[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 20:13:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องราวแห่ง พระองค์ เกียลวากรรมาปะ ที่ 17 ออกเยน ทรินเลย์ ดอเจ  (อ่าน 1831 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2559 14:18:31 »





ตุลกู ผู้เป็นยิ่งกว่าผู้สร้างแรงบันดาลใจ


ในคำสอนของพระพุทธศาสนาวัชรยาน พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานอย่างสิ้นเชิง ทรงอยู่เหนือกาลเวลาและสถานที่ พระองค์ทรงสถิตอยู่ในรูปของปรมัตถสัจจ์ หรือที่รู้จักกันในนามของ ธรรมกาย หรือ กายแห่งสัจธรรม

ธรรมกาย หมายถึง ดวงจิตแห่งพุทธะ ซึ่งมีแก่นเป็นความกรุณาหรือโพธิจตที่สถิตอยู่ในหัวใจของสรรพสัตว์ทั้งหลาย หากแต่ปรารถนาจะนำสรรพสัตว์ไปสู่การรู้แจ้งในพุทธภาวะ พระพุทธเจ้าอาจปรากฎพระองค์ออกมาในรูปอื่น อันได้แก่ สัมโภคกาย กายทิพย์ซึ่งเรืองรองด้วยฉัพพรรณรังสี และ นิรมาณกาย อันเป็นกายที่ปราฏในโลกมนุษยที่เราอาศัยอยู่ ในภาษาทิเบตเรียกว่า "ตุลกู"

"ตุลกู" ผู้เป็นยิ่งกว่าผู้สร้างแรงบันดาลใจ อาจารย์หรือผู้เป็นแบบอย่าง ท่านเป็นมนุษย์ผู้ประกอบไปด้วยองค์คุณแห่งพระโพธิสัตว์ ตามคำสอนของพระพุทธศาสนาวัชรยาน พระโพธิสัตว์จะบรรลุธรรมไปตามลำดับขั้น โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสิบขั้น หรือที่เรียกว่า "ทศภูมิ" โดยภูมิสูงสุด พระโพธิสัตว์จะมีสิทธิ หรือพลังอำนาจพิเศษ ซึ่ง สิทธิอำนาจที่สำคัญสูงสุดคอ สามารถที่จะเลือกสภาวการณ์ในการกลับมาเกิดใหม่ เพื่อว่าการเกิดนั้นจะเอื้อประโยชน์ในการนำพาผู้อื่นไปสู่การบรรลุธรรม

ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์ ผู้ตั้งสัตยาธิษฐานในการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อกลับมาช่วยเหลือสรรพสัตว์นี้ ได้กลายมาเป็นหัวใจหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาวัชรยาน

ต้นกำเนิดของปรากฎการณ์เรื่อง ตุลกู หรือ นิรมาณกาย ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกภาษาบาลียุคแรก ซึ่งได้กล่าวถึงพระพุทธประวัติและหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศากยมุนีพุทธเจ้า ความในพระไตรปิกฎกล่าวไว้ว่า ระหว่างบำเพ็ญเพียรพระบารมีก่อนจะตรัสนั้น พระพุทธองค์ทรงเวียนว่ายตายเกิดมานับชาติไม่ถ้วน แต่ละชาติ พระองค์จะทรงเจาะจงเลือกสภาวการณ์ในการกับมาเกิดใหม่เพื่อว่าจะทรงสามารถช่วยเหลือและชี้นำสรรพสัตว์ทั้งหลาย กล่าวกันว่าองค์ศากยมุนีทรงสามารถย้อนระลึกถึงบุคคล สถานที และเหตุการณ์บางอย่างในอดีตชาติได้อย่างชัดเจน

แปดสิบสี่ มหาสิทธา ผู้วางรากฐานแนวทางการปฏิบัติธรรมพระพุทธศาสนาวัชรยานก็เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งบรรลุธรรมสูงสุด และตลอดระยะเวลาอันยาวนาวของพระพุทธศาสนาวัชรยานก็ได้มีการบันทึกถึงการ "กลับมาเกิด" ในรูปกายต่างๆมากมาย อย่างไรก็ดี แนวทางในการพิสูจน์นิรมาณกายเพิ่งจะเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 12 พร้อมการเกิดขึ้นของตำแหน่งองค์กรรมาปะ ซึ่งการกลับมาเกิดก็จะมีการพยากรณ์ล่วงหน้าถึงการกลับชาติมาเกิดและจะมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรมอบให้กับลูกศิษย์คนสนิท

วัตรปฏิบัติในการับรองนิรมาณกายนี้ได้แพร่หลายไปในนิกายกรรมะกาคิวอย่างรวดเร็ว สร้างความเป็นปีกแผ่นให้กับสายธรรมในรูปของ ตุลกู หรือ ริมโปเชต่างๆ (ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า "สูงค่า") ไม่ว่าจะเป็นชามาร์ปะ,ไทชิทูปะ,เกีลยซับ ริมโปเช ,ปาโว ริมโปเช ,จัมกอน คองตรุล ริมโปเช ,กาลู ริมโปเช และอื่นๆอีกมากมาย

