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป “พระอโมฆะสิทธิ”

ส่วนฐานเจดีย์รูปแปดเหลี่ยมนั้นแทนธาตุดิน ธาตุของ “พระอโมฆะสิทธิ”

องค์สถูปรูปโอคว่ำ หรือรูปโดมครึ่งวงกลม แทนธาตุน้ำ ธาตุของ “พระอมิตาภะ”

องค์บัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมกลางเจดีย์แทนอากาศธาตุ ธาตุของ “พระไวโรจน”

ปล้องไฉน 13 ปล้อง หมายถึงธรรมขั้นสูง 13 ขั้นก่อนเข้าถึงนิพพาน แทนธาตุไฟ ธาตุของ “พระรัตนสัมภวะ”

และยอดฉัตร แทนธาตุลม ธาตุของ “พระอักโษภยะ”





องค์เจดีย์ที่ฉันเห็น ไม่ได้แตกต่างจากรูปภาพที่พบในอินเตอร์เน็ตก่อนเดินทางมากนัก …

รอบนอกขององค์เจดีย์มองเห็นเป็นสีเหลืองอ่อนๆปนน้ำตาล ดูไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร นึกเอาเองว่าคงเป็นสีที่เปลี่ยนไปด้วยขาดการดูแลตามสมควร … ไกด์บอกกับฉันว่า สีเหลืองมอๆรอบองค์เจดีย์ คือสีของกลีบบัวที่สีลบเลือนไปมาก

ตามเจดีย์มีธง 5 สี ซึ่งเป็นธงภาวนา ที่ชาวเนปาลและชาวทิเบตนิยมนำมาประดับองค์เจดีย์ เพื่อให้ลมช่วยสวดมนตร์ แล้วพัดพาเอามนตราไปคุ้มครองผู้ผ่านทาง

รอบๆพระมหาสถูปมีสถูปองค์ย่อมๆ รูปทรงแบบปรางค์หรือทรงกลีบมะเฟืองแบบอินเดียรายล้อมอยู่รอบๆเป็นสถูปบริวาร



เทวาลัย “หารติมาตา” (Harati Temple) อดีตยักขินีที่ชอบลีกขโมยเด็ก

แต่กลับใจมาทำความดีช่วยพิทักษ์ปกป้องเด็กจากภัยร้าย เป็นที่สักการะของชาวฮินดูและชาวพุทธ …



ลานประดิษฐานหมู่ศิลาองค์เล็กที่ผู้มีจิตศรัทธาสร้างถวายองค์ สวยัมภูนาถ ในจำนวนนั้น บางองค์แกะเป็นรูปศิวลึงค์บนฐาโยนี และ จตุรพุทธลึงค์ … ผสมผสานศิวลึงค์ กับ พระพุทธเจ้า โดยมีพระพุทธรูปติดอยู่ที่ศิวลึงค์ทั้งสี่ด้าน …

ภาพสะท้อนสังคมเนปาล ที่ศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดู กลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน และชาวฮินดูถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางที่ 8 ของพระนารายณ์ ขณะที่ชาวพุทธในเนปาล ก็ถือว่า พระศิวะ พระนารายณ์ เป็นพระโพธิสัตว์







หลายคนในพวกเราเลือกที่จะทำตามผู้แสวงบุญชาวเนปาลด้วยการเดินไปปัดวงล้อสวดมนต์ หรือ “มาเน่ (Mane)” ที่ห้อมล้อมอยู่รอบฐานเจดีย์ พร้อมกับท่องคาถา “โอม มานี ปัดเม ฮัม (Om mani padme hum” เพื่อแลกกับแต้มแดงบนหน้าผาก “ทิก้า (Tika)” ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความโชคดี













วัชระ … หรือสายฟ้าไขว้ เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธฝ่านมหายาน สายวัชรยาน หรือพุทธแบบทิเบต และอาจจะเป็นอาวุธของพระศิวะ วัชระอันนี้ประดิษฐานอยู่ที่แท่นหน้าพระสถูป



พระโพธิสัตว์ ... พระประธานในวิหารข้างๆองค์มหาเจดีย์















... กาฏมาณฑุ … ฉาบไล้ด้วยแสงสุดท้ายของวัน...

โดยมีอีกามากมาย รวมถึงเหยี่ยวชนิดใดก็ไม่รู้บินร่อนฉวัดเฉวียนสง่า สวยมากๆ จนอดคิดถึงเพื่อนๆที่ตั้งตารอฤดูเหยี่ยวอพยพช่วงเดือนตุลาคม แล้วดั้นด้นไปดูเหยี่ยวที่เขาดินสอ หรือเขาเรด้าร์ที่ชุมพรไม่ได้ ..

อยากให้มาเห็นเหยี่ยวท่ามกลางแสงสีมลังเมลืองของแสงสุดท้ายของวันเหนือหุบเขากาฏมาณฑุนี่จัง









เหตุการณ์แผ่นดินไหวปี 2015 ที่เนปาล ด้วยความรุนแรง 7.8 แมกนีจูด แม้จะรุนแรงน้อยกว่าปี 1938 …

แต่ความเสียหายที่เกิดกับโบราณสถาน อาคารบ้านเรือนนั้นรุนแรงมากกว่าหลายเท่า



เหตุแผ่นดินไหวในปี 2015 มีคนเสียชีวิตไปแล้วถึงวันนี้กว่า 4,300 คน

มีผู้คนบาดเจ็บอีกมากมาย







ผู้คนที่รอดชีวิต .. รวมถึงเด็กๆ .. ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน

วันนี้ผู้คนในเมืองหลวง Kathmandu ที่รอดมาได้ .. ส่วนใหญ่ยังเหลือแค่ลมหายใจ .. ทรัพย์สินสูญหายไปกับความพิโรธของมหีนตภัยที่เกิดครั้งนี้

พวกเขายังรอความช่วยเหลือทุกอย่าง ทุกด้านจากผู้คนจากโลกภายนอก

ผู้เขียนจึงอยากจะเชิญชวนทุกท่าน บริจาคเงิน สิ่งของ ตามกำลังและศรัทธาของทุกท่าน … ให้แก่ชาวเนปาล





… Stay strong Nepal ...

... Our hearts and prayers are always with you …

ขอบคุณ : เนื้อความบางส่วนจาก นิตยสาร Travel Guide : ภาพบางภาพจาก BBC

จาก http://www.oknation.net/blog/supawan/2015/04/28/entry-1

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.662 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 21:06:19