ในขณะเดียวกันวัตรปฏิบัตินี้ก็ยังได้แพร่หลายไปสู่พุทธศาสนาวัชรยานนิกายอื่นๆ ในคณะสงฆ์ซึ่งต้องถือพรหมจรรย์นั้น การพิสูจน์นิรมาณกายไม่เพียงทำหน้าที่ตอกย้ำถึงองค์คุณอันประเสริฐในการเสียสละเพื่อผู้อื่นของพระโพธิสัตว์ หากยังเป็นการสืบทอดลำดับขี้นสมณศักดิ์ทั้งในทางศาสนจักรและทางอาณาจักรด้วย

การสร้างระบอบตุลกูขึ้นมานั้น มีส่วนสำคัญในการทำให้ศาสนจักรธิเบตมีอำนาจเป็นปึกแผ่น ในช่วงแรกของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศาสนจักรจำต้องพึ่งพาและผูกติดอยู่กับราชสำนักหรือคหบดีผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อความอยู่รอด อันเป็นเหตุให้คณะสงฆ์ต้องถูกแทรกแซงจากภายนอกอยู่เนืองๆ ต่อมาระบอบตุลกู ได้ย้ายฐานอำนาจในการเลือกผู้นำให้มาอยู่ในมือของคณะสงฆ์ โดยใช้พลังอำนาจในการพยากรณ์ของครูบาอาจารย์ผู้บรรลุธรรม ตุลกู คือยอดสูงสุดในระบอบศาสนา เช่นที่เป็นอัญมณีประดับยอดมงกุฎของพุทธสาสนาวัชรยาน

การพิสูจน์นิรมาณกายของ ตุลกู เป็นศาสตร์ที่ไม่มีหลักการตายตัว และแต่ละนิกายก็มีวิธีการแตกต่างกันออกไป นิรมาณกายขององค์กรรมมาปะมีลักษณะพิเศษที่มักใช้วิธีการประกาศตนหรือการมอบหมายสาส์นพยากรณ์ที่ระบุถึงสถานที่ในการกลับมาเกิดใหม่

หากโดยทั่วไปแล้วเมื่อมีผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งมีภูมิธรรมขั้นสูงดับขันธ์ลง เหล่าสาสุศิษย์จะรอเวลาราวสองหรือสามปี ก่อนจะไปหาลามะที่เคารพนับถือกันว่าเป็นผู้หยั่งรู้ในธรรม และมีทิพยญาณ ผู้สามารถมองเห็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการกลับมาเกิดใหม่ของนิรมาณกายและให้คำชี้แนะต่อเหล่าสาวกในการออกติดตามค้นหา สัญญาณบ่งชี้เหล่านี้อาจจะมาในรูปของความฝัน ภาพนิมิต การเสี่ยงทาย การปรึกษาร่างทรง หรือลางบอกเหตุบางอย่างที่เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ การปฏิสนธิและการถือกำเนิดขึ้นของตุลกูนั้น มักมาพร้อมกับปรากฎการณ์ประหลาด ซึ่งจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้ที่มาเกิดนั้นเป็นบุคคลที่พิเศษ

จาก http://karmakagyu-disciple.blogspot.com/

<a href="https://www.youtube.com/v/P9UZy_ymDUE" target="_blank">https://www.youtube.com/v/P9UZy_ymDUE</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/2jk1-8dNxvs" target="_blank">https://www.youtube.com/v/2jk1-8dNxvs</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระพุทธเจ้าในอดีตกาลที่ทรงตรัสรู้แล้ว 27 พระองค์ « 1 2 »
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
sometime 27 15138 กระทู้ล่าสุด 29 มีนาคม 2553 05:42:44
โดย เงาฝัน
พระปัญจทิศพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ตามนัยแห่งอุตรนิกาย
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 3178 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2553 20:11:48
โดย มดเอ๊ก
พระนามเต็มของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีทั้ง ๙ พระองค์
สุขใจ ห้องสมุด
▄︻┻┳═一 1 4997 กระทู้ล่าสุด 07 ตุลาคม 2555 14:23:50
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
สมเด็จพระสังฆราช ๕ พระองค์
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
มดเอ๊ก 0 1806 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2559 00:18:23
โดย มดเอ๊ก
อนาคตวงศ์พระนิยตโพธิสัตว์ ๓๐ พระองค์ ( หลวงปู่จาม )
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 10554 กระทู้ล่าสุด 30 สิงหาคม 2559 03:49:47
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.425 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 10 เมษายน 2567 08:24:04